USB Device not recognized
สาเหตุของการแจ้งเตือน USB Device not recognized สามารถแบ่งออกมาได้ดังนี้
1. เกิดจากการทำงานระหว่างตัวอุปกรณ์ USB กับตัว USB Controller ที่อยู่บนชิพเซ็ตของเมนบอร์ดนั้นๆไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ อันนี้อาจจะเกิดในกรณีที่ชิพเซ็ตเป็นรุ่นใหม่มากๆหรือเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆ ผลิตออกมาไม่ได้มาตรฐาน เมื่อเสียบอุปกรณ์ USB ที่ใช้มาตรฐานเก่าๆบางตัวเข้าไป อาจจะใช้งานร่วมกันไม่ได้เช่น เอาอุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐาน USB 2.0 ไปใช้งานร่วมกับเมนบอร์ดที่มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB 1.1 อันนี้ก็มีโอกาสเกิดอาการที่ว่ามาได้
2. มักเกิดกับ USB Drive, External Harddisk และอุปกรณ์ที่ต้องอาศัยไฟเลี้ยงจาก USB Port ในการทำงาน โดยปกติพอร์ต USB บนเมนบอร์ดสามารถจ่ายไฟเลี้ยงได้สูงสุดประมาณ 500mA (มิลลิแอมป์) ซึ่งถ้าอุปกรณ์ USB ที่เสียบเข้าไปต้องการไฟเลี้ยงมากกว่านั้น ก็ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำงานจนวินโดวส์แจ้งข้อความ USB Device not recognized ได้ด้วย ส่วนใหญ่มักเกิดกับการเสียบอุปกรณ์เข้ากับ USB Port ที่ไม่ได้ติดอยู่กับเมนบอร์ด เช่น Hub USB Port, External CardReader เป็นต้น การแก้ปัญหาเบื้องต้นก็อาจจะต้องลองย้ายพอร์ตที่ใช้เสียบดู แต่ถ้าไม่ได้อีกก็อาจจะต้องอาศัยอุปกรณ์ USB Hub ที่มีหม้อแปลงไฟต่อเพิ่มมาช่วยอีกแรงครับ
และอีกหนึ่งสาเหตุ ซึ่งเป็นสาเหตุที่น่ากลุ้มใจไม่แพ้กันก็คือ เกิดจากการต่อพ่วงของสาย USB ที่ยาวเกินไปเช่น บางท่านซื้อสายต่อ USB ที่ยาวๆมาต่อออกจากพอร์ต USB หลังเครื่อง พอต่อออกมาแล้วเสียบอุปกรณ์เข้าไปก็พบว่าใช้งานไม่ได้ แต่พอเอาอุปกรณ์นั้นมาเสียบที่หลังเครื่องโดยตรงกลับใช้งานได้อย่างไม่มี ปัญหา ตรงนี้ก็เกิดจากคุณภาพของสาย USB แบบต่อพ่วงที่นำมาใช้ มีการนำไฟฟ้าที่ไม่ดีพอนั่นเอง
Usb Device not Recognized เกิดได้จากหลายสาเหตุ
USB ที่ใช้งานกับอุปกรณ์ไม่เข้ากันเรื่อง Version
ปัญหาการจ่ายไฟของอุกรณ์ USB ที่ไม่เพียงพอ
บริเวณทีใช้งานมี สัญญาณรบกวนมาก
Driver USB มีปัญหา
จากที่เคยเจอปัญหาเคยแก้ไขด้วยการลบ Device Driver ของ USB จากนันก็ทำการลง Driver ใหม่, อีกวิธี เปลี่ยนช่องเสียบ USB เป็นช่องอื่นแทน
ส่วนเรื่อง EXT HDD. กับ USB Drive ผมว่า USB Drive จะคุ้มค่ากว่า ทั้งเรื่องความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ความสะดวกในการพกพา และการดูแลรักษา อีกทั้งยังราคาถูกกว่า Ext HDD. ที่ต้องคอยระวังเรื่อง การกระทบกระเทือนจากการใช้งาน และมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งตอนนี้ USB Drive ความจุก็เยอะขึ้น และก็มีราคาถูกลงเรื่อยๆ จึงน่าเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า
ถ้าเป็นกล่อง 2.5 นิ้ว บางทีต้องเสียบ2หัว เพราะว่า ไฟมันไม่พอ และอาจเป็น สาเหตหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาที่คุณถามมาด้วยนะ
สรุปไฟไม่พอ เปลี่ยน พาวเวอร์ซัพพลาย
ถอดถ่านกระดุม
ไฟไม่พอครับ 100 เปอร์เซ็นต์
ลองถอดสายไฟที่ไม่ค่อยได้ใช้ออกมั่ง หรือก็เปลี่ยนพาวเวอร์ไปเลย
ที่กล่าวมาทุกกรณีที่คุณเสียบ usb แล้วมีปัญหา ก่อนอื่นให้เช็คดูที่ตัวอุปกรนั้นๆ ว่ามีปัญหาหรือไม่ แล้วถ้าไม่ใช่ตัวusbมีปัญหา ก็ให้เคลีย bios ที่เมนบอร์ด แล้วก็ถอดสายไปที่ต่อพ่วง usb1 หรือ usb2-3-4
แล้วแต่เครื่องนั้นๆที่เขาต่อเอาไว้ แล้วก็เสียบสายไฟเข้าไปใหม่ให้เหมือนเดิม แค่นี้ก็น่าจะใช้ได้แล้ว และให้ลง Driver usb2.0 ลงไปใหม่อีกที…
หากเกิดปัญหา USB Device not recognized มีสาเหตุและวิธีแก้
1) หากเป็นอุปกรณ์ USB ประเภท Harddisk encloser ที่ไม่ต้องใช้ไฟจากภายนอก อาจจะเป็นไปได้สูงที่ตัวฮาร์ดดิสก์ดึงกระแสมากกว่า 500mA ซึ่งเป็นขีดจำกัดของพอร์ต USB ที่จะจ่ายกระแสไฟไม่เกินค่าดังกล่าว กรณีเช่นนี้ บอร์ดจะตัดสัญญาณไฟและจะมี bolloon เตือนบนวินโดวส์ว่า Power surge แต่ก็อาจจะมีกรณีที่ไม่เตือน และเกิดคำเตือนว่าไม่รู้จักอุปกรณ์ได้ นอกจากนี้ บางกรณีอาจพบว่า ระดับสัญญาณไฟเลี้ยงที่พอร์ต USB อาจจะต่ำกว่า 5 V ลงไปมาก จนชิพบน USB encloser ทำงานผิดปกติ ก็จะเกิดปัญหาดังกล่าวได้
2) อุปกรณ์ USB บางตัว ที่ซื้อมาประมาณสองสามปีก่อนหน้า เราอาจจะพบบอร์ดที่ใช้ชิพ USB2.0 รุ่นแรกๆ ที่ออกมา ที่จะใช้งานกับพอร์ด USB1.1 ได้ไม่มีปัญหา แต่เมื่อเสียบกับ USB2.0 จะเกิดปัญหาไม่ทราบชนิดอุปกรณ์ได้เหมือนกัน (ผมเองมี USB encloser ตัวหนึ่งที่เป็นอาการนี้)
3) หากคุณใช้วินโดวส์ XP ฉบับที่ยังไม่มี Service Pack จะไม่รองรับ USB2.0 ต้องอัปเดต service pack อย่างน้อยที่สุด SP1 และอย่าลืมอัปเดตไดรเวอร์ของ USB controller ด้วย
4) กรณีสุดท้ายนี้อาจจะเกิดได้เหมือนกัน (ผมเคยเจอมาแล้วอีกเช่นกัน) จากกรณีที่สัญญาณรบกวนในบริเวณดังกล่าวมีมาก (มีการใช้อุปกรณ์ที่กินไฟสูง และส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนมาก) ซึ่งจะเกิดหากคุณใช้อุปกรณ์ USB ที่ต่อสายยาวๆ จากพอร์ตคอมฯ เช่นหนึ่งเมตรหรือมากกว่า หากเป็นเช่นนี้ ให้เปลี่ยนตำแหน่งการวางตัวอุปกรณ์ USB และตำแหน่งการวางสายดู ลองเปลี่ยนช่องพอร์ตจากด้านหน้าไปด้านหลังดู ฯลฯ เพื่อลองหาจุดที่สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน เข้ามามีผลต่อการรับส่งข้อมูลในสายให้น้อยที่สุดแต่บ้างครั้ง restart แล้ว อาการดังกล่าวหายไปบางครั้ง ถึง usb flash drive ออก ไม่ถูกวิธี ทำให้ usb flash drive อันอื่นๆ มาใช้ไม่ได้ ต้อง restart
สาย USB ที่ใช้อยู่นั้น อาจมีความยาวเกินไป อย่าต่อหลายเส้นเพื่อเพิ่มความยาว อย่าต่อให้ยาวเกิน 10 เมตร
หา USB Repeater เข้ามาช่วย แต่คงต่อได้ 1 เส้นกับสายปกติ (หมายความว่าเอา USB Repeater ไปต่อกับที่เป็น USB ธรรมดา)
ตัวจ่ายไฟอาจมีกำลังไฟไม่เพียงพอ (อันนี้ถามไปที่บริษัทแห่งหนึ่งที่ให้บริการเกี่ยวกับระบบ RFID)อาจจะไปเสียบตรง USB Port ที่ไม่ได้มากับเมนบอร์ด (เขาเรียกว่าอะไรไม่รู้ ที่เอามาต่อพ่วงเสียบเข้ากับเมนบอร์ดอีกที)
-ใช้ win xp sp3
-เครื่อง T400
-usb ทั้งหมด 3 port
-ใช้เครื่องมาตั้งแต่เดือน 3/2009 ทุกอย่างปกติดี
-เพิ่งแสดงอาการ เมื่อวานนี้
-ล่าสุดผมไม่ได้ลง driver ตัวใด หรือ software ตัวใดใด ที่น่าเป็นต้นเหตุ
ไฟไม่พอ รุ่นประหยัดพลังงาน
หากเกิดปัญหา USB Device not recognized มีสาเหตุและวิธีแก้
1) หากเป็นอุปกรณ์ USB ประเภท Harddisk encloser ที่ไม่ต้องใช้ไฟจากภายนอก อาจจะเป็นไปได้สูงที่ตัวฮาร์ดดิสก์ดึงกระแสมากกว่า 500mA ซึ่งเป็นขีดจำกัดของพอร์ต USB ที่จะจ่ายกระแสไฟไม่เกินค่าดังกล่าว กรณีเช่นนี้ บอร์ดจะตัดสัญญาณไฟและจะมี bolloon เตือนบนวินโดวส์ว่า Power surge แต่ก็อาจจะมีกรณีที่ไม่เตือน และเกิดคำเตือนว่าไม่รู้จักอุปกรณ์ได้ นอกจากนี้ บางกรณีอาจพบว่า ระดับสัญญาณไฟเลี้ยงที่พอร์ต USB อาจจะต่ำกว่า 5 V ลงไปมาก จนชิพบน USB encloser ทำงานผิดปกติ ก็จะเกิดปัญหาดังกล่าวได้
2) อุปกรณ์ USB บางตัว ที่ซื้อมาประมาณสองสามปีก่อนหน้า เราอาจจะพบบอร์ดที่ใช้ชิพ USB2.0 รุ่นแรกๆ ที่ออกมา ที่จะใช้งานกับพอร์ด USB1.1 ได้ไม่มีปัญหา แต่เมื่อเสียบกับ USB2.0 จะเกิดปัญหาไม่ทราบชนิดอุปกรณ์ได้เหมือนกัน (ผมเองมี USB encloser ตัวหนึ่งที่เป็นอาการนี้)
3) หากคุณใช้วินโดวส์ XP ฉบับที่ยังไม่มี Service Pack จะไม่รองรับ USB2.0 ครับ… ต้องอัปเดต service pack อย่างน้อยที่สุด SP1 และอย่าลืมอัปเดตไดรเวอร์ของ USB controller ด้วย
4) กรณีสุดท้ายนี้อาจจะเกิดได้เหมือนกัน (ผมเคยเจอมาแล้วอีกเช่นกัน) จากกรณีที่สัญญาณรบกวนในบริเวณดังกล่าวมีมาก (มีการใช้อุปกรณ์ที่กินไฟสูง และส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนมาก) ซึ่งจะเกิดหากคุณใช้อุปกรณ์ USB ที่ต่อสายยาวๆ จากพอร์ตคอมฯ เช่นหนึ่งเมตรหรือมากกว่า หากเป็นเช่นนี้ ให้เปลี่ยนตำแหน่งการวางตัวอุปกรณ์ USB และตำแหน่งการวางสายดู ลองเปลี่ยนช่องพอร์ตจากด้านหน้าไปด้านหลังดู ฯลฯ เพื่อลองหาจุดที่สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน เข้ามามีผลต่อการรับส่งข้อมูลในสายให้น้อยที่สุด
5)สาย USB ที่ใช้อยู่นั้น อาจมีความยาวเกินไป พยายามอย่าต่อหลายเส้นเพื่อเพิ่มความยาว
พยายามอย่าต่อให้ยาวเกิน 10 เมตร (อันนี้ไม่รู้หลักทางวิชาการ จริงๆ)
หา USB Repeater เข้ามาช่วย แต่คงต่อได้ 1 เส้นกับสายปกติ (หมายความว่าเอา USB Repeater ไปต่อกับที่เป็น USB ธรรมดา)
6)ตัวจ่ายไฟอาจมีกำลังไฟไม่เพียงพอ (อันนี้ถามไปที่บริษัทแห่งหนึ่งที่ให้บริการเกี่ยวกับระบบ RFID)
อาจจะไปเสียบตรง USB Port ที่ไม่ได้มากับเมนบอร์ด (เขาเรียกว่าอะไรไม่รู้ ที่เอามาต่อพ่วงเสียบเข้ากับเมนบอร์ดอีกทีอะครับ)
port usb device not recognized
อุปกรณ์ ที่เป็น USB จะมีหมายเลข ID ของมันเองซึ่งเป็น Uniqe (หนึ่งเดียวในโลก) ซึ่ง ID จะประกอบด้วย ชนิดอุปกรณ์, ชื่ออุปกรณ์, รุ่น, โรงงานที่ผลิต เป็นต้น (เอาแบบคร่าว ๆ นะ)
ซึ่ง ID ใช้บอกความเป็นตัวเองและใช้สำหรับการสื่อสารด้วย ซึ่งต้องไปขอ ID (จากที่ไหนจำไม่ได้ละ) และปฎิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ (ไปเรื่อยละเข้าเรื่องเลยดีกว่า)
เอาเป็นว่าถ้าเสียบไปแล้ว ขึ้น USB Device Not Recognized แปลตรง ๆ เลยก็คือ “ไม่รู้จักอุปกรณ์ ยูเอสบี ตัวนี้” ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
การสื่อสารผิดพลาด, ชื่อของอุปกรณ์ ไม่มีในลิสต์รายชื่อ ของ OS นั้น ๆ และไม่น่าจะเกี่ยวกับ ไม่มีไดรว์เวอร์แน่ ๆ จบดีกว่า (ซะงั้น)
USB 2.0 มีอัตราของการรับ-ส่งข้อมูลที่ 480 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งมากกว่า USB เวอร์ชัน 1.1 ที่ให้อัตราส่งข้อมูลเพียง 12 เมกะบิตต่อวินาที ถึง 40 เท่าเลยครับ และด้วยแบนด์วิดท์ขนาดนี้ จึงเพียงพอสำหรับการเล่นวิดีโอที่ยังไม่บีบขนาดที่อัตรา 30 เฟรมต่อวินาทีได้เลยทีเดียว เทคโนโลยี USB 2.0 ยังเพิ่มความพอใจของคุณมากยิ่งขึ้นด้วยการใช้งานที่ง่าย และคุณสมบัติที่โดดเด่นนั่นก็ คือเมื่อเสียบแล้ว สามารถทำงานได้ทันที อีกทั้งรองรับการทำงานของ USB 1.1 อีกด้วย ซึ่ง USB 2.0 เหมาะสำหรับใช้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ อันรวมไปถึงอุปกรณ์สำหรับเก็บ ข้อมูลชนิดที่ต่อภายนอกอย่าง กล้องถ่ายรูปดิจิตอล กล้องวิดีโอ
ปรินเตอร์ เมาส์ คีย์บอร์ด หรือแม้แต่อุปกรณ์เครือข่ายด้านเน็ตเวิร์ค ปัจจุบันเทคโนโลยี USB 2.0 บนเมนบอร์ดสามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากมาย