• May 8, 2023

    สรุปการเลือกซื้อยาสีฟัน

    1.ให้ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เท่านั้น
    2.ดูปริมาณความเข้มข้น ต้องเกิน 1,000 ppm
    3.แปรงอย่างน้อย 2 ครั้งหลังอาหาร
    4.แปรงแบบแห้งจะดีกว่า แค่บ้วนทิ้ง ให้ฟลูออไรด์ทำปติกิริยากับฟัน 30 นาทีขึ้นไป หรือ จะบ้วนน้ำก็ได้ แต่ใช้ยาสีฟันทาฟันให้ทั่วๆอีกครั้ง

    ถ้าใช้ยาสีฟันสมุนไพรให้เลือกที่มีฟลูออไรด์ ไม่งั้นฟันคุณจะผุ
    การใส่ฟลูออไรด์ทำให้ต้นทุนสูงและมีการผลิตที่ซับซ้อน ยังไม่มีข้อมูลว่า สมุนไพรจะช่วยเคลือบฟัน ไม่ทำให้ฟันผุ เหมือนอย่างฟลูออไรด์ และ แม้ฟลูอไร์จะมีในธรรมชาติ อาหาร ดินหินต้นไม้ใบหญ้า แต่ว่า ความเช้มข้นน้อย ไม่เพียงพอแต่การป้องกันฟันผุ
    ยาสีฟันสมุนไพรที่มีฟลูออไรด์
    https://chaladsue.com/article/3051

    บางคนร่องฟันลึกแปรงยาก
    การเคลือบหลุมร่องฟัน (Dental sealant) คือการใช้วัสดุสีคล้ายฟันหรือสีใส เคลือบปิดฟันที่มีร่องลึกเพื่อป้องกันไม่ให้เศษอาหารเข้าไปติดจนอาจนำไปสู่ปัญหาฟันผุในที่สุด ควรเคลือบหลุมร่องฟันช่วงอายุ 6-14 ปี ทันทีที่ฟันกรามแท้ขึ้น แต่สำหรับทารกหรือผู้ใหญ่ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ทำด้วยเช่นกันหากมีหลุมร่องฟันลึก
    การเคลือบหลุมร่องฟันไม่มีความเจ็บปวด เพราะไม่มีการเจาะ ผ่า หรือกรอฟัน แถมยังสามารถคงอยู่ได้นานสูงสุดถึง 10 ปี แต่ต้องมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูเป็นประจำ

    วัสดุเคลือบหลุ่มร่องฟัน

    วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือวัสดุเรซิ่น (Resin sealant) มีลักษณะเป็นสารเหลว แต่เมื่อหยดลงบริเวณหลุมร่องฟันจะค่อยๆ แข็งตัวจนอุดร่องฟันได้ วัสดุบางชนิดอาจเร่งการแข็งตัวได้โดยใช้แสง

    นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีวัสดุเรซิ่นบางชนิดที่สามารถปล่อยฟลูออไรด์เพื่ิอให้ฟันแข็งแรงด้วย

    ขั้นตอนการเคลือบหลุมร่องฟัน

    การเคลือบหลุมร่องฟันมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อนและใช้เวลาไม่กี่นาที ขั้นตอนหลักๆ อาจมีดังนี้

    1. ทันตแพทย์จะทำความสะอาดฟันซี่ที่ต้องการอุดหลุมร่องฟัน เช่น คราบเศษอาหาร หินปูน และจุลินทรีย์
    2. ฟันแต่ละซี่จะถูกทำให้แห้ง โดยใช้สำลีซับโดยรอบ บางสถานที่ให้บริการอาจใช้แผ่นยางกันน้ำลาย
    3. ทันตแพทย์จะใช้กรดทาบริเวณพื้นผิวฟันเพื่อให้เกิดรูพรุน เพื่อให้วัสดุเคลือบผิวฟันซึมเข้าตามรูพรุนและยึดติดกับฟันได้ดีขึ้น
    4. ทำความสะอาดฟันเพื่อล้างกรดออก และซับให้แห้งอีกครั้ง
    5. ทาวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันช้าๆ ก่อนจะทำการฉายแสงบริเวณวัสดุเพื่อให้วัสดุแข็งตัว
    6. เมื่อวัสดุแข็งตัวแล้ว จะตรวจสอบความเรียบร้อยว่ามีฟองอากาศหรือไม่ มีส่วนไหนหลุดไหม จากนั้นให้ลองสบฟันดู หากพบความผิดพลาดส่วนไหนจะทำการแก้ไข

    แม้จะทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังควรกลับมาให้ทันตแพทย์ตรวจความเรียบร้อยของวัสดุทุก 6 เดือน หากวัสดุมีส่วนที่เสียหาย ทันตแพทย์จะได้เคลือบซ้ำให้

    “ทำไมคุณต้องสังเกตส่วนผสม และค่าความเข้มข้นของฟลูออไรด์ก่อนตัดสินใจซื้อยาสีฟัน?”

    1) ข้อมูลชุดนี้ ตอนแรกเราไม่เชื่อเลย เพราะเราเคยใช้ยาสีฟันยี่ห้อนั้นอยู่เป็นปีๆครับ แต่พบว่ามีปัญหาเรื่องฟันผุจริง เลยคิดว่ามาแชร์ไว้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อของท่านครับ

    2) เราเริ่มเห็นคนบ่นเรื่องนี้เยอะขึ้น ใน twitter บางคนพูดชื่อยี่ห้อมาโต้งๆเลย แต่ทางเราคงขอสงวนชื่อไว้ เพราะสร้างความเสียหายทางธุรกิจ และเข้าข่ายคดีหมิ่นประมาทฟ้องร้องครับ

    3) จริงๆที่คุณหมอเจอ แล้วเล่าสู่กันฟัง case มาจากคุณหมอฟันท่านหนึ่งเป็นลูกศิษย์ของบอยเอง ทางคุณหมอแวะมาเล่าเคสของตัวเองที่ร่วมพัฒนาสูตรยาสีฟัน เพราะอยากเห็นคนไทยมีสุขภาพฟันที่ดีกว่านี้ โดยที่หมอพยายามจะเล่าว่า ยาสีฟันในตลาดตอนนี้มีปัญหาอะไร ทำให้เราทราบข้อมูล insight มากขึ้น

    4) แพทย์มาโฆษณาสินค้าชวนเชื่อไม่ได้ เช่น พูดว่าใช้แล้วดี เชื่อหมอสิ หมอบอกว่าดี ตรงนี้เป็นข้อห้าม ในทางปฏิบัติจะถือว่าผิดกฎหมายครับ หากวิชาชีพแพทย์มาโฆษณาผลิตภัณฑ์ และบริการใดๆด้านสุขภาพ ไม่ใช่แค่เรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพ แต่มีข้อกฎหมายห้ามไว้ ดังนั้นจริงๆ การที่มีหมอมาเชียร์ฉีดวัคซีนก่อนหน้านี้ “ผิดกฎหมาย เข้าข่ายการโฆษณาของวิชาชีพแพทย์” นั่นเป็นเหตุผลที่แพทย์ที่มีจรรยาบรรณ และเคารพต่อกฎหมายว่าด้วยการโฆษณา จึงไม่สามารถพูดอะไรได้มาก แม้อยากพูด คันปาก (เราเลยอาสาพูดให้แทนครับ)

    5) สิ่งที่เป็นปัญหาจริงของยาสีฟันในประเทศเราที่รวบรวมได้ มี 2 ข้อคือ

    ข้อ 1. ยาสีฟันสมุนไพรบางยี่ห้อ ไม่มีฟลูออไรด์ที่ป้องกันฟันผุ มีแต่สารสกัดจากสมุนไพรล้วนๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อช่องปาก เพราะไม่ได้รับการปกป้องเรื่องฟันผุ และไม่มีสารสมุนไพรตัวอื่นที่มายับยั้งแบคทีเรียในช่องปาก และทำหน้าที่สร้างความแข็งแรงของฟันแบบที่ฟลูออไรด์ทำได้

    ข้อ 2. ยาสีฟันหลายยี่ห้อในประเทศไทย (เจ้าตลาด) ยังคงใช้ค่าความเข้มข้นฟลูออไรด์เดิมที่เป็นมาตรฐานยาสีฟันคือ 1,000 ppm ซึ่งปัจจุบันปรับขึ้นจากงานวิจัยทางการแพทย์เป็นค่า 1,350-1,500 ppm แต่บ้านเรา ยาสีฟันยังไม่ได้ปรับค่ามาตรฐานการปกป้องที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดอยู่เยอะทีเดียว

    6) หมอเล่าว่ามีคนไข้ฟันผุหมดปาก ไม่ได้หมายถึงผุทุกซี่ แต่มีการกระจายพื้นที่ฟันผุรอบปาก หลังใช้ยาสีฟันสมุนไพรบางยี่ห้อต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ขึ้นเงาดำๆของฟันที่มีแนวโน้มจะผุ และผุง่ายขึ้น ผลจากการไม่มีฟลูออไรด์

    7) มาทำ contents นี้ไว้ เพื่อเป็นข้อสังเกต เตือนคนใช้ยาสีฟัน ให้สังเกตที่ข้างฉลาก อ่านให้ถี่ถ้วน อย่าเป็นเหยื่อโฆษณาและพรีเซนเตอร์ เป็นผู้บริโภคที่รู้เท่าทันผู้ผลิต ถ้าไม่มี fluoride แล้วจะปกป้องฟันเราไม่ให้ผุด้วยอะไรทดแทน? แล้วถ้าค่า fluoride ไม่สูงพอตามมาตรฐานใหม่ ที่จะปกป้องฟันเรา ก็นับว่ายังคุณภาพต่ำ หรืออยู่ในระดับกลางๆ ฉลากจะช่วยคุณครับ

    8 ) presenter ไม่ใช่ testimonial พวกเขาไม่เคยใช้จริง แค่มายืนถือผลิตภัณฑ์เพิ่มความน่าเชื่อถือ ใช้ดาราคนดังฟันขาวใส แต่เราอาจจะฟันผุหมดปาก การมี presenter ที่ไม่ได้ใช้จริง คือโลกมายาของการโฆษณาที่ไม่สามารถการันตีว่าสินค้านั้นคือของดีครับ

    9) จริงๆ มันมีผลมากกว่าฟันผุ คือถ้าฟันผุมากๆ ดูแลไม่ดีก็ส่งผลต่อระบบช่องปากอื่นๆ ปัญหาผลพวงที่ตามมา ก็เช่น กลิ่นปาก บ้างก็มีอาการเหงือกอักเสบร่วมด้วย หมั่นสังเกตอาการ และดูยาสีฟันของคุณที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบันให้ดีครับ เพราะค่าใช้จ่ายของปัญหาฟัน และช่องปาก ราคาสูงทีเดียวครับ รักษาให้หาย ยากกว่าดูแลให้ดี เพราะฟันเราอาจจะไม่คืนกลับมาแล้วนะครับ

    มันไม่มีใครเขียนได้โต้งๆ เพราะเป็นเรื่องอ่อนไหว กลัวการฟ้องร้อง แต่มีงานวิจัยทางทันตแพทย์รองรับจริงๆ Fluoride สำคัญกับการดูแลฟันของคุณครับ

    คำเตือน : โปรดสังเกตที่ฉลากก่อนซื้อ คุณหมอไม่ได้เตือนคุณตรงๆ แต่เราหวังดีจริงๆ ขอให้สุขภาพปากคุณแข็งแรงทุกคนเลยครับ

    https://web.facebook.com/tootsyreview/photos/a.333394177132770/1346543155817862/?type=3&_rdc=1&_rdr

    “จากการศึกษาวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ พบว่า “ฟลูออไรด์” สามารถใช้ป้องกันโรคฟันผุได้ และจะมีผลดียิ่งขึ้นถ้าใช้เป็นประจำ การผสมฟลูออไรด์ในยาสีฟันก็เพื่อให้ฟลูออไรด์สามารถทำปฏิกิริยากับฟันและอยู่ในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวันที่ไม่ยุ่งยาก และเป็นจุดเริ่มต้นของการเติมสารที่มีประโยชน์ต่อฟันและช่องปากในยาสีฟัน ดังจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบัน มีการเติมสารป้องกันการเสียวฟัน สารช่วยกำจัดคราบจุลินทรีย์ สารช่วยป้องกันการเกิดหินปูนใหม่ ฯลฯ แต่ที่เห็นผลชัดที่สุดก็คือยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่ช่วยป้องกันโรคฟันผุอย่างได้ผล

    ปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟันจะต้องมีพอเหมาะที่สามารถคงเหลืออยู่ในปาก และทำปฏิกิริยาในการป้องกันฟันผุได้จริง ภายหลังการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์นี้เป็นประจำ ซึ่งในขณะนี้ เป็นที่ยอมรับกันว่า ปริมาณฟลูออไรด์ที่พอเหมาะในยาสีฟัน คือ 1,000 ส่วนในล้านส่วน ได้ผลในการป้องกันโรคฟันผุและปลอดภัย

    ให้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่จำหน่ายในท้องตลาด มีปริมาณเกิน 1,000 ส่วนในล้านส่วน ไม่ได้ ประกอบกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้กำหนดให้ปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟัน อยู่ในช่วง 500-1,000 ส่วนในล้านส่วน ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมป์ก็มีส่วนร่วมในการกำหนดยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ โดยรับรองยาสีฟันที่มีปริมาณฟลูออไรด์ 900-1,100ส่วนในล้านส่วน ว่าจะมีผลในการป้องกันโรคฟันผุ เมื่อใช้เป็นประจำ

    จากข้อกำหนดดังกล่าว ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่มีขายในบ้านเราถูกกำหนดให้มีปริมาณฟลูออไรด์ที่พอเหมาะปลอดภัยในการใช้ และจะได้ผลในการป้องกันโรคฟันผุ เพราะจะมีปริมาณฟลูออไรด์ที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาสีฟันที่รับรองโดยทันตแพทยสมาคมฯ มีปริมาณฟลูออไรด์ในช่วงแคบ ซึ่งเน้นประสิทธิภาพในการป้องกันโรคฟันผุยิ่งขึ้นเป็นพิเศษ  ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่ขายในท้องตลาดสามารถป้องกันโรคฟันผุได้ ถ้าระบุไว้ชัดเจนว่าผสมฟลูออไรด์

    ยังคงมียาสีฟันอีกหลายยี่ห้อที่ไม่ได้ผสมฟลูออไรด์ จึงมีคุณสมบัติเพียงเพื่อทำความสะอาดแต่ประการเดียว และไม่สามารถป้องกันโรคฟันผุได้

    สำหรับผู้ที่มีฟันผุในปาก แต่ยังไม่มีโอกาสไปรับการอุด รักษา นอกจากจะใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในการแปรงฟันตามปกติแล้ว ภายหลังการแปรงฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนก่อนนอน ถ้าจะได้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ขนาดเพียงเล็กน้อย อุดในรูฟันผุหรือซอกฟันทุกๆ วันเพื่อให้ฟลูออไรด์ในยาสีฟันทำปฏิกิริยาเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ก็อาจช่วยลดอัตราการลุกลามของโรคฟันผุให้ช้าลงได้

    แม้ยาสีฟันจะมีหลายสูตร แต่หากพิจารณาจากส่วนผสมจะสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ได้ ดังนี้

    1. สูตรผสมฟลูออไรด์ ยาสีฟันกลุ่มนี้มีข้อดีคือ สามารถช่วยป้องกันฟันผุได้เมื่อใช้เป็นประจำ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ประชาชนใช้ยาสีฟันกลุ่มฟลูออไรด์เป็นหลัก และควรแปรงฟันแบบ 2 – 2 – 2 คือ แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ครั้งละนาน 2 นาที และภายใน 2 ชั่วโมงหลังแปรงฟันควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลผสม 

    2. กลุ่มผสมสารฆ่าเชื้อโรค ยาสีฟันกลุ่มนี้ผสมสารฆ่าเชื้อโรคที่เป็นสารเคมีหรือสมุนไพร เช่น ไตรโคลซาน น้ำมันกานพลู คาโมไมล์ พิมเสน การบูร ชะเอมเทศ ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ สมานแผลและช่วยให้เหงือกแข็งแรงได้

    3. กลุ่มลดอาการเสียวฟัน ยาสีฟันกลุ่มนี้จะมีการใส่สารเคมีบางตัว เช่น สตอนเทียมคลอไรด์หรือโพแทสเซียมไนเตรท ซึ่งเมื่อแปรงแล้วจะสามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ชั่วคราว

    4. กลุ่มช่วยให้ฟันขาว ยาสีฟันกลุ่มนี้มีส่วนผสมสารขัดฟัน และอาจมีการใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ฟอกสีฟันอ่อนๆ ร่วมด้วย ซึ่งสามารถช่วยขจัดคราบสีต่างๆ ที่ติดอยู่บนตัวฟันออก ทำให้ฟันดูขาวขึ้น แต่จะไม่ขาวไปกว่าสีธรรมชาติเดิมของฟันอย่างไรก็ตามหากใช้เป็นประจำจะทำให้สารเคลือบฟันบางลง จนฟันเหลืองขึ้นกว่าเดิมหรือมีอาการเสียวฟันมากขึ้น รวมทั้งอาจเกินอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปากได้ 

    Ref. ฉลาดซื้แ

    สินค้ายี่ห้อรุ่นฟลูออไรด์สารขัดฟันสารขจัดคราบฟันสารสีฟ้า
    ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือคอลเกตแอดวานส์ ไวท์เทน นิ่ง ผสมไมโครคลีนซิ่ง คริสตัลพบHydrated SilicaTetrasodium Pyrophosphate
    ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือคอลเกตอ๊อฟติคไวท์ รสแดซลิ่งมินท์พบHydrated SilicaPentasodium TriphosphateSilica (and) CI 74160
    ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือดาร์ลี่ออลล์ ชายนี่ไวท์ ชาร์โคลคลีนพบHydrated Silica Charcoal powderTetrasodium Pyrophosphate
    ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือดาร์ลี่เอ็กซเปิร์ตไวท์พบHydrated Silica (PS-mp, Prophylaxis Silica-micro particles) Silica Mica (CI 77019/CI 77891/CI 42090)Tetrasodium Pyrophosphate Pentasodium Triphosphate
    ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือเทสโก้โพร-เทค เซนซิทีฟ เจนเทิล ไวท์เทนนิ่งพบHydrated SilicaTetrasodium Pyrophosphate
    ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือแซคท์ ไลอ้อนยาสีฟันสำหรับผู้ดื่มชา/กาแฟไม่พบCalcium carbonate Hydrated Silica Alumina
    ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือเซ็นโซดำยน์เจนเทิลไวท์เทนนิ่งพบHydrated SilicaPentasodium Pyrophosphate
    ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือสปาร์คเคิลทริปเปิ้ลไวท์ไม่พบHydrated SilicaSodium Tripolyphosphate
    ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือโคลสอัพไวท์นาวพบHydrated Silica MicaCI74160
    ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือพาโรดอนแทกซ์เดลี่ ไวท์เทนนิ่งพบHydrated Silica Sodium Bicarbonate
    ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือฟลูโอคารีลเฮลท์ตี้ไวท์เทนิ่งพบCalcium Carbonate Hydrated SilicaDisodium Hexametaphosphate
    ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือDentistePremium & Natural Whiteไม่พบHydrated Silica MicaSodium tripolyphosphate
    ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือDenticonเดนติคอนคิวเทน พลัสแบมบูซอลท์ไม่พบCalcium Carbonate Silicon Dioxide Anhydrous Dibasic Calcium Phosphate Aluminum Chlorohydroxy Allantoinate

    อันนี้ดี 1450 ppm
    https://www.wongnai.com/highlight-products/colgate-herbal-detox

    สำหรับหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมทั้ง ไซลิทอล และซอร์บิทอล พบว่าจะยิ่งเสริมประสิทธิภาพช่วยลดปัญหาคราบจุลินทรีย์ได้ดีกว่าหมากฝรั่งที่มีซอร์บิทอลเพียงอย่างเดียว 

    การศึกษาเกี่ยวกับการผุของฟันน้ำนมและฟันแท้ พบว่า การเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของไซลิทอลช่วยให้การสะสมแร่ธาตุคืนกลับของแคลเซียม และฟอสเฟตซึ่งเป็นองค์ประกอบของเนื้อฟันเพิ่มขึ้นมากกว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของซอร์บิทอล และหมากฝรั่งที่ผสมน้ำตาล โดยยังทำให้บริเวณรอยผุของฟันกลับแข็งขึ้นอีกด้วย 

    ปัจจุบัน สมาคมทันตแพทย์ชั้นนำในยุโรปกว่า 10 ประเทศ อาทิ ฟินแลนด์ อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ฯลฯ จึงให้การรับรองว่า “ การเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของสารไซลิทอล หลังอาหารมื้อหลักและมื้อว่างครั้งละ 1-2 เม็ด โดยเคี้ยวนานอย่างน้อย 3 นาทีขึ้นไปเป็นประจำ สามารถช่วยลดการเกิดฟันผุได้ ” 



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized