• June 4, 2018

    ในห้องเรียนวันหนึ่ง ไอสไตน์ถามนักเรียนว่า
    ” มีคนซ่อมปล่องไฟสองคน กําลังซ่อมปล่องไฟเก่า พอพวกเขาออกมาจากปล่องไฟ ปรากฏว่า คนหนึ่งตัวสะอาด
    อีกคนตัวเลอะเทอะ เต็มไปด้วยเขม่า ขอถามหน่อยว่า คนไหนจะไปอาบน้ำก่อน ”

    นักเรียนคนหนึ่งตอบว่า” ก็ต้องคนที่ตัวสกปรกเลอะเขม่าควันสิครับ ”

    ไอสไตน์ พูดว่า
    ” งั้นเหรอ คุณลองคิดดูให้ดีนะ คนที่ตัวสะอาด เห็นอีกคนที่ตัวสกปรกเต็มไปด้วยเขม่าควัน
    เขาก็ต้องคิดว่าตัวเองออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน ตัวเขาเองก็ต้องสกปรกเหมือนกันแน่ๆเลย
    ส่วนอีกคน เห็นฝ่ายตรงข้ามตัวสะอาด ก็ต้องคิดว่า ตัวเองก็สะอาดเหมือนกัน
    ตอนนี้ ผมขอถามพวกคุณอีกครั้งว่า ใครที่จะไปอาบน้ำก่อนกันแน่ ”

    นักเรียนคนหนึ่งพูดขึ้นมาด้วยความตื่นเต้นว่า
    ” อ้อ ! ผมรู้แล้ว พอคนตัวสะอาดเห็นอีกคนสกปรก ก็นึกว่าตัวเองต้องสกปรกแน่ แต่คนที่ตัวสกปรก
    เห็นอีกคนสะอาด ก็นึกว่าตัวเองไม่สกปรกเลย ดังนั้นคนที่ตัวสะอาดต้องวิ่งไปอาบน้ำก่อนแน่เลย ….. ถูกไหมครับ….”

    ไอสไตน์มองไปที่นักเรียนทุกคน นักเรียนทุกคน
    ต่างเห็นด้วยกับคําตอบนี้
    ไอสไตน์ ค่อยๆพูดขึ้นอย่างมีหลักการและเหตุผล
    ” คําตอบนี้ก็ผิด ทั้งสองคนออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน จะเป็นไปได้ไงที่คนหนึ่งสะอาด อีกคนหนึ่งจะสกปรก
    นี่แหละที่เขาเรียกว่า ” ตรรก ” ”

    เมื่อความคิดของคนเราถูกชักนําจนสะดุด ก็จะไม่สามารถแยกแยะและหาเหตุผล แห่งเรื่องราวที่แท้จริงออกมาได้ นั่นคือ ” ตรรก ”

    จะหาตรรกได้ก็ต้อง กระโดดออกมาจาก ” พันธนาการของความเคยชิน ” หลบเลี่ยงจาก ” กับดักทางความคิด ”
    หลีกหนีจาก ” สิ่งที่ทําให้หลงทางจากความรู้จริง ” ขจัด ” ทิฐิแห่งกลมสันดาน ” จะหา ตรรก ได้ก็ต่อเมื่อ คุณสลัดหมากทั้งหมด
    ที่คนเขาจัดฉาก วางล่อคุณไว้

    “ไอน์สไตน์ได้บรรยายเรื่อง Paradigm Shift โดยถามนักศึกษาว่า มีช่างซ่อมหลังคาสองคนปีนจากปล่องควันลงมา ซึ่งไม่มีใครตอบถูก แล้วเขาก็เฉลยว่า เพราะคำถามผิด! เพื่อเป็นการแสดงตัวอย่างของการคิดอะไรใหม่ๆ ที่หลุดจากกรอบเดิมว่ายากแค่ไหน”

    กับดักความคิด ที่นักวิชาการทั้งหลายถือว่าเป็นกำแพงในจิตใจ ซึ่งปิดกั้นการรับรู้ ละการไตร่ตรอง เพื่อหาทางออกที่สร้างสรรค์ให้แก่ปัญหาที่เกิดขึ้น

    เมื่อเราติดกับดักความคิดแล้ว ไม่ต้องหวังว่าเราจะคิดอย่างรอบคอบ รอบด้าน และสร้างสรรค์ได้ ความคิดเราก็จะวนเวียนอยู่ในกับดัก และกับดักนั้นมักจะเป็นสิ่งที่เรารู้อยู่ เคยชินอยู่ เชื่ออยู่ อาทิ กับดักของทรรศนะ หรือการรับรู้ซึ่งบางครั้งเกิดเพราะคนอื่นสร้างกับดักขึ้น แล้วเราไปคิดตามเขา ลองดูตัวอย่างบทสนทนาระหว่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กับนักศึกษาในวันหนึ่งในห้องเรียน…

    ไอน์สไตน์ “มีคนซ่อมปล่องไฟสองคน ก็เล็งซ่อมปล่องไฟเก่า พอพวกเขาลงมาจากปล่องไฟ ปรากฏว่าคนหนึ่งตัวสะอาด อีกคนหนึ่งตัวเลอะเทอะ มอมแมม เต็มไปด้วยเขม่า คำถามมีอยู่ว่า คนไหนจะอาบน้ำก่อน”

    นักศึกษาคนหนึ่งตอบทันทีว่า “ก็ต้องคนที่ตัวสกปรกเลอะเขม่าควันสิครับ”

    ไอน์สไตน์ “แน่ใจหรือ ลองคิดดูให้ดี คนที่ตัวสะอาด เห็นอีกคนที่ตัวสกปรกเต็มไปด้วยเขม่าควัน เขาก็ต้องคิดว่าตัวเองสกปรกเหมือนกันแน่ ส่วนอีกคนก็เห็นฝ่ายตรงกันข้ามตัวสะอาด ก็ต้องคิดว่าตัวเองสะอาดเหมือนกัน ถึงตอนนี้ ขอถามอีกทีว่า ใครกันแน่ที่จะอาบน้ำก่อน”

    นักศึกษาอีกคนตอบด้วยความมั่นใจว่า “อ๋อ! รู้แล้ว คนที่ตัวสะอาดต้องวิ่งไปอาบน้ำก่อนแน่ เพราะเห็นอีกคนตัวสกปรก ก็นึกว่าตนเองสกปรก แต่อีกคนซึ่งตัวสกปรก เห็นเพื่อนตัวสะอาด ก็นึกว่าตัวเองสะอาด จึงไม่ไปอาบน้ำ…ใช่ไหมครับ”

    ไอน์สไตน์มองไปรอบๆ ห้องแล้วเฉลยว่า “คำตอบนี้ก็ผิดทั้งสองคน ออกมาจากปล่องไฟเหมือนกัน จะเป็นไปได้อย่างไรที่คนหนึ่งตัวสกปรก อีกคนหนึ่งตัวสะอาด เป็นไปไม่ได้! นั่นแสดงว่า เราติดกับดักแห่งความคิด เพราะความคิดของเราถูกชักนำไปด้วยประเด็นหนึ่ง หรือสถานการณ์หนึ่งๆ ซึ่งในที่นี้คือ สะอาดและสกปรก จนเราละเลยความเป็นเหตุเป็นผล และบ่อยครั้งเราก็ไม่สามารถแยกแยะและหาแก่นของประเด็นที่แท้จริง” (ดู ดร.เดชา เตชะวัฒนไพศาล, 2552)

    เมื่อติดกับดักความคิดแล้ว เราจะได้คำตอบผิดๆ
    กับดักความคิดยังมีอีกหลายประเภท เช่น
    กับดักจากอารมณ์ (emotional block) เช่น อารมณ์โกรธ อิจฉา น้อยใจ
    ถ้าเซอร์ไอแซค นิวตัน ผู้คิดค้นทฤษฎีแรงโน้มถ่วงโลกถูกแอบเปิ้ลหล่นใส่หัว เกิดความโกรธว่า ใครวะเอาแอบเปิ้ลขว้างหัวเรา! โลกทั้งโลกก็จะไม่ได้ศึกษาทฤษฎีแรงโน้มถ่วง เพราะความคิดของนิวตันถูก กับดักความโกรธบังไว้แล้ว

    กับดักทางวัฒนธรรม
    กับดักสิ่งแวดล้อม
    กับดักทางปัญญา
    กับดักทางวาจา
    กับดักความเคยชิน
    ฯลฯ
    สิ่งเหล่านี้บดบังความสร้างสรรค์ทั้งสิ้น หากเราจะก้าวข้ามกับดักนี้ได้ เราต้องปรับวิธีคิดให้รอบคอบ รอบด้าน ปราศจากอคติ

    พระพุทธเจ้าเรียกวิธีคิดแบบนี้ว่า โยนิโสมนสิการ ซึ่งท่านเจ้าคุณพรหมคุณาภรณ์แยกเป็น 10 อย่างหลักๆ ตั้งแต่ คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ คิดแบบอริยสัจเพื่อแก้ปัญหา คิดแบบเห็นคุณและโทษและทางออก คิดแบบวิภัชชวาท (คือไม่หนักไปทางเดียว) ฯลฯ

    กับดักความคิด

    ชาย 3 คนเป็นเพื่อนกันมีเงินคนละ 10 บาท
    รวมเงินให้เด็กไปซื้อส้มมา กิโลละ 30 บาท

    เมื่อเด็กซื้อส้ม 1 กิโล แม่ค้าใจดีลดราคาให้ 5 บาท
    เด็กคิดว่าถ้าเอาเงินทอน 5 บาทไปคืนหมดจะแบ่งกันลำบาก จึงเก็บไว้เอง 2 บาท และคืนชายทั้ง 3 คนละบาท

    สรุปว่า ชาย 3 คน จ่ายค่าส้มคนละ 9 บาท เท่ากับ 27 บาท อยู่กับเด็กอีก 2 บาท รวมเป็น 29 บาท แล้วเงินหายไปไหนหนึ่งบาทคะ?

    เฉลยคือ ผิดที่บทสรุปค่ะ เพราะควรสรุปว่า ทั้ง ๓ จ่ายไปทั้งหมด ๒๗ บาท คือค่าส้ม ๒๕ บาท กับให้เด็กไปอีก ๒ บาท ก็เลยเหลือคนละบาทค่ะ

    ดังนั้น อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น และอย่าเชื่ออะไรโดยไม่คิดนะคะ



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized