น้ำตาลจะมีอยู่ด้วย 3 ชนิด
- น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือ โมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide)
เช่น กลูโคส (glucose), ฟรุกโทส (fructose), กาแล็กโทส (galactose) - น้ำตาลโมเลกุลคู่ หรือ ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide)
เช่น ซูโครส (sucrose), แล็กโทส (lactose), มอลโทส (maltose) - น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ หรือ โพลีแซ็กคาไรด์ (polysaccharide)
เช่น แป้ง (starch), ไกลโคเจน (glycogen), เซลลูโลส (cellulose)
น้ำตาลเป็นสารเร่งผิวหนังเหี่ยวย่นและริ้วรอย ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ
การรับประทานน้ำตาลมากเกินไปอาจทำให้ผิวเสีย หน้าแก่ เพราะน้ำตาลทำปฏิกิริยาเปลี่ยนโครงสร้างของคอลลาเจนทำให้อีลาสติกน้อยลง
อีลาสติกเป็นโปรตีนที่ทำให้ผิวกระชับและมีความยืดหยุ่น
เมื่ออีลาสติกถูกทำลาย ผิวหนังแห้ง มีริ้วรอยลึก หย่อนคล้อย ทำให้ผิวหน้าแก่ก่อนวัยอันควร หน้าแก่ก่อนวัย
กินอาหารประเภทนี้ปริมาณมากเป็นประจำทำให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โมลกุลของน้ำตาลเข้าไปจับกับโปรตีนจะก่อให้เกิดสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า AGEs (Advanced Glycation End-Products) ทำลายคอลลาเจนและอีลาสตินในผิว ผิวหนังจึงหย่อนยาน เกิดริ้วรอย จุดด่างดำตามมา
น้ำตาลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
กินน้ำตาลปริมาณสูง ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลที่ได้รับมากเกิน สะสมเป็นไขมัน ทำให้น้ำหนักเพิ่ม เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน
น้ำตาลฟรุกโตสที่มักถูกนำไปเติมในเครื่องดื่มอย่างน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้ อาจไปยับยั้งการตอบสนองต่อฮอร์โมนเลปตินภายในร่างกาย ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยควบคุมความรู้สึกหิวและทำให้รู้สึกอิ่ม ดังนั้น การบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุคโตสจึงอาจทำให้รู้สึกหิวบ่อยกว่าปกติและนำไปสู่การกินในปริมาณที่มากขึ้นได้
งานวิจัยพบ การกินเครื่องดื่มเติมน้ำตาล ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในช่องท้อง เกิดโรคเบาหวานและโรคหัวใจ
น้ำตาลทำให้สมดุลของเลือดเสียไป
กินน้ำตาลที่มากเกิน อินซูลินผลิตออกมาเกินความจำเป็น ตกค้างอยู่ในกระแสเลือด
มีผลต่อระบบการไหลเวียนเลือด
หากเป็นเรื้อรังก็จะส่งผลให้เซลล์กล้ามเนื้อเรียบบริเวณรอบ ๆ หลอดเลือดเจริญเร็วขึ้นกว่าปกติ การไหลเวียนของเลือดปั่นป่วน เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคหลอดเลือดต่าง ๆ
น้ำตาลทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรง
น้ำตาลที่มีส่วนผสมของซูโครส ถือว่าเป็นอาหารชั้นดีให้กับเหล่าแบคทีเรียในช่องปาก เกิดโรคฟันผุ คราบพลัก เหงือกอักเสบได้
น้ำตาลทำให้ร่างกายเซื่องซึม
กินมากเป็นประจำแทนที่จะสดชื่น กลับทำให้กรดอะมิโนที่ชื่อว่า ทริปโตฟาน เร่งเข้าสู่สมองมากเกินไป เสียสมดุลของฮอร์โมนในสมอง เกิดอาการเหนื่อย ไม่กระฉับกระเฉง เซื่องซึม
น้ำตาลทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง
ได้รับความหวานมากเกินไป ทำให้เด็กสูงช้า
ตลอดวันโกรทฮอร์โมนจะถูกผลิตและถูกสะสม โดยต่อม pituitary gland ในภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ระดับโกรทฮอร์โมนจะผลิตได้ปกติ
ถ้าร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูง หลั่งอินซูลินมาก ไปยับยั้งทำให้ระดับโกรทฮอร์โมนลดลง
น้ำตาล คือตัวขัดขวางโกรทฮอร์โมน จึงไม่ควรกินก่อนออกกำลังกายและก่อนนอน
Sugar Blues อาการของคนติดนํ้าตาล
ที่ทำให้ร่างกายรู้สึกโหยหานํ้าตาลทั้งวัน โดยเฉพาะช่วงเวลาประมาณสิบโมงเช้า และบ่ายสามโมง ถ้าไม่ได้กินน้ำตาลจะทำให้หดหู่หรือซึม เศร้าผิดปกติ ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะเกิดจากภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า แล้วถ้ายังปล่อยให้ร่างกายเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะยิ่งส่งผลเสียกับร่างกาย ทำให้อารมณ์แปรปรวน ขี้โมโห ง่าย สมาธิสั้น เป็นภูมิแพ้ และความดันโลหิตตํ่า ยิ่งถ้าน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดมากๆ จะไปเก็บสะสมไว้ที่ตับในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) และจะส่งกลับไปที่กระแสเลือดอีกครั้ง สุดท้ายจะเปลี่ยนเป็นกรดไขมันไปสะสมตามจุดต่างๆ ได้ง่าย เช่น หน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา สะโพกมากเข้าก็ทำให้น้ำหนักเกิน ถ้ายังไม่ยอมเลิกกินของหวานๆ ก็จะทำให้กรดไขมันไปพอกพูนที่หัวใจ ตับ ไต ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเสื่อมลงเรื่อยๆ และตามมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
ยิ่งทานนํ้าตาลมาก = เพิ่มคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี และ เข้าไปยับยั้งการกำจัดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีให้น้อยลงด้วย
รายงานจากวารสาร The American of Medical Association พบว่าน้ำตาลและระดับคอเลสเตอรอลมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ยิ่งกินนํ้าตาล ยิ่งทำให้หิว
น้ำตาลจะช่วยให้เรารู้สึกมีแรงเพิ่มขึ้นได้แค่ 30 นาทีเท่านั้น แต่หลังจากนั้นนํ้าตาลจะทำให้เกิดการหลั่งของสารเซโรโทนินที่ให้เกิดอาการง่วงนอนเข้ามาแทนที่ รวมทั้งมีงานวิจัยหนึ่งบอกว่าการรับประทานนํ้าตาลมากเกินไปจะทำให้รู้สึกหิวมากกว่าเดิม เพราะน้ำตาลจะเข้าไปทำให้ฮอร์โมนเลปติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาเมื่อรูสึ้กอิ่มลดน้อยลง เลยทำให้เรากินแล้วไม่อิ่มสักที
โรคที่เกิดจาก “นํ้าตาล”
อ้วน
เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง
ภาวะไขมันพอกหัวใจ ตับ ไต
ทำให้ฟันผุ
ไขมันในเลือดสูง
โรคเกาต์ กรดยูริคในเลือดสูง
เบาหวาน
หัวใจ
อัมพาต เพราะภาวะนํ้าตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่อง
โรคหัวใจ
งานวิจัยพบว่าการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง เกิดโรคอ้วน ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และน้ำตาลในเลือดสูง
ไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ
น้ำตาลทำลายหลอดเลือด
เมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติ ทำลายผนังหลอดเลือด กระตุ้นให้เกิดการอักเสบในเส้นเลือด เส้นเลือดฝอยเสื่อม ขาดความยืดหยุ่น เปราะแตกง่าย และอาจเกิดแผลที่ผนังด้านในหลอดเลือด
เมื่อหลอดเลือดเกิดแผล คอเลสเตอรอล LDL จะสะสมในหลอดเลือดที่เป็นแผล เกิดเป็นกลุ่มไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้ท่อในหลอดเลือดตีบลง เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี หลอดเลือดจึงอุดตันง่ายจากก้อนลิ่มเลือด เกิดเป็นภาวะหลอดเลือดแข็งตัว
หากหลอดเลือดแข็งตัวเกิดที่สมอง จะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบ
หากเกิดที่หัวใจก็จะเกิดโรคหัวใจตีบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต
เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน
ระบบประสาทและหลอดเลือดก็มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกทำลายโดยเฉพาะส่วนปลาย
“เท้า” เป็นอวัยวะที่อยู่ไกลจากศูนย์กลางมากที่สุด จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการดังต่อไปนี้
• การเสื่อมของเส้นประสาทส่วนปลาย ซึ่งทำหน้าที่รับความรู้สึก เมื่อถูกของมีคมหรือโดนวัตถุที่มีอุณหภูมิสูง หรือการกดรัดที่เท้า ก็จะเกิดแผลโดยไม่รู้ตัว
• โรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน เนื้อเยื่อก็จะขาดเลือดมาเลี้ยง ทำให้เกิดเนื้อตาย แผลหายช้า
• การติดเชื้อง่าย เนื่องจากน้ำตาลคือแหล่งอาหารชั้นดีของเชื้อโรค ทำให้เม็ดเลือดขาวกำจัดเชื้อโรคได้ยากขึ้น
• ภาวะเส้นประสาทอัตโนมัติเสื่อม ทำให้ผิวหนังแห้งเป็นแผลง่าย
ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสูงเรื้อรัง เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม จึงมีความเสี่ยงต่อการถูกตัดขา
ไขมันพอกตับ : ตับอักเสบ ตับแข็ง มะเร็งตับ
ภาวะไขมันพอกตับ คือ ภาวะที่มีการสะสมของไขมันในเซลล์ตับ เกิดจากการรับประทานอาหารมัน อาหารหวาน หรืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ตับได้รับหน้าที่ให้เปลี่ยนอาหารเหล่านี้เป็นไตรกลีเซอไรด์ไว้ใช้งาน แต่หากมีมากเกินไปจนร่างกายใช้ไม่หมด ไตรกลีเซอไรด์ก็จะถูกสะสมไว้ที่ตับแทน เกิดเป็นโรคไขมันพอกตับ
น้ำตาลฟรุกโตสในเครื่องดื่ม แตกต่างจากน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลชนิดอื่น ๆ
ฟรุกโตสไม่ให้พลังงานแก่กล้ามเนื้อและสมอง แต่จะถูกลำเลียงไปยังตับเพื่อย่อยสลาย
ฟรุกโตสส่วนหนึ่งจะถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน แต่อีกส่วนหนึ่งจะสะสมเป็นไกลโคเจนหรือไขมันพอกอยู่ที่ตับ
สะสมมากเกิดโรคไขมันพอกตับได้
เสี่ยงมะเร็ง
การกินอาหารและเครื่องดื่มเติมน้ำตาลอาจก่อให้เกิดโรคอ้วน ภาวะดื้ออินซูลิน และการอักเสบตามอวัยต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งปัญหาสุขภาพดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเซลล์มะเร็งได้
งานวิจัย ศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างการบริโภคน้ำตาลกับการเกิดโรคมะเร็งในกลุ่มตัวอย่าง 430,000 ราย
พบว่าการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเยื่อหุ้มปอด และมะเร็งลำไส้เล็ก สอดคล้องกับอีกงานวิจัยหนึ่งที่พบว่าผู้หญิงที่กินขนมปังหวานและคุกกี้มากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ เสี่ยงเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมากกว่าผู้หญิงที่กินอาหารเหล่านี้น้อยกว่า 0.5 ครั้ง/สัปดาห์ ถึง 1.42 เท่า
งานค้นคว้าในประเด็นนี้ยังน้อย ต้องศึกษาเพิ่ม เพื่อยืนยันให้ชัดเจนว่าการบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากนั้นมีส่วนก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งจริง การกินน้ำตาลปริมาณมากเป็นประจำอาจไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยอื่น โรคไต โรคเก๊าท์ โรคเหงือกและฟัน สมองเสื่อม
ตาบอด
ผู้ป่วยเบาหวานถึงตาบอด
อย่าปล่อยให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า “เบาหวานขึ้นตา” ซึ่งมีสาเหตุมากจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีโอกาสให้หลอดเลือดขนาดเล็กในจอตาเสียหาย และมีเลือดคั่งจนอาจทำให้มีเลือดออกที่จอประสาทตา เกิดการอุดตันในหลอดเลือด ทำให้ตาบวม มองไม่เห็น จอตาฉีกขาด และตาบอดในที่สุด
ยิ่งป่วยเป็นเบาหวานนาน ยิ่งมีโอกาสพบโรคเบาหวานขึ้นตามากขึ้น จากสถิติป่วยเป็นเบาหวาน 10 ปี มีโอกาสพบโรคเบาหวานขึ้นตา 10% แต่ป่วย 15 ปี กลับเพิ่มถึง 50% หากเป็นเบาหวานนานถึง 25 ปี โรคเบาหวานขึ้นตามีโอกาสพบเพิ่มขึ้น 80-90%
สมอง : ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงต่ำ ปวดศีรษะ ลมชัก หมดสติ อาจรุนแรงถึงเสียชีวิต
สัญญาณอันตรายของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หรือ Hyperglycemia
ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะกระหายน้ำมาก คลื่นไส้ ปัสสาวะบ่อยและมากผิดปกติ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ตาพร่ามัว ซึม และอาจหมดสติ หรือชักกระตุกเฉพาะที่
เสี่ยงโรคเบาหวาน
นอกจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคเบาหวานตามมาได้แล้ว หากกินน้ำตาลมาก ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินด้วย
อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล
เมื่อผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นก็จะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากกว่าปกติ
งานวิจัย กินน้ำตาลทุก ๆ 150 แคลอรี่ ทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นถึง 1.1%
เป็นเบาหวานทำไมต้องกลัวน้ำตาลต่ำ
ภาวะน้ำตาลต่ำ มีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวานได้หลายสาเหตุ เช่น ได้รับอินซูลินมากเกินไป รับประทานอาหารน้อยกว่าปกติหรือไม่เพียงพอ น้ำตาลในร่างกายถูกใช้หมดเร็วเกินไป เกิดอาการอ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ ฉุนเฉียวง่าย ปวดศีรษะ สายตาพร่า ง่วงซึม ถ้ารุนแรงอาจมีอาการอัมพฤกษ์ครึ่งซีก หมดสติ ชัก และเสียชีวิตได้
ความน่ากลัวของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ อาจเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต
ผู้ผลิตมักเติมน้ำตาลลงในอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ใช้ น้ำตาลซูโครสหรือน้ำตาลทราย ในไทยผลิตจากอ้อย กินมากอันตราย
น้ำตาลแบบไหนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
น้ำตาลเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต
พบน้ำตาลไในอาหารที่มีคาร์โบไฮเดร
เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เป็นต้น
อาหารดังกล่าวประกอบไปด้วยสารอาหารอื่น ๆ แร่ธาตุ วิตามิน โปรตีน เส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ
การบริโภคน้ำตาลตามธรรมชาติที่มีอยู่ในอาหารแบบไม่ผ่านกรรมวิธีการผลิตจึงมักไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย
ปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคต่อวัน
น้ำตาลที่มากเกินไปเป็น สาเหตุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
องค์การอนามัยโลก (WHO) น้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม/วัน
ปริมาณน้ำตาลที่ใช้กับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มสูงที่สุดในบรรดาน้ำตาลที่ถูกบริโภคทางอ้อม
ชาเขียว 500 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 14.5 ช้อนชา
กาแฟสด 475 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 10.5 ช้อนชา
น้ำอัดลม 450 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 10.75 ช้อนชา
นมเปรี้ยว 400 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 19 ช้อนชา
ชานมไข่มุก 350 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 11.25 ช้อนชา
น้ำผลไม้ 200 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 6.25 ช้อนชา
ระดับพลังงานแปรปรวน
หลังจากกินของหวาน ๆ คนเรามักรู้สึกกระฉับกระเฉงมากกว่าปกติ นั่นเป็นเพราะการบริโภคน้ำตาลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและปริมาณฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ระดับพลังงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกดังกล่าวมักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะหลังจากนั้นระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยระดับน้ำตาลที่ผันผวนนี้อาจทำให้ระดับพลังงานของร่างกายแปรปรวน และส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลียตามมา
เสี่ยงเกิดสิว
การกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ฮอร์โมนแอนโดรเจนถูกหลั่งออกมามากขึ้น ผิวหนังผลิตน้ำมันมากขึ้น และเสี่ยงเกิดการอักเสบมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดสิวได้
งานทดลอง กลุ่มวัยรุ่น 2,300 ราย กินอาหารหรือเครื่องดื่มเติมน้ำตาลเป็นประจำมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นสิวมากขึ้น 30%
เซลล์อาจเสื่อมสภาพ
เทโลเมียร์เป็นโครงสร้างส่วนปลายสุดของโครโมโซมที่คอยป้องกันการเสื่อมสภาพของโครโมโซม โดยทั่วไปเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น เทโลเมียร์จะหดสั้นลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้เซลล์เสื่อมสภาพและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
การกินน้ำตาลมากประจำ เทโลเมียร์หดสั้นลงเร็วขึ้น เซลล์ในร่างกายจึงอาจเสื่อมสภาพก่อนเวลา
เสี่ยงโรคซึมเศร้า
ภาวะน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ ระดับสารสื่อประสาทในสมองที่ผิดปกติ และการอักเสบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต โดยมีงานค้นคว้าที่พบว่าผู้ชายที่บริโภคน้ำตาล 67 กรัม/วันหรือมากกว่านั้น มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายที่บริโภคน้ำตาลน้อยกว่า 40 กรัม/วันถึง 23% ซึ่งสอดคล้องกับอีกงานวิจัยหนึ่งที่ทดลองในผู้หญิง 69,000 คนแล้วพบว่า ผู้หญิงที่บริโภคน้ำตาลปริมาณมากที่สุดมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้หญิงที่บริโภคน้ำตาลปริมาณน้อยที่สุดอย่างเห็นได้ชัด
กินผลไม้สด ดื่มกาแฟดำ โยเกิร์ตรสธรรมชาติที่ไม่เติมน้ำตาลและสารปรุงแต่งรสหรือกลิ่นสังเคราะห์
ใช้น้ำมันมะกอกและน้ำส้มสายชูเป็นน้ำสลัดแทนน้ำสลัดที่มักใส่น้ำตาล
เลือกใช้ซอสปรุงรสหรือครีมปรุงแต่งอาหาร อย่างซอสมะเขือเทศ ซอสพริก หรือเนยถั่วที่ไม่เติมน้ำตาล
หลีกเลี่ยงขนมหวาน หันมากินของว่างที่ดีต่อสุขภาพและไม่เติมน้ำตาลแทน เช่น ของว่างที่ทำจากถั่วหรือเมล็ดพืช ถั่วอบที่ไม่เติมน้ำตาลหรือเกลือ และดาร์กช็อกโกแลต
เลือกกินซีเรียล ธัญพืชอาหารเช้า และกราโนล่าที่ผสมน้ำตาลไม่เกิน 4 กรัม/หน่วยบริโภค
เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลเกิน 15 กรัมหรือ 3 ช้อนชา
กรณีที่หลีกเลี่ยงการกินขนมหวานไม่ได้ ให้กินของหวานควบคู่กับธัญพืชที่มีเส้นใยอาหารสูง เช่น กินน้ำแข็งไสหรือหวานเย็นกับลูกเดือย ถั่วแดง ถั่วเขียว ข้าวโพด เส้นใยอาหารอาจช่วยชะลอการดูดซึมนํ้าตาลเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อิ่มท้องนานขึ้น และช่วยลดความอยากของหวานได้
หลีกเลี่ยงการเติมนํ้าตาลทุกชนิดลงในอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งรวมถึงน้ำเชื่อม น้ำผึ้ง ไซรัป และน้ำตาลที่สกัดจากข้าวโพดด้วย (Corn Syrup) หรือ hi fructose corn syrup
บ้วนปากหรือแปรงฟันทุกครั้งหลังกินของหวาน เพราะความรู้สึกหวานจากต่อมรับรสภายในช่องปากอาจทำให้เกิดความอยากอาหารและบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้น
ร่างกายดูดซึมซูโครสได้อย่างไร?
ดูดซึมน้ำตาลซูโครสจากอาหาร ทางลำไส้เล็ก
ลำไส้เล็กจะมีการหลั่งเอนไซม์ซูเครส ย่อยน้ำตาลซูโครส เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ได้แก่ น้ำตาลฟรุกโตส และกลูโคส
ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
น้ำตาลกลูโคสที่ย่อยสลายมาจากซูโครส มีส่วนกระตุ้นให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลฟรุกโตสมากขึ้น
ทำให้ร่างกายเกิดภาวะสะสมไขมันมากขึ้นตามไปด้วย
จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเมื่อรับประทานอาหารที่มีความหวานมากๆ แล้ว จึงกลายเป็นโรคอ้วนหรือมีไขมันส่วนเกินได้ง่าย
การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลซูโครส เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และช่วยทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะช่วยให้ร่างกายห่างไกลจากภัยร้ายของน้ำตาลซูโครสได้
กลูโคส (Glucose) หรือ เด็กซ์โทรส (Dextose) เป็นน้ำตาลที่พบได้ในสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เป็นสารตั้งต้นของการผลิตพลังงานที่นำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของร่างกาย
เป็นของแข็งสีขาวพบในผลไม้ที่มีรสชาติหวาน เช่น องุ่น ข้าวโพด และน้ำผึ้ง
เมื่อกินแล้ว ลำไส้จะทำการดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องผ่านกระบวนย่อยสลายแต่อย่างใด
แหล่งอาหารที่สามารถพบกลูโคส : องุ่นเขียว, น้อยหน่าฝรั่ง, ขนุน, กล้วยน้ำว้า, มะขามหวานสีทอง, แอปเปิ้ล, กล้วยหอม, ลองกอง, ลิ้นจี่, กล้วยไข่, เชอร์รี่ ,น้ำผึ้ง ข้าวโพด
การกินกลูโคสในปริมาณที่พอเพียงนั้น ช่วยให้ร่างกายมีพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดี เหมาะสำหรับผู้ที่อ่อนเพลียง่าย ไม่รู้สึกกระปรี้กระเปร่า น้ำตากลูโคสที่มีความสำคัญกับเลือดและสมอง
สมอง จำเป็นต้องได้รับปริมาณน้ำตาลกลูโคสอย่างต่อเนื่อง
เซลล์สมอง ไม่สามารถนำเอาโปรตีนหรือไขมันที่ได้รับมาเป็นแหล่งพลังงานหลักได้ จึงต้องกินกลูโคสให้เพียงพอในปริมาณที่สมองควรจะได้รับ หากระดับกลูโคสในเลือดลดลงมากกว่าปกติ ทำให้กลูโคสลำเลียงเข้าสู่สมองได้ช้าทำให้เกิดภาวะสมองขาดกลูโคสหรือขาดพลังงานตามมา สาเหตุของอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะง่าย อ่อนแรง ใจหวิว ใจสั่น หน้ามืด เหงื่อออก ซึมเศร้า และปวดศีรษะ ร่างกายควรรักษาระดับของน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้เป็นปกติ (80-100 mg/dl)
น้ำตาลกลูโคสที่มีความสำคัญกับนักกีฬา น้ำตาลกลูโคส เป็นสารที่มีความสำคัญในการเพิ่มพลังงานให้กับการทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ต้องใช้พละกำลังเป็นส่วนใหญ่ เช่น นักวิ่ง นักกีฬาประเภทต่างๆ กรรมกร หรือใครก็ตามที่ต้องการเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายเพื่อทำกิจกรรมบางอย่าง โดยบุคคลทั่วไปนั้นอาจจะผสมผงกลูโคสกับเครื่องดื่มต่างๆ หรือใส่เป็นเครื่องปรุงในมื้ออาหารต่างๆได้
นักกีฬาที่ต้องใช้กำลังกายอย่างหนักในการเล่นกีฬา ละลายผงกลูโคส 1-2 ช้อนโต๊ะกับน้ำเปล่า 1 ลิตร ดื่มเพื่อเติมพลังงานให้ร่างกายก่อนเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้ เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำหรือเกลือแร่ของร่างกาย และเพื่อให้ร่างกายมีพลังงานที่พอเพียงในการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมนั้นๆ
การดื่มผงกลูโคสผสมน้ำเปล่า ต้องสังเกตให้รสชาติหลังจากชงแล้ว ไม่หวานหรือเข้มข้นจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ช้าลง และทำให้หิวน้ำมากขึ้น
การกินน้ำตาลกลูโคสให้เกิดประโยชน์กับร่างกาย ต้องกินในปริมาณที่พอเพียงและพอเหมาะ อาจจะส่งผลให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้ ควรคำนวณปริมาณที่จำเป็นต้องกินให้ดีก่อน
สมองต้องการพลังงาน และกลูโคสเปลี่ยนเป็นพลังงานได้เลย จะเกิดอะไรขึ้นถ้า กินกลูโคส เรื่อยๆ
กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิต
ถ้าเปรียบเทียบกับแหล่งเชื้อเพลิงของรถยนต์คือน้ำมัน ในสิ่งมีชีวิต Glucose ก็เป็นเชื้อเพลิงในทางชีววิทยา Glucose ใช้เป็นแหล่งพลังงานในสิ่งมีชีวิตตั้งแต่แบคทีเรียจนถึงมนุษย์โดยการหายใจแบบใช้ออกซิเจนและการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (ในแบคทีเรีย)
Glucose และ ออกซิเจนให้พลังงานเกือบทั้งหมดสำหรับสมองของมนุษย์ ปริมาณ Glucose มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางความคิด เมื่อ Glucose อยู่ในระดับต่ำกระบวนการคิดที่ต้องใช้ความพยายามทางจิตใจเช่นการควบคุมตนเอง การตัดสินใจอย่างมีความพยายามจะลดลง ในสมองซึ่งขึ้นอยู่กับ Glucose และออกซิเจนเป็นแหล่งพลังงานหลักขาดพลังงานซึ่งเป็นสาเหตุของอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะง่าย อ่อนแรง ใจหวิว ใจสั่น หน้ามืด เหงื่อออก ซึมเศร้า และปวดศีรษะ ดังนั้นร่างกายควรรักษาระดับของ Glucose ในเลือดให้เป็นปกติ (5 mmol/L เท่ากับ 90 mg/dL) แต่จะลดลงเหลือ 2 ถึง 3 mmol/L เมื่ออดอาหาร
ข้อดีน้ำตาล
- การกินน้ำตาลช่วยให้ความจำ ดีขึ้น จดจำได้มากขึ้น และยังต่อสู้กับโรคสมองเสื่อมได้
- การกินน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสมข้างต้นจะทำให้มีน้ำตาลในกระแสเลือดเพียงพอและสมดุล
- การทดลองทั้งในหนูและคน พบว่า เมื่อขาดน้ำตาลไปเลย 3 วันร่างกายจะปรับเข้าสู่โหมดดีท็อกซ์ ระบบภายในจะทำงานได้ดีขึ้น และเมื่อกลับมาทานน้ำตาลอีกครั้งจะทำให้รู้สึกว่ามันหวานมาก และจะเริ่มควบคุมอาหารและน้ำหนักได้ในที่สุด
- เคล็ดลับเพิ่มความจำระยะสั้น ท่องหนังสือ ก่อนเข้าประชุม กินน้ำตาลปริมาณ 1 ช้อนชา จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่น ในขณะเดียวกัน หากร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไปจะก่อให้เกิดอาการซึมเศร้า ขาดความกระตือรือร้น / กาแฟ วันละ 1 ถ้วย น้ำตาล 1 ช้อนชา เท่านั้นพอ
- แต่หากคุณอยากรู้สึกตื่นตัว หรือมีแรงไปตลอดทั้งวัน ควรกินข้าวโอ๊ต เพราะเป็นอาหารที่ย่อยช้า ทำให้ไม่หิวบ่อย และเป็น Super Food สำหรับนักกีฬาอีกด้วย
ข้อเสียน้ำตาล
- เมื่อเรากินหวานจัดปริมาณมากเข้าไป น้ำตาลเปลี่ยนเป็นกลูโคสเข้าร่างกายทันทีในเวลาอันสั้น ร่างกายเกิดภาวะเครียด เพราะน้ำตาลในกระแสเลือดสูงสมองมึนงง ความคิดสับสน และถึงขึ้นเป็นลม หมดสติได้จะอันตรายเป็นอย่างมาก
- เด็กทานน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการเกิดภาวะสมาธิสั้น ระดับเชาว์ปัญญาตก พัฒนาการด้านอารมณ์ไม่คงที่ เครียด วิตกกังวล ดุดัน
- ตุ่มรับรส ลำไส้ และสมอง จะกระตุ้นระบบให้รางวัลไม่ต่างจากที่ร่างการกระทำกระบวนการต่อสารเสพติด อย่างเช่น สุรา หรือนิโคติน – น้ำตาลส่วนเกินจะทำให้ระดับโดพามีนพุ่งขึ้นและทำให้คุณอยากกว่าเดิม กล่าวคือเมื่อคุณกินน้ำตาลเข้าไปมากๆ จะทำให้รู้สึกเหมือนได้รับรางวัลไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นเสพติดการให้รางวัลตัวเอง
ประโยชน์น้ำตาล
น้ำตาล 1 กรัม จะให้พลังงาน 4 แคลอรี ทำให้ชีวิตมีรสชาติ ทำให้รู้สึกสดชื่อกระชุ่มกระชวย
การทำงานของอวัยวะภายในร่างกายและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย ล้วนต้องใช้พลังงานจากน้ำตาล
การหายใจ การขับปัสสาวะ การไหลเวียน การย่อยอาหารก็ล้วนแล้วแต่ต้องการความร้อนจากน้ำตาล
การคลอดจากครรภ์มารดา ในการดำรงชีวิตเราจะขาดน้ำตาลไม่ได้ แม้อาหารที่จำเป็นของทารกก็ยังเป็นน้ำนมที่มีน้ำตาลผสมอยู่
พลังงานในการเคลื่อนไหวของมนุษย์ 70% มาจากน้ำตาล ถ้าขาดน้ำตาลมนุษย์ก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
กลูโคส (glucose) เป็นแหล่งอาหารที่จำเป็นของเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะภายในร่างกาย ทำให้ ไกลโคเจน (glycogen) ในตับเพิ่มขึ้น ช่วยทำให้การเผาผลาญ (Metabolism) ของเนื้อเยื่อดีขึ้น และในขณะที่น้ำตาลในเลือดลดน้อยลง กลูโคสยังเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจได้เป็นอย่างดี
กลูโคส (glucose) สามารถทำให้ร่างกายมีความต้านทานต่อโรคติดต่อได้
การรักษาโรค กลูโคสจึงถูกนำไปใช้เป็นยารักษาโรคอย่างกว้างขวาง
เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ต้องการกลูโคส (glucose) เพื่อเป็นวัตถุในการให้พลังงานและสารประกอบที่สำคัญอื่น ๆ เช่น สมองต้องการกลูโคสวันละ 110-130 กรัม ไตและเม็ดเลือดแดงต้องการกลูโคสเป็นอาหาร ส่วนหัวใจจะทำงานได้ก็ต้องอาศัยกลูโคสมาทดแทนพลังงานที่สูญเสียไป และจากผลการทดลองหัวใจของสัตว์นอกร่างกาย พบว่ากลูโคสมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจของสัตว์ทดลอง ส่วนอวัยวะภายในร่างกายอื่น ๆ ถ้าขาดกลูโคสก็จะสามารถใช้กรดไขมันมาเป็นแหล่งให้พลังงานได้
แล็กโทสแม้จะไม่มีรสหวาน แต่ก็เป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารก โดยแล็กโทสจะทำหน้าที่ป้องกันจุลินทรีย์ที่จำเป็นในลำไส้ของทารก ช่วยในการดูดซึมของแคลเซียม ทำให้ทารกสามารถย่อยและดูดซึม (แต่ผู้ใหญ่ถ้ากินแล้วกลับจะทำให้ย่อยยากและทำให้ท้องเสีย)
น้ำตาลทรายขาวนอกจากจะช่วยทำให้อาหารมีรสชาติหวานแล้ว น้ำตาลทรายยังช่วยในการถนอมอาหารและหมักอาหารได้อีกด้วย
more
โทษของน้ำตาล
การรับประทานน้ำตาลทรายมากเกินไปจะทำให้เกิดโทษได้ เช่น ทำให้อ้วน เป็นโรคเบาหวาน ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบ ระบบการย่อยอาหารไม่ดี มีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ทำให้ฟันผุ ฯลฯ
น้ำตาลมีผลเพิ่มปริมาณของไขมันร้าย หรือ ไขมันเลว (LDL) และไปลดปริมาณของไขมันดี (HDL)
การรับประทานน้ำตาลทรายมากจนเกินไปจะทำให้ต้องใช้อินซูลินมากเกินไป ถ้ารับประทานเป็นระยะเวลานานก็สามารถทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ และในคนที่บริโภคน้ำตาลมากจนเกินไปในช่วง 40 ปีแรกของชีวิต จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนอื่น ๆ เพราะน้ำตาลจะไปทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินเสื่อมสมรรถภาพ เมื่อรับประทานเข้าไปมาก ๆ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
นอกจากน้ำตาลจะเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานแล้วน้ำตาลยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ และความดันโลหิตสูงอีกด้วย
การรับประทานน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้การขับออกของโครเมียมทางไตมีมากขึ้น ซึ่งโครเมียมนั้นเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในการเพิ่มการทำงานของอินซูลินในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น การรับประทานน้ำตาลในปริมาณมาก จะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินได้
สำหรับผู้ที่รับประทานอาหารหวานบ่อย ๆ สมดุลของแร่ธาตุในร่างกายจะไม่ค่อยสมดุล ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำให้ติดเชื้อได้ง่าย โดยมีรายงานว่าการรับประทานหวานมากจะทำให้เลือดมีแคลเซียมมากขึ้น ฟอสฟอรัสลดลง ซึ่งอาจไปตกตะกอนทำให้เกิดนิ่วในไตได้ นอกจากนี้การเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายบ่อย ๆ ยังเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ เมื่อบริโภคเป็นระยะเวลานานจะก่อให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น
น้ำตาลจะถูกเก็บไว้ที่ตับในรูปของไกลโคเจน เมื่อมีมากจนเกินไป ตับจะส่งไปยังกระแสเลือดแล้วเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน โดยจะสะสมไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เช่น สะโพก ก้น หน้าท้อง ขาอ่อน เป็นต้น และการรับประทานน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง กรดไขมันจะสะสมไว้ที่อวัยวะภายในอื่น ๆ เช่น หัวใจ ตับ และไต ซึ่งอวัยวะเหล่านี้จะค่อย ๆ ถูกห่อหุ้มไปด้วยไขมันและน้ำเมือก ร่างกายก็เริ่มมีความผิดปกติ ความดันเลือดก็จะสูงขึ้น สรุปก็คือถ้าเราไม่ได้ใช้พลังงานมากเพียงพอ น้ำตาลที่ได้ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมไว้ในร่างกาย
เมื่อเรารับประทานน้ำตาลมากเกินไป โดยเฉพาะน้ำตาลทราบ น้ำผึ้ง น้ำตาลในนม น้ำตาลในผลไม้ น้ำตาลเหล่านี้จะเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดมีสภาพเป็นกรดมากเกินไป ร่างกายเกิดความไม่สมดุล ทำให้มีการดึงแร่ธาตุจากส่วนต่าง ๆ มาแก้ไขความไม่สมดุล
อาการปวดศีรษะเรื้อรัง ไมเกรน เป็นสิว ผื่น ตกกระ เป็นตะคริวช่วงมีรอบเดือน แผลพุพอง แผลริดสีดวงทวาร มะเร็งตับ เบาหวาน โรคหัวใจ วัณโรค เหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์ต่อการรับประทานน้ำตาลที่มากเกินไป
ผลการวิจัยพบว่า โรคฟันผุมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับประทานน้ำตาล เมื่อรับประทานน้ำตาลจะทำให้สภาพของกรดในปากเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ที่มีอายุมากจะรู้สึกว่ามีรสเปรี้ยว Bacillus acidi lactici คือแบคทีเรียที่ชอบอาศัยและเจริญเติบโตอยู่ตามร่องฟัน ซอกฟัน หรือแอ่งฟันที่มีสภาพเป็นกรด ทำให้แคลเซียมในฟันหลุดและเกิดโรคฟันผุ (แมงกินฟัน)
การรับประทานน้ำตาลซูโครสมากจะทำให้กรดอะมิโน “ทริปโตเฟน” ถูกเร่งให้ผ่านเข้าสู่สมองมากเกินไป ทำให้สมดุลของฮอร์โมนในสมองเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อย เซื่องซึม ไม่กระฉับกระเฉง
การรับประทานน้ำตาลทรายก็ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารได้เช่นกัน เพราะถ้ารับประทานน้ำตาลทรายในปริมาณมากจะทำให้วิตามินบีในร่างกายถูกใช้ไปมาก เมื่อวิตามินบีในร่างกายน้อยลง จะส่งผลทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง น้ำย่อยและน้ำลายก็ลดน้อยลง ทำให้เบื่ออาหารมากขึ้น
การรับประทานน้ำตาลในปริมาณมากเกินไป จะมีผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกง่วงนอน
น้ำตาลทรายเมื่ออยู่ในกระเพาะอาหารมากจนเกินไป จะทำให้สภาพกรดในกระเพาะอาหารและลำไส้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการหมัก (Fermentation) ในลำไส้ ทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง[1]
มีผู้เชื่อว่าการรับประทานมากเกินไป จะส่งผลต่อการเผาผลาญแคลเซียม ถ้าปริมาณน้ำตาลสูง 16-18% ของอาหารที่กิน จะทำให้การเผาผลาญของแคลเซียมในร่างกายเกิดความสับสนได้
สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานเท่านั้น แต่ยังหมายถึงทุกคนที่ชอบรับประทานขนมหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ฯลฯ เพราะจะทำให้อวัยวะภายในร่างกายเสื่อมเร็วกว่าปกติ ทำให้แก่เร็ว เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันสูง อ้วน กระดูกพรุน เนื้องอก และมะเร็ง ที่สำคัญน้ำตาลยังทำให้อาการของโรคที่เป็นอยู่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคอะไรก็ตาม เช่น หากดื่มนมจนเป็นภูมิแพ้ อาการของโรคภูมิแพ้จะมีความรุนแรงเป็น 2 เท่า หรือทำให้อาการของโรคติดเชื้อที่เป็นอยู่มีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเชื้อโรคทุกชนิดจะใช้น้ำตาลเป็นอาหาร และน้ำตาลยังเป็นแหล่งอาหารของเซลล์มะเร็ง เป็นอาหารของยีสต์ในลำไส้ ทำให้ยีสต์เพิ่มจำนวนมากขึ้นและทำให้เกิดภาวะไส้รั่ว
น้ำตาลนอกจากจะส่งผลร้ายต่อผู้ใหญ่แล้ว ยังมีผลต่อเด็กอีกด้วย เพราะถ้าเด็กรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้ฟันผุ เป็นโรคกระดูกเปราะ อาจทำให้เด็กเป็นคนโกรธง่ายและไม่มีสมาธิได้
น้ำตาลจะไปจับตัวกับคอลลาเจน (ไกลเคชั่น) ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น ลดความยืดหยุ่น และยังไปลดปริมาณของฮอร์โมนแห่งความอ่อนเยาว์ (Growth Hormone) ซึ่งจะทำให้ผิวหนังแห้ง เหี่ยวย่น และอ้วนได้
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก แนะนำให้คนรับประทานน้ำตาลเพียงวันละ 6 ช้อนชาเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงโรคเบาหวาน (โรคเบาหวานถูกยกระดับให้เป็นโรคอันตรายเทียบเท่ากับโรคเอดส์) แต่จากการสำรวจของ สสส. กลับพบว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลมากเกินกว่าปริมาณที่แนะนำ 3 เท่าตัว หรือประมาณ 20 ช้อนชา โดยเฉพาะเด็กที่ชอบดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ จนทำให้สถิติอ้วนลงพุงของเด็กไทยพุ่งสูงขึ้นที่สุดในโลก และในรอบห้าปีที่ผ่านมา พบว่าเด็กไทยที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า และยังพบว่าคนไทยจำนวนมากถึง 17 ล้านคน ที่ดื่มน้ำอัดลมทุกวัน โดยน้ำอัดลมน้ำดำ น้ำอัดลมสี และน้ำอัดลมน้ำใส (เพียงกระป๋องเดียว) จะมีน้ำตาลเป็นส่วนผสมอยู่มากถึง 34-46 กรัม หรือคิดเป็น 8.5-11.5 ช้อนชาเลยทีเดียว (แค่เฉพาะเครื่องดื่มในแต่ละวัน ร่างกายของเราก็ได้รับน้ำตาลเกินความจำเป็นแล้ว)
คำแนะนำในการรับประทานน้ำตาล
น้ำตาลจัดเป็นอาหารที่ให้พลังงานชนิดว่างเปลา คือ ให้พลังงานแต่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ (หรือมีแต่ก็น้อยมาก) โดยน้ำตาล 1 กรัม จะให้พลังงาน 4 แคลอรี ซึ่งน้ำตาลที่เรารับประทานกันอยู่เป็นประจำจะมีน้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลกรวด ซึ่งจะทำมาจากอ้อยหรือพืชผักที่มีรสหวานอย่างอื่น
ข้อแนะนำในการรับประทานน้ำตาล คือ จำกัดไว้ที่ประมาณ 5-10% ต่อวันของพลังงานที่ได้รับทั้งหมด ซึ่งตามหลักโภชนาการแล้วจะแนะนำให้รับประทานน้ำตาลในปริมาณน้อยเช่นเดียวกับเกลือและไขมัน สำหรับคนไทยกองโภชนาการได้แนะนำไว้ว่าไม่ควรรับประทานน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนการบริโภคน้ำตาลอาจไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ แต่ในปัจจุบันน้ำตาลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการบริโภคในชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว ดังนั้นการค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด โดยหันมารับประทานอาหารอื่นจากธรรมชาติและมีประโยชน์มากกว่าน้ำตาล เช่น การเลือกรับประทานผลไม้สดที่มีรสหวานน้อย สร้างนิสัยการรับประทานผลไม้แทนขนมหวานหลังมื้ออาหาร รวมไปถึงการลดหรือกำจัดคาร์โบไฮเดรตแปรรูปต่าง ๆ เช่น ขนมปัง เบอเกอรี่ พาสต้า ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ
ให้พยายามลดปริมาณของน้ำตาลทุกชนิดโดยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมาก เช่น น้ำอัดลม ลูกอม ขนมเค้ก คุ๊กกี้ ขนมหวาน เป็นต้น รวมไปถึงของว่างที่ไร้ไขมันต่าง ๆ เนื่องจากมีความเชื่อผิด ๆ ที่ว่าอาหารที่ไม่มีไขมันจะไม่ทำให้อ้วน แต่ความจริงแล้วอาหารที่ไร้ไขมันหลายอย่างมีน้ำตาลและแคลอรี่สูง
เวลาจะรับประทานอาหารสำเร็จรูปเราควรอ่านฉลากอาหารด้วยว่าอาหารที่จะรับประทานมีน้ำตาลมากน้อยเพียงใด ส่วนการคำนวณปริมาณน้ำตาล ก็ให้อ่านข้อมูลทางโภชนาการที่แสดงถึงปริมาณน้ำตาลทั้งหมดเป็นกรัมแล้วหารด้วย 4 จะเท่ากับจำนวนช้อนชาของน้ำตาลที่เรารับประทานเข้าไป สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือต้องการควบคุมปริมาณของพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน แต่ยังติดใจในรสหวานชนิดที่เลิกไม่ได้ ก็อาจใช้สารให้ความหวานชนิดอื่นที่มีพลังงานต่ำ เช่น ในเครื่องดื่มบางชนิดที่มีสารให้ความหวาน แต่ปราศจากน้ำตาล หรือที่เรียกว่า “Sugar free“
ควรระวังในการใช้สารให้ความหวานเทียมหรือสารทนแทนความหวานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ร่างกายมีความอยากน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตเพิ่มมากขึ้นได้
ความถี่ในการรับประทานน้ำตาลก็มีความสำคัญมากเช่นกัน แม้ว่าเรารับประทานครั้งละไม่มาก แต่รับประทานบ่อย ๆ ก็ทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินความต้องการได้เช่นกัน
แม้ว่าจะไม่มีน้ำตาล ร่างกายของคนเราก็ได้รับมาจากอาหารเพียงพออยู่แล้ว เพราะอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้นจะมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยปริมาณของน้ำตาลที่ร่างกายต้องการต่อวันไม่ควรจะเกิน 50 กรัม (หมายถึงการรับประทานติดต่อกันนาน ๆ)
ถ้าจำเป็นต้องรับประทานน้ำตาล การเลือกบริโภคน้ำตาลทรายแดงแทนน้ำตาลทรายขาวก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะน้ำตาลทรายขาวนั้นจะผ่านกระบวนการฟอกทางเคมีและแยกสิ่งสกปรกที่เจือปนอยู่ออก ทำให้มีสีขาวและบริสุทธิ์กว่าน้ำตาลทรายแดง แต่เมื่อพูดถึงในแง่คุณค่าทางโภชนาการแล้วน้ำตาลทรายขาวจะมีคุณค่าน้อยกว่าหรือไม่มีเลยเมื่อเทียบกับน้ำตาลทรายแดง (เพราะมีสารบางอย่างลดลง) เช่น น้ำตาลทรายแดงมี 1 มิลลิกรัม จะมีธาตุเหล็ก 20 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าน้ำตาลทรายขาว 2 เท่า และจะมีแคลเซียม 450 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าน้ำตาลทรายขาวประมาณ 3 เท่า เป็นต้น แต่บางคนอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าน้ำตาลทรายแดงไม่อันตราย ซึ่งความจริงก็คือน้ำตาลทรายแดงจะดีกว่าน้ำตาลทรายขาวตรงที่มีแร่ธาตุและวิตามิน แต่อันตรายจากความหวานของน้ำตาลทั้งสองชนิดนี้แทบไม่ต่างกันเลย
จุดประสงค์ของการกินกลูโคส
กลูโคสเป็นน้ำตาล ที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้เร็วที่สุด ทำให้มีน้ำตาลเพิ่มในเลือดค่อนข้างเร็ว จึงเหมาะกับผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียจากการออกกำลังหรือผู้ที่กำลังเป็นไข้ พลังงานที่ได้รับจะช่วยให้ร่างกายมีแรงฟื้นตัวขึ้นมาเร็ว ด้วยการกระตุ้นอินซูลินให้มีการดูดซึมโปรตีนเข้าสู่กล้ามเนื้อ ส่งผลให้เราไม่รู้สึกเหนื่อยหรือเพลียมากนัก