• February 25, 2024

    ใช้ไมโตโคนาโซล

    โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อที่พบได้บ่อยในแมว
    PARASITIC DISEASE

    โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อที่พบได้บ่อยในแมว
    โรคผิวหนังในแมวเป็นหนึ่งในโรคที่สัตวแพทย์พบได้บ่อยบนคลินิกและรอยโรคที่แสดงอาจไม่ได้มีความจำเพาะชัดเจนเหมือนในสุนัข

    จากการศึกษาจาก Cornell University พบว่า

    ร้อยละ 6-15 ของแมวที่พามาโรงพยาบาลเป็นโรคผิวหนัง และมีโรคผิวหนังมากกว่า 1 โรค อาการของโรคผิวหนังที่แมวมักจะแสดงออกประกอบไปด้วย การเกาหรือเลียขนมากกว่าปกติ ขนร่วงผิดปกติ ผิวหนังแดงหรือมีสะเก็ด อาการบวมแดง หรือผิวขรุขระ เป็นตะปุ่มตะป่ำ โรคผิวหนังสามารถจำแนกคร่าวๆ

    1. กลุ่มการติดเชื้อ ซึ่งคือปรสิตภายนอก แบคทีเรีย รา ยีสต์

    2. กลุ่มภูมิแพ้ต่าง ๆ

    3. กลุ่มมะเร็งและเนื้องอก

    4.กลุ่มปัญหาพฤติกรรม
    การวินิจฉัยหาสาเหตุ ควรมีการซักประวัติเจ้าของว่า สังเกตเห็นความผิดปกติตั้งแต่เมื่อใด รอยโรคที่เห็นมีการขยายใหญ่ขึ้นหรือมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร รวมไปถึงเรื่องอาหารที่กิน พื้นที่อยู่อาศัย อยู่นอกบ้านหรือในบ้าน เลี้ยงกี่ตัว การป้องกันปรสิตภายนอกใช้รูปแบบใด ใช้สม่ำเสมอหรือไม่ หรือก่อนหน้านี้มีการใช้ยามาก่อนหรือไม่เป็นเรื่องที่สัตวแพทย์ต้องมีการซักถามอย่างละเอียด โดยจะทำการวินิจฉัยตัดเรื่องภาวะติดเชื้อต่างๆ ออกไปให้หมดก่อน หากควบคุมการติดเชื้อได้แล้วแต่โรคผิวหนังยังไม่ดีขึ้นจึงทำการวินิจฉัยต่อไป ในบทความนี้จึงจะพาคุณหมอมารู้จักโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อที่พบได้บ่อยในแมว ซึ่งเป็นด่านแรกที่คุณหมอจะต้องจัดการก่อนไปสู่การวินิจฉัยแยกแยะโรคอื่น ๆ ต่อไป
    FUNGAL INFECTION

    1. DERMATOPHYTOSIS

    Dermatophytosis เป็น cutaneous fungal infection ที่พบได้บ่อยในประเทศเขตร้อนชื้น เชื้อที่มักพบคือ Microsporum canis, Trichophyton mentagrophytes และ Microsporum gypseum โดยที่ M.canis มักมีการติดในแมว T.mentagrophytes มักเกิดการติดจากสัตว์ฟันแทะ และ M. gypseum มักมีการติดจากดิน แมวที่มีการติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการก็ได้ซึ่งแมวกลุ่มนี้จะเป็นพาหะที่ดีมากของเชื้อ dermatophytes เป็น zoonosis โดยการติดต่อสู่คนนั้นจะเกิดจาก direct contact สะเก็ด หรือ ขน ที่มีการติดเชื้อรา เชื้อรานี้จะมีการเจริญในชั้นเคอราตินของขน เล็บ และผิวหนัง incubation period อยู่ที่ 1-4 สัปดาห์ โรค ในแมวที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่น มีการติดเชื้อ FeLV – FIV หรือ มีการใช้ corticosteroid เป็นเวลานาน จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อรามากกว่าแมวปกติ อีกทั้งแมวที่มีการเลี้ยงหนาแน่น มีการจัดการที่ไม่ดี ได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสม อาบน้ำถี่เกินไป หรือกักโรคไม่เพียงพอ ก็จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อรามากกว่าแมวปกติด้วยเช่นเดียวกัน
    รอยโรคที่พบมักจะเป็น รอยขนร่วง ลักษณะเป็นวง ในแมวอาจมีการพบ miliary dermatitis ร่วมด้วย และหากมีการติดเชื้อที่เล็บจะสามารถพบการอักเสบ หรือ nail bed deformity ได้
    การวินิจฉัย: สำหรับการ screening สามารถใช้ Wood’s lamp examination ได้ โดยใช้ Wood’s lamp ที่เปิด warm up แล้ว 5 นาที ส่องที่รอยโรคในห้องมืด หากมีการติด M. canis จะพบการเรืองแสงเป็นสี apple green แต่ผลการทดสอบสามารถให้ผล false positive ได้จากเศษผิวหนัง sebum หรือครีมที่ใช้ทาที่ผิวหนัง ส่วนการดึงขนไปส่องใต้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อหา hyphae ของเชื้อราเป็นอีกวิธีที่เร็วแต่ให้ผล sensitivity ค่อนข้างต่ำ และมักไม่พบ macroconidia เนื่องจากสภาพแวดล้อมบนตัวสัตว์ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโต วิธีที่จัดว่าเป็น gold standard คือ การทำ fungal culture โดยดึงขนจากบริเวณขอบของรอยโรค และใช้ แปรงสีฟัน sterile เก็บตัวอย่างจากขนของแมวใส่ลงใน dermatophyte test media หากมี dermatophyte จะมีการเปลี่ยนเป็นสีแดงจากการเปลี่ยน pH ที่เป็นด่างมากขึ้น และจะพบโคโรนี สีขาวฟูขึ้น หากมีสีอื่นให้สงสัยว่าอาจมีการปนเปื้อน สัตวแพทย์สามารถส่องดู macroconidia / microconidia จากตัวอย่างที่เพาะได้ เพื่อทำการ identification นอกจากนี้สัตวแพทย์สามารถพิจารณาทำ skin biopsy ได้ในกรณีสงสัยการเกิด granulomatous dermatophytosis เช่น pseudomycetoma ที่เชื้อรามีการลงไปชั้นลึกกว่าแค่ชั้น cutaneous
    ยาที่แนะนำในการรักษา dermatophytosis ในแมวในปัจจุบันอันดับแรกคือ itraconazole เนื่องจากมีผลข้างเคียงของยาที่น้อยกว่า ketoconazole และมีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างดี โดยขนาดยาที่ใช้ในแมวคือ 5 mg/kg q12h PO หรือ 10 mg/kg q24h PO จากบางการศึกษามีการแนะนำว่า เมื่อให้ยาติดกันครบ 4 สัปดาห์ สามารถสลับไปให้ยาแบบ pulse dosing โดยใช้ itraconazole 5 mg/kg/day อาทิตย์เว้นอาทิตย์ อีก 4-6 สัปดาห์เพื่อลดค่าใช้จ่ายได้ รูปแบบยา itraconazole นั้นมีทั้งแบบแคปซูลและแบบน้ำ หากใช้แบบน้ำควรจะมีการลดขนาดยาลงร้อยละ 25-50และให้ขณะท้องว่างเนื่องจากแบบน้ำจะมีการดูดซึมได้ดีกว่า และควรจะมีการตรวจค่าเอนไซม์ตับทุกๆ 2-4 สัปดาห์ หากมีเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากยา เช่น อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร ค่าตับขึ้น เป็นไข้ hypertension BUN มีค่าสูงขึ้น มีผื่น ควรหยุดการใช้ยาทันที หากจะมีการใช้ยาใหม่ควรลดขนาดยาลงร้อยละ 50 นอกจากนี้มียาอีกตัวที่สามารถใช้ได้คือ terbinafine 30-40 mg/kg q24h PO และสามารถใช้กับแมวที่เป็น carrier ได้โดยใช้ขนาด 8.25 mg/kg q24h PO หากใช้ยานี้ควรมีการตรวจค่าตับและติดตามผลข้างเคียงของยาเช่นเดียวกันกับการใช้ itraconazole นอกจากยากินแล้วควรมีการใช้ elizabeth collar และมีการใช้ยา miconazole ฟอกเฉพาะที่เพื่อกำจัดเชื้อรา หรือใช้ clotrimazole, miconazole, terbinafine topical cream-lotion ร่วมด้วย สำหรับวัคซีนเพื่อใช้ในการรักษาและป้องกันนั้นมีการผลิตวางจำหน่ายแล้ว แต่ประสิทธิภาพการรักษายังไม่ค่อยดีนัก นอกจากการรักษาทางยากับสัตว์แล้วควรต้องมีการกำจัดเชื้อราและสปอร์ที่อยู่ตามสิ่งแวดล้อมด้วย บริเวณที่แมวอยู่ควรมีการดูดฝุ่นและใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น 1:33 lime-sulphur, 0.2% enilconazole หรือ 1:10-100 chlorine bleach เพื่อกำจัด arthrospore ที่หลงเหลือในสิ่งแวดล้อมให้หมดไป หากแมวมีรอยโรคที่ดีขึ้นหรือใช้ยาครบ 2 สัปดาห์ ควรพิจารณาทำ fungal culture 2 ครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์ หากผลทั้ง 2 ครั้งเป็นลบจึงจะพิจารณาหยุดยากำจัดเชื้อราได้ หากครั้งใดครั้งหนึ่งมีผลเป็นบวกให้พิจารณากินยาต่อแล้วทำ fungal culture ใหม่ในอีก 2 สัปดาห์ถัดไป

    1. SPOROTRICOSIS

    Sporotricosis เป็นโรคที่พบได้บ่อยครั้งในประเทศไทย มีความสำคัญอย่างมากเพราะสามารถเกิด zoonosis ได้โดยผ่านทางบาดแผล เกิดจากการติดเชื้อ Sporothrix schenckiii ซึงเป็น dimorphic fungi เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมจะเป็น saprophyte และจะกลายเป็น yeast form เมื่อเข้าสู่ร่างกายและเจริญเติบโตและกลายเป็นก้อนเชื้อราอยู่ในผิวของแมว การติดเชื้อมักเกิดจากการที่มีแผลและได้รับเชื้อจากดินเข้ามาในแผล โดยสามารถเกิดก้อนเฉพาะที่ (cutaneous form) หรือมีการกระจายเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง (cutaneolymphatic form) หรือกระจายไปยังระบบอื่นที่นอกเหนือจากผิวหนัง เช่น ปอดหรือตับ ซึ่งระยะนี้แมวสามารถมีไข้ร่วมด้วย (disseminated form)
    รอยโรคที่แสดงให้เห็นจะพบแผลที่มีลักษณะเป็น purulent, ulcerative wounds, granulomatous wounds ตำแหน่งที่พบมักอยู่บริเวณที่มีการกัดกันจนเกิดแผล เช่น หัว ปลายขา หรือ ช่วง lumbar แต่อาจพบที่ตำแหน่งอื่นได้จากพฤติกรรมการ grooming ของแมว การวินิจฉัยทำได้ทำได้หลายวิธี วิธีที่สามารถทำได้ในคลีนิคคือการทำ cytology จาก direct smear ของแผล ซึ่งจะพบ suppurative หรือ pyogranulomatous หรือ granulomatous inflammation และสามารถพบ pleomorphic yeast รูปทรงกลมถึงรี หรือ cigar-shaped ได้ โดยมักจะพบอยู่ใน macrophage นอกจากนี้ยังสามารถใช้สีย้อมเช่น PAS or Gomori methenamine silver (GMS) ย้อมดูได้ หากต้องการส่งเพาะเชื้อราสามารถเก็บตัวอย่าง exudate จาก draining tract หรือ ตัวอย่างชิ้นเนื้อ เพาะบน Sabouraud dextrose agar ที่ 30°C ได้ การทำ molecular technique เช่น PCR ก็สามารถใช้เพื่อการวินิจฉัยได้เช่นเดียวกัน
    การรักษาประกอบด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อราและการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน พยากรณ์โรคมักอยู่ในระดับ guard ยาฆ่าเชื้อราที่แนะนำในแมวคือ itraconazole หากให้แบบแคปซูลจะใช้ขนาดยา 5-10 mg/kg q12-24h PO และ ขนาดยา 1.5-5 mg/kg q24h PO AC สำหรับยาแบบน้ำ ซึ่งจากการศึกษาพบว่ายาแบบน้ำจะมีการดูดซึมที่ดีกว่า และมี bioavalibility ที่สูงกว่าแบบแคปซูล ควรให้ยาติดต่อกันจนรอยโรคหาย และให้ยาต่อไปอีกอย่างน้อย 30 วัน และจะต้องมีการตรวจค่าเอนไซม์ตับทุกเดือนเช่นเดียวกันกับการรักษา dermatophytosis หากการตอบสนองต่อ itraconazole ไม่ดี หรือเกิดผลข้างเคียงของยาสามารถสลับไปใช้ terbinafine 30 mg/kg q24h PO แทนได้ สำหรับการป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนอาจต้องมีการพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย โดยเลือกใช้ตามผลเพาะเชื้อที่บริเวณแผล นอกจากนี้ควรมีการทำแผลร่วมด้วย
    ECTOPARASITE

    1. OTODECTIC MANGE

    ไรในหูจัดเป็นปรสิตภายนอกอันดับต้น ๆ ที่ทุกคลินิกทุกโรงพยาบาลได้เจออยู่เสมอ สำหรับในแมวนั้นมักเกิดจากการติด Otodectes cyanotis ไรชนิดนี้เป็นไรที่ไม่ขุดโพรงและไม่จำเพาะต่อสปีชีส์ ไรในหูจะอยู่บริเวณผิวหนังและจะเก็บกินเศษผิวหนัง (epidermal debris) และกิน tissue fluid จาก superficial epidermis ทำให้ในช่องหูของแมวที่มีไรในหูเต็มไปด้วยขี้หูสีน้ำตาล (classic coffee ground appearance) ที่เกิดจากเศษคราบเลือด ซากตัวไร ที่ปนมากับขี้หู แมวที่มีไรในหูมักมีอาการคันหู ในแมวที่มีไรในหูที่มีอาการคันบางรายจะพบการเกิด focal alopecia หรือ excoriation บริเวณหน้าผาก-เหนือเปลือกตาบน ซึ่งเกิดจากการเกาบริเวณใบหู ตัวไรจะสามารถไต่ไปได้ทั่วร่างกายของแมว โดยสามารถพบได้ที่บริเวณคอ ลำตัว และหาง ทำให้สามารถเกิด pruritic dermatitis ได้ ซึ่งรอยโรคนี้จะสามารถพบในภาวะ flea bite hypersensitivity, atopy หรือ food hypersensitivity ได้เช่นเดียวกัน การวินิจฉัยสามารถทำได้โดยการทำ ear wax cytology / examination โดยเก็บตัวอย่างขี้หูใส่ใน paraffin oil และส่องภายใต้กล้องจุลทรรศน์ จะสามารถพบตัวไรได้
    การรักษาควรมีการทำความสะอาดช่องหูด้วยน้ำยาที่มีฤทธิ์ละลายขี้หู (cerumenolytic agent) ก่อนใช้ยาหยอดหูที่มีตัวยา pyrethrins, thiabendazole, ivermectin, amitraz หรือ milbemycin ซึ่งมีฤทธิ์ arachnicide โดยพิจารณาหยดยาเป็นเวลา 7-10 วันร่วมกับการล้างหูเป็นประจำ นอกจากนี้ควรมีการใช้ spot-on ร่วมด้วยเพื่อควบคุมไรที่อยู่นอกช่องหู ซึ่งตัวยาที่สามารถใช้ได้ ได้แก่ selamectin spot-on 2 ครั้งห่างกัน 14 วัน และ moxidectin spot-on 2 ครั้งห่างกัน 1 เดือน หรือยาฉีด ivermectin 200 – 400 mcg/kg SC 2 ครั้งห่างกัน q14 วัน

    1. FLEA INFESTATION

    หมัดที่พบในแมวมักเป็น Ctenocephalides felis felis ซึ่งปัญหาหมัดเรียกได้ว่าเป็น global medical concern เพราะ นอกจากจะเป็นปรสิตภายนอกที่ดูดกินเลือดของแมวทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และยังเป็นตัวนำ Bartonella henselae, Rickettsia felis และ Dipylidium caninum ได้ นอกจากนี้หมัดสามารถทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ (flea bite dermatitis) และ การแพ้ (flea bite hypersensitivity) ได้ ซึ่งสองอย่างนี้เป็นสาเหตุสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ทำให้แมวมีอาการคัน การเกิด flea bite dermatitis เกิดจากการระคายเคืองจากที่หมัดกัด ยิ่งมีหมัดจำนวนเยอะบนร่างกายก็จะทำให้เกิด dermatitis ได้มากขึ้น ในขณะที่ flea bite hypersensitivity เกิดจาก type I hypersensitivity (immediate type) หรือ type IV hypersensitivity (delayed type) และ cutaneous basophil hypersensitivity เนื่องจากน้ำลายหมัดประกอบด้วยองค์ประกอบหลายย่างที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ แต่การเกิดการแพ้นั้นแม้ว่าไม่มีตัวหมัดบนร่างกายแล้วการแพ้สามารถคงอยู่ได้ ในแมวนั้นไม่มีอายุ เพศ พันธุ์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในการเกิดทั้ง 2 ภาวะนี้ แมวทุกช่วงอายุหากมีหมัดสามารถเป็นได้หมด
    ในแมวที่มี Flea bite dermatitis จะมีรอยโรคเป็น papular dermatitis และ hair barbering จากการที่เกิด self-grooming หรือ คันแล้วกัดขนตัวเอง และในส่วนของ flea bite hypersensitivity จะมีการพบ papulocrustous dermatitis (miliary dermatitis) ซึ่งเป็นทั่วตัว หรือจะอยู่ในบริเวณ dorsal lumbosacral region หรือที่คอและหัว และจะพบการเกิด hair coat barbering ที่ ventral abdomen และ caudal thighs แมวจะคันมากและอาจมีรอย excoriation และ alopecia ร่วม นอกจากนี้จะสามารถเกิด eosinophilic granuloma complex ได้ ในแมวบางตัวมีการเกิด indolent ulcer โดยเฉพาะที่ริมฝีปากร่วมด้วย และสามารถพบการเกิด peripheral lymphadenopathy ได้ ส่วนการเกิด flea bite hypersensitivity อาจเกิดร่วมกันกับภาวะภูมิแพ้อื่น ๆ เช่น atopy หรือ food hypersensitivity ได้ และรอยโรคที่เป็น miliary dermatitis นั้นยังไม่มีความจำเพาะต่อการแพ้น้ำลายหมัดเพียงอย่างเดียว ในรายที่เป็นภูมิแพ้อื่นๆ หรือ demodecosis ก็สามารถเกิดรอยโรคนี้ได้เช่นกัน ในส่วนของการวินิจฉัยสามารถพิจารณาทำ intradermal skin test หรือ allergen-specific IgE serology test ได้ แต่มีการศึกษาพบว่าสามารถพบ positive test ได้แม้แมวไม่มีรอยโรคใดๆ เลยก็ตาม และอีกการศึกษาหนึ่งพบว่าการทำ live flea challenge ให้ผลการทดสอบที่แม่นยำกว่า แต่ทำได้แค่ในแลปเท่านั้น บนคลินิคปฏิบัติจึงอาจทำการวินิจฉัยแบบ trial therapy โดยการกำจัดหมัดด้วยวิธีต่าง ๆ จากตัวแมว เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 9 สัปดาห์ และดูการตอบสนองต่อการรักษา หากไม่มีหมัดแล้วมีการตอบสนองดีก็มีแนวโน้มที่สาเหตุการแพ้จะมาจากหมัด
    ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์กำจัดหมัดหลายชนิดในท้องตลาด โดยสารออกฤทธิ์ที่มีฤทธิ์กำจัดหมัดได้แก่ imidacloprid, moxidectin, fipronil, (S)-methoprene และ selamectin ในบางผลิตภัณฑ์อาจมีสารออกฤทธิ์มากกว่า 1 ชนิดเพื่อครอบคลุมการกำจัดหมัดทั้งวงจรชีวิต อย่างไรก็ตามการกำจัดหมัดควรทำทั้งบนตัวสัตว์โดยใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเป็นประจำสม่ำเสมอและในสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะไข่หมัดสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่นและชื้น ดังนั้นในบ้านควรจะมีการดูดฝุ่นทำความสะอาดโดยเฉพาะตามพื้นพรมและเฟอร์นิเจอร์ รวมไปถึงพื้นที่นอกบ้าน เช่นสนามหญ้าที่แมวออกไปเดินขับถ่ายควรจะมีการตัดให้สั้นจนแดดส่องถึงได้ และหากมีการเลี้ยงแมวหลายตัวหรือเลี้ยงร่วมกับสัตว์ชนิดอื่น สัตว์ทุกตัวในบ้านควรมีการทำโปรแกรมกำจัดหมัดไปพร้อมๆ กัน

    1. DEMODECOSIS

    ไรขี้เรื้อนเปียกในแมวสามารถเกิดจากไร Demodex cati, Demodex gatoi หรือ unnamed Demodex sp. การติดเชื้อสามารถติดมากกว่า 1 ชนิดได้ D.cati จะมีการเข้าไปอยู่ใน hair follicle และเก็บกินเศษเซลล์และผิวหนังของแมว บริเวณที่มีการติดเชื้อจะมีลักษณะเป็น patchy alopecia, erythema, scaling และ crusting ร่วมกับอาการคัน สามารถทำให้เกิดรอยโรคแบบ localize หรือ generalize dermatitis ก็ได้ หากเกิดแบบ localize รอยโรคมักจะอยู่ที่เปลือกตา รอบดวงตา หัว และคอ และมักจะหายได้ด้วยตนเอง ส่วนการเกิดแบบ generalize มักจะพบรอยโรคบริเวณหน้าก่อน จากนั้นขยายไปยังคอ ตัว และขา รอยโรคจะเป็นแบบ circumscribed to diffuse alopecia, scaling, erythema, hyperpigmentation และ crusting การเกิด generalize demodicosis จาก D.cati นั้นมักเกิดได้จาก underlying disease เช่น diabetes mellitus, feline leukemia virus infection, systemic lupus erythematosus, hypercortisolism, feline immunodeficiency virus infection, หรือ squamous cell carcinoma in situ หากมีภาวะดังกล่าวการรักษา demodicosis อาจทำได้เพียงควบคุมไม่ให้เป็นมากขึ้นมากกว่าทำให้หายขาด ส่วนการติดเชื้อ D. gatoi จะทำให้เกิดการอักเสบที่ไม่รุนแรง ทำให้เกิดภาวะ hypersensitivity มักพบตัวไรอยู่ในชั้น stratum corneum มากกว่าอยู่ใน hair follicle แมวที่มีการติดเชื้อจะพบรอยโรคเป็น non-inflammatory traumatic alopecia โดยมักพบที่บริเวณด้านข้างลำตัว ด้านข้างท้อง และท้องส่วนล่าง ผิวหนังบริเวณนั้นอาจเกิด erythema, scaly, hyperpigmented ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นและระดับความคันของแมว ดังนั้นการวินิจฉัยแยกแยะการติดเชื้อ D.gatoi นั้นจะต้องมีการคำนึงถึงโรคผิวหนังของแมวที่เกี่ยวกับ excessive grooming คือ psychogenic alopecia, atopy, food hypersensitivity, feline scabies, contact dermatitis และ fleabite hypersensitivity ด้วย
    การรักษา generalized demodicosis สามารถพิจารณาใช้ milbemycin oxime 1-2 mg/kg PO q24h ร่วมกับ lime sulfur solution (ผสม lime sulfur 1 oz ในน้ำอุ่น 15 oz) ทาบริเวณรอยโรคโดยไม่ต้องล้างออก 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ สำหรับผลิตภัณฑ์ spot on จากอ้างอิงสามารถพิจารณาใช้ 10% moxidectin + 2.5% imidacloprid q1-2wk ได้เช่นเดียวกัน

    1. FELINE SCABIES

    ไรขี้เรื้อนแห้งในแมว เกิดจากไร Notoedes cati ซึ่งมีแมวเป็นโฮสต์แต่ก็สามารถติดจิ้งจอก สุนัข และกระต่ายได้ เกิดการติดต่อได้ง่าย หากมีการติดต่อมักเป็นทั้งครอกหรือทั้งฝูง ไรชนิดนี้เป็น obligate parasite คือจะต้องใช้ชีวิตอยู่บนตัวโฮสต์ จะอยู่นอกตัวโฮสต์ได้ไม่นาน ไรชนิดนี้ต่างจากไรในหูตรงที่เป็นไรขุดโพรง เมื่อตัวไรมีการขุดโพรงที่ผิวหนัง จะทำให้ผิวเกิดการหนาตัว ย่น และมีสะเก็ดปกคลุม สามารถเกิดขนร่วงและ excoriation ซึ่งเกิดจากการเกา-คันได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมาได้ ตำแหน่งรอยโรคที่มักพบเริ่มแรกคือบริเวณปลายหู และมีการขยายต่อไปยังใบหู หน้า เปลือกตา และคอ นอกจากนี้ยังสามารถพบรอยโรคบริเวณเท้าและก้น (perineum) ได้จากพฤติกรรมการนอนขดของแมว หากรอยโรคมีการขยายเป็นวงกว้างสามารถเจอภาวะ lymphadenopathy ได้ การวินิจฉัยสามารถทำได้โดยการทำ superficial skin scraping จากตำแหน่งรอยโรค และจะต้องมีการวินิจฉัยแยกแยะรอยโรคออกจากการติดไรในหู ภาวะ atopy, food hypersensitivity, pemphigus foliaceus/erythematosus และ systemic lupus erythematosus ที่มีรอยโรคคล้ายคลึงกัน
    การรักษาสามารถใช้ ivermectin 0.2-0.3 mg/ kg SC q14d หรือ selamectin 6-12 mg/kg topically q14-30d ติดต่อกัน 2 โดส และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ fipronil และ moxidectin ก็มีฤทธิ์กำจัดไรขี้เรื้อนได้เช่นกัน นอกจากนี้ในหนังสือมีการแนะนำการใช้ 2-3% lime sulfur ทาหรือจุ่มบริเวณรอยโรคทุก 7 วัน ติดต่อกัน 6-8 ครั้ง แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนยังไม่เคยใช้การรักษานี้ หลังรอยโรคมีการพัฒนาดีขึ้นอาจมีการพิจารณาทำ superficial skin scraping อีกครั้งเพื่อติดตามผลการรักษา
    BACTERIAL INFECTION

    การติดเชื้อแบคทีเรียในแมวนั้นเกิดได้ยากส่วนมากมักจะเป็น subcutaneous abcess มากกว่าการติดเชื้อบนผิวหนังทั่วไป abcess ในแมวมักเกิดการติดเชื้อจากการกัดกัน ซึ่งวิธีการรักษาคือการทำ surgical drainage และ flush ล้างด้วย saline หรือ chlorhexidine solution ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะติดต่อกัน 1 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย อาจมีการพิจารณาเพาะเชื้อ ตรวจหาความไวรับต่อยาและทำ cytology ร่วมด้วย หากเกิดการ recurrent หรือไม่หายอาจต้องมีการสงสัยการติดเชื้ออื่นๆ ร่วมด้วย เช่น FeLV, FIV ซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น Actinomyces spp., Nocardia spp., Yersinia pestis, mycobacteria และ mycoses
    Superficial folliculitis ในแมวมักมีรอยโรคที่ไม่จำเพาะเช่น crusted popular eruption หรือ miliary dermatitis, alopecia, scaling ที่หัวและคอซึ่งคล้ายกับ dermatophytosis หรือ demodicosis เชื้อที่เพาะได้มักจะเป็น Staphylococcus spp., Streptococcus spp. และ Pasturella multocida
    YEAST INFECTION

    การเกิด malassezia dermatitis ในแมวเจอไม่มากในแมวเช่นเดียวกัน หากติด black & waxy otitis externa, recalcitrant feline chin acne, refractory paronychia, generalized erythematous scaly to waxy dermatitis และ facial dermatitis ที่จะมี scales และ follicular casts การเกิดการติดเชื้อซ้ำ ๆ อาจบ่งบอกถึงโรคทางระบบอื่น ๆ เช่น FIV ได้ วิธีการวินิจฉัยสามารถทำ skin cytology จากการทำ cotton swab smear, acetate tape technique หรือ impression smear ก็ได้ แนวทางการรักษา สามารถใช้แชมพูยา โลชั่น หรือ เสปรย์ ที่มีส่วนผสมของ miconazole และ/หรือ chlorhexidine ได้ โดยฟอกทุกๆ 3 วัน อาจมีการพิจารณาจ่ายยา itraconazole 5 mg/kg PO sid ร่วมด้วยได้ในกรณีที่มีความรุนแรงมาก
    โดยสรุปแล้วสาเหตุของโรคผิวหนังในแมวที่เกิดการจากการติดเชื้อควรจะต้องถูกวินิจฉัยและ rule out ออกก่อนจะทำการวินิจฉัยหาสาเหตุอื่น ๆ อาทิ ภูมิแพ้ต่าง ๆ ทั้งภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้สิ่งแวดล้อม หรือ ภาวะ atopy หรือโรคผิวหนังที่เกิดจากมะเร็งและเนื้องอก หากสาเหตุต่างๆ ถูก rule-out ทั้งหมดแล้วจึงสงสัยในกลุ่มโรคผิวหนังที่เกิดจากพฤติกรรม ซึ่งโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อในแมวนั้น ส่วนมากสาเหตุจะมาจากปรสิตภายนอกและเชื้อราเป็นหลัก การติดเชื้อแบคทีเรียและยีสต์อาจพบไม่บ่อยเท่าสุนัข แต่ก็เป็นสาเหตุที่สัตวแพทย์ไม่ควรมองข้าม
    References

    1. Bond R., Hutchinson M.J. and Loeffler, A. 2006. Serological, intradermal and live flea challenge tests in the assessment of hypersensitivity to flea antigens in cats (Felis domesticus). Parasitol Res 99(4): 392-397.
    2. Cornell University College of Veterinary Medicine. 2014. “Feline Skin disease.” [Online]. Available: https://www.vet.cornell.edu. Accessed December 8, 2022
    3. Diesel A. 2017. Cutaneous hypersensitivity dermatoses in the feline patient: a review of allergic skin disease in cats. Vet Sci 4(2): 25.
    4. Frymus T., Gruffydd-Jones T., Pennisi M. G., Addie D., Belák S., Boucraut-Baralon C., Egberink H., Hartmann K., Hosie M.J., Lloret A., Lutz H, Marsilio F., Möstl K., Radford A.D., Thiry E., Truyen U. and Horzinek M.C. 2013. Dermatophytosis in cats: ABCD guidelines on prevention and management. J Feline Med Surg 15(7): 598-604.
    5. Karen A.M. 2011. “Treatment of Demodicosis in Dogs & Cats.” [Online]. Avaliable: https://www.cliniciansbrief.com. Accessed December 29, 2022
    6. Knaus M., Capári B. and Visser M. 2014. Therapeutic efficacy of Broadline® against notoedric mange in cats. Parasitol Res. 113(11): 4303-4306.
    7. Muller G.H., Kirk R.W. and Scott D. W. 1989. Small animal dermatology (No. Ed. 4). WB Saunders Company.
    8. Papich M.G. 2020. Papich Handbook of Veterinary Drugs-E-Book. Elsevier Health Sciences.


เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized