• November 11, 2020

    มีจุลินทรีย์อะไรบ้างที่เป็น Probiotic

    ดูจาก ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร ซึ่งสรุปว่ามี 23 ชนิด
    จุลินทรีย์ที่ใส่ในนมเปรี้ยวโยเกิร์ต ไม่ได้เป็น probiotic ทุกตัว

    มีโยเกิรต์ยี่ห้ออะไรบ้างที่มี Probiotic

    ทุกยี่ห้อใส่จุลินทรีย์มีชีวิต แต่ส่วนใหญ่ไม่ใช่ probiotic
    ส่วนใหญ่ นมเปรี้ยว/โยเกิร์ต จะมี
    สเตร็ปโตค็อคคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus)
    แล็คโตแบซิลลัส เดลบรูคคิไอ ชับสปีชี่ส์ บัลการิคัส (Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus) หรือ แล็คโตแบซิลลัส บัลการิคัส (Lactobacillus bulgaricus)

    ทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ทำโยเกิร์ตธรรมดา ไม่จัดเป็นโพรไบโอติคส์

    โยเกิร์ตและนมเปรี้ยว ที่มี Probiotic 

    1.โยเกิร์ตดัชชี่ไบโอ มีเชื้อจุลินทรีย์ Bifidobacterium Lactis
    2.โยเกิร์ตโฟร์โมสผลไม้รวม มีเชื้อ Lactobacillus acidophilus และพวกตระกูล Bifidobacterium
    3.นมเปรี้ยวบีทาเก้น มีเชื้อ Lactobacillus paracasei
    4.ทั้งนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตของ Party Dairy มีเชื้อ Lactobacillus paracasei
    5.โยเกิร์ตพร้อมดื่ม ไพเกน โปร5 มีเชื้อ Lactobacillus paracasei
    6.โยเกิร์ตโยลิดาโปรไบโอ ยี่ห้อนี้ มี probiotic ถึง 3 ชนิด
    Lactobacillus acidophilus
    Bifidobacterium lactis
    Lactobacillus paracasei
    7.โยเกิร์ตแอคทีเวีย
    actevia ตอนนี้ไม่มีขายแล้ว ขณะนี้ บริษัท ดานอน แดรี่ จากฝรั่งเศสได้ ตัดสินใจถอนธุรกิจแบรนด์แอคทีเวียออกจากไทยแล้ว บีเจซีของไทย ก็ได้เข้าซื้อโรงงานเดิมของดานอน และสร้างแบรนด์ใหม่ ชื่อ ปาร์ตี้แดรี่

    ถ้าจะกินนมเปรี้ยว/โยเกิร์ตทั้งที กินที่มี probiotic ด้วยจะดีกว่า

    probiotic สรุปได้สั้นๆว่า มันตายไปเยอะ ตอนอยู่ใน กระเพาะ หลุดไปที่ลำไส้แค่นิดเดียว เลยมียี่ห้อนึง เค้าคิดคนแคปซูลที่ไม่ทำให้โดนย้อยในกระเพาะ ยี่ห้อ hyperbiotics
    http://siampill.com/th/Probiotic-c75.html

    โปรไบโอติก Probiotic คืออะไร โปรไบโอติกนั้นก็คือแบคทีเรียที่มีชีวิต และเป็นแบคทีเรียที่ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าเป็ชนิดนสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
    พวกนี้มันจะไปตั้งอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่และขยายพันธุ์ในลำไส้ของเรา โดยพวกนี้มันจะไป ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียที่อาศัยอยู่แต่เดิมในลำไส้ของเรา ทำให้แบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียไม่ดีมีปริมาณลดลง
    แบคทีเรียไม่ดีคือ แบคทีเรียที่จะทำให้ท้องของเราอืด แม้แต่ท้องเสีย และสร้างสารก่อมะเร็ง สร้างสารที่มีกลิ่นเหม็น ดังนั้น Probiotic ทำให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น ยังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราดีขึ้นไปด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์นั้นๆในสำไส้ของเรานั้นเอง
    ประเภทของ Probiotic นั้นก็มีอยู่ 3 ประเภท คือ
    LA (Lactobacillus)
    BA (Bifidobacteria)
    ST(Streptococcus)
    ประเภทที่ได้จากนมปรี้ยวคือ LA กับ ST แต่ก็มีนมเปรี้ยวบางประเภทมี BA ด้วยเหมือนกัน
    อย่างไรก็ตาม Probiotic ที่ได้จาก นมเปรี้ยวจะส่วนใหญ่จะถูกย่อยสลายจากน้ำย่อยทำให้ หลงเหลือ Probiotic บางส่วนไปอาศัยอยู่ใน ลำไส้ แต่สำหรับ การกินแบบ Capsule บางยี่ห้อได้ใช้ Capsule ที่สามารถป้องกันการย่อยสลายของน้ำย่อย ทำให้ Capsule ไปแตกออกที่สำไส้ จึงทำให้สามารลำเลียง Probiotic ไปยังลำไส้เล็กได้มากกว่าการกินแบบนมเปรี้ยว (ปกติแล้ว probiotic ในนมเปรี้ยวที่เรากินจะไปถึงลำไส้เล็กไม่ถึง 10%)

    ประโยชน์ของโพรไบโอติก (probiotic)
    แบคทีเรียโพรไบโอติก (probiotic) ผลิตสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์เนื่องจาก
    – กรดแล็กทิก (lactic acid) ที่จุลินทรีย์สร้างจะยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค (pathogen) หรือ ภาวะเจ็บป่วยที่เกิดจากร่างกายได้รับการรุกราน ติดเชื้อ จุลินทรีย์ ชนิดที่ก่อเกิดโรคไวรัสต่างๆ

    – ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล (cholesterol)  และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในเลือด โดย Lactobacillus acidophilus ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ กลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้จะช่วยย่อยสลายคอเลสเตอรอล (choloesterol) และยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอล ผ่านผนังลำไส้

    – ช่วยในการทำงานของลำไส้ ลดอาการท้องผูกได้ เนื่องจากกรดอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ บิฟิโดแบคทีเรีย (bifidobacteria) ผลิตขึ้น จะกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ และช่วยเพิ่มความชื้นของอุจจาระ ทำให้สามารถขับถ่ายได้สะดวกมากขึ้น

    – ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในระบบย่อยอาหารได้

    โดยธรรมชาติ ร่างกายของทั้งมนุษย์มีเชื้อโรคตัวน้อยๆอยู่เต็มไปหมด
    ทั้งภายในตั้งแต่ในช่องปาก ทางเดินอาหาร ลำไส้ ช่องคลอด  และภายนอกอย่างบนผิวหนัง
    เป็นเชื้อโรคประจำถิ่น/จุลินทรีย์ประจำถิ่น หรือ normalflora/ microbiota
    มักจะไม่ก่อให้เกิดโรค ถ้าร่างกายอยู่ในภาวะปกติ
    จุลินทรีย์ประจำถิ่นได้ประโยชน์จากสารอาหารในร่างกายเรา ในการดำรงชีวิต
    แต่พวกมันก็ช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อก่อโรคต่างๆ(pathogen) ให้เราด้วย ในขณะเดียวกัน

    เชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่นมีความสำคัญในการปกป้องร่างกายของเรา
    ปัจจุบันมีการปรับปรุงด้านการสาธารณสุขดีขึ้นคนเป็นโรคติดเชื้อน้อยลง ทำให้การได้รับเชื้อโรคที่ดีตามธรรมชาติลดลง มีการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)มากขึ้น ซึ่งมันไม่ได้ฆ่าแต่เชื้อก่อโรค เชื้อดีๆมันก็ฆ่าด้วย เกิดการเสียดุลของระบบนิเวศในร่างกาย และทางเดินอาหาร ดังนั้นในหลายๆกรณีจึงมีความจำเป็นที่ต้องเติมเจ้าเชื้อโรคที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเหล่านี้ลงไป
    ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อยู่ในทางเดินอาหารนี่เอง ที่เราเรียกว่า Probiotics

    good+vs+bad+bacteria.jpg (285×258)
    https://www.betterhealthfacts.com/2017/02/good-bacteria-vs-bad-bacteria.html

    Probiotics คือ เชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่เมื่อมีปริมาณที่เหมาะสมในลำไส้
    ก่อให้เกิดประโยชน์หลายๆด้านกับร่างกาย เช่น bacteria ในกลุ่มที่สร้างกรดแลคติก (Lactic acid bacteria, LAB)
    เช่น Lactobacillus (เป็นแบคทีเรียที่ใส่มาในพวกนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต)
    และ Bifidobacterium
    พบ probiotics หรือ bacteria ที่มีประโยชน์เหล่านี้ได้ในอาหารหมักดองหลายชนิด
    เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต แหนม กิมจิ แตงกวาดอง
    ยังสามารถพบ Probiotics ได้ในอาหารอย่างอื่น เช่น dark chocolate, ชีส, miso เป็นต้น

    ประโยชน์ของ probiotics
    ในทางเดินอาหาร
    เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
    การเป็นสารต้านมะเร็ง
    1. ลดปัญหาท้องผูกลงได้อย่างชัดเจน ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ถ่ายง่าย
    2. ลดปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหารทั้งหลายแหล่ เช่น อึดอัด แน่นท้อง ปวดท้อง
    ลดโอกาสการติดเชื้ H. pylori ในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของแผลในกระเพาะอาหาร
    3. ป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้
    4. ลดโอาสการเกิดท้องเสียจากเชื้อ Enterovirus ที่เจอได้บ่อยที่สุดในเด็กเล็ก
    5. ลดโอกาสการเกิดท้องเสียจากผลข้างเคียงของยาปฏิชีวนะ
    6. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสการเป็นภูมิแพ้ในเด็ก
    7. ช่วยลดระดับของคอเลสเทอรอล (cholesterol) ฟอสฟอลิปิด (phospolipid) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในเลือด โดย Lactobacillus acidophilusซึ่งเป็นจุลินทรีย์กลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้จะช่วย ย่อยสลายคอเลสเตอรอล (choloesterol) และยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอล ผ่านผนังลำไส้
    8. ป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
    9. ป้องกันและช่วยรักษาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

    Prebiotics คือสารอาหาร ของ probiotics
    Prebiotics เป็นส่วนของสารอาหารที่มนุษย์ย่อยนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้
    จุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ใหญ่สามารถใช้ประโยชน์ได้
    อาหารกลุ่มนี้มักเป็นคาร์โบไฮเดรตสายสั้นหรือโอลิโกแซคคาร์ไรด์ (Oligosaccharides)
    ที่ประกอบด้วยน้ำตาลจำนวนไม่กี่โมเลกุล
    โดยสารจำพวก oligosccharides นี้ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
    และเร่งการเจริญเติบโต oligosccharides พวกนี้ไม่ถูกย่อยในกระเพาะและลำไส้เล็ก
    จึงเข้าสู่ลำไส้ใหญ่แล้วทำปฏิกิริยากับแบคทีเรีย
    โดยจะเป็นอาหารจำเพาะของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ เช่น Bifidobacteria และ Lactobacilli
    ทำให้ลำไส้เกิดความสมดุลและยังช่วยเพิ่มการนำสารอาหารไปใช้ด้วย

    อาหารตามธรรมชาติที่มีพรีไบโอติกมาก ได้แก่ ข้าวสาลี กระเทียม กล้วย หอมหัวใหญ่ ต้นหอม น้ำผึ้ง หน่อไม้ฝรั่ง และรากชิโครี
    โดยพรีไบโอติกที่มีการใช้มากที่สุดคือ Fructo-Oligosaccharide;FOS  และ Inulin

    prebiotics เองยังมีประโยชน์อีกหลายอย่างด้วย
    1.  inulin ช่วยลดไขมันในเลือด โดยมีรายงานการให้สารสกัดจาก chicory (ซึ่งเป็นแหล่งผลิต inulin ) และ inulin กับหนู เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจาก chicory และหนูที่ได้รับ inulin มีปริมาณ HDL(ไขมันในเลือดชนิดดี) เพิ่มขึ้นและมีปริมาณ LDL(ไขมันในเลือดชนิดชนิดเลว) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
    2. ช่วยลดสารพิษหลายชนิดที่อาจสะสมตามผนังลำไส้
    3. ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน
    4. มีประโยชน์ในการดูดซึมแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งอาจช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้

    synbiotics ก็คือ การที่ผสม prebiotics จำเพาะ+probiotics จำเพาะ
    เพื่อให้เกิดการทำงานเสริมกัน เช่น การผสมเชื้อ  Lactobacillus plantarum ร่วมกับ oligofructose
    นำมาทำเป็นอาหารเสริม พวก functional food โดยเป็นอาหารที่มีผลต่อการทำหน้าที่ต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลดีต่อสุขภาพ โดยมีบทบาทในการลดความเสี่ยงและอัตราในการเกิดโรค
    แม้ว่าทั้ง pre/probiotics สามารถพบได้ในอาหารทั่วไป แต่ในหลายๆกรณี ผู้บริโภคอาจจำเป็นต้องได้รับ ในรูปแบบอาหารเสริม เนื่องจากไม่สามารถกินอาหารชนิดนั้นๆ ได้ เช่น แพ้นมวัวกินนมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ตไม่ได้เป็นต้น

    เอกสารอ้างอิง
    – http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18461293 : Probiotics, prebiotics, and synbiotics. de Vrese M, Schrezenmeir J.
    – http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20920376 : Prebiotic effects: metabolic and health benefits.

    ประโยชน์จุลินทรีย์ชนิดดีต่อร่างกาย

    1 ช่วยในเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกัน
    2 ช่วยเสริมการทำงานของระบบลำไส้ ป้องกันการอักเสบ คนปัจจุบันมีภาวะลำไส้รั่วกันมาก เนื่องจากลำไส้เกิดการแพ้และอักเสบ ทำให้ลำไส้เกิดรูรั่ว ส่งผลให้เศษอาหารในลำไส้ทะลุออกไปสู่กระแสเลือดโดยตรง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติในระบบย่อย เช่น กินอาหารแล้วรู้สึกแน่น อาหารไม่ย่อย บางคนปวดท้อง ท้องเสีย ขณะที่บางคนอาจท้องผูก นอกจากปัญหาในระบบย่อยแล้ว ภาวะลำไส้รั่วอาจทำให้ภูมิคุ้มกันตก เป็นผื่นแพ้ ป่วยง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ
    3 ช่วยย่อยอาหาร
    4 ป้องกันการติดเชื้อ ไม่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย และยังช่วยแก้อาการลำไส้แปรปรวนได้
    ถ้าร่างกายมีจุลินทรีย์ชนิดดีน้อยเกินไป อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วนได้ง่ายด้วย

    10 โพรไบโอติก
    เราจำเป็นต้องเติมโพรไบโอติก หรือจุลินทรีย์ดีที่มีชีวิตเข้าสู่ร่างกาย เพิ่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดีให้มากขึ้น
    โยเกิร์ตนม
    ถ้าเป็นโยเกิร์ตโฮมเมดทำเองจะดีที่สุด ตลาดแนะนำให้เลือกชนิดเพลนโยเกิร์ตจะดีที่สุด หรือถ้าเป็นโยเกิร์ตทั่วไป แนะนำให้เลือกกรีกโยเกิร์ต เพราะมีโปรตีนสูงกว่าโยเกิร์ตทั่วไป

    โยเกิร์ตธัญพืช เช่น โยเกิร์ตนมถั่วเหลือง หรือโยเกิร์ตกะทิ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่แพ้น้ำตาลแล็กโทส
    ซาวร์ครีม เป็นเครื่องจิ้มของฝรั่ง ใช้กินคู่กับผัก ขนมปัง เกิดจากการนำโยเกิร์ตมาหมักอีกทีทำให้ได้เนื้อที่เข้มข้นกว่าเดิม ซึ่งจะมีความเปรี้ยวมากกว่าโยเกิร์ต
    ซาวร์เคลา คืออาหารหมักของฝรั่ง เกิดจากการนำกะหล่ำปลีมาหมักกับเครื่องเทศ กินเป็นเครื่องเคียงกับสเต๊ก ข้อดีคือ ซาวร์เคลามีสารกลูตามีนสูง ซึ่งจะช่วยลดอาการของภาวะลำไส้รั่วได้ วิธีเลือกคือ ความเลือกชนิดที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์
    กิมจิ นำผักกาดขาว หอมหัวใหญ่ พริก ขิง มาหมักกับหัวเชื้อ กิมจิโฮมเมดจะดีต่อสุขภาพที่สุด และแนะนำว่าควรกินชนิดที่เสิร์ฟแบบเย็น ๆ เพราะการนำไปทำซุปหรือผ่านความร้อนจะทำให้โพรไบโอติกตาย
    มิโซะ ญี่ปุ่นจะไม่นำมิโซะลงไปต้มกับน้ำ แต่จะใช้วิธีต้มน้ำซุปปลาให้เดือดแล้วค่อยใส่มิโซะลงไป คนแล้วดื่มทันที เพราะจะไม่ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ตายจากการโดนความร้อน
    นัตโตะ นอกจากจะมีจุลินทรีย์ดีแล้ว ยังมีวิตามินมากและมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่ดีต่อหัวใจ ส่วนเคล็ดลับในการกินนัตโตะให้อร่อยคือ ใส่ซีอิ้ว โชยุ วาซาบิ หรือ มัสตาร์ดลมงไปเล็กน้อย แล้วคนให้เข้ากัน กินคู่กับข้าวและสาหร่าย
    เทมเป้ เป็นถั่วหมักของชาวอินเดีย เนื้อถั่วจะแน่นมากคล้าายเนื้อสัตว์ บางคนนำมาทอด แต่ไม่ควรผ่านความร้อนมาก
    คีเฟอร์ เกิดจากการผสมกันระหว่างเชื้อแบคทีเรียกับยีสต์ มีทั้งแบบที่เป็นนมและน้ำ ชนิดนมเหมาะกับผู้ที่ลำไส้ย่อยแล็กโทสไม่ได้ เพราะคีเฟอร์จะเป็นตัวช่วยย่อยแลกโทสให้หมด รสชาติจะออกเปรี้ยว ๆ คล้ายโยเกิร์ต โดยสามารถนำคีเฟอร์มาทำโยเกิร์ต นมเปรี้ยว หรือแม้แต่ชีสได้ ส่วนคีเฟอร์แบบน้ำ ระดับความหวานขึ้นอยู่กับระยะเวลาการหมัก หากหมักนานจะออกรสเปรี้ยว เพราะน้ำตาลถูกย่อยไปแล้ว
    คอมบูชะ คล้ายคีเฟอร์ แต่รสชาติแตกต่างกันนิยมนำคอมบูชะมาทำเป็นเครื่องดื่ม รสชาติจะออกซ่าๆ

    กินโพรไบโอติกอย่างไรแก้โรคท้อง
    เลือกชนิดที่เป็นโฮมเมดจะดีที่สุด โดยต้องคำนึงถึงความสะอาดในกระบวนการผลิต ไม่ควรนำไปผ่านความร้อน และไม่ควรใช้สารปรุงแต่งเสริมเข้ามาเป็นส่วนผสม
    กินโพรไบโอติกได้ทุกวัน สำหรับคนที่ไม่เคยกินเลย ให้ลองกินอาหารทีละชนิดไปก่อน เมื่อลำไส้เคยชินแล้วค่อยเพิ่มชนิดอาหารไปเรื่อย ๆ ยกตัวอย่าง คีเฟอร์ สำหรับคนที่ไม่เคยกินเลย แนะนำว่าควรกินครั้งแรกสัก 50 มิลลิลิตร วันต่อมาจึงเพิ่มเป็น 100 มิลลิลิตร แล้วค่อยเพิ่มเป็น 200 มิลลิลิตร ตามขนาดที่คนทั่วไปกิน
    นอกจากกินโพรไบโอติกแล้ว ไม่ควรลืมกินพรีไบโอตืก คืออาหารของโพรไบโอติกด้วย ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่าโพรไบดอติกเข้าไปอยู่ในร่างกายแล้ว แต่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ต่อไปเพราะไม่มีอาหารให้เขา
    พรีไบโอติกที่เราควรจะกิน คือ หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย ข้าวบาร์เลย์ กระเทียม น้ำผึ่้ง ต้นหอมญี่ปุ่น เห็ด หัวหอม ข้าวโอ๊ต ซึ่งจะช่วยให้โพรไบโอติกขยายตัวได้รวดเร็วขึ้น
    https://www.nichehealth.org/post/probiotic-booster

    ตัวอย่าง Probiotics ที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และค่อนข้างปลอดภัยในการรับประทาน เช่น

    Lactobacillus

    แลคโตบาซิลลัสเป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะเพศ มีมากกว่า 50 สายพันธุ์ จากการศึกษาพบว่าบางสายพันธุ์สามารถช่วยบรรเทาหรือป้องกันการติดเชื้อรา ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคไอบีเอสหรือลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS) ท้องเสียจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ติดเชื้อ Clostridium Difficile หรือจากการท่องเที่ยว (Traveler’s Diarrhea) ภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยนมหรือไม่ทนทานต่อน้ำตาลแล็กโทส (Lactose Intolerance) การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือความผิดปกติทางผิวหนังอื่น ๆ เช่น เริมริมฝีปาก ผื่นผิวหนังอักเสบ แผลร้อนใน
    Bifidobacteria

    บิฟิโดแบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์ที่อยู่อาศัยในบริเวณลำไส้ใหญ่ มีอยู่ประมาณ 30 สายพันธุ์ โดยพบในระบบทางเดินอาหารของทารก โดยเฉพาะทารกที่ดื่มนมมารดา และถือว่าเป็นชนิดที่มีประโยชน์กับทารกอย่างมาก มีการศึกษาพบว่าเชื้อบางสายพันธุ์ช่วยควบคุมน้ำตาลและไขมันในเลือด บรรเทาโรคลำไส้แปรปรวนและอาการของโรค เช่น ปวดแน่นท้อง ท้องอืด มีความผิดปกติเกี่ยวกับการย่อยอาหาร
    Saccharomyces Boulardii

    หรือเรียกสั้น ๆ ว่า S. Boulardii เป็น Probiotic ชนิดเดียวที่จัดอยู่ในกลุ่มยีสต์ โดยมีการศึกษาบางส่วนพบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาโรคท้องเสียจากการใช้ยาปฏิชีวนะหรือจากการท่องเที่ยว ได้รับเชื้อ C. Difficile ซ้ำ รักษาสิว บรรเทาอาการจากเชื้อ H. Pylori
    Streptococcus Thermophilus

    สเตปค็อกคัส เธอร์โมฟิลัสเป็นจุลินทรีย์ที่ส่วนในการสร้างเอนไซม์แล็กเทส (Lactase Enzyme) ที่ช่วยในการย่อยน้ำตาลแล็กโทสในน้ำนมสำหรับผู้ที่มีภาวะไม่ทนทานต่อน้ำตาลแล็กโทส (Lactose Intolerance) ซึ่งภาวะนี้มักทำให้เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง และท้องอืด

    อาหารที่พบ Probiotics มีอยู่หลายประเภท แต่ที่รู้จักกันดีจะเป็นผลิตภัณฑ์นมที่มีรสชาติเปรี้ยวหรืออาหารที่ผ่านการหมักบางชนิด เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ นอกจากนี้ ยังมีอาหารหมักอื่น ๆ ที่อุดมไปด้วย Probiotics แต่ยังไม่มีการศึกษามากนัก เช่น มิโซะหรือเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น (Miso) เทมเป้หรือถั่วเหลืองหมัก (Tempeh) กะหล่ำปลีดอง (Sauerkraut) ขนมปังเปรี้ยว (Sourdough Bread) แตงกวาดอง

    นอกจากการรับประทาน Probiotics แล้ว เราควรรับประทาน Prebiotics (พรีไบโอติกส์) ที่เป็นแหล่งอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เหล่านี้ควบคู่กันไปด้วย โดย Prebiotics จัดเป็นใยอาหาร (Fiber) ประเภทหนึ่งที่พบมากในผักและผลไม้ หากเรารับประทานอาหารที่มีทั้ง  Probiotics และ Prebiotics ร่วมกันเป็นประจำก็อาจช่วยให้ลำไส้เกิดความสมดุล ทำงานได้ดีขึ้น และลดปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ได้มากขึ้นด้วย ในปัจจุบันจึงมีการผลิต Synbiotics (ซินไบโอติกส์) หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ประกอบไปด้วย Probiotics  และ Prebiotics รวมไว้ด้วยกัน เพื่อตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารทั้งสองประเภท แต่อาจไม่มีเวลาในการเลือกรับประทาน ซึ่งการใช้ผลิตภัณฑ์ Synbiotics ก็อาจช่วยให้ร่างกายได้ประโยชน์ อีกทั้งยังสะดวกและประหยัดเวลาอีกด้วย แต่ผู้ซื้อก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้เพื่อความปลอดภัย
    https://www.pobpad.com/probiotics

    https://www.parentsone.com/get-to-know-probiotics/

    โพรไบโอติกมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีแบคทีเรียที่แตกต่างกันไป แต่ชนิดที่พบเห็นได้บ่อยก็คือ Lactobacillus, Bifidobacterium และ Saccharomyces boulardii

    • Lactobacillus พบเจอได้บ่อยที่สุดโดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์อย่างนมเปรี้ยว โยเกิร์ต หรืออาหารหมักดองต่างๆ สามารถบรรเทาอาการท้องเสีย ช่วยในการย่อยน้ำตาลแลคโตส
    • Bifidobacterium สามารถพบเจอในผลิตภัณฑ์นม อาหารหมักดอง ธัญพืชเต็มเมล็ด โกโก้ และในนมแม่ ทำหน้าที่ช่วยย่อยน้ำตาลในนมแม่ให้เด็กทารก และช่วยเรื่องระบบขับถ่าย ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้นไปในตัว
    • Saccharomyces boulardii ยีสต์ที่ทำหน้าที่เหมือนโพรไบโอติก ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมแบคทีเรียในระบบขับถ่ายเช่นกัน

    อื่นๆ

    – นมเปรี้ยว ดัชมิลล์ รสผลไม้รวม กล่องสีเขียว
         ให้กินหลังตื่นนอนทันที เติมจุลินทรีย์ตัวดีให้กับร่างกาย 4 สายพันธุ์ แล็กโทบาซิลลัส บัลแกริคัส (ช่วยให้ถ่าย) และ สเตรปโทค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส (ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม) กินไปแล้ว 30 นาที จะรู้สึกอยากถ่าย ถ้ายังไม่ปวดท้องถ่าย ให้กินมะขามแขก 1-2 แคปซูล หรือ กินเซปเป้ คลอโรฟิลด์ ซิงค์ ขวดสีเขียวแก่ตามร้าน 7-11

    ควรกินยาคูลท์ สลับวันกับ นมเปรี้ยว โยเกริ์ต ประเภทอื่นๆ เพื่อให้ร่างกายได้จุลินทรีย์ที่หลากหลายสายพันธุ์

    – ยาคูลท์ Yakult 
         ให้กินหลังตื่นนอนทันที เติมโปรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ตัวดีให้กับร่างกาย 1 สายพันธุ์ แลคโตบาซิลลัส สายพันธุ์ คาเซอิ ชิโรต้า 8 พันล้านตัว ถ้ากินไปแล้ว 30 นาที ยังไม่ถ่าย ให้กินมะขามแขกเข้าไปอีก 2 แคปซูล อ่านประโยชน์ของยาคูลท์ Yakult

    – เมจิ โยเกริ์ต Meji มี โปรไบโอติกส์ Probiotics จุลินทรีย์ตัวดี คือ บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส , แล็กโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส , แลคโตบาซิลลัส บัลแกริคัส , สเตรปโตคอกคัส เทอร์โมฟิลัส

    – ดัชชี่ ไบโอ Dutchie Bio มี โปรไบโอติกส์ Probiotics จุลินทรีย์ตัวดี คือ บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส , แล็กโตบาซิลลัส รามโนซัส , แลคโตบาซิลลัส บัลแกริคัส , สเตรปโตคอกคัส เทอร์โมฟิลัส

      หรือ เมจิ ไพเกน หรือ ปาร์ตี้ เดลี่ หรือ โยลิดา โยเกริ์ต หรือ โฟร์โมสต์ โยเกริ์ต ฯลฯ

    – เซปเป้ คลอโรฟิลด์ ซิงค์ ขวดสีเขียวแก่ กินตอนเช้าหลังตื่นนอนทันที

    – มะขามแขก 2 แคปซูล กินก่อนนอน หาซื้อได้ในร้านเซเว่น แผงละ 12 บาท มะขามแขกมีฤทธิ์เป็น “ยาถ่าย” โดยมีสาร Sennoside A และ Sennoside B ที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ โดย “คล้ายกับการฝืนบังคับลำไส้” ให้ทำงานแบบผิดธรรมชาติ หากทานต่อเนื่องเป็นเวลานานลำไส้จะจดจำตัวเองให้ทำงานเฉพาะเวลาที่ได้รับสารกระตุ้นเท่านั้น ทำให้เกิดภาวะ “ลำไส้ขี้เกียจ” ได้
    Cr. หมอชาวบ้าน ข้อมูลจาก https://www.interpharma.co.th/
    อื่นๆ https://amprohealth.com/nutrition/probiotics/
    https://biology-learning.dblogbot.com/archives/5581


เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized