• July 3, 2018

    Alphabet เป็นบริษัทแม่ของ Google ปัจจุบันมีมูลค่าตลาด 23 ล้านล้านบาท สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก

    ในปี 2559 Alphabet มีรายได้ 3 ล้านล้านบาท กำไร 600,000 ล้านบาท โดยโครงสร้างรายได้ มีที่มาดังนี้
    88% มาจาก ค่าโฆษณา (Google AdWords, AdSense, YouTube)
    11% มาจาก Android, Google Play, และ มือถือ Pixel
    1% มาจาก ธุรกิจอื่นๆ

    บริการหลักของ Google แน่นอนว่าคือ เว็บไซต์ Google ที่เราคุ้นเคยกันดี เป็น Search Engine ที่มีคนค้นหาข้อมูลถึง 3,500 ล้านครั้งต่อวัน จึงไม่น่าแปลกใจที่รายได้จากค่าโฆษณา จะสูงมาก

    แต่นอกจากการค้นข้อมูลแล้ว สินค้าและบริการอื่นๆของ Google ยังเข้าไปอยู่ในการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันของมนุษย์โลกอีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น..

    YouTube เว็บไซต์วิดีโอออนไลน์ ที่ Google ซื้อมาตั้งแต่ปี 2549 ด้วยเงิน 53,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการมากกว่า 1,000 ล้านราย และมีการกดดูวิดีโอราว 5,000 ล้านชั่วโมงต่อวัน

    Google Chrome เว็บเบราเซอร์ท่องโลกอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 2,000 ล้านราย โดย Chrome มีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดในโลก ที่ 54%

    Google Map บริการแผนที่และเส้นทางการเดินทาง ปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 1,000 ล้านราย จากผลสำรวจเกี่ยวกับแอปแผนที่บนมือถือ ปรากฏว่า คนนิยมใช้ Google Map ถึง 70%

    Gmail บริการเกี่ยวกับอีเมล ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 1,200 ล้านบัญชี โดยโลกเราทุกวันนี้มีการส่ง E-mail เฉลี่ย 270,000 ล้านเมลต่อวัน ซึ่ง Gmail มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 20%

    Android ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ Google ซื้อมาตั้งแต่ปี 2548 ด้วยเงินเพียง 1,600 ล้านบาท ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอุปกรณ์ที่ติดตั้ง Android มากกว่า 2,000 ล้านราย โดยในตลาดมือถือ Android มีส่วนแบ่งสูงที่สุด ราว 85% (iOS ของแอปเปิ้ลมีส่วนแบ่งแค่ 11%)

    Google Play ร้านขายแอปพลิเคชั่นบนระบบ Android ปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 1,000 ล้านราย โดยในปี 2559 มีแอปพลิเคชั่นถูกดาวน์โหลด 82,000 ล้านครั้ง

    Google Drive บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลออนไลน์ ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 800 ล้านบัญชี และมีข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในระบบอยู่ราว 2 ล้านล้านไฟล์

    ไม่ว่าเราขยับตัวไปทางไหน จะมีชื่อของ Google เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ
    ตอนทำงาน เราอาจเปิด Chrome เข้า Google เพื่อค้นหาข้อมูล เสร็จแล้วจัดเก็บไฟล์ลง Google Drive หรือส่งทาง Gmail
    ตอนพักผ่อน เราอาจใช้มือถือที่เป็น Android หาแอปโหลดทาง Play Store หรือหาคลิปดูผ่าน YouTube

    ชื่อ Alphabet อาจจะมาจากธุรกิจหลัก ที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวมตัวหนังสือจากทุกมุมของโลก แต่ดูแล้วเหมือนบริษัทกำลังรวบรวมความเป็นไปของวิถีชีวิตมนุษย์ซะมากกว่า

    แต่ถ้าพูดถึงการรวบรวมวิถีชีวิตมนุษย์ดูเหมือนว่าจะมีอีกบริษัทหนึ่งที่ทำได้ดีกว่า Alphabet
    บริษัทนั้นชื่อ Facebook
    Facebook เป็นผู้ให้บริการ Social Network ที่มีคนใช้งานมากที่สุดในโลก ปัจจุบันมีมูลค่าตลาด 17 ล้านล้านบาท สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก

    ปี 2559 มีรายได้ 900,000 ล้านบาท กำไร 300,000 ล้านบาท โดยโครงสร้างรายได้ มีที่มาดังนี้
    97% มาจาก ค่าโฆษณา (Facebook Ads)
    3% มาจาก ธุรกิจอื่นๆ

    บริการหลักของ Facebook ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันคือแพลตฟอร์มที่ชื่อ Facebook ซึ่งเป็น Social Network ที่มีผู้ใช้บริการ 2,000 ล้านบัญชี นับว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีสมาชิกมากที่สุดในโลก

    แต่นอกจากการเป็นสังคมออนไลน์แล้ว Facebook ได้ก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าแห่งการสื่อสารทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอ ได้แก่

    Messenger และ Whatsapp (ซื้อกิจการมาเมื่อปี 2557 ด้วยเงิน 600,000 ล้านบาท) เป็นสองโปรแกรมแชทที่มีฐานลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่ง Facebook เป็นเจ้าของทั้งคู่ ปัจจุบัน Messenger มีผู้ใช้งาน 1,300 ล้านบัญชี ส่วน Whatsapp มีผู้ใช้งานมากกว่า 1,000 ล้านบัญชี โดยการส่งข้อความผ่านทั้งสองโปรแกรมนี้ รวมแล้วมีราว 60,000 ล้านข้อความต่อวัน

    Instagram แอปพลิเคชั่นแชร์รูปภาพและคลิปวิดีโอ ที่ถูกซื้อกิจการ มาตั้งแต่ปี 2555 ด้วยเงิน 33,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีผู้ใช้งานราว 800 ล้านบัญชี มีรูปที่แชร์ทั้งหมด 40,000 ล้านรูป และมีการแชร์เพิ่ม 90 ล้านรูปต่อวัน ขณะที่ตัว Facebook เอง มีการแชร์รูปทั้งหมด 250,000 ล้านรูป และมีการแชร์เพิ่ม 350 ล้านรูปต่อวัน

    Facebook Video
    มีคนดู 500 ล้านคนต่อวัน มีการกดดูวิดีโอราว 8,000 ล้านครั้งต่อวัน ซึ่ง 1 ใน 5 ของ Video เป็น Live Stream
    หากเราจะทำอะไรที่เกี่ยวกับ การติดต่อสื่อสาร การรับรู้ข่าวสารทางออนไลน์ ก็จะต้องมี Facebook มาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ

    เราใช้ Facebook เพื่อเล่าเรื่องของตนเอง และติดตามเรื่องราวของคนรู้จัก หากอยากอัพโหลดรูป ก็ลงได้ทั้ง Facebook และ Instagram แต่ขณะเดียวกัน เราก็ใช้มัน เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสาร จากเพจที่เราสนใจ ไม่ว่าจะรูปแบบข้อความ หรือ วิดีโอ

    หากเราอยากคุยกับเพื่อน เราก็อาจจะใช้ Messenger หรือ Whatsapp (ฝรั่งไม่ได้ใช้ Line)

    ทั้ง 2 บริษัทคิดคล้ายกันในเรื่องของอนาคต
    ทั้ง Google และ Facebook จะเดินไปทาง Artificial Intelligence (ระบบปัญญาประดิษฐ์)
    การอำนวยความสะดวกนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเชื่อมต่อโลกจริง กับโลกเสมือนเข้าด้วยกัน

    Augmented Reality (AR)
    การใช้เทคโนโลยีเข้าไปเสริมกับชีวิตจริง เช่น ใส่แว่นตาในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น หรือ บอกว่าคนที่คุยกับเราอยู่มีข้อมูล profile อย่างไร

    Virtual Reality (VR)
    การนำตัวเราเองเข้าไปอยู่ในโลกเสมือน ซึ่งประสบการณ์ในโลกเสมือนในยุคอนาคต เราอาจจะแยกออกได้ยากว่า เรากำลังอยู่ในโลกจริง หรือ โลกเสมือน

    http://longtunman.com/3871



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized