• May 29, 2017

    เราจะมั่นใจได้อย่างไรกับบริษัทรับจดโดเมน ที่มีหลากหลายให้เลือกใช้งานกันทั่วโลก

    นิยามคำศัพท์ของการใช้บริการโดเมน

    registrar หมายถึง ผู้ที่รับใบอนุญาติประกอบการจดโดเมนจาก ICANN ที่ควบคุมโดเมนอยู่ทั่วโลก
    (ตัวอย่าง registrar ได้แก่ Goddady.com, DirectI, OnlineNIC, Name.com, …)

    registry คือนายทะเบียน ที่ควบคุม กำกับ ดูแลนโยบายการให้บริการ, ราคา และการให้บริการ ดอท ต่างๆ แตกต่างกันไป
    (ตัวอย่าง registry เช่น .com .net .cc ดูแลโดย verisign .info ดูแลโดย Afilias NeuLevel ดูแลโดย NeuLevel เป็นต้น)

    reseller คือผู้ให้บริการที่รับโดเมนมาจาก registrar ตรงแต่ support โดยผู้ที่รับโดเมนมาขายต่อ
    Backorder คือการจับจองชื่อโดเมนที่มีเจ้าของอยู่แล้ว ผ่านผู้ให้บริการรับจดโดเมนนั้นๆ
    After Market คือ การขายทอดตลาดโดเมน เพื่อทำกำไรของ registrar
    Parking Page คือหน้าที่มีโฆษณาทั้งหน้าเว็บไซต์ รวมถึงมีลิงก์ไปยังผู้ให้บริการ (registrar)

    แต่ละเจ้า ต่างก็มีวิธีทางการตลาดแตกต่างกันไปครับ
    ทั้งนี้ทั้งนั้น ปัจจัยที่ทำให้ราคาโดเมนแต่ละ ดอท แตกต่างไม่เท่ากันก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของ registry แต่ละเจ้าครับ

    การเริ่มเป็น registrar มีไม่กี่ขั้นตอนครับ
    เพียงยื่นใบขออนุญาติ วางเงินประกัน และตั้งระบบจดทะเบียน ก็สามารถเริ่มรับจดโดเมนได้แล้ว
    ในส่วนนี้ จะแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
    1. ค่าธรรมเนียมการยื่นขอจดทะเบียนต่อ ICANN ในส่วนนี้จะจ่ายครั้งเดียวครับ
    2. ค่าธรรมเนียมสมาขิก ICANN รายปี
    3. ค่าบริการ registry + ค่าธรรมเนียม icann (อันนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละ TLD + 0.20$ เป็นค่าบำรุงระบบ ICANN* ครับ)

    ค่าบำรุงระบบ ICANN จะถูกคิดเฉพาะโดเมนในกลุ่ม Global TLD (gTLD) ได้แ่ก่ .com, .net, .org, .biz, .info, .name, .jobs, .mobi, และ .asia.

    [b]ช่องทางการหารายได้ของ registrar แต่ละแห่ง[/b]

    วิธีแบบ classic สุดๆเลยก็คือการขายโดเมน + กำไรครับ
    เช่นรับจาก registry มา 7.06$ ก็ตั้งราคาขาย 8.99$ นั่นคือกำไร 1.93$ ต่อโดเมน

    แต่วิธีนี้เห็นจะเป็นเม็ดเงินที่ไม่มากครับ และอยู่ลำบากในวงการนี้
    เมื่อเทียบกับ registrar อันดับหนึ่งของโลกอย่าง Goddady ที่มีทั้งยอดจด/อัตราการจดสูงสุดของโลก
    เป็นเวลาติดต่อกันมาหลายปีัแล้วครับ……..

    ส่วนต่อๆไปคือการหารายได้จาก parking page ซึ่งตามปกติ เมื่อโดเมนเราเพิ่งจดแล้วยังไม่ได้แก้ Name Server
    โดเมนของเราจะถูกชี้ไปที่ park name server ซึ่งรายได้จากโฆษณาในหน้านี้ทั้งหมด จะเป็นของ registrar

    กระบวนการหาเงินก้อนโตของ registrar กับขายทอดตลาดโดเมน (After Market) และบริการชิงจดโดเมน (BackOrder)
    ในหัวข้อนี้จะพูดถึงการหาเงินของ registrar กับโดเมนลูกค้าที่จด ซึ่งเป็นสิทธิ์ของผู้ให้บริการครับ
    ว่าจะเปิดบริการในส่วนนี้หรือไม่? ซึ่งตามปกติถ้า registrar ที่ไม่มีบริการในส่วนนี้ หลังจากจดโดเมนแล้ว
    ผู้ที่ใช้บริการจดโดเมน จะมีสิทธิ์ในการต่ออายุโดเมนของตนเอง เป็นระยะเวลาสูงสุดถึง 85 วัน (สำหรับโดเมน .com ครับ)

    สำหรับผมเอง ถ้าเป็นโดเมนที่สำคัญๆผมเลือกที่จะจดโดเมนกับเจ้าที่ไม่มีบริการนี้ครับ
    อย่างน้อยยอมเสียแพงกว่า แต่มีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของโดเมนได้นานขึ้นจะดีกว่า

    กระบวนการขายทอดตลอดเวลาหมดอาุยุ (โดยปกติ icann ให้โอกาสที่จะต่ออาุยุ 85 วันครับ*)
    * แต่ถ้า registrar ที่มีการขายทอดตลาดโดเมน โอกาสในการต่ออายุจะสั้นลงตามส่วน

    ตัวอย่างการขายทอดตลาดมีหลายรูปแบบครับ แตกต่างกันไป เช่นการซื้อขาด (Buy It Now) การประมูล (Action) หรือการเสนอราคา (Best Offer) ครับ

    ที่เห็นกันได้หลักๆเลยก็จะมี
    Goddady.com ->>>>http://tdnam.com
    Name.com ->>>> http://www.name.com/expired_domains.php
    OnlineNIC.com ->>>> http://onlinenic.com/ODNAM
    Enom.com ->>>> http://www.namejet.com
    Moniker.com ->>> http://www.snapsname.com
    และยังมีอีกหลายเจ้าครับ สังเกตุง่ายๆคือราคาโดเมนจะขายต่ำกว่าราคาทุน ทำให้คนแห่กันไปใช้บริการกัน Smiley

    จากเหตุนี้เอง ใครอยากได้ชื่อโดเมนที่่มีเจ้าของแล้ว (อาทิ ThaiSEOBoard.com) Cheesy
    สามารถเลือกใช้บริการกับเว็บไซต์เหล่านี้ได้ครับ

    ปล.ผมเองใช้ DirectI ซึ่งก่อนหน้านี้ ผมคุยกับหัวหน้าฝ่ายการตลาดของบริษัท
    เค้าบอกว่าเคยคิดที่จะเปิดเหมือนกันครับ แต่เค้าคิดว่า เน้นคุณภาพ ความมั่นใจ ของผู้ใช้บริการ
    ดีกว่ายอมเสียชื่อกับบริการเหล่านี้ครับ ตอนนี้เลยปิดบริการ After market ถาวรครับ

    วิธีตรวจสอบว่าจดโดเมนกับ registrar เจ้าไหนอยู่??

    วิธีการตรวจสอบว่าเราใช้ registrar เจ้าไหนอยู่
    สามา่รถใช้เครื่องมือ whois ได้เลยครับ

    แบบง่ายๆสุดก็เติม who.is/ ไปหน้าเว็บไซต์ที่กำลังเข้าใช้งานอยู่ หรือต้องการตรวจสอบ
    เช่น

    อ้างถึง
    who.is/http://www.google.com
    who.is/google.com
    who.is/http://www.google.com/xxxx
    who.is/http://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,69358.0.html

    ข้อมูลที่ได้ออกมา จะแสดง registrar ของเราครับ

    ตัวอย่างของเว็บผมเอง
    ได้ผลลัพธ์คือ DirectI หรือ PublicDomainRegistry ครับ
    อ้างถึง
    Domain Name: dotsiam.com

    Registrar: DIRECTI INTERNET SOLUTIONS PVT. LTD. D/B/A PUBLICDOMAINREGISTRY.COM
    Whois Server: whois.PublicDomainRegistry.com
    Referral URL: http://www.PublicDomainRegistry.com
    Status: OK

    Expiration Date: 2012-02-26
    Creation Date: 2007-02-26
    Last Update Date: 2009-05-22

    ตัวอย่างของ thaiseoboard.com
    ได้ผลลัพธ์คือ Goddady
    อ้างถึง
    Domain Name: thaiseoboard.com

    Registrar: GODADDY.COM, INC.
    Whois Server: whois.godaddy.com
    Referral URL: http://registrar.godaddy.com
    Status: clientDeleteProhibited, clientRenewProhibited, clientTransferProhibited, clientUpdateProhibited

    Expiration Date: 2010-08-11
    Creation Date: 2006-08-11
    Last Update Date: 2008-09-14

    ลองใช้กับโดเมนของตัวเองดูนะครับ ว่าใช้ registrar เจ้าไหนกันอยู่ครับ

    ปล.อยาก backorder โดเมนใครก็เลือกบริษัทให้ถูกด้วยนะครับ อย่างน้อยก็รู้แล้ว!! ไทยเสียวใช้ Goddady Grin

    ลำดับขั้นการให้บริการจดโดเมน
    เมื่อคุณคิดจะเลือกจดโดเมน
    ตามปกติจะไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่กับ registrar ว่าใคร จดโดเมนที่ไหนอย่างไรใช่ไหมครับ?
    แต่จริงๆแล้ว registrar เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่บ่งชี้ถึงชะตากรรมของโดเมนเรา เมื่อถึงเวลาต่ออายุครับ
    ถ้าใช้กับเจ้าที่ขาย backorder/after market ล่ะ ระยะเวลาการต่ออายุของเราก็จะัสั้นลงครับ

    registrar แต่ละแห่งมีการทำการตลาดแตกต่างกันไป

    อาทิเช่น
    ขายกับลูกค้าโดยตรง โดยส่วนมากจะใช้การตัดบัตรเครดิตเป็นส่วนใหญ่ครับ
    ตัวอย่างเช่น name.com, goddady.com, register.com เป็นต้น

    ขายผ่านการกิน % ยอดขายของนายหน้า อันนี้เป็นอีกหนึ่งช่องทางการเพิ่มยอดขายของ registrar
    โดยจะเปิดใ้ห้สมัครและเปิดหน้าร้านรับจดโดเมนเป็นของตัวเองเลย ภายใต้ระบบของ registrar
    ในส่วนนี้คนที่เปิดรับจดมีหน้าที่เพียง promote หรือลงโฆษณาตามเว็บต่างๆเพื่อให้มีการสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ aff ของตนเองครับ
    ตัวอย่างเช่น wildwestdomain.com, การซื้อ goddady ผ่านลิงก์ cj.com เป็นต้น

    ขายผ่านตัวแทนจำหน่าย ในส่วนนี้จะเป็นการขายผ่าน reseller ย่อยเท่านั้น
    วิธีนี้มีข้อดีคือ สามารถ support ลูกค้าได้ทั่วถึง มีการให้บริการในภาษาของประเทศนั้นๆ เช่น ภาษาไทย
    ส่วนใหญ่จะเน้นขายโดเมนในราคาสูงกว่าทุนเล็กน้อย เพื่อให้ reseller สามารถนำไปให้บริการต่อได้

    แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน สำหรับ reseller บางเจ้าที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า หรือมีการ support ที่ไม่ดีเท่าที่ควร
    ในส่วนนี้โดเมนของเราเองก็อาจจะตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการถูกขโมย/มีปัญหาครับ

    ตัวอย่าง registrar ที่ให้บริการแบบนี้เช่น DirectI, eNom, OnlineNIC
    ส่วนตัวอย่าง reseller ที่ให้บริการขายกันทั่วไปเช่น dotsiam.com, hostneverdie.com, hbdhosting.com, jotdomain.com เป็นต้น

    ความเสี่ยงในการใช้บริการจดโดเมน
    การเลือกจดโดเมนทุกวันนี้ ถ้าเน้นแต่ราคาถูกอย่างเดียว
    อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการจดโดเมนครับ

    เพราะที่ผ่านมา registrar หลายแห่งมีปัญหากับผู้ใช้บริการ รวมถึงการถูกขโมยชื่อโดเมน
    ทั้งหลายทั้งปวงเป็นปัจจัยที่ทำให้โดเมนของเราตกอยู่ในความเสี่้่ยงครับ

    ก็อยู่ในเราเองนั่นแหละครับ ว่าจะเลือกใช้ registrar เจ้าไหน จะเลือกเจ้าเล็ก เจ้าใหญ่
    แต่สำหรับผมเอง ถ้าเลือกใช้บริการแล้ว หลักๆมีดังนี้ครับ
    – มี ขายทอดตลาดโดเมน หรือบริการ BackOrder(จองโดเมนที่มีเจ้าของแล้ว) หรือไม่?
    – ประวัติที่ผ่านมา มีปัญหากับผู้ใช้บริการอย่างไรบ้าง

    ซึ่งทั้งสองหลัก อาจจะใช้คัดกรอง registrar ได้พอสมควรเลยทีเดียวครับ

    ความมั่นคงของ registrar
    อีกหนึ่งปัจจัยในการใช้งานโดเมนคือ registrar ที่ทำหน้าที่่ดูแลโดเมนของเราครับ
    ในการจดโดเมน ถ้าหากเลือก registrar ที่ไม่มั่นคงแล้ว โดเมนของเราก็ตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน

    กล่าวคือ ตัวอย่างในอดีตที่เกิดขึ้นมีมากมายครับ
    อาทิเช่น EstDomains เปิดให้จดโดเมน (ตอนนั้นต้นทุนคือ $6.88/domain)
    แต่ Est เปิดให้ reseller จดในราคา $6.29 ทุกชื่อ ทุกโดเมน
    Registrar เจ้านี้มีการเติบโตที่เร็วมากครับ….
    คนจดโดเมนเพิ่มจาก 1,000 โดเมนเป็น 200,000 กว่าชื่อ ในเวลาไม่ถึงปี

    แต่สุดท้ายปัญหาที่พบกับลูกค้่าก็เยอะแยะมากมายครับ อาทิเช่น ถูกขโมยชื่อโดเมน
    โค๊ด:
    http://www.google.co.th/search?q=estdomain&hl=th&client=firefox-a&rls=org.mozilla:th-TH:official&hs=vp4&start=0&sa=N

    สุดท้ายทั่วทั้งโลกก็ต้องเข้าใจว่า การที่ EstDomain ยอมขายราคาต่ำกว่าทุน
    ก็เพราะใช้ธุรกิจนี้บังหน้ากับธุรกิจฟอกเงินยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งในเยอรมันนั่นเองครับ
    และตอนนี้ก็ถูก deaccredited ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว……..

    ปัญหาที่ตามมาหลังจากที่ถูก deaccredited ก็คือเราไม่สามารถดำเนินการใดๆกับโดเมนของเราได้เลย
    ทั้งจดโดเมนใหม่ ย้ายโดเมน ต่ออายุ รวมถึงยอดเงินที่เราเติมเงินเข้าบัญชีจดโดเมนไปแล้ว
    นั่นหมายถึงเงินทั้งหมดของเราก็พลอยถูกยึดหายไปด้วย
    ที่สำคัญ!! ถ้าหากโดเมนเราหมดอายุหรือเราต้องการแก้ name server ในช่วงนี้
    ไม่สามารถทำอะไรได้เลยครับ !!!

    ระยะเวลากว่าจะผ่านช่วงนั้นมาไำด้ เกือบๆ 3 เดืิอนครับ
    ใครที่จดโดเมนกับ EstDomains คงจะเข้าใจดีนะครับ…. ผมด้วยล่ะคนนึง

    อีกบริษัทหนึ่งที่กำลังเจอปัญหาเดียวกันนั่นคือ OnlineNIC ครับ
    แต่คนละ case กันกล่าวคือ OnlineNIC แพ้คดีที่ถูก Verizon ฟ้องนั่นเอง
    (อ่านต่อ: http://www.thaihosttalk.com/index.php?topic=16629 )

    ดังนั้นอีกวิธีหนึ่งในการพิจารณาเลือกใช้งาน registrar คือต้องเลือก registrar ที่เปิดให้บริการมาเป็นระยะเวลานาน…
    มีความน่าเชื่อถือ และมีโดเมนที่ดูแลอยู่จำนวนมาก อย่างน้อยก็ทำให้เราอุ่นใจได้ในระดับหนึ่งครับ…….

    กราฟแสดงโดเมนของแต่ละ registrar
    PUBLIC DOMAIN REGISTRY: Total Domains Trend

    OnlineNIC.Com

    GO DADDY โตไวมากๆครับ เหตุผลลองกลับไปอ่านหัวข้อในกระทู้ดู

    ภาพรวม registrar ทั่วโลกครับ

    สรุปจากประเด็นนี้คือ อย่าคิดจะจดแต่โดเมนราคาถูกนะครับ พอมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วใครก็ช่วยเราไม่ได้ครับ Tongue

    จะมั่นใจได้อย่างไร ถ้าใช้บริการกับ domain reseller?
    อันนี้เป็นคำถามที่ีหลายคนอาจจะสงสัย แต่หาคำตอบไม่เจอครับ
    ว่าจดโดเมนกับคนไทยด้วยกันมั่นใจแล้ว จะมั่นใจได้อย่างไรกับคนที่รับจดโดเมนกับเรา

    อย่างแรกเลยดูเลยครับ ว่าใช้ registrar เจ้าไหน

    หลังจากนั้นแนะนำว่าควรเลือกจดกับผู้ให้บริการที่เปิดให้บริการมาแล้วเป็นเวลานานพอสมควร…
    เพราะปัจจุบันนี้มีผู้ให้บริการรายใหม่เยอะมาก แต่ที่เลิกกิจการไปก็เยอะเช่นกันครับ
    (ตัวอย่างที่มีปัญหาเยอะๆ: http://www.thaihosttalk.com/index.php?board=34.0 )

    กรณีที่ผู้ให้บริการเลิกให้บริการ จากประสบการณ์ที่เจอ กว่าจะย้ายโดเมนมาจัดการเอง เล่นเอาเหงื่อตกเลยครับ
    โดยเฉพาะที่จดกับ OnlineNIC …. อันนี้ต้องให้คนที่เป็น reseller ทำให้เราหมดเลย
    ดังนั้นถ้าเกิดติดต่อไม่ได้ โดเมนของคุณก็ไม่สามารถทำอะไีรได้เช่นกันครับ

    แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ DirectI คือคนที่รับจด ไม่ cancel invoice ตอนที่ทำรายการจดโดเมน
    กลายเป็นว่า domain lock ครับ ไม่สามารถย้ายออกได้เลย
    ปล. ไม่ค่อยซีเรียสเท่าไหร่ ถ้าอยู่กับ DirectI เพราะฝ่าย support ติดต่อง่ายกว่า OnlineNIC เยอะครับ

    โดเมนเป็นปัจจัยที่่สำคัญที่สุดของการทำเว็บไซต์
    ดังนั้นต้องพิจารณาให้ดีครับ ก่อนเลือกใช้บริการ…

    เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ reseller กับ DirectI ครับ
    อย่าลืม cancel invoice ลูกค้าทุกครั้งที่จ่ายเงินเรียบร้อยแล้วนะครับ
    ไม่งั้นจะมีปัญหาเวลาย้ายออก

    อ่านต่อ
    http://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,69421.20.html



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized