ความชรา(Aging) คือผลจากการสะสมของความเสื่อมสภาพที่มีต่อเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย นำไปสู่ความเจ็บป่วยและตาย ความชราน่าจะเกิดจาก
สาเหตุหลักที่มาจากสิ่งแวดล้อม 4 ประการ คือ
1. อนุมูลอิสระ (Reactive Oxygen Species)
2. ภาวะน้ำตาลสะสม (Advanced Glycosylation End Product)
3. การอักเสบเรื้อรัง (Chronic Inflammation)
4. ภาวะพร่องฮอร์โมน (Hormonal Insufficiency)
อนุมูลอิสระ
คนและสิ่งมีชีวิตต้องใช้ออกซิเจน จากอากาศที่เราหายใจ และอาหารที่เรากิน มาสร้างให้เป็นพลังงานของตัวเอง โดยแหล่งผลิตพลังงานของเซลล์ในร่างกายอยู่ที่ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)
คนเราแก่ชราก็เพราะไมโตคอนเดรียเสื่อมสภาพ ทำให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมสภาพ หยุดทำงาน ตาย หรือกลายสภาพไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ สิ่งที่ทำลายไมโตคอนเดรียคืออนุมูลอิสระ ซึ่งว่องไวมากที่จะไปทำปฏิกิริยารวมตัวได้ง่ายกับสารตัวอื่นๆในร่างกาย เช่นโปรตีนและไขมัน ผลที่เกิดตามมาก็คือ เซลล์สูญเสียซึ่งโครงสร้างและการทำหน้าที่ของเซลล์ อาจกล่าวได้ว่า อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุหลักของความชราและการเกิดโรคในผู้สูงอายุ ถ้าเปรียบร่างกายของคน ก็เหมือนกับเหล็ก ที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนแล้ว เกิดเป็นสนิมขึ้น
ตราบที่คนเรายังต้องการอากาศและอาหาร เพื่อยังชีพ เราก็ไม่อาจหยุดการเกิดอนุมูลอิสระได้ แต่เราชะลอได้ด้วยวิธีการ Caloric restriction คือเพิ่มการกินอาหารที่มีพลังงานต่ำเช่น ผัก ร่วมกับลดการกินอาหารที่มีพลังงานสูง เช่น แป้ง และไขมัน มีการศึกษาซึ่งพบว่าสัตว์ทุกชนิดจะมีอายุยืนยาวขึ้นเมื่อจำกัดอาหาร แต่ต้องได้รับสารอาหารจำเป็นและวิตามินอย่างเพียงพอด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า พระสงฆ์ซึ่งฉันอาหารแต่เพียงน้อยมักจะอายุยืนยาวกว่าคนทั่วๆ ไป
ภาวะน้ำตาลสะสม
พลังงานจากแป้งและข้าวในแต่ละวันจึงมากเกินกว่าที่เราได้รับเข้าไป เกิดเป็น ภาวะน้ำตาลสะสม
บางคนกินข้าวหลายๆ จานในมื้อเดียว และอีกวันละหลายมื้อ ตามด้วยขนม น้ำหวาน น้ำอัดลม และผลไม้ แป้งจึงเกินอยู่ในร่างกายเป็นจำนวนมาก และไม่ถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน แต่จะไปสะสมเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์(triglyceride) ไขมันสะสมนี้เองที่ทำให้เกิดความอ้วน และการอักเสบจากไขมันเกาะตับ
เมื่อกินอาหารจำพวกแป้ง จะถูกย่อยไปเป็นน้ำตาล ไปทำปฏิกิริยาอย่างช้าๆ กับโปรตีนในร่างกาย เกิดเป็นสาร Advanced glycosylation end product ยิ่งน้ำตาลสูงมาก และสูงนาน สารชนิดนี้ก็ยิ่งสูง ทำให้โปรตีนเกิดการเปลี่ยนสภาพ เซลล์ร่างกายเราจึงไม่สามารถทำงานตามปกติได้
ป้องกันความชราจากสาเหตุของน้ำตาลสะสม เลี่ยงอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง หลีกเลี่ยงอาหารพวกแป้งขัดขาว ได้แก่ ข้าวขาวๆ น้ำหวาน ไอศกรีม น้ำอัดลม เพราะทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากการกิน ทางที่ดีควรเลือกกินแต่อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท (whole wheat) และธัญพืช
การอักเสบเรื้อรัง
เมื่อมีการติดเชื้อโรค เซลล์เม็ดเลือดขาว ผลิตสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบเฉียบพลัน กลไกทำให้เกิดกระบวนการที่ช่วยทำลายเชื้อโรคขึ้นในร่างกาย
อีกกลไกหนึ่ง โดยเซลล์ไขมัน จะผลิตสารตัวร้ายชื่อ pro-inflammatory cytokines ที่จะก่อให้เกิดการอักเสบขนาดน้อยๆ อยู่ตลอดเวลา เรียกว่า การอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดหลอดเลือดอักเสบ ต่อมาไขมันจะไปเกาะอยู่ที่หลอดเลือด เรียกว่าเกิดเป็นภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (atherosclerosis) ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดตีบ ที่หัวใจและที่สมอง
การอักเสบเรื้อรังยังทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และเบาหวาน ความอ้วนยิ่งมากเท่าใด การอักเสบก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น โอกาสจะเกิดโรคก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย “การอักเสบเฉียบพลันจะช่วยให้เรารอดตาย แต่การอักเสบเรื้อรังนั้นฆ่าเราอย่างช้าๆ”
เราป้องกันการอักเสบเรื้อรังได้ ด้วยการลดน้ำหนักตัว ลดกินแป้งและไขมัน เพิ่มการออกกำลังกาย กินน้ำมันปลา (Fish Oil omega-3) ช่วยปรับสมดุลของสาร inflammatory cytokines น้ำมันปลายังเป็นส่วนประกอบหลักของสมอง ทั้งช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์
ภาวะพร่องฮอร์โมน วัยสูงอายุ ปริมาณฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นลดลง ฮอร์โมนมีผลต่อการคงสภาพของเซลล์ ได้แก่ เอสโตรเจน แอนโดรเจน โกรทฮอร์โมน และ เมลาโทนิน
วัยทองจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ และโรคกระดูกพรุนสูงขึ้น เพราะร่างกายผู้ชายจะหยุดสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน หรือฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิง
อดีตมีการแนะนำให้ผู้ป่วยวัยทองใช้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งไม่ใช่ฮอร์โมนจากธรรมชาติแต่เป็นฮอร์โมนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น จึงอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น มะเร็งเต้านมจากฮอร์โมนเพศหญิง ภาวะดีซ่าน (cholestatic jaundice) จากฮอร์โมนเพศชาย
ปัจจุบันไผลิตฮอร์โมนตัวใหม่ๆ ที่มีโครงสร้างเหมือนฮอร์โมนธรรมชาติ บางชนิดใช้ทาเพื่อให้ดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง ผลข้างเคียงน้อย
โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) หรือ ยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ทั่วไป เพราะเกรงว่าฮอร์โมนนี้อาจมีผลต่อเซลล์ที่มีความผิดปกติอยู่แล้ว จะยิ่งเติบโตกลายไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ อีกทั้งยังมีราคาแพงมาก
เมลาโทนิน(Melatonin) ฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมไพเนียลทำหน้าที่บอกถึงเวลาหลับ และยังช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ ปัจจุบันใช้เพื่อรักษาอาการนอนหลับยากที่เกิดจากปัญหาการปรับตัวของร่างกายจากการเดินทางเหลื่อมเวลา (Jet lag) และใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม (dementia) และมีความผิดปกติในการนอนหลับ
อายุรศาสตร์ชะลอวัย (Anti-aging Medicine) การป้องกันหรือชะลอความชราจากภายใน เพื่อป้องกันความเจ็บป่วย
การฉีดโบท๊อก(Botox) เพื่อลดริ้วรอยบนใบหน้า เช่นเดียวกับการปกปิดริ้วรอยด้วยเครื่องสำอาง จึงไม่ใช่การชะลอความชราที่แท้จริง เครื่องสำอางที่เรียกได้ว่าเป็น anti-aging medicine ที่แท้จริงต้องสามารถลดการเกิดริ้วรอยใหม่ ป้องกันฝ้า และป้องกันความชราอันเกิดจากแสงแดดได้ จะเห็นได้ว่า ยากันแดด อาจจัดเป็นอายุรศาสตร์ชะลอวัย อย่างหนึ่งได้
ยาลดไขมันกลุ่ม statin สามารถป้องกันโรคและยืดอายุได้ แต่ผลข้างเคียงรุนแรง ได้แก่ภาวะตับและกล้ามเนื้ออักเสบ จึงมีการศึกษาโดยหันไปใช้สารสมุนไพร หรือวิตามินแทนการใช้ยา
Vitamin
- ทดแทนวิตามินที่เราอาจได้ไม่เพียงพอ ปัจจุบันคนส่วนใหญ่กินแต่แป้งและขนม กินผักผลไม้น้อย โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะมีปัญหาการขบเคี้ยว และการรับรู้รสชาติอาหาร เคี้ยวเนื้อสัตว์ไม่ได้ กินผักก็ได้แต่ผักต้มเปื่อย ทำให้ขาดวิตามินสำคัญๆ หลายชนิด แม้แต่วิตามินดี ซึ่งพบได้น้อยในอาหาร และเรามักคิดว่าน่าจะได้เพียงพอแล้วจากแสงแดด แต่คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักอยู่กลางแจ้งน้อยกว่าคนหนุ่มสาว โอกาสเสี่ยงต่อการขาดวิตามินดี
ขาดวิตามินดี ภาวะกระดูกบาง โรคหัวใจขาดเลือด ไตเสื่อม ภูมิต้านทานบกพร่อง และมะเร็งได้
อีกทั้งแพทย์ส่วนใหญ่สั่งแคลเซียมให้คนไข้สูงอายุ โดยไม่ให้วิตามินดีร่วมด้วย แคลเซียมจะไม่ถูกดูดซึม แต่จะไปเกาะอยู่ตามเส้นเลือดแทนที่จะไปสะสมที่กระดูก ทำให้เกิดภาวะหินปูนเกาะเส้นเลือด ยังมีการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่กินแคลเซียมขนาดสูง อาจนำไปสู่ภาวะต่อมลูกหมากโต
- วิตามินขนาดสูง ใช้เพื่อรักษาโรค เช่น วิตามินบี6 เพื่อรักษาปลายประสาทอักเสบ ใช้วิตามินบี3 เพื่อลดไขมันในเลือด ใช้วิตามินบี12 เพื่อรักษาโรคเวียนศรีษะที่เกิดจากระบบประสาททำงานผิดปกติ หรือใช้วิตามินเค เพื่อรักษาโรคกระดูกบาง เป็นต้น
วิตามินบี ผัก เนื้อสัตว์ ข้าวกล้อง ซึ่งผู้สูงอายุ น้ำย่อยในกระเพาะลดปริมาณลง การดูดซึมอาหารไม่ดี
ถ้าต้องการวิตามินบีเสริม อาจต้องใช้วิตามินจากต่างประเทศ สำหรับวิตามินที่มีในประเทศไทย แนะนำให้ใช้วิตามินบี 1-6-12 หรือใช้บริวเวอร์ยีสต์ ซึ่งเป็นแหล่งของวิตามินบีที่ดี (ไม่แนะนำวิตามินบีรวมที่ทำในประเทศ (B-complex) เพราะไม่มีวิตามินบี 12 และไม่แนะนำวิตามินรวมที่ทำในประเทศ (Multivitamin, MTV) เพราะมีวิตามินบีไม่ครบ และมีวิตามินตัวอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อยมาก)
- ใช้เพื่อเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น A C E ช่วยจับอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุหลักของความชรา แต่ผลศึกษาการใช้วิตามินดังกล่าวเพื่อป้องกันโรคหัวใจ หรือโรคมะเร็ง ไม่พบถึงประโยชน์ของวิตามินทั้ง 3 ชนิด ในการป้องกันโรคได้อย่างเด่นชัด การใช้วิตามินเอในรูปของเบต้าคาโรทีน ยังเพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งปอด ในคนที่สูบบุหรี่
วิตามินเอ แครอท มะละกอ และสับปะรด วิตามินซี มีมากในผักสีเขียว เช่น ผักชี บร็อคโคลี่ และในผลไม้หลากหลายชนิด วิตามินอี มีอยู่ในถั่ว น้ำมันมะกอก และธัญพืช
มีข้อมูลการใช้สารต้านอนุมูลอิสระตัวใหม่ๆ
- แอสตาแซนติน (Astaxanthin) สารสีแดงของปลาแซลมอนและกุ้ง เป็นวิตามินเอชนิดใหม่ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง มีรายงานถึงการใช้แอสตาแซนติน เพื่อชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวาน
- เรสเวอราทรอล (Resveratrol) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มโพลีฟีนอล สกัดจากผิวองุ่น โดยเฉพาะองุ่นแดง ป้องกันโรคมะเร็ง โรคอ้วน และเบาหวานในสัตว์ทดลองได้
- กรดแอลฟาไลโปอิก (Alpha lipoic acid) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แรงและดีมาก เพราะออกฤทธิ์ได้ทั้งในน้ำและในไขมัน และจะไปเปลี่ยนวิตามินซีในร่างกายให้ทำงานได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องกินวิตามินซีเข้าไปมากๆ มีการศึกษาในคน พบว่าสามารถช่วยรักษาภาวะปลายประสาทเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานได้ กรดแอลฟาไลโปอิก พบได้ในเนื้อสัตว์ ผักขม ผักบร็อคโคลี่ และยีสต์ทำขนมปัง
- ซีลีเนียม (Selenium) ช่วยปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ ป้องกันการตายของเซลล์ และช่วยสร้างฮอร์โมนทัยรอยด์ ซีลีเนียมพบมากในธัญพืชที่ไม่ขัดสีและกระเทียม ในปัจจุบันมีซีลีเนียมในรูปของ ยีสต์ซีลีเนียม ซึ่งราคาถูกและได้ผลดี มีการศึกษาในคนที่ได้รับยีสต์ซีลีเนียมขนาด 200 ไมโครกรัมต่อวัน จะลดโอกาสเกิดมะเร็งปอด ลำไส้ใหญ่ และต่อมลูกหมากได้
- โคเอ็นไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) ช่วยป้องกันโรคพาร์กินสัน(Parkinson) ใช้ในขนาดสูงเพื่อรักษาภาวะหัวใจวาย ปกติจะพบโคเอ็นไซม์คิวเท็น หรือเรียกสั้นๆ ว่า โคคิวเท็น ในอาหารเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ปลา อาหารทะเล รำข้าว ถั่วเปลือกแข็ง แต่ความร้อนจากการปรุงอาหารจะทำให้โคคิวเท็นถูกทำลายไป
- เอ็น – อะเซททิล ซีสเทอีน (N-Acetyl cysteine) นอกจากใช้ในการละลายเสมหะแล้ว ยังเปลี่ยนเป็นกลูตาไธโอน(glutathione) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหลักภายในเซลล์ ในปัจจุบันได้นำมาใช้เพื่อป้องกันไตวายจากการฉีดสารทึบแสง ป้องกันภาวะ (reperfusion injury) ในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดอุดตัน และป้องกันตับวายจากพิษของยาพาราเซตามอล
- สารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ นอกเหนือจากที่กล่าวมา ก็คือ ขมิ้นชัน มังคุด ทับทิม และชาเขียว
สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการกินวิตามิน ควรต้องกินปลาที่ไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ไข่แดงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ฟอง(ไข่แดงมีวิตามินครบทุกชนิด)ผักสดและผลไม้ น้ำมันมะกอก