• December 29, 2020

    จุลินทรีย์ในลำไส้ ฟังชื่อแล้วเหมือนเป็นตัวการนำโรคร้ายทำให้ร่างกายเราเจ็บไข้ได้ป่วยใช่มั้ยล่ะครับ แต่ในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่แบบนั้นเลย เพราะจุลินทรีย์ในลำไส้นั้นทางวงการแพทย์ได้ทำการวิจัยและศึกษาถึงมันอย่างละเอียดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ นั้นมีประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะหน้าที่หลักของมันคือการช่วยปรับกลไกของลำไส้ ทำให้ลำไส้พร้อมสำหรับการใช้งาน และยังมีผลในด้านการเสริมภูมิต้านทาน แก้อาการอักเสบ ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และที่สำคัญ ช่วยต้านทานมะเร็งร้ายได้อีกด้วย หลาย ๆ คนยังคงไม่เข้าใจว่าจุลินทรีย์ในลำไส้นั้นช่วยเราได้ยังไง ซึ่งในปี 2005 ศาสตราจารย์เดวิด เรย์มอนด์ แห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ได้ตีพิมพ์บทความสำคัญในวารสาร Science เกี่ยวกับจุลินทรีย์ในลำไส้ว่า จุลินทรีย์ในลำไส้เป็นอวัยวะที่จำเป็นของร่างกาย เพราะมันช่วยให้สารอาหาร ช่วยปรับและช่วยความคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ในลำไส้ ทำให้มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้กลายมาเป็นอวัยวะชิ้นสำคัญที่จำเป็นของร่างกาย ที่เราต้องใส่ใจและดูแลให้ดี เพื่อให้ลำไส้และระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกายเป็นไปได้ด้วยดี และมีประสิทธิภาพ

    จุลินทรีย์ในลำไส้คืออะไร มาจากไหน และทำไมร่างกายถึงต้องการ
    จุลินทรีย์ในลำไส้เป็นจุลินทรีย์ชนิดที่เคยชินกับสภาพแวดล้อมในลำไส้ของคนเรา ซึ่งไม่สามารถอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จะอยู่ในตัวคนเราเท่านั้น ทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้ต้องถ่ายทอดจากคนสู่คนเท่านั้น โดยคนเราสามารถมีจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยขณะที่อยู่ในครรภ์นั้น ลำไส้จะอยู่ในสภาพเกือบไร้จุลินทรีย์ แต่เมื่อเราคลอดออกมา จุลินทรีย์ในช่องคลอดจะเข้าสู่ท้องของทารก เมื่อคลอดแล้ว คนที่ทารกสัมผัส การดื่มนม เสื้อผ้าที่สวมใส่ หรือแม้แต่อากาศที่หายใจเข้าไป ก็จะนำจุลินทรีย์เข้าสู่ตัวทารกไปด้วย ซึ่งเรื่องที่น่าตกใจก็คือ หลังคลอดออกมาได้ 2 ชั่วโมง ทารกจะมีจุลินทรีย์เกิดขึ้นถึง 10,000 ล้านตัว และอีก 1 สัปดาห์ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านล้านตัว ซึ่งจุลินทรีย์ในลำไส้จะคงอยู่ร่วมกันในลำไส้ไปตลอดชีวิต ช่วยต้านโรคร้ายต่าง ๆ ที่อาจเกิดกับร่างกายนั่นเอง ด้วยเหตุนี้เองครับที่ตอนแรกเริ่มเลยนั้นเราจะได้รับจุลินทรีย์จากแม่มากที่สุด เพราะฉะนั้นสุขภาพของลำไส้คนเป็นแม่จึงเป็นสิ่งสำคัญ

    ข้อดีของการมีจุลินทรีย์ในลำไส้
    การทานอาหารก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกบ่อย ๆ หรือท้องเสียบ่อย ๆ ต่อให้กินอาการที่มีประโยชน์เข้าไป ดูแลเรื่องการกินอย่างดี แต่ก็อาจจะมีพลั้งพลาดทานอาหารที่ไม่ดีต่อลำไส้เข้าไปได้ ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลสำคัญเลยล่ะครับที่ควรจะเพิ่มจุลินทรีย์ในลำไส้ให้มากกว่าเดิม เพื่อเป็นอีกหนึ่งหนทางในการช่วยปรับสมดุลให้กับลำไส้ของเรา เพราะเมื่อจุลินทรีย์ในลำไส้สมดุล จุลินทรีย์ชนิดดีจะมีจำนวนมากขึ้น และช่วยให้ร่างกาย ระบบต่าง ๆ มีภูมิคุ้มกันมากกว่าเดิม ซึ่งเรื่องของข้อดีในจุลินทรีย์ในลำไส้นั้นก็ยังมีอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้ลำไส้เกิดความสมดุล ช่วยป้องกันให้อวัยวะในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารทำงานได้อย่างเต็มที่ จุลินทรีย์ในลำไส้ช่วยเพิ่มคุณค่าทางอาหาร ช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุและวิตามิน ป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ ป้องกันมะเร็งลำไส้ ลดการตอบสนองต่อการอักเสบ ช่วยลดคอเลสเตอรอล แก้ท้องผูก เรียกได้ว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ นั้นมีประโยชน์กับร่างกายมากถึงขนาดที่ว่า จะช่วยให้ร่างกายดีขึ้นได้แบบองค์รวม และทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงจากภายในสู่ภายนอก ส่งผลให้ไม่มีอาการป่วยหรือปัญหาต่าง ๆ ตามมาในอนาคตนั่นเอง เมื่อระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ภายในสดใส ร่างกายภายนอกก็จะดูสดชื่นและสดใสเช่นกัน

    Parry Biocal ตัวเบา สบายท้อง ขับถ่ายดีเป็นธรรมชาติ มีพรีไบโอติกไฟเบอร์สูงช่วยปรับสมดุลระบบนิเวศน์และแบคทีเรียในลำไส้

    จุลินทรีย์ในลำไส้ ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันในร่างกายได้อย่างไร
    เรื่องของจุลินทรีย์ในลำไส้นั้นยังมีอะไรอีกมากมายที่หลายคนมักไม่เคยรู้ และคิดว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี ซึ่งมีการสังเกตหนูทดลอง ที่ปลอดเชื้อ หรือก็คือ หนูที่เกิดและเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีเชื้อเลย ในลำไส้แทบไม่มีจุลินทรีย์เลย หนูเหล่านี้มีอายุขัยยืนยาวกว่าหนูทั่ว ๆ ไปถึง 1.5 เท่าเลยทีเดียว อ่าน ๆ ดูแล้วก็เหมือนว่าการไม่มีจุลินทรีย์ในลำไส้นั้นให้ผลได้ดีถูกมั้ยครับ แต่มองอีกมุมหนึ่งคือ หนูกลุ่มนี้มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก แทบไม่มีภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ เลย พอนำมาเลี้ยงในสภาพแวดล้อมปกติ ก็ติดเชื้อได้ง่าย และไม่สามารถหายได้ จนตายลงทันทีอย่างรวดเร็ว ทีนี้เพื่อนๆ คงมองเห็นถึงความสำคัญของการมีจุลินทรีย์ในลำไส้กันบ้างแล้วใช่มั้ยล่ะ เพราะลำไส้ของคนเราก็เหมือนกับที่ฝึกซ้อม และจุลินทรีย์ในลำไส้ ก็ถือเป็นครูฝึกชั้นดีที่จะเข้าไปอยู่ในลำไส้ของเราตั้งแต่เกิด ฝึกให้ลำไส้และระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ทำงานได้อย่างแข็งแรง มีประสิทธิภาพ และแกร่งขึ้นกว่าเดิม สมบูรณ์แบบ ไม่อ่อนแอปวกเปียก

    ด้วยเหตุนี้เองทำให้ลำไส้กลายเป็นอวัยวะที่ช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุด ถ้าเราไม่ดูแลลำไส้ให้ดี ระบบภูมิคุ้มกันก็จะแย่ลง ส่งผลให้สุขภาพร่างกายมีอันต้องล่มป่วย เพราะโรคร้ายต่าง ๆ ถาโถมเข้ามา เหมือนอย่างหนูที่ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์อยู่เลยนั่นเอง

    จุลินทรีย์ในลำไส้ สาเหตุทำให้เกิดโรคลำไส้แปรปรวน
    เรื่องของจุลินทรีย์ในลำไส้นั้นส่งผลต่อระบบลำไส้ ทำให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวนขึ้นได้ด้วยนะ ซึ่งโรคนี้จะทำให้ผู้ที่ป่วยอึดอัดจากการท้องอืดและแน่นท้อง หลังทานอาหารมื้อใหญ่เข้าไป และมีอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ปวดท้องเพราะมีแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องร่วง ท้องผูก ปัญหาและอาการแบบนี้จะมีอยู่ต่อเนื่อง หรืออาจกำเริบและเฉียบพลัน ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ซึ่งโรคลำไส้แปรปรวนนี้ทางนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ก็ได้สันนิษฐานแล้วพบว่า มันไม่ได้เกิดจากโรคภูมิแพ้ หรือการแพ้อาหาร แต่เกิดจากการระบาดของจำนวนประชากรแบคทีเรียในลำไส้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องทำการรักษาลำไส้ให้เกิดความสมดุลมากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคลำไส้แปรปรวนนั่นเอง

    เช็คสักนิด ว่าเป็นโรคลำไส้แปรปรวนอยู่รึเปล่า
    สำหรับเพื่อน ๆ ที่ห่วงว่าตัวเองจะมีอาการลำไส้แปรปรวนล่ะก็ ให้ลองเช็กด้วยเช็กลิสต์ง่าย ๆ ตามนี้เลย

    1. หลังทานอาหารหนักเข้าไป มักมีความรู้สึกแน่นท้อง ท้องอืด มากกว่าความอิ่ม
    2. มีอาการท้องผูก บางครั้งอาจท้องเสีย โดยไม่มีสาเหตุแน่ชัด
    3. มีอาการเครียด หรือซึมเศร้า
    4. ใช้ยาลดกรด หรือยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้มากเกินไป จนลำไส้ชินต่อการถูกกระตุ้น

    ถ้าเพื่อน ๆ เองก็มีอาการเหล่านี้เกิน 2 ข้อแสดงว่าเข้าข่ายและมีโอกาสเกิดโรคลำไส้แปรปรวนได้สูงเลยล่ะ เพราะฉะนั้นทางที่ดีควรทานอาหารที่มีพรีไบโอติกส์สูง เพื่อเสริมสร้างจุลินทรีย์ในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายคล่อง และไม่เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา

    รวมรายชื่ออาหาร 11 ชนิดที่ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในลำไส้ ปรับสภาพร่างกายให้มีสุขภาพดี
    อาหารที่มีพรีไบโอติกส์สูงส่วนมากมักจะเป็นอาหารจากผักและผลไม้ต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อน ๆ ที่ต้องการเสริมสร้างจุลินทรีย์ในลำไส้ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้สุขภาพร่างกายดีขึ้นได้อย่างเห็นผล ก็ควรทานอาหารทั้ง 11 ชนิดนี้เป็นประจำ

    1. กระเทียม
    2. หอมหัวใหญ่
    3. ต้นหอม
    4. ต้นหอมญี่ปุ่น
    5. หน่อไม้ฝรั่ง
    6. แรดิชิโอ (ผักกาดม่วง)
    7. กะหล่ำปลี
    8. อะโวคาโด
    9. ฝรั่ง
    10. กล้วย
    11. แอปเปิ้ล

    พยายามทานอาหารเหล่านี้แบบดิบ ๆ หรือโดนความร้อนน้อยที่สุดด้วยนะครับ เพื่อให้พรีไบโอติกส์หรือจุลินทรีย์นั้นเข้าสู่ลำไส้ได้แบบเต็มที่ และส่งผลดีต่อร่างกายอย่างสุดความสามารถ



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized