• June 16, 2017

    Domain Name Server หรือ DNS คือสิ่งที่นำมาอ้างถึงหมายเลขเครื่อง หรือ หมายเลข IP Address เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ

    ประเด็นสำคัญของการสร้าง DNS นั้นมีเพื่อให้จดจำง่าย ในกระบวนการทำงานจริงของ โดเมนเนม เริ่มตั้งแต่การจดทะเบียน โดเมน ( Domain Registration ) กับผู้ให้บริการต่าง ๆ ( Domain Registration Provider ) อย่างเช่น Network Solution , OnlineNIC, Tucows (Opensrs) หรือแม้กระทั้ง Godaddy แต่ละที่จะมีค่าบริการที่แตกต่างกัน ซึ่งบางแห่งก็รวมค่าใช้จ่ายในการ Manager Domain ไว้แล้ว แต่บางที่ก็คิดเป็นครั้ง ๆ ไป หมายความว่า คิดเมื่อมีความต้องการที่จะ Manage Domain

    ทำไมต้อง Manager Domain

    เพราะ ว่าในการจดทะเบียน โดเมน แต่ละครั้งมีข้อมูลที่บางครั้งผู้ใช้บริการต้องการให้ แต่ โดเมน อ้างถึงความเป็นเจ้าของได้จริง ซึ่งตามปกติแล้ว เราจะ Manage Domain ในส่วนต่าง ๆ ดังนี้

    naxza.com

    1. Contact Information
    2. Create Name Server
    3. Doname Name Server หรือ Paking Page หรือ Redirection
    4. Domain Status

    ส่วนใหญ่ในแต่ละผู้ให้บริการจะมี Feature ตามนี้

    บางผู้ให้บริการ จดทะเบียน โดเมนเมน คิดราคาถูกมากตรงนี้ก็ต้องดูให้ดีก่อนว่ามีการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการ Manage Domain หรือไม่ บางที่หากเราต้องการ Create Name Server ขึ้นมาเองจะต้องเสียค่าบริการเพิ่มเติม

    ตัวอย่าง Name Server ของ แน๊กซ่า โฮสติ้ง

    NS1.NAXZA.COM และ NS2.NAXZA.COM เวลาเรากำหนด Name Server ก็ต้องกำหนดโดยไม่ให้ซ้ำกับใคร อาจจะกำหนดเป็นอย่างอื่นก็ได้ แต่จะต้องอ้างถึงชื่อโดเมนของตัวเองสักนิด เพื่อง่ายแก่การค้นหา

    ปกติ เมื่อเรากำหนด Name Server แล้วจะต้องทำการบอกแก่ระบบ Network ด้วยว่า Name Server ดังกล่าวอ้างอิงไปถึงหมายเลข IP Address อะไรเช่น

    NS1.NAXZA.COM อ้างถึงหมายเลข IP 202.44.52.132
    NS2.NAXZA.COM อ้างถึงหมายเลข IP 202.44.52.133
    NS3.NAXZA.COM อ้างถึงหมายเลข IP 202.44.52.104
    NS4.NAXZA.COM อ้างถึงหมายเลข IP 202.44.52.105

    เช่นกันหากเราต้องการทราบว่า Name Server ใด อ้างไปถึงเครื่องหมายเลข IP Address ใด ก็สามารถตรวจสอบได้ โดยไปที่

    http://www.internic.com/whois.html
    จากนั้นเลือกที่ NameServer ดังภาพ

    และระบุชื่อ Name Server ที่ต้องการตรวจสอบ จากนั้นกดที่ ปุ่ม Submit ระบบจะทำการค้นหาและแสดงผลการค้นหาดังภาพ

    ระบบจะแสดงข้อมูลต่าง ๆ ของ Name Server นั้น ๆ ออกมา ไม่ว่าจะเป็น ผู้ให้บริการ จดทะเบียน โดเมนเนมหรือ IP address ของ Name Server นั้น ๆ

    การ มี Name Server เป็นของตัวเอง ที่ลูกค้า โฮสติ้ง ส่วนใหญ่ต้องการคือ ต้องการมี NS1.YourDomain.com เพื่อที่จะนำไปขายต่อ คือหากเป็น Reseller Hosting แล้วการที่ลูกค้าได้รับ DNS เป็นโดเมนเนมของตัวเอง มันดูดี เสมือนมีเครื่อง Server เป็นของตัวเอง ( แต่จริง ๆ เป็น Reseller Hosting ) แต่ปัจจุบันนี้การตรวจสอบค่อนข้างง่ายอย่างที่ได้อธิบายให้ทราบในเบื้องต้นแล้ว

    DNS ย่อมาจาก Domain Name System Domain ใน ความหมายทั่วไป หมายถึง พื้นที่ที่ควบคุม หรือ โลกของความรู้ในอินเตอร์เน็ต domain ประกอบด้วย กลุ่มของตำแหน่งเครือข่าย ชื่อ domain จัดโครงสร้างเป็นระดับ โดยระดับบนสุดเป็นการระบุด้านภูมิศาสตร์หรือจุดมุ่งหมายขององค์กร (เช่น .th หมายถึงประเทศไทย .com หมายถึงหน่วยธุรกิจ) ระดับที่สองเป็นชื่อที่ไม่ซ้ำ (Unique)
    ภายใน Domain ระดับบนสุด และระดับต่ำที่ต้องนำมาใช้ ดังนั้น Domain Name System ก็เป็นระบบจัดการแปลงชื่อ (Domain Name) ให้เป็นหมายเลข IP address (name-to-IP address mapping) โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่าง รวดเร็ว หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ การจดจำตัวเลข IP สำหรับแต่ละที่อยู่เว็บไซต์ มีความยากลำบาก ในทางปฏิบัติ จึงได้มีระบบการแปลงเลข IP ให้เป็นชื่อที่ประกอบขึ้นจากตัวอักษร คำ หรือ วลี เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ซึ่งเรียกว่า โดเมนเนม (Domain Name)
    เมื่อเราป้อนที่อยู่เว็บไซต์ หรือโดเมนเนม ให้กับโปรแกรม Browser คอมพิวเตอร์จะทำการ แปลงโดเมนเนมให้เป็นชุดตัวเลข IP เพื่อให้คอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง เข้าใจระบบที่ใช้แปลง ค่าระหว่างโดเมนเนม และ เลข IP นี้เรียกว่า Domain Name System (DNS) ซึ่งโดยปกติจะมี 2 ส่วน คือ
    Primary Name Server เป็นเครื่องหลักที่เก็บข้อมูล ชื่อ และ IP Address ของเครื่องในโดเมนเนม
    Secondary Name Server เป็นเครื่องสำรองที่เก็บสำเนาข้อมูลทั้งหมดของเครื่อง Primary ซึ่งอาจมีการสำรองมากกว่า1 เครื่องก็ได้ โดยการจะจด DNS Name Server ได้ จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เปิดอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Procider) มหาวิทยาลัยใหญ่ บริษัทใหญ่และผู้ให้บริการรับฝากเว็บซึ่งเรียกว่า Web Presence หรือ Web Hosting เป็นต้น การทำงานของระบบ DNS คือ ทำหน้าที่แปลงข้อมูลชื่อและหมายเลข IP address หรือทำกลับกันก็ได้ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันเพิ่มเติมอื่นๆ อีก เช่น แจ้งชื่อของอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ใน domain ที่รับผิดชอบด้วย ในระบบ DNS นั้น จะมีการกำหนด name space ที่มีกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน มีวิธีการเก็บข้อมูลเป็นแบบฐานข้อมูลแบบกระจาย ทำงานในลักษณะของไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) โดยมี DNS server ให้บริการเรียกค้นชื่อและแปลงข้อมูลให้ตามที่เครื่องลูกข่าย (DNS Client) เรียกเข้ามา เช่น เครื่องลูกข่ายที่ต้องการรับส่งอีเมล์ หรือโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลให้กับเครื่องอื่นซึ่งอาจจะรู้เพียงชื่อของเครื่อง เซิร์ฟเวอร์ ที่ให้บริการแค่นั้น แต่ไม่รู้หมายเลข IP address เจ้า DNS จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลและแจ้งให้เครื่องลูกข่ายตามที่ได้ส่งคำสั่งขอข้อมูล มา และการทำงานแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์นี้เองที่ทำให้เครื่องซึ่งทำหน้าที่ DNS สามารถเป็นได้ทั้งเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์ของ DNS ในเครื่องเดียวกัน ดังนั้นเครื่องที่ให้บริการในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 1 เครื่องจะมีการอ้างถึงได้หลายอย่าง เช่น
    – อ้างตามชื่อ domain เช่น mail.provision.co.th
    – อ้างตาม IP address เช่น 204.183.255.30
    – อ้างตามหมายเลขฮาร์ดแวร์หรือ MAC address เช่น 00:a0:7c:4d:f2



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories