• August 20, 2018

    เว็บหลัก vir9.com
    เว็บย่อย

    vir9.com/a1
    vir9.com/a2
    vir9.com/a3

    สามารถจัดการเว็บย่อยทั้ง 3 ได้จาก Dashboard หลักของเว็บแม่ vir9.com
    ใช้ Theme, Plugin ร่วมกัน โดยปรับแต่งแค่ htaccess เท่านั้น!

    ส่วนมากใช้ในการแยกเนื้อหาที่ต่างกันออกจากกัน เช่น เช่นแยกสินค้า หรือ ใช้การทำเว็บหลายภาษา โดยไม่ต้องติดตั้ง wordpress ใหม่ ลักษณะ subdomain

    +http://codex.wordpress.org/Create_A_Network
    1.ให้ Deactivate ปลั๊กอินทั้งหมดก่อน แล้วเปลี่ยน Permalink เป็นแบบ Post name เพื่อที่ url จะได้สั้นกระชับ
    2.ไฟล์ wp-config.php เพิ่มโค้ด เข้าไปก่อนบรรทัด /* That’s all, stop editing! */

    /* Multisite */
    define( 'WP_ALLOW_MULTISITE', true );

    3. Dashboard > Tools > จะเจอกับเมนู Network Setup เพิ่มขึ้นมา
    4. เลือก Sub-directories แล้วกรอก Network title ที่ต้องการ
    5. ระบบจะแจ้งให้ copy โค้ด
    ชุดแรก วางใน wp-config.php
    ชุดสอง ไปแทนที่ WordPress rule เดิมใน .htaccess
    6. รีเฟรชหน้าเว็บ ระบบจะให้ Login ใหม่
    7. ที่ Dashboard จะ Toolbar ด้านบน มีเมนู Network เพิ่มเข้ามา
    8. เพิ่มเว็บย่อย (Add Site)
    Mysite > Network Admin > Dashboard
    คลิกที่ปุ่ม Create a New Site
    กรอกชื่อ sub directory ที่เราต้องการ
    เมื่อทำครบทุกเว็บตามต้องการแล้ว เราสามารถจะจัดการแต่ละไซต์ได้ โดยการชี้ที่เมนู My Sites > ชี้ที่ไซต์ที่ต้องการ > คลิกเมนูที่ต้องการ

    การติดตั้งปลั๊กอินและ Theme
    การจัดการกับ Site Network จะติดตั้งปลั๊กอิน,Theme ไว้ที่เดียวที่เว็บหลัก แล้วค่อยกำหนดให้ปลั๊กอินนั้นใช้ในส่วนรวมหรือไม่ แล้วจึงไปกำหนดในแต่ละไซต์ว่าจะ Active ปลั๊กอินตัวไหนบ้า

    รวมไปถึงการอัพเดตต่างๆ ก็จะทำที่หน้า Dashboard ของ Network Admin (My Sites)
    Mysite > Plugins > Add New
    ติดตั้งปลั๊กอินตามปกติ จากนั้นหลังติดตั้งเสร็จคลิกที่ Network Activate
    หรือคลิกที่ Return to Plugins page หากต้องการจัดการกับทีละหลายปลั๊กอิน

    การสั่ง Network Activate ทำให้ปลั๊กอินที่เลือกทำงานในทุกไซต์ โดยเราสามารถเข้าไปตั้งค่าแต่ละปลั๊กอินในเมนู Settings หรือเมนูของแต่ละปลั๊กอินได้ตามปกติ จะไม่มีเมนู Add New Plugin ในไซต์ลูกเหล่านี้

    หากเราต้องการให้ปลั๊กอินไหน ทำงานเฉพาะในบางไซต์ ให้เซ็ตเป็น Network Deactivate แล้วเข้าไปที่ Dashboard ของไซต์นั้นๆ แล้วค่อยเลือก Active เฉพาะปลั๊กอินตัวนั้นในเมนู Plugins

    Theme ที่เราได้ทำ Network Enable ก็จะถูกเซ็ตให้ทำงานกับทุกไซต์ เราสามารถ Network Enable ธีมหลายธีมก็ได้ โดยเราก็ยังสามารถไป Activate เฉพาะไซต์ได้ที่เมนู Theme ของไซต์นั้นๆ

    Edit Site
    เมนู Edit Site ช่วยให้สามารถแก้ไขไซต์ที่เป็น Sub directory ของเรา โดยไปที่ไซต์นั้นๆ ก่อน แล้วที่ toolbar ให้ชี้ที่ชื่อไซต์แล้วเลือกเมนู Edit Site

    สามารถแก้ไขการตั้งค่าของไซต์ได้ในแท็บเหล่านี้ รวมถึงการ Enable ธีมที่ไม่ได้ทำ Network Enable ไว้ก่อนหน้าด้วย

    +https://www.wpthaiuser.com/multisite-sub-directories/

    เพิ่มเติม
    +https://www.tsupaman.com/2016/11/วิธีทำ-wordpress-multisite-wpmu
    +http://thaiopensource.org/มาติดตั้ง-wordpress-multisite-บน-nginx/
    +http://thaicourt.blogspot.com/2010/12/multisite-mu-wordpress-3.html

    WordPress Multi User หรือ WordPress MU (WPMU) เป็น WordPress ที่สามารถสร้างเพิ่มเป็นแบบ Subdomain หรือแบบ Subdirectory ได้ในลักษณะของ Network โดย Admin ที่เป็นผู้สร้างสามารถดูแลจัดการ Sub ที่สร้างขึ้นมาใหม่ได้ทั้งหมด สามารถเปิดให้ผู้ใช้คนอื่นเข้ามาสมัครใช้บริการได้ เหมือน wordpress.com โดยผู้ที่เข้ามาสมัครเป็นสมาชิก ก็จะได้รับ login user และ password สามารถจัดการ Blog ของตัวเองได้ตามที่ Network Admin เปิดให้ใช้ เช่น Themes และ Plugins ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็สามารถปิดการรับสมัครโดยผู้ติดตั้งเป็นผู้ใช้แต่เพียงผู้ เดียว นิยมใช้กันในกลุ่มขาปั่นทั้งหลาย ในการปั่น Subdomain สำหรับการทำ Amazon

    สมัยก่อนการติดตั้งค่อนข้างวุ่นวายซับซ้อน แต่หลังจาก WordPress พัฒนาถึงเวอร์ชั่น 3 ก็ได้มีการรวมระบบ Multi User เข้ามาอยู่ในตัวเดียวกัน เพียงแต่ทำการเปิดฟังก์ชั่นการใช้งานเพิ่มขึ้นอีกเพียงไม่กี่ขั้นตอน จาก WordPress ธรรมดา ก็จะกลายเป็น Super WordPress หรือ WordPress Multi Site ทันที

    +http://jigload.blogspot.com/2011/09/wordpress-mu-wpmu.html

    wpmu จึงเทียบได้กับ ร้านค้าออนไลน์ แบบ marketplace (เปิดร้านค้าย่อยได้ เหมือน lazada )แต่ wp ธรรดาเทียบได้กับ ร้านค้าออนไลน์ร้านเดียว เช่น ร้านที่ทำกับ ยlugin woocommerce



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized