• July 8, 2019

    26 มิถุนายน 2562

    นางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้แถลงผลการตรวจผักและผลไม้ประจำปี 2562 โดยร่วมมือกับองค์กรภาคีต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยงานราชการ เช่น เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ องค์กรผู้บริโภค และภาคประชาสังคม ในจังหวัดต่างๆ โดยเก็บตัวอย่างทั้งหมด 286 ตัวอย่างจากห้างค้าปลีก ตลาดสดทั่วไปในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น ยโสธร สระแก้ว จันทบุรี ราชบุรี และ สงขลา ครอบคลุมผัก 15 ชนิด และผลไม้ 9 ชนิดที่นิยมบริโภคทั่วไป โดยส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO-17025 ในประเทศสหราชอาณาจักร พบว่า ผักผลไม้มี สารพิษตกค้างเกินมาตรฐานสูงถึง 41%

    ผักที่พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากที่สุด

    ผักกวางตุ้ง 10 /12 ตัวอย่าง (พบ 10 จาก 12 ตัวอย่าง)
    คะน้า 9/12 ตัวอย่าง
    กระเพรา 8/12 ตัวอย่าง
    ผักชี 7/12 ตัวอย่าง
    พริก 7/12 ตัวอย่าง
    กะหล่ำดอก 7/12 ตัวอย่าง

    ผลไม้ที่พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากที่สุด

    ส้ม 12/12 ตัวอย่าง
    ชมพู่ 11/12 ตัวอย่าง
    ฝรั่ง 7/12 ตัวอย่าง
    องุ่น 7/12 ตัวอย่าง

    เปรียบเทียบระหว่างผักและผลไม้ที่ปลูกในประเทศกับผลไม้นำ
    ผลไม้นำเข้า พบการตกค้าง 33.3%
    ผลิตในประเทศ พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานสูงถึง 48.7%

    ปี 2019 ผักผลไม้ในห้างค้าปลีกมีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานมากกว่าตลาดสด

    ในห้างพบ 44% (พบ 52 ตัวอย่างจาก 118 ตัวอย่าง)
    ตลาดสดพบ 39% (66 จาก 168 ตัวอย่าง)

    อัตราการตกค้างของผักและผลไม้ในปี 2562 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2560 ซึ่งไทยแพบพบการตกค้างเกินมาตรฐาน 46%

    ผักผลไม้ที่ได้ตรารับรองคุณภาพ GAP, GMP พบการตกค้างเหลือ 26%

    ผักผลไม้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของรัฐ “Organic Thailand” ยังคงต้องปรับปรุง เพราะตกค้างของสารพิษ 3 ตัวอย่างจาก 6 ตัวอย่าง

    ตรารับรองเกษตรอินทรีย์อื่น เช่น USDA, EU, Bioagricert, มกท.(สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์) สุ่มไม่พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานเลย

    สารพิษกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างมากที่สุดคือ สารฆ่าเชื้อรา คาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งไม่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในสหรัฐอเมริกานานกว่าทศวรรษ เพราะมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ แต่กลับพบการตกค้างในผักและผลไม้ถึง 57 ตัวอย่าง

    รองลงมาคือไซเปอร์เมทริน อิมิดาคลอร์ฟริด เอซอกซิสโตรบิน และคลอร์ไพริฟอสซึ่งเป็นสารพิษที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนการสมองของเด็ก พบ 54, 41, 39 และ 38 ตัวอย่างตามลำดับ

    พบสารพิษกำจัดศัตรูพืชที่ยกเลิกการใช้ไปแล้ว

    เช่น เมทามิโดฟอส ถึง 8 ตัวอย่าง

    พบสารพิษที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียน

    เช่น คาร์โบฟูราน 9 ตัวอย่าง เมโทมิล 10 ตัวอย่าง

    สารซึ่งไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556

    มากถึง 9 ชนิด เช่น 
    Boscalid, Ethirimol, Fenhexamid, Fluxapyroxad, Isopyrazam, Metrafenone, 
    Proquinazid, Pyrimethanil, Quinoxyfen

    สาร 3 กลุ่มนี้ทั้งหมดล้วนผิดกฎหมายและเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ปล่อยให้มีการใช้ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ที่ปล่อยให้มีการตกค้าง

    นางสาวปรกชลได้กล่าวถึงการดำเนินการต่อไปว่า ไทยแพนจะจัดเตรียมผลการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวและประเด็นหารือไปเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ หลังจากมีการโปรดเกล้าแต่งตั้งแล้ว โดยจะเรียกร้องให้ทั้ง 2 กระทรวงเดินหน้ายุติการใช้สารพิษอันตรายร้ายแรง 3 ชนิด ได้แก่
    พาราควอต
    คลอร์ไพริฟอส
    ไกลโฟเซต
    โดยเร็วที่สุด และเสนอให้จัดการแก้ปัญหาสารพิษที่ตกค้างบ่อย และตรวจพบตกค้างเป็นอันดับต้นๆ เช่น สารคาร์เบนดาซิม รวมถึง แนวทางจัดการกับหน่วยราชการที่ปล่อยให้มีการจำหน่ายและใช้จนสามารถตรวจพบการตกค้าง

    “ส่วนกรณีผักผลไม้ที่ขายในห้างค้าปลีก โดยเฉพาะส่วนที่พบว่ายังมีการใช้สารพิษร้ายแรงที่
    ประเทศไทยได้ห้ามใช้แล้ว ไทยแพนจะนำข้อมูลดังกล่าวไปมอบให้ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เพื่อให้มีการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดต่อไป”

    “ผลการตรวจวิเคราะห์ของไทยแพนในครั้งนี้เป็นการดำเนินการร่วมกันของหลายฝ่าย ภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมจะดำเนินการนำผลวิเคราะห์ไปหารือกับเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดและผู้ประกอบการในพื้นที่เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว เช่น การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ เปิดตลาดเขียวพื้นที่ และผลักดันให้เกิดธรรมนูญตำบล เพื่อจัดทำเขตปลอดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและยาฆ่าหญ้าเพื่อให้ผักและผลไม้ในพื้นที่ต่างๆปลอดจากสารพิษ และประชาชนมีสุขภาพที่ดีจากสิ่งแวดล้อมและอาหารที่ปลอดภัยมากขึ้น”

    https://www.thaipan.org/action/1107



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories