ลง wp super cache ตามขั้นตอน
1 upto — wp content- plugin
2 install- active
3 เข้าไปแก้ .htaccess – copy เนื่อหา ที่ wp super cache ให้มา เอาไปใส่ส่วนท้ายใน .htaccess
4 สร้าง folder cache ที่ wp-content มันจะสร้าง .htaccess ใหม่+advanced-cache.php
5 แล้วมาเช็ค wp-content/advanced-cache.php
กระบวนการทำงานแต่ละครั้ง ตั้งแต่ชุดคำสั่งใน php ทำงาน เรียกไปถึง database แล้วดึงออกมาแสดงผลลัพธ์ให้เป็น html หรือเป็นหน้าเว็บให้เราได้เห็นกันอยู่นี้ กระบวนการทำงานที่หลายขั้นตอน และต้องทำซ้ำๆ ทุกครั้งที่เรียกหน้าเว็บออกมาแสดงผลนั้น ทำให้ server ต้องทำงานหนัก
ดังนั้น Cache , Caching หรือ แคช คือทางออกเพื่อลดการทำงานหนักของ server ในข้างต้น โดยการสร้าง Cache File หรือหน้าผลลัพธ์ ที่เคยถูกเรียกใช้มาก่อนเก็บไว้ แล้วพอมีการเรียกใช้หน้านั้นอีกครั้ง ระบบก็จะนำไฟล์ที่ผลลัพธ์ก่อนหน้านั้นมาแสดงได้ทันที โดยไม่ต้องไปเริ่มกระบวนใหม่
WordPress Plugin ที่ใช้ในการสร้าง Cache File ที่ชื่อ WP Super Cache
เข้า Plugins Add New
พิมพ์ WP Super Cache ในช่องค้นหา แล้วกดปุ่ม Search Plugins
ในผลการค้นหา จะเห็น WP Super Cache แล้วกด Install ทางด้านขวา
ถ้าเวอร์ชั่นของปลั๊กอินเข้ากับเวอร์ชั่นของ wordpress ได้ ก็จะแสดงหน้าดังรูป แล้วให้กด ติดตั้งตอนนี้
ถ้าไม่มีสิ่งใดผิดพลาด ระบบจะทำการติดตั้งปลั๊กอินให้จนเสร็จ รอให้เรากด Activate Plugin เพื่อเปิดใช้งานปลั๊กอิน
เมื่อเปิดใช้งานปลั๊กอิน โดยกด activate แล้ว จะมีข้อความเตือนให้เข้าหน้า plugin admin page
ที่หน้า WP Super Cache Manager
ระบบจะทำการ Add บรรทัด define(‘WP_CACHE’, true); เพิ่มต่อท้ายให้ ในไฟล์ wp-config.php ตรงนี้ถ้าไม่ได้ เราต้องทำการเพิ่มเอง
และที่ WP Super Cache Status เลือก ON WP Cache and Super Cache enabled แล้วกด Update Status
ดูที่ Mod Rewrite Rules ให้ กด Update Mod_Rewrite_Rules เพื่อให้ระบบทำการ Update ไฟล์ .htaccess ให้
แต่ถ้าไม่ได้ เราต้องทำการอัพเดทไฟล์ .htaccess เอง โดยก๊อปโค้ดที่ระบบสร้างให้ ไปไว้ใน .htaccess
(สังเกตว่าโค้ดของ # WPSuperCache จะอยู่ก่อน # BEGIN WordPress)
เสร็จแล้วลองเปิดหน้าเว็บ แล้ว View Page Source ดูถ้าเห็น commemt ตรงท้ายหน้า ขึ้นดังรูป แสดงว่าปลั๊กอินทำงาน มี Cache File แล้ว
การติดตั้งปลั๊กอินของ wordpress ด้วยวิธีการนี้ แต่ถ้าเป็นโฮสแบบที่ไม่ใช่ แบบ cPanel จะติดให้ใส่ ข้อมูลการเชื่อมต่อ ซึ่งใส่ให้ถูกแทบตายยังงัยก็ไม่ได้
แต่ถ้าใช้โฮสแบบที่เป็น cPanel อย่าง HostGator หรือ ByetHost แล้วขั้นตอนการติดตั้งปลั๊กอินข้างต้นจะไม่มีปัญหา
===
แนะนำตัวนี้ด้วย W3 Total Cache
http://wordpress.org/extend/plugins/w3-total-cache/
การตั้งค่า
http://www.strictlyonlinebiz.com/blog/speed-up-wordpress-with-w3-total-cache/1231/
Trusted by countless sites like: mattcutts.com, mashable.com, smashingmagazine.com, makeuseof.com, yoast.com, kiss925.com, pearsonified.com, lockergnome.com, johnchow.com, ilovetypography.com, webdesignerdepot.com, css-tricks.com and tens of thousands of others.
ผมใช้ hostgator ทาง host แนะนำให้เปลี่ยนมาให้ตัวนี้แทน (เพราะตัวโน้น สุดยอด Plugin แห่งการกินทรัพยากรของระบบ )
ใช้ hostgator + url เป็นภาษาไทย active แล้วเข้าหน้าเว็บจะช้ามากๆ แล้วพอไป deactive ก็หาย
ใช้ hostgator + wordpress + url rewrite ภาษาไทย ถ้าใช้ super cache นี่มันจะเก็บแคชเป็นชื่อไฟล์ยาวมากๆ อาจจะมีปัญหาตรงนี้
หันมาใช้ Quick Cache พอเปลี่ยนมาใช้ Quick Cache เข้าไปดูในแคชมันแล้วพบว่าไม่ได้เก็บเป็นชื่อตาม url ของเรา แล้วการใช้งานก็ลื่นดี
ทึกทักเอาว่า hostgator ไม่เหมาะกับ super cache
ตอนนี้เลยใช้ Quick Cache + DB cache เอาครับ ก็ลื่นดีคนเข้าวันละมากกว่า 10,000 UIP ยังนิ่งๆเลย
===
อื่นๆ
db cach reload
hyper cache
เทียบให้ดู ว่า cache อันไหนเจ๋ง
E version http://www.tutorial9.net/tutorials/web-tutorials/wordpress-caching-whats-the-best-caching-plugin/ T version http://www.squashup.com/2010/04/what%E2%80%99s-the-best-wordpress-caching-plugin/