• May 26, 2012

    USB มันคือถนน
    Flashdrive , Ext.HDD คือรถ

    port USB
    มันคือความเร็วสูงสุดของพอร์ตที่ทำได้
    แต่ความเร็วในการใช้งานขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่เรานำไปเชื่อมต่อครับ
    ดังนั้นก่อนซื้อต้องดูอุปกรณ์ของเราก่อนว่าความเร็วที่เอาไปใช้
    จะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือเปล่า

    http://winarco.com/wp-content/uploads/2009/10/Dane-Elec-USB-3.0-external-hard-drives-neo.jpg

    USB 2.0 ตามสเปกจำกัดความเร็วไว้ 60 MB/s (480Mb/s) 8bit = 1byte
    Flashdrive ปกติวิ่งไม่ถึง 60 MB/s
    Ext.HDD วิ่งได้เร็วกว่านั้นนิดหน่อย แต่ถนนจำกัดไว้เลยได้แค่ 60 MB/s

    USB 3.0 จำกัดความเร็วไว้ 640 MB/s
    Ext.HDD ก็จะวิ่งได้เต็มสปีดของตัวเอง (ประมาณ 60-100 MB/s แล้วแต่รุ่น แล้วแต่การใช้งาน)

    เมนบอร์ดที่มี USB 3.0 ในปัจจุบันส่วนใหญ่ ความเร็วจะตันที่ 5 เท่า ของ USB 2.0 หรือ 150 MB/s
    อุปกรณ์ USB 3.0 ต่างๆก็ยังพัฒนาความเร็วไปไม่ถึงตามที่คุยไว้ คงมีเหตุผลทางด้านราคาด้วย ทำของแรงๆมา ขายแพงก็ขายไม่ออก

    SATA3 bandwitch สูงกว่า SATA2 ถึง 2 เท่า
    แต่ HDD วิ่งแทบไม่ต่างกัน

    http://photos.appleinsider.com/dual-bus-usb3-cables.jpg

    USB 3.0 มีความเร็วสูงกว่ารุ่นเก่าถึง 10 เท่า
    จากแรกเริ่มเดิมทีนั้น USB 2.0 ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2000 นั่นมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 480 Mbp/s (60 MB/S)
    USB 3.0 จะมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 4.8 Gbp/s (600 MB/s)  ในทางทฤษฎี แต่ความเป็นจริงนั้นจะมีความเร็วหลังจากที่หัก overhead ออกแล้วเหลืออยู่ประมาณ 3.2 Gbp/s ซึ่งจะมากหรือน้อยอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับโปรโตคอลที่ใช้

    อันนี้ เป็นจุดทำงานที่สายส่ง ซึ่งรับส่งข้อมูลในระดับ clock เอามาคำนวณว่าเป็นความเร็วของการรับส่งไฟล์ตรงๆไม่ได้ครับ เพราะมันมีขั้นตอนในการแปลงในระดับไฟล์ <-> clock พอสมควร จริงๆอยากให้ดู แรม <-> ซีพียู จะเข้าใจง่ายกว่า สมมุติ ท่านใช้ ddr3 1333 เค้าจะบอกว่า transfer rate 10667 MB/s เคยใช้โปรแกรมวัดได้เท่าไหร่ครับ แล้วส่วนใหญ่เดี๋ยวนี้เราใส่แบบ dual ซึ่งเค้าจะบอกว่า transfer rate มันเพิ่มเป็นสองเท่า แล้ววัดจริงๆได้เท่าไหร่ครับ ตัวเลข transfer rate 10667 MB/s มันมาจากการคำนวณในระดับ clock จริงๆไม่ควรเอามาใช้โฆษณา เหมือนกับ 480 Mbp/s ก็ไม่ควรเอามาใช้โฆษณา เพราะคนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ ไม่รู้ว่า ตัวเลขที่บอกมาจริงๆแล้ว มันคือตัวเลขอะไร เอามาโฆษณาแบบนี้ มันเหมือนหลอกลวงนะ สเปคของแรม จะมีค่า cl ซึ่งแปลง่ายๆคือ เวลาที่ต้องรอ คือการทำงานจริงๆ มันไม่ใช่สั่งปุ๊บได้ปั๊บ มันต้องรอ มันต้องคอย พอต้องเสียเวลารอ ความเร็วในการรับส่งจริงๆ มันถึงต่ำกว่าที่เค้าโฆษณาไว้ ถ้าศึกษาแรมให้เข้าใจแล้ว น่าจะมองเรื่องอื่นๆ เช่น usb ได้เข้าใจง่ายขึ้น hdd มันจะอ่านจะเขียน มันก็ไม่ใช่สั่งปุ๊บได้ปั๊บเหมือนกัน มันต้องรอ มันต้องคอย มันมีหลายขั้นตอน แค่เลื่อนหัวอ่าน ก็เสียเวลาทางกลไกหลายละ ต่อให้ใช้ flash drive หรือ ssd มันก็มีขั้นตอนทั้งทาง software และ hardware ที่ทำให้เสียเวลา

    จาก http://www.techblog.in.th/2009/09/26…sb-superspeed/

    ทำไม usb 2.0 ผมวิ่งเต็มที่เลยนะ ได้แต่ 26-28MB/s เองละครับไม่เคยเจอเยอะกว่านั้นเลย ทุกอย่าง support ทั้ง port และตัว usb นี้พอดีซ์้อ external Hdd usb 3.0 มาลอง check ที่ port 2.0 ได้ราวๆ 26-30MB/s เองครับ(ใช้ HD tune test ครับ) เลยไม่ทราบว่าทำไมไม่เห็นวิ่งเหมือนที่เค้าบอกเลยว่า

    “USB 2.0 นั่นมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 480 Mbp/s (60 MB/S)”

    พอดีสงสัยเลยถามเพื่อใครจะรู้ มาอธิบายได้ ขอบคุณครับ
    (รูปนี้ คือ เอา Wd protable Hard Drive ตัว 500 GB USB 3.0+USB 2.0(100% Compatible)มาโอนข้อมูลผ่าน port USB 2.0 ของ Notebook ครับ ไม่มีไฟล์เล็กแบบเอกสารมีแต่ไฟล์ Media )

    Chipset ?

    ใช่ external harddisk รึเปล่า ถ้าใช่ก็ความเร็วนี้แหละ

    ในเรื่องของความเร็ว USB นั้น จริง ๆ มันก็ทำให้สามารถวิ่งได้ที่ MAX อยู่แล้ว
    แต่ติดที่ข้อจำกัดต่าง ๆ ขนาด Flashdrive ยังมีหลายราคาก็เป็นสาเหตุของความเร็ว รวมไปถึงชิพเซ็ตที่ต่างกัน ความยาวของสาย USB
    ซึ่ง USB ค่อนข้างเซ้นซิทีฟเรื่องสายความยาว ความร้อน ฯลฯ ทำให้มันวิ่งแค่นั้น

    เปรียบได้กับ SATA สมัยก่อน เค้าบอกว่า วิ่งได้ MAX 300Gbit/s แต่ความเร็วก็ยังไม่เต็ม
    ต้องใช้ SSD ถึงจะใกล้เคียง นั่นก็เพราะสาเหตุจากการจำกัดของจานหมุน

    ดังนั้นที่บอกว่าความเร็วรองรับ พวกหน่วยงานที่ผลิตเค้าผลิตมาให้รองรับได้จริง
    ขึ้นอยู่กับว่า 3rd Party จะดึงความสามารถสูงสุดของพอร์ตมาใช้ได้หรือไม่

    ข้อมูลที่เก็บอยู่บน RAM ตัวอย่างเช่น 1FH (ฐาน 16)
    เวลาที่คอมเอาข้อมูลนี้เก็บบนแผ่นจานของ HDD จะไม่ใช่ 1FH นะ

    1. เวลาเขียน ข้อมูล 1FH นี้ จะต้องถูกแบ่งและแปลงเพื่อเพิ่มจำนวนบิท
    เวลาอ่านกลับ ก็จะถูกแปลง และลดจำนวนบิท
    ขั้นตอนพวกนี้ จะเกิดขึ้นบนตัว HDD ไม่ใช่ที่ PC
    HDD แบ่งเป็นกี่ track กี่ sector ถูกกำหนดมาจากโรงงานแล้ว
    อันนี้ เรียกว่า เป็นของจริง หรือ physical
    ขั้นตอนที่มีการแปลงข้อมูลตรงนี้เป็นระดับ Hardware

    2. ส่วน PC จะเห็น HDD ว่ามีโครงสร้างเป็นยังไง จะใช้โปรแกรมจำลอง เรียกว่า logical
    PC จะใช้พื้นที่ RAM ส่วนนึง เพื่อจำลอง track sector ของ HDD
    เวลาอ่าน ก็จะอ่านจาก HDD มาที่ RAM ตรงนี้ก่อน แล้วจึงอ่านข้อมูลจาก RAM ตรงนี้ไปทำอะไรต่อก็ว่าไป
    เวลาเขียน ก็จะเขียนข้อมูลลง RAM ตรงนี้ก่อน แล้วค่อยเอาข้อมูลของ RAM ตรงนี้ เขียนใส่ HDD อีกที
    ขั้นตอนที่มีการแปลงข้อมูลตรง RAM เป็นระดับ Software

    โปรแกรมที่เขียนมาเพื่อใช้กับการอ่านเขียนข้อมูลแบบนี้ เรียกว่า DOS
    การอ่านเขียนข้อมูลบน HDD จะผ่านขั้นตอน 1 และ 2 ตามที่ผมอธิบายข้างบน

    สำหรับ xp เค้าเขียน DOS ให้ใช้กับ sector แบบ 512 byte
    พอเอามาใช้กับ sector แบบ 4 Kbyte จึงต้องใช้โปรแกรมจำลองอีกขั้นนึง
    wd เรียกว่า align

    โปรแกรม align จะจำลอง 1 sector (4 Kbyte) ให้ xp เห็นเป็น 8 sector (512 byte)
    ตรงนี้ เป็นการทำงานระดับ Software ซึ่งขอเรียกว่าเป็นขั้นตอนที่ 3

    ดังนั้น จากเดิมปกติที่เวลาอ่านเขียน จะผ่าน 2 ขั้นตอน
    ก็จะกลายเป็น 3 ขั้นตอน เราจึงเห็นว่า มันช้ากว่าที่ควรจะเป็น
    และความเร็วมันไม่คงที่เท่าไหร่ ก็เพราะมันเพิ่มการทำงานในระดับ Software
    ซึ่งปกติ ตอน windows ทำงาน มันรันสารพัดโปรแกรมอยู่ตลอดเวลานะ

    จะใช้ HDD แบบ ADV format กับ XP ก็ใช้ได้
    โดยใช้ผ่านโปรแกรม align ตามที่เค้ามีบอกไว้บนตัว HDD นะ
    แต่อย่างที่ผมอธิบาย ใช้ได้แต่ไม่ค่อยดี เพราะมันทำงาน 3 ขั้นตอน

    usb มันมีขั้นตอนการแปลงข้อมูล มีการรอ
    เวลาเรารับส่งไฟล์ละ 1MB 1000 ไฟล์ มันจึงได้ใช้เวลามากกว่า 1GB 1 ไฟล์
    แตกต่างกันมาก ลองดูได้

    http://eshop.macsales.com/imgs/ndesc/Other%20Wolrd%20Computing/OWCUSB3AYMBPBLU/OWCUSB3AYMBPBLU_hero.jpg

    หน่วยความเร็ว รับ/ส่ง ข้อมูล วัดกันที่ Mbps ก็คือ หน่วย Megabit per second
    8 bits = 1 byte นะครับ
    480 Mbps ก็จะเท่ากับ 60 MBps ในทางทฤษฎีเท่านั้น
    ในทางปฏิบัติ จะนับถึงข้อจำกัดต่างๆ รวมลงไปด้วย ทำให้ไม่ถึง 480 Mbps
    ข้อจำกัดต่างๆ
    – สาย usb คุณภาพ และ ความยาว
    – ความเสถียรของไฟจ่ายอุปกรณ์
    – อุณหภูมิในขณะนั้น
    – อุปกรณ์ร่วมต่าง ๆ (HDD, Box, Cable, Computer และอื่น ๆ)

    ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจกับคำเฉพาะ สำหรับรุ่นของ USB
    ซึ่งก็คือคำต่อไปนี้
    Low-Speed = 1.5Mbps
    Full-Speed = 12Mbps
    Hi-Speed = 480Mbps
    Super-Speed = 5Gbps

    สำหรับความเร็วต่าง ๆ ของคำเฉพาะนั้น ก็คือ ความเร็วสูงสุดที่ทำได้ (ในทางทฤษฎี)

    ผมเจอมาหลายต่อหลายครั้ง ที่ผู้ใช้มักจะหลงไปกับคำโฆษณาของสินค้า
    ที่หน้ากล่องอุปกรณ์เขียนว่า “Hi-Speed”
    ทำให้พาลคิดไปว่า สินค้าที่บอกว่า Hi-Speed ก็คืออุปกรณ์ที่มีความเร็วสูง(ซึ่งหมายถึง เป็นอุปกรณ์ที่รองรับ USB 2.0)
    และทำให้คิดไปอีกว่า Hi-Speed ราคา 100 บาท กับ ราคา 400 บาท (ราคาสมมติ)
    สำหรับ 400 บาท มันแพงไป เพราะแค่ 100 บาท ก็ได้ Hi-Speed แล้ว
    แต่หารู้ไม่ว่า Hi-Speed 400 บาท มันเร็วกว่า 100 บาท

    ซึ่งอีกหน่อย USB 3.0 เป็นที่แพร่หลาย ก็จะมีสินค้าต่าง ๆ
    ระบุลงที่ผลิตภัณฑ์ไปว่า Super-Speed
    ทำให้ผู้ใช้ทั่ว ๆ ไป เข้าใจผิดกันไปอีก

    มี Access Time มากน้อยแค่ไหน
    และยิ่งมีแคชมาก ก็น่าจะส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นด้วย

    ำหรับช่อง USB เท่าที่เคยเห็นมา มีอยู่สามสี (ไม่รวมสีพิเศษ) ครับผม
    – USB 3.0 สีน้ำเงิน (ฟ้า)
    – USB 2.0 สีดำ
    – USB 2.0 สีแดง
    (จ่ายไฟได้ในขณะที่ปิดเครื่อง (ต้องลงโปรแกรม) และ/หรือ เป็นช่องสำหรับจ่ายไฟให้ eSATA)
    – USB 1.0 สีดำ

    – USB 2.0 สีขาว ไม่เป็นมาตรฐาน
    (เป็นส่วนต่อเพิ่ม สำหรับอุปกรณ์เพิ่มช่อง USB จำพวก USB Hub อะไรประมาณนี้)
    http://images.rakuten.com/PI/0/500/217606846.jpg



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized