• July 12, 2021

    Novavax วัคซีนโควิด-19 ตัวใหม่จากสหรัฐฯ วัคซีน Novavax คิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท Novavax Inc หนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเจรจาร่วมกับองค์กรเภสัชกรรมเพื่อการนำเข้ามาสู่โรงพยาบาลเอกชนแห่งต่าง ๆ ในประเทศไทย

    Belward Campus.jpg (880×587)

    Novavax วิธีผลิตอย่างไร

    Novavax ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบใช้โปรตีน (Protein-nanoparticle Vaccine) กล่าวคือ เป็นวัคซีนที่ใช้ชิ้นส่วนโปรตีนของโคโรนาไวรัสมารวมกับสารกระตุ้นภูมิต้านทาน และฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัส
    วิธีการผลิตในลักษณะนี้กระตุ้นภูมิต้านทานได้มากกว่า 3,000 ไตเตอร์ (Titer) ถือเป็นตัวเลขที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนแบบไวรัลเวกเตอร์ที่ใช้ใน Astrazeneca และ Sputnik V รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนแบบ mRNA ที่ใช้ใน Pfizer และ Moderna

    Novavax เริ่มทดลองวัคซีนในระยะที่ 1 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2020 ในสหรัฐฯ ก่อนจะทดลองในระยะที่ 2 และ 3 ตามมาในต่างประเทศ อย่างอังกฤษ ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ และเม็กซิโก
    วันที่ 28 มกราคม 2021 Novavax ได้รายงานผลการทดลองเบื้องต้นในอังกฤษ พบว่า
    วัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 กว่า 89%
    ขณะที่ผลการทดลองในแอฟริกาใต้ซึ่งมีการระบาดของสายพันธุ์เบต้า มีประสิทธิภาพอยู่ที่ประมาณ 50-60%

    12 มีนาคม Novavax ได้เผยผลการทดลองอีกครั้งว่า
    ตัววัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19
    สายพันธุ์ดั้งเดิมสูงถึง 90.4%
    ส่วนสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างอัลฟาและเบต้า จะอยู่ที่ 86% และ 55% ตามลำดับ
    ทว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการป่วยรุนแรงได้ 100% ทุกสายพันธุ์

    เงื่อนไขการฉีด วัคซีน Novavax

    วัคซีน Novavax เป็นวัคซีนพร้อมใช้ ฉีด 2 เข็ม
    เข็มที่ 2 ต้องฉีดห่างจากเข็มที่ 1 ราว ๆ 3 สัปดาห์
    ฉีดได้ตั้งแต่ผู้ที่มีอายุ 18 ปี – 84 ปี และมีข้อห้ามเช่นเดียวกันกับวัคซีนชนิดอื่น ๆ ได้แก่

    • ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในครั้งก่อน ๆ
    • ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน
    • ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรง
    • ห้ามฉีดในสตรีมีครรภ์

    ผลการเจรจานำเข้าวัคซีน Novavax ยังไม่ได้มีการยืนยันอย่างเป็นทางการ หากบรรลุข้อตกลง ก็จะต้องมีการยื่นเอกสารขอรับการประเมินวัคซีนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต่อไป

    ได้ผ่านการทดลองมาเรียบร้อยแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูง ได้แก่ วัคซีน Novavax แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA)  นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิมนี้อาจลดความลังเลใจของประชาชนในการรับวัคซีนได้มากกว่าวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง mRNA ทั้งยังสามารถแจกจ่ายให้กับประเทศทั่วโลกได้ง่ายขึ้น

    วัคซีน Novavax ต่างจาก Pfizer และ Moderna อย่างไร

    Pfizer และ Moderna เป็นวัคซีนในกลุ่ม mRNA อันเป็นเทคโนโลยีที่มีการวิจัยมาอย่างยาวนานแต่ไม่เคยใช้งานจริงมาก่อน

    mRNA เป็นชุดคำสั่งที่บอกให้ร่างกายมนุษย์เรียนรู้วิธีการผลิต “โปรตีนส่วนหนาม (spike protein)” ของไวรัสโคโรนาขึ้น จากนั้น ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายก็จะตรวจพบโปรตีนดังกล่าว และสร้างแอนติบอดีขึ้นมาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

    Novavax มีวิธีป้องกันการติดเชื้อที่ลัดกว่าการใช้เทคโนโลยี mRNA
    โดย Novavax จะมีโปรตีนส่วนหนามของไวรัสอยู่ในโดส (Subunit Protein) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมที่มีการทดลองใช้มาตั้งแต่ปี 1986 เรียกว่าเป็นวิธีการย่อยโปรตีน และเป็นวิธีการแบบเดียวกันกับวัคซีนไวรัสตับอักเสบ B โรคไอกรน และไข้หวัดใหญ่

    วัคซีน mRNA จะสอนให้ร่างกายของเราเรียนรู้วิธีสร้างโปรตีนส่วนหนาม แต่วัคซีน Novavax ผลิตขึ้นจากโปรตีนส่วนหนามเพื่อส่งเข้ามาผสมกับภูมิคุ้มกันในร่างกายเราโดยตรงโดยไม่มีอันตราย

    วัคซีน Novavax ดีอย่างไร

    วัคซีน Novavax ไม่มีส่วนประกอบของเชื้อไวรัสโคโรนาใดๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และยังมีแนวโน้มว่าจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าวัคซีนตัวอื่น ๆ อีกด้วย และ ไม่จำเป็นต้องจัดเก็บวัคซีนไว้ในอุณหภูมิเยือกแข็งเหมือนวัคซีนอื่น ๆ ทำให้ง่ายต่อการแจกจ่ายวัคซีนให้แก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

    การทดลองระยะที่ 1 พบว่า Novavax มีประสิทธิภาพสูงถึง 96% ในการป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.1.7 ที่กำลังแพร่ระบาดในสหรัฐฯ ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าการทดลองในระยะที่ 3 ของ Pfizer และ Moderna เล็กน้อย

    ฉีดวัคซีน Novavax ได้ตอนไหน

    ขณะนี้เรายังไม่สามารถเข้ารับวัคซีน Novavax ได้ แม้จะมีเงินทุนสนับสนุนเพียงพอจากรัฐบาลกลาง แต่ Novavax จะไม่ขอรับการอนุมัติจาก FDA จนกว่าจะถึงปลายเดือนกันยายน อีกหลายเดือนกว่าวัคซีน Novavax จะมาถึงเรา นี่จึงเป็นสิ่งที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญกังวลว่า แม้ Novavax จะให้คำมั่นที่ดูมีความหวัง แต่ก็เกรงว่าจะสายเกินไปสำหรับการระบาดใหญ่ในสหรัฐฯ 

    ข้อเสียที่สำคัญเพียงอย่างเดียวของ Novavax คือ วัคซีนยังไม่พร้อมที่จะออกสู่ตลาด ไม่เช่นนั้น นักวิทยาศาสตร์ก็หวังว่าวัคซีนตัวใหม่นี้อาจเป็นจุดเปลี่ยนในการต่อสู้ระดับโลกเพื่อป้องกันโควิด-19 

    มีนาคม 2021
    https://www.prachachat.net/world-news/news-629082

    Novavax ยืนยันวัคซีนของบริษัทมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโควิด ทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์ใหม่ จากการทดลองที่สหราชอาณาจักรและแอฟริกาใต้
    วันที่ 12 มีนาคม 2563 รายงานข่าวจาก โนวาแวกซ์ อิงค์ ผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของสหรัฐ ประกาศว่า วัคซีน NVX-CoV2373 ที่ทางบริษัทเป็นผู้พัฒนานั้น มีประสิทธิภาพ 96.4% ในการป้องกันโรคโควิด-19 อาการไม่รุนแรง รุนแรงปานกลาง และรุนแรงมาก ที่มีสาเหตุจากไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม ผลการศึกษาที่ว่านี้มาจากโครงการทดลองเฟส 3 ในสหราชอาณาจักร
    นอกจากนี้ ทางบริษัทยังได้ประกาศผลการวิเคราะห์โครงการทดลองเฟส 2b ที่ดำเนินการในแอฟริกาใต้ด้วย ผลปรากฏว่าวัคซีนของบริษัทมีประสิทธิภาพ 55.4% ในกลุ่มอาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดลองและมีผลตรวจ HIV เป็นลบ ในพื้นที่ที่สายพันธุ์ส่วนใหญ่นั้นเป็นสายพันธุ์ B1.351 ซึ่งกลายพันธุ์มาจากตัวดั้งเดิม
    ทั้งนี้ ในการทดลองทั้งคู่ พบว่า NVX-CoV2373 มีประสิทธิภาพ 100% ในการป้องกันโรครุนแรง ซึ่งรวมถึงกรณีรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตทั้งหมด โครงการทดลองทั้งสองบรรลุเกณฑ์ความสำเร็จทางสถิติแล้ว ส่วนผลการวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายที่ประกาศวันนี้ เป็นการสานต่อผลการวิเคราะห์ก่อนการวิจัยสิ้นสุดที่ปรากฏให้เห็นผลสำเร็จ ดังที่ประกาศไว้เมื่อเดือนมกราคม 2564 โดยมีจำนวนเคสโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมีอิทธิพลทางสถิติเพิ่มขึ้นด้วย

    “วัคซีน NVX-CoV2373 ไม่ได้ให้การป้องกันเคสหนักอย่างสมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังลดโรคที่แสดงอาการไม่รุนแรงและรุนแรงปานกลางในการทดลองทั้งสองโครงการด้วย โครงการวิจัยทั้งสองยืนยันได้ว่าวัคซีนใช้ได้ผลกับไวรัสกลายพันธุ์”
    นาย Stanley C. Erck ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Novavax กล่าว

    “วันนี้ครบหนึ่งปีพอดีนับตั้งแต่ที่ WHO ได้ประกาศการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 อย่างเป็นทางการ และเมื่อมีข้อมูลนี้แล้ว เราก็มีกำลังใจมากขึ้นในการเดินหน้าพัฒนาวัคซีนของเราต่อไป เพื่อใช้เป็นอาวุธทำลายความทุกข์ยากจากโรคโควิด-19”

    การทดลองเฟส 3 ในสหราชอาณาจักร
    โครงการวิจัยได้เปิดรับอาสาสมัครอายุ 18-84 ปี เข้าร่วมทดลองวัคซีนกว่า 15,000 ราย ในจำนวนนี้มีอายุเกิน 65 ปีอยู่ 27% ผลลัพธ์หลักในการทดลองเฟส 3 ที่สหราชอาณาจักรนี้ ประเมินจากการเกิดขึ้นครั้งแรกของโรคโควิด-19 แบบแสดงอาการที่ยืนยันด้วยเทคนิค PCR แล้ว (ไม่รุนแรง รุนแรงปานกลาง หรือรุนแรงมาก) โดยเริ่มแสดงอาการอย่างน้อย 7 วันหลังฉีดวัคซีนโดสสองในกลุ่มอาสาสมัครวัยผู้ใหญ่ที่ผลตรวจภูมิคุ้มกัน (ต่อไวรัส SARS-CoV-2) เป็นลบ ณ เส้นฐาน
    ผลปรากฏว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพ 96.4% (95% CI: 73.8, 99.5) ต่อไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม และ 86.3% (95% CI: 71.3, 93.5) ต่อไวรัสสายพันธุ์ B.1.1.7/501Y.V1 ซึ่งแพร่ระบาดในสหราชอาณาจักร (วิเคราะห์แบบ post hoc) ส่วนผลลัพธ์หลักด้านประสิทธิภาพปรากฏให้เห็นประสิทธิภาพวัคซีนรวมที่ 89.7% (95% CI: 80.2, 94.6) การทดลองนี้พบผู้ติดเชื้อ 106 คนด้วยกัน แยกเป็น 10 คนในกลุ่มที่ใช้วัคซีน ส่วนอีก 96 คนอยู่ในกลุ่มยาหลอก
    วัคซีน NVX-CoV2373 มีประสิทธิภาพกับโรคอาการรุนแรง โดยพบผู้ป่วยอาการรุนแรง(1) ทั้งสิ้น 5 คนด้วยกัน และทั้งหมดอยู่ในกลุ่มยาหลอก ในจำนวนเคสรุนแรงนี้เป็นสายพันธุ์ B.1.1.7/501Y.V1 อยู่ 4 รายด้วยกัน และเมื่อผ่านไป 14 วันหลังให้ยาโดสแรกแล้ว ประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ที่ 83.4% (95% CI: 73.6, 89.5)
    ในกลุ่มอาสาสมัครอายุ 65 ปีขึ้นไป พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 10 รายด้วยกัน ในจำนวนนี้อยู่ในกลุ่มยาหลอกถึง 90% โดยผู้สูงอายุนั้นเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโรคนี้มากเป็นอันดับต้น ๆ และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคโควิด-19
    Novavax หวังที่จะใช้ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการยื่นขออนุมัติให้ใช้งานวัคซีนดังกล่าวกับหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกต่อไป


    การทดลองเฟส 2b ในแอฟริกาใต้
    การทดลองที่แอฟริกาใต้เป็นการทดลองเฟส 2b แบบสุ่ม ปกปิดข้อมูลกับผู้สังเกตการณ์ และมีกลุ่มควบคุมด้วยยาหลอก เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวัคซีน NVX-CoV2373 โดยกลุ่มแรกเป็นการประเมินประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และภูมิต้านทาน ในผู้ใหญ่สุขภาพแข็งแรงประมาณ 2,665 ราย ส่วนกลุ่มที่สองประเมินความปลอดภัยและภูมิต้านทานของผู้ใหญ่ที่มีผลตรวจ HIV เป็นบวกและมีอาการคงที่จำนวนประมาณ 240 ราย
    ผลวิเคราะห์ประสิทธิภาพของวัคซีนในกลุ่มผู้ที่ตรวจด้วยเทคนิค PCR แล้วมีผลเป็นบวก 147 ราย (51 รายในกลุ่มที่ใช้วัคซีน และ 96 รายในกลุ่มยาหลอก) ปรากฏให้เห็นว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพรวม 48.6% ต่อไวรัสกลายพันธุ์ที่แพร่ระบาดมากในพื้นที่ (95% CI: 28.4, 63.1) ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของวัคซีนนั้นเป็นสายพันธุ์ B.1.351/501Y.V2 ที่แพร่ระบาดในแอฟริกาใต้
    โดยพบเคสรุนแรง 5 ราย และอยู่ในกลุ่มยาหลอกทุกคน ส่วนในกลุ่มอาสาสมัครที่ผลตรวจ HIV เป็นลบนั้น พบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพ 55.4% (95% CI: 35.9, 68.9) ผลการวิเคราะห์อย่างสมบูรณ์แสดงให้เห็นว่า การคุ้มครองจากวัคซีนเริ่มขึ้นหลังได้ยาโดสแรกไป 14 วัน (42.7% 95% CI: 25.0, 56.3) แม้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นหลังให้ยาโดสสองไป 7 วัน ซึ่งเป็นผลลัพธ์หลักในการวิจัยนี้
    ผลการวิเคราะห์เบื้องต้นที่รายงานก่อนหน้านี้จากการวิจัยเป็นระยะเวลา 60 วันบ่งชี้ว่า การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมมาก่อนนั้น อาจไม่ได้ให้การปกป้องต่อสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในแอฟริกาใต้ได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี ผลการวิเคราะห์อย่างสมบูรณ์ในการทดลองที่แอฟริกาใต้บ่งชี้ว่า การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมมาก่อนอาจให้การคุ้มครองในภายหลัง โดยในกลุ่มยาหลอกนั้น อัตราการป่วย ณ 90 วัน ในกลุ่มผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อนอยู่ที่ 7.9% ส่วนกลุ่มที่เคยติดเชื้อมาก่อนนั้นมีอัตราการป่วยอยู่ที่ 4.4%
    ในการทดลองทั้งที่สหราชอาณาจักรและแอฟริกาใต้ ผลการวิเคราะห์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า วัคซีนดังกล่าวทนต่อผลข้างเคียงได้ดี โดยพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์น้อยมาก ณ วันที่ 35 ทั้งในระดับรุนแรง ร้ายแรง (SAE) และควรพบแพทย์ ซึ่งสมดุลกันระหว่างกลุ่มวัคซีนกับกลุ่มยาหลอก

    June 2021
    https://brandinside.asia/novavax-clinical-trial-phase-3-efficacy-about-90-percent/
    Novavax วัคซีนสัญชาติอเมริกันตัวที่ 4 ประสิทธิภาพสูง 90.4%

    บริษัท Novavax (โนวาแว็กซ์) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพสัญชาติสหรัฐอเมริกา ประกาศผลทดลองทางคลินิกระยะ 3 ของวัคซีน ที่ทำการทดลองในสหรัฐฯ และเม็กซิโก พบว่า มีประสิทธิภาพสูงมากถึง 90.4%

    Dr. Gregory Glenn ประธานด้านการวิจัยและการพัฒนาจากบริษัท Novavax ระบุว่า
    ผลของการทดลองมีประสิทธิภาพสม่ำเสมอ ปลอดภัย แม้ในการทดลองนั้นจะมีความแตกต่างหลายด้าน พื้นที่ทดลอง ประชากร ไวรัสในแต่ละพื้นที่ ก็พบว่าวัคซีนนี้มีประสิทธิภาพที่ดี นี่คือสิ่งที่ผู้คนต้องการ

    ผลจากการศึกษาเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
    มีการทดลองวัคซีนในผู้ใหญ่ราว 29,960 คน จาก 113 แห่งในสหรัฐฯ และ 6 แห่งในเม็กซิโก
    ผู้เข้าร่วมการทดลองมีทั้งคนที่ได้รับยาหลอกและมีคนที่ได้รับวัคซีน 2 โดสที่ห่างกันเป็นระยะเวลา 21 วัน
    อาการข้างเคียงหลังจากรับวัคซีน มีอาการปวดตั้งแต่ช่วงที่รับวัคซีน มีอาการเหนื่อยล้า ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

    โดยการทดลองนี้มีคนที่ติดเชื้อโควิด 77 คน แบ่งให้ 63 คนได้รับยาหลอก และอีก 14 คนได้รับวัคซีนจริง
    โดยคนที่อยู่ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนจริงมีอาการป่วยน้อย ขณะที่คนที่มีอาการป่วยระดับปานกลาง 10 คนและคนที่มีอาการป่วยรุนแรง 4 คนในกลุ่มยาหลอกแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของวัคซีน 100% ป้องกันทั้งผู้ที่มีอาการของโรคระดับปานกลางหรือรุนแรงได้ นอกจากนี้คนที่อยู่ในกลุ่มของผู้มีความเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่ก็เป็นคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป บริษัทจึงประกาศประสิทธิภาพวัคซีนสำหรับผู้มีความเสี่ยงสูงอยู่ที่ 91%

    ภาพจาก Novavax
    [จากภาพ*] การทดลองวัคซีนระยะ 3 มีผู้เข้าร่วม 29,960 คน แบ่งเป็นคนเชื้อสายลาตินอเมริกา 20% แอฟริกัน-อเมริกัน 12% อเมริกัน 7% เอเชีย-อเมริกัน 5% ทดลองในสหรัฐอเมริกา 113 แห่ง ในเม็กซิโก 6 แห่ง มีการทดลองในคนที่สูงวัยอายุ 65 ปีขึ้นไป 13%
    ผลการวิเคราะห์การทดลองวัคซีน Novavax เฟส 3 ในอังกฤษเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาพบว่า ประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ที่ 89.7% และมีประสิทธิภาพ 96.4% สำหรับต้านโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม มีประสิทธิภาพสูง 86.3% ต้านโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่พบในอังกฤษหรือ B.1.1.7 นั่นเอง
    วัคซีน Novavax มีชื่อทางการว่า NVX-CoV2373 เป็นวัคซีนตัวที่ 4 ของสหรัฐอเมริกาและแตกต่างจาก 3 ตัวก่อนหน้านี้ของสหรัฐฯ เพราะเป็นวัคซีนที่ใช้วิธีการผลิตแบบดั้งเดิมคือนำโปรตีนจากส่วนหนึ่งของเชื้อมาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ Matrix-M™ เพื่อให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทาน ขณะที่ 3 แบรนด์ก่อนหน้านี้ของสหรัฐฯ Pfizer-BioNTech, Moderna เป็นวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ส่วน Johnson & Johnson ใช้ไวรัสเป็นพาหะ ตัดแต่งพันธุกรรม
    เดือนมกราคมที่ผ่านมา Novavax ทดลองในอังกฤษจำนวน 15,000 คนพบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพสูง 96% ต่อต้านไวรัสสายพันธุ์เดิมได้และยังต้านไวรัสสายพันธุ์อัลฟา (Alpha) ของอังกฤษด้วย แม้ประสิทธิภาพลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 86% ขณะที่ในแอฟริกาใต้ ทดลองในกลุ่มคนที่จำนวนน้อยกว่าในอังกฤษมาก อยู่ที่ 2,900 คน แอฟริกาใต้มีไวรัสสายพันธุ์เบตา (Beta) ทางบริษัทพบว่ามีประสิทธิภาพต้านไวรัสเพียง 49% เท่านั้น
    อย่างไรก็ดี การระบุว่าวัคซีน Novavax ไม่สามารถต้านไวรัสสายพันธุ์เบตาของแอฟริกาใต้นั้นอาจยังไม่สามารถสรุปได้ในตอนนี้เพราะการทดลองในแอฟริกาใต้มีกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อย มีแค่เพียง 2,900 คนเท่านั้นและยังมีความซับซ้อนมากขึ้นเมื่ออาสาสมัครที่เข้าทำการทดลองมีคนติดเชื้อ H.I.V. อยู่ด้วย จำเป็นต้องใช้กลุ่มตัวอย่างในจำนวนที่มากกว่านี้

    ประสิทธิภาพของวัคซีน Novavax นั้นสูงพอๆ กับวัคซีน Pfizer-BioNTech และ Moderna และยังสูงกว่า Johnson & Johnson ที่ฉีดเพียงหนึ่งโดสเท่านั้น Novavax ระบุว่าอาจจะไม่ขออนุมัติจากองค์การอาหารและยาให้ใช้เพื่อการฉุกเฉินจนกว่าจะถึงปลายเดือนกันยายน เป็นไปได้ว่า Novavax อาจจะขอใบอนุญาติเต็ม ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือนและกำลังอยู่ในแผนเตรียมการผลิตให้ได้ราว 100 ล้านโดสต่อเดือนภายในไตรมาส 3 นอกจากนี้ Stanley Erck CEO ของบริษัทระบุว่า Novavax อาจจะเป็นรายแรกที่ได้รับอนุมัติให้ใช้วัคซีนที่ใดก็ได้ ทางบริษัท Novavax กำลังขอให้ใช้ได้ในอังกฤษ สหภาพยุโรป อินเดียและเกาหลีใต้
    ปีที่ผ่านมา โครงการ Operation Warp Speed ภายใต้การบริหารของ Donald Trump บริษัท Novavax ก็ได้เซ็นสัญญาภายใต้โครงการนี้ ซึ่งถือเป็นดีลใหญ่ที่สุดของโครงการ มีมูลค่ามาหาศาลราว 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 4.98 หมื่นล้านบาทเพื่อผลิตวัคซีนให้ได้ 100 ล้านโดส ด้าน Erck CEO บริษัท Novavax ระบุว่า Novavax เตรียมแผนจะผลิตวัคซีนให้ได้ 100 ล้านโดสต่อเดือนภายในช่วงปลายไตรมาส 3 และผลิตวัคซีน 150 ล้านโดสต่อเดือนภายในช่วงปลายไตรมาส 4
    Novavax ก่อตั้งขึ้นในปี 1987 ตั้งอยู่ที่รัฐ Maryland ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตวัคซีนที่รักษาโรคติดเชื้อหายยาก เช่นโรคอีโบลา ไข้หวัดใหญ่ ไวรัส RSV (เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ) และโรคอุบัติใหม่ทั้งหลาย ซึ่งก็รวมโควิด-19 ด้วย

    Novavax ยังเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทอีกหลายแห่งเพื่อที่จะสามารถผลิตวัคซีนได้ในปริมาณมาก Novavax ร่วมเป็นหุ้นส่วนกับ Serum Institue ของอินเดีย ร่วมกับ SK Biosciences ในเกาหลีใต้ และยังทำความตกลงกับ Gavi หรือ Gavi Alliance (องค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน) เป็นองค์กรที่มีภาคเอกชนและภาครัฐเป็นหุ้นส่วนกัน เป็นหนึ่งในองค์กรที่มีบทบาทนำในการบริจาควัคซีนผ่านโครงการ Covax มีผู้บริจาครายใหญ่คือประเทศอังกฤษ, มูลนิธิ Bill & Melinda Gates, สหรัฐอเมริกา, นอร์เวย์, เยอรมนี, ฝรั่งเศส และแคนาดา เพื่อจัดหาวัคซีนให้ประเทศรายได้ปานกลางและรายได้น้อยราว 1.1 พันล้านโดส

    june 2021
    วัคซีน Novavax ไม่มีโปรตีนสไปค์ที่เป็นอันตรายขัดขวางการกระตุ้นภูมิจากเชื้อโควิด-19
    https://www.hfocus.org/content/2021/06/22020

    14 มิถุนายนเกี่ยวกับ Novavax ที่ประกาศผลการทดลองทางคลินิกกับผู้ป่วยจำนวน 29,960 คนในสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก ระบุว่าวัคซีนนี้มี “โปรตีนขัดขวางที่เป็นอันตราย” Ruby ทวีต “การฉีด Novax จะทิ้งโปรตีนขัดขวางนับล้านเข้าไปในร่างกายของคุณ” Ruby เสริม แทบจะอดใจรอไม่ไหวที่จะได้เห็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายทั้งหมดจากสิ่งนั้น
    ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนการอ้างว่าโปรตีนขัดขวางเป็นอันตราย โปรตีนสไปค์ที่ผลิตขึ้นจากการฉีดวัคซีนช่วยกระตุ้นการป้องกันของร่างกายจากโควิด-19 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริการะบุว่า “ไม่เป็นอันตราย” ซึ่งบัญชี Twitter Ruby ของเธอระบุว่าเธอคือ “Dr. Jane Ruby” ไม่ใช่แพทย์ เธออธิบายตัวเองว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและเป็น “บัณฑิตทางการเมืองแนวใหม่” ด้วยปริญญาเอกด้านจิตวิทยา โปรไฟล์ LinkedIn ของเธอแสดงให้เห็นว่าเขามีพื้นฐานด้านการวิจัยยาและการพยาบาล แม้ว่าภายหลังหน่วยงานตรวจสอบข้อเท็จจริงอิสระจะมีกาส่งข้อความถึง Ruby ทาง Twitter แต่ไม่ได้รับการตอบกลับ จึงได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ของโปรตีนขัดขวางอื่นๆ ซึ่งพบว่าไม่มีหลักฐานว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง 
    ทั้งนี้ทางหน่วยงานตรวจสอบข้อเท็จจริงอิสระให้ชุดข้อมูลเป็นเท็จ โดยอ้างอิงจากข้อมูลของ นักภูมิคุ้มกันวิทยาจากไวรัสชาวแคนาดา Byram Bridle ระบุว่าโปรตีนขัดขวางจากวัคซีนโควิด-19 คนที่กำลังได้รับการเข้าฉีดวัคซีนจะได้รับการ “ฉีดสารพิษ” ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนผลิตสารพิษที่อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและความเสียหายทางระบบประสาท ตามที่ Bridle กล่าวหา นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเป็นเท็จโดยอ้างว่าวัคซีนโควิด-19 “โปรตีนเข็มมีอันตรายมาก เป็นพิษต่อเซลล์” เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของสหรัฐอเมริกาและผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนกล่าวว่าไม่มีหลักฐานว่าโปรตีนขัดขวางจากวัคซีนเป็นพิษหรือ “เป็นพิษต่อเซลล์” ด้วยเช่นกัน การกล่าวถึงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดของ Ruby หมายถึงรายงานจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจอักเสบเฉียบพลันที่เกิดขึ้นในคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ หลังจากได้รับวัคซีนโควิด-19 ที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ของ Pfizer-BioNTech และ Moderna ซึ่งเป็นการใช้กลไกที่แตกต่างจากวัคซีน Novavax เพื่อกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
    ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประกาศว่าจะจัดการประชุมฉุกเฉินในวันที่ 18 มิถุนายน เพื่อหารือเกี่ยวกับความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างภาวะดังกล่าวกับวัคซีน องค์กรด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น European Medicines Agency ก็กำลังสืบสวนอยู่เช่นกัน จนถึงตอนนี้ ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ากรณีเหล่านี้เกิดจากวัคซีนหรือโปรตีนสไปค์

    Novavax ซึ่งกำลังพยายามที่จะเป็นบริษัทที่ 4 ที่ได้รับอนุมัติให้ใช้วัคซีนในสหรัฐฯ กล่าวว่า
    จากการทดลองแสดงให้เห็นว่าวัคซีนของบริษัท “สามารถป้องกันโรคในระดับปานกลางและรุนแรงได้ 100% โดยมีประสิทธิภาพโดยรวม 90.4%” บริษัท กล่าวว่ามีแผนที่จะขออนุมัติด้านกฎระเบียบในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 และคาดว่าจะสามารถผลิตได้ 100 ล้านโดสต่อเดือนภายในสิ้นไตรมาส
    โฆษกของ Novavax กล่าวว่า วัคซีนได้มาจากลำดับพันธุกรรมของโปรตีนขัดขวางไวรัส SARS-CoV-2 “มันเป็นโปรตีนที่ไม่เป็นอันตรายซึ่งไม่สามารถเกิดการติดเชื้อซ้ำหรือทำให้เกิดโควิด-19 ได้ ซึ่งมันจะ ‘สอน’ ระบบภูมิคุ้มกันของคุณให้รู้จักกับไวรัส เพื่อที่ว่าเมื่อสัมผัสกับของจริง ร่างกายของคุณก็พร้อมที่จะสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพ”

    Dr. Paul Offit ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาวัคซีนแห่งโรงพยาบาลเด็ก Philadelphia และสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวัคซีนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา กล่าวว่าวัคซีน Novavax ที่ใช้โปรตีนมีความคล้ายคลึงกันในแนวทางของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ Flublok ซึ่งมีโปรตีนจากไวรัสตัวเดียวคือโปรตีนพื้นผิว SARS-CoV-2 “โปรตีนนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเป็นอันตราย มันเป็นโปรตีนจากไวรัสตัวเดียวที่คล้ายกับไวรัสตับอักเสบบีและวัคซีนไวรัสในโรคมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ของมนุษย์ ซึ่งมันมีความปลอดภัยเป็นอย่างยิ่ง ในทางกลับกัน ไวรัส SARS-CoV-2 สามารถแพร่พันธุ์ตัวเองได้เป็นพัน ๆ ครั้ง และเป็นอันตรายอย่างยิ่ง”
    สถาบันสุขภาพแห่งชาติกล่าวว่าข้อมูลจากการทดลอง “บ่งชี้ว่าวัคซีนที่ใช้ในการวิจัยโดยทั่วไปได้รับการยอมรับอย่างดี” ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดคืออาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลางบริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อชั่วคราว

    July 2021
    https://thematter.co/brief/148371/148371
    Novavax วัคซีนที่มีประสิทธิภาพกันป่วยกลางและหนักสูงถึง 100% ‘วัคซีน COVID-19 ที่โลกตั้งตารอ’

    สำหรับวัคซีน COVID-19 ที่มีชื่อว่า Novavax หากจะเคลมว่ามันเป็นวัคซีน COVID-19 ที่โลกตั้งตารออาจไม่ผิดนัก เพราะมันเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างโดดเด่น อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในวัคซีนหลักของโครงการ COVAX ที่มีเป้าหมายกระจายวัคซีนให้ประเทศรายได้น้อยและปานกลางทั่วโลก เพื่อหยุดการระบาดของไวรัสให้สิ้นสุด

    วัคซีนและผู้ผลิตมีชื่อเดียวกันว่า Novavax เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกันที่ได้รับทุนสนับสนุนการผลิตจากกลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations: CEPI) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ COVAX ซึ่งไทยปฏิเสธการเข้าร่วมเพราะไม่อยากนำเงินลงไปเสี่ยงกับสิ่งที่คาดเดาไม่ได้

    วิธีผลิต Novavax เป็นวิธีดั้งเดิม เช่นเดียวกับที่ผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีและวัคซีนไข้หวัดใหญ่
    นพ.ชนาธิป ไชยเหล็ก เปรียบการทำงานของ Novavax ไว้เหมือนอาหารสำเร็จรูป ซื้อแล้วทานได้เลย กล่าวคือ Novavax เป็นโปรตีนหนามที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายโดยตรง ไม่ต้องผ่านตัวกลางหรือกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายเช่นวัคซีนตัวอื่น แม้กระทั่ง mRNA 
    สำหรับการฉีด Novavax ต้องฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ในระยะเวลาห่างกัน 21 วัน โดยข้อดีอีกประการของมันคือ สามารถเก็บได้ง่ายในอุณหภูมิที่ 2-8 องศาเซลเซียส ซึ่งนับว่าง่ายกว่าวัคซีนชนิด mRNA อย่าง Moderna และ Pfizer อยู่ไม่น้อย 

    สำหรับประสิทธิภาพของวัคซีน การทดลองในเฟส 3 (Clinical Trial) ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ และเม็กซิโก ได้รับอาสาสมัครจำนวน 29,960 คน เพื่อทดลองรับ Novavax ให้ครบสองเข็มแล้วมาวัดภูมิคุ้มกันต่อไวรัส COVID-19 ผลวิจัยที่ออกมาอยู่ในระดับน่าทึ่ง Novavax มีประสิทธิภาพป้องกันอาการป่วยเบาสูงถึง 90.4% และ 100% สำหรับอาการป่วยกลางและป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล
    งานวิจัยในสหรัฐฯ ยังมีการเก็บข้อมูลประสิทธิภาพของ Novavax ต่อไวรัส COVID-19 ที่กลายพันธุ์ โดยเป็นการวิเคราะห์รวมทุกสายพันธุ์ที่น่ากังวล แต่ส่วนใหญ่คืออัลฟา (อังกฤษ) ผลปรากฎว่ามีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ถึง 93.2% 

    ผลการทดลองเฟส 3 ในสหราชอาณาจักรก็ให้ผลคล้ายกัน โดยจากอาสาสมัครกว่า 15,000 คนที่มีอายุระหว่าง 18-84 ปี และบางส่วนติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อัลฟา พบว่า Novavax มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาากรได้ถึง 89.3% ขณะที่การทดลองเฟส 2-3 ในแอฟริกาใต้ พบว่าวัคซีนตัวนี้มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการได้ 60.1% และมีประสิทธิภาพต่อสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) 51%

    และถ้าหากเราลองพิจารณาเทียบประสิทธิภาพกันแบบคร่าวๆ กับวัคซีนอีกสองตัวคือ Pfizer และ AstraZeneca โดยจากการเก็บข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขสหราชอาณาจักรพบว่า วัคซีน Pfizer และ AstraZeneca มีประสิทธิภาพกันป่วยแบบมีอาการจากสายพันธุ์อัลฟาได้ 93% และ 66% ตามลำดับ ทั้งนี้ ยังไม่มีงานวิจัยที่รองรับประสิทธิภาพของวัคซีน Novavax ต่อสายพันธุ์เดลตาออกมา

    ผลข้างเคียง อาจน้อยกว่าวัคซีน COVID-19 ตัวอื่น
    โดยจากการเก็บข้อมูลในสหรัฐฯ และเม็กซิโกพบว่า มีประมาณ 40% ของผู้ที่ได้รับวัคซีน Nanovax ครบสองเข็มและเกิดอาการข้างเคียงเล็กน้อย เช่น เหนื่อยล้า, ปวดหัว และปวดกล้ามเนื้อ ขณะที่ Moderna และ Pfizer พบอาการเหนื่อยล้าประมาณ 65% และ 55% ตามลำดับ
    ทีนี้มาถึงประเด็นสำคัญ ไทยเราจะนำเข้าวัคซีนชนิดนี้หรือเปล่า? ถ้ามองตามข้อมูลที่มีตอนนี้ คำตอบคือเป็นไปได้แต่อาจต้องต่อบัตรรอคิว เพราะบริษัท Novavax ได้ตกลงทำสัญญากับ COVAX ไว้แล้ว และน่าจะต้องจัดสรรวัคซีนให้แก่กลุ่มประเทศที่ลงนามในสัญญาก่อน ส่วนไทยที่ตัดสินใจไม่ลง (ขณะที่อีก 9 ประเทศที่เหลือในอาเซียนลงนามหมด) เพราะมองว่า COVAX เป็นสัญญาที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะคุ้มค่าไหม จะจัดหาวัคซีนอะไรให้ และจะมาถึงเมื่อไร น่าจะต้องใช้กำลังภายในล็อบบี้พูดคุยเอาเอง หากคิดจะให้ Novavax เป็นอีกทางเลือกในการฉีดวัคซีน

    แผนจัดหาวัคซีนปี 2565 เพิ่มเติมอีก 50 ล้านโดส ศบค. ได้ระบุว่าการจัดหาวัคซีนจำนวน 22 ล้านโดสขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์ในตอนนั้น (อีก 28 ล้านโดสคือ Sinovac)

    Reuter รายงานเมื่อเดือนพฤษภาคมว่า วัคซีน Novavax จะเริ่มถูกกระจายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยจะเรื่มกระจายให้กับประเทศในโครงการ COVAX ก่อนตามที่ระบุไว้ในสัญญา 1.1 พันล้านโดส โดยแบ่งเป็นบริษัท Novavax ผลิต 300 ล้านโดส และที่เหลือเป็นสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย

    บริษัท Novavax ได้เริ่มความร่วมมือกับผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่หลายประเทศทั่วโลกแล้ว ทั้งสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย และบริษัท SK Bioscience ในเกาหลีใต้ 
    อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ WHO ยังไม่รับการรับรองการใช้ Novavax ในกรณีฉุกเฉิน แต่หลายประเทศทั่วโลกไม่ว่า อินเดีย, สหราชอาณาจักร, สหรัฐฯ, สหภาพยุโรป, แคนาดา หรือเกาหลีใต้ กำลังอยู่ในขั้นตอนเจรจากับบริษัทอย่างใกล้ชิด โดยมีรายงานว่ารัฐบาลสหราชอาณาจักรสั่งจองวัคซีน Novavax แล้ว 60 ล้านโดส
    อ่านสรุปงานวิจัยจาก Novavax ที่นี่:
    https://cdn.filestackcontent.com/fRM9l0gjQmKfUrWRf86M

    เจาะลึกวัคซีน Novavax
    https://thestandard.co/novavax-vaccine/

    90% คือประสิทธิภาพโดยรวมของวัคซีน Novavax ในการศึกษาเฟสที่ 3 ในสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก หลายคนอาจไม่คุ้นกับชื่อวัคซีนมาก่อน หรือแม้แต่ชื่อเทคโนโลยีการผลิตว่า ‘วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ’ (Protein subunit vaccine) แต่เท่าที่เคยได้ยินมามีแพทย์หลายคนตั้งตารอคอยวัคซีนนี้อยู่ไม่น้อย

    คาดว่าวัคซีนกลุ่มนี้จะมีการใช้มากขึ้นในอนาคต เพราะจะมีการปรับเปลี่ยนชนิดของโปรตีนได้ไม่ยาก ทำให้สามารถผลิตเพื่อรองรับสายพันธุ์ดื้อยาในอนาคตได้ดี นอกจากนี้ ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เคยโพสต์ใน Facebook ส่วนตัวว่า “เป็นวัคซีนที่จัดเก็บง่ายในตู้เย็น และมีผลข้างเคียงต่ำมาก”

    สำหรับแผนการจัดหาวัคซีน 100 ล้านโดสครอบคลุมประชากร 50 ล้านคน ภายในปี 2564 ของไทย ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ไม่ได้ระบุถึงวัคซีน Novavax ไว้ และเนื่องจากไม่ได้เข้าร่วมโครงการ COVAX ไทยจึงน่าจะไม่ได้รับวัคซีนนี้ แต่เนื่องจากเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงและผลิตโดยเทคโนโลยีที่เคยใช้มาก่อนแล้ว รัฐบาลจึงควรรีบเจรจากับบริษัทเพื่อนำเข้ามาใช้ในประเทศอีกยี่ห้อหนึ่ง

    90% คือประสิทธิภาพโดยรวมของวัคซีน Novavax ที่บริษัทผู้ผลิตเผยแพร่ผลการศึกษาเฟสที่ 3 ในสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโกต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา หลายคนอาจไม่คุ้นกับชื่อวัคซีนมาก่อน หรือแม้แต่ชื่อเทคโนโลยีการผลิตว่า ‘วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ’ (Protein subunit vaccine) แต่เท่าที่เคยได้ยินมามีแพทย์หลายคนตั้งตารอคอยวัคซีนนี้อยู่ไม่น้อย
     
    ถ้าอยากรู้วัคซีน Novavax มากขึ้น ชวนอ่านบทความนี้ต่อกันเลยครับ 
     
    เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
    วัคซีน Novavax เป็นวัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ ถ้าอ่านแล้วงง ขอตั้งต้นอย่างนี้ก่อนว่าวัคซีนโควิด-19 เกือบทุกชนิดพุ่งเป้าไปที่การใช้โปรตีน ‘หนาม’ (Spike) ของไวรัสในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพราะไวรัสใช้หนามเป็นเสมือนลูกกุญแจเสียบแม่กุญแจหรือ ‘ตัวรับ’ (Receptor) บนผิวเซลล์เปิดประตูเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย หากป้องกันไม่ให้ไวรัสไขกุญแจได้ก็จะไม่ติดเชื้อ
     
    วัคซีนที่ฉีดเข้าไปจะเป็นแม่แบบให้กับร่างกายในการจำลองหนามของไวรัสขึ้นมา เช่น วัคซีน Pfizer และ Moderna ร่างกายจะจำลองโปรตีนหนามขึ้นมาจากเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ที่อยู่ในวัคซีน, วัคซีน AstraZeneca และ Johnson & Johnson เป็นวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral vector) คือตัดต่อสารพันธุกรรมที่จะสร้างเป็นโปรตีนหนามให้ไวรัสอีกชนิดเพื่อนำเข้าสู่ร่างกาย 
     
    ส่วนวัคซีน Sinovac และ Sinopharm เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย นอกจากโปรตีนหนามแล้ว ยังมีชิ้นส่วนอื่นที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย ในขณะที่วัคซีน Novavax นี้ (เข้าเรื่องแล้วนะครับ) ใช้กระบวนการผลิตโปรตีนหนามขึ้นมาแล้วฉีดเข้าสู่ร่างกาย เปรียบเทียบเป็น ‘อาหารสำเร็จรูป’ ซื้อแล้วกินได้เลย ไม่ต้องซื้อวัตถุดิบไปทำต่อที่บ้าน หรือต้องเติมน้ำร้อนก่อนเหมือนวัคซีนอื่น
     
    กระบวนการผลิตนี้ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่ก่อนหน้านี้เคยใช้ในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และไวรัสตับอักเสบบีมาแล้ว ผลิตโดยการตัดต่อสารพันธุกรรมที่จะสร้างเป็นโปรตีนให้กับยีสต์ ซึ่งสามารถเติบโตได้ง่ายและสังเคราะห์โปรตีนจำนวนมากได้ ส่วนวัคซีน Novavax ใช้การตัดต่อสารพันธุกรรมให้กับไวรัสชนิดหนึ่งเพื่อนำเข้าสู่เซลล์ของผีเสื้อกลางคืน (Moth) แล้วสังเคราะห์โปรตีนขึ้นมา
     
    ประสิทธิภาพและความปลอดภัย
    Novavax เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกา ได้รับทุนสนับสนุนจากกลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations: CEPI ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ COVAX) ทดลองเฟสที่ 1-2 ในออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม ถึง 6 มิถุนายน 2563 ในอาสาสมัคร 106 คน พบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้และมีความปลอดภัย
     
    ต่อมาทดลองเฟสที่ 2-3 ในแอฟริกาใต้ ระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม ถึง 25 พฤศจิกายน 2563 ในอาสาสมัครอายุ 18-84 ปี จำนวน 4,387 คน โดยฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 21 วัน ตีพิมพ์ผลการศึกษาในวารสาร NEJM เมื่อไม่นานมานี้ (20 พฤษภาคม 2564) พบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ 60.1% และมีประสิทธิภาพต่อสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) ได้ถึง 51.0%
     
    ส่วนการทดลองเฟสที่ 3 ที่อังกฤษ ในอาสาสมัครมากกว่า 15,000 คน อายุระหว่าง 18-84 ปี (27% เป็นผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี) พบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ 89.3% โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) เมื่อเปรียบเทียบกับผลการทดลองข้างบนถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่ามาก เพราะ B.1.351 เป็นสายพันธุ์ที่สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้มากกว่า
     
    ล่าสุด (14 มิถุนายน) บริษัทเผยแพร่ผลการทดลองเฟสที่ 3 ผ่านสื่อมวลชน (ยังไม่ตีพิมพ์) ซึ่งทดลองในสหรัฐฯ และเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2564 ในอาสาสมัครกว่า 30,000 คน อายุ 18 ปีขึ้นไป (13% เป็นผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี) พบว่ามีประสิทธิภาพ

    ป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ 90.4%
    ป้องกันอาการปานกลางถึงรุนแรง 100%
    ป้องกันไวรัสที่มีการกลายพันธุ์ 93.2% โดยเป็นการวิเคราะห์รวมทุกสายพันธุ์ที่กังวล (VoC) และสายพันธุ์ที่สนใจ (VoI) ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ B.1.1.7
     
    สำหรับความปลอดภัย พบว่าผลข้างเคียงส่วนใหญ่ไม่รุนแรง แต่เข็มที่ 2 พบผลข้างเคียงเป็นสัดส่วนมากกว่า เช่น กดเจ็บหรือปวดบริเวณที่ฉีด 60% (เข็มแรกพบประมาณ 30-50%) อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะประมาณ 40% (เข็มแรกพบประมาณ 20% และไม่ต่างกับกลุ่มควบคุม) ส่วนผลข้างเคียงรุนแรงพบจำนวนน้อยและพบใกล้เคียงกันในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนและกลุ่มควบคุม
     
    ข้อดี-ข้อจำกัดของวัคซีน 
    ในแนวทางการให้วัคซีนโควิด-19 ของกรมควบคุมโรค นพ.ปพนสรรค์ เจียประเสริฐ และ ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุถึงข้อดีของ ‘วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของไวรัส’ มีความปลอดภัยสูง ใช้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ สามารถผลิตวัคซีนได้ง่าย รวดเร็ว และมีประสบการณ์จากการใช้วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกันมาก่อน
     
    ข้อจำกัดคือออกสู่ตลาดช้า แต่คาดว่าวัคซีนกลุ่มนี้จะมีการใช้มากขึ้นในอนาคต เพราะจะมีการปรับเปลี่ยนชนิดของโปรตีนได้ไม่ยาก ทำให้สามารถผลิตเพื่อรองรับสายพันธุ์ดื้อยาในอนาคตได้ดี นอกจากนี้ ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เคยโพสต์ใน Facebook ส่วนตัวว่า “เป็นวัคซีนที่จัดเก็บง่ายในตู้เย็น และมีผลข้างเคียงต่ำมาก”
     
    วัคซีน Novavax กับไทย
    เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน Stanley Erck ซีอีโอบริษัท Novavax ให้สัมภาษณ์สำนักข่าว CNBC ว่า เตรียมยื่นขออนุมัติการใช้จากองค์การอาหารและยา (FDA) สหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยบริษัทจะสามารถผลิตได้ 100 และ 150 ล้านโดสต่อเดือนภายในไตรมาสที่ 3 และ 4 ซึ่งวัคซีนที่ผลิตได้ในสหรัฐฯ อาจนำเข้าสู่โครงการ COVAX โดยตรง และมอบให้กับอินเดีย เพราะยังมีการระบาดอย่างรวดเร็ว
     
    สำหรับแผนการจัดหาวัคซีน 100 ล้านโดสครอบคลุมประชากร 50 ล้านคน ภายในปี 2564 ของไทย ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ไม่ได้ระบุถึงวัคซีน Novavax ไว้ และเนื่องจากไม่ได้เข้าร่วมโครงการ COVAX ไทยจึงน่าจะไม่ได้รับวัคซีนนี้ แต่เนื่องจากเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงและผลิตโดยเทคโนโลยีที่เคยใช้มาก่อนแล้ว รัฐบาลจึงควรรีบเจรจากับบริษัทเพื่อนำเข้ามาใช้ในประเทศอีกยี่ห้อหนึ่ง
     
    สุดท้ายหลายท่านอ่านเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีน Novavax น่าจะรู้สึกคุ้นว่านักวิทยาศาสตร์ของไทยก็กำลังพัฒนาวัคซีนชนิดเดียวกันนี้อยู่ ใช่แล้วครับ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัพของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดค้นการผลิตโปรตีนหนามจากพืชใบยาสูบ เพื่อนำมาฉีดเป็นวัคซีน สำหรับความคืบหน้าคาดว่าจะเริ่มทดลองในคนภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้

    LINE

    🔎 Novavax สุดยอดวัคซีนที่ทั้งโลกตั้งตารอ ! เพราะมีประสิทธิภาพกันไวรัสทุกสายพันธุ์ได้สูง และป้องกันการป่วยหนักได้ 100% ! ขึ้นชื่อว่าดีกว่าวัคซีน mRNA อย่าง Pfizer และ Moderna เสียอีก
    💉 “The mRNA Vaccines Are Extraordinary, but Novavax Is Even Better”
    “วัคซีน mRNA นั้นไม่ธรรมดา แต่ Novavax นั้นเหนือกว่าอีก” คือคำพาดหัวของหลายๆสื่อต่างชาติที่กำลังร่วมกันพยายามเสาะหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในโลก เพราะตอนนี้ไวรัสกำลังกลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว จนวัคซีนชนิดเดียวอาจไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เพียงพออีกต่อไป
    ด้วยประสิทธิภาพของ Novavax ที่สูงสูงอย่างโดดเด่น ผลวิจัยล่าสุดที่ออกมาพบว่าสามารถป้องกันอาการป่วยเบาได้สูงถึง 90.4% และป้องกันการป่วยหนักได้ถึง 100% อีกทั้งประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ที่สูงไม่ว่าจะเป็น
    1) อัลฟา (#Alpha) สายพันธุ์สหราชอาณาจักร
    2) เบตา (#Beta) ตสายพันธุ์แอฟริกาใต้
    3) แกมมา (#Gamma) สายพันธุ์บราซิล
    4) เดลตา (#Delta) สายพันธุ์อินเดีย
    ทาง Novavax ก็ยังพบว่ามีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสทุกสายพันธุ์ที่จัดเป็น “variant of concern” หรือสายพันธุ์ที่เหล่านี้สูง (ตัวเลขยังไม่แน่ชัดแต่ของ Alpha นั้นสูงถึง 93.2%)
    ทำให้สื่อต่างชาตินั้นต่างยกให้ Novavax อาจเป็น #วัคซีนที่ดีที่สุดในเวลานี้ และกำลังเป็นที่ต้องการของทุกประเทศบนโลกนี้
    💉วัคซีน Novavax
    1️⃣ Novavax (NVX-CoV2373) เป็นวัคซีนต้านโควิดตัวที่ 4 จากสหรัฐอเมริกาที่พัฒนาโดยบริษัท Novavax
    2️⃣ บริษัท Novavax ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1987 เพื่อผลิตวัคซีนสำหรับรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ อีโบลา ไวรัสอาร์เอสวี และอีกมากมาย
    3️⃣ วัคซีน Novavax ต้องฉีด 2 เข็มห่างกัน 21 วัน และเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นทดลองระยะที่ 3
    4️⃣ ต่างจาก Pfizer และ Moderna ที่เป็นวัคซีนชนิดสารพันธุกรรม (mRNA) และ AstraZeneca, Johnson & Johnson ที่เป็นวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine) หรือ Sinovac และ Sinopharm ที่เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine)
    Novavax นั้นเป็นวัคซีนที่ผลิตโดยใช้โปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่แตกต่างจากวัคซีนต้านโควิดตัวอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้น #และต่างจากวัคซีนทุกตัวที่มีแผนนำเข้ามาในไทย
    5️⃣ อย่างที่กล่าวไปแล้ว Novavax นั้นขึ้นชื่อในเรื่องของประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์กลายพันธุ์ต่างๆ นอกจากนั้นยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไปอย่างดีเยี่ยมที่ 91% อีกด้วย
    6️⃣ จากการทดลองวัคซีนผ่านมา #ยังไม่พบผลข้างเคียง ที่น่ากังวลนัก มีแต่ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปและมักไม่รุนแรง อาทิการ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยล้า
    💉 เมื่อไหร่ Novavax จะออกมาสู่ตลาด ?
    7️⃣ สำนักข่าว Reuter รายงานว่าวัคซีน Novavax จะเริ่มถูกกระจายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยจะเรื่มกระจายให้กับประเทศในโครงการ COVAX ก่อน 1.1 พันล้านโดส (ตั้งเป้าผลิตวัคซีนให้ได้ 100 ล้านโดสต่อเดือน) เช่นประเทศในสภาพยุโรป อังกฤษ อินเดีย และเกาหลีใต้ (ยังไม่มีไทยร่วมอยู่ในเวลานี้)
    8️⃣ ตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐมองว่าถึงแม้จะมีจำนวนประชาชนที่ฉีดวัคซีนไปเยอะแล้ว แต่อาจนำ Novavax มามาใช้เป็น Booster หรือเป็นวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อผสมและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับวัคซีนที่ฉีดไปแล้วก่อนหน้า
    9️⃣ ด้านรัฐบาลอังกฤษก็เผยว่าได้สั่งซื้อวัคซีน Novavax จำนวน 60 ล้านโดสแล้ว และจะผลิตวัคซีนเองในอังกฤษอีกด้วย ขณะที่สถาบันเซรั่มแห่งอินเดีย (SII) ก็จะผลิตวัคซีน Novavax ภายใต้ชื่อว่า Covovax เช่นกันในอินเดีย เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอินเดีย


เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories