ยางล้อรถยนต์บางยี่ห้อใช้งานผ่านไป 2-3 ปี ยังนิ่มอยู่เลย แต่บางยี่ห้อใช้ไปแค่ปีกว่าๆ ยางเริ่มแข็งตัวแล้ว ขับเริ่มหอน มีเสียงดัง
ปัจจุบัน ยางรถยนต์ที่เสื่อมสภาพแล้ว ถือได้ว่าเป็นขยะชนิดหนึ่งซึ่งยังไม่สามารถย่อยสลายได้เองโดยธรรมชาติ จึงได้มีแนวคิดในการนำยางรถยนต์ที่เสื่อมสภาพ มาผสมกับยางใหม่ เพื่อลดปริมาณขยะ บางแห่งมีการผสมยางรีเคลมลงไปในยางรถยนต์ที่ผลิตใหม่จำนวนมากเพื่อลดต้นทุนการผลิต ทำให้ยางรถยนต์มีราคาถูกมากๆ
เมื่อยางรถยนต์เสื่อมสภาพ นำไปขายที่ร้านยาง ร้านยางจะรับซื้อเราในราคาถูกแสนถูก แต่ยางที่เสื่อมสภาพแล้วเส้นละไม่กี่บาท กลับไปช่วยลดต้นทุนการผลิตยางรถยนต์ใหม่ได้ถึง 60% ต่อเส้น เพราะยางเหล่านั้นได้ผสมสารเคมีมากกว่า 30 ชนิดไว้เรียบร้อยแล้ว เพียงแค่หลอมแล้วเปลี่ยนรูปร่างใหม่เท่านั้น ซึ่งนี่ถือเป็นเหตุผลหลักในการทำกำไรซึ่งคุ้มค่ากว่า จากการซื้อยางรถยนต์เก่า มากกว่าการนำไปแยกเป็นน้ำมันหรือ Pyrolysis
โมเลกุลของยางรถยนต์ที่เสื่อมสภาพแล้วมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางโมเลกุลไปอย่างไร
กระบวนการรีเคลมเริ่มจากการแยกเอาชิ้นส่วนต่างๆ ของยางล้อที่ไม่สามารถนําไปรีไซเคิลได้เช่น ขอบลวดออกไปก่อน แล้วนําส่วนของดอกยางและแก้มยางที่ได้ไปบดละเอียดและนําไปผ่านกระบวนการดีวัลคาไนซ์ (devulcanization process)
1. กระบวนการย่อย (digester process)
กระบวนการย่อยเป็นการดีวัลคาไนซ์ยางที่อุณหภูมิสูง (150 -250OC) ร่วมกับการกวนเป็นนาน 5-12 ชั่วโมง ทําให้เกิดการแตกของพันธะโพลิซัลฟิดิก อาจทําให้เกิดการแตกของสายโซ่หลักของโพลิเมอร์อีกด้วย ส่งผลทําให้ค่าความต้านทานต่อแรงดึงของยางรีเคลมต่ำลง (4-5 MPa) ซึ่งถือว่าเป็นข้อจํากัดของกระบวนการนี้
2. กระบวนการดีลิงค์ (De-Link process)
กระบวนการดีลิงค์เป็นการใช้สารตัวเร่งปฏิกิริยา สารกระตุ้นปฏิกิริยา และสารรีเคลมใส่ลงในยางมาสเตอร์แบตช์ ซึ่งจะผสมในเครื่องบดผสมแบบ 2 ลูกกลิ้งหรือเครื่อง banbury ที่อุณหภูมิต่ํา (80-90OC) ทําให้เกิดการแตกออกของพันธะเชื่อมโยงกํามะถันของยางวัลคาไนซ์
3. การใช้คลื่นไมโครเวฟและคลื่นอัลตราโซนิก
เทคโนโลยีการดีวัลคาไนซ์ยางด้วยคลื่นไมโครเวฟ (ที่ความถี่ 915-2450 เมกะเฮิรตซ์ ปริมาณคลื่นที่ใช้อยู่ในช่วง 41-177 วัตต์-ชั่วโมงต่อปอนด์) และคลื่นอัลตราโซนิก (20-50 กิโลเฮิรตซ์) สามารถใช้ได้กับขยะยางทั่วไปขนาด 30-40 เมช (mesh)และให้ยางรีเคลมที่มีความทนต่อแรงดึงสูง วิธีนี้แม้ว่าจะผลิตด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย แต่ก็ยังไม่สามารถให้ผลผลิตทางอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพได้
การทำยางรีเคลมทั้ง 3 กระบวนการนี้ จะทำให้ยางรีเคลมมีค่าความความทนต่อแรงดึงสูง (10-16 Mpa) เมื่อเทียบกับยางธรรมชาติที่มีค่าความทนต่อแรงดึงอยู่ที่ประมาณ 20 Mpa ตัวเลขประสิทธิภาพในการรับแรงดึงสูง หายไปเกือบ 50%
ref. rubber.oie.go.th/box/Article/26364/7_ยางรีเคลมกับการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น.pdf
ยางล้อรถยนต์เมื่อเสื่อมสภาพจากการใช้งานไปแล้ว โมเลกุลของยางจะมีสภาพไม่เหมือนเดิม แต่การนำไปผสมยางใหม่ จะทำให้มีสภาพเหมือนการนำแก็สโซฮอล์ 91 ไปผสม 95 มันจะไม่เห็นผลทันที มองด้วยตาเปล่าไม่ออก ยกเว้นถ้าผสมลงไปมากๆ 30-40% และผลที่ตามมาอันดับแรกๆเลยคือ ยางเกิดการแข็งตัวอย่างรวดเร็ว เพราะตัวโมเลกุลของเดิมมันเสื่อมสภาพไปแล้ว แต่กลับถูกบดแล้วนำมาผสมกับของใหม่ เปลี่ยนรูปร่างใหม่เท่านั้น นั่นก็คือการนำของที่เสีย นำมาผสมกับของที่ดีๆ ทำให้โมเลกุลของยางใหม่เสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว ทำให้ยางแข็งตัวเร็วภายใน 1 ปีก็จะแข็งตัวแล้ว ขับเริ่มหอนมีเสียงดัง
บริษัทฯ …… ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางรถยนต์ขนาดใหญ่ที่เรารู้จักกันดี ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานสำหรับพัฒนายางรีไซเคิลหรือรีเคลมเพื่อมาผสมกับยางใหม่โดยตรง โดยการมีการผสมมากถึง 20% ซึ่งเจตนารมณ์อันแท้จริงๆแล้วเข้าใจว่า เป็นไปเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยนำกลับมาใช้ใหม่
แต่สิ่งเหล่านี้กลับเป็นช่องทางให้บริษัทฯผู้ผลิตยางล้อรถยนต์หลายๆแห่งนำมายางรีไซเคิลหรือรีเคลมมาผสมมากถึง 60-70% เพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยมิได้คำนึงถึงผลเสียที่จะตกอยู่กับผู้บริโภคต่อไป นี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
การธุรกิจด้วยจรรยาบรรณที่รับผิดชอบต่อสังคม และการทำธุรกิจเพื่อหวังผลกำไรเกินควรต่างกันอยู่นิดเดียวเท่านั้นเอง
จะทราบได้อย่างไรว่ายางล้อรถยนต์เส้นไหน ยี่ห้อไหน ผสมยางรีไซเคิลหรือยางรีเคลมลงไปมากน้อยเพียงใด?
วิธีที่ 1. การดึงหนวดยาง
บริเวณแก้มยางรถยนต์ จะมีหนวดยางที่เป็นเส้นๆขนาดยาวสัก 2-3 ซม. ให้เราใช้เล็บจิกแล้วดึงออกมา หากดึงออกมาได้ยาวมากๆ ขนาด 3-4 เท่าของความยาวหนวดยางเดิมแล้ว แปลว่า ยางเส้นนั้นมีการรับแรงดึงสูง เนื้อยางใหม่จึงสูง เพราะรับแรงดึงได้สูงมาก
วิธีที่ 2. ระยะเบรกเมื่อถนนเปียก
วิธีนี้เป็นวิธีวัดประสิทธิภาพที่ได้ผลชัดเจนมากที่สุด เพราะน้ำจะฉาบผิวถนนเหมือนแผ่นฟิลม์บางๆ ยางคุณภาพไม่ดี ไม่ยึดเกาะถนน ระยะเบรคบิ่งลื่นไถลไปไกล
ยางล้อรถยนต์ที่ผลิดจากยางผสมใหม่จะมีค่าการทนรับแรงดึงสูง และเมื่อเรามาพิจารณายางล้อรถประกอบด้วย 2 ส่วนของยางที่สัมผัสกับพื้นถนน คือ ร่องดอกยางและผิวหน้ายาง แน่นอนว่า ร่องยางมีไว้สำหรับรีดน้ำ แต่ส่วนที่ยึดเกาะถนนจริงๆคือ ผิวหน้าของยาง ยางใหม่จะมีค่าการทนรับแรงดึงสูง การยึดเกาะผิวถนนของยางใหม่จะมีมากกว่ายางรีเคลมเกือบเท่าตัว เพราะการทนรับแรงดึงสูงนั่นเอง ทำให้ยางใหม่มีการยึดเกาะกับผิวถนนที่ดีกว่ายางผสมรีเคลมหรือรีไซเคิล
เมื่อยางใหม่มีการยึดเกาะถนนที่ดีกว่า ทนรับแรงดึงสูง ทำให้การจับผิวถนนแน่นกว่า ไม่ลื่นไถลได้ง่ายๆ เมื่อเหยียบเบรกจึงได้ระยะเบรคที่สั้นเมื่อถนนเปียกระยะสั้นไม่เกิน 20-25 เมตร (ตามมาตรฐานเยอรมัน เมื่อขับด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กม.ต่อชม.)
ส่วนยางผสมรีเคลมหรือรีไซเคิล ทนรับแรงดึงต่ำกว่ายางใหม่เกือบเท่าตัว การทนรับแรงดึงที่น้อยกว่า ทำให้เนื้อหน้ายางจับผิวถนนได้เล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเหยียบเบรก ระยะเบรกจึงลื่นไถลไปไกล เพราะการยึดเกาะผิวถนนด้อยประสิทธิภาพมากกว่าเกือบเท่าตัว
รถยนต์รุ่นเดียวกัน น้ำหนักรถเท่ากัน ยางหน้ากว้างซี่รีส์เท่ากัน แต่ระยะเบรกแตกต่างกัน เพราะการผสมยางรีเคลมลงไปเป็นจำนวนมากของยางบางยี่ห้อทำให้ประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนนด้อยลงไป
ยางที่ได้ผ่านการทดสอบระยะเบรกเมื่อถนนเปียก จากสถาบันทดสอบระดับโลก (ต้องระบุชื่อร่วมด้วย) มาแล้ว เช่น ไม่เกิน 20 เมตร หรือไม่เกิน 25 เมตร (เมื่อขับมาด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กม.ต่อฃม.) และเมื่อท่านใช้งานยางเหล่านี้ไป 6 เดือน หรือ 1 ปี ระยะเบรกเมื่อถนนเปียกจะต้องเพิ่มขึ้น เพราะยางจะเริ่มมีการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน จากความร้อน และฝุ่นละออง น้ำมันบนท้องถนน จากเดิม 20 เมตรเคยเบรกอยู่ (เมื่อขับมาด้วยความเร็ว 80 กม.ต่อชม.)
การเหยียบเบรคคราวนี้ 20 เมตรไม่อยู่แล้ว ระยะเบรคจะต้องเพิ่มขึ้น แล้วยางล้อรถยนต์ที่ไม่ได้ผ่านผลการเทสระยะเบรคเมื่อถนนเปียกมาล่ะ ระยะเบรกเมื่อมันเสื่อมสภาพ จะลื่นไถลไปไกลขนาดไหน นี่คือสิ่งที่อันตรายมากที่สุดสำหรับยางล้อรถยนต์ที่ผสมยางรีไซเคิลหรือยางรีเคลมไปเป็นจำนวนมาก
ระยะเบรกกระชั้นชิดในวินาทีฉุกเฉิน อย่าว่าแต่ระยะเบรกต่างกัน 5 เมตร 10 เมตรเลย แค่ห่างกันเมตรเดียว เบรกอยู่หรือไม่อยู่ เมตรเดียวก็มีความหมายแล้ว จะชน หรือ ไม่ชน ผลลัพธ์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่ใช่แค่ชีวิตของเราคนขับแต่คนเดียว แล้วอีกหลายๆชิวิตที่อยู่ด้านหลังคนขับอีกล่ะ
นี่คืออันตรายแฝงที่เราคิดไม่ถึง อุบัติเหตุหลายๆครั้งที่เราสรุปสาเหตุของอุบัติเหตุกันว่า เพราะลมยางอ่อนไป ลมยางแข็งไป หรือเพราะถูกขับตัดหน้าระยะกระชั้นชิดเกินไป ทำให้เบรกไม่อยู่ เป็นต้น จนเป็นเรื่องธรรมดาที่จะสรุปสาเหตุของอุบัติเหตุกันแบบนี้ แต่ไม่มีใครทันที่จะคาดคิดได้ว่า สาเหตุที่แท้จริงๆของอุบัติเหตุเป็นเพราะ การใช้ยางล้อรถยนต์ที่ผสมยางรีไซเคิลหรือยางรีเคลมเป็นจำนวนมากนั่นเอง
สรุป สิ่งที่ท่านควรทำในครั้งต่อไปเมื่อเลือกซื้อยางล้อรถยนต์ คือ
1. สอบถามถึงระยะเบรกเมื่อถนนเปียก ว่าอยู่ระยะกี่เมตร โดยขอดูใบ Certificate ที่ออกโดยสถาบันทดสอบแห่งนั้นๆ
2. สถาบันทดสอบมาตรฐานแห่งใดเป็นผู้ทดสอบ ซึ่งหากนำเอาเกณฑ์มาตรฐานที่บริษัทฯผู้ผลิตยางชั้นนำต่างๆนำเอามาอ้างอิงแล้ว ควรเป็นสถาบันทดสอบมาตรฐานของเยอรมัน เพราะหากเราเปิดดูเว็บไซต์ของ 5 บริษัทฯผู้ผลิตยางชั้นนำแล้ว จะพบเห็นสัญลักษณ์มาตรฐานการทดสอบของเยอรมันปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ของบรัษัทฯผู้ผลิตยางชั้นนำแทบทั้งสิ้น มาตรฐานเยอรมันจึงใช้อ้างอิงได้ดีที่สุด
3. Certificate ที่ระบุว่า ระยะเบรกบนถนนเปียกอยู่ที่กี่เมตร ต้องมีระบุตัวเลขรุ่นซี่รีส์ที่ทำการทดสอบด้วย เพราะไม่เช่นนั้น บริษัทฯยางหลายๆแห่ง อาจผลิตทั้งของดี และ ไม่ดีมารวมๆกัน แต่นำเอาใบ Certificate ที่รับรองรุ่นซี่รีส์สูงๆ มาใช้รับรองรุ่นซี่รียส์ต่ำๆ ซึ่งไม่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อขอดูใบ Certificate ของยางต้องมีการระบุรุ่นซี่รี่ยส์ของยางไว้ด้วย