Intermittent Fasting คือ วิธีลดน้ำหนักที่คิดค้นโดยทีมแพทย์ เป็นการลดน้ำหนักด้วยการกินอาหารเป็นช่วงเวลา (Feeding) และปล่อยให้ร่างกายหยุดรับอาหารเป็นช่วงเวลา (Fasting) หลังการลดน้ำหนักแบบ มีเงื่อนไขที่สำคัญอยู่ 3 ข้อ
- ต้องงดอาหาร 1 มื้อในแต่ละวัน
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารมื้อดึก
- กินอาหารตามปกติในช่วงเวลา Feeding 8 ชั่วโมง
ผู้มีภาวะเบาหวาน หรือ โรคที่อาจมีผลกระมบให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มทำ IF
การลดน้ำหนัก Intermitent Fasting 6 วิธี
- 8/16 กิน 8 อด 16hr
- 5/19
- อด 24hr สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง นอกนั้นกินปกติ
- อด 24hr สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง นอกนั้น กิน แบบ 1หรือ2
- กินค่ำมื้อเดียว
- กินวันเว้นวัน
บางกรณีคล้ายกับพระฉันมื้อเดียวก่อนเที่ยง ที่เหลือกินน้ำได้ แต่สำหรับบุคคลทั่วไป ที่ต้องทำงนมีวิถีชีวิตที่ต่างออกไป ต้องใช้เเรงงาน ใช้พลังสมอง ก็ต้องปรับให้เหมาะสม อดได้ในวันที่ไม่ได้ใช้พลังงานเพื่อให้ ร่างกายใช้ไขมันที่สะสมไปแทน เป็นการลด ไขมันที่พวกตับด้วย
เมื่ออดอาหารไม่ว่าจะมื้อใดก็ตามจะทำให้
- ขาดสารอาหาร 5 หมู่ (โปรตีน,คาร์โบไฮเดรต,วิตามิน,แร่ธาตุ,ไขมัน)
ร่างกายทุกส่วนจะอ่อนแอลง เพราะไม่มีวัตถุดิบในการซ่อมแซม เสริมสร้างตัวเอง
ทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่เส้น เส้นผม หัว ผิวหน้า หน้าอก ปอด หัวใจ ตับไตไส้พุง เล็บ จุดซ่อนเร้น อ่อนแอลงทั้งหมด - ขาดพลังงานจากอาหาร (มาจากคาร์โบไฮเดรต,ไขมันเป็นหลัก)
คุณจะเป็นโรคขี้เกียจทันที จะรู้สึกไม่มีแรงเพราะร่างกายไม่มีพลังงานที่จะทำอะไร ร่างกายจะลดระดับการเผาผลาญลงโดยอัตโนมัติ เมื่อเป็นหลายๆครั้งเข้าร่างกายจะชินจนระดับการเผาผลาญที่ต่ำลงนั้นกลายเป็น เรื่องปกติของร่างกายคุณ เรียกว่าอาการขี้เกียจเป็นปกติ - ไม่มีอาหารตกถึงท้องทำให้น้ำย่อยในกระเพาะย่อยผิวกระเพาะ เป็นแผลในกระเพาะ อาหาร หรือ โรคกระเพาะ จากที่ตอนแรกคุณเป็นแค่คนอยากลดความอ้วนตอนนี้คุณกลายเป็น คนไม่สบายที่อยากลดความอ้วน
- ไม่มีอาหารและเส้นใยอาหารเคลื่อนตัวผ่านระบบทางเดินอาหาร (ลำไส้เล็ก,ลำ ไส้ใหญ่) ทำให้ไม่มีการบีบตัวของลำไส้ซึ่งทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านระบบทางเดินอาหารได้ดี นานเข้าก็จะทำให้สุขภาพระบบย่อยอาหารอ่อนแอ และพลังในการขับถ่ายน้อยลง จะทำให้ท้องผูก
- ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง เพราะไม่มีคาร์โบไฮเดรต (แป้ง,น้ำตาล) นอกจากทำให้อ่อนเพลียไม่มีแรงแล้วยังทำให้สมองกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกหิวอีก เพื่อเตือนให้คุณทานอาหารได้แล้วจะหมดแรงแล้วนะ คุณจะยิ่งรู้สึกหิวมากขึ้นหลังจากอดอาหาร และคุณจะควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ หากปกติคุณเป็นสาวหวานมารยาทเรียบร้อยคุณจะเปลี่ยนไปทันที สวาปามอย่างขาดจิตสำนึกไปหมดทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นแป้ง น้ำตาล ไขมัน ขนม คุกกี้ เค้กของหวาน ข้าวเหนียว น้ำหวาน เครื่องดื่มหวานๆต่างๆ จากที่อ้วนแต่สุภาพกลายเป็นอ้วนแบบหมดสภาพ
ร่างกายของมนุษย์ถูกวิวัฒนาการมานับหมื่นปีเพื่อให้อยู่รอด ผ่านยุคสมัยต่างๆมาได้จนถึงทุกวันนี้มันถูกออกแบบมาอย่างดีให้ทานอาหารได้ หลากหลายชนิด เมื่อทานอาหารก็จะย่อยอาหารเพื่อนำสารอาหารมาใช้ซ่อมแซม ฟื้นฟู ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และเปลี่ยนพลังงานจากอาหารมาเก็บสำรองไว้ในร่างกายในรูปของไกลโคเจนในกล้าม เนื้อ และ ไขมัน ซึ่งจะสะสมไว้ที่ตับ กล้ามเนื้อ และชั้นไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานไว้ใช้เพียงพอ ดังนั้นอย่าอด
โปรตีนเป็นสารตั้งต้นตัวหนึ่งในการสร้าง Glucose ในยามที่ร่างกายอยู่ในภาวะอดอาหาร
Carbohydrate , Fat , Protein เป็นการนิยามสารกลุ่มใดๆที่มี Functional group ทางเคมี , และโครงสร้างตรงตามที่นิยามเอาไว้ ทำให้เมื่อนำไปเข้าปฏิกิริยาเคมีต่างๆ หรือทางชีวภาพแล้ว ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกัน
เมื่อสารทั้ง 3 กลุ่มเข้าสู่วงจรของ metabolism สามารถเปลี่ยนไป-มา กันได้หมด ขึ้นกับปัจจัยต่างๆของร่างกายตอนนั้น โดยเฉพาะ Hormone ว่าจะบ่งชี้ให้ร่างกายมีการดำเนิน metabolism ไปทางใด hormone นั้นได้แก่ insulin , glucagon , glucocorticoids , growth hormone , catecholamine-derivatve เช่น Epinephrine , Nor-epinephrine
สารอินทรีย์ในโลกเรานี้ เราสามารถใช้ลูกศรทางปฏิกิริยาทางเคมีในสิ่งมีชีวิตขีดโยงเชื่อมต่อกันได้หมดทุกชนิด โดยไม่มีจุดใดที่ขาดการเชื่อมต่อกับจุดอื่นๆ แต่ที่เรา , สัตว์ , พืช หรือโปรโตซัว สร้างสารได้ไม่เหมือนกัน เพราะสิ่งมีชีวิตมี enzyme แต่ละขั้นตอนไม่เหมือนกัน ดังนั้นแค่ Protein เปลี่ยนเป็น carbohydrate ได้ เป็นเรื่องธรรมดามากๆ
ทำไม Protein ถึงเปลี่ยนเป็น Glucose ได้ ก็ต้องถามตัวเองก่อนว่า Protein คืออะไรล่ะ?
Protein คือ Polymer ของ Amino acid หลากหลายชนิดที่มีการมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะ peptide ซึ่งจากการที่ amino acid มีหลากหลายชนิด รวมทั้งนอกจากจะต่อกันแล้ว ยังมีการม้วนพับทบเป็นโครงสร้างทางสามมิติอีก จึงทำให้ Protein มีหลากหลายมาก จนในปัจจุบันยังค้นพบได้ไม่หมดเลย ในทางชีวเคมี มีการแยกออกมาเป็นการศึกษา Protein โดยเฉพาะเลยที่เรียกว่า Proteomics
Protein อยู่ที่ใดบ้าง? ที่ใดมีเซลล์ ที่นั่นมี Protein ไม่ว่าเซลล์นั้นจะเป็นเซลล์อะไร หรือแม้กระทั่งเป็นไวรัสก็ตาม นั่นก็เพราะ Protein เปรียบเสมือนแขน-ขา ของเซลล์ ถ้าไม่มี protein เลย เซลล์ก็ไม่ต่างกับห้องโล่ง ที่ทำอะไรไม่ได้เลย แม้กระทั่งเอาของเขา-ออกเซลล์ก็ตาม
Protein เข้าสู่วงจรการเปลี่ยนแปลงสารหรือ metabolism ได้จริงเหรอ?
Protein มีหน้าที่หลักคือ ประกอบหน้าอย่างจำเพาะตามที่มันทำได้ เช่น Actin , myosin เป็นโปรตีนที่อยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อทำหน้าหดตัว เพื่อให้เซลล์กล้ามเนื้อหดตัว , ตัวรับฮอร์โมน ทำหน้าที่จับกับฮอร์โมนเพื่อส่งสัญญาณต่อเข้าไปในเซลล์ แทนตัวฮอร์โมนที่มันผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ไม่ได้ , Antibody ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันอย่างจำเพาะ เพื่อทำลายเชื้อโรค ฯลฯ
ถึงแม้ Protein จะเปลี่ยนเป็นสารอื่นๆ รวมทั้งให้พลังงานได้ด้วย แต่นี่ไม่ใช่หน้าที่หลักของมัน และร่างกายมักจะหลีกเลี่ยงหนทางนี้ให้มากที่สุด
คราวนี้มาถึงเวลาที่จะมาเล่าแจ้งกันแล้วครับว่า Protein เปลี่ยนเป็นสารอื่นๆ โดยเฉพาะ carbohydrate ได้อย่างไร
เชิญทัศนา กระบวนการทางเคมีในร่างกายข้างล่างเลยครับ
ภาพนี้ถูกนำมาจาก http://www.elmhurst.edu/~chm/vchembook/5900verviewmet.htm
นี่เป็นแผนผังเส้นทางเดินของสารต่างๆในร่างกายของเราข้างๆทั้งสามกลุ่ม จะเห็นว่ามันเปลี่ยนไปกันมาได้หมด ขึ้นกับว่า
– เรากำลังพิจารณาถึงเซลล์ใด
– ระดับ hormone ในร่างกายเป็นอย่างไร
เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายไม่ได้รับอาหาร เช่น ห่างจากมื้ออาหารมานาน น้ำตาลในเลือดจะได้มาจากการผลิตน้ำตาลจากตับเป็นหลัก (Hepatic gluconeogenesis) ซึ่งการจะผลิตน้ำตาลนั้น จำเป็นต้องมีสารตั้งต้นที่เป็นสารอื่นที่ไม่ใช่น้ำตาล เพื่อนำมาเข้าปฏิกิริยาการผลิตน้ำตาล สารนั้นได้แก่ Glycogen จากตับ , Lactate จากกล้ามเนื้อลาย , Amino acid นั่นเอง
แผนภาพแสดง metabolism ในช่วงที่ร่างกายอดอาหาร
ภาพถูกนำมาจาก e-book : Medical biochemistry , John W Baynes & Marek H Dominiczak 4th edition
ช่วงที่ร่างกายอดอาหารนั้น จะมี hormone glucagon และกลุ่ม glucocorticoids สูงขึ้น และมี insulin ลดลง ส่งผลให้เริ่มมีการสลาย glycogen จากตับมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้าง glucose ของตับ
เมื่อเวลาผ่านไป glycogen เริ่มลดลง ตับจะเริ่มนำวัตถุดิบอื่นมาใช้ ได้แก่ lactate ซึ่งได้มาจากการใช้ Glucose แบบไม่พึ่ง oxygen ของกล้ามเนื้อลาย และที่สำคัญที่สุดคือ amino acid
กล้ามเนื้อลายถือเป็นแหล่ง protein โครงสร้าง ที่สำคัญ Protein นั้นก็คือ Actin , Myosin นั่นเอง โดยกล้ามเนื้อลายจะเริ่มนำ Protein เหล่านี้ไปสลายในบริเวณที่จำเพาะที่เรียกว่า Proteasome ซึ่งเป็น “เครื่องบดโปรตีน” ของเซลล์นั้นเอง หลังจากผ่านการบดเรียบร้อย ก็จะถูกหั่นเปน amino acid หลากหลายชนิด , Amino acid เหล่านี้ก็จะถูกขนส่งไปยังตับครับ (จริงๆไปในรูป amino acid บางชนิด เช่น alanine มากกว่า)
เมื่อถึงตับ Amino acid จะถูกกระบวนการดึงหมู่ Nitrogen ออก นี่เป็นเหตุที่มีหลายคนเข้าใจว่า Protein มี N จึงเปลี่ยนเป็น carbohydrate ไม่ได้ จริงไม่ใช่นะครับ ถ้ามันมี N เราก็ดึงมันออกมาได้ครับ
เมื่อผ่านการดึงหมู่ Nitrogen ออก มันก็จะกลายเป็นสารต่างๆในขั้นตอนการสลาย carbohydrate นั่นเองครับ ซึ่งสามารถเปลี่ยนกลับมาเป็น Glucose ได้ที่ตับครับ
แต่ร่างกายจะสลาย Protein ในอัตราที่น้อย ถึงแม้ว่าจะอดอาหารนานกว่านั้น เพราะร่างกายจะไปเลือกใช้แหล่งพลังงานสะสมที่มากที่สุด นั่นก็คือไขมันนั่นเองครับ โดยเราจะใช้ในรูปกรดไขมัน และ ketone body ซึ่งจะดูลึกไปทาง biochem ใครสงสัยก็ถามละกันครับ
1. Protein สามารถเปลี่ยนเป็น Glucose ได้ ขึ้นอยู่ภาวะของร่างกายนั้นๆ
2. Protein มี Nitrogen ก็จริง แต่ร่างกายมีปฏิกิริยานำออก ก่อนที่จะเข้ากระบวนการสร้าง glucose ที่ตับ
3. สารอินทรีย์ทุกชนิดบนโลกเปลี่ยนไปมากันได้หมด ขึ้นกับว่ามีสิ่งมีชีวิตนั้นๆมีเอนไซม์นั้นหรือไม่
ร่างกายเราต้องการสารอาหารหลักๆสามอย่าง คือ คาโบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน
คาโบไฮเดรต ถูกย่อยกลายเป็นน้ำตาล โดยขบวนการที่เรียกว่า glycolysis ซึ่งเป็นตัวที่ให้พลังงานเรา คือทำให้น้ำตาลในเลือดเราคงที่
กินคาโบไฮเดรตน้อย น้ำตาลในร่างกายเราก็จะต่ำลง ถ้าต่ำมากร่างกายเราก็จะต้องดึงเอาพลังงานส่วนอื่นมาใช้ อาจจะเป็นไขมันหรือไม่ก็โปรตีน
อย่าตัดแป้งครับ ยังไงร่างกายเราก็ยังต้องการ แต่แป้งที่เรากินมีได้หลายแบบ มีทั้ง complex และ simple carbohydrate
จากหนังสือ Lippincott’s Illustrated Reviews: Biochemistry
ว่าด้วนชนิดของกรดอมิโน
Glucogenic amino acids
Amino acids whose catabolism yields pyruvate or one of the intermediates of the citric acid cycle are termed glucogenic. These intermediates are substrates for gluconeogenesis and, therefore, can give rise to the net formation of glucose in the liver and kidney.
สรุป กรดอมิโนมีกลุ่มนึงที่สามารถ metabolism แล้วได้สารที่เป็นสารตั้งต้นของกระบวนการ Gluconeogenesis ที่ไตและตับได้
โปรตีนสามารถเปลี่ยนเป็นคาร์โบไฮเดรทได้
วิชา Biochemistry ทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน สามารถเปลี่ยนไปมาหากันได้หมด ร่ายกายจะสะสมคาร์โบไฮเดรตไว้ในรูป ไกลโคเจน โปรตีน ไขมัน
ตามหลักแล้วร่ายกายจะสลาย
1.น้ำตาลในเลือด
2.ไกลโคเจน
3.ไขมัน
4.โปรตีน
ตามลำดับ นั้นหมายความว่าโปรตีนในร่ายกายก็สามารถเปลี่ยนเป็นคาร์โบไฮเดรตและนำมาใช้เป็นพลังงานได้ แต่ว่าหมู่อะมิโนในโปรตีนจะกลายเป็นของเสียในร่างกายเยอะ ตับและไตจะทำหน้าที่กำจัดของเสียหนัก ร่างกายจะพยายามหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนโปรตีนเป็นคาร์โบไฮเดรต
น้ำตาล = คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรต รวมถึงสาร
– พวกน้ำตาล (ทั้งน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว คู่ และพวก oligosaccharide)
– พวกคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ ได้แก่
— แป้ง (อะไมโลส, อะไมโลเพกติน)
— ไกลโคเจน
— เซลลูโลส
— เฮมิเซลลูโลส
รวมถึงไฟเบอร์ต่างๆ ก็เป็นคาร์บเช่นกัน แต่เป็นคาร์บฯที่ไม่ให้พลังงาน
โปรตีนไม่สะสม
กรณีที่เราออกกำลังกายมากๆ เพื่อสร้างกล้ามเนื้อร่างกายเราจะทำโปรตีนที่เรากินไปสร้างเป็นกล้ามเนื้อในส่วนนั้น แต่หากเรากินโปรตีนแล้วไม่ได้ ออกกำลังกาย หรือร่างกายเราไม่จำเป็นต้องใช้โปรตีนเนี่ยะ ร่างกายเราจะนำโปรตีนไปใช้เป็นพลังงาน หรือถ้าพลังงานเรา
มากเกินพอจะเก็บในรูปของไขมัน หรือไกลโคเจนก็ได้ ในการนำโปรตีนมาใช้เป็นพลังงานจะทำให้ได้แอมโมเนียออกมา ซึ่งจะถูกเปลี่ยนที่ตับ ให้เป็นยูเรีย และขับออกทางไต
ถ้าหากกินโปรตีนมากไปนอกจากกจะเปลืองตังแล้ว ยังส่งผลให้ไตต้องทำงานมากขึ้นอีกด้วยนะ
ถ้าร่างกายเราได้รับพลังงานจากสารอาหารอื่นไม่เพียงพอที่จะนำโปรตีนไปสร้างเป็นกล้ามเนื้อมันจะเอาที่กินเนียะโปรตีนมาสร้างพลังงานเอง