Meta tag เป็นคำสั่งที่ประกาศเอาไว้ใน html code อยู่ภายใน Hearder Tag ส่วนหัวภายใน <head>….</head> ของหน้าเว็บเพจ ซึ่งจะมีอยู่หลายคำสั่ง ใช้สำหรับประกาศบอกกับ Robots ของ Search Engine ที่ได้มาเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ไป Index Server ว่าเป็นอะไรบ้าง เช่น ชื่อเว็บไซต์ รายละเอียดเว็บไซต์ คำค้นหา ฯลฯ เป็นต้น
แบบที่ 1 <META NAME=”KEYWORDS” CONTENT=”ใส่คำสำคัญ”>
คือพวก คำ,วลี,กลุ่มคำที่สื่อความหมายเกี่ยวกับเว็บไซต์ ที่คนนิยมใช้ในการค้นหาข้อมูล โดยจะใส่ในเครื่องหมายคำพูด(“”) กลุ่มคำสำคัญ(Keyword) นั้นสามารถใส่ได้ไม่จำกัดจำนวน แต่ก็ไม่ควรใส่เยอะจนเกินไป เช่น พวกคำซ้ำๆ กลับไป กลับมา เป็นต้น การแบ่งคั่นกลุ่มคำ สามารถแบ่งได้โดยใช้เครื่องหมาย คอมม่า(,) คั่นระหว่างคำ เช่น Thailand,ไทย,สยาม เป็นต้น Keywords พวกนี้ จะเป็นคำที่ผู้ใช้งานคิดและนำไปค้นดังนั้น ต้องวิเคราะห์ว่าผู้ใช้งานจะใช้คำอะไรในการค้นหาแล้วจึงนำมาใส่ใน Meta Tag นี้ได้ เพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
แบบที่ 2 <META NAME=”DESCRIPTION” CONTENT=”ใส่เนื้อหาเกี่ยวกับเว็บไซต์”>
ควรใส่เป็นข้อความบรรยายเกี่ยวกับเว็บไซต์ ของคุณให้สั้นที่สุด แต่ครอบคลุมให้ได้ใจความเกียวกับลักษณะของเว็บไซต์ให้มากที่สุดเช่นกัน ส่วนคำบรรยายที่จะต้องใส่ใน Code ให้ใส่ในเครื่องหมายคำพูด(“”) ภายใน tag content=”คำบรรยาย” จะแสดงผลข้อมูลสาระสังเขป เพื่อให้คนตัดสินใจก่อนที่จะคลิ๊กเข้าไปอ่านยังข้อมูลนั้นๆ
แบบที่ 3.<META NAME=”AUTHOR” CONTENT=”ใส่ชื่อ”>
เป็นการกำหนดชื่อผู้สร้างเว็บเพจและให้ใส่ชื่อผู้แต่ง สามารถใช้ชื่อจริงหรือชื่อสถาบันได้ เช่น “Department of Information Studies, Faculty of Humanity, Ramkhamhaeng University” หรือ “นายกูเกิล รู้ไปทุกอย่าง” เป็นต้น
แบบที่ 4.<META NAME=”COPYRIGHT” CONTENT=”ใส่พวกชื่อบริษัทแสดงความเป็นเจ้าของเว็บ”>
ที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของเว็บไซต์ โดยให้ใส่ “ชื่อผู้จัดทำ” หรือ”ชื่อหน่วยงาน สถาบัน บริษัทที่จัดทำ” และอาจใส่ถ้อยความแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น “สงวนลิขสิทธ์โดยบริษัท ….. จำกัด” เป็นต้น
แบบที่ 5.<META name=”ABSTRACT” content=”ใส่สาระสำคัญเนื้อหาเอกสาร”>
เป็น Tag ที่แสดงข้อความระบุสาระสำคัญของเนื้อหาโดยสรุป มีความคล้ายกับ Tag DESCRIPTION แต่จะมีความแตกต่างกันคือ จะเป็นการสรุปเนื้อหาที่สำคัญๆไม่ใช่การอธิบายเกี่ยวกับสาระโดยรวมๆแบบ Tag DESCRIPTION
แบบที่ 6.<META NAME=”ROBOT” CONTENT=”ต้องกำหนดค่า”>
ROBOT Tag เป็น Tag แจ้งให้ spider ทำการจัดทำดรรชนีคำของเนื้อหาในเอกสาร ในรูปแบบที่ต้องการ โดยสามารถกำหนดค่าของรายการที่จะใส่แจ้งการกระทำของ spider ได้ ดังนี้
“ALL” คือ การกำหนดค่าให้สามารถจัดทำดรรชนีคำในเนื้อหาได้ทุกหน้าที่มีการเชื่อมโยงถึง เพื่อนำไปจัดเก็บบันทึกลงฐานข้อมูล Search Engine
“NOINDEX” คือ การกำหนดไม่ให้จัดทำดรรชนีคำในเนื้อหาสำหรับหน้าที่กำหนดไว้ แต่ให้ตามส่วนที่เชื่อมโยงได้และนำเนื้อหาไปจัดทำดรรชนีได้ ไปลงฐานข้อมูล Search Engine
“NOFOLLOW” คือ การกำหนดให้จัดทำดรรชนีคำในเนื้อหา ในหน้าที่ปรากฏได้ แต่ไม่ให้ตามส่วนที่เชื่อมโยงเพื่อจัดทำดรรชนีคำในเนื้อหา นำไปลงฐานข้อมูล
“NONE” คือ การห้ามไม่ให้ spider จัดเก็บเว็บเพจที่ปรากฏไปทำดรรชนีเนื้อหา และ ห้ามตามส่วนเชื่อมโยงเพื่อทำดรรชนีในเนื้อหาด้วยเช่นกัน ตัวอย่างการนำไปใช้งาน <META NAME=”ROBOTS” CONTENT=”NOINDEX, NOFOLLOW”>
แบบที่ 7.<META NAME=”REVISIT-AFTER” CONTENT=”ต้องกำหนดค่า”>
REVISIT-AFTER Tag นี้เป็น Tag ที่ใช้กำหนดแจ้งให้ spider กลับมาตรวจสอบจัดเก็บเนื้อหาที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัย โดยสามารถกำหนดเป็น วัน เดือน ได้ เช่น “10 days”, “2 months” “1 week” แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้นหมายความว่าผู้จัดทำต้องมีระบบในการปรับปรุงเว็บเพจของตนให้สอด คล้องกับที่แจ้งไว้ <META รูปแบบการใช้งาน NAME=”REVISIT-AFTER” CONTENT=”5 days”>
แบบที่ 8.<META HTTP-EQUIV=”REFRESH” CONTENT=”จำนวนวินาที; URL=URLหรือไฟล์หน้าที่ต้องการให้รีไดเร็คไป”>
REFRESH Tag นี้ใช้สำหรับในการใช้เพื่อกำหนดให้มีการเชื่อมโยงไปยังหน้าใหม่ที่มีการจัด ทำแทนหน้าเก่า โดยสามารถกำหนดเป็นจำนวนเวลาที่ให้เชื่อมโยงไปในส่วน content คั่นด้วยเครื่องหมาย เซมิโคล่อน( ; ) ตามด้วย URL และเครื่องหมาย =(เท่ากับ) แจ้ง address เช่น <META HTTP-EQUIV=”REFRESH” CONTENT=”2;URL=http://www.thaihosttalk.com”> หรือ <META HTTP-EQUIV=”REFRESH” CONTENT=”2;URL=http://www.cymiz.com/th1” >
ปัจจุบันไม่นิยมเเล้ว เพราะ เป้นคำสั่งสีเทา สามารถใช้สำหรับการโกง seo ได้ ยิ่งตัวเลข ยิ่งน้อย ยิ่งเสี่ยงต่อการถูกแบน โดย search engin
แบบที่ 9.<META HTTP-EQUIV=”expires” CONTENT=”วันที่เวลาวันหมดอายุให้ลบออกจากฐานข้อมูล”>
Expires Tag เป็น Tag ที่ใช้สำหรับแจ้งให้ทราบการหมดอายุ และใช้สำหรับการจัดทำเว็บไซต์ที่ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใช้งานชั่ว คราว โดยกำหนดเวลาที่จะแจ้งให้ spider เอาออกจากฐานข้อมูล และการใส่ข้อความสามารถใส่ ได้ ตามตัวอย่างนี้ <META HTTP-EQUIV=”expires” CONTENT=”Sat, 9 Sep 2006 08:00:51 GMT”> ในความหมายก็คือ กำหนดให้เว็บเพจนี้ หมดอายุวันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2549 เวลา 08:00:51 GMT ให้ Search Engine เอาออกจากฐานข้อมูล
แบบที่ 10.<META name=”Distribution” content=”ระดับการเผยแพร่”>
Distribution Tag เป็น Tag ใช้สำหรับแจ้งระดับการเผยแพร่ ความครอบคลุมของเว็บไซต์ โดยระดับการเผยแพร่มีระดับดังนี้ Global, local, internal use
Global คือ ต้องการเผยแพร่บุคคลทั่วไปทั่วโลก
Local คือ ต้องการเผยแพร่บุคคลภายในประเทศ
internal use(lu) คือ ไม่ต้องเผยแพร่ทั่วไป
รูปแบบการใช้งาน <META name=”Distribution” content=”Global”>
แบบที่ 11.<META NAME=”CONTACT_ADDR” CONTENT=”ใส่อีเมล์สำหรับให้คนติดต่อกลับ”>
CONTACT_ADDR Tag เป็น Tag สำหรับแจ้งให้ผู้อ่านสามารถติดต่อกลับไปยังผู้จัดทำได้
ตัวอย่างเช่น <META NAME=”CONTACT_ADDR” CONTENT=”info@domain.com“>
แบบที่ 12.<META NAME=”RATING” CONTENT=”ระบุกลุ่มคนที่เข้าดูเว็บไซต์”>
RATING Tag เป็น Tag ที่แจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดทำเว็บไซต์ ว่าเว็บไซต์มีข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยค่านี้ใช้ในการวัด rating ของหน้านั้น ๆ หรืออาจจะมีประยุกต์ใช้ในการ ป้องกันเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก โดยจะมีรับส่งข้อมูลกับเว็บไซต์ที่รับวัด rating เว็บเพจ (แต่เราต้องลงทะเบียนกับเว็บไซต์เหล่านี้เสียก่อน) เช่น เว็บไซต์ของ RSACI http://www.rsac.org, SafeSurf http://www.safesurf.com สำหรับค่าที่ระบุมีดังนี้
14 Years สำหรับอายุที่เกินกว่า 14 ถึงจะเข้าได้
General สำหรับกลุ่มคนทั่วไป
Mature เป็นเว็บไซต์สำหรับผู้ใหญ่ ระดับ Rate R
Restricted เป็นเว็บไซต์สำหรับผู้ใหญ่ ระดับ Rate X
Safe เป็นเว็บที่สำหรับเด็กๆเข้าไปดูได้
รูปแบบการใช้งาน <META NAME=”RATING” CONTENT=” Restricted”>
แบบที่ 13. <META HTTP-EQUIV=”CONTENT-TYPE” CONTENT=”TEXT/HTML; CHARSET=รหัสมาตราฐานภาษาที่ใช้บนเว็บ” >
CONTENT-TYPE เป็นค่าใช้สำหรับกำหนด Mime Type ของเว็บเพจหน้านี้ว่ามี Mime Type แบบใด เช่น text/html หรือ text/css เป็นต้น
text/html เป็นข้อความอักษรประเภทรหัสโค้ด HTML เพื่อกำหนดรูปร่างหน้าตาเว็บไซต์
text/css เป็นข้อความอักษรประเภทรหัสโค้ด CSS เพื่อกำหนดรูปแบบเว็บไซต์ เช่น ขนาดตัวหนังสือ,สี,พื้นหลัง เป็นต้น
CHARSET เป็นการกำหนดรหัสโค้ดมาตราฐานสำหรับเว็บไซต์ในการแสดงผล เช่น ภาษาไทยก็จะใช้ Windows-874 หรือ Tis-620 เป็นต้น
แบบที่ 14.<META HTTP-EQUIV=”Content-Language” content=”ภาษาที่ใช้ในเว็บ”>
Content-Language Tag ซึ่ง Tag นี้ ใช้สำหรับการแจ้งภาษาที่ใช้ในการจัดทำเว็บไซต์ การใส่รายการให้ใส่ ตัวอักษรของภาษาแบบย่อๆ ของชื่อภาษา ตามตัวอย่างตารางมาตราฐานด้านล่างนี้
Thailand(th), CS (Czech) , DA (Danish) , DE (German) , EL (Greek) , EN (English) , EN-GB (English-Great Britain), EN-US (English-United States), ES (Spanish) , ES-ES (Spanish-Spain), FI (Finnish) , HR (Croatian), IT (Italian), FR (French) , FR-CA (French-Quebec), FR-FR (French-France) , IT (Italian) , JA (Japanese), KO (Korean) , NL (Dutch) , NO (Norwegian) , PL (Polish) , PT (Portuguese) , RU (Russian) , SV (Swedish) , ZH (Chinese)