VI =Value Investor= นักลงทุนเน้นคุณค่า
คือ นักลงทุน ที่ใช้วิธีประเมินมูลค่าของหุ้นเป็นหลักในการซื้อ-ขายหุ้น
ซื้อเมื่อประเมินได้ว่าหุ้นตัวนั้น มีราคาตํ่ากว่า มูลค่าที่แท้จริง
ขายออกเมื่อออกเมื่อหุ้นนั้นมีราคาสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง (อาจถูกปั่นราคาจนขึ้นไปเยอะก็ได้) หัวใจของการเป็นวีไอ อยู่ที่การประเมินมูลค่าที่แท้จริง
การประเมินมูลค่าที่แท้จริง มีหลายวิธี อาจประเมินด้วยการใช้อัตราส่วนทางการเงิน เทียบกับหุ้นตัวอื่นในธุรกิจใกล้เคียงกัน หรือ การคิดลดกระแสเงินสดในอนาคตให้อยู่ในรูปแบบของมูลค่าในปัจจุบัน
สิ่งที่ยากของการหามูลค่าที่แท้จริง คือ การประเมินผลกำไร และ กระแสเงินสดในอนาคตให้แม่นยำ เพราะมูลค่าของธุรกิจในปัจจุบันไม่ได้มีแค่ สินทรัพย์ และ กระแสเงินสด
ซึ่งประเมินไม่ยาก แต่ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นมากมาย ในอนาคต ซึ่งมีความไม่แน่นอนสูง อนาคตเป็นสิ่งที่ประเมินได้ยาก ไม่มีใครรู้อนาคต เช่น แผนธุรกิจ การขยายกิจการ ฯลฯ
ตัวอย่าง น้ำมัน วิกฤต การระบาดของ covid-19 ทำให้ผู้คนต้องหยุดกิจกรรมทางสังคม กฏหมาย ควบคุม การเดินทาง คนใช้น้ำมันน้อยลง การแข่งขันกันผลิตของผู้ผลิตน้ำมัน และ การเปลี่ยนเทคโนโลยีไปสู่ การใช้ไฟฟ้าแทนน้ำมัน ซึ่งก่อนหน้ายุคของน้ำมันก็ มียุคของ ถ่านหิน หุ้นที่เคยดีที่สุดตัวหนึ่ง คือ บ้านปู ตอนนี้ร่วงจนไร้อนาคต
หากเกิดสงครามโลก !? ทองจะมีราคามากกว่า ธนบัตร ถ้ารู้ตัวก่อนก็เอาเงินไปซื้อทอง
หากคิดว่าหุ้นจะเติบโตได้ 30% ในอีก 3 ปีข้างหน้า
เวลาประเมินมูลค่า อาจจะประเมินโดยใช้การเติบโตเพียง 10%
เพื่อให้มีโอกาสในการเกิดสูงขึ้น เพราะอนาคตไม่มีความแน่นอน
วอร์เรน บัฟเฟตต์ กล่าวว่า “นกหนึ่งตัวในมือเทียบเท่ากับนกสองตัวในพุ่มไม้”
การลงทุนต้องชั่งนํ้าหนักระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้เสมอ
บางครั้งการลงทุนที่เสี่ยงตํ่าที่ได้ผลตอบแทนน้อยกว่า กลับน่าสนใจกว่า การลงทุนที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าแต่มีความเสี่ยงสูง นั่นเพราะ เสี่ยงจนไม่คุ้มค่าที่จะเสี่ยงนั่นเอง
VI เป็นเพียงนิทาน หลอกเม่า
เนื่องจากการเป็นนักลงทุนแบบ VI ต้องถือยาว และมักยาวเป็นปีๆ เพื่อรับปันผล หรือ จนกว่า จะหาหุ้นตัวใหม่ที่ถือดีกว่าตัวเดิม ซึ่งมักจะไม่ได้เปลียนบ่อย คำถามคือ ถือยาว ถือกี่ปี? หุ้นมีรอบขึ้นลง ในหนึ่งปีมี panic ถ้ารู้จักหาโอกาส ซื้อขายย่อมดีกว่า ซื้อแล้วถือไว้เฉยๆ หุ้นไม่ใช่ที่ดินที่มีแต่จะขึ้น ถ้าการเป็น VI ดีจริง คุณก็แค่ซื้อตามคนที่เป็น VI เก่งๆ แล้วทุกคนก็รวยกันหมด จริงไหม ความจริงมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประเมินหุ้นเหล่านั้น และไม่มีใครรู้อนาคต มันจึงเป็นนิทานหลอกเม่า
นาย A เป็น VI ที่เก่งกาจ เวลาซื้อเขาจะบอก บรรดาสาวก ผู้ตาม ทุกคนก็แห่ไปซื้อ ทำให้หุ้นที่เขาซื้อราคาสูงขึ้นไปอีก แต่เวลาขาย คุณคิดว่า เขาจะบอกคุณก่อนแล้วค่อยขาย หรือ เขาขายก่อน แล้วค่อยบอกคุณ? ไม่มีใครบอกคุณก่อนหรอก มีแต่ขายก่อนแล้วบอก หรือไม่บอกเลย ใช่หรือไม่ ถ้าขายแล้วบอก คนก็แห่ขาย ถ้าขายมากพอ ราคาก็ตกมาก จะเกิดอะไรขึ้น ? เขาก็เข้าไปซื้อสิ รออะไร ใช่ไหม? คุณจึงเป็นเหยื่อ ภายใต้นิทานที่พูดกรอกหู ให้คุณถือไว้ ในขณะที่เขาขาย
การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดิน กทม พ.ศ.2528-2555
การเปลี่ยนแปลงราคาที่อยู่อาศัยต่างประเภท กรณีหลังเดิม
https://www.thaiappraisal.org/thai/market/market_view.php?strquery=market407.htm
ราคาที่ดิน และ ราคาเปิดขายคอนโดมิเนียม
กราฟทองย้อนหลัง 100 ปี (ปรับค่าเงินเฟ้อแล้ว)
กราฟหุ้น ตลาดหุ้นไทย 30 ปี SET
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ การลงทุนตามมูลค่า (value investing)
เป็นแนวทางการลงทุนที่ริเริ่มและพัฒนาขึ้นโดย เบนจามิน เกรแฮม ต่อมาถูกนำมาใช้โดยวอเรน บัฟเฟต เป็นแนวทางการลงทุนที่เน้นลงทุนในกิจการ ที่ผู้ลงทุนเชื่อว่ามีราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน โดยการวิเคราะห์มูลค่าทางบัญชีหรือสัดส่วนทางการเงินแบบต่างๆ
– มูลค่าหุ้นตามบัญชี (book value)
– สัดส่วนราคาหุ้นต่อกำไร (price-to-earning ratios)
– สัดส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าตามบัญชี (price-to-book ratios)
– สัดส่วนเงินปันผล (dividend yields)
อย่างไรก็ตาม คำว่า “มูลค่าพื้นฐาน” ยังถูกตีความในแบบต่างๆและยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ในวงวิชาการ อ้างอิงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
การลงทุนของ Viเน้นไปที่ราคาหุ้น และ มูลค่าพื้นฐานของบริษัทเป็นหลัก
โดย ราคาหุ้นต้องต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน
ซึ่งสรุปแล้วแม้บริษัทจะขาดทุนมาตลอดก็ย่อมมีมูลค่าพื้นฐานของบริษัทเช่นกัน ฉะนั้นผู้ที่ลงทุนในบริษัทที่ขาดทุนหนัก หรือ ขาดทุนสะสมมานานก็ถือว่าเป็น Vi เช่นเดียวกันบนนิยามที่ว่า ราคาหุ้นต้องต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน
Vi เป็นการซื้อเพื่อเก็งกำไรจากราคาหุ้นล้วนๆ ถือเป็นเป้าหมายหลัก ส่วนจะขายก็ต่อเมื่อ ราคาหุ้นต้องสูงกว่ามูลค่าพื้นฐาน
Vi บางคนอาจถือยาวจนตาย ถ้ามูลค่าพื้นฐานในอนาคตของหุ้นตัวนั้นเพิ่มขึ้นไม่จำกัด
Vi บางคนอาจถือสั้นแค่ 1 week ถ้า ราคาหุ้นป้จจุบันต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน และ แนวโน้มราคาจะดีดขึ้นภายใน 1 อาทิตย์
จะเห็นว่า ความแตกต่างของ Vi ทั้งสองคนคือ “เวลา”
มันยากที่จะไปรู้ว่าเมื่อไหร่หุ้นจะขึ้นหรือหุ้นจะลง (แต่ก็เป็นไปได้)
Vi หลายคนจึงเริ่มพัฒนาวิธีการ เข้ามาประกอบ
– ทักษะการคาดเดาช่วงเวลาที่หุ้นจะขึ้นหรือลง
– การเครื่องมือและวิธีการ
– ดูเทคนิคเคิล
– อาศัยจังหวะการประกาศงบการเงิน
– ใช้การออกข่าวจากหนังสือพิมพ์
– ดูวิธีการรับรู้รายได้จาก Backlog
– สภาวะการณ์โลก
– fund flow
นอกจากเรื่องเวลาแล้ว Vi มีหลายแบบ และ ทั้งหมดล้วนต้องการแสวงหากำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นทั้งนั้น
ความผันผวนของราคาหุ้นทำให้เกิดช่วงเวลาที่สามารถทำกำไรได้มหาศาล
ความยากของการคาดเดาเวลาที่เมื่อไหร่หุ้นจะสะท้อนมูลค่าพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัท Vi จึงกล่าวว่า ซื้อหุ้นให้เหมือนซื้อเพื่อเป็นเจ้าของ คำนี้ จึงเป็นกุศลโบายที่คัดเฉพาะบริษัทที่ต้องการลงทุน ใช้เวลาการลงทุนได้นานตราบเท่าที่ยังอยากเป็นเจ้าของ (นิทานอีกเรื่อง ที่เอาไว้ขับกล่อมเด็กก่อนนอน เอาเข้าจริงไม่มีใครอยากเป็นเจ้าของ เราต่างต้องการกำไร เว้นแต่จะต้องการซื้อกิจการนี้ ก็คงต้องใช้เงินมหาศาล) ศึกษาในงบการเงินและพื้นฐานของบริษัทอย่างจริงจัง หากคัดดีแล้วแม้คำนวณมูลค่าพื้นฐานผิด เข้าผิดจังหวะ แต่ด้วยระยะเวลาลงทุนที่นานพอก็สร้างผลตอบแทนที่ดีได้
สรุปแล้ว Vi เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเก็งกำไรทั้งสิ้น แม้จะซื้อเพื่อกินเงินปันผลก็ตาม
เป็น Day trade เก็งกำไร โดยใช้ technical graph
ถ้าฝึก ทุกคนก็ดูเป็น Broker กองทุน หรือ คนที่เก่งกว่าเราก็ดูเป็น เเถมยังมีเครื่องมือพิเศษกว่า ดีกว่า มีกำลังคนมากกว่า .. ยังไม่นับรวมการใช้ Robot Trade
เป็น VI ดูมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ (ถ้าดูง่าย และรู้อนาคตก็รวยกันหมดแล้ว และคุณก็ไม่รู้มากเท่าเจ้าของบริษัท การทำงบบัญชีลับ นโยบายแนวคิดของเจ้าของ ที่ไม่ได้ถูกเปิดเผย)
นอกจากนี้ยังมี เรื่องของการใช้ข้อมูล inside ของบริษัทตัวเอง การสร้างข่าวลือ ฯลฯ หุ้นขนาดเล็กที่ปั่นง่าย
คุณยังจะคิดอีกไหมว่า วิชาการต่างๆเหล่านั้น ถ้าคุณใช้มันแบบตรงๆ จะชนะในการเล่นหุ้นได้? คุณต้องเชื่อวิธีการของคุณเอง