• January 2, 2012

    The Pursuit Of Happyness

    ยิ้มไว้ก่อนพ่อสอนไว้ ในชื่อภาษาอังกฤษว่า The Pursuit of Happyness เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ออกฉายเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2006 นำแสดงโดย วิลล์ สมิธ เป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับชีวประวัติของคริส การ์ดเนอร์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันผิวสี ในช่วงที่เขากำลังอยู่ในช่วงลำบากของชีวิต ช่วงที่เขาเป็นพ่อหม้ายที่มีภาระต้องเลี้ยงดูลูกชาย คริสโตเฟอร์ จูเนียร์ อีกคนทั้งๆที่เป็นคนพเนจรไม่มีบ้าน แต่ก็สามารถสร้างตัวเองขึ้นมาได้จากการเป็นนายหน้าค้าหุ้น จนกลายเป็นเจ้าของธุรกิจพันล้านในปัจจุบัน

    ปริศนาคาใจเพียงหนึ่งเดียวของหนังเรื่อง The Pursuit of Happyness ถูกเฉลยตั้งแต่ช่วงต้นๆ เรื่อง เมื่อ คริส การ์ดเนอร์ (วิล สมิธ) ไปรับลูกชาย คริสโตเฟอร์ (เจเดน สมิธ) จากสถานรับเลี้ยงเด็กสุดโทรมและคับแคบของผู้หญิงจีนคนหนึ่ง ซึ่งดูจะมีบุคลิกตรงกันข้ามกับ แมรี่ ป็อปปินส์ ราวฟ้ากับเหว หลังจากนั้นหนังก็ไม่สามารถสร้างความฉงนใดๆ ให้กับคนดูได้อีกเลย เพราะเราทุกคนล้วนสามารถคาดเดาได้ง่ายๆ ว่าสุดท้ายแล้วคริสย่อมต้องผ่านพ้น “ขุมนรก” แห่งความยากจนไปได้ แล้วประสบความสำเร็จในอาชีพใหม่ (ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการโหมประชาสัมพันธ์อย่างหนักว่าหนังเรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจจากบุคคลจริง ซึ่งเขียนหนังสือชีวประวัติออกมาในชื่อเดียวกัน อีกส่วนหนึ่งคงเพราะหนังดำเนินตามสูตร “ยาจกไต่เต้าจนกลายเป็นเศรษฐี” หรือ Rags to riches แบบไม่พลิกแพลง) คำถามจึงเหลือแค่ว่า “เมื่อไร” เท่านั้น

    จริงอยู่ตัว Y ในชื่อหนังเป็นความจงใจของทีมผู้สร้าง แต่ทัศนคติเชิดชูวัตถุนิยมที่อบอวลอยู่ในแทบทุกอณูของเรื่องราว (ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม) กลับทำให้คนดูพาลนึกไปได้ว่า การที่พวกเขา (ในที่นี้อาจหมายรวมไปถึง คริส การ์ดเนอร์ ตัวจริงด้วยก็ได้ เพราะเขาเป็นคนคิดชื่อหนัง/หนังสือเรื่องนี้ขึ้นมา) สะกดคำว่า “ความสุข” ไม่ถูกต้องอาจเป็นเพราะพวกเขาไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของมันต่างหาก

    บางทีนั่นอาจไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรสำหรับผู้คนในประเทศอเมริกา (ต้นตำรับความฝันแบบอเมริกัน ซึ่งมักถูกนำไปเกี่ยวโยงกับทุนนิยม ความสะดวกสบายทางวัตถุ ชื่อเสียง และความมั่นคงทางการเงิน) ที่จะสับสนหลงทาง แล้วเผลอผสมคำว่า “ไล่ตาม” เข้ากับคำว่า “ความสุข” ในรูปแบบวลีสุดฮิตของพวกเขา นั่นคือ “ไล่ตามความฝันแบบอเมริกัน” หรือ “ใช้ชีวิตอยู่ในความฝันแบบอเมริกัน” (pursuing/living the American Dream)

    แน่นอน ตามหลักของศาสนาพุทธ ความสุขทางเนื้อหนัง ทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสล้วนเป็นแค่มายา ความสุขแท้จริงหมายถึงความว่างเปล่า (นิพพาน) ต่างหาก ขณะเดียวกัน นักปราชญ์ชาวจีนในลัทธิเต๋านาม จวงจื้อ ก็เคยกล่าวไว้ว่า “ความสุข คือ การปราศจากความมุ่งมั่นที่จะพบกับความสุข”

    กระทั่งนักเศรษฐศาสตร์ยังยอมรับผ่านงานวิจัยว่า การที่ชาวตะวันตกมีเงินทองและทรัพย์สินเพิ่มขึ้นนั้นไม่ได้กลับทำให้พวกเขามีความสุขเพิ่มขึ้นเลย (งานวิจัยในสามประเทศ คือ อังกฤษ อเมริกา และญี่ปุ่น ล้วนได้ผลตรงกันหมด) เทียบง่ายๆ คือ ปัจจุบันมนุษย์มีความสะดวกสบายและมาตรฐานในการดำรงชีวิตดีกว่าในอดีต แต่เมื่อเทียบระดับความสุขแล้ว คนในปัจจุบันกลับไม่ได้มีความสุขมากกว่าคนเมื่อห้าสิบปีก่อนแต่อย่างใด

    ขณะเดียวกันเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ก็ทำให้เราพบว่าความสุขของแต่ละคนเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองมนุษย์ด้วย โดยงานวิจัยทางการแพทย์ระบุว่าความรู้สึกที่เป็นสุขนั้นเกิดจากการทำงานของสมองฝั่งซ้าย ขณะที่ความรู้สึกไม่ดีจะเกิดจากการทำงานของสมองฝั่งขวา และมนุษย์แต่ละคนก็มีระดับความตื่นตัวของสมองในฝั่งซ้ายและขวาไม่เท่ากัน คนที่สมองฝั่งซ้ายทำงานมากกว่าคนทั่วไปจะเป็นคนอารมณ์ดี มองโลกในแง่ดี และมีความสุขรวมถึงความจำที่ดีกว่าคนที่สมองซีกซ้ายทำงานน้อยกว่าปรกติ

    จะเห็นได้ว่าทั้งหลักการทางวิทยาศาสตร์และหลักปรัชญาตะวันออกล้วนเห็นพ้องต้องกันว่าความสุขเป็นเรื่อง “ภายใน” หาใช่สิ่งของนอกกายที่เราจะไขว่คว้ามาครอบครองได้เหมือนทรัพย์สินเงินทอง กล่าวคือ มหาเศรษฐีรวยล้นฟ้าก็อาจจะหาความสุขในชีวิตไม่ได้เหมือนชาวนาจนๆ บางคนที่ต้องหาเช้ากินค่ำก็ได้

    ใน The Pursuit of Happyness คนดูจะได้เห็น คริส การ์ดเนอร์ จมปลักอยู่กับความทุกข์แทบตลอดทั้งเรื่อง เขาถูกลินดา (แธนดี้ นิวตัน) เมียสาวซึ่งต้องแบกรับงานสองกะเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว (แต่หนังกลับวาดภาพเธอไม่ต่างจาก ครูเอลล่า เดอ วิล) ดูถูกเหยียดหยาม เขาเศร้าใจที่ไม่สามารถพาลูกไปฝากเลี้ยงในสถานรับเลี้ยงเด็กชั้นดีได้ เขาผิดหวังที่เครื่องมือทางการแพทย์ที่เขาอุตส่าห์ทุ่มเงินเก็บของครอบครัวไปซื้อมาไม่ได้ “ขายคล่อง” ดังหวัง เพราะโรงพยาบาลส่วนใหญ่เห็นว่ามันเป็นของฟุ่มเฟือย

    ในสายตาของคริส (หรืออาจจะหมายรวมถึงทัศนคติของตัวหนังทั้งเรื่องด้วยก็ได้) ความจนเทียบเท่ากับความทุกข์ ดังนั้น หากเขาต้องการความสุข หนทางเดียว คือ การแสวงหาเงินทองมาครอบครองให้มากที่สุด นั่นเลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นในการไล่ตาม “ความสุข” ของคริส ซึ่งตัวหนังได้นำมาย้อมแมวขายในทำนองว่า “คุณควรต่อสู้ทุกวิถีทางเพื่อให้ความฝันกลายเป็นจริง”

    คริสมุ่งมั่นอยากเป็นโบรกเกอร์ตลาดหุ้นเหมือนที่ แม็กกี้ ฟิทซ์เจอรัลด์ ฝันอยากเป็นนักมวยใน Million Dollar Baby หรือ นีล เพอร์รี่ ฝันอยากเป็นนักแสดงใน Dead Poets Society งั้นหรือ

    ตรงกันข้าม คริสได้แรงบันดาลใจในการพลิกผันอาชีพ/ชีวิตจากการเดินผ่านย่านการเงินแห่งหนึ่ง แล้วเห็นผู้คนแถวนั้นยิ้มแย้มอย่างมีความสุข เขาจึงร้องถามชายคนหนึ่งที่ขับรถหรูมาจอดว่าทำยังไงถึงจะได้มีรถสวยแบบนั้นมาขับบ้าง ชายคนดังกล่าวผายมือไปยังตลาดหุ้นแทนคำตอบ เปล่าเลย ความฝันของ คริส การ์ดเนอร์ หาใช่การเป็นโบรกเกอร์ตลาดหุ้น เขากำลังไล่ตาม “ความร่ำรวย” อยู่ต่างหาก อะไรก็ได้ที่สามารถทำให้เขามีเงินมากพอจะซื้อรถหรูๆ สักคันมาขับ หรือนั่งชมฟุตบอลใน “บ็อกซ์” ส่วนตัว

    อันที่จริง ความทะยานอยากนั่นเองที่ทำให้เขาต้องอับจนตั้งแต่แรก เป็นเพราะความอยากรวยไม่ใช่หรือที่ทำให้คริสตัดสินใจใช้เงินเก็บทั้งหมดทุ่มซื้อเครื่องมือทางการแพทย์มากักตุนไว้ เมื่อแผนดังกล่าวไม่เป็นไปดังหวัง แทนที่จะหางานมั่นคงทำเพื่อแบ่งเบาภาระลินดา เขากลับตกลงรับตำแหน่งพนักงานฝึกหัดในบริษัทการเงินแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ให้ค่าตอบแทนใดๆ แถมยังไม่รับประกันด้วยว่าเขาจะได้งานทำหลังจบคอร์ส แน่นอน ตัวหนัง “เข้าข้าง” คริสอย่างเต็มที่ แน่นอน คนดูส่วนใหญ่ย่อมอดไม่ได้ที่จะลุ้นเอาใจช่วยคริส เนื่องจากทักษะการเล่าเรื่องอันแยบยล รวมไปถึงการแสดงอันโน้มนำของซูเปอร์สตาร์ขวัญใจมวลชนอย่าง วิล สมิธ และแน่นอน สุดท้ายการยอมเสี่ยงครั้งที่สองของคริสก็ลงเอยด้วยความสำเร็จ แต่นั่นหาได้ปลดปล่อยคนทำหนังจากการสร้างค่านิยมบิดๆ เบี้ยวๆ ไม่

    จากงานวิจัยในประเทศอเมริกาและสวิตเซอร์แลนด์พบว่า ความสุขของคนเราขึ้นอยู่กับระดับรายได้ของเรา “เปรียบเทียบ” กับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งเกิดจากรายได้เฉลี่ยของบุคคลรอบข้าง กล่าวคือ เราจะยิ่งมีความสุขมากขึ้น ถ้ารายได้ของเราเพิ่มสูงกว่ากลุ่มที่เราเปรียบเทียบด้วย ในทางกลับกัน ถ้าผู้อื่นที่เราเปรียบเทียบด้วยมีรายได้สูงกว่า ความสุขของเราก็จะลดน้อยลง

    ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คริสไม่อาจค้นพบความสุขได้เป็นเพราะเขาเลือกจะเปรียบเทียบตัวเองกับเหล่านักธุรกิจชั้นนำทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นชายคนที่ขับรถหรู หรือเศรษฐีรายหนึ่งที่เขาพยายามล่อหลอกให้ยอมมาเป็นลูกค้า ในฉากสำคัญเราจะเห็นท่าที “อับอาย” ของคริสที่ต้องนั่งรถเมล์และเดินเท้ามายังบ้านเศรษฐี ซึ่งกำลังจะขับรถคันโตพาลูกไปดูฟุตบอล ขณะที่คริสโตเฟอร์กลับไม่รู้สึกว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเรื่องน่าอายที่ต้องปกปิด เขาแค่รู้สึกดีใจเพราะ (อาจ) จะได้ไปดูฟุตบอลกับพ่อของเขาเท่านั้น และการนั่งดูในบ็อกซ์ส่วนตัวสุดหรู หรือบนเก้าอี้ราคาถูกแถวหลังสุดก็คงไม่ใช่สาระสำคัญสำหรับหนูน้อยมากเท่ากับคริส

    ผลงานกำกับของ เกเบรียล มัคซิโน ชิ้นนี้สร้าง “แรงบันดาลใจ” ในระดับเดียวกับการอ่านหนังสือฮาว-ทูแนวธุรกิจสักเล่ม ซึ่งมักจะมีประเด็นหลักแบบเดียวกันว่าใครๆ ก็สามารถรวยได้ หากรู้จักหนทาง/ทำงานหนัก/ทำตามความฝัน หรือการอ่านบทสัมภาษณ์เจ้าของกิจการใหญ่สักคน ที่ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาจากสภาพเสื่อผืนหมอนใบ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกเป็นเพียง “ตัวประกอบ” ที่จะช่วยสร้างพลังดราม่าและความชอบธรรมให้คริส เพราะใครจะกล้ากล่าวโทษการตัดสินใจเสี่ยงดวงอย่างโง่เขลาของเขา ในเมื่อทุกอย่างที่เขาทำไป ล้วนเป็นการทำไป “เพื่อลูก” (เป็นไปได้ไหมว่าลินดาอาจไม่ทิ้งเขาไป หากคริสตัดสินใจหางานทำเป็นหลักแหล่ง และถ้าเธอยังอยู่ เขาก็คงไม่ต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน หรือคอยตอบคำถามของลูกที่ว่า “แม่ทิ้งเราไปเพราะผมใช่ไหม”)

    ฉากสุดท้ายของหนังก็ช่วยตอกย้ำประเด็นดังกล่าว เมื่อเราได้เห็นคริสเดินยิ้มเพียงลำพังท่ามกลางฝูงชนเหมือนหนึ่งในกลุ่มคนที่เขาตั้งข้อสังเกตในช่วงต้นเรื่อง เขาค้นพบ “ความสุข” แบบที่เขาต้องการในที่สุด จากนั้น ตัวหนังสือบนจอก็ระบุข้อมูลว่า ไม่นานคริสสามารถทำเงินได้หลายสิบล้านจากการขายหุ้นและปัจจุบันมีบริษัทเป็นของตัวเอง ส่วนลูกชายของเขาจะเป็นยังไงนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะเราคนดูควรจะอนุมานได้เองแล้วว่าเขาคงมี “ความสุข” ล้นเหลือจากเงินที่พ่อของเขาหามาได้

    The Pursuit of Happyness เข้าฉายได้ถูกจังหวะในช่วงเทศกาลคริสต์มาส เมื่อกระแสบริโภคนิยมกำลังพุ่งสูงถึงขีดสุด ขณะผู้คนถูกล้างสมองให้แห่แหนมาจับจ่ายใช้สอยตามห้างสรรพสินค้าเพื่อซื้อหา “ความสุข” กันถ้วนหน้า ใครมีเงินมาก ก็จะได้ “ความสุข” กลับไปมากหน่อย ถึงตรงนี้มันอาจเหมาะสมกว่า หากทีมงานจะตั้งชื่อหนังเรื่องนี้เสียใหม่ว่า The Pursuit of American Dream (หรืออาจจะเปลี่ยน American Dream เป็น Money หรือ Success ก็ได้) แต่คราวนี้พวกเขาควรสะกดคำให้ถูกด้วย เพราะความหมายของชื่อดังกล่าวถือว่าสอดคล้องกับเรื่องราวโดยปราศจากข้อกังขาใดๆ

    ย้อนกลับไปปี ค.ศ. 1981 นครซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ลินดา และ คริส การ์ดเนอร์ อาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนต์หลังเล็กๆหลังหนึ่งกับลูกชาย คริสโตเฟอร์ คริสได้ลงทุนเอาเงินเก็บของครอบครัวเกือบทั้งหมดไปใช้ในกิจการแฟรนไชส์ขายเครื่องสแกนความหนาแน่นของกระดูก อันเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถสแกนได้ดีกว่าเครื่องเอกซ์เรย์เพียงเล็กน้อยแต่คุณหมอส่วนใหญ่ที่คริสไปเสนอขายให้นั้นกลับบอกว่าเครื่องนี้มีราคาแพงเกินไป ทำให้ขายไม่ค่อยได้ ลินดา ภรรยาของคริสต้องทำงานหนักหาเลี้ยงครอบครัวที่แผนกซักรีดในโรงแรมเล็กๆแห่งหนึ่ง ทั้งคู่มีปากเสียงกันบ่อยครั้งเนื่องจากฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวไม่ค่อยจะดีนัก ทั้งค่าเช่าที่ค้างจ่ายมานาน ทั้งภาษีหรือบิลต่างๆก็ค้างชำระมาหลายงวด คริสมักจะจอดรถไว้ในที่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จอดเพื่อที่จะให้ไปทันเวลานัดหมายกับคุณหมอ หลังจากที่ไม่ไปชำระค่าที่จอดรถหลายงวดนั้น ในที่สุดรถของเขาก็ถูกยึดไป ในที่สุด ลินดาก็ได้ลาออกจากงานและก็ตัดสินใจทิ้งครอบครัวไปในที่สุดเพื่อเดินทางไปยังเมืองนิวยอร์กเผื่อจะมีงานที่ดีกว่า ทิ้งให้สองพ่อลูกต้องอยู่กับตามลำพังตามที่คริส ผู้เป็นพ่อได้ขอเอาไว้ว่าอย่าพรากลูกไปจากเขา

    คริสตัดสินใจเข้าฝึกอบรมที่บริษัทนายหน้าค้าหุ้น ดีน วิทเทอร์ เรย์โนลด์ส ทั้งๆที่ไม่ได้รับเงินเดือนในช่วงของการฝึกงานเลย และจะมีผู้ฝึกอบรมเพียงคนเดียวเท่านั้นที่จะได้รับการว่าจ้างให้เข้าทำงาน เนื่องด้วยงานนี้ไม่มีค่าตอบแทนแถมเขายังขายเครื่องสแกนเนอร์ไม่ออก จึงทำให้เขาและลูกชายพบกับความยากลำบาก จนในที่สุดก็กลายเป็นคนไร้บ้าน ในยามกลางคืน เขาและลูกชายต้องใช้ชีวิตไปกับการนั่งรถบัสและนอนในห้องน้ำสาธารณะของสถานีรถไฟใต้ดินพร้อมของติดตัวไม่กี่ชิ้น จากนั้นก็ได้ไปอาศัยอยู่แบบชั่วคราวที่โบสถ์ไกลด์ เมโมเรียล ชนิดที่วันไหนไปเข้าแถวทันก็จะได้อยู่ วันไหนไปไม่ทันก็อด ต้องทนกับความหนาวเหน็บของช่วงเวลากลางคืนอันโหดร้าย ทำให้เขาต้องรีบออกจากการฝึกอบรมโดยเร็ว เพื่อไปรับลูก แล้วไปต่อแถวเข้าพักให้ทัน หลังจากที่ต่อสู้กับชีวิตมาได้ซักระยะหนึ่ง เขาก็จบหลักสูตรการอบรม ได้สอบจบหลักสูตร และในที่สุด เขาก็ได้เป็นผู้ฝึกอบรมเพียงคนเดียวที่บริษัทตัดสินใจจ้างเข้าทำงาน ทำให้ชีวิตของเขาหลังจากนี้ไปเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จนเป็นช่วงหนึ่งของชีวิตที่เขาเรียกว่า ความสุข

    ประโยคเด็ด ๆ จากหนังเรื่อง Pursuit of Happyness

    คริส การ์ดเนอร์ : ผมชื่อ คริส การ์ดเนอร์
    ผมพบหน้าพ่อครั้งแรกเมื่ออายุ 28 ปี
    ตั้งแต่เด็กผมตั้งใจไว้ว่า..เมื่อผมมีลูก..
    ลูกผมจะต้องรู้ว่าพ่อของเขาคือใคร

    เมื่อลินดา (ภรรยา)ของคริส การ์ดเนอร์ บอกว่า..จะทิ้งเขา และลูกไว้ลำพัง
    คริส การ์ดเนอร์ : ตอนนั้นผมนึกถึงโทมัส เจฟเฟอร์สัน
    กับคำประกาศอิสรภาพตอนที่ว่า..ทุกคนมีสิทธิ
    ในชีวิต..เสรีภาพ..และการแสวงหาความสุข
    ตอนนั้นผมคิดขึ้นมาว่า..เขารู้ได้ยังไงว่าต้องใส่คำว่า “แสวงหา” ลงไปด้วย ซึ่งเท่ากับว่า..ความสุขเป็นสิ่งที่เราต้องค้นหา และอาจหาไม่พบ ไม่ว่าจะทำยังไงก็ตาม

    “YOU GOT A DREAM … YOU GOT TO PROTECT IT !”
    คริส การ์ดเนอร์ : Hey. Don’t ever let somebody tell you you can’t do something. Not even me.
    อย่ายอมให้ใครมาบอกว่าลูกทำอะไรไม่ได้…แม้แต่พ่อ

    คริส การ์ดเนอร์ : You got a dream.. You got to protect it. People can’t do something themselves, they want to tell you you can’t do it. You want something, go get it. Period.
    ลูกมีความฝัน ลูกก็ต้องปกป้องมันคนที่ทำอะไรไม่ได้ มักจะคอยบอกเราว่า เราเองก็ทำไม่ได้ ลูกต้องการอะไร ก็ต้องไปคว้ามันมา..แค่นั้น

    คริส การ์ดเนอร์ : พนักงานที่นี่ ส่วนใหญ่อยู่กันถึงหนึ่งทุ่ม..แต่ผมต้องรีบกลับไปดูแลคริสโตเฟอร์
    6 ชั่วโมง.. ผมต้องทำให้เท่ากับที่คนอื่นทำใน..9 ชั่วโมง
    ผมไม่เสียเวลาวางหูโทรศัพท์ ก่อนโทรไปหาลูกค้ารายต่อไป
    ผมได้เรียนรู้ว่า การไม่วางหูโทรศัพท์
    ช่วยประหยัดเวลาได้วันละ 8 นาที
    และผมไม่ลุกไปดื่มน้ำ..เพราะจะได้ไม่ต้องลุกไปห้องน้ำ !

    “DROWNING IN THE WATER”
    คริสโตเฟอร์ : One day a man was drownding in the water. And a boat
    came by and said, “Do you need any help?” He said,
    “No, thank you, God will save me.” Then another boat
    came by, and said, “Do you need any help?” And he
    said, “No, thank you, God will save me.” Then he
    drownded and went to heaven. And he said, “God, why
    didn’t you save me?” And God said, “I sent you two big
    boats, you dummy.” (LAUGHS) Do you like it?

    พ่อฮะ..ฟังนี่นะ
    วันหนึ่ง..ชายคนหนึ่งกำลังจะจมน้ำ มีเรือผ่านมา..
    “จะให้ช่วยไหม?” เขาตอบ “ไม่..พระเจ้าจะช่วยผม”
    เรืออีกลำผ่านมา ถามอีกว่า “จะให้ช่วยไหม?”
    เขาตอบว่า “ไม่ต้อง..พระเจ้าจะช่วยผม”
    เขาเลยจมน้ำ และไปสวรรค์
    เขาถามพระเจ้าบนสวรรคว่า “ทำไมพระองค์ไม่ช่วยผม?”
    พระเจ้าตอบว่า “เราส่งเรือสองลำไปแล้ว..เจ้าโง่”
    พ่อชอบไหม?

    Wrong spelling and the word “x”
    คริส การ์ดเนอร์ : คำว่า Happyness ที่โรงเรียนลูกสอนเพี้ยนเป็น จริงๆแล้วต้องใช้ I ใน HAPPYNESS
    คริสโตเฟอร์ : แล้วคำว่า “x” นั่นสะกดถูกมั้ย?
    คริส การ์ดเนอร์ : ถูก..แต่คำนี้ไม่เกี่ยวกับเด็ก ลูกไม่ต้องไปสนใจ
    คำของผู้ใหญ่เวลาโกรธ..แล้วก็..อย่างอื่นอีก ห้ามจำไปใช้แล้วกัน ตกลงไหม ?

    Christ Gardner’s Interview
    JAMES KAREN : Chris, what would you say if a guy walked in for an interview without a shirt on, and I hired him? What would you say?
    คริส..คุณจะว่าไงถ้ามีใครมาสอบสัมภาษณ์โดยไม่ใส่เสื้อ..แล้วผมเลือกจ้างเขา..คุณจะว่ายังไง?
    คริส การ์ดเนอร์ : He must have had on some really nice pants.
    กางเกงเขาคงจะเท่ระเบิด

    Q-Bick puzzle
    คุณทวิสเซิล..ผมมั่นใจว่าผมทำได้
    มันพลิกรอบแกน..เพราะงั้นอย่าขยับตัวตรงกลาง
    ถ้าตรงกลางสีเหลือง..ด้านนี้ก็ต้องสีเหลือง
    ถ้าตรงกลางสีแดง..ด้านนี้ก็ต้องสีแดง

    เรื่องย่อ
    เรื่องราว คริสกลายเป็นพ่อหม้ายลูกติด ที่ต้องกัดฟันสู้กับความจน และ บ่อยครั้งที่เขาต้องพาลูกชายตัวน้อยๆ ออกเร่ร่อนเหมือนคนจรจัด กับเงินติดกระเป๋าเพียง 1 ดอลลาร์ และเพราะใจสู้ บวกกับความฉลาด เขาสู้ยิบตาเพื่อหางานที่ให้ค่าจ้างสูงขึ้น เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของลูกชายสุดที่รัก ..หลังจากรับรู้รสชาติของความจนถึงขีดสุด ในวันหนึ่ง หนทางสู่ความสุขของ 2 พ่อลูกก็ได้ปรากฏขึ้น เมื่อคริสเดินผ่านหน้าบริษัทการเงินยักษ์ใหญ่ เขาสังเกตเห็นว่า ทำไมคนที่นี่ถึงมีรอยยิ้มที่มีความสุข ในขณะที่เขาทุกยากแสนสาหัส คริสเกิดไอเดียใหม่ ! เขาควรทำงานเกี่ยวกับการเงิน” คริสจึงมุ่งมั่นสู่การเป็น “โบรคเกอร์” ในบริษัทโบรกเกอร์อันทรงเกียรติแห่งหนึ่ง เขาใช้มันสมอง มาพลิกแพลงเป็นกลเม็ดการขายได้อย่างน่าทึ่ง และด้วยพลังแห่งความรักที่มีต่อลูก กลายเป็นแรงฮึดมหาศาล ที่นำพาคริสไปสู่การเป็นสุดยอดเซลแมน ที่ประสบความสำเร็จที่สุดคนหนึ่ง ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา…

    เรื่องราวจากชีวิตจริง ของช่วงเวลาที่ลำบากที่สุด ของนักธุรกิจอเมริกันที่ประสบความสำเร็จ Christopher Gardner เรื่องกล่าวถึง ชีวิตในวัยกำลังสร้างฐานะสร้างครอบครัวแต่ผิดพลาดเรื่องการลงทุน ที่ไปลงทุนซื้อเครื่อง scan กระดูก ขนาดเล็กที่ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ในยุคนั้นจำนวนมาก เพื่อไปเสนอขายตามโรงพยาบาลและคลีนิคต่างๆ ในเมืองซานฟรานซิสโก ซึ่งผลตอบรับจากแพทย์ส่วนใหญ่กับสินค้านั้นไม่เป็นไปอย่างที่คิด จึงทำให้ครอบครัวที่ประกอบด้วยภรรยาที่ทำงานหนักและลูกชายวัย 5 ขวบต้องพังทลายเพราะปัญหาเรื่องการเงิน  ท้ายสุดภรรยาที่แม้จะรักลูกมากก็ต้องจากไปเพื่อไปทำงานต่างเมืองที่ไกลออกไป

    เผชิญภัยพร้อมลูกชาย

    บ้านที่เช่าก็ค้างค่าเช่าจนไม่มีที่จะอยู่  ทั้งสองคนพ่อลูกจำเป็นต้องระหกระเหินเร่ร่อนเพราะไม่มีแม้แต่เศษเงินที่จะซื้อหาสิ่งจำเป็นในชีวิตได้ ต้องเผชิญปัญหาอุปสรรคมากมาย  แต่ไม่ว่าปัญหาจะเลวร้ายอย่างไร Christopher Gardner ยัง คงมุ่งมั่นและคอยดูแลลูกน้อยที่น่ารัก โดยอาศัยนอนตามห้องพักของคนจรจัดเป็นวันๆ พร้อมกับการสมัครเป็นตัวแทนค้าหลักทรัพย์ ที่ต้องฝึกอบรมก่อนโดยที่ไม่มีเงินเดือน จนในที่สุดก็ชนะจนได้รับเลือกให้ร่วมงานกับบริษัทค้าหลักทรัพย์ชื่อดัง ต่อมาภายหลังก็กลายมาเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

    ความสุขนั้นต้อง แสวงหา

    Gardner สังเกตว่า ทำไม คำประกาศอิสรภาพของอเมริกา ซึ่งเขียนโดย โธมัส เจฟเฟอร์สัน (ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของอเมริกา) กล่าวถึงเสรีภาพ ชีวิต พร้อมกับคำว่า การแสวงหาความสุข (The pursuit of happiness).  ผู้เขียนคำประกาศอิสรภาพรู้ได้อย่างไรว่าความสุขนั้น ต้องใช้คำว่า แสวงหา  แสดงว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นเอง..

    อย่าให้ใครมาบอกว่าทำไม่ได้

    ประโยคหนึ่งในภาพยนตร์ที่ พ่อวัยสามสิบสอนลูกชายวัยห้าขวบว่า “อย่าให้ใครมาบอกว่าลูกทำอะไรไม่ได้ แม้แต่ตัวพ่อเอง”  นั้นสะท้อนถึงแนวคิดที่ยิ่งใหญ่และเต็มไปด้วยวิสัยทัศน์ที่มองไกล ของคนที่การศึกษาไม่สูงอย่าง Gardner และสิ่งนี้คงเป็นเครื่องนำทางให้เขายิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา

    1376893354-thepursuit-o.jpg (1920×1080)



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories