ถ้าจะหาข้อมูลของเว็บไซต์คุณเอง เช่น จำนวนลิงก์, จำนวนหน้าใน index ก็คงไม่มีที่ไหนเหมาะสมไปกว่าหาบน Google อีกแล้ว และการจะหาข้อมูลประเภทนั้นของเว็บใดเว็บหนึ่งก็ต้องอาศัยคำสั่งพิเศษซักหน่อย คำสั่งที่นัก SEO ใช้บน Google Search ทั้งหลายในการค้นหาข้อมูลของเว็บไซต์อย่างเฉพาะเจาะจง ที่ผมเชื่อว่าบางคนอาจรู้นิดหน่อย บางคนอาจรู้เยอะ บางคนไม่รู้เลยก็มี วันนี้มีเวลานิดหน่อย ผมก็คิดว่าน่าจะรวบรวมมันเอาไว้ทั้งหมดซักทีบนบล็อกของผมแห่งนี้ มาดูกันเลยครับว่ามีคำสั่ง (SEO command) เพื่อ SEO อะไรบ้าง
site:
ใช้ค้นหาได้ 2 แบบด้วยกัน
1. คือค้นหาสำหรับ SEO เพื่อการหาจำนวนเว็บเพจทั้งหมดของ URL นั้นๆ ที่ติด Index ใน Google อยู่ เช่น
ถ้าอยากรู้ว่าบล็อกของเราติด Index ใน Google กี่หน้าแล้วหลังจากเปิดบล็อกใหม่มาได้ 1 อาทิตย์ และมีหน้าไหนบ้าง ก็พิมพ์ site:vir9.com
2. ใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการเจาะจงภายในเว็บใดเว็บหนึ่ง เช่น
จะหาบทความที่มีคำว่า SEO อยู่ในบล็อกผมก็จะสั่งใน Google Search ว่า: SEO site:vir9.com หรือถ้าจะหาอะไรภายใน sub directory ก็ได้ เช่นหา software ftp ใน apple ก็จะ ftp site:www.apple.com/download
“<keyword phrase>”
คำสั่งเครื่องหมายคำพูดธรรมดา ที่หลายคนคุ้นเคยกันดีในการใช้ค้นหา exact phrase หรือคำไม่กี่คำหรือเป็นประโยคแบบไม่มีผิดเพี้ยนด้วยคีย์เวิร์ดสองคำขึ้นไป เช่น “seo is for you” Google ก็จะแสดงเว็บเพจที่มีประโยคแบบนี้ 100% ไม่มีการเรียงใหม่ หรือหามาแค่เว็บเพจที่มีคำใดคำหนึ่ง ส่วนใหญ่ผมจะใช้ในการตรวจสอบความ Unique ของบทความหรือประโยคที่หามาได้ หรือสำหรับคนที่เรียนภาษาอังกฤษก็จะมีประโยชน์ตรงที่จะได้ตรวจสอบประโยคได้ว่า ในโลกนี้มีใครใช้หรือไม่ เพราะถ้าไม่มีใครใช้ประโยคที่หานั้นเลย Google ก็จะบอกว่าหาไม่เจอ แล้วแนะนำให้หาแบบเอาเครื่องหมายคำพูดนั้นออกไปดีกว่าไหม…ก็จะทำให้คิดได้ว่าประโยคนี้ไม่น่าจะถูกหลักไวยากรณ์ได้เหมือนกัน แล้วลองหาประโยคใหม่ที่มีคนใช้น่าจะชัวร์ว่าไม่ผิดกว่า
allintitle:
(all in title) คำสั่งนี้ช่วยได้มากในเรื่อง SEO ใช้เมื่อต้องการค้นหาข้อมูลภายในเว็บที่มีไทเทิ้ลตรงกับคีย์เวิร์ดที่ใช้ค้นหา เช่น allintile:make money
allintext:
คำสั่ง Google นี้จะคล้ายๆ กับ allintitle แต่ต่างกันที่คราวนี้ไม่ใช่หาในไทเทิ้ล แต่เป็นการค้นหาใน body text เท่านั้น
intitle:
หลายคนสับสนคำสั่งนี้กับ allintitle เพราะมันค้นหาในไทเทิ้ลเหมือนกัน สำหรับ intitle แล้ว เมื่อค้นหาคีย์เวิร์ดสองคำขึ้นไปมันจะทำให้ Google แสดงเว็บเพจที่มีคีย์เวิร์ดน์แรกอยู่ในไทเทิ้ล และคีย์เวิร์ดที่สองจากทั้งไทเทิ้ลหรือจากส่วนใดก็ตามภายในเว็บเพจนั้นๆ ทั้งหมด เช่น intitle:google adsense เว็บเพจหรือข้อมูลที่แสดงออกมาก็จะเป็นเว็บเพจที่มีคำว่า Google อยู่ในไทเทิ้ล และคำว่า Adsense อยู่ภายในเว็บเพจทุกส่วนไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นไทเทิ้ลเหมือนคำแรก
AllinURL:
(all in url) คำสั่งเหมือนกับ allintitle แต่ค้นหาในโดเมนเเนมแทน
inURL:
ทำงานเหมือนกับ intitle:
คำสั่งนี้ใช้เพื่อให้ Google แสดงเว็บเพจที่มีโดเมนเนมตรงกับคำที่ค้นหา และคำที่สองก็จะมาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของเว็บเพจก็ได้ เช่น inURL:best food ก็จะหาเว็บที่มีโดเมนเนม เช่น www.besthome.com และที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของเว็บเพจที่มีคำว่า food ผสมอยู่ด้วย ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการเช็คคีย์เวิร์ดของโดเมนเนมคู่แข่ง
link:
ค้นหาจำนวนเว็บเพจที่ลิงก์เข้ามายังเว็บเพจหรือโดเมนเนมนั้นๆ เช่น link:vir9.com/article1 Google ก็จะแสดงเว็บเพจทั้งหมดที่ทำ Backlink โยงมายัง URL ที่ว่านี้
related:
ค้นหาเว็บเพจที่คล้ายกับเว็บเพจที่ต้องการค้นหา เช่น related:www.vir9.com Google ก็จะค้นหาและแสดงเว็บที่มีเนื้อหาคล้ายกันกับเว็บ DML ของผมออกมาให้ดู
cache:
ถ้าคุณ Search Google บ่อยๆ คุณคงเคยบ้างที่เปิดหน้าเว็บนั้นแล้วไม่เจอเว็บใดๆ เลย ทำให้ต้องคลิกที่ลิงก์ cache แทนเพื่อให้ Google เปิดหน้าเว็บเพจนั้นที่อาจจะไม่มีอยู่อีกต่อไปแต่ Google เคยเก็บบันทึกเอาไว้ ซึ่งจะแสดงออกมาให้เห็นเป็นเวอร์ชันเลยว่าเก็บเว็บเพจที่ว่าไว้กี่เวอร์ชัน
cache <keyword>:
อันนี้จะเหมือนกับคำสั่งก่อนหน้านี่้ แค่ต่างกันที่มันสามารถหาคีย์เวิร์ดแล้วไฮไลท์พร้อมๆ กับแสดงเวอร์ชันของเว็บเพจที่ Google เก็บไว้ เช่น cache:www.webpage.com car:
info:
ใช้เป็นคำสั่งเพื่อให้ Google แสดงออฟชั่นการค้นหาต่างๆ ออกมาให้คลิกได้เลย เช่น จำนวนลิงก์ เว็บไซต์ลิงก์ภายในเว็บไซต์
ฯลฯ แนะนำให้ลองใช้แล้วจะรู้เองทันที
-<keyword>
เมื่อใส่เครื่องหมายลบที่หน้าคีย์เวิร์ดใดก็ตาม ก็จะสั่งให้ Google ห้ามแสดงเว็บเพจที่มีคำนั้นออกมาให้เห็น เช่น notebook -toshiba แปลว่าผมได้ให้ Google ค้นหาเว็บเพจที่มีคำว่า Notebook แต่ยกเว้นยี่ห้อ Toshiba