การทำ SEO นั้นมีเทคนิคและแนวคิดต่างๆมากมายที่เคยใช้ได้ดีในอดีต แต่ปัจจุบันอาจจะถือว่าเป็นอันตรายและควรที่จะหลีกเลี่ยง ถ้าคุณไม่ได้ติดตามการอัพเดทล่าสุดของ Google Algorithmes อาจมีโอกาสเป็นไปได้ที่คุณอาจจะกำลังใช้ 5 เทคนิคการทำ SEO ด้วยแนวคิดรูปแบบเก่าๆเหล่านี้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้อันดับที่คุณคาดหวังไว้ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
1. การพยายามที่จะหลอก Google ด้วยการ สร้างลิงค์คุณภาพต่ำ
2. สร้างจำนวนของหน้ามากเกินไปเพียงเพื่อหวังทำ SEO โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ
3. การใช้ Press Release สำหรับสร้าง Links ที่เกินจำเป็น
4. วางเป้าหมายจำกัดเพียงแค่ High Traffic Keywords
5. การแยก SEO ออกจากแผนภาพรวมของ Digital Marketing ทั้งหมด
คำอธิบายเพิ่มเติม : 5 เทคนิคการทำ SEO ที่คุณควรเลี่ยง
ผมเขียนอธิบายโดยอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่อ่านมา รวมถึงใส่มุมมองและแนวคิดส่วนตัวผสมไปด้วย ด้วยความที่ประสบการณ์ยังน้อย ดังนั้นหากมีข้อผิดพลาด หรือ ความไม่ถูกต้อง … ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
(อ่านไว้เป็นแนวทาง แต่จะปฎิบัติตามหรือไม่ โปรดใช้ดุลพินิจส่วนตัวของท่านเองนะครับ)
แนวทางการทำ SEO นี้เหมาะสำหรับคนที่
งบประมาณมีน้อย
อ่อนด้อยด้านโปรแกรมมิ่ง
อยากขาวจริงแบบโอโม่
ชอบเติบโตแบบไม่เสี่ยง
#1 – อย่าพยายามที่จะหลอก Google ด้วยการ สร้างลิงค์คุณภาพต่ำ
Google เป็น Search Engine รายแรกที่เอาไอเดีย One Link = One Vote (of Trust) มาใช้ ทำให้ในอดีต Google จะมองว่า เว็บไซต์ที่มีจำนวนลิงค์ชี้มาที่เว็บมากๆ (หรือที่เรียกกันว่า Backlink) ควรจะถูกจัดอยู่ในอันดับที่ดีกว่า เว็บไซต์ที่มีจำนวนลิงค์ชี้มาน้อย!! ดังนั้นรูปแบบการทำ SEO สมัยเก่าที่ถือว่าเป็นพื้นฐานสากล จึงนิยมใช้วิธี การหา Backlinks จำนวนมากๆ ในการทำอันดับเว็บ
ต่อมา Google กลับลดความสำคัญของปัจจัยการจัดอันดับจากจำนวนลิงค์ลงไป
แต่ยังคงให้ความสำคัญกับมันอยู่
โดยหันไปเน้นที่ “คุณภาพของลิงค์” เป็นหลักแทน
หนำซ้ำยังเพิ่มบทลงโทษกับการสร้างลิงค์ (Backlink) ที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาอีก
ซึ่งมีผลโดยตรงกับการจัดอันดับเว็บ
ตัวอย่างลิงค์ที่มีผลในทางลบต่อการจัดอันดับ
– ลิงค์จาก Guest Posting ด้วย keyword-rich anchor text links
– การแลกลิงค์ (Link Exchanges) และ การทำ Cross Linking แบบไม่ถูกวิธี (หลอกลวง)
– ใช้โปรแกรมอัตโนมัติในการสร้างลิงค์มาที่เว็บของเรา
ตัวอย่างลิงค์ที่ Google มองว่า เป็นลิงค์ที่ไม่เป็นธรรมชาติ (Unnatural Links) มีผลลบต่อการจัดอันดับเช่นกัน
– ลิงค์จากข้อความโฆษณา หรือ บทความ Native Advertising ที่ผ่าน PageRank
– ลิงค์ที่เป็น Archon Text ในบทความของไซต์อื่นๆหรือใน Press Release Site ที่ดูมากผิดปกติ
– ลิงค์จาก รวมสารบัญเว็บ (Web Directory) คุณภาพต่ำ หรือ Bookmark Site ต่างๆ
– ลิงค์ใน Footers ของ Theme หรือ Template ที่เป็นเครดิต (พวกที่ทำลิงค์ Spam ตรง Footer เยอะๆ เลิกเถอะนะ)
– ลิงค์จากคอมเม้นท์ในฟอรั่มต่างๆที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับเนื้อหาในเว็บเรา (ทั้งใน โพสหรือลายเซ็น)
หากไม่มั่นใจว่าการสร้าง Backlink ของเรานั้นมันจะดีหรือร้าย ทางที่ดีควรเพิ่ม rel=”nofollow” ไว้ก่อน
[สาวก Thaiseoboard ที่ใส่ลิงค์ในลายเซ็นต์ ใครมาอ่านบทความนี้ … ปรับ “nofollow” ที่ลายเซ็นด่วน]
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับลิงค์ ได้ที่ ► Google Quality Guidelines : Link schemes
การสร้างลิงค์ (Backlinks) ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำ SEO เพราะลิงค์เปรียบเสมือนเป็นประตูเข้าสู่เว็บ …
การที่เราจะให้คนมาเข้าเว็บก็จำเป็นต้องคลิกผ่านลิงค์ แต่เราควรเริ่มหันมา
ให้ความสำคัญกับ “คุณภาพ ของ Backlinks” มากกว่าที่จะเน้น “จำนวนของ Backlinks”
ลักษณะของ Backlinks ที่มีคุณภาพ
– ควรจะนำพา Traffic มาให้กับเว็บของเรา (Sends Traffic) [จากประสบการณ์ส่วนตัว ขอบอกเลยว่า ข้อนี้สำคัญที่สุด]
– ควรมีที่มาจากเว็บที่มีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บเรา (Relevant Source)
– ควรมีที่มาจากเว็บที่มีความน่าเชื่อถือ (Trusted Source)
– ควรใช้ Anchor Link Text ที่มีความสอดคล้องกับ Keyword ที่เราต้องการทำอันดับ (Match Anchor Link Text)
– หากมาจากเว็บที่ Niche เดียวกับเราและยิ่งเป็นเว็บดังๆ จะยิ่งดี (Same Niche / Authority Websites)
– หากเป็นลิงค์ที่อยู่ในเนื้อหา Main Content จะยิ่งดี (In-Content)
– หากมาจาก High-PR Page จะยิ่งดี (On a page with PageRank)
– หากมาจากเว็บที่หลากหลาย จะยิ่งดี (Different Domain Name / Hosted / IP Address)
#2 อย่าสร้างจำนวนของหน้ามากเกินไปเพียงเพื่อหวังทำ SEO โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ
ในสมัยก่อน เรามักได้ยินคำถามหรือคำพูดที่มักกล่าวกันบ่อยๆ
– ต้องมีจำนวนบทความเท่าไหร่ถึงจะพอ ?
– ต้องมีจำนวนกี่บทความถึงจะดีต่อการทำ SEO ?
– 50 บทความขึ้นไปดีพอมั้ย
– จำนวนหน้ายิ่งเยอะยิ่งดี
– อัพเดทบ่อยๆ อัพเดททุกวัน หมั่นอัพเดท ขยันโพส !! Google ชอบ
ซึ่งพวกเราล้วนต่างพูดกันโดยไม่ได้คำนึงถึง “คุณภาพ” (Quality) แต่ไปเน้นแต่เพียง “จำนวน” (Quantity)
สำหรับปัจจุบันต้องเติมคำว่า “คุณภาพ” เข้าไปด้วย
– ต้องมีจำนวนบทความที่มีคุณภาพเท่าไหร่ถึงจะพอ ?
– ต้องมีจำนวนคุณภาพกี่บทความถึงจะดีต่อการทำ SEO ?
– 50 บทความคุณภาพขึ้นไปดีพอมั้ย
– จำนวนหน้าที่มีคุณภาพยิ่งเยอะยิ่งดี
– อัพเดทบ่อยๆ อัพเดททุกวัน หมั่นอัพเดท ขยันโพส !! บทความที่มีคุณภาพ Google ชอบ
ด้วยการอัพเดทล่าสุด Google Phantom ที่มุ่งเน้นไปที่ Quality Content เป็นหลัก
เพจหรือโพสที่มีลักษณะของเนื้อหาที่ อาจจะโดนหมายหัวจาก Google !! (ส่งผลร้ายต่อการทำ SEO) เช่น
– Thin Content (เนื้อหาน้อยเกิน)
– Duplicate Content (เนื้อหา Copy มา)
– Repeating Content (เนื้อหาซ้ำๆ เขียนวกไปวนมา)
– Content Farms (เนื้อหาที่เขียนขึ้นจำนวนเยอะๆ เพื่อหลอก Search Engine Bot โดยไม่ได้คำนึงถึงคนอ่าน)
ดังนั้น หากคิดจะสร้างหน้าจำนวนเยอะๆ จึงควรทำแต่ละหน้านั้นให้มี Content ที่มีคุณภาพด้วย
[ โปรดรอติดตามอ่านเรื่อง Quality Content ในโอกาสต่อไป รอดูว่า
Content แบบไหน Google ถึงเรียกว่า Quality Content … ห่ะชะชะช่า!! ? ]
#3 อย่าใช้ Press Release สำหรับสร้าง Links เกินความจำเป็น
PRESS RELEASE เป็นวิธีหนึ่งที่เหล่านักการตลาดไม่ว่ายุคเก่าหรือยุคปัจจุบัน ต่างนำมาใช้ในการแนะนำสินค้า บริการ และเว็บไซต์ใหม่ๆ แน่นอนว่า รวมไปถึงนักทำ SEO ที่มักชอบใช้ PR Website ในการสร้าง Backlinks
ในต่างประเทศ PR Site ที่มีคุณภาพส่วนมากจะเสียเงิน แต่สำหรับของไทยนั้น ส่วนใหญ่จะฟรี ตัวอย่าง Press Release คุณภาพ เช่น PRNewsWire.com , PRWeb.com , BusinessWire.com , PRLog.org เป็นต้น (ของไทยก็ เช่น www.thaipr.net , www.prthai.com)
กลุ่มของพวกเว็บไซต์ลงประกาศหรือลงโฆษณาฟรีต่างๆ ก็จัดว่าเป็นรูปแบบของ Press Release เหมือนกัน คือเป็นเว็บสำหรับประชาสัมพันธ์เช่นเดียวกัน แต่จะไม่ใช่ประชาสัมพันธ์เฉพาะข่าวสาร แต่เป็นประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ ความแตกต่างอยู่ที่เนื้อหา แต่วัตถุประสงค์นั้นคล้ายคลึงกัน
จากการอัพเดทของ Google Panda 4.0 (May 2014) ทำให้ลดความสำคัญอย่างมากกับปัจจัยของ Backlink ที่มาจาก PR Site ดังนั้น การที่เราไปโพสตามเว็บลงประกาศโฆษณา (รวมถึงตามเว็บบอร์ดต่างๆ) แบบเยอะๆ ไม่เลือกที่ เพื่อหวังจะเป็นการสร้าง Backlink จึงเป็นเทคนิคที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะมันแทบไม่มีผลต่อการทำ SEO อีกทั้งอาจจะส่งผลร้าย มากกว่าผลดี หากถูก Google มองว่าเป็นการ SPAM
แต่หากถามว่า ควรเลิกใช้ Press Release เลยหรือเปล่า ? อันนี้ก็ต้องตอบว่า “แล้วแต่” เพราะในแง่การตลาด มันยังมีประโยชน์อยู่ในฐานะเป็น “ช่องทางโปรโมท” ทางหนึ่ง ดังนั้นเราควรจะเลือก PR Site ที่มีคุณภาพ หรือที่คิดว่าน่าจะมี Traffic จากการลงข้อมูลในไซต์นั้นๆ (ขอมีคนเห็น คนคลิกบ้างไม่มากก็น้อย) และสิ่งที่สำคัญ คือ
ให้แน่ใจว่า LINKS ที่เราวางใน Press Release เพื่อยิงกลับมาเว็บของเรานั้นเป็นแบบ “nofollow”
#4 อย่าวางเป้าหมายจำกัดเพียงแค่ High Traffic Keywords
ในเรื่อง Keyword นั้น คนทั่วๆไป รวมถึงนักทำ SEO มือใหม่ มักจะนิยมเลือกใช้ Keyword ที่มีอัตราการแข่งขันสูง (High Volume Keyword/High Traffic Keyword) หรือก็คือคำที่คนนิยมใช้ค้นหา ซึ่งโดยปกติแล้ว คีย์เวิร์ดเหล่านี้จะเป็น ศัพท์พยางค์เดียว หรือเป็นคำสั้นๆ
ยกตัวอย่างเช่น หากอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับการทำ SEO เราก็ต้องนึกถึง Keyword คำว่า “SEO” ซึ่งแน่นอนว่า คำนี้เป็นคำหลักที่คนต้องใช้ค้นหา ในขณะเดียวกัน อัตราการแข่งขันก็จะสูงตามไปด้วย … หากเราพึ่งเริ่มทำ SEO หรือ เว็บไซต์พึ่งจะสร้างใหม่ ผมต้องขอบอกเลยว่า แทบจะไม่มีโอกาสติดอันดับ ใน Keyword ที่เป็น Main Keyword นี้ได้เลย (หรือติดอันดับยากมากๆ หรือจะใช้เวลานานมาก)
วิธีที่ควรทำคือ
การมองหา Long-Tail Keyword (คีย์เวิร์ดหลายพยางค์)
หรือ Semantic Keyword (คีย์เวิร์ดมีความหมายใกล้เคียง)
(ทางการจะเรียกว่า LSI Keyword – LSI ย่อมาจาก Latent Semantic Indexing)
ทั้ง Long-Tail Keyword และ LSI Keyword แม้จะมี Volumn ปริมาณการค้นหาน้อยกว่า Main Keyword อันมีผลทำให้เกิด Traffic ได้น้อยกว่า หากแต่เมื่อนำมาใช้หลายๆคำ จับมาสร้างเป็น Content ที่หลากหลาย ก่อให้เกิดบทความที่เขียนออกมาได้เรื่อยๆ และด้วยความที่ อัตราการแข่งขันมีน้อยกว่า จำนวนเว็บที่ Google Indexed ก็มีน้อยกว่า จึงส่งผลให้ติดอันดับได้ง่ายและรวดเร็ว … ทำให้คุณอาจจะคาดไม่ถึงว่ามันจะสามารถสร้าง Traffic ให้คุณได้มากขนาดไหน
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ผมขอยกตัวอย่าง
เว็บไซต์ Webbastard.net พิจารณาเนื้อหาดูแล้ว จะเห็นได้ว่า
Main Keyword น่าจะใช้คำว่า “SEO” ซึ่งเป็น High Traffic Keyword
ผลคือ เว็บผมไม่ติดอันดับเลย
ที่นี้เราลองเปลี่ยน Main Keyword เป็น 2 พยางค์ ใช้คำว่า “การทำ SEO”
จะเห็นว่า Volume และคู่แข่งก็น้อยลง ผลคือ ติดอันดับ 7
ลองดูอีกที Long-Tail Keyword (เพิ่มเป็น 3 พยางค์) “การทำ SEO ด้วยตัวเอง”
Volume และคู่แข่งก็ยิ่งน้อยลงอีก ผลคือ ติดอันดับ 1
ลองดู LSI Keyword กันบ้าง (คีย์ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน) “วิธีทำ SEO”
ผลคือ ติดอยู่ในอันดับ 4
ลองดูอีกที LSI Keyword (คีย์ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน) “วิธีทำ SEO ด้วยตัวเอง”
ผลคือ ติดอยู่ในอันดับ 2
ลองดูอีกทีสองที LSI Keyword (คีย์ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน) “การทำ SEO ให้ติดอันดับ”
ผลคือ ติดอยู่ในอันดับ 1
จากตัวอย่าง จะเห็นว่า ทั้งๆที่ Long-Tail Keyword และ LSI Keyword ติดอันดับหน้าแรก
แต่ Main Keyword หลักคือคำว่า “SEO” หาดู 400 อันดับแรก เว็บผมยังค้นไม่เจอเลย >.<
โดยสรุปแล้ว เทคนิคการนำ Keyword ที่มุ่งเน้นแต่จะเอา คำหลักที่คนนิยมคนหา (ซึ่งคู่แข่งสูง) มาใช้ทำ SEO นั้น ควรเลิกใช้!! หากแต่ควรใช้เทคนิค Long-Tail Keyword + LSI Keyword แทน เพื่อลดอัตราการแข่งขัน และเพิ่มโอกาสในการทำอันดับ!!
#5 อย่าทำแต่ SEO เพียงอย่างเดียว โดยไม่คิดถึง Digital Marketing
การทำ SEO ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Digital Marketing ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายส่วนสำคัญที่จะเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนภาพรวมของธุรกิจ รวมถึงมีผลต่อการทำ SEO ด้วย เช่น Social Media , Content Marketing , Mobile Marketing เป็นต้น
ในทุกวันนี้ การจะทำ SEO ให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นจะต้องทำมากกว่า SEO
– SEO จำเป็นต้องมี Social Media ช่วย
– SEO ควรมีพื้นฐานของ Content Marketing มาสนับสนุน
– SEO ควรคำนึงถึงเรื่องของ Mobile Users
ถ้าเราโฟกัสมาที่การทำ SEO เพียงอย่างเดียว อาจจะไม่รุ่ง (หรืออาจจะรุ่ง แต่ไม่รุ่งโรจน์โชติช่วงชัชวาลย์ 555+)
หากต้องการจะไปให้ไกลในธุรกิจออนไลน์ คุณจำเป็นต้องทำอะไรที่ให้มันเหนือกว่าแค่ SEO !!
นั่นก็คือ การวางแผนในการทำ Digital Marketing … ไม่ใช่แค่วางแผนทำแต่ SEO
(Onpage SEO) จงใช้ SEO เทคนิคพื้นฐานในการปรับแต่งเว็บไซต์และ Content … (Offpage SEO) ในส่วนของการโปรโมท อย่าคิดเพียงแค่พยายามจะหาวิธีเพิ่มลิงค์ แต่จงหาวิธีที่จะเพิ่ม Traffic แล้วลิงค์จะตามมาเองโดยธรรมชาติ และลิงค์นั้นมันจะกลายเป็นลิงค์ที่มีคุณภาพ
ในอดีตสเตปการทำ SEO แบบเดิมๆโดยทั่วไป มักจะอยู่ในรูปแบบคือ
– วิเคราะห์ Keyword
– ปรับ Onpage SEO
– ดู Link Profile
– หาวิธีเพิ่ม Backlinks !!
แต่ในปัจจุบัน หากคุณอยากจะประสบความสำเร็จ ในการทำ SEO คุณต้องทำ Digital Marketing ด้วย
– วิเคราะห์ Keyword
– ปรับ Onpage SEO
– ทำ Social Media Marketing (Facebook Twitter Google+ Youtube IG Pinterest Linkedln etc.)
– ทำ Content Marketing
– ปรับปรุงตรวจสอบโครงสร้างเว็บ (Structured Data Markup)
– ปรับปรุง Internal Links
– [ส่วนเสริม] การลงโฆษณากระตุ้น (Adwords หรือ Facebook)
– [ส่วนเสริม] ทำ Remarketing
– [ส่วนเสริม] ทำ Email Marketing
webbastard.net/เทคนิคการทำ-seo/