• June 28, 2021

    คนที่ไม่รู้จริง จะสับสน กับคำเหล่านี้ 🙂

    1. ขายตรง
    2. การตลาดแบบตรง
    3. การประชาสัมพันธ์ หรือ การทำการตลาด
    4. การตลาด MLM (mutileval marketing)
    5. ธุรกิจขายตรง

    แต่ละอย่างก็มีหมายควบคุมอยู่ ถ้าตีความผิด ก็ใช้กันผิดๆ

    🙂
    #เกษตรกรสีข้าวและขายเองไม่ผิดพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕

    ตามเจตนารมณ์พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ เนื่องมาจากการทำตลาดขายตรงและตลาดแบบตรงในปัจจุบันได้มีการใช้วิธีการชักชวนและจัดให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในธุรกิจดังกล่าว โดยตกลงจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว ซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น…
    ดังนั้น เมื่อพิจารณาดูคำนิยามตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งให้คำนิยามต่างๆ แล้วการขายข้าวของเกษตรกรที่สีข้าวและขายเอง จึงไม่เข้าข่ายตามกฏหมายขายตรง ครับ

    “ขายตรง” หมายความว่า การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภคหรือของผู้อื่น หรือสถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระ โดยผ่านตัวแทนขายตรงหรือผู้จำหน่ายอิสระชั้นเดียวหรือหลายชั้นแต่ไม่รวมถึงนิติกรรมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

    “ตลาดแบบตรง” หมายความว่า การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้น

    “ผู้จำหน่ายอิสระ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและนำสินค้าหรือบริการดังกล่าวไปเสนอขายตรงต่อผู้บริโภค

    “ตัวแทนขายตรง” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจขายตรงให้นำสินค้าหรือบริการไปเสนอขายตรงต่อผู้บริโภค
    กล่าวสรุปโดยรวม”เกษตรกรสีข้าวและขายข้าวเอง” จึงไม่เข้าข่ายเป็นผู้จำหน่ายอิสระ เนื่องจากไม่เป็นตัวแทนขายตรง เพราะไม่มีการผ่านตัวแทนขายตรงหรือผู้จำหน่ายอิสระชั้นเดียวหรือหลายชั้น ไม่ใช่การตลาดแบบตรง และไม่เป็นการขายตรงตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ แน่นอนครับ

    อนึ่ง ส่วนการช่วยเหลือเกษตรกรรัฐบาลก็จะมีมาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป
    นายธวัชชัย ไทยเขียว
    รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
    และโฆษกกระทรวงยุติธรรม

    🙂
    http://www.dailynews.co.th/regional/533098

    โฆษกยธ.โพสต์เฟซฯยัน ชาวนาสีข้าวขายเองไม่ผิดพ.ร.บ.
    “ธวัชชัย ไทยเขียว” โฆษกกระทรวงยุติธรรม โพสต์เฟซบุ๊กยัน เกษตรกรสีข้าวและขายเอง ไม่เข้าข่ายเป็นผู้จำหน่ายอิสระ เนื่องจากไม่เป็นตัวแทนขายตรง จึงไม่ผิดพ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง
    อาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2559 เวลา 07.32 น.
    http://www.dailynews.co.th/regional/533098

    🙂

    พรบ การค้าข้าว
    econ.tu.ac.th/archan/RANGSUN/EC%20460/กฎหมายเศรษฐกิจ/พาณิชยกรรม/พรบ.%20การค้าข้าว%20๒๔๘๙.pdf

    พระราชบัญญัติ ขายตรงและตลาดแบบตรง
    http://law.longdo.com/law/31/

    🙂

    การขายข้าวผ่าน Facebook ไม่ผิดกฎหมายขายตรง
    ผู้ขายไม่จำเป็นต้องไปขึ้นทะเบียน เนื่องจาก พระราชบัญญัติ ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มีเจตนารมณ์คือ
    1. คุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้หลงเชื่อในสรรพคุณที่ผู้ขายตรง (ผู้จำหน่ายอิสระ) อาจจะใช้คำโฆษณาจนเกินจริงทำให้คนเสียเงินไปแพงๆ และ
    2. คุ้มครองผู้จำหน่ายอิสระ ตัวแทนขายตรง ไม่ให้หลงไปกับคำโฆษณาของบริษัทฯว่าจะมีรายได้มากมายเท่านั้นเท่านี้ หรือป้องกันไม่ให้กิจการล่อใจด้วยการวางกติกาให้หาสมาชิกเข้ามามากๆจะได้รายได้มาก จนเผลอลงทุนไปเป็นตัวแทนและเกิดความเสียหายตามมา
    ในกฎหมายจึงระบุชัดว่า จะต้องประกอบด้วย “ผู้จำหน่ายอิสระ” และ “ตัวแทนขายตรง”
    หากจะดูแต่นิยามมาตราเดียว โดยไม่ดูกฎหมายทั้งฉบับและเจตนารมณ์ แล้วเหมาว่าชาวนาขายข้าวทาง Facebook คือขายตรง
    ก็แปลว่า พาณิชยอิเลกทรอนิกส์ หรือ E-Commerce ทุกอย่างคือขายตรงทั้งสิ้น ซึ่งหากทุกกิจการแห่ไปจดทะเบียนกันตาม พรบ.ขายตรงทั้งหมด ก็จะเป็นภาระต่อผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ ผิดวัตถุประสงค์ของการออกกฎหมายนี้

    ==
    พระราชบัญญัติ ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕
    มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
    “ขายตรง” หมายความวาการทําตลาดสินคาหรือบริการในลักษณะของการนําเสนอขายตอ
    ผูบริโภคโดยตรง ณ ที่อยูอาศยหร ั ือสถานที่ทํางานของผูบริโภคหรือของผูอื่น หรือสถานที่อื่นที่มิใช
    สถานที่ประกอบการคาเปนปกติธุระโดยผานตัวแทนขายตรงหรือผูจาหน ํ ายอิสระชนเดียวหรือ
    หลายชั้นแตไมรวมถึงนิติกรรมตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

    “ตลาดแบบตรง” หมายความวาการทําตลาดสินคาหรือบริการในลักษณะของการสอสาร ื่
    ขอมูลเพื่อเสนอขายสนคิ าหรอบร ื ิการโดยตรงตอผูบริโภคซึ่งอยูหางโดยระยะทางและมุงหวังให
    ผูบริโภคแตละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินคาหรือบริการจากผูประกอบธรกุ ิจตลาดแบบตรงนั้น

    “ผูบริโภค” หมายความวาผูซื้อหรือผูไดรับบริการจากผจูําหนายอิสระตัวแทนขายตรง
    ผูประกอบธุรกิจขายตรง หรือผูประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง หรือผูซึ่งไดรับการเสนอหรือการ
    ชักชวนจากผูจาหน ํ ายอิสระ ตัวแทนขายตรง ผูประกอบธุรกิจขายตรงหรือผูประกอบธุรกิจตลาด
    แบบตรงเพื่อใหซื้อสินคาหรือรับบริการ

    “ผูจําหนายอิสระ” หมายความวา บุคคลที่ไดรับโอนกรรมสิทธิ์ในสินคาหรือบริการจากผู
    ประกอบธุรกจขายตรงและน ิ ําสินคาหรือบริการดังกลาวไปเสนอขายตรงตอผูบริโภค

    “ตัวแทนขายตรง” หมายความวา บุคคลซึ่งไดรับมอบอํานาจจากผูประกอบธุรกิจขายตรง
    ใหนําสินคาหรือบริการไปเสนอขายตรงตอผูบริโภค

    sme.go.th/SiteCollectionDocuments/กฏระเบียบ%20ประกาศ/02/004/direct-sale-2545.pdf

    ==
    ขายข้าวสารผ่าน Facebook ทำได้ โดยไม่ต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง กับ สคบ.
    สคบ.ชี้แจงไว้ดังนี้…
    https://www.facebook.com/Directsale.OCPB/photos/a.1596173750691624.1073741828.1595880550720944/1598748193767513/?type=3
    การประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง
    (ไม่รวมถึงขายผ่าน Facebook หรือ IG )
    .
    การประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง หรือเรียนสั้นๆว่า การขายออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ นั้น เป็นการทำธุรกิจในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้น
    .
    ซึ่งจะเห็นได้ว่าการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้นจากเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการผ่านสื่อออนไลน์ประการหนึ่งแล้ว อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ ผู้บริโภคสามารถดำเนินการสั่งซื้อได้ทันที โดยทางผู้ประกอบธุรกิจก็พร้อมที่จะขายทันทีเช่นกัน
    ——-
    ถ้าซื้อขายผ่านทาง Facebook และ IG นั้น ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคต้องไปสอบถามก่อนว่า สินค้านี้มีใหม่ ราคาเท่าไร ลดได้หรือมั้ย แล้วรอให้ผู้ขายตอบกลับมาว่า ตกลง ซึ่งจุดนี้แตกต่างกับตลาดแบบตรงคือ ถ้าผู้ซื้อต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ เพียงแค่สั่งซื้อและชำระเงิน ก็ถือว่าสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว ฝ่ายผู้ขายก็ส่งสินค้าให้เรา เช่น lazada

    ==
    ธุรกิจขายตรง หรือ การทำตลาดทางตรง เป็นการขาย หรือการทำตลาดแบบ ผ่านตัวแทนขายโดยตรงกับผู้ซื้อ หมายถึงการเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจงแบบรายตัว หรือ เฉพาะกลุ่ม แบบแอมเวย์ มิสทีน แบบนั้น คือ ธุรกิจขายตรง

    การขายออนไลน์ คือ มันไม่ได้เฉพาะเจาะจงลูกค้า มันเหมือน lazada ลงว่าข้าพเจ้ามีอะไรขายบ้าง สูเจ้าคนใดสนใจก็จ่ายสตางค์มา หรือ จะไปจ่ายตอนรับของก็ได้ lazada ไม่ใช่ขายตรงฉันใด ขายข้าวออนไลน์ ก็เป็นเช่นนั้น

    มันเป็นการทำพาณิชอิเล็คทรอนิค หรือ อีคอมเมิร์ซ ซึ่งกฏหมายไม่ได้บังคับให้ต้องจดทะเบียน

    ==
    เหล่านี้คือ การประชาสัมพันธ์ การทำการตลาด เพียงแต่ทำแบบออนไลน์ ในยุค IOT
    – เปิดเว็บเอง
    – โพสท์ขาย
    – ฝากขาย ตามเว็บไซท์ ที่รวมสินค้าเกษตร หรือเป็นตัวกลางขายสินค้า
    ยกตัวอย่างเช่น
    http://www.nanagarden.com/
    https://getkaset.com/
    หรือฝากขายกับ ปณ ไทย
    http://www.thailandpostmart.com/search.php…
    พวกนี้ไม่ต้องจดทะเบียนค้าออนไลน์ เพราะหน้าที่จดเป็นของเว็บไซท์พวกนี้ ก็ค้าขายกันได้ตามสะดวกนะครับ ใครมีเว็บแนวๆนี้มาแนะนำเพิ่มได้นะ

    ธุรกิจขายตรง
    การทำตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค นำเสนอขายแบบบุคคลต่อบุคคล ซึ่งห่างจากที่ตั้งร้านค้าปลีกถาวร โดยบริษัทผู้ประกอบการนำเสนอโอกาสทางธุรกิจให้กับนักขายตรงอิสระ ผู้ขายตรงใช้การอธิบายหรือการสาธิตสินค้าเป็นกลยุทธ์หลักในการเสนอขาย

    สำหรับประเทศไทยเรานั้น
    ยุทธวิธีขายตรงได้ถูกใช้มากว่า 50 ปีแล้วที่เห็นเด่นๆก็คือการขายประกันชีวิต นอกนั้นธุรกิจด้านอื่นก็ใช้กันอย่างประปรายไม่จริงจังมากนัก พึ่ง 10 ปีที่แล้วนี่เองที่ยักษ์ใหญ่อย่างแอมเวย์ข้ามฟ้าจากอเมริกามาเปิดกิจการขายตรงอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

    จากนั้น
    ธุรกิจขายตรงได้พัฒนาขึ้น โดยใช้กับสินค้าและบริการอื่นๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องกรองน้ำ เสื้อผ้า ยาสีฟัน (ส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันและต้องใช้แล้วหมดไป) เครื่องสำอางได้รับความนิยมมาก เช่น เอวอน มิสทีน สุพรีเดิม แอมเวย์ เหล่านี้ล้วนใช้ระบบการขายตรงทั้งสิ้น

    ความต่าง ในระบบขายตรง
    ขายตรง เด่นที่ทุกคนมีสิทธิ์มาเป็นผู้ขายอิสระได้ และข้ออ้างติดปากในเรื่องการช่วยให้คนมีงานทำ มีการกระจายรายได้คล้ายๆกัน แต่ความต่างในตัวของมันเองก็มี ดูได้จากรูปโครงสร้าง การจัดองค์กรและการจัดสรรผลประโยชน์แบ่งได้เป็น 2 ระบบ

    1. ระบบขายตรงแบบชั้นเดียว ( DIRECT SELLING – SINGLE LEVEL MARKETING , SLM )
    ระบบนี้มีผู้จัดการประจำเขต(แต่ละบริษัทอาจมีชื่อเรียกต่างกัน)ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทจะทำหน้าที่เสาะหาและดูแลตัวแทนขายหรือผู้ขายอิสระซึ่งมีได้ไม่จำกัดจำนวนแล้วแต่ความสามารถของผู้จัดการนั้นๆ เมื่อคุณสมัครเข้าเป็นตัวแทนขายคุณก็จะเป็นผู้จำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้าของคุณที่หาได้ รายได้ที่คุณจะได้จะมาในรูปของค่าคอมมิชชั่นหรือส่วนลดพิเศษในการซื้อสินค้า ทำได้เท่าไร ได้ผลตอบแทนในสัดส่วนนั้น และหากทำยอดสูงขึ้นจะได้รับค่าเปอร์เซนต์เพิ่มขึ้นเป็นโบนัส รางวัลพิเศษ (ไปเที่ยวต่างประเทศหรือตำแหน่งหน้าที่ที่ดีขึ้น) ตัวแทนขายของระบบขายตรงชั้นเดียวนี้จึงทำหน้าที่ขายอย่างเดียวและก็รับไปคนเดียว บริษัทที่ใช้ระบบนี้เด่นๆ เช่น มิสทีน เอวอน ฮานาโกะ
    – ข้อเสียการขายตรงระบบนี้ คือ ไม่สามารถไปตัดค่าเปอร์เซนต์ของผู้ขายคนอื่นมาเป็นของตัวเองได้

    2. ระบบขายตรงหลายชั้น ( DIRECT SELLING – MULTI LEVEL MARKETING , MLM ) เป็นระบบขายตรงที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

    ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แอมเวย์( ประเทศไทย ) จำกัด อธิบายว่า ลักษณะการขายตรงแบบนี้นักขายไม่ได้เป็นลูกจ้างของบริษัท ทุกคนจะเป็นนักขายอิสระ (หน้าที่ขายและหาสมาชิก) ในระบบหลายชั้น ทุกคนจะเป็นผู้ขายทั้งสายหรือจะใช้สินค้าเองก็ได้

    รายได้ที่เกิดขึ้นอย่างแรกคือ จะเกิดจากการซื้อสินค้าจากบริษัทแล้วขายออกไปให้กับลูกค้าหรือคนในสายซึ่งมีส่วนแตกต่างระหว่างราคาปลีกกับราคาเต็มของตัวสินค้านั้นๆ ถือเป็นรายได้อย่างแรกที่ได้จากการขายปลีก (จะให้ประมาณ 25% )

    นอกจากรายได้ที่ได้จากการขายปลีกแล้ว ในแต่ละสิ้นเดือนจะมีการประมวลผลของยอดขายทั้งหมดของกลุ่มหรือสาย
    สมมติว่ากลุ่มหรือสายมีสมาชิก 50 คน ยอดขายที่เกิดจากคน 50 คน สมมติได้ 100,000 บาท รวมกันหมด ทางบริษัทจะจ่ายเป็นเปอร์เซนต์ออกมา อย่าง 100,000 บาทจะจ่าย 10% เท่ากับ 10,000 บาท เงินนี้จะจ่ายโดยตรงมาที่ต้นสายและคนแถวหน้านี้จะจ่ายไล่ลงไปเรื่อยๆ หรือบริษัทอาจจะคำนวณวงเงินของนักขายแต่ละคนและจ่ายโดยตรงมาที่นักขายคนนั้น ๆ เลยก็ได้

    รายได้แบบที่สองนี้จะเกิดจากยอดขายที่นักขายทั้งกลุ่ม ทำมาในระยะเวลา 1 เดือน และนำมาแบ่งกันตามเงื่อนไขการจัดสรรค์ผลประโยชน์

    ระบบเช่นนี้จะนำไปสู่ตำแหน่งชั้นหรือระดับชั้นของหัวหน้าทีม มีชื่อเรียก เช่น เพชร พลอย ทับทิม ตรีเพชร

    การเลื่อนตำแหน่งนี้บางบริษัทก็กำหนดให้ มีการตกชั้นอย่างของแอมเวย์ที่ถือสไตล์แบบอเมริกันหากคุณไม่ทำงานทำยอดไม่ถึงก็ไม่สมควรอยู่ในตำแหน่งนี้ แต่ก็มีบางบริษัทที่ถือสไตล์แบบไทยๆที่ถือว่าเมื่อคุณและพวกพ้องในกลุ่มเดียวกันทำได้ถึงขั้นนี้ขั้นนั้นแล้วก็จะไม่ร่วงกลับลงไปอีก แม้ว่าเดือนต่อไปคุณจะทำยอดไม่ถึงขั้นของตำแหน่งก็ตาม มีแต่ผลตอบแทนจากยอดขายเท่านั้นที่จะลดลง

    จะเห็นว่า คนมาก่อนจะได้กินค่าหัวคิว แต่หากมีการออกแบบการขายส่วนนี้อย่างยุติธรรมแล้ว หากหัวหน้าทีมที่ไม่ทำอะไรเลยก็ไม่สมควรที่จะได้รับผลตอบแทนใดๆ

    ที่ต้องระมัดระวังก็คือ คนแถวหน้าเวลาไปชวนแถวที่สองจะต้องไม่ได้รายได้อะไรทั้งสิ้นจากการไปชวนเฉยๆ แต่ว่ารายได้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อแถวที่สองไปขายสินค้า แถวที่สามออกไปขายสินค้ามีรายได้จากการขายปลีก แล้วเอารายได้ของกลุ่มมารวมกันแล้วแบ่งกระจายตามเปอร์เซนต์ไป

    บริษัทที่ทำธุรกิจขายตรงแบบหลายชั้นก็อย่างเช่น แอมเวย์ นูสกิน สุพรีเดิม นูทรี-เมติคส์

    ระบบ MLM คือ นักขายอิสระขายสินค้าให้กับลูกค้าส่วนตัวของตนจะได้รายได้ขั้นที่หนึ่งจากส่วนต่างราคาสินค้าเหมือนกับการขายชั้นเดียว ในเวลาเดียวกันเพื่อที่จะสร้างธุรกิจของตนเองขึ้นมาก็ออกไปชวนเพื่อนฝูงญาติมิตรให้เข้ามาร่วมการขายด้วยและรายได้แบบหลังก็จะตามมาด้วยวิธีการนี้

    ในลักษณะนี้มีบางบริษัท อาจจะมีการตัดสายด้วยยอดขายที่ทำได้แล้วแต่บริษัทจะเลือกทำแต่ในบางบริษัทไม่มีที่สิ้นสุดต่อสายกันไปเรื่อยๆ เลยเกิดพลังของการเคลื่อนย้ายสินค้าออกไปมากมายมหาศาล จนมองดูแล้วคล้ายกับแชร์ลูกโซ่หรือการขายแบบปิรามิด ( PYRAMID SELL ) ซึ่งเป็นการขายที่ในหลายๆประเทศมีกฎหมายห้ามเพราะถือว่าเป็นวงจรการขายที่สามารถสร้างความวิบัติได้

    การขายตรงแบบ MLM นี้หากมองให้ดีจะเห็นว่ามีความผิดปกติบางอย่างจนเป็นจุดที่บริษัทขายตรงชั้นเดียวจับเป็นประเด็นโจมตี เช่นการผลักภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการไปที่ผู้บริโภค ในลักษณะค่าคอมมิชชั่นบวกราคาสินค้า ( เช่นแอมเวย์ให้ 25-30%, นูสกินให้43-60% )สินค้าที่จำหน่ายผ่านระบบ MLM จึงมักแพงกว่าระบบชั้นเดียวประมาณ 30-50 เปอร์เซนต์

    ตัวอย่างเรื่องราคาแพง อาจดูได้จากคำพูดของ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพี้ยซที่กล่าวถึงราคาสินค้าของนูสกินว่าแพงเกินไป เธอยกตัวอย่างเครื่องสำอางจำพวกครีมกันแดดว่าขายสูงกว่าเพี้ยซถึง 50% เพี้ยซขายชิ้นละ 500 บาทแต่ของนูสกินขายสูงถึง 1,000 บาท และเหตุผลอีกข้อหนึ่งคือ คนที่อยู่ในระดับบนจะกินแรงคนที่อยู่ในระดับล่างมากเกินไป

    สิ่งที่เกือบเหมือนๆกันระหว่างระบบการขายตรงแบบหลายๆชั้นกับแชร์ลูกโซ่หรือการขายแบบปิรามิด มีข้อแตกต่างอยู่นิดเดียวตรงที่ตัวสินค้าและรูปแบบการขาย ซึ่งอาจแบ่งการขายแบบปิรามิดได้เป็น 2 แบบ

    1. ระบบปิรามิดถูกออกแบบมาเพื่อจะชักนำนักลงทุนไปสู่เงินก้อนใหญ่ โดยไม่มีตัวสินค้าใดๆ หากคุณไม่ทันเกมคุณก็จะเข้าเป็นหนึ่งในฐานปิรามิด ตามที่กล่าวอ้างรายได้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อคุณไปชักนำคนอื่นให้เข้ามาอยู่ในปิรามิดด้วยโดยเขาคนนั้นจะต้องจ่ายเงินให้คุณ หรือพูดให้ง่ายๆ ก็เป็นการคิดค่าหัวคิวนั่นเอง ยิ่งชวนใครเข้าไปในปิรามิดมากเท่าไหร่คุณก็ยิ่งมีรายได้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

    ระบบปิรามิด ที่ไม่มีตัวสินค้านี้ จะทำให้คุณจนลงๆคุณจะกลายเป็นฐานให้กับคนที่เข้ามาก่อนได้เหยียบขึ้นไปสู่ยอดของปิรามิด คอยเก็บดอกเก็บผลที่ส่งต่อมาเป็นทอดๆสร้างรายได้ให้กับคนกลุ่มน้อยนี้โดยไม่ต้องทำอะไรเลย

    ระบบเช่นนี้ทำให้ประเทศแอลบาเนียล่มมาแล้ว คนไทยเองต้องน้ำตาตกและจำไม่ลืมกับกรณี “แชร์แม่ชม้อย” ระบบปิรามิดแบบเงินสดไม่มีสินค้าผลิตภัณฑ์บางทีก็ถูกเรียกว่า “ระบบปิรามิดเปลือย”

    2. ระบบปิรามิดแบบที่สองเป็นแบบมีผลิตภัณฑ์ แต่จุดมุ่งหมายของคนที่ออกแบบไม่เพียงแต่หากำไรโดยการขายสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรงเท่านั้น แต่ตัวแทนขายหรือพนักงานขายจะขายสินค้านั้นให้กับผู้ขายอีกระดับหนึ่งเพื่อที่จะได้กำไรแล้วก็ขายต่อๆกันไปอีก จนถึงผู้ขายคนสุดท้ายที่ขายให้กับผู้บริโภคเพื่อกำไรขั้นสุดท้าย แน่นอนการขายแบบนี้จะมีการผลักภาระให้กับผู้บริโภคคนสุดท้ายอย่างเต็มที่

    ระบบปิรามิดแบบนี้ ต่างกับการขายตรงแบบหลายชั้นอยู่ตรงที่ว่า การขายตรงแบบหลายชั้นตัวแทนขายทุกคนทุกชั้นจะไปสั่งสินค้าโดยตรงกับบริษัทรายได้จากการขายจะเกิดจากเปอร์เซนต์สินค้าเท่านั้นไม่มีการหารายได้จากขายด้วยกันเอง

    ระบบการขายแบบปิรามิด นั้นในประเทศทางตะวันตก สหรัฐอเมริกา หรืออย่างมาเลเซียได้ออกกฎหมายห้ามไม่ให้มีการดำเนินธุรกิจด้วยวิธีนี้เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศ

    แต่ใช่ว่าการขายตรงแบบหลายชั้น จะปลอดภัยไปเสียทั้งหมดเนื่องจากรูปแบบการขายตรงมีการดัดแปลงในรายละเอียดเรื่อยมา จนอาจจะมีบางบริษัทหรือตัวแทนขายบางคนที่หวังกำไรหรือหวังระดมเงินทุนอย่างเป็นกอบเป็นกำแอบมีการขายสินค้าหรือไม่มีแต่เน้นหนักในเรื่องการหากินกับค่าหัวคิวของผู้มาสมัครเป็นสมาชิกด้วยกันเอง

    การเข้ามาของนูสกินจึงถูกจับตามองเป็นอย่างมาก ด้วยการให้เปอร์เซนต์ที่สูงถึง 43-60% เพียงเวลาครึ่งเดือนนูสกินก็มีผู้สนใจเข้ามาเป็นสมาชิกถึง 50,000 ราย จับตามองในแง่ของความเป็นแชร์ลูกโซ่ จับตามองในแง่ของการระดมทุนแบบตีหัวเข้าบ้าน

    “ผมปรามไปว่า อย่าเน้นเรื่องของการให้ค่าคอมมิสชั่นส่วนต่างระหว่างการขายส่งกับการขายปลีก 40-60% มากเกินไป หากทำเช่นนี้แล้วคนต่อไปก็จะบวกราคาขึ้นไปอีก กลายเป็นว่าคนแรกจะได้ประโยชน์กี่เปอร์เซนต์ก็ว่าไป จะเข้าไปในลักษณะของปิรามิดเซลล์หรือแชร์ลูกโซ่ แต่เผอิญเขามีสินค้าที่ถูกต้องอยู่ ผมจึงเน้นว่าในเรื่องของสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศจะต้องมีฉลาก” เป็นคำกล่าวของนายอนุวัฒน์ ธรมธัช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ( สคบ. ) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่กำลังจับตามองกรณีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

    หลายฝ่ายมองว่าต้องให้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง ถึงจะรู้ว่านูสกินคือของแท้หรือเทียมสำหรับวงการขายตรง ซึ่งครั้งหนึ่งแอมเวย์เมื่อสิบปีที่แล้วก็เคยถูกจับตามองในลักษณะนี้เช่นกันแต่สุดท้ายก็สอบผ่าน

    แท้หรือเทียมก็อาจผิดได้

    จากการเปิดเผยของสื่อธุรกิจต่างๆพบว่า มูลค่าตลาดรวมของธุรกิจขายตรงในเมืองไทยนั้นสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท มียอดสมาชิกขายตรงประมาณ 5 แสนคนมีบริษัทที่ทำธุรกิจนี้มากถึง 200-300 ราย ระบบ MLM ถูกมองว่าเป็นระบบที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในการเอารัดเอาเปรียบต่อผู้บริโภคมากกว่าระบบขายตรงแบบชั้นเดียวเนื่องจากมีสมาชิกอยู่ในองค์กรมาก หากบริษัทไม่มีการจัดระบบที่ดีก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้ง่าย

    สคบ.ได้พยายาม รวบรวมลักษณะปัญหาที่เกิดจากการขายตรงพบว่ามีเรื่องของสินค้าไม่ถูกต้อง ไม่มีฉลากสินค้า สินค้าไม่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้รับการตรวจพิจารณา มีการโฆษณาที่เป็นเท็จ ราคาสินค้าแพง บริการหลังการขายไม่มีโดยเฉพาะพวกที่ขายในลักษณะหาบเร่ตามต่างจังหวัดซึ่งก็ถือว่าเป็นการขายตรงอย่างหนึ่งเหมือนกัน
    “บางทีมีการขายสินค้าที่หมดอายุ ขายเสร็จแล้วหาตัวไม่เจอ บางทีไม่มีผู้ผลิต โดยเฉพาะเครื่องใช้ภายในครัวเรือน” นายอนุวัฒน์กล่าว

    การลักลอบนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ ในลักษณะแอบใส่กระเป๋าเดินทางเข้ามาโดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐเพื่อทำการขายตรงเห็นจะเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลอยู่

    อาหารเสริมสุขภาพก็เข้าข่ายอยู่ในข้อนี้เช่นกัน ยังไม่มีใครทราบถึงปริมาณตัวเลขที่แน่ชัดว่ามีสินค้าเหล่านี้หลบหนีภาษีและไม่ผ่านการตรวจสอบตามกฎหมายอาหารมากน้อยเท่าไรในระบบขายตรงที่เป็นอยู่ ในขณะนี้คณะกรรมการอาหารและยา( อย. )ได้เริ่มจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อจัดการกับปัญหานี้อยู่แต่ลู่ทางก็ยังไม่ค่อยแจ่มชัดนัก การป้องกันเบื้องต้นก็คือให้ผู้บริโภคเลือกซื้อแต่สินค้าที่มีฉลากเป็นภาษาไทยและมีตราอย.ประทับอยู่

    นักขายตรงรายหนึ่งได้เสนอวิธีป้องกัน อีกทางหนึ่งว่า สินค้าขายตรงที่ดีจะต้องมีสัญญาในการคืนสินค้าได้หากไม่พอใจ ดังนั้นสิ่งที่ลูกค้าควรจะเก็บไว้เป็นหลักฐานคือใบเสร็จสินค้า ซึ่งในนั้นจะมีรายละเอียดของสินค้าที่ซื้อไป ชื่อผู้ขาย ชื่อบริษัท วันที่ซื้อสินค้า ฯลฯ ซึ่งหลักฐานนี้จะช่วยได้มากในกรณีที่เกิดปัญหากับตัวสินค้า

    การขายตรง หมายถึง การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภคหรือของผู้อื่น หรือสถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระ โดยผ่านตัวแทนขายตรงหรือผู้จำหน่ายอิสระชั้นเดียวหรือหลายชั้น แต่ไม่รวมถึงนิติกรรมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

    การขายตรงแบบชั้นเดียว
    คือการที่มีตัวแทนจำหน่ายแค่คนเดียว ทำการเดินขายสินค้าตามสถานที่ต่างๆ ไม่เหมือนหลายชั้นที่เราแนะนำมาสมัครต่อเราและเป็นเครือข่ายของเรา อ่านเพิ่มเติมได้ใน การขายตรงแบบหลายชั้น

    การขายตรงแบบหลายชั้น หรือ ธุรกิจเครือข่าย
    การขายตรงแบบหลายชั้น (Multi- Level Marketing หรือ MLM) หรือ ธุรกิจเครือข่าย (Network Marketing) เป็นการตลาดต่อๆกันเป็นเครือข่ายหลายชั้น ผู้ขายเป็นนักขายอิสระ ไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัท เรียกว่าเป็น นักธุรกิจอิสระ นักธุรกิจเครือข่าย สมาชิก หรือ ทีมเมมเบอร์ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับแผนการตลาดได้แก่ แบบไบนารี่ แบบยูนิเลเวล แบบไตรเซ็บ แบบเมตริกซ์ แบบดูอัลลีเนียร์ และแบบผสม โดยนักธุรกิจเครือข่าย สามารถสร้างรายได้จากการทำงาน 3 วิธีรวมกัน คือ

    รายได้เริ่มต้น ผลกำไรจากการขายปลีก ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาจากบริษัทกับราคาขายปลีกที่ได้ขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้บริโภค
    รายได้สร้างทีม คอมมิชชั่นหรือส่วนลดตามระดับยอดขายของสินค้าหรือบริการที่มีการสั่งซื้อ (เพื่อบริโภคหรือเพื่อขายให้กับผู้ขายคนอื่นต่อๆไป) จากผู้ขายที่ได้ชักชวนเข้ามาสมัครร่วมธุรกิจในทีมขาย หรือที่เรียกว่า “สปอนเซอร์” ในระดับเป็นชั้นต่อๆไป
    รายได้ผู้นำ คอมมิสชัน หรือส่วนลด ผู้นำ เช่นเปอร์เซนต์จากยอดขายกลุ่ม รางวัลเงินสดจ่ายครั้งเดียว กองทุนต่าง ๆ เช่นกองทุนท่องเที่ยว หรือกองทุนรถยนต์ เป็นต้น

    หลักการของระบบการตลาดหลายชั้นคือ การที่นักธุรกิจเครือข่ายได้รับผลตอบแทนทั้งจาก รายได้เริ่มต้นที่ตนเองขายปลีก และผลตอบแทนจากการขายซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนักขายในกลุ่มของตนชวนมาร่วมกันขาย จนมียอดขายรวมเป็นก้อนใหญ่ จากปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดโอกาสในการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีขีดจำกัด ซึ่งเกิดจากการสปอนเซอร์หรือชักชวนผู้อื่นมาเข้าร่วมธุรกิจอันทำให้ระบบการตลาดหลายชั้นเป็นระบบที่มีศักยภาพสูงสุดในการขายตรงปัจจุบัน

    ธุรกิจเครือข่าย ขายตรง และ แชร์ลูกโซ่ แตกต่าง อย่างไร?

    ธุรกิจเครือข่าย เป็นหนึ่งในระบบเคลื่อนสินค้าที่เติบโตเร็วที่สุดและถูกเข้าใจผิดมากที่สุดในปัจจุบัน
    ธุรกิจเครือข่ายถูกเชื่อว่าจะเป็นคลื่นลูกใหม่ในยุคปี 1980s แต่เชื่อผมเถิดว่า มันจะเติบโตได้ไกลกว่านั้นแน่ ภายในยุค 1990s สินค้าและบริการมูลค่ามากกว่า หนึ่งร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ถูกเคลื่อนผ่านบริษัทธุรกิจเครือข่ายทุก ๆ ปี จงจับตามองธุรกิจเครือข่ายในช่วงปี 2000s ถึง 2100s ให้ดี

    บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านทางรูปภาพและตัวอย่างว่า ธุรกิจเครือข่ายคืออะไร และสิ่งไหนไม่ใช่ธุรกิจเครือข่าย เรายังจะแสดงให้คุณเห็นว่า คุณจะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจในธุรกิจเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร ผมขอย้ำ “อธิบายอย่างมีประสิทธิภาพ” ได้อย่างไร

    ผมขออนุญาตตอบคำถามที่เป็นหนึ่งในคำถามที่ถูกถามมากที่สุด และอาจเป็นคำถามที่เป็นพื้นฐานที่สุดของบรรดาคำถามทั้งปวง นั่นคือ “ธุรกิจเครือข่าย หรือ Multi-level Marketing หรือ MLM นั้นคืออะไร”

    Marketing หรือ การตลาด หมายถึง การเคลื่อนสินค้าหรือบริการ จากผู้ผลิตไปถึงผู้บริโภค
    Multi-Level อ้างถึง ระบบในการจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคคลผู้ซึ่งทำให้สินค้าหรือบริการนั้นเคลื่อนตัว
    Multi หมายถึง มากกว่าหนึ่ง
    Level หมายถึง ระดับหรือรุ่น

    คำว่า MLM นั้นแพร่หลายมากเสียจนพวกพีระมิดหรือแชร์ลูกโซ่ที่ผิดกฎหมาย ได้พยายามทำตัวเองให้เหมือนกับธุรกิจเครือข่าย ซึ่งการกระทำดังกล่าวสร้างภาพลบอย่างร้ายกาจและไร้เหตุผลให้กับบริษัทธุรกิจเครือข่ายใหม่ๆ

                    มีสามวิธีหลักๆ ในการเคลื่อนสินค้าและบริการ คือ
                    1. Retailing หรือ การขายปลีก ผมเชื่อว่า ทุกๆ คนคุ้นเคยกับระบบนี้ดีอยู่แล้ว คุณเดินเข้าไปในร้านของชำ ร้านขายยา หรือห้างสรรพสินค้า แล้วซื้อสินค้าบางอย่างออกมา
                    2. Direct Sales (Single-Level Marketing) หรือ การขายตรง คือการเคลื่อนสินค้าไปสู่ผู้บริโภค ผ่านทางเทคนิคของการขาย เช่น การไปบ้านลูกค้าเพื่อนำเสนอสินค้า การโทรศัพท์ไปขายของให้กับลูกค้า การขายตรงบางครั้งถือว่าเป็นการขายที่ไม่มีพ่อค้าคนกลาง (เช่น ร้าน Retail หรือ บริษัทตัวแทนจำหน่าย) ยกตัวอย่าง (แต่ไม่เสมอไป) เช่น การขายประกัน เครื่องครัว สารานุกรม สาวขายเอว่อน  มิสทีน

    3. Multi-Level Marketing  (MLM) หรือ การตลาดเครือข่าย คือสิ่งที่เราจะพูดถึงในบทความนี้ เราไม่ควรสับสนระหว่างสองอย่างข้างบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับการขายตรง คนส่วนใหญ่มักสับสนระหว่างการตลาดเครือข่ายกับการขายตรง
                    ยังมีการตลาดอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า การสั่งทางไปรษณีย์ การทำการตลาดแบบไปรษณีย์สามารถถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ Direct sales ได้ บางคนก็ถือว่าการตลาดทางไปรษณีย์เป็นการตลาดแบบที่ 4
                    แบบที่ 5 ซึ่งมักถูกเข้าใจสับสนกับ MLM ก็คือ แบบพีระมิดหรือแชร์ลูกโซ่ ดังที่กล่าวไปแล้วว่าแชร์ลูกโช่นั้นผิดกฎหมาย เหตุผลสำคัญที่ผิดกฎหมายเพราะว่ามันล้มเหลวในการเคลื่อนผลิตภัณฑ์ หรือการบริการไปสู่ผู้บริโภคได้ ถ้าผลิตภัณฑ์ไม่เคลื่อนไหว เราจะเรียกมันว่า “การตลาด” ได้อย่างไร แชร์ลูกโซ่สามารถใช้คำว่า “เครือข่าย” ได้ แต่ไม่สามารถใช้คำว่า “การตลาด” ได้

    ข้อขัดแย้งส่วนใหญ่ในใจคนมากมาย ที่ทำให้เขาไม่เข้าร่วมทำธุรกิจ MLM คือ เขาไม่รู้ความแตกต่าง ระหว่าง MLM กับ การขายตรง ไม่แปลกใจเลยที่คนส่วนมากสับสนเพราะบริษัท MLM ที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่นั้นอยู่ในสมาคมขายตรง และในบางครั้งคุณอาจมองการทำธุรกิจเครือข่ายเหมือนการการขายเดินขายของแบบเคาะประตู เพราะว่าคุณได้รู้จักกับกับธุรกิจเครือข่ายครั้งแรก เมื่อผู้จำหน่ายเคาะประตูบ้านคุณเพื่อพยายามขายของบางอย่างให้กับคุณ ซึ่งแท้จริงแล้ว มีลักษณะบางอย่างที่แยก MLM ออกจากการขายตรง นั่นคือ หากคุณอยู่ในธุรกิจ MLM คุณอยู่ในธุรกิจเพื่อตัวของคุณเอง แต่ไม่ใช่โดยตัวของคุณเอง

    การเข้าร่วมธุรกิจคือคุณจะซื้อสินค้าในราคาขายส่ง (คุณควรใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเองด้วย) หลายคนเข้าร่วมธุรกิจเพราะเหตุผลข้อนี้ หลังจากนั้นคุณก็จะเริ่ม “เอาจริง” เมื่อคุณซื้อสินค้าในราคา“ขายส่ง” ถ้าคุณต้องการ คุณสามารถ“ขายปลีก” และคุณจะได้ “ผลกำไร” คนจำนวนมากเข้าใจผิดว่า คุณ “ต้อง” ขายปลีก คุณจึงประสบความสำเร็จ บางบริษัทถึงกับกำหนดยอดขายให้สมาชิกทำยอดตามเป้าเพื่อเขาจะได้รับผลตอบแทน คุณสามารถขายถ้าคุณต้องการ หรือ ถ้าคุณจำเป็นต้องขายเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนก็ขายไปเถิดครับ แต่หากคุณต้องการสร้างรายได้มหาศาลแล้วหละก็ ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่แท้จริงนั้น มาจาก “การสร้างเครือข่าย”

    ประเด็นสำคัญ: ให้การขายเป็นสิ่งที่ตามมาจากการสร้างองค์กรโดยธรรมชาติ คนส่วนใหญ่ล้มเหลวเพราะเขาทำสิ่งที่กลับกัน คือ เขาพยายามสร้างองค์กรโดยการขาย

    คำว่า “ขาย” เป็นความคิดทางลบในจิตใจคนถึง 95% ในธุรกิจเครือข่ายคุณไม่จำเป็นต้อง “ขาย” ตามความเข้าใจของโลก แต่อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ต้องเคลื่อนไหว มิฉะนั้นจะไม่มีใครได้รับเงิน ดอน เฟียล่า ได้นิยามคำว่า ขาย ไว้ว่า “การโทรศัพท์ไปหาคนแปลกหน้า เพื่อขายของบางอย่าง ที่เขาอาจไม่จำเป็นต้องใช้ หรือ ไม่ต้องการ”

    ขอยืนยันอีกครั้ง ผลิตภัณฑ์ต้องเคลื่อนไหว มิฉะนั้นจะไม่มีใครได้รับเงิน

    MLM สามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า Network Marketing เมื่อคุณสร้างองค์กร แท้จริงแล้วคุณกำลังสร้างเครือข่ายที่ใช้ในการกระจายสินค้าของคุณเอง การขายนั้นยังคงเป็นรากฐานของธุรกิจเครือข่าย เพียงแต่การขายในธุรกิจเครือข่ายนั้นมาจากการที่ผู้จำหน่าย “แบ่งปัน” ให้กับเพื่อนและญาติพี่น้องของเขา ไม่ใช่ให้กับคนแปลกหน้า การสร้างธุรกิจขนาดใหญ่ให้ประสบความสำเร็จคุณต้อง “สร้างความสมดุล” คุณต้องอุปถัมภ์ และสอน MLM ให้กับคนอื่น และในกระบวนการนี้เอง คุณจะสามารถสร้างลูกค้าได้ซึ่งก็คือเพื่อนๆ หรือญาติพี่น้องของคุณ
    อย่าพยายามอุปถัมภ์คนทั้งโลกด้วยตัวของคุณเอง จงจำไว้ว่า Network marketing คือการสร้างองค์กรผู้จำหน่ายจำนวนมาก แต่ละคนขายคนละเล็กคนละน้อย ซึ่งดีกว่าการใช้คนจำนวนน้อยๆ ขายของปริมาณมาก ๆ
    บริษัทธุรกิจเครือข่ายส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียเงินปริมาณมหาศาลไปกับการโฆษณา เพราะสุดยอดแห่งการโฆษณาก็คือการบอกแบบปากต่อปากของสมาชิก ดังนั้น บริษัทเครือข่ายจึงมีเงินมาใช้ในการพัฒนาสินค้าได้มากกว่าบริษัททั่วๆ ไป ดังนั้น คุณภาพสินค้าจึงมักดีกว่าสินค้าคู่แข่งในกลุ่มเดียวกันที่พบตามร้านค้าปลีก คุณจึงเพียงแค่แบ่งปันสินค้าที่มีคุณภาพสูงกว่าสินค้ายี่ห้ออื่นๆ ในหมวดเดียวกัน ให้เขาเปลี่ยนมาใช้ยี่ห้อใหม่ ซึ่งคุณได้ทดสอบด้วยตัวคุณเองแล้วว่า มันดีกว่า

    คุณคงเห็นแล้วว่านี่ไม่ใช่การเดินไปเคาะประตูตามบ้านเพื่อขายสินค้าให้กับคนแปลกหน้า ธุรกิจเครือข่ายที่ผมรู้จักสอนว่า การที่คุณแบ่งปันคุณภาพสินค้าและบริการให้กับเพื่อนของคุณ ทั้งหมดนี้แหละที่ “การขาย” เข้ามาเกี่ยวข้อง จริงๆควรใช้คำว่า “การแบ่งปัน” มากกว่า “การขาย” เพราะมันเป็นเช่นนั้นจริงๆ

    หากคุณทำงานให้กับบริษัทขายตรง และคุณตัดสินใจที่จะลาออกเพราะคุณต้องย้ายไปอาศัยที่ท้องถิ่นอื่น คุณอาจต้องเริ่มทำงานทั้งหมดใหม่อีกครั้ง แต่หากคุณอยู่ในบริษัท MLM คุณสามารถย้ายไปในท้องที่ใดก็ได้ และเริ่มอุปถัมภ์ผู้คนใหม่โดยไม่สูญเสียยอดขายจากองค์กรที่คุณได้สร้างไว้แล้วในท้องที่เดิม การทำธุรกิจเครือข่ายคุณสามารถสร้างรายได้ได้มากมายจากการสร้างองค์กร ไม่ใช่แค่การขาย ข้าพเจ้ายังขอยืนยังอีกครั้ง คุณสามารถมีความเป็นอยู่ที่ดีได้จากการขายของ แต่คุณสามารถสร้าง “ความมั่งคั่งอย่างถาวร” ได้ด้วยการสร้างองค์กรเท่านั้น

    ผู้คนจำนวนมากเข้าสู่ธุรกิจเครือข่ายเพียงแค่ต้องการมีรายได้เพิ่มเดือนละ 5000 , 10000 บาท หรือ 20000 บาท ต่อเดือนและทันใดนั้นเขาต้องการที่จะจริงจังและเขาสามารถทำได้ถึงเดือนละ แสน หรือ 3 แสนได้ หรือมากกว่านั้น เขาเหล่านี้ไม่ได้หาเงินจำนวนมากจากการขายของ เขาทำได้จากการสร้างองค์กร

    นั่นคือวัตถุประสงค์ของเวปไซต์แห่งนี้ เราจะให้ความรู้คุณให้สามารถสร้างองค์กรได้และทำได้อย่างรวดเร็วด้วยโดยการสอนให้คุณสร้างทรรศนะคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับธุรกิจเครือข่ายให้กับผู้มุ่งหวัง  หากผู้มุ่งหวังของท่านเข้าใจว่าธุรกิจเครือข่ายนั้นผิดกฎหมายเสียแล้ว คุณจะมีปัญหาในการอุปถัมภ์เขาอย่างแน่นอน

    คุณต้องชี้แจงให้เขาเห็นถึงข้อเท็จจริง เพื่อขจัดทรรศนะคติหรือความเข้าใจผิดที่ว่า “ธุรกิจเครือข่ายนั้นเหมือนพีระมิด” ขอให้ทำความเข้าใจตัวอย่างข้างล่างและรูปนี้เพราะคุณสามารถนำมันไปใช้อธิบายกับผู้มุ่งหวังได้

    พีระมิดหรือแชร์ลูกโซ่นั้นสร้างจากยอดลงมาด้านล่าง ดังนั้น ผู้ที่เข้ามาสู่ธุรกิจเป็นกลุ่มแรกเท่านั้นที่สามารถอยู่ด้านบนของพีระมิด แต่ในรูปสามเหลี่ยมในธุรกิจเครือข่าย ทุกๆ คนเริ่มต้นจากด้านล่างและมีโอกาสเท่า ๆ กันที่จะสร้างองค์กรขนาดใหญ่ของตัวเอง ทุกๆ คนสามารถสร้างองค์กรให้ใหญ่กว่าองค์กรของผู้แนะนำของเขาได้หลายเท่าถ้าต้องการ 

    ข้อแตกต่างอีกอย่างของ MLM กับการขายตรงนั้นคือการ “ช่วยเหลือ” (Sponsor) ผู้จำหน่ายคนอื่นๆ บางบริษัทอาจใช้คำว่า การหาสมาชิกใหม่ อย่างไรก็ตาม การ Sponsor กับการหาสมาชิกนั้นต่างกันอย่างแน่นอน คุณ Sponsor คนบางคน แล้ว “สอน” ให้เขาทำสิ่งที่คุณทำอยู่ เพื่อให้เขาสร้างธุรกิจของเขาเอง การ Sponsor คนบางคน กับการทำให้คนบางคนเซ็นใบสมัครนั้นต่างกันมาก เมื่อคุณ “Sponsor” ใครบางคน คุณกำลังให้คำมั่นสัญญาที่จะช่วยเขาจนกว่าเขาจะประสบความสำเร็จ หากคุณไม่ประสงค์ที่จะให้คำมั่น คุณกำลังทำร้ายเขาถ้าคุณทำให้เขาเซ็นใบสมัคร

    ณ จุดนี้ สิ่งที่คุณต้องการคือความตั้งใจจริงที่จะช่วยให้เขาสร้างธุรกิจของตัวเอง เวปไซน์แห่งนี้จะเป็นอุปกรณ์ล้ำค่าที่จะแสดงให้คุณเห็นว่าคุณต้องทำอะไร และทำอย่างไร ในการช่วยเหลือคนคนหนึ่งให้สร้างธุรกิจของตัวเอง
    มันเป็น “ความรับผิดชอบ” ของผู้แนะนำที่จะสอนผู้ที่เขานำเข้ามาในธุรกิจให้รู้ถึงทุกสิ่งทุกอย่างในธุรกิจ เช่น การสั่งสินค้า การจดบันทึกความคืบหน้าในธุรกิจ การเริ่มต้น วิธีในการฝึกอบรม เพราะการช่วยเหลือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเครือข่ายเติบโต เมื่อองค์กรของคุณโต คุณก็จะเป็นนักธุรกิจอิสระที่ประสบความสำเร็จ ในที่สุดคุณจะกลายเป็นเจ้านายของตัวเอง!

    ดังที่ผมกล่าวไปในตอนต้นว่าภายในยุค 1990s MLM หรือธุรกิจเครือข่าย ได้ทำเงินไปมากกว่า หนึ่งร้อยล้านเหรียญ นี่เป็นธุรกิจที่ใหญ่มาก! แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่รู้ ธุรกิจเครือข่ายนั้นอยู่รอบๆ ตัวเรามามากกว่า 40 ปีแล้ว บางบริษัทที่เปิดทำการมากว่า 20 ปี กำลังทำเงินกว่าร้อยล้านเหรียญต่อปี ผมรู้จักบริษัทหนึ่งที่ทำรายได้มากกว่าสองล้านเหรียญในปีแรก ในปีที่สองเขาทำได้ถึงสิบห้าล้านเหรียญ ในปีที่สามเขาคาดหวังรายได้ 75 ล้านและ หนึ่งพันล้านเหรียญภายในปีที่ 5! หลักการในเวปไซน์แห่งนี้จะทำให้คุณเห็นว่าเป้าหมายของเขาจะเป็นจริงได้อย่างไร และสิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คน

    การขายตรง (Direct Sales)

    “การขายตรง” ที่บัญญัติขึ้นโดยสมาพันธ์การขายโดยตรงแห่งโลก (World Federation of Direct Selling Associations) และสมาคมการขายโดยตรง (ไทย)

    หมายถึง
    การทำตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค ในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยของ ผู้บริโภคหรือที่อยู่อาศัยของผู้อื่น ณ ที่ทำงานของผู้บริโภคหรือที่อื่นๆ โดยผู้ขายตรงใช้การอธิบายหรือสาธิตสินค้า เป็นกลยุทธ์หลักในการเสนอขาย

    การขายตรงเป็นการเสนอขายสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้บริโภค โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง  ไม่มีการวางขายโดยทั่วไป  สินค้าส่วนใหญ่พนักงานขายจะต้องสาธิตวิธีการใช้ให้ลูกค้าดู  รูปแบบการขายตรงจะเป็นการเสนอขายสินค้าถึงบ้าน  หรือที่ทำงานถึงลูกค้า  ทางโทรศัพท์  ทางไปรษณีย์ หรือการออกงานแสดงสินค้า

    ลักษณะของการขายตรง
    ข้อดี  ของธุรกิจขายตรงคือ ที่ตั้งสำนักงานไม่จำเป็นต้องอยู่ในย่านการค้า  จึงเป็นการช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน  ลูกค้าได้สัมผัสและทดลองใช้สินค้าก่อนซื้อ
    ข้อเสีย ของธุรกิจตรงคือ พนักงานขายมักจะเปลี่ยนงานบ่อย  ทำให้ผลงานไม่ต่อเนื่อง  หรือพนักงานขายทำงานให้หลายบริษัท ทำให้มีผลงานน้อย

    ลักษณะของการดำเนินงานการขายตรง
    1.เป็นอาชีพอิสระ  สามารถจัดการเวลาขายสินค้า/บริการได้ด้วยตนเอง
    2.ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านเพื่อแสดงสินค้า  สามรถเสนอขายสินค้า/บริการ  ในบริเวณสถานที่ของลูกค้า
    3.สินค้า/บริการส่วนใหญ่พนักงานต้องทำการสาธิตแนะนำ ชี้แจง  ให้ลูกค้าเห็นคุณภาพ  ประโยชน์  ความจำเป็น ฯลฯ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ
    4.ลูกค้าบางรายตัดสินใจซื้อสินค้า/บริการ  เพราะความคุ้นเคยที่มีต่อพนักงานขาย
    5.พนักงานขายเป็นผู้ประชาสัมพันธ์สินค้า/บริการ  แทนการโฆษณา(Advertising)ตามสื่อโฆษณาต่างๆ

    ระบบการขายตรง(Direct Sales System) ไทยนิยม2ระบบ

    1. .ระบบการขายตรงแบบชั้นเดียว  (Single level marketing: SML)
    พนักงานขายจะได้รับผลตอบแทนในรูปของส่วนลดเป็นเปอร์เซ็นต์ตามยอดขาย (Commission plans) ที่ทำไว้
    พนักงานขายที่แนะนำตัวแทนขายมาเพิ่มขึ้น ไม่มีผลประโยชน์อื่นเพิ่มจากยอดขายของทีมงาน เพียงอาจได้รับรางวัลสำหรับการแนะนำตามที่กิจการกำหนดไว้
    พนักงานขายมีโอกาสก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารเมื่อสามารถสร้างยอดขายได้ตามเป้าที่กิจการกำหนด

    2. ระบบการขายตรงแบบหลายชั้น (multi level marketing: MLM)
    แนวความคิดของระบบขายตรงแบบหลายชั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในอเมริกา  โดยนำแนวความคิดจากร้านค้าแบบลูกโซ่ (Chain store) ซึ่งเป็นร้านที่อยู่ในเครือ สังกัดบริษัทเดียวกันมาประยุกต์ใช้ โดยมุ่งเป้าหมายเพื่อเน้นการขายสินค้าให้ได้และพยายามทำให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้านั้นเป็นลูกทีมขายสินค้าต่อๆ ไป เป็นลูกโซ พร้อมทั้งพยายามสร้างเครือข่ายให้ขยายออกไปให้ได้มากที่สุด

    ประเภทของธุรกิจขายตรง (Direct Sale)
    แบ่งตามลักษณะของการทำการตลาด
    1. แบบไม่มีผู้จำหน่ายตรง
    2. แบบมีผู้จำหน่ายตรง

    แบบไม่มีผู้จำหน่ายตรงนั้น บริษัทจะทำการตลาดด้วยตัวเอง
    เช่น อาจจะมีการส่ง Catalog ไปตามบ้านเรือนต่างๆ แล้วรอให้ผู้สนใจติดต่อกลับมาเพื่อซื้อสินค้า

    แบบที่มีผู้จำหน่ายตรง คือ การที่บริษัทจะจัดให้มีผู้จำหน่ายตรง มาทำการตลาดแทนบริษัท และเป็นผู้แนะนำสินค้า เพื่อที่จะมีโอกาสได้รับค่าการตลาดเป็นค่าตอบแทน ผ่านทางการบอกต่อ

    เมื่อพิจารณาในมุมมองของผู้บริโภค ธุรกิจขายตรงแบบมีผู้จำหน่ายตรง จะน่าสนใจกว่า เนื่องจากธุรกิจนี้ เปิดโอกาสให้ผู้บริโภค มีส่วนร่วมกับค่าการตลาดของสินค้า

    แบ่งตามลักษณะของแผนธุรกิจ (Marketing Plan) หรือแผนการจ่ายค่าตอบแทน (Compensation Plan) ได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

    1.ธุรกิจขายตรงแบบชั้นเดียว (Single-Level Marketing): แผนธุรกิจแบบ SLM
    จะเน้นไปที่การขายสินค้า เพื่อรับค่าการตลาดทุกครั้งที่ผู้จำหน่ายตรงมีการขายสินค้าด้วยตัวเองเท่านั้น ไม่สามารถชักชวนผู้อื่นมาสร้างธุรกิจได้ โดยแผนธุรกิจนี้ เป็นรูปแบบเริ่มต้นของธุรกิจขายตรง ตัวอย่างของบริษัทที่ใช้ SLM เช่น ธุรกิจประกันชีวิตที่มีการขายผ่านตัวแทน ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ และ Misteen เป็นต้น

    2. ธุรกิจขายตรงแบบหลายชั้น (Multi-Level Marketing): แผนธุรกิจแบบ MLM
    เน้นสร้างเครือข่ายผู้บริโภคของเรา และของผู้ที่เราแนะนำ เพื่อรับค่าการตลาดทุกครั้งที่เครือข่ายผู้บริโภคของเรามีการซื้อใช้สินค้าด้วยตนเอง โดยแผนธุรกิจนี้พัฒนามาจากแผนแบบ SLM ตัวอย่างของบริษัทที่ใช้ MLM เช่น Amway Aimstar และ Giffarine เป็นต้น



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized