• March 6, 2018

    หัก ณ ที่จ่าย
    หรือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ เงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วนำส่งเป็นภาษีให้สรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

    ในการหัก ณ ที่จ่ายจะต้องรู้สองเรื่องคือ
    1.คนรับเงินคือใคร (กระทบต่อแบบที่ยื่น)
    2.จ่ายค่าอะไร (กระทบอัตราภาษีที่หัก)
    ทุกครั้งที่ทำการหักไว้ คนหักต้องออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่ จ่าย ให้กับคนที่เราหักไว้ด้วยทุกครั้ง เพื่อให้เขานำไปเป็นหลักฐานกับกรมสรรพากรว่าได้ถูกหักภาษีไว้จำนวนหนึ่งแล้ว เพื่อให้การเสียภาษีสิ้นปีมีจำนวนน้อยลงหรือไม่ต้องเสียเลย ซึ่งแต่ละประเภทค่าใช้จ่ายนั้นจะถูกหัก ณ ที่จ่ายในเปอร์เซ็นที่แตกต่างกัน ดังนี้

    หัก 1 % สำหรับค่าขนส่งโดยบริษัทหรือนิติบุคคลที่ให้บริการจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง เช่น บริการขนส่งสินค้าจากบริษัท โลจิสติกส์ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นไปรษณีย์ไม่ต้องหัก เนื่องจากเป็นหน่วยงานของรัฐบาล
    หัก 2% สำหรับค่าโฆษณา เช่น โฆษณาผ่านทางโทรทัศน์ หรือโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น
    แต่ถ้าเป็นการจ้าง blogger รีวิวโฆษณาสินค้า จะหัก 3%

    หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมา หรือบริการต่างๆ เช่น การจ้างช่างภาพมาถ่ายรูป การบริการซอฟแวร์ การจ้าง blogger รีวิวสินค้า ก็เข้าข่ายนี้ เพราะถือเป็นการให้บริการ

    หัก 5% สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่ารถยนต์ รวมถึงค่าจ้างนักแสดง และเงินรางวัลจากการแข่งขันหรือการชิงโชคต่างๆ ด้วย แต่ถ้าเช่ารถยนต์พร้อมคนขับจะเสีย 3% เพราะถือว่าเป็นบริการขับรถ

    สำหรับยอดที่ไม่เกิน 1000 บาท
    สรรพากรมีข้อกำหนดว่าไม่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ นอกจากจะเป็นยอดที่มีมูลค่าไม่ถึง 1,000 บาท แต่มีสัญญาต่อเนื่อง เช่น ค่าบริการโทรศัพท์รายเดือน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้

    เงินเดือน ค่าจ้าง หรือการจ้างทำงานให้จะหักตาม อัตราก้าวหน้า เหมือนกับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized