user เเละ password
ใช้โปรแกรม ยิงเข้ามา เรื่อยๆ
– ต้องตั้งชื่อ เเละ pw ให้ยาก
– ใช้ plugin พวก lockdown และ limit lock in attempt
– ป้องกันด้วย .htaccess
สำหรับผู้ที่ใช้โฮสท์ในระบบ linux และใช้ apache เป็น web server จะมีกลไลที่ช่วยป้องกันการเจาะเข้าในระดับไดเรคทอรี่และระดับไฟล์ ซึ่งใช้ได้กับเว็บไซต์ทุกประเภท
.htaccess เป็นใช้บอกเงื่อนไขว่าเราต้องการควบคุมการเข้าถึงเว็บไซต์ของเราอย่างไร
หากเราลง WordPress ครั้งแรกและเปิดใช้ permalinks ไว้ ไฟล์นี้จะถูกสร้างขึ้นให้โดยอัตโนมัติที่ตำแหน่ง public_html ซึ่งเราเปิดดูก็จะเป็นดังนี้
# BEGIN WordPress <IfModule mod_rewrite.c> RewriteEngine On RewriteBase / RewriteRule ^index\.php$ – [L] RewriteCond %{REQUEST_FILENAME} !-f RewriteCond %{REQUEST_FILENAME} !-d RewriteRule . /index.php [L] </IfModule> # END WordPress
เราเพียงแต่เขียนต่อท้ายเข้าไป
– ป้องกัน wp-config.php
wp-config.php ไฟล์นี้จะถูกรันทุกครั้งที่มีการเปิดเว็บเพจ ถ้ามีการใส่โค้ดบางอย่างแทรกเข้าไปโค้ดนั้นก็สามารถรันได้ตลอดเวลา วิธีป้องกันไม่ให้ไฟล์นี้ถูกเปลี่ยนแปลงก็คือใส่โค้ดต่อไปนี้ลงไป
<Files wp-config.php>
order allow,deny
deny from all
</Files>
ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้มีการแก้ไขข้อมูลในไฟล์นี้รวมทั้งตัวเราเอง หากเราต้องการเปลี่ยน wp-config.php เช่นเราต้องการเปลี่ยนรหัสผ่านของฐานข้อมูล ก็ต้องมาปลดล็อกตรงนี้ก่อน
– ป้องกันการ login จาก IP อื่น
ปกติเมื่อเราจะเข้าใช้ WordPress ก็จะเข้าผ่านทาง mysite.com/wp-admin ซึ่งคนอื่นที่จะเจาะเข้ามาก็ใช้ช่องทางนี้เช่นกัน ซึ่งอาจจะทำโดยโปรแกรมก็ได้ ถ้าองค์กรของคุณใช้ IP แบบ fix คุณสามารถเจาะจงว่า IP ของคุณเท่านั้นที่สามารถเข้าทางช่องนี้ได้ โดยสร้างไฟล์ .htaccess อีกไฟล์ไว้ภายใต้ public_html/wp-admin
order deny allow allow from 203.100.20.5 deny from all
203.100.20.5 คือ fix IP ของเรา กรณีใช้ fix IP
– ป้องกันจาก IP ไม่พึงประสงค์
เมื่อเราใช้ plugin อย่างเช่น limit login attempt เราจะสังเกตเห็น IP บางตัวที่พยายามเจาะเข้ามา อาจเอาไปตรวจสอบกับ iplocation.net อาจบล็อก IP นั้นหากสงสัย โดยใส่
<Limit GET POST> order allow deny deny from 203.100.21.1 deny from 203.102.181.20 allow from all </Limit>
เครื่องที่มี IP หมายเลข 203.100.21.1 และ 203.102.181.20 จะไม่สามารถดูเว็บไซต์ของเราได้ รวมทั้งความพยายามที่จะล็อกอิน
– อย่าใช้ plugin ที่ไม่มีแหล่งที่มา
แหล่งที่น่าเชื่อถือที่สุดก็คือจาก wordpress.org หรือจากเจ้าของ plugin ที่มีชื่อเสียงและทำมานาน (ส่วนมากไม่ฟรี)
แม้ว่าแหล่งที่มาของ plugin จะเป็นที่น่าเชื่อถือ แต่ plugin ที่เขียนมาไม่ดีก็จะเป็นช่องโหว่ให้มีการเจาะเข้ามาได้
ต้องคอยตามข่าวสารจาก plugin ที่ใช้เสมอ และควรอัพเดทเมื่อมีการแจ้งเตือน ควรเลือกใช้ plugin ที่มีประวัติใช้งานมานานหลายปีและมีการอัพเดทอยู่อย่างสม่ำเสมอ ปกติ plugin ที่ไม่มีการอัพเดทเป็นเวลา 2 ปี WordPress จะแจ้งเตือนไม่ให้ใช้
นอกจากนี้เเล้ว หากเป็นไปได้ การโมดิฟายใน wordpress เลยดีกว่าการใช้ plugin นอกจาปลอดภัยกว่าเเล้วยังทำงานได้เร็วกว่า