• July 17, 2017

    3G = “3rd Generation Mobile Telecommunications” = มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3
    ซึ่งพัฒนามาจากยุค 2G และ 2.5G ที่ให้มีขีดความสามารถในการให้บริการด้านมัลติมีเดีย ได้อย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่างๆ เพื่อรองรับกับการใช้งานบนเครือข่ายความเร็วสูงในอนาคต โดยปัจจุบันประเทศไทย ได้มีการพัฒนาเข้าสู่ยุค 3G ในรูปแบบของมาตรฐาน “WCDMA” หรือ “Wide Band Code Division Multiple Access” (ยกเว้น CAT ที่ใช้เทคโนโลยี CDMA 2000 1x EVDO ให้บริการในพื้นที่ต่างจังหวัดอยู่ แต่จะมีการเปลี่ยนระบบเป็น WCDMA ในอนาคต) ซึ่งพัฒนามาจากระบบ GSM(Global System for Mobile Communications) โดยองค์กร 3GPP (Third Generation Program Partnership) องค์กรที่ดูแล และออกระเบียบการพัฒนาระบบ 3G แบบ WCDMA ซึ่งเป็นมาตรฐานมานานกว่า 10 ปีแล้ว และเป็นรูปแบบที่มีใช้มากที่สุดในโลก โดยปัจจุบัน 3G ในรูปแบบของ WCDMA มีใช้ด้วยกันทั้งหมด 5 ความถี่ แบ่งเป็น

    – 2100 MHz เป็นความถี่แรกของมาตรฐาน 3G WCDMA โดยใช้กันแพร่หลายมากที่สุดทั่วโลก ทั้งในทวีปยุโรป เอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลีย
    – 900 MHz ใช้กันแพร่หลายในยุโรป เอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลีย หรือประเทศที่ให้บริการ GSM ในความถี่ 900 MHz อยู่แล้ว และมีการอัพเกรดระบบให้เป็น 3G บนเครือข่ายเดิม
    – 1700 MHz มีใช้กันในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
    – 1900 MHz ใช้กันแพร่หลายในแถบทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้
    – 850 MHz ใช้กันมากในแถบทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ในเอเชียมีประเทศ ออสเตรเลีย และประเทศไทย

    เราเคยจะได้ประมูลไลเซนส์ 3G บนย่านความถี่ 2100 MHz แต่ก็ถูกล้มประมูลไปเสียก่อน ทำให้ตอนนี้หลายค่ายหันมาเปิดให้บริการ 3G บนเครือข่ายเดิมของตัวเองที่มีอยู่ เริ่มตั้งแต่ Truemove และ Dtac ที่เปิดให้บริการที่ย่านความถี่ 850 MHz AIS เปิดให้บริการที่ย่านความถี่ 900 MHz และ TOT และพาร์ทเนอร์ MVNO ทั้งหลายให้บริการที่ความถี่ 2100 MHz  ความถี่ที่ TOT ได้มาแต่ดั้งแต่เดิม นับๆ ดูแล้วก็กินเข้าไปถึง 3 ช่วงความถี่ ซึ่งถ้าเป็นระบบ 2G แบบเดิมจะเป็นGSM 850/900/1800/1900 MHz ก็ไม่มีผลกระทบใดๆ แต่เมื่อข้ามไปเป็น 3G ที่เป็นโครงข่ายความเร็วสูง การที่ความถึงที่ใกล้กันมากอย่าง 850MHz และ 900 MHz ที่ผู้ผลิตมือถือบางค่าย(แค่บางค่ายเท่านั้น) ไม่สามารถออกแบบ รับสัญญาณที่ครอบคลุมทั้งหมดได้ หรืออาจจะรับได้แต่การรับสัญญาณยังไม่เสถียร จึงไม่ผลิตออกมาแค่เฉพาะบางช่วงทำให้ผู้ใช้เองจำเป็นต้องศึกษาตัวเครื่องที่ใช้ให้เหมาะสมกับค่ายผู้ให้บริการสัญญาณ

    รู้ไหมอุปกรณ์ที่ใช้เหมาะกับค่ายไหน
    อย่างที่บอกเมื่อซักครู่ 3G ประเทศไทยนั้นมีความแตกต่างกัน ถึง 3 ระดับความถี่ด้วยกัน การจะเลือกใช้อุปกรณ์ก็ต้องเลือกใช้ให้เมาะสมกันในแต่ละค่าย หรืออีกอย่างคือต้องเลือกค่ายให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่เรามีอยู่ อันนี้ก็ต้องไปเลือกกันเอาเองว่าจะเลือกกันแบบไหนถึงเหมาะสม เอาละเมื่อซักครู่นี่เราได้บอกไปแล้วว่า ค่ายไหนให้บริการที่ย่านความถี่ใดบ้าง คราวนี้เราลองมาดูกันว่าอุปกรณ์ที่เราใช้อยู่นั้นรองรับสัญญาณที่ความถี่ใดบ้าง ขอยกตัวอย่างคร่าวๆ รุ่นที่ได้รับความนิยม และมีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันเท่านั้นแล้วกัน บอกทั้งหมดเลยเดี๋ยวจะยาวเกิน พีซีทูเดย์ทั้งเล่มก็คงจะเขียนไม่พอ

    apple เจ้านี้ชอบทำอะไรง่ายๆ อยู่แล้วเรื่อง 3G ก็ต้องพร้อมเช่นกันโดน ปัจจุบันทั้ง iPhone 4 และ iPad 2 รวมถึง iPhone5 ที่คาดว่าจะเปิดตัวกันเร็วๆ นี้ ก็สามารถรองรับเทคโนโลยี 3G ในบ้านเราได้ทุกค่าย ไม่ว่าจะความถี่ 850, 900, 1900, 2100 MHz พี่ไอรองรับได้ทั้งหมด มีความเร็วในการ ดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 7.2 Mbps และอัพโหลดสูงสุดที่ 5.76 Mbps ส่วน iPhone 3GS และ iPad ตัวเก่านั้น รองรับ 3G ได้ก็จริงแต่ ไม่สามารถรองรับย่านความถี่ 900 MHz ได้ (ได้เฉพาะความถี่ 850,  1900, 2100 MHz ) ทำให้ไม่สามารถใช้งาน 3G จาก AIS ได้นั่นเอง โดยความเร็วสูงสุดที่รองรับได้คือ 7.2 Mbps สำหรับดาวน์โหลด และ 384 Kbps สำหรับอัพโหลด

    Android ที่ปัจจุบันมีทั้งมือถือ และแท็ปเล็ตจำนวนมาก แต่ละค่ายก็เลือกความถี่สัญญาณที่รองรับกันเองเสียด้วย เลยระบุค่อนข้างจะยากว่าเครื่องรุ่นไหนรองรับ 3G ย่านความถี่ใดบ้าง และรองรับความเร็วได้สูงสุดเท่าไหร่ อันนี้ก็ต้องหาข้อมูลกันเอาเอง อันนี้คงช่วยอะไรไม่ได้ ง่ายสุดเลยก็ถามคนขาย น่าจะมีข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์รุ่นนั้นๆ อยู่แล้วบ้าง หรือเช็คสเปคจากเว็บไซต์ผู้ผลิต น่าจะดูง่ายที่สุดแล้ว แต่จะเจอปัญหาบางทีรุ่นเดียวกันชื่อเดียวกันแต่มีหลายโมเดล ยกตัวอย่างเช่น Samsung Galaxy TAB ที่หากเป็นโมเดลตระกูล P1000 จะเป็นเวอร์ชั่นที่รองรับ 3G ความถี่ 900/2100 MHz ซึ่งสามารถใช้ได้เฉพาะ AIS, TOT 3G เท่านั้น ในขณะที่ โมเดลตระกูล P1000T เป็นเวอร์ชั่นที่รองรับความถี่ 3G 850/2100 MHz ซึ่งก็จะสามารถใช้ได้ทั้ง Dtac, True Move, TOT 3G ยกเว้น AIS เจ้าเดียวเป็นต้น ซึ่งผู้ใช้ก็ต้องระวังและศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจ มิฉะนั้นแล้วก็อาจจะมีปัญหาในการใช้งานได้

    RIM ผู้ผลิตมือถือยอดนิยมอย่าง BlackBerry ก็มีมือถือที่รองรับ 3G ออกมาหลายรุ่นอยู่เหมือนกัน ตั้งแต่ Bold 9000, Bold 9700 ใหม่หน่อยก็เช่น Torch 9800, Curve 9300 หรือที่กำลังจะออกมาเร็วๆ นี้อย่าง Bold 9900, Curve 9360 เป็นต้น ซึ่งแต่ละรุ่นก็จะสามารถรองรับย่านความถี่ที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ทาง RIM จะออกแบบมา ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้จากจากเว็บไซต์ผู้ผลิต เว็บไซต์มือถือ หรือจากในตัวเครื่องเองได้เช่นกัน

    เลือกค่ายไหนถึงเหมาะ
    แต่ละค่ายผู้ให้บริการมีความแต่ต่างทางด้านเทคนิคอย่างบ้าง

    AIS ที่ก่อนหน้านี้อาจจะลุ่มๆ ดอนๆ พยายามดัน 3G บนคลื่นความถี่เดิมที่ 900 MHz อยู่นาน กว่าจะได้ใช้คู่แข่งก็แซงไปแล้วหลายขุม โชคดีฟ้ายังเข้าข้าง ได้ใบเบิกทางตั้งเสาสัญญาณ 3G ได้ 1,884 สถานีฐานทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 70% ของกรุงเทพ ในส่วนของกรุงเทพชั้นใน และชั้นกลาง และอีก 7 จังหวัดสำคัญๆ ได้แก่ เชียงใหม่, นครราชสีมา, ชลบุรี, ภูเก็ต, สงขลา, ประจวบฯ (หัวหิน, ปราณบุรี), และ เพชรบุรี (ชะอำ)

    แถมยังเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี HSPA+ (เฉพาะบางพื้นที่ ส่วนใหญ่ยังเป็นเทคโนโลยี HSPA รับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 7.2 Mbps)ในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงทำให้เครือข่าย 3G AIS ของสามารถรับสูงข้อมูลได้เร็วสุดถึง 21.6 Mbps เลยทีเดียว แต่ด้วยข้อจำกัดของคลื่นความถี่ 900MHz ที่ AIS ถืออยู่มีแบรนด์วิชเพียง 5 MHz เลยไม่สามารถอัพความเร็วเป็น 42 Mbps เหมือนคู่แข่งได้ จึงค่อนข้างจะเสียเปรียบในเรื่องของความเร็ว แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะมือถือส่วนที่รองรับ 3G ส่วนใหญ่ จะสามารถทำงานบนความถี่ 900MHz ได้เป็นส่วนมาก ผู้ใช้สามารถเข้ามาใช้บริการได้เลยโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ ถือเป็นข้อดีที่ค่อนข้างจะได้เปรียบในทางการตลาดอยู่บ้าง คงต้องไปวัดกันที่โปรโมชั่นราคาค่าบริการจะดึงดูดใจผู้ใช้มากแค่ไหน

    มาในส่วนของ Dtac อีกหนึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือได้เปิดให้บริการ 3G บนคลื่นเดิมอีกหนึ่งค่าย โดยจะให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850 MHz ซึ่งปัจจุบันนี้มีการตั้งสถานีฐาน ให้บริการลูกค้าทั่วกรุงเทพกว่า 1,220 จุด หากนับดูแล้วอาจจะน้อยกว่าของทาง AIS หน่อย แต่ Dtac นั้นทุ่มลงในพื้นที่กรุงเทพทั้งหมด จึงทำให้ Dtac มีพื้นที่ให้บริการ 3G ครอบคลุมทั่วกรุงเทพ และปริมณฑลทั้งหมดได้

    Categorized | Featured, Smart Action
    Tags | 3G, AIS, DTAC, speed, tested, TOT, true move
    3G Speed Tested ค่ายไหนแรง ค่ายไหนแพง หาคำตอบได้ที่นี่

    Posted on 21 September 2011 by pey

    “อยากรู้ไหม 3G เมืองไทย ค่ายไหนเมพ ค่ายไหนกากส์ ทดสอบสปีดให้เห็นกันแบบชัดๆ ทั้ง 4 ค่าย ใน  5 พื้นสำคัญๆ ทั่วกรุงเทพ ค่ายไหนจะเร็วกว่าแรงกว่า หรือทำได้ตาโฆษณาไหม ในนี้มีคำตอบ”

    บ้านเรามี 3G แล้วจ้า!!! อยากจะตีฆ้องร้องเป่าดังๆ ให้ทั่วโลกรับรู้กันเหลือเกิน ว่าบ้านเรากว่าจะมี 3G ใช้กันแล้ว ถึงจะยังไม่สมบูรณ์แบบ 100% เพราะเรายังไม่ได้มีการประมูลไลเซนส์ 3G กันอย่างเป็นทางการก็เถอะนะ อย่างน้อยตอนนี้ก็มีให้บริการ กันครบทุกค่ายแล้ว พูดได้เต็มปากเต็มคำแล้วว่าเรามี 3G จริงๆ นะ (แม้ว่าประเทศลาวเค้าจะไป 4G กันแล้ว) แต่ความเร็วก็ลดหลั่นกันไปตามแต่ละค่ายจะแชร์แบรนด์วิชมาให้เราได้มากน้อยแค่ไหน โชคดีเจอช่วงสัญญาณแรงก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเจอช่วงเน็ตเต่าคนแชร์เยอะอีกมีหวัง คงหัวเสียกันแน่ๆ จ่ายค่าบริการเต็มราคาแต่ได้ประสิทธิภาพไม่เต็มที่ แบบนี้คงไม่ไหว จัดทดสอบใหญ่กันซักหน่อยกับ บททดสอบ 3G 4 ค่ายใหญ่ AIS, Dtac, Truemove, TOT(ขออภัยที่ไม่สามารถทดสอบ Truemove H ได้ เพราะไม่มีซิมเติมเนื่องจากตัวซิมบังคับติดสัญญาอีก 6 เดือน ไม่มีตังไปจ่าย ต้องทดสอบเท่าที่มีไปก่อน) ทั่วกรุงเทพ ค่ายไหนเน็ตเร็ววิ่งเต็มสปรีด ไม่หงุดหงิดค่ายไหนปล่อยเน็ตเต่าเข็นไม่ขึ้นต้องคอยดู

    อะไรคือ 3G

    ก่อนจะไปลุยทดสอบ 3G แวะมาจะทำความรู้จักกันกับเทคโนโลยี 3G ซักหน่อย เผื่อไว้เป็นความรู้ อย่างน้อยๆ ใครมาถามจะได้ตอบกันได้แบบไม่อายใคร สำหรับคำว่า “3G” คำนี้ย่อมาจากคำเต็มๆ คือ “3rd Generation Mobile Telecommunications” หรือถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็คือ “มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3” ซึ่งพัฒนามาจากยุค 2G และ 2.5G ที่ให้มีขีดความสามารถในการให้บริการด้านมัลติมีเดีย ได้อย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่างๆ เพื่อรองรับกับการใช้งานบนเครือข่ายความเร็วสูงในอนาคต โดยปัจจุบันประเทศไทย ได้มีการพัฒนาเข้าสู่ยุค 3G ในรูปแบบของมาตรฐาน “WCDMA” หรือ “Wide Band Code Division Multiple Access” (ยกเว้น CAT ที่ใช้เทคโนโลยี CDMA 2000 1x EVDO ให้บริการในพื้นที่ต่างจังหวัดอยู่ แต่จะมีการเปลี่ยนระบบเป็น WCDMA ในอนาคต) ซึ่งพัฒนามาจากระบบ GSM(Global System for Mobile Communications) โดยองค์กร 3GPP (Third Generation Program Partnership) องค์กรที่ดูแล และออกระเบียบการพัฒนาระบบ 3G แบบ WCDMA ซึ่งเป็นมาตรฐานมานานกว่า 10 ปีแล้ว และเป็นรูปแบบที่มีใช้มากที่สุดในโลก โดยปัจจุบัน 3G ในรูปแบบของ WCDMA มีใช้ด้วยกันทั้งหมด 5 ความถี่ แบ่งเป็น

    – 2100 MHz เป็นความถี่แรกของมาตรฐาน 3G WCDMA โดยใช้กันแพร่หลายมากที่สุดทั่วโลก ทั้งในทวีปยุโรป เอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลีย

    – 1900 MHz ใช้กันแพร่หลายในแถบทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้

    – 1700 MHz มีใช้กันในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

    – 850 MHz ใช้กันมากในแถบทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ในเอเชียมีประเทศ ออสเตรเลีย และประเทศไทย

    – 900 MHz ใช้กันแพร่หลายในยุโรป เอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลีย หรือประเทศที่ให้บริการ GSM ในความถี่ 900 MHz อยู่แล้ว และมีการอัพเกรดระบบให้เป็น 3G บนเครือข่ายเดิม

    ซึ่งในส่วนของประเทศไทยก็อย่างที่เราๆ ท่านๆ ได้ทราบ เราเคยจะได้ประมูลไลเซนส์ 3G บนย่านความถี่ 2100 MHz แต่ก็ถูกล้มประมูลไปเสียก่อน ทำให้ตอนนี้หลายค่ายหันมาเปิดให้บริการ 3G บนเครือข่ายเดิมของตัวเองที่มีอยู่ เริ่มตั้งแต่ Truemove และ Dtac ที่เปิดให้บริการที่ย่านความถี่ 850 MHz AIS เปิดให้บริการที่ย่านความถี่ 900 MHz และ TOT และพาร์ทเนอร์ MVNO ทั้งหลายให้บริการที่ความถี่ 2100 MHz  ความถี่ที่ TOT ได้มาแต่ดั้งแต่เดิม นับๆ ดูแล้วก็กินเข้าไปถึง 3 ช่วงความถี่ ซึ่งถ้าเป็นระบบ 2G แบบเดิมจะเป็นGSM 850/900/1800/1900 MHz ก็ไม่มีผลกระทบใดๆ แต่เมื่อข้ามไปเป็น 3G ที่เป็นโครงข่ายความเร็วสูง การที่ความถึงที่ใกล้กันมากอย่าง 850MHz และ 900 MHz ที่ผู้ผลิตมือถือบางค่าย(แค่บางค่ายเท่านั้น) ไม่สามารถออกแบบ รับสัญญาณที่ครอบคลุมทั้งหมดได้ หรืออาจจะรับได้แต่การรับสัญญาณยังไม่เสถียร จึงไม่ผลิตออกมาแค่เฉพาะบางช่วงทำให้ผู้ใช้เองจำเป็นต้องศึกษาตัวเครื่องที่ใช้ให้เหมาะสมกับค่ายผู้ให้บริการสัญญาณ

    รู้ไหมอุปกรณ์ที่ใช้เหมาะกับค่ายไหน

    อย่างที่บอกเมื่อซักครู่ 3G ประเทศไทยนั้นมีความแตกต่างกัน ถึง 3 ระดับความถี่ด้วยกัน การจะเลือกใช้อุปกรณ์ก็ต้องเลือกใช้ให้เมาะสมกันในแต่ละค่าย หรืออีกอย่างคือต้องเลือกค่ายให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่เรามีอยู่ อันนี้ก็ต้องไปเลือกกันเอาเองว่าจะเลือกกันแบบไหนถึงเหมาะสม เอาละเมื่อซักครู่นี่เราได้บอกไปแล้วว่า ค่ายไหนให้บริการที่ย่านความถี่ใดบ้าง คราวนี้เราลองมาดูกันว่าอุปกรณ์ที่เราใช้อยู่นั้นรองรับสัญญาณที่ความถี่ใดบ้าง ขอยกตัวอย่างคร่าวๆ รุ่นที่ได้รับความนิยม และมีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันเท่านั้นแล้วกัน บอกทั้งหมดเลยเดี๋ยวจะยาวเกิน พีซีทูเดย์ทั้งเล่มก็คงจะเขียนไม่พอ

    เริ่มต้นกันที่แอปเปิลเจ้าแรกก่อนเลย เจ้านี้ชอบทำอะไรง่ายๆ อยู่แล้วเรื่อง 3G ก็ต้องพร้อมเช่นกันโดน ปัจจุบันทั้ง iPhone 4 และ iPad 2 รวมถึง iPhone5 ที่คาดว่าจะเปิดตัวกันเร็วๆ นี้ ก็สามารถรองรับเทคโนโลยี 3G ในบ้านเราได้ทุกค่าย ไม่ว่าจะความถี่ 850, 900, 1900, 2100 MHz พี่ไอรองรับได้ทั้งหมด มีความเร็วในการ ดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 7.2 Mbps และอัพโหลดสูงสุดที่ 5.76 Mbps ส่วน iPhone 3GS และ iPad ตัวเก่านั้น รองรับ 3G ได้ก็จริงแต่ ไม่สามารถรองรับย่านความถี่ 900 MHz ได้ (ได้เฉพาะความถี่ 850,  1900, 2100 MHz ) ทำให้ไม่สามารถใช้งาน 3G จาก AIS ได้นั่นเอง โดยความเร็วสูงสุดที่รองรับได้คือ 7.2 Mbps สำหรับดาวน์โหลด และ 384 Kbps สำหรับอัพโหลด

    ตามมาด้วยหุ่นเขียว Android ที่ปัจจุบันมีทั้งมือถือ และแท็ปเล็ตจำนวนมาก แต่ละค่ายก็เลือกความถี่สัญญาณที่รองรับกันเองเสียด้วย เลยระบุค่อนข้างจะยากว่าเครื่องรุ่นไหนรองรับ 3G ย่านความถี่ใดบ้าง และรองรับความเร็วได้สูงสุดเท่าไหร่ อันนี้ก็ต้องหาข้อมูลกันเอาเอง อันนี้คงช่วยอะไรไม่ได้ ง่ายสุดเลยก็ถามคนขาย น่าจะมีข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์รุ่นนั้นๆ อยู่แล้วบ้าง หรือเช็คสเปคจากเว็บไซต์ผู้ผลิต น่าจะดูง่ายที่สุดแล้ว แต่จะเจอปัญหาบางทีรุ่นเดียวกันชื่อเดียวกันแต่มีหลายโมเดล ยกตัวอย่างเช่น Samsung Galaxy TAB ที่หากเป็นโมเดลตระกูล P1000 จะเป็นเวอร์ชั่นที่รองรับ 3G ความถี่ 900/2100 MHz ซึ่งสามารถใช้ได้เฉพาะ AIS, TOT 3G เท่านั้น ในขณะที่ โมเดลตระกูล P1000T เป็นเวอร์ชั่นที่รองรับความถี่ 3G 850/2100 MHz ซึ่งก็จะสามารถใช้ได้ทั้ง Dtac, True Move, TOT 3G ยกเว้น AIS เจ้าเดียวเป็นต้น ซึ่งผู้ใช้ก็ต้องระวังและศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจ มิฉะนั้นแล้วก็อาจจะมีปัญหาในการใช้งานได้

    มาถึงค่ายที่ 3 กับ RIM ผู้ผลิตมือถือยอดนิยมอย่าง BlackBerry ก็มีมือถือที่รองรับ 3G ออกมาหลายรุ่นอยู่เหมือนกัน ตั้งแต่ Bold 9000, Bold 9700 ใหม่หน่อยก็เช่น Torch 9800, Curve 9300 หรือที่กำลังจะออกมาเร็วๆ นี้อย่าง Bold 9900, Curve 9360 เป็นต้น ซึ่งแต่ละรุ่นก็จะสามารถรองรับย่านความถี่ที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ทาง RIM จะออกแบบมา ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้จากจากเว็บไซต์ผู้ผลิต เว็บไซต์มือถือ หรือจากในตัวเครื่องเองได้เช่นกัน

    วิธีการดูใครมีมือถือ BlackBerry อยู่ข้างตัวตอนนี้ให้กดตามมาได้เลย ลำดับแรกให้เข้าไปที่เมนู “Options” รูปไขควงอยู่ด้านล่าง ซึ่งถ้าเครื่องของใครใช้ OS5 อยู่ ให้เข้าไปที่เมนู “About” ที่อยู่ในลำดับแรก ส่วนใครที่ใช้ OS6 ต้องเข้าไปที่เมนู “Device” ก่อน แล้วถึงจะเจอเมนู “About Device Versions” อันนี้ต้องรู้ก่อนด้วยว่า เครื่อง BlackBerry ของเราที่ใช้อยู่นั้น ใช้ระบบปฏิบัติการ BlackBerry OS ในเวอร์ชั่นไหนด้วย

    ในหน้า About หรือ About Device Versions สำหรับ OS6 จะแสดงรายละเอียดต่างๆ ของตัวเครื่องตั้งแต่ชื่อรุ่นระบบปฏิบัติการต่างๆ ตามรูปด้านบน สำหรับการดูย่านความถี่ที่เครื่องรองรับนั้น ให้ดูตรงหัวข้อ “3G Bands” ประมาณหัวข้อที่ 4 ซึ่ง ด้านหลังจะเขียนเป็นตัวเลขเอาไว้ อย่างในรูปตัวอย่างคือ 1, 2, 5, 6 เลขแต่ละตัวนั้นจะหมายถึง ย่านความถี่ ที่ตัวเครื่องนั้นรองรับ โดยตัวเลข 1 จะแทนความถี่ 2100 MHz, 2 แทนความถี่ 1900 MHz, 4 แทนความถี่ 1700 MHz, 5 แทนความถี่ 850 MHz, 6 แทนความถี่ 800 MHz, และ 8 แทนความถี่ 900 MHz  ซึ่งหากจะใช้กับเครือข่าย Dtac หรือ Truemove ต้องเลือก 3G Bands หมายเลข 1, 2, 5, 6 หรือถ้าจะนำไปใช้กับ AIS ก็ต้องเลือกที่เป็นหมายเลข 3G Bands 1, 4, 8  ส่วน TOT ปล่อยสัญญาณที่ความถี่ 2,100 MHz สามารถใช้ได้ ทุกเครื่องอยู่แล้วจึงไม่ต้องเลือกอะไรมาก เพียงแต่ตอนนี้ผู้ให้บริการ 3G ที่เป็น MVNO ของ TOT อยู่มีเพียงแค่ i-mobile 3GX รายเดียวเท่านั้นที่มีแพ็คเกจสำหรับ BB Service ได้

    ส่วนค่ายอื่นๆ ที่เหลือ รวมถึง AirCard อันนี้ต้องขอข้ามไป และกัน ไม่สามารถอธิบายได้หมด ก็ลองไปศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์แต่ละตัว กันดูว่าอุปกรณ์ที่เราใช้อยู่รองรับสัญญาณความถี่ย่านไหน ใช้สัญญาณของค่ายไหนได้บ้าง รวมถึงความเร็วสูงสุดที่ตัวอุปกรณ์รับได้ มากน้อยแค่ไหน จะได้เอาไว้เลือกผู้ให้บริการกันต่อไป

    เลือกค่ายไหนถึงเหมาะ

    เอาละรู้กันไปแล้วว่าอุปกรณ์แต่ละตัวรองรับสัญญาณของผู้ให้บริการ ค่ายไหนบ้างคราวนี้ มาดูกันว่าแต่ละค่ายผู้ให้บริการมีความแต่ต่างทางด้านเทคนิคอย่างบ้าง

    เริ่มจากค่ายแรกกับ AIS ที่ก่อนหน้านี้อาจจะลุ่มๆ ดอนๆ พยายามดัน 3G บนคลื่นความถี่เดิมที่ 900 MHz อยู่นาน กว่าจะได้ใช้คู่แข่งก็แซงไปแล้วหลายขุม โชคดีฟ้ายังเข้าข้าง ได้ใบเบิกทางตั้งเสาสัญญาณ 3G ได้ 1,884 สถานีฐานทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 70% ของกรุงเทพ ในส่วนของกรุงเทพชั้นใน และชั้นกลาง และอีก 7 จังหวัดสำคัญๆ ได้แก่ เชียงใหม่, นครราชสีมา, ชลบุรี, ภูเก็ต, สงขลา, ประจวบฯ (หัวหิน, ปราณบุรี), และ เพชรบุรี (ชะอำ)

    พื้นที่ให่้บริการในเขตกรุงเทพ

    พื้นที่ให้บริการในเขตเชียงใหม่

    พื้นที่ให้บริการในเขตชลบุรี

    พื้นที่ให้บริการในเขต ชะอำ, หัวหิน, ปราณบุรี, และภูเก็ต

    พื้นที่ให้บริการในเขตสงขลา

    พื้นที่ให้บริการในเขตนครราชสีมา

    แถมยังเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี HSPA+ (เฉพาะบางพื้นที่ ส่วนใหญ่ยังเป็นเทคโนโลยี HSPA รับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 7.2 Mbps)ในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงทำให้เครือข่าย 3G AIS ของสามารถรับสูงข้อมูลได้เร็วสุดถึง 21.6 Mbps เลยทีเดียว แต่ด้วยข้อจำกัดของคลื่นความถี่ 900MHz ที่ AIS ถืออยู่มีแบรนด์วิชเพียง 5 MHz เลยไม่สามารถอัพความเร็วเป็น 42 Mbps เหมือนคู่แข่งได้ จึงค่อนข้างจะเสียเปรียบในเรื่องของความเร็ว แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะมือถือส่วนที่รองรับ 3G ส่วนใหญ่ จะสามารถทำงานบนความถี่ 900MHz ได้เป็นส่วนมาก ผู้ใช้สามารถเข้ามาใช้บริการได้เลยโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ ถือเป็นข้อดีที่ค่อนข้างจะได้เปรียบในทางการตลาดอยู่บ้าง คงต้องไปวัดกันที่โปรโมชั่นราคาค่าบริการจะดึงดูดใจผู้ใช้มากแค่ไหน

    มาในส่วนของ Dtac อีกหนึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือได้เปิดให้บริการ 3G บนคลื่นเดิมอีกหนึ่งค่าย โดยจะให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850 MHz ซึ่งปัจจุบันนี้มีการตั้งสถานีฐาน ให้บริการลูกค้าทั่วกรุงเทพกว่า 1,220 จุด หากนับดูแล้วอาจจะน้อยกว่าของทาง AIS หน่อย แต่ Dtac นั้นทุ่มลงในพื้นที่กรุงเทพทั้งหมด จึงทำให้ Dtac มีพื้นที่ให้บริการ 3G ครอบคลุมทั่วกรุงเทพ และปริมณฑลทั้งหมดได้

    และด้วยการให้บริการ 3G บนความถี่ 850 MHz ที่มีแบรนด์วิชที่ กว้างกว่าถึง 10MHz ทำให้ระบบ 3G ของ Dtac สามารถรองรับความเร็วในการดาวน์โหลดได้สูงสุดถึง 42 Mbps ด้วยเทคโนโลยี HSPA+ แต่ต้องขึ้นอยู่กับตัวรับสัญญาณ ที่รองรับเทคโนโลยี HSPA+ ที่สามารถรับส่งสัญญาณแบบ MIMO(Multiple-Input and Multiple-Output) ได้ถึงจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็เริ่มที่จะมีการนำแอร์การ์ดที่รองรับถึง 42 Mbps มาขายกันบ้างแล้วแต่ยังไม่มาก ส่วนโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนต่างๆ ตอนนี้ยังไม่มีรุ่นใดที่รองรับ ความสามารถของเทคโนโลยีนี้ได้แบบเต็มๆ ถึง 42 Mbps คงต้องรออีกซักระยะหนึ่ง

    Truemove ที่ไม่ใช่ Truemove H อธิบายก่อนเดี๋ยวจะเข้าใจกันผิดว่าสองค่ายนี้คือค่ายเดียวกัน ถึงแม้จะว่าจะชื่อเหมือนกัน ศูนย์บริการเดียวกัน รวมถึงเจ้าของก็เถอะ แต่ Truemove และ Truemove H มีการแยกออกจากกันโดยชัดเจน เนื่องจาก Truemove H เป็นความร่วมมือกันของ Truemove และ CAT Telecom พัฒนาระบบ CDMA เดิมที่เคยเป็นของ Hutch ให้กลายเป็น WCDMA ส่วน Truemove เดิมก็ยังให้บริการตามปกติ ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่จะมีการถ่ายโอนลูกค้ากันไหม อันนี้ต้องรอดูนโยบายกันในเร็วๆ นี้ แต่สำหรับบทความนี้ขอทดสอบเพียง Truemove เพียงอย่างอย่างเดียวเท่านั้นไม่สามารถทดสอบ Truemove H ให้ชมกันได้ ด้วยจำกัดเรื่องซืมที่ไม่มีซิมระบบเติมเงิน รวมถึงรายเดือนเองก็มีข้อบังคับให้ต้องทำสัญญาเปิดใช้งานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน คำนวณไปมาแล้ว ดูท่าจะไม่คุ้มกับค่าบทความ ไว้เราได้รับแจกให้ทดสอบเมื่อไหร่จะเอามาทดสอบให้ชมกันใหม่อีกครั้ง บอความนี้ขอเป็น Truemove ปกติไปก่อน

    ในส่วนของผู้ให้บริการ Truemove นั้น ให้บริการที่โครงข่าย 3G บนคลื่นความถี่ 850 MHz เช่นเดียวกับ Dtac ทำให้สองค่ายนี้มีศักยภาพที่ไม่แตกต่างกันนัก แต่โชคร้ายที่ 3G ของ Truemove เป็นเทคโนโลยี HSPA ทำให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพียง 7.2 Mbps เท่านั้น ไม่สูงเท่า Truemove H ที่เป็นเทคโนโลยี HSPA+ ความเร็ว 42 Mbps เท่ากันกับ Dtac ดูแล้วรู้สึกเป็นลูกเมียน้อยขึ้นมาทันที แต่ข้อดีชอง Truemove คือพื้นที่ให้บริการ 3G ที่มีให้ค่อนข้างเยอะ ทั้งในกรุงเทพและปริมณฑล, ชลบุรี(พัทยา), เชียงใหม่, ภูเก็ต รวมถึงมีไวไฟฮอตสปอร์ตกว่า 30,000 จุดมากที่สุดในกรุงเทพ ซึ่งช่วยเพิ่มความน่าสนใจได้ไม่น้อย

    TOT เป็นผู้ให้บริการ 3G WCDMA เจ้าแรกในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ เพราะอะไรเราคงรู้กันอยู่แล้วไม่ขออธิบายแล้วกัน สำหรับTOT นั้นให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2,100 Mhz ตามมาตรฐานของ 3GPP เปะ โดยใช้เทคโนโลยี HSPA ที่มีความเร็ว 7.2 Mbps เป็นพื้นฐาน และ HSPA+ ที่มีความเร็วถึง 42 Mbps ในพื้นที่สำคัญๆ ทั้งในกรุงเทพ และปริมณฑล ซึ่ง TOT ถือว่าเป็นผู้ให้บริการที่มีพื้นที่มากที่สุด ในแถบภาคกลางแล้ว โดยด้านเหนือสามารถใช้งานได้ตั้งแต่เชียงรากน้อย ลงมา ด้านใต้ให้บริการทั่วเมืองสมุทรปราการ และบางส่วนของจังหวัดสมุทรสาคร ตะวันออกครอบคลุมไปถึงหนองจอก และด้านทิศตะวันตกใช้งานได้ถึง อำเภอ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

    ด้านการให้บริการ TOT เน้นความร่วมมือกับภาคธุรกิจ เป็นพาร์ทเนอร์ TOT MVNO กับหลายๆ บริษัทไม่ว่าจะเป็น IEC, i-Kool, Mojo, 365, และ i-Mobile 3GX ซึ่งแต่ละค่ายก็จะออกไปทำการตลาด สร้างแพ็คเกจกำหนดราคาของแต่ละค่ายเอง โดยใช้พื้นที่เครือข่ายของ TOT ในการให้บริการ เราจึงได้เห็นแพ็คเกจต่างๆ ของแต่ละผู้ให้บริการออกมาแข่งขันกันมากมาย นับเป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ TOT



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories