1 ใน 10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับในศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem Solving)
ปัญหาทุกอย่างบนโลกใบนี้มีรูปแบบและวิธีการแก้ปัญหาที่เหมือนกันหมดทุกปัญหา
ปัญหา คือ ความแตกต่างระหว่างสถานการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเหตุการณ์ในอุดมคติหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือ ความแตกต่างของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่คาดไว้
กระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
1. ระบุปัญหา
ระบุสิ่งที่เป็นปัญหา (Object)
ระบุสิ่งที่เบี่ยงเบน (Defect)
ระบุข้อเท็จจริง (Fact)
เพื่อช่วยยืนยันว่าเป็นปัญหาที่แท้จริงและจะเป็นสิ่งที่วัดประสิทธิผลว่าปัญหานั้นได้ถูกแก้ไข
2. แก้ไขปัญหาเบื้องต้น
เป็นการแก้ไขเฉพาะหน้า โดยการแก้ปัญหาเบื้องต้นนั้นควรทำอย่างรวดเร็ว
3. วิเคราะห์สาเหตุ
คิด วิเคราะห์ และแยกแยะถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
- WHO มีใครเกี่ยวข้องบ้าง
- WHAT มีอะไรบ้างที่เป็นปัญหา, อะไรคือสิ่งที่ผิดปกติ
- WHEN ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อไร
- WHERE ปัญหาเกิดขึ้นที่ไหน
- WHY ทำไมจึงเกิดปัญหา
- HOW ขั้นตอนการทำงานเป็นอย่างไร, วัฎจักรเป็นอย่างไร
4. แก้ไขปัญหา
ระดมสมองเพื่อสร้างทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเทคนิคที่ใช้สำหรับการระดมสมองนั้นได้แก่ “Brain Storming” และ “Kawakita Jiro”ซึ่งแต่ละเทคนิคนั้นก็จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับบริบทของผู้ระดมสมองและหัวข้อที่กำลังระดมสมอง
5. ป้องกันการเกิดปัญหาขึ้นซ้ำ
สร้างระบบหรือออกมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ
6. ประเมินและติดตามผลการแก้ไข
ประเมินผลถึงวิธีการที่เลือกใช้ในการแก้ปัญหา ว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้จริง
มีการนำ “Six Thinking Hats หรือ การคิดแบบหมวก 6 ใบ” มาใช้ในการแก้ปัญหาอีกด้วย ยังมีอีกหลากหลายแนวคิด แต่สุดท้ายแล้ว การแก้ปัญหาก็เพื่อขจัดหรือกำจัดอุปสรรคที่ขวางกันไม่ให้บรรลุเป้าหมาย
medium.com/@athivvat/การแบ่งระดับความฉลาดของ-ai-7bd5cb1aa84c