• March 11, 2024

    งานวิจัยใหม่เผย “น้ำตาลเทียม” ปัจจัยเสี่ยงก่อโรคหัวใจ-หลอดเลือดสมอง

    “น้ำตาลเทียม” เป็นปัจจัยเสี่ยงก่อโรคหัวใจ-หลอดเลือดสมองให้เพิ่มขึ้นกว่า 9-18%
    ข้อมูลจากสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) พบว่าชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยกินน้ำตาลกันคนละ 77 กรัมต่อวัน ซึ่งเกินมาตรฐานที่ควรได้รับต่อหนึ่งวัน โดยผู้ชายควรได้รับไม่เกิน 36 กรัม ขณะที่ผู้หญิงไม่ควรเกิน 25 กรัมเท่านั้น

    แต่เพราะแค่น้ำอัดลม 1 กระป๋องก็มีน้ำตาลถึง 32 กรัมแล้ว การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องดื่มรสหวาน มีส่วนทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และป่วยเป็นโรคอ้วน เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูงได้

    ผลการวิจัยใหม่พบว่าเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ 9% และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 18% เทียบกับคนที่ไม่กินเลย

    “สารให้ความหวานแทนน้ำตาล” หรือ “น้ำตาลเทียม” (Artificial Sweeteners) เป็นสารที่ผลิตขึ้นมาเพื่อเติมรสชาติหวานให้กับอาหารและเครื่องดื่มแทนน้ำตาลธรรมชาติ ซึ่งส่วนมากจะให้พลังงานหรือแคลอรี่ต่ำ หรือในบางครั้งก็อาจไม่มีแคลอรี่เลย ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำตาลเทียม โดยมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ดังนี้

    แอสปาร์แทม(Aspartame)
    อะเซซัลเฟม-เค (Acesulfame-K)
    นีโอแทม (Neotame)
    แซคคาริน (Saccharin) หรือขัณฑสกร
    สตีเวีย (Stevia) หรือสารสกัดจากหญ้าหวาน
    ซูคราโลส (Sucralose)
    ถึงแม้น้ำตาลเทียมจะให้ความหวานที่ใกล้เคียงกับน้ำตาลธรรมชาติ และใช้ปริมาณน้อย ก็ให้ความหวานที่มากกว่าหลายเท่าตัว ช่วยลดความอยากอาหาร ลดน้ำหนัก และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่น้ำตาลเทียมก็มีข้อควรระวังอยู่หลายอย่าง ได้แก่

    ผู้ป่วยโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแอสปาร์แตม เนื่องจากมีส่วนประกอบของกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) ที่ทำให้ระดับฟีนิลอะลานีนในร่างกายสูงขึ้นได้
    ผู้ที่แพ้สารซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแซคคาริน ซึ่งเป็นน้ำตาลเทียมชนิดที่ถูกแปรสภาพมาจากสารซัลโฟนาไมด์ หากผู้บริโภครับประทานแซคคารินแล้วมีสัญญาณของการแพ้ อย่างหายใจลำบาก ผื่น หรือท้องเสีย ควรหยุดใช้แล้วไปพบแพทย์ทันที
    มีหลักฐานบางส่วนชี้ว่า ซูคราโลสอาจส่งผลต่อความไวในการตอบสนองต่ออินซูลินและเชื้อแบคทีเรียในลำไส้

    “น้ำตาลเทียม” เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ-หลอดเลือดสมอง

    ปี 2014 มีผลการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์จากวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน (The Journal of the American Medical Association) พบว่า คนกินน้ำตาลประมาณ 17-21% ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมดต่อวัน จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าคนที่กินน้ำตาลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8% ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมดต่อวัน มากถึง 38% เป็นเหตุผลให้หลายคนหันไปกินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเทียม แต่สารให้ความหวานแทนน้ำตาลนี้จะเป็นทางเลือกที่ดีจริงหรือไม่นั้น

    2565 ผลการศึกษาใหม่ที่ได้รับการตีพิมพ์จากวารสารทางการแพทย์บีเอ็มเจ (BMJ Journals) ที่นักวิจัยชาวฝรั่งเศสได้วิเคราะห์ข้อมูลจากชาวฝรั่งเศสมากกว่า 103,000 คน ที่เข้าร่วมการศึกษาโภชนาการออนไลน์ โดยในช่วงเริ่มต้นของการศึกษาจะให้ผู้เข้าร่วมกรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับอาหาร สุขภาพ การออกกำลังกาย การศึกษา การสูบบุหรี่ และอาชีพ นอกจากนี้ยังต้องให้ข้อมูลการกินอาหารในวันสุดท้ายก่อนที่พวกเขาจะต้องเข้าประเมินในแต่ละครั้ง ทุก ๆ 6 เดือน เป็นระยะเวลา 9 ปี

    ประมาณ 37% ของบุคคลเหล่านี้กินน้ำตาลเทียม โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 42 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับน้ำตาลเทียม 1 ซอง หรือกินน้ำอัดลมสูตรไม่มีน้ำตาลประมาณ 3 ออนซ์ ส่วนผู้ที่กินน้ำตาลเทียมสูงสุด ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 78 มิลลิกรัม หรือเท่ากับน้ำอัดลมสูตรไม่มีน้ำตาลประมาณ 6 ออนซ์ ขณะที่บางคนก็ไม่กินน้ำตาลเทียมเลยก็มี

    เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่กินและไม่กินสารให้ความหวานแทนน้ำตาล พบว่ามีความแตกต่างกันในบางประการ คือผู้ที่กินน้ำตาลเทียมจะมีลักษณะ ดังนี้

    มีแนวโน้มที่จะมีอายุน้อยกว่า
    มีดัชนีมวลกาย (BMI) สูงกว่า
    มีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่มากกว่า
    มีแนวโน้มที่จะกระฉับกระเฉงน้อยลง
    มีแนวโน้มที่จะติดตามอาหารลดน้ำหนักบางชนิดมากขึ้น
    กินไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ไฟเบอร์ คาร์โบไฮเดรต ผลไม้และผักน้อย
    กินโซเดียม เนื้อสัตว์แปรรูป และผลิตภัณฑ์จากนมมากกว่า
    ดื่มแอลกอฮอล์น้อยกว่า

    เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างและความแปรปรวนอื่นๆ เหล่านี้ในด้านอายุ เพศ กิจกรรม การศึกษา สถานะการสูบบุหรี่ และประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ นักวิทยาศาสตร์พบว่าผู้ที่กินสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น 9% ต่อการป่วยเป็นโรคหัวใจเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่บริโภคเลย และยังมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นอีก 18%

    “น้ำตาล”จากธรรมชาติดีที่สุด ไม่ควรกินเกิน 10% ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน แต่จะดีกว่านั้นคือไม่กินหวานไม่ว่าจะมาจากธรรมชาติหรือไม่แม้แต่ผลไม้หวานซึ่งน้อยคนจะรู้ว่ามีอันตรายแฝงอยู่และหากจะกินก็ควรกินในปริมาณพอเหมาะไม่มากเกินไปกินเป็นกิโลกินเป็นลูกๆ และอย่าเอากากออกให้กินทั้งกากใย ไม่เช่นนั้นจะมีแต่โทษที่มากกว่าประโยชน์อันพึงจะได้รับ

    แต่จนกว่าจะมีการศึกษาในเรื่องนี้มากเพียงพอจะสรุปได้ว่าน้ำตาลเทียมควรนำมาเป็นทางเลือกในการบริโภคน้ำตาลแทนหรือไม่นั้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ว่า ควรบริโภคน้ำตาลประมาณวันละ 5-10% ของพลังงานที่เราควรได้รับในแต่ละวัน และให้จำกัดการกินสารให้ความหวานแทนน้ำตาล อย่างแอสปาร์แทม, ซูคราโลส, อะเซซัลเฟม-เค และ แซลคาริน

    ส่วนสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ชนิดไซลิทอล, อิริทริทอล, อัลลูโลส, สตีวิโอไซด์ และน้ำตาลล่อฮังก้วย ยังไม่มีมีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปได้ว่ากินแล้วดีต่อสุขภาพหรือไม่

    เลิกกินได้ก็ดี ปกติอาหารสดผักเนื้อสัตว์มีรสชาติหวานอยู่แล้วหากกินไปสักพักหนึ่งร่างกายจะเริ่มปรับรสชาติคุณจะสังเกตเห็นว่าจะมีความหวานออกมาในขนาดที่กำลังดี ใส่เกลือไปสักนิดนึงรสชาติกลมกล่อมเลย

    จนกระทั่งถึงปี 2024 ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
    มีงานวิจัยใหม่กลุ่มตัวอย่าง 200,000 คนและตีพิมพ์
    พบว่าการกินสันให้ความหวานแทนน้ำตาลมีความเสี่ยงมากกว่ากินน้ำตาลแท้ๆซะอีก
    https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/CIRCEP.123.012145



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized