• October 16, 2021

    1. ไข้ทรพิษ
    ค.ศ.165

    โรคระบาด อันโทนีน Antonine Plagueหรืออีกชื่อหนึ่งว่า the Plague of Galen เป็นโรคฝีดาษหรือที่ระบาดในอาณาจักรโรมัน
    สาเหตุการเกิด เชื่อว่ามาจากกองทัพโรมันที่เดินทางกลับมาจากแถบตะวันออกใกล้
    (Near East หมายถึงประเทศแถบเอเชียตะวันตก ตุรกี อียิปต์ ไปจนถึงจักรวรรดิออตโตมัน)
    ไม่ทราบต้นตอการเกิดที่แน่ชัด เสร้างความเสียหายใหญ่หลวงแก่กรุงโรม ผู้เสียชีวิต วันละ 2,000 คน
    ประมาณยอดผู้เสียชีวิตรวม 5 ล้านคน

    โรคนี้แพร่กระจายได้ด้วยฝอยละอองที่มาจากจมูก ปาก หรือแผล ของผู้ติดเชื้อ
    ไวรัสวาริโอลา ไมเนอร์ (variola minor) ไม่มีสัตว์เป็นพาหะ

    ไข้ทรพิษทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 350 ล้านคน ปัจจุบันไม่มีผู้ใดเสียชีวิตจากโรคนี้

    2. กาฬโรค The Black Death
    ค.ศ.1346-1353
    ความตายสีดำ โรคห่า ‘กาฬโรค’

    ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 75-200 ล้านคน 1 ใน 3 ของประชากรโลกทั้งหมด
    สาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย เยอซิเนีย แพสทิซ (Yersinia pestis) แพร่ระบาดอยู่ในสัตว์จำพวกหนูในแถบตอนกลางของเอเชีย
    จุดเริ่มเชื่อว่ามาจากขบวนคาราวานที่เดินทางมาจากเอเชีย เข้ามาถึงยังท่าเรือซิซิลี ในอิตาลีประมาณปี 1347 ก่อนที่จะแพร่ต่อไปทั่วทั้งทวีปยุโรป ว่ากันว่าซากศพของคนที่ตายนั้นทับถมกันจนสูงเป็นเนิน ทำให้ไม่สามารถเผาทำลายได้ทัน
    เมื่อซากเริ่มเน่าสลายก็ก่อให้เกิดเชื้อโรคกระจายลงทั้งพื้นดิน และแหล่งน้ำต่อไปไม่จบสิ้น

    ผู้ป่วยที่ติดโรคนี้จะมีหลายอาการ ขึ้นอยู่กับสถานที่ และช่วงเวลาที่พบ มีลักษณะร่วมคือผู้ป่วยจะมีฝีมะม่วงขึ้นบริเวณข้อพับ ขาหนีบ คอ รักแร้ มีไข้สูง อาเจียนเป็นเลือด และเสียชีวิตภายในเวลา 2-7 วัน

    คำเรียก Black Death มีความหมาย 2 อย่าง
    -อาการขั้นสุดท้ายของผู้ป่วยจากกาฬโรคนั้น ร่างกายจะกลายเป็นสีดำเพราะมีเลือดออกใต้ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า
    -สื่อถึงความน่าสะพรึงกลัวของโรคร้ายนี้ และอารมณ์เศร้าหมองของผู้คนในยุคสมัยนั้น

    3. The Columbian Exchange
    ค.ศ.1492

    นับตั้งแต่กองเรือสเปนเข้ามามีอำนาจในแถบน่านน้ำทะเลแคริบเบียน โรคติดต่อจากยุโรปก็เดินทางเข้ามาถึงบริเวณหมู่เกาะทางใต้ของเม็กซิโกเช่นกัน ทั้งฝีดาษ หัด กาฬโรค คร่าชีวิตของผู้คนในแถบนี้ไปถึง 90% เช่น
    เกาะ Hispaniola เดิมมีประชากร 60,000 คน แต่จากการมาถึงของนักเดินเรือ Christopher Columbus ในปี 1548 ชาวเกาะเหลือเพียง 500 คน
    ปี 1520 อาณาจักร Aztec ต้องล่มสลายลง จากการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษที่เข้ามากับทาสชาวแอฟฟริกัน

    4. The Great Plague of London
    ค.ศ.1665

    เชื่อกันว่าสาเหตุหลักมาจากหนู ความสกปรกในย่านที่อยู่อาศัยที่ดึงดูดพวกหนูเข้ามา
    ประชากรกรุงลอนดอนกว่า 20% เสียชีวิต รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข และแมวก็ถูกกำจัดทิ้งเพราะเชื่อว่าเป็นสาเหตุของการแพร่เชื้อด้วย แต่ยิ่งทำให้ประชากรหนูแพร่จำนวนมากขึ้นกว่าเดิม

    5. อหิวาตกโรค First Cholera Pandemic
    ค.ศ.1817

    ครั้งแรก รัสเซีย ตาย 1,000,000 คน เชื้อแพร่กระจายผ่านทางน้ำ และอาหาร ติดไปกับทหารชาวอังกฤษที่นำเชื้อโรคไปแพร่ต่อยังประเทศอินเดีย มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีกล้านคน แพร่ไปถึงอังกฤษ จากกองเรืออังกฤษไปสู่สเปน แอฟริกา อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น อิตาลี เยอรมนี และอเมริกา กระทั่งการแพทย์สามารถผลิตวัคซีนขึ้นมาเป็นผลสำเร็จในปี 1885 แต่การแพร่ระบาดของเชื้อนี้ก็ยังคงดำเนินต่อไป
    อหิวาตกโรค – โรคระบาดในประเทศที่มีรายได้ต่ำ
    แบคทีเรียวิบริโอ คอเลอเร (vibrio cholerae) พบในอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน
    อหิวาตกโรคทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วหลายล้านคน และยังคงมีผู้คนจำนวนมากที่เสียชีวิตจากโรคนี้ในปัจจุบัน
    อาจจะยังเสี่ยงป่วยเป็นอหิวาตกโรคและเสียชีวิตได้ แม้ว่ามีวัคซีนให้ใช้แล้ว และโรคนี้รักษาหายได้ง่าย

    6. การแพร่ระบาดของกาฬโรค ครั้งที่ 3 The Third Plague Pandemic
    ค.ศ.1855

    เริ่มประเทศจีน ลามอินเดีย และฮ่องกง ตาย 15 ล้านคน ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ของโลกที่มีการระบาดของเชื้อกาฬโรค (ครั้งที่ 1 ช่วงปี 541-542 ช่วงอาณาจักรไบแซนไทน์ และ ครั้งที่ 2 คือ Black Death ในปี 1348) ครั้งนี้เชื้อโรคแพร่โดยมีหนู และตัวหมัดเป็นพาหะ

    7. ไข้หวัดใหญ่รัสเซีย Russian Flu
    ค.ศ.1889

    ครั้งแรกของประเทศรัสเซีย แพร่มาจากแถบไซบีเรีย และคาซัคสถาน เข้าถึงเมืองใหญ่อย่างมอสโคว์ ฟินแลนด์ และโปแลนด์ และส่วนต่างๆ ในแถบยุโรป ภายในเวลา 1 ปี เชื้อก็ข้ามน้ำข้ามทะเลไปจนถึงทวีปอเมริกาเหนือ และแอฟริกาในที่สุด ปี 1890 มีจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 360,000 คน

    8. ไข้หวัดใหญ่สเปน Spanish Flu
    ค.ศ.1918

    เชื้อไข้หวัดใหญ่ที่มีต้นตอมาจากสัตว์ปีก ตาย 50 ล้าน
    คาดเชื้อไวรัสติดมากับกลุ่มแรงงานชาวจีน ไปกลายพันธุ์ที่อเมริกา สถานที่ที่เกิดการระบาดร้ายแรงที่สุด ที่กรุงแมดริด ประเทศสเปน ทำให้ถูกเรียกว่า “ไข้หวัดสเปน”

    มีไข้ จาม คลื่นไส้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และท้องเสีย ซึ่งเป็นอาการแรกเริ่มของไข้หวัดใหญ่ทั่วไป
    ช่วงปี 1918 เชื้อกลายพันธุ์ ร้ายแรงกว่าเดิม
    การระบาดของไข้หวัดสเปนนี้กินอาณาเขตทั้งในอเมริกา และยุโรป ภายในเวลาสามปีมียอดผู้เสียชีวิตถึง 100 ล้านคน มากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 หลายเท่า
    การระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนก็ค่อยๆ ลดลง และหายไปอย่างลึกลับช่วงปี 1919

    คล้ายคลึงกับไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม่ในปัจจุบันอย่างมาก การแยกตัวและการกักกันโรคช่วยชะลอการแพร่กระจายของเชื้อ
    ไวรัสเอช1เอ็น1 (H1N1) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกของไข้หวัดสเปน

    หลังเกิดการระบาดสองระลอกระหว่างปี 1918 และ 1920 ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอช1เอ็น1 (H1N1) ค่อย ๆ หายไป และกลายเป็นสายพันธุ์ที่ไม่อันตรายมากนัก ที่ยังคงแพร่กระจายเป็นประจำทุกปี

    9. ไข้หวัดใหญ่เอเชีย Asian flu
    ค.ศ.1957

    เชื้อสายพันธุ์เดียวกันกับไข้หวัดสเปน นั่นคือ ไข้หวัดนก ตาย 1-4 ล้านคน
    เริ่มการระบาดในฮ่องกง แพร่จีน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ
    วัคซีนไข้หวัดนก ผลิตขึ้นได้เป็นครั้งแรกในปีนั้นเอง จึงยับยั้งการแพร่กระจายโรคระบาดนี้ได้สำเร็จ

    10. เชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola)
    ค.ศ. 1976

    อีโบลา เป็นชื่อของแม่น้ำสายหนึ่งในประเทศสาธารณรัฐซาอีร์ (Zaire) ปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
    ทราบว่ามีการระบาดของไข้เลือดออกชนิดหนึ่งในปี 1976 (ขณะนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด) ในหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับแม่น้ำสายนี้ ซึ่งต่อมาถูกค้นพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส จึงตั้งชื่อว่า เชื้อไวรัสอีโบลา

    อาการเริ่มในสองวันถึงสามสัปดาห์หลังสัมผัสไวรัส
    ไข้ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ
    จากนั้นมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วงร่วมกับการทำหน้าที่ของตับ และไตลดลงตามมา
    เมื่อถึงจุดนี้บางคนเริ่มมีปัญหาเลือดออก เช่น เลือดออกภายใน และใต้หนังผ่านตาแดง อาเจียนเป็นเลือด ผู้ป่วยทุกรายมีอาการบางอย่างของระบบไหลเวียน รวมถึงเลือดจับลิ่มบกพร่อง อัตราตายสูง ถึงระหว่าง 50% – 90% การระบาดครั้งใหญ่ที่สุด กินเวลาถึง 2 ปี (2014-2016) มีผู้ป่วยรวมกันถึง 28,646 คน เสียชีวิตถึง 11,323 คน  

    11. ไวรัส HIV / AIDS
    ค.ศ.1981

    เอดส์ หรือเชื้อไวรัส HIV เป็นเชื้อที่ทำให้ระบบภูมิต้านทานบกพร่อง จนสุดท้ายก็เสียชีวิตจากภาวะโรคแทรกซ้อน
    คาดกันว่าเชื้อนั้นกลายพันธุ์มาจากไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ประเภทลิง เช่น ชิมแปนซี ไวรัสเหล่านั้นอาจติดเข้ามาในคน โดยเริ่มแรกเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในคนเท่านั้น ต่อมาจึงกลายพันธุ์เป็นโรคเอดส์

    เชื้อ HIV ติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม
    สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือการมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยา แม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส HIV จากการบริจาคให้ธนาคารเลือด
    ตายมากกว่า 25 ล้านคน จากการสำรวจในปี 1981
    ปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้คิดค้นยารักษาชนิดนี้ได้ มีเพียงยาต้านไวรัส ที่ช่วยลดปริมาณเชื้อ HIV ในร่างกายและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น

    เอชไอวี โจมตีระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์
    ระยะเวลาที่มันใช้ในการพัฒนาอาการและอัตราการเสียชีวิตที่สูง เอชไอวีแพร่กระจายอย่างรวดเร็วเพราะคนไม่รู้ว่ามีเชื้อนี้อยู่
    ผู้เสียชีวิตจากเอดส์ในปี 2019 ประมาณ 690,000 คน

    12. โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome : SARS)
    ค.ศ. 2003

    โรคซาร์ส เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรงตระกูลเดียวกับ “โคโรน่าไวรัส”
    พบเชื้อครั้งแรกที่มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ไปเกาะฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์ แคนาดา ระบาดไปทั่วโลก

    – ไข้ขึ้นสูง 38-40 องศาเซลเซียส
    – ไอแหบแห้ง
    – หายใจขัดเป็นช่วงสั้นๆ
    เอกซเรย์ จะพบความผิดปกติที่ปอด คล้ายเป็นปอดบวม
    – ปวดศีรษะ หนาวสั่น กล้ามเนื้อตึง เบื่ออาหาร มึนงง และท้องร่วง แต่อาการต่างๆ เหล่านี้ จะเกิดขึ้นหลังจากการฝังตัวของเชื้อแล้ว 2-7 วัน และ 3-5 วัน เป็นส่วนใหญ่ ก่อนผู้ป่วยจะรู้สึกตัวเหมือนมีอาการของไข้หวัดใหญ่
    จีนตาย 349 ราย ทั่วโลกตาย 774 ราย ป่วยกว่า 8,098 คน

    ซาร์สและเมอร์ส

    2002 – 2003 / 2012

    โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง หรือ ซาร์ส
    (Severe Acute Respiratory Syndrome-Sars)
    ไวรัสโคโรนา ตาย 800 กว่าคน
    ไวรัสโคโรนา ซาร์ส (Sars coronavirus) หรือ ซาร์ส-โคฟ (Sars-CoV) พบในปี 2003
    ปลายเดือน ก.ค. 2003 ไม่มีรายงานการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่า การระบาดทั่วโลกได้สิ้นสุดลงแล้ว

    โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ เมอร์ส
    (Middle East Respiratory Syndrome-Mers)
    เชื้อไวรัสโคโรนา ตาย 912 คน ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในคาบสมุทรอาหรับ

    แม้ว่าจะเสี่ยงติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า เมอร์ส-โคฟ (Mers-CoV) แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำมาก แต่ในตะวันออกกลางมีความเสี่ยงสูงกว่า และโดยปกติแล้ว มนุษย์ติดเชื้อนี้มาจากอูฐ

    โควิด-19 – ไวรัสโคโรนา 2019 – ปัจจุบัน

    ซาร์ส-โคฟ-2 (Sars-CoV-2) พัฒนามาจากไวรัสซาร์สในปี 2003เป็นไวรัสที่มีลักษณะเฉพาะตัว เพราะมีอาการที่หลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แพร่กระจายในระดับสูงจากคนที่ไม่มีอาการหรือก่อนที่จะแสดงอาการ



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories