เว็บฯ หาย! ชื่อโดเมนถูกขโมย ก็ไม่ต่างอะไรกับบ้านหาย จากมีที่อยู่ก็กลายเป็นไร้ที่อยู่ เท่านั้นยังไม่พอ รายได้หดหาย ลูกค้าเดิมหนีอีกต่างหาก แล้วทีนี้จะตามบ้านคืนจากพวกมิจฉาชีพที่มาแอบขโมยไปได้อย่างไร? จะต้องเสียค่าไถ่ไหม? แล้วจะไปขอให้ใครช่วยทวงบ้านคืนดี? เว็บไซต์สุดรัก ชื่อโดเมนแสนหวงอยู่ดีๆ ก็ถูกขโมย
เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เพิ่งจะเคยเกิดขึ้น หลายๆ คนต้องเจอะเจอกับเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อนแล้ว บ้างก็ต้องเสียค่าไถ่ให้กับมิจฉาชีพพวกนี้ไปเพื่อจะให้ได้ชื่อโดเมนของตัว เองคืนมา บางรายไม่มีเงินเสียค่าไถ่ก็ต้องตัดใจปล่อยให้ชื่อโดเมนนั้นไปอยู่ในมือโจร ไป แล้วไปสร้างใหม่ในภายหลัง ซึ่งก็ต้องใช้เวลาและพลังงานอีกมาก กว่าจะมีคอนเทนต์และคนเข้าชมเท่าของเดิม
แต่เมื่อถึงยุคที่อินเตอร์เน็ตบูมเช่นนี้แล้ว ยุทธวิธีการเรียกของตัวเองคืนก็ย่อมเปลี่ยนไป ไม่ต้องดิ้นรนอยู่คนเดียวอีกต่อไป เพราะมีหลายฝ่ายให้ความสำคัญ และร่วมมือรักษาสิทธิ์ รักษาผลประโยชน์ที่เสียไป เพื่อให้เจ้าทุกข์ได้ของตัวเองคืนมา เพิ่งจะมีเหตุการณ์สดๆ ร้อนๆ ผ่านไปเมื่อเร็วๆ นี้กับเว็บไซต์ Bcoms.net ถูกขโมยชื่อโดเมนแล้วเรียกกลับคืนมาได้ แม้ว่ารายนี้จะไม่ต้องเสียเงินค่าไถ่เพื่อซื้อเว็บฯ ตัวเองคืนจากโจร แต่ก็ต้องสูญเสียลูกค้าเดิมไปบางส่วน และยังถูกเข้าใจผิดว่ากลายเป็นเว็บไซต์ที่ทำเรื่องอนาจารไป รายได้ที่ต้องสูญเสียไปในช่วงที่ชื่อโดเมนถูกขโมยยังไม่เท่ากับชื่อเสียงที่ ต้องพังทลายและต้องใช้เวลากู้คืนมาใหม่ แล้วถ้าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับคุณจะทำอย่างไร? ติดต่อกับผู้ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมน
หลังจากที่แน่ใจแล้วว่าชื่อโดเมนเว็บไซต์ของคุณถูกขโมยอย่างแน่ นอนแล้ว ควรจะรีบแจ้งไปยังผู้ที่รับจดทะเบียนชื่อโดเมนที่คุณไปใช้บริการอยู่ เพื่อแจ้งเรื่องการถูกขโมยชื่อโดเมนให้ทราบ และขอความช่วยเหลือให้ช่วยติดต่อสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ของ ICANN หรือ Internet Corporation for Assigned Names and Numbers ซึ่งก็คือหน่วยงานทางเทคนิคที่ดูแลรับผิดชอบความมีเสถียรภาพของระบบอินเตอร์ เน็ตโลก มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการแจกจ่ายชื่อโดเมนและหมายเลข IP Address เพื่อขอชื่อโดเมนคืน รวมทั้งให้ช่วยติดต่อไปยังผู้ให้บริการจดชื่อโดเมน ที่ชื่อโดเมนเว็บไซต์ของคุณถูกโอนย้ายไป ค้นหาเอกสารเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ
หลังจากที่แจ้งเรื่องไปแล้วคุณก็ต้องมีหลักฐานยืนยันความเป็น เจ้าของชื่อโดเมนของคุณด้วย เช่น อีเมล์ยืนยันการจดทะเบียนชื่อโดเมนจากผู้ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมน เอกสารการชำระเงินค่าจดทะเบียนชื่อโดเมน และข้อมูลการตรวจสอบชื่อ และสิทธิ์การครอบครองชื่อโดเมนจากระบบค้นหาชื่อโดเมน (Whois) ที่มีให้บริการบนเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าชื่อโดเมนนี้ใครเป็นเจ้าของ เช่นที่ Internic.com, Thnic.co.th, Checkdomain.com เป็นต้น
นอกจากนี้ก็ควรจะมีเอกสารของการถูกขโมยโดเมนที่พอจะรวบรวมได้ เตรียมเอาไว้ด้วย เช่น อีเมล์แจ้งการโอนย้ายชื่อโดเมนไปยังผู้ให้บริการรายอื่น ข้อมูลการติดต่อกับมิจฉาชีพที่อาจจะติดต่อมาเพื่อขอเรียกค่าไถ่ชื่อโดเมน เป็นต้น ขอหนังสือรับรองจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือชมรมผู้ประกอบการธุรกิจโฮสติ้ง (hosting)
หลังจากเตรียมเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของเรียบร้อยแล้วก็ต้องไปขอ หนังสือรับรองจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือชมรมผู้ประกอบการธุรกิจโฮสติ้ง เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของชื่อโดเมนของตัวเองอีกครั้ง โดยปัจจุบันมีกฎหมายคุ้มครองในกรณีที่เกิดปัญหาการขโมยโดเมน หรือมีการทำให้เว็บไซต์เสียหายโดยที่เจ้าของชื่อโดเมนนั้นไม่ยินยอม ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ส่งเอกสารไปยัง ICANN เพื่อขอเอกสารยืนยันความเป็นเจ้าของ
หลังจากเตรียมเอกสารทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการส่งเอกสารไปยัง ICANN ซึ่งขั้นตอนนี้คงต้องร่วมมือกับผู้ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมน ในการส่งเอกสารต่างๆ ต่อไปให้ยัง ICANN รวมทั้งยังต้องรอการตรวจสอบเอกสาร และรอคำยืนยันความเป็นเจ้าของจาก ICANN อีกครั้ง ส่งเอกสารไปยังผู้ให้บริการจดทะเบียนโดเมนที่มิจฉาชีพโอนย้ายชื่อโดเมนของ คุณไป ถึงเวลาทวงคืนชื่อโดเมนสักที หลังจากที่ต้องยุ่งยากกับการดำเนินการเรื่องเอกสารอยู่นาน สำหรับขั้นตอนนี้อาจจะยุ่งยากและใช้เวลาอยู่สักหน่อย เพราะเหตุการณ์ถูกขโมยโดเมนเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง และทุกๆ วันก็จะมีการแจ้งเรื่องการถูกขโมยชื่อโดเมนไป ซึ่งมีทั้งที่เป็นเรื่องจริงและเรื่องหลอก
ดังนั้นหากคุณไม่มีหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของที่ชัดเจน ไม่มีการตามเรื่อง ไม่มีการชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ที่มีเหตุการณ์เกิด ขึ้นตั้งแต่แรก โอกาสที่คุณจะทวงคืนชื่อโดเมนของคุณกลับคืนมานั้นอาจจะไม่สำเร็จ
เมื่อเจอปัญหาการขโมยโดเมนเช่นนี้แล้ว บางรายอาจจะตัดปัญหาด้วยการทิ้งโดเมนนั้นไป ไม่มีการแจ้งความ เพราะกลัวความยุ่งยากเรื่องเอกสารและการดำเนินการต่างๆ โดยเฉพาะการใช้บริการจดทะเบียนโดเมนกับบริษัทในต่างประเทศก็ยิ่งยุ่งยากใน เรื่องของภาษาที่อาจจะสื่อสารกันไม่ค่อยเข้าใจ
ดังนั้นการเลือกใช้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนกับบริษัทในประเทศ ไทยน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างน้อยก็ตัดปัญหาเรื่องการสื่อสารออกไปได้ รวมทั้งหากเกิดปัญหาก็ยังตามตัวกันได้ ขอความช่วยเหลือกันได้อีกด้วย เกร็ดเล็กน่ารู้ (ทำเป็นล้อมกรอบเล็กๆ แยกตามหัวข้อ)
ชื่อโดเมน (Domain Name) คือชื่อที่ใช้แทน IP Address บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ใช้อ้างอิงเพื่อความสะดวกในการเรียกดูเว็บไซต์ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยประกอบขึ้นจากตัวอักษร คำ หรือวลี ซึ่งอาจเป็นชื่อของบุคคล นิติบุคคล องค์กร หรือเครื่องหมายการค้า
โครงสร้างของโดเมน (Domain Name System) ส่วนประกอบของชื่อโดเมนจะต้องมีนามสกุล (Extension) ต่อพ่วงท้าย โดยมีการจัดแบ่งออกเป็นหลายระดับ ประกอบด้วย Generic Top-Level Domain (gTLD) ได้แก่ ชื่อโดเมนที่ลงท้ายด้วย .com (Commercial), .net (Networking), .org (Organization), .edu (Education), .gov (Government), .int (International), .mil (Military), .info (Information), .biz (Business) เป็นต้น Country Code Top-Level Domain (ccTLD)
เป็นชื่อโดเมนสำหรับประเทศต่างๆ เช่น .th (ประเทศไทย), .us (สหรัฐอเมริกา), .uk (อังกฤษ), .cn (จีน), .jp (ญี่ปุ่น), .kr (เกาหลี) เป็นต้น Second-Level Domain (SLD) เช่น .ac, .go, .co, .in, .mi, .net, .or เป็นต้น
หลักการทำงานของชื่อโดเมน
ในเชิงเทคนิคจะประกอบด้วยกลุ่มตัวเลข 4 กลุ่มที่คั่นด้วยจุด (ตัวเลขในแต่ละกลุ่มจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255) เช่น 202.56.159.208 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ IP Address (Internet Protocol Address) เพื่อใช้ระบุตำแหน่งที่อยู่ของเว็บไซต์ แต่เนื่องจาก IP Address อยู่ในรูปของตัวเลข ซึ่งยากแก่การจดจำ จึงต้องใช้ชื่อโดเมนในการอ้างอิง โดยอาศัย DNS Server (Domain Name System Server) มาช่วยจับคู่ IP Address และชื่อโดเมนเข้าด้วยกัน ซึ่งหากมีการโอนย้ายระหว่างเครือข่าย รหัส IP Address จะเปลี่ยนไป แต่ชื่อโดเมนเดิมยังคงใช้ได้เหมือนเดิม
คำแนะนำสำหรับป้องกันปัญหาเบื้องต้น
การใช้งานข้อมูลส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น User Name, Password สำหรับเข้าดูแลระบบเว็บไซต์ หรือบล็อกต่างๆ หรือใช้งานอีเมล์ ควรจะมีรหัสผ่านที่หลากหลาย ไม่ควรใช้ซ้ำกัน อีเมล์ที่ใช้สำหรับติดต่อในส่วนของการลงทะเบียนชื่อโดเมนต้องระวังโดนขโมย ข้อมูล การตั้งรหัสผ่านควรตั้งด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็ก+ใหญ่+ตัวเลข+อักขระพิเศษ และมีความยาวมากๆ เพื่อยากในการเดา อีเมล์ที่ไม่รู้จักไม่ควรเปิดดู ให้ลบทิ้งไปเลย ถ้ามีอีเมล์ที่ต้องการให้กรอกข้อมูลยืนยันต่างๆ ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเป็นจุดที่แฮกเกอร์จะได้ข้อมูลไป
หากจำเป็นต้องมีการกรอกข้อมูลยืนยัน แนะนำให้นำ URL เว็บไซต์นั้นมากรอกที่บราวเซอร์โดยตรงเพื่อเข้าหน้าเว็บไซต์หลัก แล้วค่อยไป Login จะปลอดภัยระดับหนึ่ง ไม่ควรทิ้งรายละเอียดที่สำคัญๆ ไว้ในอีเมล์ แต่ก็ควรทำสำเนาข้อความแล้วมาบันทึกไว้ใน Notepad เพื่อเก็บไว้ใช้เป็นหลักฐาน ข้อมูลที่ใช้ในการสมัครจดทะเบียนชื่อโดเมนควรเป็นข้อมูลจริง สามารถยืนยันตัวตนและความเป็นเจ้าของได้
ที่มา : ecommerce-magazine.com