แตกต่างกัน ในเรื่อง คุณสมบัติในการ “เชื่อมโยง”
Post
– เป็นเพจประเภทหนึ่ง
– เป็นการเขียนบทความทั่วไป
– ในการจัดกลุ่มของบทความ { หมวดหมู่ (Categories),แท็ก (Tags)}
– บทความจะเรียงตามวันที่มีการ Publish (เผยแพร่)
– เรียกดูบทความทั้งหมดได้จาก ผู้เขียน หมวดหมู่ แท็ก วันที่ เดือน ปี
Post มีความเชื่อมโยงกัน
Page
– ไม่มีการเชื่อมโยงกับบทความใดๆไม่ว่าจะด้วย Page ด้วยกันเอง
– ไม่มี categories
– ไม่มี ระบบ แท็ก
– ไม่เรียงตาม วัน เดือน ปี
มักใช้ page สำหรับทำหน้า about, contact ซึ่งไม่จำเป็นต้องมี tags และ categories รวมทั้งไม่ต้องการให้รวมอยู่กับบทความประเภทใด
การจะดึง Page ขึ้นมาแสดง ต้องสร้างลิงค์เพื่อเชื่อมโยงไปที่ page นั้นๆ หรือ เขียน code php แสดง page ได้เช่นกัน เช่นเราจะดึง contact ให้มาแสดงในหน้าแรก index.php ก็สามารถทได้
สิ่งที่ Page ทำได้ และ post ทำไม่ได้ นั่น คือ Template เรียกว่า page Template
page สามารถกำหนด Template พิเศษขึ้นมาเพื่อแสดงผลพิเศษเฉพาะแบบได้
เช่น สร้าง แบบ full width แสดงหน้าเพจแบบเต็มความกว้างของหน้าจอ โดยที่ไม่มี sidebar ด้านข้าง
ซึ่งหน้าพิเศษเหล่านี้ส่วนมากจะมีใน ธีมพรีเมี่ยม (จ่ายตังก์)
เครื่องมือในการเขียน Post
Screen Options ส่วนนี้ปกติจะถูกหุบไว้ ต้องคลิกให้คลี่ออกมา มีในหลายหน้าของ WordPress เป็นที่สำหรับเก็บตัวเลือกเพิ่มเติมในหน้านั้นๆ ซึ่งหากอยู่ใน Post ก็จะแสดงเมนูให้ติ๊กเลือกว่าจะแสดงอะไรในหน้านี้บ้าง อันไหนไม่จำเป็นหรือไม่ค่อยได้ใช้งานก็ไม่ต้องให้แสดงก็ได้
Title ไว้ให้เรากรอกชื่อเรื่อง แล้ว url จะถูกตั้งอัตโนมัติตาม Title ถ้าเปรียบเป็นหนัง นี่ก็คือชื่อหนังเรื่องนึง
Visual Editor คือส่วนที่ใช้ในการเขียนบทความ สามารถใช้ได้ทั้งแบบที่คลิกๆ ได้เลยเหมือนทำใน WordPress หรือใช้แบบ Text ซึ่งจะเป็น html ให้เราเขียนโค้ดเอง แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน ใช้คู่กันทั้ง 2 ก็ช่วยได้เยอะในบางครั้ง
พื้นที่สำหรบเขียน
Excerpt ใช้สำหรับเขียนเกริ่นนำ เหมือนเป็น Trailer ของบทความนั้นๆ
Format ส่วนนี้ไม่ได้มีกันทุกคน เพราะอยู่ที่ธีมนั้นๆ ว่าจะสนับสนุนบทความแบบหลาย Format หรือไม่ ถ้าเจอก็ลองเล่นดูค่ะว่ามันต่างกันยังไง หรือลองดูธีมนี้ก็จะพอสังเกตุได้บ้าง ถ้ามองดีๆ ค่ะ https://hexademo.wordpress.com/
Categories ไว้กำหนดหมวดหมู่ให้กับบทความ สร้างซ้อนกันเป็น จังหวัด อำเภอ ตำบล ก็ได้ โดยถ้าผู้อ่านเว็บเราคลิก จังหวัด ในลิงค์หมวดหมู่ มันก็จะดึงทั้งอำเภอและตำบลในจังหวัดนั้นมาแสดงด้วย เป็นต้น
Tags คล้ายๆ กับ Categories แต่จะไม่สามารถสร้างซ้อนกันเป็นขั้นๆ ได้ อยู่กันแบบกลุ่มใครกลุ่มมัน นอกจากจะแบ่ง categories ก่อนหน้าแล้ว เราก็ยังมาจัดประเภทด้วย tags ได้อีก
Featured image ถ้าหาก Excerpt เป็นตัวอย่างหนัง Featured image ก็คือ โป๊สเตอร์หนัง
3 สิ่ง ที่สำพันธ์กันที่เราควรให้ความสำคัญในการเขียนบทความให้น่าสนใจ เพราะเป็นสิ่งที่จะผู้ชมจะเห็นเป็นดับแรก นั่นก็คือ Title, Excerpt, Featured Image
Title สะดุดตา น่าสนใจ
Excerpt กล่าวต่อสั้นๆ ขยายจาก title ว่าบทความนี้ทำไมจึงควรอ่าน
Featured Image ภาพสวยๆ มักดึงดูดความสนใจได้ดีเสมอ
เครื่องมือในการเขียน Page
บางธีมมี Featured Image ด้วย แต่สิ่งที่ Page ไม่มี ก็คือ Categories และ Tags แต่สิ่งที่ Page มีและ Post ไม่มีเช่นกันก็คือ Page Attributes ที่ให้เรากำหนด Template ให้กับ Page นั้นๆ
โดยทั่วไป นอกจากการนำ Page มาทำเป็นหน้า Contact, About แล้ว ยังนิยมนำไปใช้เป็นหน้า Home อีกด้วย โดยการเซ็ต Page ให้เป็น Static front page
—
Pages ส่วนใหญ่เราจะใช้งานกับหน้าที่เป็น Static หรือหน้าที่เราไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเนื้อหาภายในบ่อย อย่างเช่น About Us, Contact Us เป็นต้น Pages เองก็สามารถมี Subpages ได้
หน้า Pages นั้นก็จะประกอบด้วยโครงสร้างหลัก ๆ 2 อย่าง คือ
Title(หัวข้อ)
Content(เนื้อหา)
Pages Template
Pages นั้นเราสามารถเลือก Template ให้แต่ละหน้าได้ ว่าจะมี Layout แตกต่างกัน
โดยเราสามารถเลือกว่าจะให้ Pages ที่เราสร้างนั้นเป็น Subpages ของ Pages ไหนหรือเปล่า สามารถเลือก Template ได้ว่าจะให้ Layout ออกมาเป็นแบบไหน และสามารถจัดลำดับได้
http://rabbitinblack.com/2011/10/wordpress-5-pages/