• October 25, 2020

    ศาสตร์แห่งสุขภาพตามตำรับจีน บริโภคอย่างถูกสุขลักษณะ ตรงตามธาตุในร่างกาย สัมพันธ์ต่ออวัยวะหลายส่วน เลือกบริโภคยังต้องรู้ถึงกำเนิดของจิตวิญญาณ การตื่นหรือหลับไหลของร่างกาย หรือ เรียกกันว่าเคลื่อนไหวร่างกาย ตาม นาฬิกาชีวิต ที่เป็นศาสตร์ดูแลสุขภาพจีน ที่มีมากว่า 5000 ปี

    21.00-23.00 น. ร่างกายจะสะสมพลังงานรวม
    พลังงานของร่างกายจะสร้างช่วงนี้เท่านั้น จึงควรพักผ่อนเข้านอน 3 ทุ่ม

    23.00-01.00 น. พลังงานที่สร้างขึ้นจะเคลื่อนเข้าสู่ถุงน้ำดี
    ล้างถุงน้ำดีทำให้ถุงน้ำดีแข็งแรงย่อยไขมันที่จะเปลี่ยนรูปไปเป็นฮอร์โมน กล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น ไขสมอง น้ำหล่อเลี้ยงในร่างกายทั้งหมด การย่อยไขมันของร่างกายจะเกิดขึ้นในช่วงนี้เท่านั้น
    หากไม่พักผ่อนช่วงนี้ ไขมันดังกล่าวจะตกตะกอนอยู่ตามร่างกาย เช่นถุงไขมันใต้ตา มีพุง สมองเละเลือนง่าย ปวดไหล่ ปวดท้องง่ายบริเวณลำไส้ใหญ่ ท้องเสีย หรือท้องผูกง่าย

    01.00- 03.00 น. พลังงานจะเคลื่อนเข้าสู่ตับ
    ตับ จะเริ่มทำงานโดยใช้พลังงานที่สะสมไว้ ตับจะสะสมอาหารสำรองให้ร่างกายกำจัดของเสีย ผลิตน้ำดีและส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดีถ้าช่วงนี้ไม่หลับนอนร่างกายจะสูญเสีย พลังงานที่สะสมไว้ ตับจะอ่อนแอลง การสะมพลังงานสำรองลดลง การผลิตน้ำดีก็ลดลง ส่งผลกระทบ ต่อการทำงานของตับอ่อนเป็นผลให้การ ผลิตอินซูลินลดลงด้วย โรคที่จะเกิดขึ้นคือ โรคเกี่ยวกับความดันโลหิตแปรปรวน โรคเก๊าท์ โรครูมาตอยด์ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เบาหวาน หัวใจ กระดูกเสื่อม

    03.00 – 05.00 น. พลังงานจะเคลื่อนเข้าสู่ปอด
    ถ้าปอดแข็งแรงผู้นั้นจะหลับสนิท ถ้าเป็นโรคปอดหรือสูบบุหรี่ จะไม่รู้สึกสบายตัวและจะถูกปลุกให้ตื่นช่วงนี้ จะไอและหายใจขัด

    5.00 -7.00 น. พลังงานจะเคลื่อนเข้าสู่ลำไส้ใหญ่
    เป็นช่วงที่เราต้องถ่ายอุจจาระ ร่างกายจะต้องเอาของเสียทิ้งให้หมดก่อน 07.00 น.
    ถ้าไม่ถ่ายร่างกายจะเริ่มดูดซึมของเสียเข้าสู่ระบบเลือดนี่เป็นสาเหตุให้ เกิดริ้วรอยบนใบหน้า เกิดไขมันเสียๆ ควรออกกำลังกายช่วงนี้ เพื่อให้ลำไส้ใหญ่ขยับตัวและเพิ่มศักยภาพในการขับเคลื่อนของเสีย

    07.00 – 09.00 น. กระเพาะ อาหารจะทำงานได้สูงสุดในช่วงนี้เท่านั้น กระเพาะอาหารจะต้องการอาหารและจะหลั่งน้ำย่อยมากที่สุด ผู้ที่ไม่รับประทาน อาหารเช้าจะมีโอกาสเป็นโรคกระเพาะอาหาร และจะเกิดโรคหัวใจด้วยเพราะไม่ได้สารอาหารสำหรับทุกอวัยวะเพื่อกลับไปสร้าง พลังงานรวม

    09.00 – 11.00 น. ม้ามจะเริ่มเก็บพลังงานสำรอง
    เก็บสารอาหารจากการย่อยของกระเพาะอาหาร?การที่เราไม่ได้รับประทานอาหารเช้า ร่างกายจะดึงพลังงานสำรองออกมาใช้ พลังงานรวมจะหายไป ร่างกายจะอ่อนแอ ไม่มีแรง

    11.00 – 13.00 น. พลังงานจะเคลื่อนที่ไปที่หัวใจ
    ถ้าร่างกายไม่ได้สารอาหาร หัวใจจะทำงานลำบาก หัวใจวายได้ง่ายในช่วงนี้

    13.00 – 15.00 น. พลังงานจะเคลื่อนสู่ลำไส้เล็ก
    ลำไส้เล็ก จะทำงานโดยเปลี่ยนรูปอาหารที่ได้ จากตอนเช้า ทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ เป็นพลังงานทั้งหมด?ถ้าไม่ได้รับอาหารเช้า อาหารที่จะย่อยในลำไส้เล็กก็ไม่มี ลำไส้เล็กก็จะย่อยตัวเองและเริ่มอ่อนแอ

    15.00 – 17.00 น. พลังงานจะเคลื่อนมาที่กระเพาะปัสสาวะ
    ของเสียที่เกิดขึ้นจากการแปรรูปอาหารที่ลำไส้เล็กจะเกิดขึ้น กระเพาะปัสสาวะจะทำงานมากที่สุด

    17.00 -19.00 น. พลังงานจะเคลื่อนมาที่ไต
    ช่วงนี้ไตทำงานหนัก ไม่ควรออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วงเย็นจะทำให้ไตวายง่าย เวียนหัว ตาพร่า ปวดศีรษะ

    19.00 – 21.00 น. พลังงานจะเคลื่อนมาที่กล้ามเนื้อหัวใจ
    กล้ามเนื้อหัวใจจะทำงานชะล้างตัวเอง ทำงานช้าลง ช่วงนี้ต้องพักผ่อน ถ้าไม่พัก เลือดจะข้น กล้ามเนื้อหัวใจจะทำงานหนัก ทำให้หัวใจโต

    อื่น

    อวัยวะตัน หมายถึง หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต ส่วนอวัยวะกลวง หมายถึง กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบความร้อนของร่างกาย (ชานเจียว) การไหลเวียนของพลังชีวิต (ลมปราณ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า
    “นาฬิกาชีวิต”


    01.00-03.00 น.
     เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonine) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอนจากร่างกายจะหลั่งมีราทินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกมาด้วยจึงไม่ควรกินอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับ คือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รอง คือ
    1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บจะไม่สวย
    2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อย ๆ จะทำให้ตับทำงานหนักตับจะหลั่งน้ำย่อยออกมามากจึงไม่ได้ทำหน้าที่หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ
    03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด ควรตื่นขึ้นมาสูดอากาศรับแดดตอนเช้า ผู้ที่ตื่นช่วงนี้ประจำ ปอดจะดี ผิวดี และเป็นคนมีอำนาจในตัว

    05.00-07.00 น. ลำไส้ใหญ่ ควรถ่ายให้เป็นนิสัย ถ้าไม่ถ่ายให้กดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก ถ้ายังก็ให้ดื่มน้ำอุ่น 2 แก้ว ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว หรือบริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าแล้วก้มลงพร้อมหายใจออก เอามือท้าวเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าหน้าท้องไปติดสันหลัง คนที่ถ่ายยากต้องกินข้าวเช้า บางคนไม่กินข้าวแต่กินกาแฟ ร่างการจะดูดกากอาหารตกค้างซึ่งกำลังจะเป็นอุจจาระเข้าไปใหม่ เท่ากับกินกาแฟแกล้มอุจจาระ
    คนเรามักไม่ตื่นกันตอนนี้ซึ่งเป็นเวลาที่ลำไส้ต้องบีบอุจจาระลง เมื่อไม่ตื่นจึงบีบขึ้น เมื่อไม่ถ่ายตอนเช้าลำไส้ใหญ่จึงรวน แล้วจะมีอาการปวดหัวไหล่ กล้ามเนื้อเพดานจะหย่อน แล้วจะนอนกรนในที่สุด
    07.00-09.00 น. กระเพาะอาหาร กินเข้าเช้าตอนนี้จะดี กระเพาะแข็งแรง ถ้ากระเพาะอ่อนแอ จะทำให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขี้กังวล ขาไม่ค่อยมีแรง ปวดเข่า หน้าแก่เร็วกว่าวัย ถ้าไม่กินข้าวเช้าอุจจาระจะถูกดูดกลับมาที่กระเพาะ กลิ่นตัวจะเหม็น ถ้าถ่ายออกหมดจะไม่มีกลิ่นตัวเท่าไหร่

    09.00-11.00 น. ม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย หน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดหัวบ่อยมักมาจากม้าม อาการเจ็บชายโครงมาจากม้ามกับตับ ม้ามโต จะไปเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย ม้ามชื้น อาหารแและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน ทำให้อ้วนง่าย คนที่หลับช่วง 9.00-11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ ม้ามยังโยงไปถึงริมฝีปาก คนที่พูดมากช่วงนี้ม้ามจะชื้น ควรพูดน้อยกินน้อย ไม่นอนหลับ ม้ามจะแข็งแรง

    11.00-13.00 น. หัวใจ หัวใจจะทำงานหนักช่วงนี้ ให้หลีกเลี่ยงความเครียด หรือใช้ความคิดหนัก หาทางระงับอารมณ์ไว้
    13.00-15.00 น. ลำไส้เล็ก ควรงดกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลำไส้ทำงาน ลำไส้เล็กทำหน้าที่ดูดสารอาหารที่เป็นน้ำเพื่อสร้างกรดอะมิโนสร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สำหรับผู้หญิง

    15.00-17.00 น. กระเพาะปัสสาวะ จะเกี่ยวข้องกับระบบความจำ ไทรอยด์ และระบบเพศทั้งหมด ช่วสงเวลานี้ควรทำให้เหงื่อออก จะออกกำลังการหรืออบตัว กระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง การอั้นปัสสาวะบ่อย จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้เหงื่อเหม็น

    17.00-19.00 น. ไต ควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอนตอนนี้ ถ้าง่วงแสดงว่าไตเสื่อม ยิ่งหลับแล้วเพ้อ อาการยิ่งหนัก ไตซ้าย คุมสมองด้านขวาคือความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้ามีปัญหา อารมณ์นี้จะหมดไปเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว แต่ไม่ปล่อยวาง และขี้ร้อน ไตขวา จะคุมสมองด้านซ้าย ซึ่งควบคุมด้านความจำ ถ้ามีปัญหาความจำจะเสื่อมและเป็นคนขี้หนาว ผู้ใดที่ไตแข็งแรงจะเป็นคนอายุยืน เป็นคนกล้า ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กไม่ได้ จึงตกเป็นภาระของไต จะทำงานหนักเป็นโรคไต สมองเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลด การดูแลคือ เช้าอาบน้ำเย็น เย็นอาบน้ำอุ่น

    19.00-21.00 น. เยื่อหุ้มหัวใจ ช่วงนี้ควรสวดมนต์ ทำสมาธิ ให้ระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ หัวเราะ

    21.00-23.00 น. เวลาของระบบความร้อนของร่างการ ต้องทำร่างายให้อุ่น ห้ามอาบน้ำเย็นเวลานี้จะเจ็บป่วยได้ง่าย ช่วงนี้อย่าตากลมเพราะลมมีพิษ

    23.00-01.00 น. ถุงน้ำดี เป็นถุงสำรองน้ำย่อยที่ออกมาจากตับ อวัยวะใดขาดน้ำ จะดึงมาจากถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น อารมจะฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก ตอนเช้าจะจาม ถุงน้ำดีจะโยงถึงปอด จะปวดศีรษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรดื่มน้ำก่อนเข้านอนหรือก่อนเวลา 23.00 น. อีกทั้งการย่อยไขมันของร่างกายจะเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้เท่านั้น ซึ่งหากไม่พักผ่อนช่วงนี้ ไขมันดังกล่าวจะตกตะกอนอยู่ตามร่างกาย เช่นถุงไขมันใต้ตา มีพุง สมองเละเลือนง่าย ปวดไหล่ ปวดท้องง่ายบริเวณลำไส้ใหญ่ ท้องเสีย หรือท้องผูกง่ายอีกด้วย

    เห็นไหมล่ะว่าเวลาเป็นของมีค่ามากขนาดไหน นอกจากจะทำให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่รู้จักใช้เวลา ยังส่งผลดีต่อสุขภาพด้วย หากรู้จักบริหารเวลาให้เหมาะสมกับสภาวะของร่างกาย

    อื่นๆ huachiewtcm.com/content/6233/นาฬิกาชีวิตเคล็ดลับหย่างเซิงสุขภาพ

    นาฬิกาชีวิต เคล็ดลับหย่างเซิงสุขภาพ ( 中医十二时辰养生秘诀 )

    ศาสตร์ทางการแพทย์แผนจีนเชื่อว่า ธรรมชาติและมนุษย์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยธรรมชาติจะมี ปี ฤดู วัน เวลา และมีการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับร่างกายมนุษย์เป็นวัฏจักร กล่าวคือ ร่างกายของคนเราจะมีเส้นลมปราณหลายเส้น ในแต่ละเส้นจะมีชื่อและคุณสมบัติเฉพาะ รวมถึงมีจังหวะเวลาที่แน่นอน เปรียบเสมือนการอยู่เวรยามในช่วงเวลาที่ต่างกันของแต่ละวัน โดยที่ชี่และเลือดจะไหลไปยังเส้นลมปราณรวมถึงอวัยวะต่าง ๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและทำให้เกิดโรคขึ้น ดังนั้น หากเราเข้าใจกฎนาฬิกาชีวิตหย่างเซิงสุขภาพ ก็จะช่วยให้เราสามารถดูแลสุขภาพและปรับวิถีชีวิตของตัวเราเองได้

    แนวความคิดตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน แบ่งเวลา 1 วัน ออกเป็น 12 ชั่วยาม
    1 ชั่วยาม จะเท่ากับ 2 ชั่วโมง
    หมอจีนจึงแนะนำให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามนาฬิกาชีวิต ซึ่งถือเป็นเคล็ดลับหย่างเซิง หรือ เคล็ดลับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

    ยามจื่อ (子时) 23:00 น. – 01:00 “ก่อนยามจื่อต้องเข้านอน”
    เพราะเป็นเวลาที่เส้นลมปราณของถุงน้ำดีจะทำหน้าที่ หมายถึง ถุงน้ำดีเก็บน้ำดีที่ได้จากตับและส่งน้ำดีมาช่วยย่อยไขมันที่ลำไส้เล็ก โดยทฤษฏีของศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้นเชื่อว่า ถุงน้ำดีจะทำหน้าที่ในการตัดสินใจ ในช่วงของ “ยามจื่อ” ไขกระดูกจะเริ่มต้นสร้างเลือด และซ่อมแซมร่างกาย และอวัยวะทั้งหมดภายในร่างกายจำเป็นจะต้องพึ่งพาการทำงานของถุงน้ำดี ดังนั้น ยามจื่อจึงเป็นเวลาที่เราควรจะนอนหลับ เพราะการหลั่งของถุงน้ำดีจะส่งผลทำให้สมองโล่ง ปลอดโปร่ง และแจ่มใส ถ้าในยามจื่อเรานอนหลับได้อย่างเต็มที่และเพียงพอ จะทำให้เส้นลมปราณของถุงน้ำดีมีพลัง ทำให้เมื่อเรารู้สึกปลอดโปร่ง แจ่มใส ใต้ตาไม่คล้ำเมื่อตื่นมาในตอนเช้า แต่ถ้าหากเราไม่สามารถเข้านอนก่อนยามจื่อได้ ก็จะทำให้ไฟที่ถุงมีน้ำดีย้อนกลับขึ้นมาด้านบน (胆火上逆) ก่อให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ปวดศรีษะ คิดมาก กังวล และเมื่อตื่นขึ้นมาในตอนเช้าก็จะรู้สึกง่วงหงาวหาวนอน งัวเงีย มึนงง ไม่แจ่มใส ใต้ตาก็จะมีสีดำ คล้ำ และในขณะเดียวกันหากเราไม่ได้นอนในยามจื่อ จะทำให้การหลั่งของถุงน้ำดีเกิดความผิดปกติ และง่ายต่อการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี

    ยามโฉ่ว (丑时) 01:00 น. – 03:00 น. “ยามโฉ่วต้องนอนให้หลับสนิท”
    เพราะเป็นเวลาที่เส้นลมปราณของตับจะทำหน้าที่ หมายถึง ตับจะกำจัดสารพิษในร่างกาย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยการนำมาสังเคราะห์และเก็บสะสมไว้ในรูปไกลโคเจน และสร้างน้ำดีมาเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเชื่อว่าตับเป็นที่เก็บกักเลือด ซึ่งเวลาที่คนเรานอน เลือดจะเก็บไว้ที่ตับ และในช่วงเวลาที่เรานอนหลับสนิท เลือดจะไหลเวียนมาที่ตับ ซึ่งสามารถเพิ่มพลังชี่ของตับได้ โดยในช่วงเวลา 02.00 น. ร่างกายจะหลั่งเมลาโทนินได้สูงสุด หากในยามโฉ่วเรานอนไม่หลับ แต่ตับก็จะยังคงทำงาน แต่จะไม่สามารถเผาผลาญพลังงานและกำจัดพิษได้ตามปกติ ดังนั้น จึงเป็นเหตุทำให้เรามีสีหน้าหมองคล้ำ เกิดกระและจุดด่างดำ อารมณ์ร้อน โกรธง่าย และอาจจะนำไปสู่โรคตับได้ โดยเฉพาะหากในช่วงเวลายามโฉ่ว (ตี 1 – ตี 3) เราดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดความเสียหายต่อตับเป็นอย่างมาก

    ยามอิ่น (寅时) 03:00 น. – 05:00 น. “ยามอิ่นหลับลึก ปอดเปิดรับพลังบริสุทธิ์”
    เพราะเป็นช่วงเวลาที่เส้นลมปราณของปอดทำหน้าที่ หมายถึง ปอดเป็นจุดเริ่มต้นและรวบรวมพลังของชี่และเลือด ส่วนตับจะเก็บกักเลือด สลายเซลล์เม็ดเลือดแดง แล้วนำเลือดใหม่ส่งไปยังปอด ปอดจึงเป็นศูนย์รวมหลอดเลือดนับร้อยเพื่อเป็นจุดแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน โดยปอดจะส่งก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ถือเป็นจุดที่พลังชี่และเลือดเคลื่อนตัว เพื่อให้ระบบหายใจทำงานได้เต็มที่ และเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายให้สามารถรับก๊าซออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ ช่วงเวลานี้ ถ้าหากนอนหลับได้ลึกจะทำให้เรามีใบหน้าที่สดใส ดูมีเลือดฝาด รู้สึกสดชื่น แจ่มใส และกระปรี้กระเปร่าเมื่อตอนตื่นนอน

    04:00 – 05:00 น. จะเป็นช่วงที่อุณหภูมิของร่างกาย ความดัน การเต้นของชีพจร และการหายใจจะลดต่ำลงมากที่สุด เพราะเลือดจะไปเลี้ยงสมองได้น้อยกว่าปกติ ร่างกายของเราจึงควรได้รับความอบอุ่นในช่วงเวลานี้มากที่สุด และเพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะอากาศเย็น แต่สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจหรือปอดมีปัญหา เช่น มีอาการหายใจติดขัด ไอ จาม มีน้ำมูก หรือโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบ จะต้องระมัดระวังสุขภาพของตนเองให้มากเป็นพิเศษ เพราะในช่วงยามอิ่นนี้ จะเป็นช่วงที่อาการของโรคหอบมักจะกำเริบได้ง่าย และในผู้ป่วยที่มีอาการหนักก็มักจะทรุดลงในยามอิ๋นนี้ด้วยเช่นกัน นั่นก็เนื่องมาจากการที่สมองได้รับก๊าซออกซิเจนน้อยหรือไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาจส่งผลให้ความจำของเราเสื่อมลงได้

    ยามเหม่า (卯时) 05:00 น. – 07:00 น. “ยามเหม่าดื่มน้ำอุ่นช่วยขับถ่ายอุจจาระ”
    เพราะเป็นเวลาที่เส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่ ซึ่งช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ประตูฟ้าเปิด พระอาทิตย์กำลังขึ้น ช่วงตี 5 จึงควรตื่นนอน และประตูดินเปิด ซึ่งหมายถึงทวารหนักนั่นเอง ดังนั้นเราควรตื่นนอนเพื่อให้การขับถ่ายของเสียเป็นไปอย่างปกติ ถ้ายังไม่ตื่นนอนในเวลานี้จะทำให้ไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้หมด และเกิดสารพิษสะสมในร่างกาย ปอดและลำไส้ใหญ่มีความสัมพันธ์กัน ถ้าพลังปอดดี ก็จะขับถ่ายได้ปกติด้วย ลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย รับกากอาหาร ดูดซึมน้ำและถ่ายอุจจาระ มีการหลั่ง cortisol เพื่อช่วยให้ร่างกายมีความกระปรี้กระเปร่าขึ้น และหากลำไส้ใหญ่มีการเคลื่อนตัวดี ก็จะส่งผลให้การขับถ่ายอุจจาระดีตามไปด้วย ในช่วงยามเหม่านี้ พลังชี่และเลือดจะรวมกันอยู่ที่ลำไส้ใหญ่ ดังนั้น ในช่วงเวลานี้เราควรจะดื่มน้ำอุ่นเพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นให้ระบบขับถ่ายของเราทำงานได้ดีขึ้น

    ยามเฉิน (辰时) 07:00 น. – 09:00 น. “ยามเฉินเวลาอาหารเช้า”
    เพราะเป็นเวลาที่เส้นลมปราณของกระเพาะอาหารทำหน้าที่ หมายถึง การย่อยและการดูดซึมอาหารถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในระบบทางเดินอาหาร โดยในช่วงเวลา 7 โมงเช้าถึง 9 โมงเช้า เราควรรับประทานอาหารเช้า เพราะจะทำให้การย่อยและการดูดซึมทำงานได้ดีที่สุด แต่ในบางคนที่ไม่ค่อยรับประทานอาหารเช้า จะทำให้เกิดการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารที่มากเกินไป ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ทั้งนี้ อาหารในมื้อเช้านับว่าเป็นมื้อที่สำคัญเป็นอย่างมากเพราะเป็นมื้อแห่งการเติมพลังงานให้กับสมองและหัวใจให้สามารถไปสูบฉีดเลือดให้ไปเลี้ยงทั้วร่างกาย ทำให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตาม หากเราไม่รับประทานอาหารเช้าติดต่อกันเป็นเวลานาน ร่างกายของเราก็จะไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่า มักจะมีอาการอ่อนเพลีย เชื่องช้า ขึ้หลงขี้ลืม ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ ซึ่งการรับประทานอาหารเช้าในช่วงเวลานี้ ยังเป็นการช่วยป้องกันให้เราห่างไกลจากโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันให้เราห่างไกลจากโรคหัวใจ และที่สำคัญยังช่วยป้องกันเราให้ห่างไกลจากโรคอ้วนได้อีกด้วย

    ยามซื่อ (巳时) 09:00 น. – 11:00 น. “ยามซื่อขยับตัวเล็กน้อย”
    เพราะเป็นเวลาที่เส้นลมปราณของม้ามทำหน้าที่ หมายถึง ม้ามเป็นอวัยวะที่คอยควบคุมการขนส่ง ควบคุมเลือด ควบคุมการย่อย การดูดซึม และทำหน้าที่กระจายสารอาหารและน้ำไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยม้ามยังมีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย กำจัดเม็ดเลือดแดงที่เสื่อมสภาพ โดยพลังชี่และเลือดจะมาจากการทำงานของม้ามและกระเพาะจากอาหารที่รับประทาน ยามซื่อนี้ร่างกายมักจะมีความตื่นตัวมากกว่ายามอื่น ๆ ดังนั้น จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การทำงาน ทำกิจกรรม แต่ก็ควรออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวเล็กน้อยพอประมาณ และการดื่มน้ำจะเข้าไปช่วยให้ม้ามทำงานในการกระจายสารอาหารและน้ำไปยังอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกายได้ดียิ่งขึ้น

    ยามอู่ (午时) 11:00 น. – 13:00 น. “ยามอู่นอนพักกลางวันสักงีบ”
    เพราะเป็นเวลาที่เส้นลมปราณของหัวใจทำหน้าที่ หมายถึง หัวใจเป็นอวัยวะที่ควบคุมจิตใจ จึงควรนอนพักในชาวงเวลานี้เหมาะสมมากที่สุดเพื่อเป็นการบำรุงหัวใจ ยามอู่เป็นช่วงเวลาที่หยางชี่มากที่สุด และอินชี่น้อยที่สุด แต่ในยามจื่อ (子时) อินชี่มากที่สุด และหยางชี่น้อยที่สุด (สลับกัน) จึงเรียกได้ว่า ยามจื่อ ยามอู่ เป็นเวลาที่อินหยางสลับเวรกันทำหน้าที่ และเป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การบำรุงอินและหยางด้วยการนอนในช่วงเวลาจื่อและอู่ โดยเราควรนอนพักในช่วงเวลากลางวันนี้ ประมาณ 15 – 30 นาที เพื่อให้ร่างกายและสมองได้พัก และเพื่อความสมดุลของร่างกายทำให้ร่างกายสดชื่นขึ้น

    ยามเว่ย (未时) 13:00 น. – 15:00 น. “ยามเว่ยเป็นเวลาย่อยและการดูดซึม”
    เพราะเป็นเวลาที่เส้นลมปราณของลำไส้เล็กทำหน้าที่ หมายถึง ในช่วงยามเว่ยนี้ จะเป็นช่วงเวลาที่ลำไส้เล็กทำหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหารและน้ำ แล้วจึงอาศัยม้ามส่งไปยังหัวใจและปอดเพื่อเลี้ยงร่างกาย และกากอาหารจะถูกส่งต่อไปยังลำไส้ใหญ่ โดยน้ำจะดูดซึมและขับออกไปที่กระเพาะปัสสาวะ ในยามเว่ยนี้ จะเป็นช่วงเวลาที่ลำไส้เล็กทำงานได้ดีที่สุด ฉะนั้น ในมื้อกลางวัน เราจึงไม่ควรรับประทานอาหารเกิน 13.00 น. เพราะตั้งแต่ 13.00 – 15.00 น. เป็นเวลาสำหรับการย่อยและการดูดซึม

    ยามเซิน (申时) 15:00 น. – 17:00 น. “ยามเซินดื่มน้ำช่วยขับปัสสาวะ”
    เพราะเป็นเวลาที่เส้นลมปราณของกระเพาะปัสสาวะทำหน้าที่ หมายถึง ในยามเซินถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการดื่มน้ำและขับถ่ายปัสสาวะ โดยในเวลา 17.00 น. จะเป็นช่วงที่หลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อในร่างกายมีความแข็งแรงมากที่สุด จึงเหมาะแก่การออกกำลังกาย แต่ก็ไม่ควรออกกำลังกายหนัก ๆ เพราะจะทำให้ในตอนกลางคืนนอนไม่หลับ โดยเราสามารถออกกำลังกายโดยการเดินช้า ๆ หรือ รำไทเก็กก็ได้เช่นเดียวกัน

    ยามโหย่ว (酉时) 17:00 น. – 19:00 น. “ยามโหย่วหลีกเลี่ยงอาหารเค็ม”
    เพราะเป็นเวลาที่เส้นลมปราณของไตทำหน้าที่ หมายถึง ไตจะเก็บสะสมสารจำเป็น (จิงชี่) ซึ่งเป็นสารที่มีมาแต่กำเนิด โดยถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่มาเก็บไว้ที่ไต เรียกว่า “สารจำเป็นแต่กำเนิด” โดยสารจิงชี่นี้จะควบคุมการเจริญเติบโตและความสามารถของการสืบพันธุ์ ในยามโหย่วจึงเป็นช่วงเวลาที่เส้นลมปราณของไตควรจะหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม แต่ควรรับประมานทานอาหารที่มีรสจืดแทน

    ยามซวี (戌时) 19:00 น. – 21:00 น. “ยามซวีต้องอารมณ์ดี”
    เพราะเป็นเวลาที่เส้นลมปราณของเยื่อหุ้มหัวใจทำหน้าที่ หมายถึง เยื่อหุ้มหัวใจจะทำหน้าที่เป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ ห่อหุ้มหัวใจเอาไว้ โดยจะทำหน้าที่ปกป้องหัวใจ ปกป้องการรุกรานจากภายนอก ยามซวีเส้นลมปราณของเยื่อหุ้มหัวใจและเส้นประสาทสมองจะทำงานได้ดีที่สุด ดังนั้น จึงไม่ควรรับประทานอาหารเย็นจนอิ่มเกินไป และหลังอาหารเย็นเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน และเราควรรักษาอารมณ์ของเราให้ดีอยู่เสมอเพื่อเป็นการผ่อนคลาย โดยสามารถฟังเพลง ในยามซวี หรือจะอ่านหนังสือก็นับว่าดีเพราะเป็นช่วงที่มีสมาธิที่สุด ดังนั้น จึงนับว่า ยามซวีเป็นช่วงเวลาเพื่อการพักผ่อนและเตรียมตัวสำหรับการนอนหลับ

    ยามไฮ่ (亥时) 21:00 น. – 23:00 น. “ยามไฮ่ทำร่างกายให้ อบอุ่น นอนพักผ่อน”
    เพราะเป็นเวลาที่เส้นลมปราณของซานเจียวทำหน้าที่ หมายถึง ซานเจียว ได้แก่ ซ่างเจียวคือส่วนบนมีระบบหายใจ (หัวใจและปอด) จงเจียว คือส่วนกลางมีระบบย่อยอาหาร (กระเพาะ อาหาร ม้าม และตับ) และเซี่ยเจียคือส่วนล่างมีระบบขับถ่าย (ไต กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้เล็ก) โดยซานเจียวจะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของชี่และเลือด ลำเลียงผ่านสารอาหารและน้ำ ซานเจียวจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เป็นช่วงที่ร่างกายปรับสมดุลความร้อนและเป็นช่วงที่อุณหภูมิในร่างกายจะค่อย ๆ ลดลง ซึ่งร่างกายจะเริ่มหลั่งเมลาโทนิน ในยามไฮ่นี้ เราควรเตรียมตัวสำหรับการนอนหลับพักผ่อน และเมื่อซานเจียวได้พักผ่อนก็จะทำให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และหากเป็นไปได้ เราก็ควรจะแช่เท้าด้วยน้ำอุ่นประมาน 20 นาที ในยามไฮ่ เพื่อให้เหงื่อออกนิด ๆ จะช่วยให้ชี่และเลือดของซ่างเจียว จงเจียว และเซี่ยเจียว ไหลเวียนสะดวก ทำให้ร่างกายที่ทำงานหนักมาทั้งวันได้รับการพักผ่อน และยังเป็นการช่วยให้นอนหลับได้อย่างเต็มที่

    ข้อมูลประกอบ
    十二时辰养生秘诀 (เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามนาฬิกาชีวิต)
    บทความโดย
    แพทย์จีน ศศินิภา กายเจริญ

    ม้าม

    จากนาฬิกาชีวิต
    09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้ายและมีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศีรษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ
    ม้ามโต ม้ามจะไปเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย
    ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมันจึงทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 – 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อย ๆ หรือพูดเก่ง ๆ ม้ามจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงจะแข็งแรง
    การพูดทำให้ลมเข้าปาก ความชื้นเข้าไปกระทบม้ามในช่วงนั้น ส่วนการนอนและการกินนั้น เคยจำได้ แต่ลืมแล้วครับ ยินดีด้วย
    อาหารบำรุงม้ามช่วงนั้นคือ ขมิ้นชัน น้ำอัญชัญ ส่วนมันเทศสีเหลืองหากทานเวลานั้น จะเข้าไปดูดซับไขมันส่วนเกิน
    ธรรมชาติบำบัด ป้องกันม้ามชื้น คือ การลงน้ำมันทั่ว เพื่อทำให้ผิวชุ่มชื้น กันความชื้นภายนอกเข้าไปทำร้ายม้าม ทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานปกติ
    ที่พลาดกันมากคือ การไม่ใส่รองเท้าในบ้านที่ปูกระเบื้อง หรือ หินอ่อน ความเย็นเข้าทางเท้าไปสะสมในม้ามและกระดูก ทำให้อ่อนแอ แรงน้อย ภูมิคุ้มกันลด ฉะนั้น พื้นบ้านที่เป็นกระเบื้อง หรือ หินอ่อน หรือวัสดุอะไรก็ตามที่มีความเย็น จะทำร้ายระบบภูมิคุ้มกันไปเรื่อย ๆ สมควรใส่รองเท้าในบ้าน (รองเท้าชนิดใส่ในบ้าน ไม่ใช่ใส่รองเท้าข้างนอกเข้ามาในบ้าน) หรือไม่ก็ใส่ถุงเท้า คนแก่โดนเรื่องนี้ หาหมอทั่วจักรวาลก็ไม่หาย ยาหมอที่ไหนก็ตาม ไม่ได้ช่วยทำให้พื้นบ้านอุ่นขึ้นได้ แค่ใส่รองเท้าก็จบครับ
    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.pendulumthai.com/smf/index.php?topic=1089.0

    ความรู้เกี่ยวกับม้าม
    http://www.pendulumthai.com/smf/index.php?topic=230.0
    ม้ามมีหน้าที่ผลิตเม็ดเลือด เวลาของม้ามคือ 9-11โมงเช้า
    ม้ามสัมพันธ์กับปาก ช่วงเวลาของม้าม หากเราพูดมาก ลมเข้าปาก
    เราทานอาหาร หรือ เรานอนหลับ จะทำให้ม้ามผิดปกติ
    การพูดมาก ทำให้ม้ามชื้น จะอ้วนง่าย ทานน้อยก็อ้วน
    หากม้ามโต จะทำให้ผอม ทานมาก ก็ยังผอม
    ม้ามมีผลต่อระบบการเผาผลาญ metabolism
    การที่ม้ามอ่อนแอ ก็จะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
    คนที่เป็นไข้ ติดเชื้อไวรัส เป็นต้น ควรทานเม็ดมะรุมช่วง 9-11 โมง
    จะหายเร็วกว่า เพราะเข้าไปแก้ที่ม้ามโดยตรง
    ม้ามอ่อนแอ ก็ยังส่งผลต่อระบบไทรอยด์
    คนที่ไทรอยด์มีปัญหา ไม่ว่าจะ hyper หรือ hypo
    ก็ต้องแก้ที่ม้าม ควบคู่ไปกับ การทานน้ำกระชายปั่น
    ระวังดูแลม้ามโดย การ ไม่กิน ไม่นอน ไม่พูดมาก ในช่วงเวลา 9-11 โมงเช้า
    ซึ่งคนฟังแล้วสั่นหัว บอก…ยาก ช่วงนี้กำลังกิน กำลังทำงาน จะห้ามได้ไง
    ผลก็คือ คนอ้วนเต็มโลก คนป่วยเต็ม คนติดเชื้อเป็นไข้เต็มรพ.
    อากาศชื้น ก็มีผลต่อม้าม คนที่อยู่ติดทะเลจะอ้วนง่าย เพราะความชื้นของน้ำ
    หน้าฝนผ่านมา คนก็อ้วนง่ายขึ้น เพราะความชื้น
    หน้าร้อนในไทย ก็ร้อนชื้น
    วิธีกันความชื้นทำร้ายม้าม คือ การลงน้ำมันที่ผิวทุกวัน เพื่อกันความชื้น
    น้ำมันที่ลงผิว ต้องไม่ใช่สารเคมี และ ดูดซึมง่าย ทาแล้วไม่เหนียว ซึมเข้าเนื้อทันที
    ความชื้นเข้าตัว ก็ป่วยง่าย ติดเชื้อง่าย
    การดูแลม้ามทางอ้อมคือ ล้างระบบดูดซึม ล้างไขมันจากน้ำมันพืชที่เคลือบลำไส้มาตั้งแต่เกิด
    ด้วยสูตรชามะละกอ ข้าวต้มยางมะละกอ บอระเพ็ดต้มน้ำ ดีบัวต้มน้ำ หรือ ไวทาไล๊ท์ชงกับน้ำ
    น้ำมันปาล์มที่อยู่ในขวดน้ำมันพืช แล้วบริษัทผลิตก็ไม่บอกตรง ๆ ว่ามันคือน้ำมันปาล์ม
    กลับโฆษณาว่ามาจากพืชชนิดอื่น ๆ มันทำร้ายทุกอวัยวะได้ อย่างถูกกฏหมาย
    น้ำมันพืช 95% ในตลาด ทำจากน้ำมันปาล์มทั้งสิ้น ถึงขายได้ในราคาถูกแบบนี้
    ถ้าบริษัทไหนกล้ายืนยันว่า ไม่มีน้ำมันปาล์มผสม ก็ควรออกมายืนยัน
    เราก็จะได้แนะนำให้คนอื่นไปเลือกซื้อยี่ห้อนั้น แต่ราคาก็คงแพงตามไปด้วย
    ม้ามชื้น ทานมันเทศสีเหลือง ไปดูดซับไขมันช่วงเวลา 9-11 โมง
    จะลดความอ้วนได้ และ บำรุงม้าม
    ดอกอัญชัญต้มน้ำ แล้วดื่มน้ำที่ต้ม ก็บำรุงม้าม
    อาหารบำรุงม้ามอื่น ๆ หากอยากจะทานให้ดีที่สุด ก็ทานช่วง 9-11 โมง
    เช่นขมิ้นชัน ทานช่วงม้าม ก็บำรุงม้าม และ ตับอ่อนดีมาก
    ใบมะรุม หากทานช่วงม้าม ก็บำรุงม้ามและตับอ่อนพร้อมกัน


เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized