- ไม่ได้ปลูกเป็นอุสาหกรรม
- ไม้ต้น ต้นสูงมากๆ ปีนขึ้นไปฉีดไม่คุ้ม เช่น สะเดา ผักติ้ว(แต้ว) เพกา สะตอ
- และพืชที่มีกาบหุ้ม เช่น หัวปลี หน่อไม้
สารเคมีตกค้างมากสุด
กวางตุ้ง
คะน้า
ถั่วฝักยาว
พริก
แตงกวา
กะหล่ำปลี
ผักกาดขาวปลี
ผักบุ้งจีน
มะเขือ
ผักชี
ปนเปื้อนของเชื้ออีโคไลและเชื้อซาลโมเนลลา
เชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษ ผักที่นิยมรับประทานแบบสดๆ เช่น
ผักกาดหอม กะหล่ำปลี
ต้นหอม ผักชี ผักชีฝรั่ง
โหระพา สะระแหน่
ใบบัวบก ถั่วพู แตงกวา
ใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ในการเพาะปลูก เชื้อเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในลำไส้ของสัตว์และถูกขับถ่ายออกมากับมูลของสัตว์ เมื่อนำปุ๋ยจากมูลสัตว์มาใช้ในการเกษตรเชื้อโรคนี้ก็อาจปนเปื้อนในผลผลิตได้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารได้
- ผักสดที่สะอาด ต้องไม่มีคราบดินหรือคราบขาว (เคยเห็นที่แมคโคร ผักกาดขาว) ซึ่งเป็นคราบของสารพิษกำจัดศัตรูพืช หรือมีเชื้อราตามใบ ซอกใบ ก้านผัก ต้องไม่มีสีขาวหรือมีกลิ่นฉุนผิดปกติ
- เลือกซื้อผักสดที่มีรูพรุนเป็นรอยกัดแทะของหนอนแมลงอยู่บ้างเพราะเมื่อหนอนยังกัดเจาะผักได้ แสดงว่าผักนั้นมีสารพิษกำจัดศัตรูพืชในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายมาก ไม่ควรเลือกซื้อผักที่มีแต่ใบสวยงาม แต่ในอีกความรู้หนึ่งให้เลือกที่ไม่มีแมลงกัดเลย เพราะ ถ้ามีแมลงกัด เช่น คะน้า จะต้องฉีดมากขึ้นไปอีก แต่ถ้าไม่มีแมลงกัดจะเป็นการฉีดตามรอบ อีกตำราบอกว่า เชื่อถืือไม่ได้ทั้งนั้น เพราะ คนปลูกรู้ทริคนี้ก็ปล่อยให้แมลงกินซักพักแล้วค่อยฉีดยา
- ซื้อผักสดอนามัยหรือผักกางมุ้ง ตามโครงการพิเศษของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือจากแหล่งเพาะปลูกที่เชื่อถือได้ ซึ่งสามารถสังเกตที่ตรารับรองคุณภาพของผัก ที่มอบให้โดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เช่น ตรารับรองคุณภาพระบบตรวจสอบสารพิษ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หรือสัญลักษณ์รับรองสินค้าเกษตรและอาหารจากกรมวิชาการเกษตร (เป็นเครื่องหมายรูปตัว Q)
- เลือกกินผักตามฤดูกาลเนื่องจากผักที่ปลูกได้ตามฤดูกาลจะมีโอกาสเจริญเติบโตได้ดีกว่านอกฤดูกาล ส่งผลให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี และปุ๋ยเคมีลง และควรเลือกกินผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ที่สามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ง่าย เช่น
ผักแว่น ผักหวาน ผักติ้ว ผักกระโดน ใบย่านาง ใบเหลียง ใบยอ กระถิน ยอดแค - ไม่กินผักชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำ ควรกินผักให้หลากหลายชนิด จากหลายแหล่งปลูก สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปเพื่อได้รับประโยชน์ทางด้านโภชนาการครบถ้วน และหลีกเลี่ยงการรับพิษจากสารเคมีที่อยู่ในผักซึ่งจะไปสะสมอยู่ในร่างกาย
วิธีการล้างผักนี้ ลดสารเคมีกลุ่มที่ไม่ดูดซึม ได้แก่ เมทธิลพาราไธออน มาลาไธออน ได้ตั้งแต่ 6-92%
ยิ่งถ้าใช้แปรงขนอ่อนถูตาม ผิว ซอก ของผักสด ยิ่งจะช่วยให้ผักสะอาดขึ้นด้วย
- ปอกเปลือกหรือลอกเปลือกชั้นนอกของผักสดออก
ถ้าเป็นต้นหรือเป็นหัวให้แกะเป็นกลีบหรือแกะใบออกจากต้นทิ้งแล้วนำไปแช่น้ำ 10-15 นาที จากนั้นจึงล้างด้วยน้ำไหลผ่าน 2 นาที ซึ่งจากการศึกษาของกรมวิชาการเกษตร การลอกเปลือกทิ้งสามารถลดสารเคมีที่เกาะติดตามผิวผักผลไม้ได้มากที่สุดถึง 92% - ล้างผักสดด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง และคลี่ใบถู หรือล้างด้วยการใช้น้ำไหลผ่านผักสดนานอย่างน้อย 2 นาที หรือใช้สารละลายอื่นๆในการล้างดังนี้
น้ำเกลือ (เกลือ 2 ช้อนโต๊ะพูนต่อน้ำ 4 ลิตร)
น้ำปูนคลอรีนที่มีความเข้มข้น 50 พีพีเอ็ม (ผงปูนคลอรีน 1/2 ช้อนชา ในน้ำ 1 แก้ว คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ให้ตกตะกอน รินเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำใสแล้วผสมน้ำสะอาดลงไป 20 ลิตร)
น้ำส้มสายชู (น้ำส้มสายชู ½ ถ้วยต่อน้ำ 4 ลิตร)
น้ำโซดา (โซเดียมไบ-คาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร) - ผักหัว ผล ใช้น้ำผสมด่างทับทิม (10-20 เกล็ด) + น้ำส้มสายชู (1 ช้อนโต๊ะ) + หยดสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 20 หยด แช่นาน 5 นาที โดยใช้มือถูตามผิวของหัวหรือผลของผัก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 1-2 ครั้ง
กระถิ่นที่ปลูกขายนี่ต้องฉีดยาฆ่าเพลี้ยไก่ฟ้า ถ้าไม่ฉีดยอดมันจะหงิกใบร่วงและมีตัวเพลี้ยสีเหลืองๆ ติดมาด้วย
ผักหวาน ฉีดไม่ได้เพราะมันแพ้สารเคมีทุกชนิด
ผักสลัดเป็นผักปลอดสารพิษแต่ไม่ใช่ผักปลอดสารเคมี เพราะใช้ปุ๋ยเคมีเป็นอาหาร
เอาไปใส่น้ำให้ท่วมราก ตากแดด ไม่ต้องกลัวเหี่ยว สารพิษจะถูกทำลายได้
รู้เท่าทัน ทำไม ผักไฮโดรโปนิกส์ จึงเป็นผักปนเปื้อนสารพิษ
ถึงตอนนี้ หลายคนอาจมีคำถามว่า แล้วทำไม ผักไฮโดรโปนิกส์ จึงเป็นผักปนเปื้อนสารพิษไปได้
คำถามนี้ มีคำตอบจาก ไบโอไทย ระบุชัดเจนว่า สาเหตุที่พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานในผักไฮโดรโปนิกส์มากกว่าผักปลูกโดยใช้ดิน เนื่องจาก
- ส่วนใหญ่ผักไฮโดรโปนิกส์ปลูกอยู่ในโรงเรือนที่มีร่มเงา ผนังกั้น ดังนั้น สารเคมีกำจัดโรคและกำจัดแมลงที่ฉีดพ่นไปที่ผักจึงสลายตัวด้วยแสงแดดช้ากว่า ไม่ถูกชะล้างด้วยฝนหรือน้ำเหมือนผักทั่วไป ทำให้สะสมอยู่ในโรงเรือนและวัสดุปลูก และไม่ถูกสลายด้วยจุลินทรีย์ในดิน
- ฟาร์มไฮโดรโปนิกส์ส่วนใหญ่ทั้งระบบปิดและเปิด ต่างใช้สารเคมีกำจัดแมลงและกำจัดเชื้อรา
- ผักไฮโดรโปนิกส์สามารถดูดซึมสารละลายไนเตรทอย่างรวดเร็วโดยตรง และมีโอกาสสะสมอยู่ในส่วนต่างๆ ได้ง่ายกว่าผักที่ปลูกบนดิน
- กระบวนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มีการใส่สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งผสมอยู่ในสารละลายปุ๋ยเคมีและสะสม ทำให้สารเคมีนั้นยังคงตกค้างอยู่ในผักหลังการเก็บเกี่ยว
..
ผักสดที่ใช้ปุ๋ยคอกในการปลูก หรือปลูกในพื้นที่ที่มีการทำปศุสัตว์ อาจเสี่ยงมีเชื้ออีโคไลที่มากับมูลของสัตว์ เช่น วัว ควาย และอาจเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้ผู้ที่ได้รับเชื้อมีอาการท้องเสีย อุจจาระร่วงได้
สลัดผักที่ถูกบรรจุอยู่ในถุงเป็นเวลานาน จนเกิดน้ำขุ่นๆ ที่ก้นถุง อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อซาลโมเนลลา ที่ทำให้เรามีอาการท้องเสีย อุจจาระร่วงได้
ตำลึงสารตกค้าง
https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1284127