นมเปรี้ยว (Fermented milk)
ผลิตภัณฑ์นมที่ได้จากน้ำนมจากสัตว์ที่นำมาบริโภคได้ หรือส่วนประกอบของน้ำนมที่ผ่านการทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคแล้วหมักด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้เกิดโรคหรืออันตราย ทำให้ค่าความเป็นกรดเพิ่มขึ้น และอาจปรุงแต่งกลิ่น รส สี หรือเติมวัตถุเจือปนอาหาร สารอาหาร หรือส่วนประกอบอื่นที่มิใช่นมด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้รวมถึงนมเปรี้ยว ที่นำมาผ่านการฆ่าเชื้อ การแช่แข็ง หรือการทำให้แห้งด้วย
นมเปรี้ยวแบ่งตามชนิดของจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก
1. โยเกิร์ต (Yoghurt)
นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมักด้วยแบคทีเรีย
สเตรปโทค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus) และ
แล็กโทบาซิลลัส เดลบรึคคิไอ ซับสปีชีส์ บัลแกริคัส (Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus) หรือ แล็กโทบาซิลลัส ซับสปีชีส์ อื่น
2. นมเปรี้ยวแอซิโดฟิลัส (Acidophilus Milk)
นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมักด้วย
แบคทีเรียแล็กโทบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส (Lactobacillus acidophilus)
3. นมเปรี้ยวเคเฟอร์ (Kefir)
นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมักด้วยแบคทีเรียและยีสต์
แล็กโทบาซิลลัส เคฟิไร (Lactobacillus kefiri) หรือ
แล็กโทค็อกคัส (Lactococcus)
แอซีโทแบกเตอร์ (Acetobacter)
ไคลเวอโรไมซีส มาร์เซียนัส (Kluyveromyces marxianus)
แซ็กคาโรไมซีส ยูนิสปอรัส (Saccharomyces unisporus)
แซ็กคาโรไมซีส เซรีวิซิอี (Saccharomyces cerevisiae)
แซ็กคาโรไมซีส แอซิกูอัส (Saccharomyces exiguus)
4. นมเปรี้ยวคูมิส (Kumys)
หมักด้วยแบคทีเรียและยีสต์
แล็กโทบาซิลลัส เดลบรึคคิไอ ซับสปีชีส์ บัลแกริคัส (Lactobacillus delbrueckii subsp.
bulgaricus)
ไคลเวอโรไมซีส มาร์เซียนัส (Kluyveromyces marxianus)
5. นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดที่แตกต่างหรือนอกเหนือจากที่กำหนด ไว้ใน 1-4 เช่น
แล็กโทบาซิลลัส คาเซอิ ซับสปีชีส์ ชิโรต้า (Lactobacillus casei subsp. shirota)
บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium)
นมเปรี้ยวตาม 1-4 อาจใส่จุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักชนิดอื่นเพิ่มเติมจากที่กำหนดได้ เช่น ยาคูลท์
นมเปรี้ยวเคเฟอร์ และ นมเปรี้ยวคูมิส ต้องแสดงข้อความดังต่อไปนี้ด้วย
1. มีเอทิลแอลกอฮอล์ไม่เกิน …% (%ของนํ้าหนัก)
2. เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรรับประทาน
ยังต้องมี ไม่ใช้วัตถุกันเสีย
ตรวจพบแบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์มน้อยกว่า 3 ต่อนมเปรี้ยว 1 กรัม โดยวิธี (Most Probable Number)
นมเปรี้ยวที่ปรุงแต่ง ต้องมีนมเป็นส่วนผสมในปริมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนัก และมีคุณภาพมาตรฐาน ตามกำหนดในประกาศ
1.นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม
ผ่านการเจือจางและปรุงแต่งแล้วบรรจุบรรจุภัณฑ์สำหรับจำหน่าย
โดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
มีจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักที่มีชีวิตคงเหลืออยู่
รักษาไว้ที่อุณหภูมิไม่เกิน 8 องศา ตลอดระยะเวลาหลังบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์จนถึงผู้บริโภค ระยะเวลาการบริโภคไม่เกิน 7 วัน นับจากวันที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์พร้อมจำหน่าย
ส่วนมากจะบรรจุขวดขนาดเล็ก
2.นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์
ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยกระบวนการพาสเจอไรซ์
จะทำลายจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์
ยังคงมีจุลินทรีย์บางส่วนเหลืออยู่ ทำให้ต้องเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิไม่เกิน 8 องศาเซลเซียส ตลอดระยะเวลาหลังจากบรรจุลงบรรจุภัณฑ์จนถึงผู้บริโภค
ระยะเวลาการบริโภคไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์พร้อมจำหน่าย
บรรจุขวดหลายขนาด รวมทั้งขวดขนาดใหญ่เนื่องจากระยะเวลาการบริโภคนานกว่านมเปรี้ยวพร้อมดื่ม
กระบวนการพาสเจอไรซ์ที่ใช้จะทำให้ปริมาณของ LAB(Lactic acid bacteria) ในนมเปรี้ยวลดจำนวนลง มีประโยชน์จากโพรไบโอติกลดลง เก็บไว้รับประทานได้นานกว่านมเปรี้ยวพร้อมดื่ม
3.นมเปรี้ยวพร้อมดื่มยูเอชที
ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยกระบวนการยูเอชที (Ultra High Temperature : UHT) ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์ปลอดเชื้อทางการค้า (commercial sterilization) คือสามารถทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสียหรือก่อโรค แต่ยังคงเหลือแบคทีเรียบางชนิดรวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรียซึ่งสามารถทนความร้อนที่ใช้ฆ่าเชื้อได้ แต่ไม่สามารถเจริญได้ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทและออกแบบมาเพื่อบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยกระบวนการยูเอชที
เก็บรักษาในอุณหภูมิห้องได้เป็นระยะเวลาประมาณ 6-10 เดือน โดยไม่จำเป็นต้องแช่เย็น การใช้ความร้อนที่สูงมากนี้จะทำลาย LAB ที่มีอยู่ในนมเปรี้ยวทั้งหมด ทำให้เมื่อดื่มนมเปรี้ยวประเภทนี้จะไม่ได้รับประโยชน์จากโพรไบโอติก แต่มีข้อดีคือ สามารถเก็บได้นานกว่านมเปรี้ยวชนิดอื่นและไม่ต้องแช่เย็น
http://www.chaladsue.com/new/index.php?option=com_content&view=article&id=191:99-qmicroorganismsq&catid=89&Itemid=466 )
- บีทาเก้น สูตรนมพร่องมันเนย
ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตมากที่สุด เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวยี่ห้ออื่นๆ ในการทดสอบครั้งนี้ ซึ่งบนฉลากผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้
จุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ - จุลินทรีย์ แอล.คาเซอิ ชิโรต้า เป็นชนิดของจุลินทรีย์ที่พบเฉพาะในยาคูลท์เท่านั้น ซึ่งชื่อนี้มีที่มาจาก ดร.ชิโรตะ มิโนรุ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบแบคทีเรียชนิดนี้ ในปี 1930
- ชนิดของจุลินทรีย์ที่นมเปรี้ยวที่ใช้ทดสอบครั้งนี้ระบุไว้ที่ฉลากได้แก่ แอล.คาเซอิ ชิโรต้า, แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ, แลคโตบาซิลลัส บัลแกริคัส, สเตร็ปโทค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส, บิฟิโดแบคทีเรียม อะนิมาลิส-ดีเอ็ม173010 และ แลคโตบาซิลลัส เดลบรีคคิโอซัมสปีชีส์ บัลแกริคัส
- มี 6 ยี่ห้อ ที่มีจำนวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตตามคุณลักษณะทางเคมีและทางจุลชีววิทยา ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด ซึ่งได้แก่
บีทาเก้น สูตรนมพร่องมันเนย (9.0 x 108 cfu)
โฟร์โมสต์ โอเมก3 นมเปรี้ยวไขมันต่ำ (1.2 x 107 cfu)
ดีไลท์ ดัชมิลล์ (ฉลากสีฟ้า) นมเปรี้ยวปราศจากไขมัน น้ำตาลน้อยกว่า (3.0 x 107 cfu)
เคซีไอ (casei) นมเปรี้ยวปราศจากไขมัน ผสมใยอาหารอินนูลิน (5.5 x 107 cfu)
เคซีไอ (casei) ฉลากโดราเอมอน นมเปรี้ยวปราศจากไขมัน ผสมใยอาหารอินนูลิน (2.4 x 107 cfu)
ดานอน แอคทีเวีย นมเปรี้ยวโยเกิร์ต กลิ่นสตอร์เบอรี่ (1.4 x 107 cfu)
วิเคราะห์โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยามหิดล
ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น
ทดสอบโยเกิร์ต รสธรรมชาติ (Plain Yogurt) 7 ยี่ห้อ
(เก็บตัวอย่าง 11 กุมภาพันธ์ 2551)
• ปริมาณแคลเซียมในผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตทุกยี่ห้อ ไม่ได้มีค่าต่างกันมากนัก แม้หลายยี่ห้อจะกล่าวอ้างว่า แคลเซียมสูง ก็ตาม (ดูตารางเปรียบเทียบเรื่องปริมาณแคลเซียมกับ
ผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ)
• ยี่ห้อ ริชเชส
พบปริมาณโปรตีน 2.6 กรัม / 100 กรัม ซึ่งน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด 0.1 (ตามกฎหมายต้องมีโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.7 ของน้ำหนัก) เป็นไปได้ว่า เกิดจากปริมาณ
น้ำนมโคที่ต่ำกว่ายี่ห้ออื่น ริชเชส นมโคร้อยละ 91.5 ดัชชี่ ร้อยละ 98 เมจิ ร้อยละ 100 (ตามที่ระบุบนฉลาก)
• ยี่ห้อ ดัชชี่ แฟตฟรี
ระบุบนฉลากว่า น้ำตาลน้อยกว่า ไม่รู้จะหมายความว่า น้อยกว่ายี่ห้ออื่นหรือไม่ อย่างไร เพราะทดสอบพบว่า มีน้ำตาล 11.1 กรัม / 100 กรัม แต่บนฉลากบอกว่ามีน้ำตาล 9 กรัม / น้ำหนัก 150 กรัม (หนึ่งหน่วยบริโภค)
• ยี่ห้อ เมจิ
ระบุอยู่บนฉลากว่า มีน้ำตาล 4 กรัม (จากหน่วยบริโภค 150 กรัม) แต่ฉลาดซื้อทดสอบได้ 7 กรัม (ต่อ 100 กรัม) ถ้าปริมาณโยเกิร์ตต่อหน่วย 150 กรัม น่าจะมีน้ำตาลอยู่ที่
10.5 กรัม
• จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ยิ่งมีจำนวนมากยิ่งมีประโยชน์ จากการทดสอบพบว่า ยี่ห้อ
ดัชชี่ ไบโอ ดัชชี่ แฟต ฟรี และโฟร์โมสต์ พรี โพร บาลานซ์
มีปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจำนวนมากใน 3 ลำดับแรก
แต่เนื่องจากฉลาดซื้อมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเก็บผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อให้มีวันผลิตใกล้เคียงกันหรือวันเดียวกันได้ ค่าของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจึงไม่อาจเปรียบเทียบได้อย่าง
ชัดเจน เพราะการมีอยู่ของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตในโยเกิร์ต จะขึ้นอยู่กับอายุของผลิตภัณฑ์ ยิ่งผลิตใหม่สดเท่าไร จุลินทรีย์ที่มีชีวิตก็จะมีปริมาณสูง และจะลดลงไปเรื่อยๆ จนถึงวันหมดอายุ
ดังนั้นยี่ห้อ บีทาเก้น ที่มีปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตน้อยกว่ายี่ห้ออื่น ก็อาจเนื่องมาจากผลิตก่อนยี่ห้ออื่นนั่นเอง (โยเกิร์ตมีอายุการบริโภคไม่เกิน 30 วัน เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส)
• ทุกยี่ห้อไม่พบแบคทีเรียชนิดก่อโรค (โคลิฟอร์ม) เกินกฎหมายกำหนด (น้อยกว่า 3 ต่อนมเปรี้ยว 1 กรัม โดยวิธี เอ็ม พี เอ็น)
แบคทีเรีย
ถ้าเป็น สเตร็ปโตค็อคคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus)
และ แล็คโตแบซิลลัส เดลบรูคคิไอ ชับสปีชี่ส์ บัลการิคัส (Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus) หรือ แล็คโตแบซิลลัส บัลการิคัส (Lactobacillus bulgaricus)
ทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ทำโยเกิร์ตธรรมดา ไม่จัดเป็นโพรไบโอติคส์
โพรไบโอติคส์ที่มีอยู่ในโยเกิร์ตและนมในท้องตลาด เช่น
ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดุม (Bifidobacterium bifidum)
ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010)
แล็คโตแบซิลลัส เคซิไอ (Lactobacillus casei)
แล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) เป็นต้น
ยังมีโพรไบโอติคส์ตัวอื่นๆที่น่าสนใจอีกในต่างประเทศที่ยังไม่มีจำหน่ายในบ้านเรา
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศไทยมักใส่โพรไบโอติคส์เพียง 1 ชนิด
ส่วนที่มาจากต่างประเทศจะเติมโพรไบโอติคส์ลงไป 1-3 ชนิด
pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/22/การเลือกโพรไบโอติคส์-Probiotics/
โพรไบโอติคส์ (Probiotics)
โพรไบโอติคส์ (Probiotics) เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่แต่เดิมในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียที่ไม่ดีจำนวนลดลง (คือพวกที่ทำให้ท้องอืด ท้องเสีย สร้างสารก่อมะเร็ง สารที่มีกลิ่นเหม็น ฯลฯ) ทำให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังให้ประโยชน์อื่นๆ เช่น เพิ่มภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์นั้นๆ โดยรวม คือ โพรไบโอติคส์จะช่วยให้สุขภาพของคุณดีขึ้น
การเลือกโพรไบโอติคส์
ขั้นที่ 1เริ่มกันที่บริเวณหน้าตู้แช่ ชั้นวางผลิตภัณฑ์โพรไบโอติคส์ ถ้าตู้แช่เย็นจัดเท่าตู้ที่บ้านคุณหรือเย็นกว่า เป็นอันว่าใช้ได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์จะคงตัวกว่า และโพรไบโอติคส์ชอบอากาศเย็น จะอยู่สุขสบายมีจำนวนที่มีชีวิตมากกว่าในที่อากาศร้อน หากคุณสนใจผลิตภัณฑ์ที่มีสาวขี่จักรยานส่ง ก็ให้เลือกสาวส่งที่ไม่โลภมาก บรรจุของในตู้แช่ท้ายจักรยานแต่พอดี ไม่ล้นออกมาจนปิดฝาไม่ได้ จุดสำคัญ คือ ให้เย็นอยู่เสมอ หากตู้แช่ไม่เย็น สาวส่งใส่ของจนล้นตู้แช่ ขอแนะนำให้เปลี่ยนซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือเปลี่ยนสาวส่ง
ขั้นที่ 2หยิบขวดโยเกิร์ตหรือขวดนมที่คิดว่ามีโพรไบโอติคส์ขึ้นมา พลิกไปด้านข้างหรือด้านหลัง อ่านชื่อเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในถ้วยหรือในขวด ถ้าเป็น สเตร็ปโตค็อคคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus)
และ แล็คโตแบซิลลัส เดลบรูคคิไอ ชับสปีชี่ส์ บัลการิคัส (Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus) หรือ แล็คโตแบซิลลัส บัลการิคัส (Lactobacillus bulgaricus)
ทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ทำโยเกิร์ตธรรมดา ไม่จัดเป็นโพรไบโอติคส์
ให้มองหาชื่อเชื้ออื่นที่ข้างถ้วย โพรไบโอติคส์ที่มีอยู่ในโยเกิร์ตและนมในท้องตลาด เช่น
ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดุม (Bifidobacterium bifidum)
ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010)
แล็คโตแบซิลลัส เคซิไอ (Lactobacillus casei)
แล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) เป็นต้น
ยังมีโพรไบโอติคส์ตัวอื่นๆที่น่าสนใจอีกในต่างประเทศที่ยังไม่มีจำหน่ายในบ้านเรา ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศไทยมักใส่โพรไบโอติคส์เพียง 1 ชนิด ส่วนที่มาจากต่างประเทศจะเติมโพรไบโอติคส์ลงไป 1-3 ชนิด
ขั้นที่ 3ในขั้นนี้ที่ยังไม่รู้ว่าเชื้อไหนเหมาะกับคุณ ให้ถามตัวเองว่าคุณเป็นคนกลุ่มไหน
ถ้าเป็นกลุ่มท้องผูก : ให้เลือก ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส ก่อน
เนื่องจากเชื้อนี้มักทำให้ย่นระยะเวลาที่อาหารอยู่ในลำไส้ แปลว่าทำให้ขับถ่ายเร็วขึ้น
ถ้าคุณเป็นกลุ่มลำไส้ไว ถ่ายบ่อย ก็ต้องหลีกเลี่ยงเชื้อนี้มิฉะนั้นจะยิ่งวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นอีก ควรเลี่ยงโยเกิร์ตที่มีพรีไบโอติคส์ (อาหารของโพรไบโอติคส์) อยู่ด้วย(ดูที่ฉลาก)เพราะคนกลุ่มที่ลำไส้ไว มักจะท้องอืดง่าย ที่นี้ถ้าคุณเป็นคนปกติ ให้ลองโพรไบโอติคส์ตัวไหนก็ได้ แล้วลองกินไปสัก 2-3 สัปดาห์ โดยกินเช้า-เย็น วันละ 1-2 ถ้วย ทุกวัน เริ่มแรกท้องไส้อาจรู้สึกปั่นป่วน เนื่องจากมีการแก่งแย่งพื้นที่ในลำไส้ใหญ่ระหว่างกลุ่มต่างๆของแบคทีเรียเพื่อตั้งรกราก หากไม่มีอะไรผิดปกติอย่างอื่น ก็ให้กินต่อไปทุกวัน หลังจาก 2 สัปดาห์แล้ว ให้สำรวจตัวเองว่ารู้สึกสบายท้องขึ้นหรือไม่ ขับถ่ายดีหรือไม่ กินโพรไบโอติคส์นี้แล้วรู้สึกว่าสุขภาพลำไส้ดีขึ้นหรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ ก็ขอให้คุณกินโพรไบโอติคส์นี้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต้องคิดเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา การกินโพรไบโอติคส์ให้ได้ผลดี ต้องกินสม่ำเสมอต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ห้ามกินๆหยุดๆ ต้องมีเชื้อไปทดแทนพรรคพวกที่ตั้งรกรากแล้วหลุดหายตายจากไปตามระยะเวลา หากสำรวจแล้ว ไม่พอใจ ก็ขอให้เริ่มต้นใหม่ด้วยเชื้ออื่น ใช้เวลา 2-3 สัปดาห์อีกเหมือนกันกว่าจะเข้าที่ จะให้แน่ใจก็ใช้เวลา 1 เดือน
ขั้นที่ 4 จริงๆขั้นนี้เป็นขั้นที่ 3 1/2 เนื่องจากยังเลือกไม่เสร็จ คุณดูที่ฉลากข้างถ้วยบางถ้วยแล้วก็เห็นตัวเลขจำนวนเชื้ออยู่ ตกลงคุณควรจะเลือกจำนวนเชื้อมากหรือเชื้อน้อยดี เอาเป็นว่า คุณลองอ่านจำนวนที่ข้างถ้วย เช่น 20,000 ล้านตัว แล้วคุณก็เขียนให้เป็นตัวเลขทั้งหมด ในที่นี้ก็คือ 20,000,000,000 ตัว ทีนี้ก็เริ่มนับเลขศูนย์ที่มีทั้งหมด ตราบใดที่มีเลขศูนย์อย่างน้อย 10 ตัว ก็เป็นอันว่าใช้ได้ ตัวเลขมากดีกว่าตัวเลขน้อย คือ ควรมีจำนวนโพรไบโอติคส์ตั้งต้นอยู่อย่างน้อย 1010-1011 ตัวเนื่องจากโพรไบโอติคส์ต้องเดินทางฝ่าด่านกรด และด่านน้ำดี ฯลฯ ตกหายตายจากไประหว่างทางในทางเดินอาหาร กว่าจะถึงที่ตั้งรกรากในลำไส้ใหญ่พวกที่ยังคงมีชีวิตอยู่ก็ลดจำนวนลงไปมาก ดังนั้นเลือกจำนวนมากไว้ก็จะดีกว่า
เลือกไปแล้ว ลองไปแล้ว ไม่ถูกใจ สู้ของเดิมในลำไส้ของคุณไม่ได้ คุณก็หยุดกินโพรไบโอติคส์ ประมาณสัก 2 สัปดาห์ จุลินทรีย์ที่เคยตั้งรกรากอยู่เดิมในลำไส้ใหญ่ของคุณก็จะค่อยๆเพิ่มจำนวนหรือลดจำนวนกลับมาคล้ายคลึงกับของเดิมที่คุณเคยมีอยู่
จุลินทรีย์ที่ดีมีหลายสายพันธุ์
แต่ละสายพันธุ์นั้น จะช่วยเรื่องฟื้นฟูสุขภาพทั่วไปและสุขภาพทางเดินอาหารเหมือนกันแล้ว ก็ยังมีคุณสมบัติที่เฉพาะตัว
บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กติส : ช่วยรักษาอาการผิวหนังเป็นผื่นคันจากภูมิแพ้
แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ : ช่วยเรื่องท้องร่วงจากการใช้ยาปฎิชีวนะ ติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอด ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ภูมิแพ้ต่างๆ และโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของตัวเอง
แลคโตบาซิลลัส แพลนทารัม : ช่วยเรื่องโรคสำไส้อักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน และท้องร่วงในระหว่างการเดินทาง
แลคโตบาซิลลัส รามโนซัส : ช่วยเรื่องท้องร่วงจากยาปฎิชีวนะ ท้องร่วงจากการติดเชื้อคลอสตริเดียมดิฟฟิไซล์
เพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีได้ยังไง
1.กินอาหารที่มีจุลินทรีย์ชนิดดีเช่น นมแม่ นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต(บางรุ่น) ซุปมิโซะ รวมถึงของหมักดองอื่นๆบางชนิด
2.กินอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดี ก็คือใยอาหารละลายน้ำบางชนิด มักพบใน ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ต้นหอม กระเทียม ถั่ว ผลไม้ตระกูลเบอรี่ ผลไม้ที่กินได้พร้อมเปลือก (เช่น องุ่น) น้ำผลไม้บางชนิดเช่น น้ำทับทิม น้ำองุ่นเขียว
ref.https://pantip.com/topic/36568888
โดยทั่วไปในช่องคลอดจะมีทั้งแบคทีเรียชนิดที่ดีอย่างแลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) และชนิดที่ไม่ดีอย่างแอนแอโรบส์ (Anaerobes) ซึ่งหากมีแบคทีเรียชนิดที่ไม่ดีมากจนเกินไปจะทำให้ปริมาณแบคทีเรียภายในช่องคลอดเสียสมดุลและเกิดภาวะ Bacterial Vaginosis ได้
แลคโตบาซิลลัส (อังกฤษ: Lactobacillus)เป็น แบคทีเรีย ชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และพบตามธรรมชาติในทางเดินลำไส้ และ ช่องคลอด แลคโตบาซิลลัส ใช้ในการผลิต นมเปรี้ยว และ โยเกิร์ต
แลคโตบาซิลลัสช่วยลดระยะเวลาที่เกิดอาการท้องเสียลงมาได้ลงมาถึงสองในสามภายในหนึ่งวัน
https://th.wikipedia.org/wiki/แลคโตบาซิลลัส