• August 14, 2020

    ฟ้าทะลายโจร ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสโรคโควิด-19 ในหลอดทดลอง

    IMG_8321

    แอนดร็อกซิล

    มีสรรพคุณบรรเทาอาการของโรคหวัด
    เจ็บคอ น้ำมูกไหล ตัวร้อน เป็นไข้ ไอ

    ผลการศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดฟ้าทะลายโจร และสารแอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจรในหลอดทดลอง
    มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสโควิด-19 ได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์จากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

    เตรียมศึกษานำร่องผลของยาสารสกัดฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ระดับความรุนแรงน้อยในเดือน เม.ย.-ก.ค.นี้

    กินทันทีเมื่อมีไข้ แต่ไม่ควรกินเพื่อป้องกันโรค

    การวิจัยฟ้าทะลายโจรกับไวรัสโควิด-19 เป็นความร่วมมือของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม ซึ่งเริ่มต้นวิจัยเมื่อปลายเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา

    นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่าฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์จากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงไม่แนะนำให้รับประทานเพื่อการป้องกันโรค โดยที่ยังไม่มีอาการเพราะไม่มีผลในการป้องกัน

    รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทย กล่าวว่าในการรับประทานฟ้าทะลายโจร ให้รับประทานทันทีเมื่อเริ่มมีอาการคล้ายอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ (flu-like symptoms) ได้แก่ มีไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ก่อโรคไข้หวัดใหญ่ หรือไวรัสก่อโรคทางเดินหายใจอื่น โดยรับประทานครั้งละ 4 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง (ครั้งละประมาณ 1,500 มิลลิกรัม) หลังอาหารและก่อนนอน

    ส่วนสารสกัดฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 1 หรือ 2 แคปซูล เพื่อให้ได้รับสารสำคัญแอนโดรกราโฟไลด์ประมาณ 20 มิลลิกรัม ต่อครั้ง วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร การรับประทานยาทั้งสองแบบในขนาดที่แนะนำ จะให้สารแอนโดรกราโฟไลด์ประมาณ 60 มิลลิกรัมต่อวัน

    แพทย์ยังแนะนำให้มียาฟ้าทะลายโจรเป็นยาประจำตัวและยาประจำบ้าน อาจใช้ร่วมกับยาพาราเซตามอลได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ให้รีบพบแพทย์

    ส่วนความคืบหน้าการทดลองในคน กรมการแพทย์แผนไทยฯ ร่วมกับสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และองค์การเภสัชกรรม ศึกษานำร่องผลของยาสารสกัดฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโรคโควิด- 19 ระดับความรุนแรงน้อย ในระหว่างเดือน เม.ย.- ก.ค.นี้

    ด้าน ดร.สุภาพร ภูมิอมร ผอ.สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการศึกษาศึกษาฤทธิ์ต้านไวรัสโควิด-19 ของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในหลอดทดลอง โดยทำการศึกษาจากสารสกัดหยาบเทียบกับแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ที่เป็นสารสำคัญ พบว่า กลไกต้านไวรัสโควิด-19 สามารถทำลายไวรัสโดยตรง และต้านไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวนเซลล์ได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการชักนำให้เซลล์หลั่งสารที่ช่วยยับยั้งไวรัสโควิด-19 จึงไม่แนะนำให้รับประทานเพื่อการป้องกันโรค และจำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยในคนต่อไป

    ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาฟ้าทะลายโจรที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ

    • ห้ามใช้ยาฟ้าทะลายโจรในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
    • ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการไข้เจ็บคอจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง หนาวสั่น
    • หากมีอาการแพ้ฟ้าทะลายโจร เช่น เกิดผื่น ลมพิษ หน้าบวม ริมฝีปากบวม หายใจลำบาก ให้หยุดใช้ยาทันทีและไม่ใช้อีก
    • ควรระวังในผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟาริน แอสไพริน โคลพิโดเกรล ยาลดความดันโลหิต และการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้แขนขาชา หรืออ่อนแรง
    ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees
    วงศ์ Acanthaceae
    ชื่ออื่น ฟ้าทะลาย หญ้ากันงู น้ำลายพังพอน สามสิบดี คีปังฮี Kalmegh
    ส่วนที่ใช้ ส่วนเหนือดิน หรือ ใบ
              ฟ้าทะลายโจรเป็นพืชล้มลุก สูง 30-60 ซม. ทั้งต้นมีรสขม ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งเป็นพุ่มเล็ก ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปใบหอก ใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ผลเป็นฝักสีเขียวอมน้ำตาล ปลายแหลม เมื่อผลแก่จะแตกเป็นสองซีก ดีดเมล็ดออกมา ใช้เมล็ดขยายพันธุ์
    สารสำคัญ
             
    ฟ้าทะลายโจรส่วนเหนือดิน จะมีสารสำคัญจำพวก ไดเทอร์ปีนแลคโตน (diterpene lactones) หลายชนิด ได้แก่ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide; AP1), นีโอแอนโดกราโฟไลด์ (neoandrographolide; AP4), ดีออกซีแอนโดกราโฟไลด์ (deoxyandrographolide), 14-ดีออกซี-11,12-ไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ (14-deoxy-11,12-didehydroandrographolide; AP3) ซึ่งสารสำคัญเหล่านี้จะมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาแตกต่างกันไป
              ในวัตถุดิบฟ้าทะลายโจรที่ดี ควรจะมีปริมาณแลคโตนรวมคำนวณเป็น แอนโดรกราโฟไลด์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 6.0 โดยน้ำหนัก ผงสมุนไพรฟ้าทะลายโจรควรจะมีสีเขียวเข้ม มีกลิ่นอ่อนและมีรสขมมาก
    ผลการศึกษาทางเภสัชวิทยา
              การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ทางยาหลายประการ เช่น ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด (Husen et al., 2004; Dandu and Inamdar, 2009), ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Sheeja et al., 2006), ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันและยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง (Kumar et al., 2004), ฤทธิ์ป้องกันตับจากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซทตามอล หรือแอลกฮอลล์ (Visen et al., 1993; Singha et al., 2007) เป็นต้นงานศึกษาวิจัยสมุนไพรฟ้าทะลายโจรของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์          ฟ้าทะลายโจรเป็นยาแผนไทยที่ถูกบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปี 2542 โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดข้อบ่งใช้คือ บรรเทาอาการท้องเสียไม่ติดเชื้อ แต่ในปัจจุบันตามบัญชียาหลัก ฉบับปี 2549 ให้ใช้ฟ้าทะลายโจร สำหรับบรรเทาอาการท้องเสียไม่ติดเชื้อ, บรรเทาอาการเจ็บคอและอาการของโรคหวัด (common cold) เช่น เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ น้ำมูกไหล เป็นต้น จึงทำให้มีผู้นำ ฟ้าทะลายโจรมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น          สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้สนับสนุนให้เกษตรกรทำการปลูกฟ้าทะลายโจร ในพื้นที่โครงการทับทิมสยาม 05 จังหวัดสระแก้ว และได้นำตัวอย่างสมุนไพร ฟ้าทะลายโจรนี้มาทำการศึกษาวิจัย ดังต่อไปนี้ศึกษาพัฒนาวิธีการสกัดและตรวจวิเคราะห์สารสำคัญแลคโตน ในตัวอย่างฟ้าทะลายโจร เพื่อทำการแยกสารสำคัญเหล่านี้ (โดยเฉพาะ AP1, AP3 และ AP4) สำหรับนำมาเป็นสารมาตรฐาน ในการวิเคราะห์สารสำคัญในสมุนไพร สถาบันฯได้ทำการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญทั้ง 3 ชนิดนี้ ในผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งจะพบว่า ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มีความแปรปรวนของสารสำคัญทั้ง 3 ชนิดสูงมาก (รูปกราฟที่ 1) เช่น ตัวอย่างที่ 13 มีสาร AP1 สูงมาก ตัวอย่างที่ 1 มีทั้ง AP1 และ AP3 สูง ในขณะที่ตัวอย่าง 12 มีสารทั้ง 3 ชนิดต่ำที่สุด (Pholpana et al., 2004)การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งชนิด neuroblastoma SK-N-SH cells ในหลอดทดลอง พบว่า AP1 มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ดีกว่า AP3 และ AP4 ( AP1 > AP3 > AP4) โดย AP1 มีค่า IC50 = 4.90 µgM, AP3 มีค่า IC50= 40.69 µM และ AP4 มีค่า IC50 >100 µM (Thiantanawat et al., 2004)เมื่อศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ที่ถูกกระตุ้นด้วยสาร Thrombin พบว่า สาร AP3 จะสามารถยับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือดได้ดีกว่า AP1 ในขณะที่ AP4 ไม่มีฤทธิ์นี้เลย นอกจากนี้ สารสกัดน้ำของ ฟ้าทะลายโจร ก็ยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือดได้ดีด้วย (Thisoda et al., 2006)จากการศึกษาฤทธิ์ในการลดความดันเลือด พบว่า สารสกัดฟ้าทะลายโจรและสารสำคัญ มีฤทธิ์ในการลดความดันเลือดได้ดี และ AP3 จะเป็นสารที่ให้ฤทธิ์ดีที่สุดในการขยายหลอดเลือด และลดอัตราการเต้นของหัวใจ (Yoopan et al., 2007)          นอกจากผลการวิจัยข้างต้นนี้แล้ว ทางสถาบันฯ ยังได้ทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อมาลาเรีย (Plasmodium falciparum) ในหลอดทดลอง ซึ่งผลที่ได้พบว่า AP1 และ AP3 มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อมาลาเรียได้ดี ในขณะที่ AP4 จะมีฤทธิ์น้อยมาก เมื่อทำการทดสอบสารสกัดน้ำของฟ้าทะลายโจร พบว่า สารสกัดฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย โดยมีค่า IC50 = 418.2 µg/ml ในขณะนี้สถาบันฯ กำลังทำการศึกษาฤทธิ์ในการป้องกันความเป็นพิษต่อตับของสารสำคัญ ในฟ้าทะลายโจร โดยที่ตับจะถูกกระตุ้นด้วยสารเคมีชนิดต่างๆ
              นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังได้พัฒนา วิธีการเตรียมสารสกัดฟ้าทะลายโจรชนิดผงแห้ง ที่มีสารสำคัญที่แตกต่างกัน ซึ่งได้ทำการจดอนุสิทธิบัตรแล้วในปี 2548 [อนุสิทธิบัตร เรื่อง วิธีการเตรียมสารสกัดมาตรฐานจากสมุนไพรฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees, Acanthaceae) และการใช้สารสกัดดังกล่าวในการผลิตผลิตภัณฑ์ อนุสิทธิบัตรเลขที่ 1862 ออกให้ ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2548] และยังได้ยื่นจดอนุสิทธิบัตร ในการนำสมุนไพรฟ้าทะลายโจร มาเตรียมเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิวและเครื่องสำอาง เช่น สบู่เหลว แชมพู เป็นต้น ซึ่งอาศัยฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ของสารสกัดฟ้าทะลายโจร [ยื่นจดอนุสิทธิบัตร 2549]การนำฟ้าทะลายโจรมาใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ  
              จากการศึกษาในกลุ่มประชากรประเทศชิลี โดยให้ยาเม็ดสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาด 1200 มิลลิกรัม/วัน ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดเป็นเวลา 5 วัน พบว่า วันที่ 2 หลังได้รับยา ความรุนแรงของอาการอ่อนเพลีย เจ็บคอ น้ำมูกไหล ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจร จะน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และในวันที่ 4 ความรุนแรงของทุกอาการ ได้แก่ อาการไอ เสมหะ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดหู นอนไม่หลับ เจ็บคอ ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรก็ยังน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (Cáceres et al., 1999)
              สำหรับการศึกษาทางคลินิกในผู้ที่มีอาการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนอย่างเฉียบพลัน รวมทั้งกลุ่มอาการไซนัสอักเสบด้วย กลุ่มทดลอง 95 คน รับประทานยา Kan Jang [ประกอบด้วยสารสกัดมาตรฐานของฟ้าทะลายโจร 85 มก. (มี andrographolide 5 มก.) และสารสกัด Acanthopanax senticosus 10 มก.] ครั้งละ 4 เม็ด 3 ครั้ง/วัน กลุ่มควบคุมรับประทานยาหลอก โดยรับประทานยานาน 5 วัน วัดผลโดยให้คะแนนจากการประเมินอุณหภูมิ อาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาการแสดงทางคอ ไอ อาการแสดงทางจมูก ความรู้สึกไม่สบายตัว และอาการทางตา ผลการศึกษาพบว่า คะแนนรวมทั้งหมดของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยจะมีอาการปวดศีรษะ อาการทางจมูกและคอ รวมถึงความรู้สึกไม่สบายตัวลดลง ในขณะที่ยังมีไอและอาการทางตาไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อุณหภูมิในกลุ่มทดลองจะลดลงปานกลาง (Gabrielian et al., 2002)
             นอกจากนี้การศึกษาเปรียบเทียบยา Kan Jang [ประกอบด้วยสารสกัดมาตรฐานจากฟ้าทะลายโจร และยาอื่น] และ Immunal [ประกอบด้วยสารสกัดจาก Echinacea purpurea] ร่วมกับการรักษาตามปกติ ในเด็กอายุ 4-11 ปี จำนวน 130 คน ที่เป็นหวัดไม่มีอาการแทรกซ้อน เป็นเวลา 10 วัน พบว่า การให้ Kan Jang ร่วมกับการรักษาตามปกติให้ผลดีกว่า Immunal และกลุ่มควบคุม โดยเฉพาะในคนที่เริ่มมีอาการระยะแรก อาการที่เห็นได้ชัดว่าบรรเทาลง คือ ลดน้ำมูก และลดอาการบวมคั่งในจมูก และไม่พบผลข้างเคียงของการใช้ยา ส่วน Immunal ไม่มีผลการรักษาดังกล่าว (Spasov et al., 2004)
              สำหรับการศึกษาในประเทศไทย วิษณุ ธรรมลิขิตกุลและคณะ ได้ทดลองเปรียบเทียบผลการรักษาอาการไข้และเจ็บคอของฟ้าทะลายโจร โดยเปรียบเทียบกับ พาราเซตามอล พบว่า กลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรขนาด 6 กรัมต่อวัน มีอาการไข้และการเจ็บคอลดลง ในวันที่ 3 ได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจร 3 กรัม/วัน หรือได้รับพาราเซตามอล 3 กรัม/วัน แต่หลัง 7 วัน ผลการรักษาไม่ต่าง (Thamlikitkul et al., 1991)ข้อควรระวัง (มาตรฐานสมุนไพรไทย เล่มที่ 1 เรื่อง ‘ฟ้าทะลายโจร’)
              ฟ้าทะลายโจร อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเดิน ปวดเอว หรือวิงเวียนศีรษะ ใจสั่นในผู้ป่วยบางราย หากมีอาการดังกล่าว ควรหยุดใช้ฟ้าทะลายโจร และให้เปลี่ยนไปใช้ยาอื่นแทน นอกจากนี้ หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้ และไปพบแพทย์บทสรุป
              ในปัจจุบัน มีผู้นำสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากได้มีการอ้างอิงถึงสรรพคุณของฟ้าทะลายโจรในการรักษาหรือยับยั้งอาการต่างๆ ได้ดี ทั้งจากเอกสารการวิจัยภายในประเทศ และต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม การนำฟ้าทะลายโจรมาใช้ในการรักษาโรคนั้น ยังต้องคำนึงถึงคุณภาพของสมุนไพรด้วย สารสำคัญในฟ้าทะลายโจรมีด้วยกันหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิด ก็จะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่แตกต่างกัน ดังนั้น เตรียมวัตถุดิบฟ้าทะลายโจร โดยเริ่มตั้งแต่การเก็บเกี่ยว การแปรรูป รวมถึงการเก็บรักษาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ก็อาจส่งผลให้ฟ้าทะลายโจรที่นำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ในลักษณะผงหยาบ จะมีปริมาณสารสำคัญที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก ซึ่งก็จะทำให้ฟ้าทะลายโจรนี้ ให้ผลในการรักษาโรคไม่เหมือนกัน หรืออาจจะมีอาการข้างเคียงแตกต่างกันก็ได้ ซึ่งทางสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรนี้ จึงได้พัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์สารสำคัญต่างๆ ที่มีในฟ้าทะลายโจรที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เพื่อให้สามารถทราบปริมาณสารสำคัญเหล่านี้ที่แน่นอนในฟ้าทะลายโจรที่นำมาใช้ จะทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาและป้องกันโรคดียิ่งขึ้น และผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรเหล่านี้ ก็ควรจะต้องไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์และโลหะหนัก รวมถึงยาฆ่าแมลงเกินปริมาณมาตรฐานที่กำหนดไว้ของสมุนไพรด้วย
              นอกจากนี้ การออกฤทธิ์ของฟ้าทะลายโจร ยังขึ้นอยู่กับการปลดปล่อยและการดูดซึมของสารสำคัญในฟ้าทะลายโจร เมื่อบริโภคเข้าไปในร่างกายแล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะเป็นตัวบ่งชี้ว่า สารสำคัญในฟ้าทะลายโจรเหล่านี้ จะสามารถออกฤทธิ์ในการรักษาได้ดีมากน้อยแค่ไหน การที่สารสำคัญเกิดการเปลี่ยนรูปเมื่อเข้าสู่ร่างกาย อาจส่งผลให้สารนั้น กลายเป็นสารที่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษาเลยก็ได้ ดังนั้น การนำฟ้าทะลายโจรมาใช้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพดี จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น คุณภาพวัตถุดิบ สารสำคัญในผลิตภัณฑ์ รวมถึงรูปแบบผลิตภัณฑ์ หรือการนำส่งยา เป็นต้น

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees
    ชื่อสามัญ : Kariyat , The Creat
    วงศ์ : ACANTHACEAE
    ชื่ออื่น : หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :ไม้ล้มลุก สูง 30-70 ซม. ทุกส่วนมีรสขม กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
    ส่วนที่ใช้ :  ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน
    สรรพคุณ 4 ประการ

    1. แก้ไข้ทั่ว ๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
    2.  ระงับอาการอักเสบ ไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ
      รักษาโรคผิวหนังฝี
    3. แก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ
    4. เป็นยาขมเจริญอาหาร ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้
      ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
      ใบฟ้าทะลายโจร มีสารเคมีประกอบอยู่หลายประเภท แต่ที่เป็นสาระสำคัญในการ
      ออกฤทธิ์ คือ สารกลุ่ม Lactone คือ
    1. สารแอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide)
    2. สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (neo-andrographolide)
    3. 14-ดีอ๊อกซี่แอนโดรกราโฟไลด์ (14-deoxy-andrographolide)
      ฟ้าทะลายโจรเป็นยาเก่าแก่ของประเทศจีน ที่ใช้ในการแก้ฝี แก้อักเสบ และรักษาโรคบิด การวิจัยด้านเภสัชวิทยาพบว่า ฟ้าทะลายโจรสามารถยับยั้ง เชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเป็นหนองได้ และมีการศึกษาวิจัยของโรงพยาบาลบำราศนราดูร ถึงฤทธิ์ในการรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิด แบคทีเรีย เปรียบเทียบกับ เตตราซัยคลิน ในผู้ป่วย 200 ราย อายุระหว่าง 16-55 ปี ได้มีการเปรียบเทียบระยะเวลาที่ถ่ายอุจจาระเหลว จำนวนอุจจาระเหลว น้ำเกลือ ที่ให้ทดแทนระหว่างฟ้าทะลายโจรกับเตตราซันคลิน พบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ลดจำนวนอุจจาระร่วงและจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนอย่างน่าพอใจ แม้ว่าจากการทดสอบทางสถิติ จะไม่มีความแตกต่างโดยในสำคัญก็ตาม ส่วนการลดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ ฟ้าทะลายโจรไม่ได้ผลดีเท่าเตตราซัยคลิน นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลชุมชนบางแห่งได้ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาอาการเจ็บคอได้ผลดีอีกด้วย มีฤทธิ์เช่นเดียวกับเพ็นนิซิลินเมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบัน เท่ากับเป็นการช่วยให้มีผู้สนใจทดลองใช้ยานี้รักษาโรคต่าง ๆ มากขึ้น
      วิธีและปริมาณที่ใช้

             1.      ถ้าใช้แก้ไข้เป็นหวัด ปวดหัวตัวร้อน
      ใช้ใบและกิ่ง 1 กำมือ (แห้งหนัก 3 กรัม สดหนัก 25 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2
      ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
             2.      ถ้าใช้แก้ท้องเสีย ท้องเดิน เป็นบิดมีไข้
      ใช้ทั้งต้นหรือส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร ผึ่งลมให้แห้ง หั่นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ
      (หนักประมาณ 3-9 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มตลอดวัน
      ตำรับยาและวิธีใช้
             1.ยาชงมีวิธีทำดังนี้
                – เอาใบสดหรือแห้งก็ได้ ประมาณ 5-7 ใบ แต่ใบสดจะดีกว่า
                – เติมน้ำเดือดลงจนเกือบเต็มแก้ว
                – ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง หรือพอยาอุ่น แล้วรินเอามาดื่ม ขนาดรับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน
             2.ยาเม็ด (ลูกกลอน) มีวิธีทำดังนี้
                – เด็ดใบสดมาล้างให้สะอาดผึ่งในที่ร่ม ห้ามตากแดด ควรผึ่งในที่มีลมโกรก ใบจะได้แห้งเร็ว
                – บดเป็นผงให้ละเอียด
                – ปั้นกับน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม เป็นเม็ดขนาดเท่าเม็ดถั่วเหลือง (หนัก 250 มิลลิกรัม)แล้วผึ่งลมให้แห้ง เพราะถ้าปั้นรับประทานขณะที่ยังเปียก
                  อยู่จะขมมาก ขนาดรับประทานครั้งละ  4-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน
             3.แค๊ปซูล มีวิธีทำคือ
                  แทนที่ผงยาที่ได้จะปั้นเป็นยาเม็ด กลับเอามาใส่ในแค๊ปซูล เพื่อช่วยกลบรสขมของยา แค๊ปซูล ที่ใช้ ขนาดเบอร์ 2 (ผงยา 250 มิลลิกรัม) ขนาดรับ
                  ประทานครั้งละ 3-5 แค๊ปซูล วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร ก่อนนอน
             4.ยาทิงเจอร์หรือยาดองเหล้า
                 เอาผงแห้งใส่ขวด แช่สุราที่แรง ๆ เช่น สุราโรง  40 ดีกรี ถ้ามี alcohol ที่รับประทานได้ (Ethyl alcohol) จะดีกว่าเหล้า แช่พอให้ท่วมยาขึ้นมาเล็ก
                 น้อย ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดวันละ  1 ครั้ง พอครบ 7 วัน จึงกรองเอาแต่น้ำ เก็บไว้ในขวดให้สะอาดปิดสนิท รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ            (รสขมมาก) วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร
             5.ยาผงใช้สูดดม
                 คือเอายาผงที่บดละเอียด มาใส่ขวดหรือกล่องยา ปิดฝาเขย่าแล้วเปิดฝาออก ผงยาจะเป็นควันลอยออกมา สูดดมควันนั้นเข้าไป            ผงยาจะติดที่คอทำให้ยาไปออกฤทธิ์ที่คอโดยตรง ช่วยลดเสมหะ และแก้เจ็บคอได้ดี วิธีที่ดีกว่านี้คือวิธีเป่าคอ กวาดคอ หรือรับประทานยาชง            ตรงที่คอจะรู้สึกขมน้อยมาก ไม่ทำให้ขยาดเวลาใช้ ใช้สะดวกและง่ายมาก ประโยชน์ที่น่าจะได้รับเพิ่มก็คือ ผงยาที่เข้าไปทางจมูก            อาจจะช่วยลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูกด้วย
       ขนาดที่ใช้
                 สูดดมบ่อย ๆ วันละหลาย ๆ ครั้ง ถ้ารู้สึกคลื่นไส้ให้หยุดยาไปสักพัก จนความรู้สึกนั้นหายไป จึงค่อยสูดใหม่
       ข้อควรรู้เกี่ยวกับตำรับยา
             สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) สารในต้นฟ้าทะลายโจร ละลายในแอลกอฮอร์ได้ดีมาก ละลายในน้ำได้น้อย ดังนั้นยาทิงเจอร์ หรือยาดองเหล้าฟ้าทะลายโจร จึงมีฤทธิ์แรงที่สุด ยาชงมีฤทธิ์แรงรองลงมา ยาเม็ดมีฤทธิ์อ่อนที่สุด
      ข้อควรระวัง
            บางคนรับประทาน ยาฟ้าทะลายโจร จะเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดเอว เวียนหัว แสดงว่าแพ้ยา ให้หยุดยา และเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น หรือลดขนาดรับประทานลง

    https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=790

    https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b1478705



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized