• February 21, 2012

    นวัตกรรม Toughbook กับ GIS ในงาน เทคโนลีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ประจำปี 2552 (Gistda 2009)

    บริษัท อัลทิเมทโพซิชั่นนิ่ง จำกัด ผู้นำเข้า Panasonic Toughbook จากประเทศญี่ปุ่น แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
    ซึ่ง Panasonic Toughbook ถือเป็นนวัตกรรมที่เป็นโซลูชั่นการเก็บข้อมูลในภาคสนาม หรือที่เรียกว่า Data Capturing Solution
    ซึ่งประกอบไปด้วย
    อุปกรณ์ Panasonic Toughbook
    ภาพถ่ายดาวเทียมจาก Digital Globe
    เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS จากทาง Javad

    โดยที่ทั้ง 3 อย่างนี้มีจะบทบาทที่สำคัญมากที่จะทำให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    เริ่มจากการที่เราลงสนามโดยใช้ Toughbook เป็นอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูล
    เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อทุกสภาวะการใช้งาน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการทำงานในภาคสนามโดยเฉพาะ
    เนื่องจากมีเทคโนโลยีป้องกันการตกกระแทกและแรงสั่นสะเทือนที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน MIL-STD-810F, เทคโนโลยีการป้องกันน้ำและฝุ่น อีกทั้งยังทีความสว่างของหน้าจอที่สูงถึง 1,000 นิต ที่จะช่วยให้มองเห็นหน้าจอได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นขณะทำงานกลางแจ้ง และยังมีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนาน 8-9 ชม. ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับการออกไปทำงานในแต่ละวัน

    ไม่ว่าจะเป็นรุ่น CF-19 หรือ CF-30 ซึ่งเป็น Intel Based สามารถรองรับการทำงานที่ต้องมีการประมวลผลสูง เช่น ภาพไซส์ใหญ่และภาพที่มี Resolution สูงมากๆ ยกตัวอย่างเช่น ช่วยให้การแพนภาพถ่ายดาวเทียมมีความ Smooth มากยิ่งขึ้น ส่วนเรื่องการส่งผ่านข้อมูลก็เป็นได้อย่างสะดวกสบาย เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อ network ได้หลายทางทั้ง Wi-fi, Bluetooth, Wireless WAN ที่รองรับการเชื่อมต่อ GPRS, 3G หรือ EDGE หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซด์ toughbookth.com

    และเวลาที่เราจะลงสนามเพื่อที่จะเก็บอัพเดทข้อมูล Map หรือเก็บข้อมูล Attribute ต่างๆ เราก็จำเป็นต้องใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเพิ่มดาวเทียมดวงที่ 3 ขึ้นไปสู่วงโคจรแล้ว คือ ดาวเทียม Worldview2 จากทาง Digital Globe ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมสำหรับการวิเคราะห์อย่าง เนื่องจาก ให้ค่าความถูกต้องสูง ถึง 46 cm พร้อมด้วยข้อมูลภาพสีถึง 8 แบนด์ ทำให้สามารถนำไปใช้ทั้งใน
    • ด้านของการทำแผนที่ ในการทำ Base Map
    • การอัพเดทแผนที่ อัพเดทข้อมูล แผนที่ฐาน
    • ตลอดจนการนำไปใช้ในการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์และการจำแนกที่ดินและทรัพยากรประเภทต่างๆ โดยที่มีความละเอียดและความถูกต้องสูง
    • นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ผลิตแผนที่ภาพถ่ายออโธโฟโต้
    • การสังเคราะห์แบบจำลอง DEM (ชั้นความสูง)
    • และยังสามารถนำไปใช้ใน การทำ City model แบบ 3D ซึ่งดาวเทียม Digital Globe สามารถถ่ายภาพซ้ำในบริเวณเดิมได้อย่างรวดเร็วที่สุด ทุกๆ 1-2 วัน ทำให้เราได้ข้อมูลที่ใหม่ล่าสุด เพราะสามารถถ่ายภาพได้ถึง 960,000 ดร.กม. ต่อวัน
    อีกทั้ง Panasonic Toughbook ออกแบบมาสำหรับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ อย่างน่าทึ่ง เช่น
    ด้านการจัดการป่าไม้ ใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ พื้นที่และชนิดของป่าไม้ ติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้และ แหล่งน้ำ การสำรวจหาพื้นที่ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์หรือพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม การหาบริเวณพื้นที่ปลูกป่าทดแทน เป็นต้น
    ด้านการใช้ที่ดิน ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ที่ดินอยู่เสมอ ดังนั้นข้อมูลภาพดาวเทียมรายละเอียดสูงจึงถูกนำมาใช้ในการพัฒนา ที่ดิน เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลง สภาพการใช้ที่ดิน ตลอดจนจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตการใช้ที่ดิน เป็นต้น
    ด้านการเกษตร การใช้ข้อมูลจากดาวเทียมรายละเอียดสูงใน ด้านการเกษตร เพื่อหาพื้นที่เหมาะสมในการเพาะปลูก การหาความชื้นในดิน การศึกษาเปลี่ยนแปลงพื้นที่ เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจและการประเมิน ความเสียหายจากศัตรูพืช เป็นต้น
    ด้านการสำรวจแหล่งน้ำมัน ก๊าซและเหมืองแร่ การนำข้อมูลภาพดาวเทียมรายละเอียดสูงมาใช้ในการ แปลความหมายทางธรณีวิทยาและธรณีสัณฐานเพื่อ งานด้านการสำรวจแหล่งน้ำมัน ก๊าซและเหมืองแร่ ด้าน GIS และการทำแผนท ี่ การนำภาพดาวเทียม รายละเอียดสูงมาประยุกต์ใช้กับโปรแกรมด้าน GIS เพื่อวิเคราะห์และจัดทำแผนที่ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
    ด้านการวางแผนและการสำรวจ การนำภาพดาวเทียมรายละเอียดสูง มาช่วยในการวางผังเมือง การทำโซนนิ่ง การออกแบบเส้นทาง คมนาคมขนส่ง ตรวจสอบและควบคุมการใช้ที่ดินลักษณะการตั้งถิ่นฐาน รวมทั้งตรวจสอบความหนาแน่นของประชากร เป็นต้น
    ด้านการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ การนำภาพดาวเทียม มาประยุกต์ใช้กับงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การประเมินความเสียหายที่เกิดจาก ไฟป่า ภูเขาไฟระเบิด พายุ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังใช้ในการศึกษาด้านอุทกวิทยา สมุทรศาสตร์ ….
    ด้านการแพทย์ การเชื่อมต่อฐานข้อมูลรวดเร็ว การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินซึ่งสามารถสั่งการได้ตั้งแต่ที่บ้าน รถพยาบาล จนถึงโรงพยาบาล เป็นต้น
    นอกจากนี้เราก็ยังมีดาวเทียมดวงอื่นๆของ Digital Globe ทั้ง Worldview1, Worldview2 และ Quickbird ทำให้มีโอกาสถ่ายภาพได้มากกว่า เพราะเรามีดาวเทียมที่มีความละเอียดสูงถึง 3 ดวง โดยทาง Digital Globe คาดว่าจะสามารถมีข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงทั่วประเทศไทย ภายในไม่เกิน Q1 ปี 2010

    ต่อไป ในส่วนที่สำคัญสำหรับ Data Capturing Solution ในการกำหนดจุด GCP Ground control จากยุโรป ที่ได้รับการแนะนำอย่างสูงมาจากสถาบัน BKG ว่าเป็นเครื่องรับสัญญาณ GNSS สำหรับการทำ GNSS Networks ที่ดีที่สุดในโลก นั่นก็คือ ยี่ห้อ Javad นั่นเอง Javad ได้ชื่อว่าเป็นเครื่อง GNSS Receiver สำหรับใช้ในงาน GNSS Network อย่างแท้จริง โดย สามารถรับสัญญาณได้ทุกอย่างที่มีในการใช้งาน GNSS ซึ่งไม่แปลก เนื่องจาก Javad , และ Geo++ ต่าง เป็นผู้นำในการพัฒนาระบบให้แก่ผู้ผลิตเครื่อง GNSS ชั้นนำ ทั้งหมด ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งทั้ง Javad และ Geo++ ยังถือว่าเป็นชื่อใหม่ในวงการบ้านเรา แต่เป็นชื่อเดียวที่ทางผู้นำทางด้าน GNSS แถบยุโรปเลือกใช้

    อันที่จริง วงจรของการทำ GNSS Network ค่อนข้างคล้าย ๆ กันในหลายประเทศ โดยประเทศที่ยังคงใหม่กับการทำ GNSS Network ก็พยายามซื้อ Package ที่ใช้งานง่ายพร้อมกับแบรนด์ที่คุ้นเคย มาใช้ แต่ปัญหาคือเราไม่สามารถควบคุมมันได้เท่าที่เราต้องการ เนื่องจากผู้ผลิตย่อมต้องการเก็บ Know-how ต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจกันทั้งสิ้น กว่าจะรู้ตัว เราต่างก็ต้องจ่ายเงินจำนวนมากไปกับ GNSS Network ที่ไม่เป็นมาตรฐานสากล และไม่สามารถใช้งานได้จริง จนเราต้องตั้งคำถามว่า ทำไม?
    คำตอบ คือ ระบบที่เราเลือกได้ปรับเองได้ และใช้จริงได้ตามที่เราต้องการ ขนาดคอมพิวเตอร์เรายังเลือก Spec เองได้
    แล้วทำไมเครื่อง GNSS เราจะเลือกไม่ได้ล่ะ?
    คำถามเดียวที่เหลือ คือ เราคนไทยพร้อมที่จะเป็นผู้นำทางด้าน GNSS Network อย่างจริงจัง แล้วหรือยัง?
    ในตอนนี้ Panasonic Toughbook พร้อมแล้ว

    ปัจจุบันไม่มีการเรียกเส้นรุ้ง เส้นแวงอีกแล้ว เพราะตำราเก่าเขียนผิด และอาจารย์ในอดีตสอนมาผิด
    ปัจจุบันจะใช้ว่า ละติจูด(latitude) และลองจิจูด(longitude)

    ละติจูด(latitude) คือโค้ง(arc)ที่วัดเป็นมุมขึ้นไปทางเหนือของศูนย์สูตร(0 องศา) 90 องศา และวัดเป็นมุมลงไปทางใต้ของศูนย์สูตร 90 องศา ถ้าอยู่ในซีกโลกเหนือ ให้ใส่องศาเหนือ ถ้าอยู่ในซีกโลกใต้ ให้ใส่องศาใต้
    เช่นเหนือสุดของไทยอยู่ที่ละติจูด 20 องศา 27 ลิบดาเหนือ

    ลองจิจูด(longitude) คือโค้ง(arc)ที่วัดเป็นมุมไปทางตะวันออกของเส้นเมริเดียนปฐม(Prime Meridian)180 องศา และวัดเป็นมุมไปทางตะวันตกของเส้นเมริเดียนปฐม(Prime Meridian)180 องศา ถ้าอยู่ในซีกโลกตะวันออก ให้ใส่องศาตะวันออก ถ้าอยู่ในซีกโลกตะวันตก ให้ใส่องศาตะวันตก
    เช่นตะวันออกสุดของไทยอยู่ที่ลองจิจูด 105 องศา 38 ลิบดาตะวันออก



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized