• August 7, 2018

    เว็บไซต์ประกอบไปด้วย 3 อย่างหลัก
    1. ชื่อเว็บไซต์ (Domain) เช่น vir9.com
    2. พื้นที่เก็บข้อมูล หรือ โฮสติ้ง (Hosting)  หรือ ที่อยู่ของเว็บไซต์ (Web Hosting)
    3. ตัวโปรแกรม ข้อมูลเว็บไซต์

    1. ชื่อเว็บไซต์ หรือ Domain Name

    เราสามารถจดเอง หรือ ซื้อได้ด้วยตัวเอง โดยเข้าไปซื้อในเว็บไซต์ที่ใหเบริการ เช่น godaddy.com , name.com ,domain.com ฯลฯ หรือ อาจซื้อผ่านเว็บผู้ให้บริการ Hosting ซึ่งก็มีบริการจดชื่อเว็บไซต์เช่นกัน

    ราคาตั้งแต่หลักร้อย ปกติราคามาตรฐานอยู่ที่ 500 บาท โดยราคาขึ้นอยู่กับ นามสกุลของโดนเมน เช่น .com , .co.th ฯลฯ และ ราคาจะมีความแตกต่างกันมาก ตั้งแต่หลักร้อย จนถึงหลัก ร้อย พัน ล้านเลยทีเดียว เหตุที่ราคาสูงเพราะ เป็นชื่อที่มีความหมาย และ สั้น และมีแค่ ชื่อเดียวบนโลกนั่นเอง

    การจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain Name) นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการทำเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ประเภทไหนๆ ก็ต้องให้ความใส่ใจและจดโดเมนเนมอย่างมีหลักการ เพราะชื่อเว็บไซต์ที่ดี สั้น จดจำง่าย หรือมีลักษณะพิเศษบางอย่าง ก็จะช่วยให้ผู้คนนั้นจดจำได้ง่าย ช่วยให้การเข้าถึงและการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์นั้นเป็นไปอย่างคล่องตัว หลักการเดียวกับเบอร์มือถือเลขสวยๆ แต่นั้นก็เป็นเพียงแค่มือถือ แต่เรากำลังจะพูดถึงชื่อเว็บไซต์ ซึ่งจะกลายเป็นแบรนด์ของเรา และรวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่เราต้องการไว้ในนั้น

    อีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นตัวเกื้อหนุนในธุรกิจออนไลน์ด้านเว็บไซต์ประสบความสำเร็จก็คือ นามสกุล ของโดเมน เช่น .com, . net, .org, . asia, .in.th, .co.th, .co, .io ฯลฯ แต่ละนามสกุลก็มีการนำไปใช้ในบริบทที่แตกต่างกันไป แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ .com ที่ใครในโลกนี้สามารถเป็นเจ้าของได้ และก็เป็นที่จดจำได้ง่ายกว่านามสกุลที่เป็นดอทอื่นๆ นอกจากนี้ยังมี .net ที่ยังได้รับความนิยมเช่นกัน

    เมื่อเราซื้อมาแล้ว สามารถต่ออายุโดเมนได้สูงสุด 10ปี หรือ จะต่อทุกปีก็ได้ แต่หากลืมต่อก็จะมีการแจ้งอีเมลเตือนให้เวลา 60วัน แต่ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หรือ หากล่วงเลยเวลาจนขาดอายุ หลุดมือไป โดเมนนั้นก็จะถูกคนอื่นซื้อไปในทันที ซึ่งคราวนี้การซื้อโดนเมนกลับมาอาจต้องจ่ายสูงขึ้นเป็นพันหรือหมื่นเท่าก็ได้ (ถ้าเขายอมขายให้)

    .com มีความนิยมสูงสุด จึงทำให้ชื่อดีๆ สวยๆ สั้น กระชับ นั้นถูกจะไปจนหมด เรียกได้ว่ามีเจ้าของกันตั้งแต่นานมาแล้ว และธุรกิจนี้ก็มีมูลค่ามหาศาลเสียด้วยทำให้ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราจะเห็นข่าวที่แบรนด์สินค้าดังๆ ซื้อโดเมนเนมในราคาแพง หรือเกิดการฟ้องร้องกันเพื่อเป็นเจ้าของโดเมน อันเป็นที่มาของการซื้อขายโดเมน

    โดเมนเนมที่แพงที่สุดในโลก
    The top 20 most expensive domain names

    This is a list of some of the highest prices paid for domain names. The list is limited to domains that sold for $3 million or more.

    DomainPriceSale DateRef
    Carinsurance.com$49.7 million2010[1]
    Insurance.com$35.6 million2010[2]
    VacationRentals.com$35 million2007[3]
    PrivateJet.com$30.18 million2012[2]
    Internet.com$18 million2009[2]
    360.com$17 million2015[4]
    Insure.com$16 million2009[5]
    Fund.com£9.99 million2008[5]
    Sex.com$13 million2010 November 17[6]
    Hotels.com$11 million2001[2]
    Porn.com$9.5 million2007[5]
    Porno.com$8,888,8882015 February[2]
    Fb.com$8.5 million2010 November[7]
    Business.com$7.5 million1999 December[5]
    Diamond.com$7.5 million2006[5]
    Beer.com$7 million2004[5]
    Z.com$6.8 million2014 November[8][9]
    iCloud.com$6 million2011 March[10]
    Israel.com$5.88 million2008 May[11]
    Casino.com$5.5 million2003[5]
    Slots.com$5.5 million2010[12]
    Toys.com$5.1 million2009[5][13]
    AsSeenOnTv.com$5.1 million2000[12]
    Clothes.com$4.9 million2008[14]
    Medicare.com$4.8 million2014[15]
    IG.com$4.6 million2013 September[16]
    Marijuana.com$4.2 million2011[17]
    GiftCard.com$4 million2012 October[18]
    Yp.com$3.8 million2008 November[19]
    Mi.com$3.6 million2014 April[20]
    Abattu.com$3.6 million2018 June[21]
    AltaVista.com$3.3 million1998 August
    Whisky.com$3.1 million2014 January[22]
    Vodka.com$3.0 million2006[23]
    Candy.com$3.0 million2009 June[24]
    Loans.com$3.0 million2000 February[25]
    DigHow.com$3.0 million2018 April[26]

    **Data courtesy of Wikipedia.

    insurance.com เป็นโดเมนที่ราคาสูงที่สุด ที่เคยมีการซื้อขายกัน อยู่ที่ $35.6 ล้านยูเอส หรือ 1,183,45 0,000 ล้านบาท
    พันกว่าล้าน! ใช่… คุณดูไม่ผิด
    แต่ในที่สุดสถิตินี้ก็ถูกทำลายลง โดยโดเมนที่เพงที่สุดที่เคยมีการซื้อขายกัน คือ  Carinsurance.com ด้วยราคา $49.7 ล้านยูเอส หรือ 1,652,030,000 ล้านบาท  1,600 กว่าล้านบาท!

    2. พื้นที่เก็บข้อมูล หรือ โฮสติ้ง (Hosting)

    มีให้ผู้ให้บริการจำนวนมาก เราสามารถหาเช่าได้ ตั้งแต่ราคาหละกร้อยต่อปีไปจนถึง หลักหมื่นหรือ แสน ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน หากใช้งานเริ่มต้นไม่ต้องการอะไรมาก ก็อาจจะใช้ share host หรือ ขยับไปเป็น VPS Hosting และ …

    Co-Location
    Colocation คือการที่เรานำเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของเราไปฝากและวางกับเจ้าของตู้ ใช้ไฟและใช้อินเตอร์เน็ต

    ผู้ให้บริการ เช่าตู้มาและมาตั้งใจให้บริการ เขาก็จะเปิดพื้นที่ให้เช่าเพื่อมาวางเซิร์ฟเวอร์ ตามขนาด 1U , 2U , 3U ก็ว่ากันไป
    ** U ในที่นี้หมายถึง Unit ซึ่งเป็นในส่วนของ Rack Unit เพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Rack_unit

    บริการ Co-location คือบริการให้เช่า ทรัพยากรของ Data center ของผู้ให้บริการ เช่น พลังงานไฟฟ้า, ระบบระบายความร้อน, ทรัพยากรด้านเครือข่าย, หมายเลขไอพี และเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาระบบ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถ ตั้งเครื่อง server ของตน เพื่อใช้ให้บริการ Service หรือ Application ต่างๆภายในเครื่องนั้น แก่ผู้ใช้บริการบุคคลที่สาม ต่อไป โดยลักษณะสำคัญของบริการนี้คือผู้ใช้บริการต้องมีเครื่อง Server และนำเครื่อง server ดังกล่าวมาติดตั้งยัง Data Center ของผู้ให้บริการ

    Colocation คือ รูปแบบบริการ เป็นการให้เช่าพื้นที่สำหรับการวาง Server เพื่อใช้บริการระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือบริการอื่นๆ บนเครือข่ายกับผู้ให้บริการบน Data Center ที่เชื่อถือได้ ซึ่งแตกต่างจาก Dedicated Server โดย Dedicated Server จะเป็นเครื่อง Server ของผู้ให้บริการ ส่วน Colocation จะเป็นเครื่อง Server ของผู้ใช้บริการเอง สิทธิ์การเข้าถึง Server จึงเป็นของผู้ใช้บริการเองทั้งหมด การจัดการภายในระบบจะไม่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการเว้นแต่มีการซื้อบริการ Manage Server Service ร่วมเข้าไปด้วย สรุปก็คือ เอา server ไปขอวาง หรือ ขอเสียบกับ ตัวเครื่องของคนอื่น

    Dedicated Server
    ต่างจากColocation  คือ แทนที่เราจะต้องเอาเครื่องไปวางกับผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการจะจัดหาเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาวางแล้วให้บริการเราแทน ทำให้เรามีโอกาสได้เลือกสิ่งที่เขาเตรียมไว้ให้และผู้บริการที่ดีก็จะจัดหาเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นแบรนด์เนม (Brandname) อย่าง DELL , IBM

    หากต้องการออฟชั่นเพิ่ม (Addons) – ผู้ให้บริการก็จะมี Addons เสริมให้ เช่น การเช่าแรมใส่เพิ่ม หรือเช่า HDD

    Dedicated Server เหมือนกับ Colocation ต่างที่เขาจะหาเครื่องให้เราได้เลือกและใช้บริการ ราคาแพงกว่า

    Dedicated Server คือ Physical Server ที่รองรับการให้บริการบนระบบเครือข่าย เป็นรูปแบบบริการสำหรับเช่าใช้ Server โดยสามารถใช้งาน Resource (ทรัพยากร) ทั้งหมดของเครื่องและไม่ Shared Resource (ใช้ทรัพยากรร่วม) กับเครื่องอื่น สามารถปรับแต่ง Resource (ทรัพยากร) ได้เองโดยอิสระ ยืดหยุ่นมากกว่าบริการอื่น บริหารจัดการ Resource ของตนเองได้เต็มประสิทธิภาพทั้ง CPU, Disk, Memory, Network ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด มักใช้สำหรับเว็บไซต์ที่มี Traffic สูงๆ (มีการใช้งานจากผู้ใช้เยอะ,มีคนเข้าเยอะ หรือ มีปริมาณการเข้าใช้งานพร้อมกันจำนวนมากๆ ) ต้องการระบบการจัดเก็บไฟล์ขนาดใหญ่ และต้องการความเป็นส่วนตัวสำหรับการเข้าถึงข้อมูล สิทธิ์ความเป็นเจ้าของคือผู้ให้บริการเว้นแต่มีการตกลงทำสัญญาเช่าซื้อกับผู้ให้บริการ

    Dedicated Server
    บริการ Dedicated Server คือการเช่าเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่องเพื่อใช้งานและปรับแต่งตามความต้องการของผู้ ใช้เอง โดยสามารถใช้งาน Resources ทั้งหมดของเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น CPU, Memory, Disk และ Network ที่เชื่อมต่อกับตัวเครื่อง โดยหากอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งเกิดปัญหา ระบบก็จะต้องหยุดการทำงานลงจนกว่าจะทำการเปลี่ยนอุปกรณ์และกู้ข้อมูลเสร็จ สิ้น ซึ่งอาจกินเวลา 2-3 ชม. ไปจนถึงหลายชั่วโมง นอกเหนือไปจากนั้น การสำรองข้อมูล (backup) ก็มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ใช้บริการเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว เพื่อที่จะสามารถกู้กลับคืนมาได้ในกรณีจำเป็น

    สรุป
    Dedicated Server เครื่องของเขา
    Co-location เครื่องของเรา

    Co-location Server (โคโลเคชั่น) คือ บริการเช่าพื้นที่วางเซิร์ฟเวอร์
    Dedicated Server คือ การเช่าเครื่องเซิฟเวอร์

    colo คือคุณมีเครื่อง server อยู่แล้ว ยกไปวางกับผู้ให้บริการ ถ้าจะเช่า colo คุณต้องซื้อเครื่อง server ก่อน
    dedicated คือ เช่าเครื่อง server ของผู้ให้บริการ

    VPS บริการนี้เหมือนเป็นต่อมาจาก Dedicated Server
    Virtual Private Server หรือ เซิร์ฟเวอร์เสมือนส่วนตัว  เป็นการ จำลองคอมพิวเตอร์ขึ้นมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์จริงๆ 1 เครื่อง แล้วใช้ที่จำลองขึ้นมาเป็นเซิร์ฟเวอร์ (ใช้ software สร้างขึ้นมา)

    ด้วยว่ามันจำลองขึ้นมาบน เครื่อง1 เครื่อง ความแรงและความเร็วมันสู้ Dedicated Server ที่เป็นเครื่องจริงๆ ไม่ได้  ใน1 เครื่องอาจจะจำลองได้หลาย VPS

    เนื่องจาก VPS อยู่บนเครื่องจริงๆ และจำลองออกมาให้เราใช้บริการ จะมีข้อจำกัดในเลือกให้บริการ Addons เพิ่มเติมแต่ก็สามารถสอบถามจากผู้ให้บริการได้

    VPS เกิดขึ้นโดยจำลองจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงๆ ด้วย Software และมาให้บริการ

    VPS (Virtual Private Server) คือเซิร์ฟเวอร์เสมือน หรือเป็นประหนึ่งเซิร์ฟเวอร์ แต่จำลองขึ้นมา โดยแบ่งเซิร์ฟเวอร์ 1 ตัว(physical) ออกเป็น VPS ย่อยๆ หลายๆ ตัว โดยที่แต่ละ VPS ทำงานแยกจากกัน แบ่ง CPU, Memory, Disk กันตาม Limit และ Quota ที่ตั้งไว้ และแยกระบบ login รวมทั้งการทำงานภายในออกจากกันโดยเด็ดขาด หาก VPS ตัวใดตัวหนึ่งทำงานหนัก ก็มักไม่กระทบกับการทำงานของตัวอื่น หรือ VPS ตัวใด หากถูกเจาะระบบผ่านตัว VPS ก็ไม่มีผลด้านความปลอดภัย ไปถึง VPS ตัวอื่นในเซิร์ฟเวอร์นั้นโดยตรง

    การกระทบอาจมีขึ้นได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของ VPS ที่นำมาใช้ บางรูปแบบการทำงานของ CPU จะแบ่ง Limit กันโดยเด็ดขาด แต่เทคโนโลยี VPS บางตัวก็อาจจะกวนกันได้บ้าง เช่น openvz ที่สามารถตั้ง minimum guaranteed CPU ของ VPS แต่ปล่อยให้ burst ได้ เป็นต้น ขึ้นกับผู้ให้บริการจะทำการตลาดโดยบอกตัวเลขอะไร ดังนั้นในบางกรณี VPS จึงสามารถ oversell ได้ (ขายมากกว่าทรัพยากรที่มีจริง)

    ในภาพรวมก็เป็นบริการที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการความอิสระในการปรับแต่งการทำ งานระดับ root หรือ services ต่างๆ เสมือนใช้เซิร์ฟเวอร์ตัวเอง แต่ด้วยงบประมาณจำกัดหรือความจำเป็นไม่มากขนาดที่จะต้องเช่าเซิร์ฟเวอร์ทั้ง เครื่อง การเลือกใช้ VPS จึงเป็นทางเลือกที่สะดวกและสบายกระเป๋ากว่า ทั้งนี้ VPS ในปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ในราคาเดือนละไม่กี่ร้อยบาทขึ้นไปถึงหลักหลายพัน ขึ้นอยู่กับปริมาณ Limit ต่างๆ ที่เราต้องการใช้

    Hosting Service

    คือบริการที่มีการสิงใช้ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งอยู่ในระดับของ Application กล่าวคือ บริการที่มีการแบ่งกันนั้นจะถูกบริหารจัดการจาก OS เดียวกัน ใช้ CPU ร่วมกัน, Memory ร่วมกัน Disk เดียวกัน แต่ถูกจัดสรรญตามแต่บริการที่ผู้ใช้บริการ เลือกตามขนาดที่กำหนดโดย Application ตัวอย่างบริการที่ใช้งานกันเพร่หลาย ได้แก่ Web Hosting , Database Hosting

    บริการนี้มีข้อเสียที่สำคัญคือผลกระทบจากผู้ใช้บริการที่ใช้งานบนเครื่อง server เดียวกัน เช่น หากการกำหนด Security มีช่องโหว่ ก็ทำให้ เว็ปเสียหายพร้อมกันทุกเว็ปที่ Host อยู่บนเครื่องดังกล่าว

    Cloud

    Cloud ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ เพียงแต่เป็นเทคโนโลยีที่นำมาทำการตลาดอย่างจริงจัง ในต้นทุนที่ทำการตลาดแบบทั่วไปได้
    ระบบ Cloud เป็นการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก โดยแบ่งชั้นการประมวลผลออกจากชั้นเก็บข้อมูล และอาจมีการคิดเงินแบบเหมาจ่ายรายเดือน หรือคิดแบบตามใช้งานจริง

    ชั้นการประมวลผล (Computing layer — CPU, Memory)
    เป็นการร่วมกันทำงานของเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่อง ซึ่งแม้มีเซิร์ฟเวอร์ใดเสียหาย ก็จะไม่มีผลกับการใช้งานของลูกค้า เพราะระบบจะสวิทช์การประมวลผลไปยังเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นแทนโดยอัตโนมัติใน ทันที การประมวลผลของเว็บของผู้ใช้งานจะทำงานในชั้นนี้ ซึ่งระบบจะแบ่งทรัพยากร CPU, Memory ให้ตามจำนวนที่เลือกและแยกทรัพยากรกับผู้อื่นอย่างชัดเจน Cloud ส่วนมากจะมี Firewall ป้องกันระบบของแต่ละคนออกจากกันอย่างเด็ดขาด

    ชั้นเก็บข้อมูล (Storage layer)
    เป็นการทำงานร่วมกันของระบบเก็บข้อมูลแบบ SAN (Storage Area Network) หรือในบางระบบอาจใช้การทำงานของ Distributed Storage ในชั้นนี้ ซึ่ง Storage Layer นี้ จะต้องมีความเสถียรและความเร็วสูง และมักจะมีระบบที่เพิ่มเสถียรภาพ(High Availability)ไม่ว่าเป็น Activate-Active หรือ Active-Standby เพื่อใช้งานระบบสำรองได้ทันทีที่เกิดเหตุขัดข้องของหน่วยเก็บข้อมูลหลัก จึงควรมี SAN Storage อย่างน้อย 2 ตัว ซึ่งมีข้อมูลที่เหมือนกัน (Replicate) ตลอดเวลา ข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้งานจะถูกเก็บไว้ที่ชั้นนี้

    เครือข่ายเน็ตเวิร์คความเร็วสูง(Fiber channel) จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นการประมวลผล และชั้นเก็บข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างทันใจตลอดเวลา

    ระบบ Cloud บางแบบยังรองรับการขยายหรือหดตัวโดยอัตโนมัติสำหรับเซิร์ฟเวอร์เสมือนหรือ เว็บของลูกค้า เมื่อการใช้งานเพิ่มหรือลด ตามที่ได้กำหนดไว้

    นอกจากนี้ ยังมี Cloud ที่สามารถยืดขยายการทำงานให้ใช้ Resources ของระบบเกินขอบเขตของเครื่องๆ เดียว โดยการนำ CPU, Memory ของทุกเครื่องมารวมกัน และแบ่งให้บริการตามต้องการได้อีกด้วย

    ดังนั้น ด้วยระบบ Cloud เหล่านี้ ทำให้การทำงานของเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือนของผู้ใช้งานไม่ติดขัด แตกต่างจาก โฮสติ้ง หรือ เซิร์ฟเวอร์ธรรมดาทั่วไป ที่หากเกิดการติดขัดเสียหายของอุปกรณ์นั้นๆ ก็จะทำให้การทำงานหยุดลงโดยไม่มีระบบทดแทน

    การเลือกใช้

    • เลือกใช้ Co-location Service หากท่านมีเครื่อง Server เอง หรือที่มีการ Customized พิเศษและไม่มีนโยบายเช่าบริการ
    • เลือกใช้ Dedicated server หากต้องการใช้ทรัพยากรทั้งหมดของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และมีการจัดการระบบ Backup ที่ดี เพื่อให้กลับมาทำงานได้เร็วที่สุดในกรณีอุปกรณ์ในเครื่องเสียหาย โดยทั่วไประบบ Dedicated server จะมีความเร็วสูง และโดยเฉพาะการทำงานกับดิสก์มักจะเร็วกว่า Cloud เพราะ Disk ติดอยู่ภายในตัวเซิร์ฟเวอร์โดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับระบบของ Disk ที่เครื่องด้วย ว่าจะเป็น Disk ประเภทใด ความเร็วเมื่อเทียบกับ SAN ที่ใช้ใน Cloud ก็จะแตกต่างกันไปไม่แน่นอน
    • เลือกใช้ VPS หากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่อง VPS จะเป็นทางเลือกที่ประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด โดยมีความปลอดภัยและความเสถียรใกล้เคียงกับการใช้งาน Dedicated server แต่ความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลอาจจะต่ำกว่าเพราะทุก VPS ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะอ่านเขียนลง Disk เดียวกันภายในเครื่องทั้งหมด
    • เลือกใช้ Hosting หากระบบ ที่คุณใช้บริการไม่มีความสำคัญมาก, คุณไม่มีประสบการณ์ในเรื่องการติดตั้งและดูแลระบบ เพราะ Hosting ส่วนใหญ่จะติดตั้งโปรแกรมที่คุณต้องการไว้แล้ว และ Budget จำกัด
    • เลือกใช้ Cloud ถ้ามีงบประมาณมากเพียงพอและต้องการความสบายใจมากที่สุด บริการ Cloud มีโอกาสที่อุปกรณ์จะเสียหายพร้อมๆ กันทั้งหมดจนทำให้ระบบทำงานไม่ได้ต่ำมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการแบ่งชั้น Compute และ Storage ออกจากกัน ในกรณีผู้ใช้ที่ต้องทำการอ่านเขียนหนักมากๆ อาจได้ความเร็วของการอ่านเขียน Disk ไม่เร็วเท่ากับจาก Dedicated server

    Colocation Server คือ การที่เรานำเครื่อง Server ที่เราซื้อหรือประกอบเองเสร็จเรียบร้อยแล้วเป็นเครื่อง ซึ่งจะเป็นในรูปแบบ Tower (คล้ายๆ กับ Case PC ตามบ้าน) และ ในรูปแบบ Rack (เป็นเครื่อง แบนๆ แนวนอน) ไปฝากวางใน Internet Data Center

     Dedicated Server คือ การที่เราไปเช่าเครื่อง Server ที่ผู้ให้บริการนั้นประกอบแล้วจัด Spec ไว้เรียบร้อย และ วางใน Data Center เรียบร้อย, หรือพูดง่ายๆ คือ เครื่องพร้อมใช้งาน, โดยเราแค่มีหน้าที่ไปจ่ายค่าบริการรายเดือน เพื่อให้มีสิทธ์ในการเข้าไปบริหารจัดการตัว Server ที่เค้าจัดเตรียมไว้ให้

    Colocation Server เหมาะกับใคร

    • คนที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Hardware สามารถจัดประกอบ Server ได้ และ มีความรู้ความเข้าใจในด้าน Server
    • มีเวลาเดินทางไป Data Center หากมี Hardware ตัวใดตัวหนึ่งพัง, เพราะ Data Center เค้าไม่ได้มีความรับผิดชอบในส่วนนี้
    • ควรมีเครื่อง Server สำรองอย่างน้อย 1 เครื่อง กรณี Hardware หลักๆ เสีย แล้วซ่อมไม่ได้ เช่น Mainbord จะได้มีเครื่องสำรองใช้ได้ทันที
    • ก็คือ เราเอาเครื่องเราไปวาง ใช้ไฟ ใช้เน็ตเขา

    Dedicated Server เหมาะกับใคร

    • ผู้ที่ไม่ค่อยมีความรู้ด้าน Hardware ที่เกี่ยวข้องกับ Hardware ของ Server, ซึ่ง Hardware ของ Server จะถูกผลิตและมีความคงทนรวมถึงความเร็วมากกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป
    • ผู้ที่ไม่ต้องการรับผิดชอบ Hardware, เพราะหากใช้บริการ Dedicates Server ผู้ให้บริการต้องเป็นผู้รับผิดชอบเปลี่ยน Hardware ให้
    • ไม่ต้องเตรียมเครื่อง Server สำรอง เพราะผู้ให้บริการเค้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้
    • เราเช่าเครื่องจากเขาเลย

    จะใช้ Dedicated Server และ Colocation Server ใช้ทำอะไร ?

    • ใช้ทำ Email Server
      ผู้ที่ใช้งาน Colocation และ Dedicated Server, มักจะนำมาประยุกต์ในการใช้งาน เพื่อลงระบบอีเมล์ลงไปใน Server ทำให้เครื่องนั้นเป็น Email Serverได้ทันที
    • ต้องการเก็บความลับของข้อมูลไว้สูงสุด
      องค์กรขนาดใหญ่มากๆ เช่น ธนาคาร มักจะใช้วิธีการนี้ในการทำ Mail Server ขององค์กรตัวเอง, เพราะ ไม่มีใครเข้าถึงข้อมูลของคุณได้ แม้ บริษัทผู้ให้บริการ Data Center เพราะเค้าไม่รู้ Password ของเครื่องคุณจริงๆ
    • เมกะโปรเจ็ก
      มีหลายองค์กรมักเข้าใจผิดว่า โปรแกรมที่เราใช้อยู่หรือเว็บของเราที่มีจำนวนคนเข้าเป็นพันๆ คน หรือ แม้แต่ระบบอีเมล์ ที่มีผู้ใช้งานในหลักร้อย, ต้องลงทุนทำ Co location กับ Dedicated Email Server เอง, หากมันไม่ได้ใหญ่มากจริงๆ ไม่ควรใช้วิธีการเหล่านี้ เพราะใช้เงินมาก แถมยังต้องมาดูแล Server เอง

    ข้อเสียของการใช้งาน Colocation และ Dedicated Server

    ไม่เหมาะกับองค์กรที่มีขนาดเล็ก-กลาง เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในการทำ Co location กับ Dedicated Server นั้นต้องมีความพร้อมในด้านบุคลากรเป็นอย่างมาก และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในระดับ Hardware และ Server เชิงลึกจริงๆ ในประเทศไทยนั้นหาได้น้อย เพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้มีหลักสูตรนี้ เรียนรู้กันเอง (คนเก่งหลายคนก็ไปเปิดธุรกิจด้านนี้เอง รายได้เยอะกว่าเห็นๆ) รวมถึงบุคลากรด้านนี้จะมีค้าจ้างที่สูงกว่าพนักงานทั่วไปเป็นอย่างมาก, ดังนั้นคุณควรใช้ความรอบคอบในการตัดสินใจ, เพราะยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถใช้งาน แทน ที่จะต้องมานั่งเฝ้าดูแล Server เอง

    3. เว็บไซต์ หรือ ตัวโปรแกรม code script เว็บไซต์

    มีหลายภาษาโปรแกรมในการเขียนเว็บไซต์

    และปัจจุบันที่นิยมมากที่สุด คือ php
    นอกจากนี้ยังมีการทำออกมาเป็น cms เพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น ซึ่งที่ได้รับความนิยมคือ wordpress

    อย่างไรก็ตาม หากเป็นเว็บที่ไม่ต้องการเปลียนแปลงอะไรบ่อย หรือ ไม่ต้องเพิ่มเนื้อหามากมาย ใช้ html5+css จะดีที่สุด ทั้งนแง่ความเร็ว SEO การดูแล ความปลอดภัย และ สวยงาม



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories