Part I
สืบเนื่องจากที่ผม post ข้อคิดเห็นของผมเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้าน network ไว้ในกระทู้ “ข้อสอบ CCNA ใน books.rackhub.com”
http://www.thaiadmin.org/board/index.php?topic=9186.0
และมีคุณ Chokul ได้ส่ง message ถึงผมตามที่อ้างถึงข้างบนเพื่อให้ช่วยแนะแนวทางในการก้าวขึ้นมาเป็น Networker ผมก็เลยอยากจะเรียบเรียงจากประสบการณ์ เพื่อให้ลองใช้เป็นแนวทางเบื้องต้น แล้วก็เลยตัดสินใจ post เป็นกระทู้ใหม่ เพื่อให้คนอื่นที่อาจสนใจได้รับทราบด้วยเผื่อสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางด้วย
หมายเหตุ สิ่งที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ ถือเป็นแต่เพียงมุมมองหนึ่งของผมที่มีต่อสายวิชาชีพด้านnetworkเท่านั้นนะครับ ไม่อาจถือเป็นข้ออ้างอิงได้ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับแต่ละคนอาจเห็นไม่ตรงกับผมก็ได้ สิ่งที่จะพูดถึงจะเป็นแต่เพียงเรื่องของสิ่งที่เป็นส่วนใหญ่ที่ผมพบเห็นมา ไม่ใช่ข้อสรุปเสมอไป จึงอยากที่จะให้คนที่อ่านคิดตามไปด้วยเพื่อวิเคราะห์หาสิ่งที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง เพื่อนำไปใช้ต่อไป
Networker ถือเป็นคนกลุ่มหนึ่งที่ทำงานด้าน network โดยตรง ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มของ system admin หรือ network admin ยกตัวอย่างที่เห็นค่อนข้างชัดคือพวกที่ได้ ccie พวกนี้จัดเป็น networker คนพวกนี้จะเชี่ยวชาญเรื่อง network มาก แต่ถ้าต้องให้มานั่ง configure active directory หรือ mail server ก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นเรื่อง network เขาจะรู้เรื่องมากกว่าพวก network admin ในขณะที่กลุ่ม system admin และ network admin นั้นจะทำงานที่ใกล้เคียงกัน คือ ดูแลระบบ networkและsystemในองค์กรใดๆ ซึ่งอาจจะมีขนาดเล็กจนถึงปานกลาง และใหญ่
ในองค์กรระดับเล็กถึงปานกลางเรามักจะเรียกคนดูแลระบบ IT รวมๆว่า admin หรือ administrator แต่พอเป็นองค์กรระดับใหญ่ จำเป็นต้องมี admin มากกว่าหนึ่งคน ทีนี้เขาก็เริ่มแบ่งงานกัน ซึ่งโดยมากมักจะแบ่งเป็นพวก system ดูแล server, AD, mail, database (บางที่ที่ใหญ่มาก ก็จะแบ่งออกไปอีกเป็น database admin ก็มี) และอีกพวกจะดูแลด้าน network เช่น switch, router, vpn, firewall, internet link เป็นต้น ตอนนี้จะเห็นว่า เรามีคนอยู่สามกลุ่มที่ใกล้เคียงกันคือ admin, system admin, network admin คิดว่าน่าจะพอแยกออกแล้วนะครับ ที่อยู่ของคนสามกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ตามบริษัทเอกชน enterprise ทั่วไป และมีอยู่ในพวก SI (System integrator) ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่จะขอพูดถึงเนื้อหาของคนสามกลุ่มคร่าวๆ เพื่อให้เห็นเป็น idea เพื่อจะได้นำไปเปรียบเทียบกับพวก networker ในภายหลังได้นะครับ
กลุ่ม administrator
กลุ่มนี้จะทำทุกอย่างเกี่ยวกับระบบ ITในองค์กร รวมตั้งแต่ server AD, DNS, DHCP, MAIL, File, Printer, Router, internet link, switch, vlan, wan และอื่นๆทุกอย่าง (ทำแค่ระดับเบื้องต้น ไม่ได้ลงลึก) สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันเกือบจะทั้งหมดของกลุ่มนี้คือ เมื่อมีการติดตั้งระบบใหม่มักจะเป็นการจ้าง SI เข้ามาทำให้ ถัดจากนั้น admin ก็จะเป็นคนดูแลต่อ งานที่ adminจะได้ทำส่วนใหญ่ จะเป็นการแก้ปัญหาให้ user และการกู้ระบบเมื่อมันล่มเช่น email, router, internet เป็นต้น สิ่งที่จะเป็นตัววัดว่าadmin คนไหนเก่งกว่ากันก็จะขึ้นอยู่กับชั่วโมงบินของแต่ละคน และขนาดของระบบ IT ที่ดูแล เพราะยิ่งระบบมีขนาดใหญ่ user เยอะ มันก็จะมีปัญหาจากuser ตามมาค่อนข้างมาก admin มักจะต้องเจอกับปัญหาเฉพาะหน้าให้แก้ไขอยู่เสมอ ระดับของปัญหานั้นจะเป็นระดับง่ายถึงปานกลาง ในช่วงแรกของadminทุกคนจะรู้สึกว่าปัญหาทุกอย่างเป็นเรื่องยากไปหมด แต่เมื่อเขาทำไปซักพัก เขาจะรู้สึกว่าง่ายขึ้น และจุดนี้เองที่เป็นที่กำเนิดของคำว่าทำมากประสบการณ์เยอะก็จะเก่ง เพราะพอทำมากๆเจอปัญหาหลายแบบ เขาจะเรียนรู้วิธีแก้ไข แล้วพอมันเกิดขึ้นอีก ทีนี้ก็หมูเลย แก้ไม่ยาก เพราะเคยทำมาแล้ว มาถึงตรงนี้ก็ฟังดูธรรมดาใช่ไหมครับ แต่อันที่จริงถ้าหากมองจากภาพใหญ่เราจะพบว่า อันที่จริงแล้วปัญหาที่adminเจอกันส่วนใหญ่นั้นเป็นการแก้ปัญหาให้ user หรือทำระบบเพื่อ support user ซึ่งระดับของปัญหาเล่านี้ยังจัดว่าเป็นระดับง่ายถึงแค่ปานกลาง ดังนั้น ถ้าหาก adminยังมองระดับตัวเองไม่ออกและไม่รู้จักขยับขยายระดับของตัวเองขึ้นเขาก็จะเริ่มติดอยู่กับระดับของ admin และประโยคที่ว่า ทำมานาน ลงมือทำเองมามาก ปฏิบัติมาเยอะ ประสบการณ์สูง และมั่นใจว่านั่นคือที่สุดแล้ว เพราะเขาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในบริษัทได้เกือบจะทั้งหมด จะเริ่มเกิดขึ้น และถึงแม้ในบางครั้งบริษัทอาจจะมีเรื่องใหม่ๆเข้ามาให้เขาทำ เขาก็สามารถจัดการมันได้โดยไม่ยากอะไรนัก สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นกับดักของเขาเองไปในตัว เพราะเขาจะวนเวียนอยู่แต่กับระดับซึ่งครอบตัวเขาไว้ทำให้เขามองว่าทั้งหมดที่เขามองเห็นและทำอยู่ในบริษัทนั่นมันคือที่สุดแล้ว เกือบจะทั้งหมดของadminที่ไม่ได้ขยับขยายตัวเองไปไหน สุดท้ายเมื่ออยู่ไปนานๆ จะมีได้สองแบบ คือโดนดอง (บริษัทจะมองว่าเขามีความสามารถสูงแต่เงินเดือนที่จ้างก็ไม่ได้สูงอะไร และดูเขาก็มีความสุขในสิ่งที่เขาทำอยู่ เพราะฉะนั้นบริษัทควรหาทางจ้างเขาไปเรื่อยๆในตำแหน่งนี้แหละดีแล้ว) ในขณะที่อีกกลุ่มจะถูก promoteเป็น IT managerเพราะบริษัทมองว่าเขารู้จักระบบงานทุกเรื่องของบริษัทแล้ว น่าจะเอามาดูแลทั้งระบบในระดับงาน IT management เลยก็น่าจะดี adminที่อยู่ที่เดิมจนรากงอกก็มีทางไปสองแบบหลักๆ แล้วแต่ดวงแล้วแต่บริษัทที่อยู่ว่าจะเป็นอย่างไร ถ้าโชคดีก็อาจได้เป็น IT manager
กลุ่ม network administrator
กลุ่มนี้มักจะเจอกันมากในบริษัทขนาดกลางถึงใหญ่และพวก SI กลุ่มนี้โดยมากมักจะก้าวมาจากการเป็น adminของบริษัทอื่นมาก่อนแล้วก็เปลี่ยนงานมาที่ใหม่ โดยเฉพาะคนที่อยู่ใน SI โดยส่วนใหญ่คือพวก adminเดิมที่พยายามผันตัวเองเพื่อก้าวขึ้นมาเป็น network admin หรืออีกชื่อคือ network engineer อันที่จริงใช้สองชื่อเรียกน่าจะเหมาะสมกว่าคือ network adminจะอยู่กับบริษัทเอกชนทั่วไปที่ดูและระบบ IT ส่วน network engineer จะอยู่ที่ SI เป็นหลัก หน้าที่หลักของ network admin คือดูแลระบบ IT โดยเน้นที่ตัว network เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น router, switch, firewall, wan, etc คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่หน้าที่จะเป็นการ operateตัวอุปกรณ์ต่างๆให้ทำงานได้ตามปกติเสียมากกว่า แต่ถ้าเมื่อไหร่มีการติดตั้งระบบเพิ่มมักจะให้ SI ทำให้ เพราะเนื่องจากบริษัทที่อยู่มักเป็นขนาดกลางถึงใหญ่ เขาจึงมีงบพอสมควรในการจ่ายให้ SI ทำให้หมดแทนที่จะทำเอง ดังนั้นพวก network admin จึงมักไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการ implementระบบขนาดปานกลางถึงใหญ่ เพราะมักจะเป็นพวก SI ทำเสียมากกว่า สำหรับกลุ่ม network engineer ที่อยู่ตาม SI ก็จะมีหน้าที่ต่างออกไปคือจะเป็นพวก implementor ซะเป็นส่วนใหญ่ คือติดตั้งทั้งระบบใหม่ integrate ระบบเข้ากับของเดิม เป็นต้น โอกาสที่จะได้เจอปัญหาหน้างานที่ต้องsupport user จริงๆจังๆเหมือน network adminจะไม่ค่อยมี แต่ที่ต้องระวังคือ ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกค้าซึ่งเป็น network admin เขาแก้ปัญหาไม่ได้ พวก network engineer ที่ถูกเรียกเข้าไปจะถูกคาดหวังว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้เสมอ เอาล่ะทีนี้ประเด็นเริ่มมีขึ้น เดิมทีเดียวเมื่อเทียบระหว่างคนติดตั้งกับคนดูแลระบบ อันที่จริงถึงแม้คนสองกลุ่มนี้จะทำงานกันคนละแบบ แต่ทักษะของคนสองกลุ่มนี้จะไม่ได้แตกต่างอะไรกันเท่าไหร่นัก เพียงแค่คนหนึ่ง implementคนหนึ่งoperate แต่ไอ้ตัวที่ทำให้ต้องเริ่มต่างคือ พวก network admin จะเป็นฝ่ายจ่ายเงินให้กับพวก network engineer เข้ามาแก้ปัญหาให้ เป็นอันว่าพวก network engineer จึงต้องถูกบริษัทต้นสังกัดบังคับให้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ และวิธีที่ดีที่สุดของบริษัทในการบังคับให้พวก network engineer เรียนรู้คือการบังคับสอบ cert เมื่อพวก network engineer ถูกบังคับให้ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด ก็กลายเป็นว่าพวก network engineer จะเก่งกว่าพวก network admin ไปโดยปริยาย นี่จึงมักเป็นธรรมเนียมว่าถ้าใครอยากเก่งต้องหาทางเข้าไปอยู่ในพวก SI ให้ได้ กรณีของกลุ่ม network engineer นั้นนานไปๆเขาจะกลายเป็นกลุ่ม networker ในที่สุด
กลุ่ม system administrator
กลุ่ม system admin อธิบายได้เหมือนกลุ่ม network admin ทุกอย่าง แล้วก็มีอีกกลุ่มคือ system engineer อยู่ด้วย กลุ่มนี้จะเน้นเรื่อง server เท่านั้นเช่น AD, mail, file server เป็นต้น ธรรมเนียมก็มีเหมือนกัน อยากเก่งก็ต้องเข้าไปอยู่ใน SI
Networker
ทีนี้มาถึงกลุ่ม networker กลุ่มพวกนี้จะค่อนข้างแปลกนิดนึงตรงที่ว่าจะเน้นเรื่อง network เป็นหลัก เราจะไม่ค่อยเห็นคนกลุ่มนี้ในองค์กรขนาดเล็กหรือกลาง เพราะองค์กรขนาดนี้เขาต้องการคนที่ทำได้ทุกอย่างเช่นพวก admin เป็นหลัก เขาไม่ได้ต้องการคนที่เก่งเฉพาะด้าน เพราะเขามองระบบ IT ของเขาเป็นแค่ส่วนหนึ่งขององค์กรที่จัดเป็นต้นทุน เขาไม่จัดว่าระบบITก่อให้เกิดกำไรกับบริษัท ดังนั้นไม่จำเป้นต้องจ้างคนแพงมากนักมาอยู่ก็ได้ ขอแค่ให้ดูแลให้ระบบใช้งานไปได้เรื่อยๆก็พอ สิ่งที่เขาต้องการจึงเป็นระดับ administrator ทั่วๆไป ทีนี้เราจะเห็นพวก networker ทำงานที่ไหนบ้าง เรามักจะเห็นพวก networker ทำงานอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่ๆเช่น Bank, telecom (TA, TT&T, AIS), ISP (Inet, CS loxinfo) และบริษัท SI ขนาดใหญ่ที่เน้นด้าน network เป็นหลักเช่น Datacraft, AIT, IBM. อันที่จริงคำว่า Networker เป็นคำที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มของสาย data com คือพวกที่เล่นกับ router, switch, wan อะไรประมาณนี้ ในขณะที่สายด้าน telecom ไม่มีการใช้คำว่าnetworkerเพื่อเรียกตัวเองมาก่อน แต่จะเรียกว่าพวกสาย switching, transmission เป็นหลัก ในช่วงก่อนปี 2000 คนสองกลุ่มนี้แยกตัวออกจากกันค่อนข้างชัดเจน คนไหนที่จบมาแล้วจับพลัดจับผลูได้ไปอยู่สายไหน ก็มักจะได้อยู่สายนั้นไปตลอด เช่นถ้าได้ไปอยู่ Inet เขาก็จะไปทางฝั่งdata com ถ้าจบมาได้ไปอยู่กับ AIS ก็จะได้ไปสาย telecom จนกระทั่งเทคโนโลยี VoIP เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา อันที่จริงมันมีมาตั้งแต่ต้นปี 1990 แล้ว เพียงแต่เริ่มมีการใช้งานในระดับ commercial กันช่วงปี 2000 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพูดถึง convergent network, NGN (Next Generation Network) ที่ทำให้เกิดการรวมกันของ voice network และ data network มีกันมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้คนสองสายนี้เริ่มจะเข้ามาบรรจบกัน แต่เนื่องจากว่าเทคโนโลยีของสาย telecom ซึ่งบางทีผมจะเรียกว่าฝั่ง circuit กับอีกสายคือสาย data com ซึ่งบางทีผมจะเรียกว่าฝั่ง packet นั้นเป็นเทคโนโลยีที่อยู่กันคนละฝั่งแบบซ้ายกับขวาเลย ดังนั้นโอกาสที่คนอีกสายหนึ่งจะก้าวข้ามมาอีกฝั่งหนึ่งได้นั้นจะต้องเริ่มเรียนรู้ใหม่หมดเลย เช่นคนที่เคยทำสาย circuit มาสิบปี แต่พอมาเจอเนื้อหา ccna เขาจะต้องมานั่งเริ่มเรียนรู้ใหม่เท่าๆกับเด็กจบใหม่เลย แต่ถ้าใครที่เคยทำสาย packet เช่นพวก ccna ccnp หรือ ccie ก็แล้วแต่ ต้องไปจับพวกswitchฝั่งcircuitก็จะงงเหมือนกัน เพราะเขาจะไม่สามารถadaptไอเดียเข้าหาได้ง่ายๆนัก และที่สำคัญฝั่ง circuit มีคอร์สเรียนน้อยกว่า ราคาแพงกว่า (คอร์สนึงราคาเป็นล้าน!!)ต้องอ่านเอง แถมdocumentก็หาใน internet ไม่ได้ document จะมีอยู่เฉพาะที่ตัว operator เท่านั้น เพราะเป็น technologyของแต่ละเจ้าแยกจากกันโดยสิ้นเชิง ในสาย circuit คุณจะไม่มีวันได้ยิน rip, ospf, hsrp, spanning tree, 802.1q อะไรพวกนี้เลย สิ่งเหล่านี้ทำให้ภาพที่คนทำ network แต่ละสายมองนั้น ไม่สามารถมองข้ามถึงกันได้ คนที่ทำสาย packet อย่างพวก ccna, ccnp, ccie ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดยังไม่เคยได้มองเห็นภาพอีกครึ่งหนึ่งของความเป็น network ที่แท้จริง ในขณะที่อีกกลุ่ม ฝั่งcircuitก็เช่นกันก็นึกภาพการทำงานอย่างพวก routing ไม่ออกว่ามันสามารถเลือกเส้นทางกันเองได้ด้วยเหรอเป็นต้น หลังจากปี 2000 เป็นต้นมา พวก vendor ทั้งสายcircuitเช่นพวก nokia, ericsson, alcatel, nec และสายpacketเช่น cisco, 3com เริ่มที่จะรุกตลาดเข้าหาอีกฝั่ง ยกตัวอย่างเช่นใน circuit core networkเริ่มมีการนำอุปกรณ์พวก packet switch มาใช้ร่วมด้วยมากขึ้นเช่น ภายในระบบ core swithcingของบางรายเปลี่ยนจากระบบback planeที่เป็นcircuitให้มาเป็นแบบpacketแล้วแทนที่จะdevelopใหม่ก็เอา cisco switch เข้าไปใช้เองเลยเพื่อลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพ ภาพที่ออกมาจึงกลายเป็นว่า ความเป็นcircuitและความเป็นpacketเริ่มปนเปกันถูกใช้งานร่วมกันไปหมด และตัวการสำคัญอีกหนึ่งตัวที่ทำให้ความเป็นconvergent network เกิดเร็วขึ้นคือเทคโนโลยี 3G เช่น cdma2001x, EVDO, EDGE, WCDMA เป็นต้น พวกนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีความเป็นcircuitและpacketปนกันตั้งแต่ตอนเริ่มแรกของการออกแบบเทคโนโลยี มันมีความเป็นcircuitอยู่บนความเป็นpacketและในขณะเดียวกันก็สามารถมีความเป็นpacketในรูปของcircuitด้วย โปรโตคอลที่ใช้มีความซับซ้อนสูง อย่างที่ผมเคยเขียนไว้ในกระทู้ก่อนว่าเอาแค่เรื่อง OSI 7layerก็เป็นเรื่องยากนั้น สามารถดูจากกลุ่มพวกนี้ได้ บางตัวไล่protocolกันตั้งแต่ชั้นแรก physicalจนขึ้นไปถึงชั้น application แล้ว คุณลองเดาดูว่าถัดจาก application layer ขึ้นไปอีกเป็นอะไร บางคนก็เริ่มงงแล้วว่ามันจะมีอีกได้อย่างไร แต่โทษทีพวกนี้บางตัว ถัดจาก application ขึ้นไปกลับกลายเป็นชั้น data link !!! บางตัวนับ protocol stackได้สิบสองชั้น !!! และมันก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ เพราะstandardตัวใหม่ๆออกมาเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่สิ้นสุดของคน คุณเชื่อไหมว่าแค่การจะทำให้มือถือสามารถ play video on demand ได้เนี่ย เบื้องหลังฉากนี่มันซับซ้อนขนาดไหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของพวก networker ล้วนๆที่ต้องทำ สาเหตุที่ผมเอาเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังเพื่อที่จะโยงไปถึงพวก networker อีกกลุ่มหนึ่งคือพวกลูกผสม ซึ่งมีน้อยยิ่งกว่าน้อยในปัจจุบัน พวก networker ลูกผสมจะมีความรู้ความเข้าใจทั้ง circuit และ packet technology ค่อนข้างดี เขาสามารถที่จะintegrateระบที่ประกอบด้วยทั้ง circuitและpacket technology ให้ทำงานร่วมกัน โดยมากคนที่จะก้าวขึ้นมาเป็น netwoker กลุ่มนี้ได้นั้น มักมาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของสองกลุ่มแรก ถ้ามาจากกลุ่มของสายcircuit เขาก็ต้องมาเริ่มใหม่หมดตั้งแต่ ccna level (ซึ่งมักเป็นเรื่องยากมากสำหรับคนที่โดนล้างสมองมาตั้งแต่เริ่มทำงานใหม่ๆกับการทำงานกับcircuit technology มานาน) อีกแบบคือมาจากสายpacket กรณีนี้ก็มีความเป็นไปได้ต่ำมาก เรียกว่าต่ำกว่ากรณีแรกด้วยซ้ำ เพราะเอาแค่คิดว่าจะทำ ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไรแล้ว เพราะหาคอร์สเรียนไม่ได้ (คอร์สเป็นล้าน จะเรียนทีต้องสั่งอาจารย์ตรงมาจากเมืองนอก อุปกรณ์ที่จะเล่น ถ้าใครเคยบอกว่า มี cisco router ให้เล่นในบางคอร์สก็ยากแล้วเพราะต้นทุนคอร์สสูง แต่กรณีcircuit base แล้วล่ะก็คุณค้องมีระบบเล็กๆทั้งระบบถึงจะเล่นได้ ก็ประมาณเกือบร้อยล้านได้) หนังสือก็ไม่สามารถหาdownload จาก internet หรือหาซื้อมาได้ มีเพียงโอกาสเดียวเท่านั้นที่จะเกิดขึ้นได้คือย้ายบริษัทไปอยู่กับพวก operator เช่น AIS, DTAC, Orange หรือ Vendor เช่น Alcatel, Motorola, Nortel, Ericsson, NOKIA เป็นต้น โอกาสเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง แต่ก็ต้องขึ้นกับดวงแต่ละคนด้วยเช่นกัน ถ้าถามว่าทำไมต้องดิ้นรนอยากป็นพวกลูกผสมด้วย ก็จะตอบว่า เงินดี งานท้าทาย เพราะไม่มีงานขนาดเล็กหรือปานกลางให้ทำ มีแต่ขนาดใหญ่ถึงใหญ่มากเท่านั้น และงานมีทั่วโลก ทั้งประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาจะมีการวางระบบใหม่ๆค่อนข้างเยอะ
เล่ามาตั้งนานก็เพื่อให้ทุกคนมองเห็นภาพใหญ่ทั้งหมดก่อนว่าคำว่า network นั้นมันกว้างใหญ่และซับซ้อนแค่ไหน มันเริ่มได้ตั้งแต่ home networking, net cafe, sme size, enterprise size, campus size, NGN, 3G, 4G(coming soon)
กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องจากที่กล่าวมาทั้งหมดแยกเป็นดังนี้
1. administrator
2. system administrator
3. system engineer
4. network administrator
5. network engineer
6. networker แบ่งเป็นสามพวกย่อย
สาย telecom
สาย datacom
พวกลูกผสม
ทีนี้พูดเรื่องเงินเดือน นี่คือข้อมูลเฉพาะที่ผมรับทราบมาจากคนในวงการและพวก head hunter นะครับ ดูไว้เพื่อเป็นข้อมูลเล่นๆก็พอ
1. administrator 12,000-40,000 บาท
2. system administrator 25,000-60,000 บาท
3. system engineer 25,000- 80,000
4. network administrator 25,000-50,000 บาท
5. network engineer 25,000 – 80,000
6. networker แบ่งเป็นสามพวกย่อย
สาย telecom 17,000 – 60,000 บาท
สาย datacom 50,000 – 130,000 บาท
พวกลูกผสม 50,000 – 400,000 บาท
เงินเดือนพวกนี้ไม่นับกรณีของคนที่ถูก promoteเป็น IT manager นะครับ (IT manager มีรายได้ประมาณ 40,000 -80,000 บาท)
เขียนไปเขียนมาก็ยาวน่าดูเหมือนกัน ยังไม่ได้เข้าเรื่องว่าแนวทางเดินควรเป็นอย่างไรเลย สาเหตุที่ผมอยากเล่าเรื่องเหล่านี้ให้ฟัง ก็เพื่อให้มองเห็นภาพทั้งหมดก่อน จากนั้นทุกคนจะต้องคิดและตอบตัวเองให้ได้ว่า ตอนนี้ตัวเราอยู่ที่จุดไหน ระดับไหน มองดูจากเนื้องาน รายได้ ความท้าทาย ความยาก แล้วคิดว่าตัวเราเองอยากไปให้ถึงจุดไหน ถ้าหากย้อนกลับไปดูกระทู้ก่อนหน้านี้ที่ผมเขียนไว้ หลายคนอาจจะมองว่าการจะพยายามให้ได้ขนาดนั้นมันเป็นเรื่องค่อนข้างยาก น่าจะมีน้อยคนนักที่จะทำได้ มันก็อาจจะจริงอย่างที่คิด แต่มีสิ่งหนึ่งซึ่งผมเชื่อว่าผมได้พิสูจน์มันมาแล้วว่ามันเป็นสิ่งสำคัญและมีผลอย่างมากคือ ความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายที่เราจะไปให้ถึง ซึ่งความมุ่งมั่นมันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราเห็นปลายทางที่เราจะไปชัดเจนว่ามันเป็นสิ่งที่เราอยากไปแน่ๆ
ผมขอยกตัวอย่างจริงที่เกิดขึ้นให้ฟัง ผมเคยไปสอนวิชา network ที่ มหาลัย IT North Bangkok อยู่ช่วงหนึ่ง ในบรรดานักเรียนที่สอน มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเขาอยากทำด้าน network อาจจะเป็นเพราะว่าได้ฟังจากที่ผมสอนและเห็นภาพชัดขึ้น ผมตัดสินใจฝึกเด็กกลุ่มนี้ขึ้นมา มีด้วยกัน 5 คน แต่ละคนทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย และไม่มีใครได้ทำงาน IT อย่างจริงจัง
คนหนึ่งเป็น admin (ธุรการ) หมายถึงadminจริงๆ ที่ทำงานเอกสารในบริษัท
คนหนึ่งทำอยู่โรงงาน คนหนึ่งทำงานใช้แรงงาน
อีกสองคนเป็นผู้ช่วยในฝ่าย IT แต่หน้าที่หลักแทบไม่ได้เกี่ยวกับ IT มากนัก
เรื่องภาษาอังกฤษคุณคงประเมินได้ว่าเด็กพวกนี้จะระดับไหน เด็กพวกนี้จบมาสายปวชทั้งหมด (ทุกวันนี้พวกนี้อ่านแต่ text book ทั้งนั้น)
ตอนเรียนกลุ่มนี้จะโดนผมเคี่ยวมากที่สุด ตอนสอบfinal ทุกคนในห้องสอบ 100 ข้อสามชั่วโมง แต่เด็กห้าคนนี้ผมบังคับให้ข้อสอบเพิ่มอีก 50 ข้อในเวลาเท่าเดิม โดยต้องแอบไม่ให้อาจารย์คุมสอบอีกคนรู้ โดยแอบยัดไส้ไปในห้องสอบเลย คนอื่นผมอนุญาติให้ใช้ dict ได้ แต่ 5 คนนี้ผมไม่ให้ใช้ ตอนสอบอาจารย์คุมสอบอีกคนเห็นว่าเขาไม่มี dict ก็อุตส่าห์ไปหา dict จากห้องสมุดมาให้พวกเขา ผมก็แอบไปดึงกลับมาคืนไม่ให้ใช้ แต่อันที่จริงพวกเขาไม่ยอมเปิดมันเองด้วยแหละ สอบรอบเช้าเสร็จคนอื่นกลับบ้านได้ แต่เด็กพวกนี้ผมจับสอบอีกรอบเพิ่มในช่วงบ่ายโดยจัด environment เหมือนกับการ สอบ cert จริงทั้งเรื่องจำนวนข้อสอบ ความยาก เวลา โดยสอบกันในห้องสมุด ตลอดช่วงที่สอนอยู่หลายเดือนผมบังคับท่องศัพท์ ทุกอาทิตย์ต้องเอาสมุดจดมาให้ดู บางทีผมก็สุ่มถามเลยว่าท่องจริงหรือเปล่า เด็กกลุ่มนี้โดนผมเคี่ยวหนักมาก แต่ไม่มีใครยอมแพ้ ทุกวันนี้ 5 คนนี้มี 4 คน มี cert ติดตัวกันหมดแล้ว และก็กำลังพยายามก้าวไปข้างหน้าเรื่อยๆ เขาเองเจออุปสรรคหลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่ยังเห็นคือเขาพยายามก้าวไปเรื่อยๆ ไม่ยอมหยุด บางคนหยุดไปบ้างแต่ก็พยายามกลับมาเดินต่อ บางคนช้ากว่าเพื่อน คือคนที่ 5 สอบมาสองครั้ง ตกสองครั้ง แต่ก็ไม่ลดละอยู่ดี ถึงแม้จะไม่ได้มีโอกาสเจอนานแล้ว แต่ผมก็เฝ้าดูอยู่ เด็กกลุ่มนี้ในวันข้างหน้าผมเชื่อว่าเขาจะไปได้ไกล เพราะเขามีเป้าหมายและมุ่งมั่น
ที่เล่าถึงเด็กกลุ่มนี้ให้ฟังก็เพื่อจะบอกว่า ถ้าใครก็แล้วแต่ที่คิดแต่เพียงว่า คงมีไม่กี่คนที่จะทำได้เพราะต้องใช้ความพยายามสูงเราไม่น่าจะรอด ก็ลองดูตัวอย่างเด็กกลุ่มนี้ดูล่ะกัน แล้วลองถามตัวเองดูว่าที่ตัวเองคิดอยู่นั้นมันจริงเหรอ มันคือมารที่มาขัดขวางเราหรือไม่ ลองคิดให้ดี
ถ้าคุณเดินอยู่กลางทะเลทราย แล้วรู้แน่ๆว่าเดินไปทางนี้แล้วคุณจะเจอน้ำแน่ๆ คุณจะเดินไปหรือไม่ ผมเชื่อว่าทุกคนจะเดินไป แต่ในโลกความเป็นจริงมันกลับกลายเป็นว่า คุณอยู่กลางทะเลทราย แต่คุณแค่พอจะรู้มาว่าไปทางนี้จะมีน้ำรออยู่ แล้วพอเดินไปซักพักก็ยังไม่เจอน้ำซักที คราวนี้อาการเขวก็จะเริ่มเกิดขึ้นในใจโดยไม่รู้ตัว คราวนี้ทิศทางเดินก็เริ่มเป๋ไปเป๋มา สุดท้ายก็ไปไม่ถึงไหน เพราะไม่มั่นใจในทางที่เดิน ดีไม่ดีหาน้ำก็ไม่เจอ
ข้อสำคัญคือคุณเห็นภาพข้างหน้าหรือยัง (นั่นคือสิ่งที่พยายามเล่าให้ฟังในตอนแรก) คุณเชื่ออย่างมั่นใจไหมว่ามันคือสิ่งที่คุณอยากจะไปจริงๆ คุณจะเจออุปสรรคข้างหน้าอย่างลำบากยากเย็นแน่นอน กว่าจะไปถึง แล้วคุณจะว่าไง มั่นใจไหมที่จะไป ศรัทธาในทางที่จะเดินหรือไม่ ถ้าคุณมั่นใจและมุ่งมั่นที่จะเดินไป ผมก็จะแนะนำให้ฟังว่าคุณจะเจออะไร คุณต้องทำอย่างไร อะไรคือสิ่งที่ต้องพึงระวัง อะไรคือสิ่งที่ต้องปรับปรุงตัวเอง
ผมขอหยุดช่วงแรกไว้ที่จุดนี้ก่อน แต่อยากให้ทุกคนที่สนใจและคิดว่าสิ่งที่อ่านมีประโยชน์ หรือแม้กระทั่งจะกล้าประกาศว่าผมจะเดินไป ช่วยบอกทางให้ด้วย ก็ให้postเอาไว้ที่นี้ ผมจะได้นำสิ่งที่แต่ละคนสนใจมาประมวลและเรียบเรียงให้อ่านอีกทีครับ
ข้อแนะนำ ให้อ่านสิ่งที่เล่าให้ฟังหลายๆรอบเพื่อให้มองภาพทั้งหมดให้ชัด อีกอย่างโดยปกติคุณจะไม่มีโอกาสได้ยินเรื่องพวกนี้จากที่ไหนอีกแล้ว
Part II
ส่วนที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะเป็นส่วนข้อแนะนำในการเดินทางไปยังเป้าหมายของ Networker นะครับ สิ่งที่จะแนะนำนี้ บางคนก็อาจทำตามไม่ได้ บางคนก็อาจทำตามได้ ทั้งนี้นอกจากจะขึ้นกับความตั้งใจแล้วอาจต้องขึ้นอยู่กับดวงของแต่ละคนด้วย (แต่บางทีเราก็พอจะเลือกเส้นทางเดินได้) จากครั้งที่แล้วผมแยกคนออกเป็นกลุ่มต่างๆ ในที่นี้ผมจะขอเสนอข้อแนะนำของคนที่อยากจะเป็น Networker ไว้พอเป็นแนวทางนะครับ
ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษคือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับ Networker เพราะในระดับกลางถึงสูง จะไม่มีหนังสือภาษาไทยให้อ่าน ถ้าหากเราไม่สามารถพัฒนาตัวเองจนสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้คล่องแล้วล่ะก็ การที่จะก้าวขึ้นเป็น Networker ระดับสูงได้นั้น เป็นเรื่องที่แทบจะพูดได้เลยว่าเป็นไปไม่ได้ (ไม่ใช่แค่โอกาสน้อยนะครับ) ดังนั้นขอเน้นย้ำเรื่องนี้ ขอให้เป็นข้อปฏิบัติข้อแรกเลยนะครับในการเริ่มต้นก้าวเดิน ส่วนวิธีการพัฒนาภาษาอังกฤษของตัวเองนั้นผมขออ้างถึงจากครั้งที่แล้วที่เขียนไว้ตามนี้นะครับ
– จงลืมความรู้สึกเกลียดการอ่านภาษาอังกฤษซะ แล้วจงตั้งหน้าตั้งตาอ่านและเปิด dict ให้มากที่สุด ใช่ฟังดู พูดง่ายแต่ทำยาก แต่ก็ใช่อีกนั่นหล่ะที่ว่า แล้วมีใครล่ะที่บอกว่าการจะก้าวขึ้นมาเป็นมือโปรได้นั้นเป็นเรื่องง่ายๆ คนที่อยากจะข้ามแม่น้ำแต่ไม่กล้าที่จะเปียก แล้วเมื่อไหร่จะว่ายข้ามมาอีกฝั่งได้ ถ้าอยากจะข้ามมาอีกฝั่ง ก็ต้องเลิกกลัวที่จะเปียก แล้วจงตั้งหน้าตั้งตาว่ายข้ามมาซะ
– ทุกครั้งที่เปิด dict ให้จดคำศัพท์ไว้ในสมุดจดเล่มเล็กๆ แล้วพกติดตัวตลอด ว่างเมื่อไหร่ก็เอามาท่อง แต่ข้อสำคัญมากๆที่ต้องตั้งเป็นกฏคือ ภายในวันหนึ่งต้องท่องให้ได้ไม่ต่ำกว่า 25 คำ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าคุณไม่มีกฏของตัวเอง คุณก็จะท่องแค่วันละห้าคำ และสุดท้ายก็ขี้เกียจไม่ท่อง ผมเคยท่องสูงสุดถึงวันละ 250 คำ รวมคำศัพท์ทั้งหมดที่ท่องกว่าหมื่นคำ ทำอย่างนี้อยู่กว่า หกเดือน บอกได้คำเดียวว่า big improvement อย่าลืมข้อสำคัญ กฏคือกฏ ตั้งโปรแกรมใส่สมองไว้ เช่นวันละ 25 คำ ไม่ว่าฟ้าจะถล่มดินจะทลายวันนี้ก็ต้องท่องให้ได้ 25 คำ
– ไปหาซื้อนิตยสาร future มาอ่านซะ เล่มละ 20 (ไม่รู้ว่าขึ้นราคาหรือยัง) ในนี้จะเป็นเนื้อหาภาษาอังกฤษพร้อมคำแปลตลอดทั้งเล่ม เขาออกทุกๆสองสัปดาห์ แล้วให้บังคับตัวเองว่าต้องอ่านทุกหัวข้อในเล่มนั้นให้จบให้ได้ภายในสองสัปดาห์ เพราะมันจะออกเล่มใหม่ออกมา ทุกครั้งเมื่อเจอศัพท์ใหม่ก็ให้จดไว้ท่อง นิตยสารเล่มนี้ช่วยให้ผมได้รู้ศัพท์ใหม่ๆเพิ่มขึ้นเยอะมาก อยากแนะนำให้ลองดู
สำหรับคอร์สเรียนภาษาอังกฤษตามที่ต่างๆนั้น ถ้าสามารถเรียนเพิ่มได้ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ผมมองว่ามันไม่จำเป็นเสมอไป เพราะใน text book ที่เป็นเนื้อหาทางด้านเทคโนโลยีนั้น ไม่ได้ใช้ grammar ที่ซับซ้อนอะไรนัก และก็ใช้ Grammar อยู่ไม่กี่แบบ ถ้าหากเราอ่านภาษาอังกฤษไปเรื่อยๆ แล้วสงสัยเรื่อง grammar ผมแนะนำให้ไปหาซื้อหนังสือ Grammar มาไว้เล่มนึงเล่มไหนก็ได้ เพราะไม่แตกต่างกันมากนัก เมื่อสงสัยในรูปประโยคก็ให้เปิดอ่านดู พอทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะพบว่ารูปแบบ grammar จะเริ่มซ้ำๆกัน เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่าไม่ค่อยรู้เรื่อง grammar แล้วจะทำให้อ่าน text book ไม่ได้ การเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมเป็นสิ่งที่ดี ถ้าไม่ขัดสนเรื่องค่าเรียนผมก็แนะนำให้เรียน แต่ถ้ายังไม่อยากจ่ายเพิ่มก็จะบอกว่าไม่เป็นไรไม่ต้องห่วง ขยันอ่านไปเรื่อยๆ เปิดdictบ่อยๆ เดี๋ยวก็ได้เองครับ จากนี้ไปผมจะเริ่มเข้าส่วนของnetworkแล้วนะครับ
เริ่มจากพื้นฐาน
การจะเป็น Networker ที่ดีจะต้องมีพื้นฐานที่แน่น(มากๆ) ทั้งนี้เป็นเพราะว่า Networking technology นั้นพัฒนาไปเร็วมาก และมีความจำเป็นต่อระบบแทบจะทุกระบบมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้เราจะเห็นว่า OS อย่างพวก DOS, windows 3.1 ก็ยังเป็นแค่ OS ธรรมดา แต่ปัจจุบัน ตั้งแต่ 98, ME, 2000, XP, Longhorn ล้วนแล้วแต่มีส่วนประกอบของความเป็น Networking มากขึ้นเรื่อยๆ การที่จะเข้าใจในเทคโนโลยีที่พัฒนาเร็วได้นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพื้นฐาน ไม่ใช่การพยายามทำความเข้าใจการทำงานเทคโนโลยีใหม่ๆทั้งหมด (สังเกตุว่าผมไม่ได้ใช้คำว่า เปลี่ยนไปเร็วนะครับ แต่ผมใช้คำว่า พัฒนา ไปเร็ว เพราะnetworking technology ใหม่ๆมักจะยังคงใช้พื้นฐานเดิมอยู่ตลอด) ในชีวิตการทำงานของพวกมือโปรนั้น เขาจะเจอเทคโนโลยี เจอโปรโตคอลใหม่ๆอยู่ตลอด ยิ่งทำงานในระดับสูงขึ้นก็จะยิ่งเจอตัวประหลาดๆมากขึ้น และเราไม่มีเวลามานั่งอ่านนั่งศึกษามันก่อนที่เราจะเริ่มงานได้หรอกครับ จากที่ผมประสบมา บ่อยครั้งที่ผมมีเวลาให้เรียนรู้และทำความเข้าใจการทำงานของหลายๆเรื่องที่ใหม่สำหรับผมเพียงแค่ 2-3 นาที !!! เมื่อต้องเริ่มคุยกับพวก Vendor หรือพวก network designer หลายๆครั้ง เราต้องฟังเขาพูด และคุยกับเขาและพยายามมองให้ออกและเข้าใจมันให้ได้ว่ามันทำงานอย่างไร ฟังดูไม่น่าเป็นไปได้ แต่ผมก็ทำมาหลายครั้งแล้ว แล้วก็ไม่ใช่เฉพาะผมที่ทำแบบนี้ พวกฝรั่งที่ผมเจอมาก็เหมือนกัน เพราะบางครั้งผมจะเอาสิ่งที่ผมเคยทำมามาapplyกับงานซึ่งผมก็รู้ว่าเรื่องแบบนี้เขาไม่รู้มาก่อนแน่นอน แต่แค่คุยไปซักพัก เราก็จูนกันได้ ที่เล่าให้ฟัง อย่าพึ่งนึกหมั่นไส้ผมนะครับว่าโม้หรือเปล่า แค่อยากจะเล่าให้เห็นถึงปลายทางว่า คนที่อยากเป็น Networker จริงๆ ต้องทำให้ได้ขนาดนี้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับตัวคุณเองได้ก็ต่อเมื่อพื้นฐานคุณต้องแน่นมากๆ เท่านั้น
แล้วทำอย่างไรถึงจะมีพื้นฐานแน่น
เริ่มจากหาหนังสือภาษาไทยเกี่ยวกับ Networking มาอ่านก่อน ผมแนะนำเล่ม เปิดโลก TCP/IP เล่มนี้มีมานานแล้ว คิดว่าน่าจะมีเวอร์ชั่นใหม่ออกมาบ้าง เล่มนี้ตอนที่ผมเริ่มอ่าน ผมอ่านไปอ่านมา ประมาณสามรอบได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าอ่านจบรอบแรกแล้วอ่านรอบสองต่อเลยนะครับ พอผมอ่านจบรอบแรก ผมก็ไปอ่านเรื่องอื่นในหนังสือเล่มอื่นต่อ แล้วพอมีข้อสงสัยก็เลยกลับมาดูเล่มนี้อีกที ก็พบว่ามีบางอย่างเป็นรายละเอียดที่เราเคยอ่านผ่านไปแล้ว แต่ตอนนั้นไม่ได้เข้าใจมันจริงๆ ก็เลยเริ่มอ่านอีกรอบเป็นรอบที่สอง ปรากฏว่าเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น ก็ยังงงเหมือนกันว่าตอนอ่านรอบแรกไม่เห็นจะเข้าใจอย่างนี้เลย พออ่านจบ ก็ไปหาอย่างอื่นอ่านต่ออีก อ่านไปอ่านมาก็มีหลายเรื่องในรายละเอียดที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ก็ย้อนกลับมาเล่มเดิม สุดท้ายก็อ่านมันอีกรอบ คราวนี้กลายเป็นว่าเก็บรายละเอียดได้แทบจะทั้งหมดเลย จะเห็นว่าการอ่านหนังสือใดๆก็แล้วแต่ โดยปกติการอ่านรอบแรกมันไม่ได้ทำให้เราเข้าใจทั้งหมดของมันได้ ถึงแม้บางคนจะบอกว่าอ่านแล้วเข้าใจ แต่เขาก็ไม่สามารถเก็บรายละเอียดได้ครบทั้งหมดอยู่ดี และโดยปกติคนเรามักจะมองว่าเมื่อเล่มนี้อ่านผ่านไปแล้ว ก็ขี้เกียจมาอ่านซ้ำ สิ่งเหล่านี้สามารถโยงไปถึงประโยคที่ว่าการจะทำให้พื้นฐานแน่นได้อย่างไรคือ จะต้องมีนิสัยไม่มองข้ามและดูแคลนสิ่งที่เราเคยรู้ว่า เราเคยผ่าน เคยอ่านมาแล้ว จนทำให้เกิดความคิดว่าไม่จำเป็นต้องทวนอีกรอบ ไม่ว่าจะด้วยเรื่องพื้นฐานแค่ไหน หากเราได้มีโอกาสทบทวนมัน เราก็จะเจอสิ่งเล็กๆน้อยๆ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ได้ถูกบรรยายโดยตรงผ่านตัวอักษรปรากฏให้เราเข้าใจได้ ซึ่งสิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้แหละที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคำว่าพื้นฐานแน่น ผมไม่ได้บอกว่านะครับว่าเวลาคุณอ่านหนังสืออะไรก็แล้วแต่ ต้องอ่านมันสองสามรอบเสมอ ถ้าสังเกตุให้ดีการอ่านรอบสองรอบสามของผมนั้นเกิดจากการที่ผมไม่เข้าใจในสิ่งที่ผมไปเจอมาใหม่แต่เกี่ยวกับเรื่องที่เคยอ่านมาแล้ว ผมก็เลยย้อนกลับไปอ่านอีกรอบ ซึ่งจริงๆมันไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องย้อนกลับมาอ่านอีกรอบ ใจความสำคัญคือ ต้องบอกตัวเองเสมอว่าเรายังไม่รู้เรื่องที่เราเคยรู้มาทั้งหมดอยู่เสมอ ถ้าหากมีโอกาสเราเจอมันอีกรอบก็ควรลองอ่านมันอีกรอบดู เช่นถ้าเราไปเจอคนเขียนเรื่อง OSI 7 layer ก็ไม่ควรมองว่าเคยรู้แล้วก็ไม่น่าสนใจ ผมเองเจอหลายครั้งเหมือนกันที่คนที่เขียนถึงเรื่อง OSI เขียนออกมาในมุมมองที่ต่างกัน ทำให้พออ่านไปก็เห็นภาพมากขึ้นๆ ในตัวอย่างของผมจะเห็นว่าแม้แต่เรื่อง OSI 7 layer เอง ตัวผมก็อ่านหลายๆรอบจากหลายๆที่ ที่ผมไปเจอมาเช่นกัน
ที่กล่าวมาเป็นวิธีการอ่านหนังสือนะครับ ทีนี้ผมพอจะมีหนังสือแนะนำให้ไปลองหาอ่านดู
1. เปิดโลก TCP/IP และโปรโตคอลของอินเตอร์เน็ต
2. เจาะระบบ TCP/IP จุดอ่อนของโปรโตคอลและวิธีป้องกัน
เอาแค่สองเล่มนี้ถ้าคุณอ่านจนพรุนก็ถือว่ารู้ขึ้นเยอะมากแล้วครับ แต่ขอแนะนำให้อ่านเล่มที่หนึ่งก่อนจนเข้าใจแล้วค่อยเริ่มต่อเล่มที่สอง สองเล่มที่กล่าวถึงเป็นการเน้นเรื่องทฤษฏีเป็นหลัก เล่มที่สามที่อยากจะแนะนำคือ เรียนรู้ระบบเน็ตเวิร์กจากอุปกรณ์ของ CISCO ภาคปฏิบัติ เล่มนี้ผมเองยังไม่ได้มีโอกาสอ่านในรายละเอียด แต่ได้มีโอกาสเปิดอ่านดูคร่าวๆในร้านหนังสือ ดูแล้วคิดว่าเป็นหนังสือที่ดีอีกเล่มหนึ่ง เพราะสามารถที่จะเชื่อมโยงเรื่องของทฤษฏีกับปฏิบติเข้าด้วยกันได้ สำหรับใครที่คิดว่าตัวเองยังใหม่อยู่ เนื้อหายังไม่คล่องมากนัก ก็ขอแนะนำว่าอย่าพึ่งรีบอ่านเล่มนี้ ให้ย้อนกลับไปอ่านสองเล่มแรกนั้นก่อน ถ้าทฤษฏีเรายังไม่แน่นพอแล้วไปอ่านเล่มปฏิบัติ เราจะงงได้ เพราะพอพื้นไม่แน่นแล้วเขาพาลงcommmandใช้งาน เราก็จะงง ไม่รู้ว่าผลของcommandแต่ละตัวมีไว้เพื่ออะไร ทำไมเราต้องสั่งแบบนี้ เราคาดหวังว่ามันจะตอบสนองเราอย่างไรเมื่อสั่งแบบนี้แบบนั้น พอเริ่มเกิดอาการนี้ก็จะเริ่มทำให้เราเขวได้ สับสนและงงไปในที่สุด จับต้นชนปลายไม่ถูก แต่ถ้าคนที่คิดว่ามีพื้นมาบ้างพอสมควรแล้วก็อาจเริ่มที่เล่มนี้เลยก็ได้ ในช่วงที่อ่านเล่มนี้ก็แนะนำให้ไปหา simulator ในระดับ ccna มาเล่นตามไปด้วย ก็จะทำให้คล่องขึ้น การเล่น simulator นั้นต้องพึงระลึกไว้อย่างหนึ่งว่ามันไม่ใช่ router จริง เพราะฉะนั้นมันไม่ได้มีครบทุกคำสั่งให้เราเล่น และrespond message ของมันก็เป็นแค่การจำลองขึ้นมา มันอาจจะไม่เหมือน router จริงในหลายๆครั้ง ก็ต้องทำใจในระดับหนึ่งนะครับ หลังจากจบเล่มนี้ คราวนี้ผมแนะนำว่าให้เตรียมสอบ ccna ได้แล้ว
วิธีการเตรียมตัวสอบ ccna
ให้ไปซื้อหนังสือ cisco press ccna มา ชุดหนึ่งมีสองเล่มราคาลดแล้วประมาณ 1,800 บาท หรือไม่ก็ใช้วิธี download จาก internet ซึ่งไม่น่าจะหายากนัก ถ้าไม่รู้จะเริ่มที่ไหนก็ไปที่ www.net130.com [!] ก่อนก็ได้ ที่นี่จะมี cisco material เยอะมาก เมื่อได้มาแล้วแนะนำให้ print ออกมาอ่านจะดีกว่า โดยปกติการอ่านจากกระดาษจะทำให้จำเนื้อหาได้ง่ายกว่าอ่านจากcom เพราะมันจดได้วาดรูปได้ คราวนี้เราจะต้องอ่านtext book เพื่อเก็บรายละเอียดไว้ให้ได้มากที่สุด จากประสบการณ์การสอบ cert ของผม ในบรรดา cert ที่ผมผ่านมาทั้งหมด ผมถือว่า ccna เป็น cert ที่สำคัญที่สุดสำหรับผม บางคนที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันมากนัก แล้วสอบได้ ccna มาง่ายเกินไป ผมก็บอกได้เลยว่าคุณกำลังพลาดสิ่งดีๆไป เพราะคนที่ได้ ccna มาแล้ว น้อยมากที่จะยอมย้อนกลับมาอ่านเนื้อหาพื้นฐานระดับ ccna อีกรอบ ผมอยากให้พยายามเน้นให้มากที่สุดสำหรับ ccna อ่านเนื้อหาและจดลงไปในกระดาษหรือหนังสือให้มากที่สุด ยิ่งคุณทำให้หนังสือคุณเยินได้มากเท่าไหร่ คุณก็จะได้ความรู้มากเท่านั้น ยิ่งหนังสือคุณขาวสะอาดมากเท่าไหร่คุณก็ยิ่งเสียเวลาไปเปล่าประโยชน์กับการอ่านมากเท่านั้น เมื่ออ่านจบแต่ละบทอย่าลืมย้อนกลับไปทำแบบฝึกหัดท้ายบทเสมอ และที่สำคัญฝึกปฏิบัติด้วย จะด้วย router จริงหรือ simulator ก็ได้ จากนั้นให้ download testking มาอ่าน วิธีอ่านคือ ให้ทำข้อสอบทีละข้อพอตอบแล้ว ก็ให้ดูเฉลยของแต่ละข้อเลย ถ้าข้อไหนตอบผิดก็ให้จดเลขข้อนั้นไว้ จากนั้นก็ให้อ่านเฉลยและทำความเข้าใจว่าเราตอบผิดได้อย่างไร อะไรคือความเข้าใจผิดของเราที่ทำให้ตอบผิด ในกรณีที่บางข้อไม่มีเฉลย ก็ต้องเข้า google แล้วค้นหาดู ซึ่งคิดว่าน่าจะพอหาได้ไม่ยาก พูดถึง google อยากบอกว่า networker ที่ดีจะต้องฝึกใช้ google ให้คล่องเพื่อใช้หาข้อมูลให้เก่งนะครับ กลับมาที่การอ่าน testking ให้ทำอย่างที่แนะนำไปจนจบรอบแรก จากนั้นให้เริ่มรอบสอง แต่คราวนี้ให้ทำเฉพาะข้อที่เคยตอบผิด คราวนี้ทุกข้อที่เราตอบ เราจะต้องอธิบายในใจเราเองได้ว่าทำไมเราถึงตอบข้อนี้ (ซึ่งเราเข้าใจจากการพยายามทำความเข้าใจกับเฉลยมาแล้วในรอบแรก) ถ้าเรายังตอบโดยแค่จำได้ว่าถ้าจะให้ถูกต้องตอบข้อนี้ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ให้จดเลขข้อนั้นไว้เพราะถือว่าไม่ผ่าน แล้วก็อ่านเฉลยและพยายามทำความเข้าใจอีกทีให้ได้ วิธีแบบนี้ เราไม่สามารถโกหกตัวเราเองได้ เราจะจำเอาหรือจะเข้าใจเอา เรารู้ตัวเราเองดีที่สุด ให้ทำอย่างนี้วนรอบจนกว่าจะถึงรอบสามรอบสี่จนกว่าจะเคลียร์ได้ครบทุกข้อแล้ว คราวนี้ทำรอบสุดท้าย ทั้งหมดใหม่อีกรอบ คราวนี้เราควรตอบได้ถูกไม่ต่ำกว่า 85% บางคนอาจจะแย้งในใจว่าการใช้ testking ไม่ดี ผมก็จะตอบว่ามันขึ้นกับการใช้ต่างหากว่าใช้เป็นหรือไม่ สมมุติว่าเราทำมาถึงขั้นนี้แล้ว ผมจะบอกว่าการเดินเข้าห้องสอบเพิ่มอีกแค่สามชั่วโมงไม่ได้ทำให้ความรู้เราเพิ่มขึ้นหรือแย่ลงเพราะเราอ่าน testking ก่อนเข้าห้องสอบ พอเดินออกมาจากห้องสอบยังไงสามชั่วโมงผ่านไป ความรู้ก็เท่าๆเดิมนั่นแหละกับก่อนเข้าห้องสอบ ต่างกันแค่จะมี cert ติดมือออกมาด้วยหรือเปล่าแค่นั้นเอง เพราะฉะนั้นอย่าไปยึดติดว่ามันคือ testking เลยนะครับ ขออย่างเดียวใช้มันให้เป็นเป็นสำคัญ ลองนึกดูว่าถ้าเราใช้ testkingเพื่อเป็นแบบฝึกหัดตามที่ผมแนะนำจนครบทุกรอบแล้ว แล้วเราเปลี่ยนใจไม่ไปสอบ ถามว่าการอ่าน testking เป็นเรื่องไม่ดีหรือไม่ ทุกคนน่าจะมองเหมือนกันว่า testking กลายเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันมีแบบฝึกหัดให้ทำกว่าหกร้อยข้อ เห็นไหมว่าคำว่า testking นั้นมันไม่ได้เป็นสิ่งที่แย่เหมือนในความคิดของหลายๆคนเลยนะครับ ขอให้ใช้ให้เป็นเป็นพอ
ถ้าใครไม่ได้รีบร้อนอะไรว่าบริษัทบังคับต้องได้ ccna ภายใน สองเดือนนี้ ผมแนะนำให้ใช้เวลาเตรียมตัว อ่านหนังสือจนสอบได้ cert ccna มารวมกันไม่ต่ำกว่าหกเดือน โดยที่ภายในหกเดือนนี้ ไม่ใช่เอ้อระเหยลอยชายไปเรื่อยๆนะครับ คุณต้องขยันอ่านหนังสือทุกๆวัน วันละไม่ต่ำกว่า 2-3 ชั่วโมง ขอให้พยายามเน้นให้มากๆกับการได้ ccna มาแล้ว สิ่งนี้จะกลายเป็นสิ่งสำคัญในการก้าวไปในอนาคตข้างหน้าของ Networker
พอมาถึงจุดนี้ถ้าคุณสามารถทำตามที่ผมแนะนำมาได้ทั้งหมด ผมการันตีได้เลยว่า ccna ที่คุณได้มานั้น แน่นพอในระดับหนึ่งแล้วล่ะครับ
จากที่กล่าวมาถือว่าเป็น step แรกของการก้าวขึ้นมาเป็น Networker โดยนับมาถึงจุด mile stone ว่าเราได้ cert ccna มาไว้ในมือแล้วนะครับ ถัดจากนี้ผมขอติดไว้ก่อนแล้วเดี๋ยวกลับมาเล่าต่อว่า ควรทำตัวอย่างไรต่อ ควรหางานแบบไหน ควรเลี่ยงงานแบบไหน เพื่อให้เส้นทางไปสู่ Networker นั้นตรงมากที่สุด
Part III
ต่อจากครั้งที่แล้ว ตอนนี้สมมุติว่าเรามาถึงจุดที่มี cert ccna และความรู้พื้นฐานติดตัวเรียบร้อยแล้วนะครับ ถัดจากนี้สิ่งที่ผมอยากแนะนำต่อมีสองอย่างด้วยกัน อย่างแรกคือวิธีการผันตัวเองให้เข้ามาใกล้เคียงสาย network มากขึ้น อย่างที่สองคือการพัฒนาตัวเองขึ้นไปอีกในระดับ design และ ccnp
วิธีการผันตัวเองตัวเองเพื่อให้เข้าสู่ทางเดินสาย Networker
จุดนี้เราจะเริ่มจากจุดที่ว่าเรามี ccna แล้ว แต่ยังไม่ได้มีโอกาสทำงานสาย Network การที่จะหาทางผันตัวเองเพื่อให้เดินไปในสาย Networker นั้น จะต้องดูที่สุดขอบของคำว่า Networker ก่อนว่าอยู่จุดไหน ในกรณีที่จะพูดถึงนี้จะขอจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะคนที่ยังได้ทำงานด้านเทคนิคอยู่นะครับ จะไม่รวมถึงกรณีคนที่เปลี่ยนจาก Networker ไปเป็น management เช่น CIO, CTO, VP เป็นต้น เพราะคนกลุ่มนี้จะทำงานแบบ management แทน ย้อนกลับมาคำว่าสุดขอบของพวก Networker ก็จะเป็นพวกที่มีเงินเดือนระดับ 100,000-130,000 โดยปรกติเขาจะไม่จ้างคนมาทำ Network สูงไปกว่านี้ เพราะไม่ถือว่าคุ้มแล้ว (โดยมากมักจะใช้วิธี promote ไปทำงาน management แทน ยกเว้นบางกรณีพิเศษก็มีบ้างแต่น้อยมาก) Networker ระดับสูงเหล่านี้เกือบจะทั้งหมดจะอยู่ในบริษัทสองกลุ่มคือ SI (เช่น datacraft, AIT) และ vendor (เช่น Cisco, 3Com, Nortel) จุดนี้ทำให้เห็นว่าป้ายสุดท้ายของคนที่จะเป็น Newtorker ระดับบนนั้นจะอยู่ที่ SI หรือ vendor เป็นหลัก ที่นี้เราจะต้องมาดูว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถเข้าไปถึงจุดที่กล่าวมาได้
เริ่มจากการหางาน หลักการเลือกบริษัทที่ควรไปอยู่นะครับ
1. เน้นพวก Network SI เป็นหลัก เช่น Datacraft, AIT, IBM, HP ไล่ตั้งแต่ใหญ่ๆ ไปจนถึงกลางและระดับเล็ก ผมแนะนำให้ลองเข้า www.sanook.com แล้วลองเข้าไปหาในพวกหมวดคอมพิวเตอร์และร้านค้า เพื่อจะได้เห็นว่า directory ของบริษัท network ในเมืองไทยมีใครบ้าง
2. พยายามอย่าไปอยู่พวกบริษัทที่เน้นด้าน software house โดยมากบริษัทพวกนี้จะเน้นพัฒนาและขาย software เป็นหลัก แต่เนื่องจากว่าในพักหลักๆลูกค้าหลายรายมักจะมองรวมเป็นการซื้อทั้งระบบแทน คือซื้อทั้งระบบ Infrastructure และ Software development พร้อมๆกัน ผลคือ Software house หลายๆรายทำไม่ได้เพราะไม่ถนัด SI พวก infrastructure (เช่น Server, router, switch, wan, vpn) ทำให้ไม่ได้งาน พักหลังๆมาจะเริ่มเห็นว่า software house หลายๆรายเปิดรับสมัครพนักงานมาทำด้าน SI ด้วย แต่จะเป็นทีมที่ไม่ใหญ่นัก ฟังดูก็น่าจะโอเค แต่ในมุมมองผม(ซึ่งอาจไม่ถูกก็ได้) ผมมองว่าถึงแม้จะมีทีม SI ข้างใน แต่โดยหลักของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของที่นี่ก็จะเน้นไปพวกที่ต้องการ software อยู่ดี ผลคืองานด้าน SI มีแต่เข้ามาน้อย ผลที่ตามมาคือ เราอาจไม่ได้มีโอกาสได้ทำงานมากนัก ประสบการณ์ที่ควรจะได้เมื่อเทียบกับเวลาที่ผ่านไปก็จะต่ำลง ในมุมมองผม ถ้าหากคุณไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงินเรื่องที่ทำงานเก่ามากนัก แล้วปรากฏว่าที่นี่เขาตอบรับคุณ คุณน่าจะปฏิเสธเขาไปแล้วรอจังหวะคนที่เข้าตาเราตอบกลับมาจะดีกว่า อย่าลืมนะครับว่าตอนนี้เราสามารถพัฒนาตัวเองจนมีอาวุธสองอย่างอยู่ในมือแล้วคือ ccna และความรู้(ที่แน่น) ccna ทำให้เรามีโอกาสที่จะถูกเรียกไปสัมภาษณ์ได้สูงขึ้น ความรู้ที่มีทำให้เราสามารถตอบตอนโดนสัมภาษณ์ได้เข้าตากรรมการ ถ้าพูดให้ชัด ตอนนี้คุณมีไพ่เป็นต่อในตลาดแรงงาน เพราะฉะนั้นอย่ารีบในการเลือกงาน ให้พิถีพิถันนะครับ
3. ระวังเรื่องเงินเดือน ในบางครั้งการที่เราพยายามเลือกบริษัทที่ให้เงินเดือนสูงสุดนั้น อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเรา คนส่วนใหญ่เมื่อหางานมักจะมองอยู่เพียงสองอย่างคือ งานน่าสนใจ และเงินเดือนดี ถ้าหากทั้งสองสิ่งนี้มาบรรจบกัน เกือบร้อยทั้งร้อยก็จะตกลงใจไปทำที่บริษัทนั้น สิ่งนี้คือสิ่งที่ผมเคยกล่าวถึงในช่วงต้นๆว่าการจะก้าวขึ้นถึงระสูงบางครั้งต้องอาศัยดวงด้วย (แต่บางครั้งเรากำหนดเองได้) ก็คืออาการอย่างที่ว่าคือถ้าเจองานดีเงินดี เราก็จะเลือก แต่เราลืมนึกถึงไปอย่างหนึ่งคือ บริษัทที่เราไปทำนั้นมันอยู่บนทางที่เราจะเดินต่อไปหรือยัง การจะเดินทางได้ตรง จะต้องรู้ก่อนว่าเป้าหมายคือที่ไหน ก็เหมือนกับการขีดเส้นตรง ต้องรู้ก่อนว่าจุดสุดท้ายอยู่ที่ไหน แล้วก็ขีดเส้นไปหา จากนั้นก็เดินตามเส้นนั้น ถ้าหากเราเลือกงานแบบเฉพาะหน้า(มองแค่ว่างานดีเงินดี)ล่ะก็ เป้าหมายของเราก็จะขึ้นกับดวงแต่ละคนว่างานที่ว่า คืองานน่าสนใจเงินก็ดีนั้นมันอยู่ในเส้นทางเป้าหมายเราหรือไม่ ถ้าอยู่ก็โชคดีไป ถ้าไม่อยู่ก็แย่ไป (และคนส่วนใหญ่ก็มักเอาตัวเองไปขึ้นอยู่กับดวงซะด้วย) ย้อนกลับมาเรื่องเงินเดือน ในบางครั้งการที่เงินเดือนของสองบริษัทต่างกันไม่มากนัก เช่น 20,000-22,000 แต่รูปแบบงานต่างกัน ผมแนะนำว่าให้ตัดเรื่องเงินเดือนออก แล้วให้ดูที่เนื้องานเป็นหลักว่าใครใกล้เคียงกับเส้นทางของเรามากที่สุด บางคนอาจแย้งว่าชีวิตต้องทำมาหากิน มีภาระต้องเลี้ยงดู เป็นต้น ควรจะดูที่ที่ให้เงินเดือนมากที่สุดเข้าไว้ อันนี้ก็อาจต้องขึ้นกับแต่ละคนนะครับเพราะแต่ละคนย่มข้อจำกัดที่แตกต่างกัน มีอย่างหนึ่งที่ควรรู้คือ โดยปกติ ช่วงของการเปลี่ยนงานที่ดีเหมาะสมที่สุดคือช่วง 3-5 ปีถ้าต่ำกว่า 3 ปี จะทำให้ประสบการณ์ไม่แน่นพอและ Profile ใน resume จะดูไม่ดีเพราะเปลี่ยนงานบ่อย แต่ถ้ามากกว่า 5 ปี จะเริ่มเกิดอาการรากงอก แก่วัด การพัฒนาต่างๆจะเริ่มลดลงเพราะรู้งานแทบจะทั้งหมดแล้ว กลายเป็นแค่ทำงานประจำวันไปเรื่อยๆ ดังนั้นช่วง 3-5 ปีเป็นช่วงเหมาะที่สุดที่จะเปลี่ยนงาน ช่วงนี้สำคัญอย่างไร จะขอยกตัวอย่างให้ฟังสองคน
คนที่1 ได้บริษัท A ได้เงินเดือน 22,000 แต่งานไม่ตรงกับเส้นทางที่จะเดินมากนัก คือก็มีงานที่เราชอบอยู่บ้างแต่ไม่ได้เน้นโดยตรง(เพราะเรายังรู้สึกว่างานน่าสนใจอยู่เราจึงเลือกที่นี่ แถมเงินมากกว่าด้วย)
ปีที่ 1 เงินเดือน 22,000
ปีที่ 2 เงินเดือนเพิ่ม 5% = 22,000*1.05 = 23,100
ปีที่ 3 เงินเดือนเพิ่ม 5% = 23,100*1.05 = 24,255
ปีที่ 4 เปลี่ยนงาน
คนที่2 ได้บริษัท B ได้เงินเดือน 20,000 แต่งานตรงกับเส้นทางที่ต้องการเดินถึงแม้เงินจะน้อยกว่า
ปีที่ 1 เงินเดือน 20,000
ปีที่ 2 เงินเดือนเพิ่ม 5% = 20,000*1.05 = 21,000
ปีที่ 3 เงินเดือนเพิ่ม 5% = 23,100*1.05 = 22,050
ปีที่ 4 เปลี่ยนงาน
ถ้าดูจากการเปรียบเทียบนี้จะเห็นว่าคนที่1 นั้นดูดีกว่าคนที่สองเพราะได้ทำงานที่ชอบ ได้เงินเยอะกว่า อันนี้เห็นด้วย แต่ความแตกต่างจะเกิดขึ้นในช่วงปีที่ 4 หรือการเปลี่ยนงานครั้งต่อไป มีความเป็นไปได้สูงที่เมื่อถึงปีที่สี่ คนที่สองจะมีความรู้มากกว่าคนที่หนึ่งเพราะเขาทำงานได้ตรงสายมากกว่าและได้ประสบการณ์การทำงานมากกว่า เช่นพวกที่ไปอยู่ SI สาย Network เมื่อเทียบกับคนที่เข้าไปเป็น network admin ในองค์กรทั่วไป และก็เช่นกันว่าคนที่หนึ่งอาจโดนบังคับ หรือต้องบังคับตัวเองจนกระทั่งได้ทั้ง cert ccnp และความรู้ คราวนี้พอถึงตอนเปลี่ยนงาน ความต่างจะเกิดขึ้น
เริ่มจากคนที่ 1 ได้เงินเดือนที่ 24,255 คนที่ 2 ได้เงินเดือนที่ 22,050 ผมประเมินเล่นๆนะครับ (ต่คิดว่าน่าจะใกล้เคียงความจริง เมื่อเปลี่ยนงานอีกครั้งคนที่ 1 อาจจะได้เงินเดือน 28,000 – 32,000 โดยดูจากประสบการณ์ที่ผ่านมาและฐานเงินเดือนเดิม ในขณะที่คนที่สองอาจจะได้ 35,000 – 45,000 โดยดูจากประสบการณ์ cert และความรู้ จุดที่ต่างจากคนแรกคือฐานเงินเดือนเดิมไม่ได้ถูกนับมาคิดมากนัก เพราะพวก SI ตอนรับคนจะดูจากความสามารถเป็นหลัก และถ้าเวลาผ่านไปและเกิดการเปลี่ยนงานอีกรอบ ความแตกต่างก็จะเริ่มชัดมากขึ้น ในขณะที่โอกาสคนที่หนึ่งจะปรับตัวเข้ามาในสายของคนที่สองก็จะยากขึ้นเช่นกัน
ที่เล่ามานะครับ พอจะสรุปได้ว่า ในช่วงเริ่มต้นจะต้องใจเย็นๆในการเลือกเส้นทางเดิน คิดให้ออกว่าเป้าหมายเราอยู่ที่จุดไหน แล้วก็พิถีพิถันในการตัดสินใจเลือกให้ดี เมื่อเลือกได้แล้วเส้นทางที่เราเลือกเดินมันจะค่อยๆนำพาเราไปหาจุดหมายเรื่อยๆ ซึ่งการที่จะทำอย่างนี้ได้ เราจะต้องมีอำนาจในการต่อรองกับตลาด เราต้องเป็นฝ่ายเลือกงาน ไม่ใช่งานเลือกเรา และการจะทำให้ตัวเองมีอำนาจต่อรองกับตลาดได้ ก็โดยการพัฒนาตัวเองให้มีคุณค่าโดยการหา cert เช่น ccna มาติดตัวไว้ และต้องมีความรู้(ระดับพื้นฐาน)ที่แน่นติดตัวไว้เช่นกัน ถ้าคุณมีสองสิ่งนี้ในมือ คุณก็จะมีอำนาจในการต่อรองและเลือกงาน เลือกเส้นทางเดินตามที่ต้องการได้
มาถึงจุดนี้คุณพอมองเห็นความสำคัญของการได้ cert ccna มาอย่างที่ผมเคยบอกไว้หรือยังครับว่ามันสำคัญแค่ไหน ผมว่ามันคือตัวที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชีวิตการทำงานของคุณได้เลยทีเดียว สำหรับใครที่ได้ cert ccna มาง่ายเกินไป โดยมีความรู้ติดตัวไม่แน่นเพียงพอ ผมอยากจะบอกว่าคนสัมภาษณ์เขาดูออกแน่นอนว่าใครของจริงใครของปลอม ผมเคยสัมภาษณ์คนมากเยอะพอควร บอกได้เลยว่าคนสัมภาษณ์เขาคุยด้วยไม่ถึง 5 นาทีก็รู้แล้วครับ เพราะฉะนั้นคุณต้องมีความรู้แน่นจริงๆเท่านั้นถึงจะผ่านด่านไปได้
อันนี้คือบทสรุปผมง่ายๆนะครับ แนะนำว่าให้ไปอยู่พวก SI หรือไม่ก็ Vendor เป็นหลัก ให้เลือกพวกที่ทำสาย Network โดยตรงเป็นหลัก เลือกบริษัทที่มีงบสนับสนุนส่งไปเรียนและสอบ cert เป็นหลัก ถ้าจะเข้าไปเป็น network admin ก็ให้เลือกบริษัทขนาดใหญ่ หรือที่มีสาขาหลายๆสาขา ควรหลีกเลี่ยงบริษัทขนาดเล็ก จากนั้นก็ให้แต่ง resume ที่จะแสดงให้ดูน่าสนใจ พยายามส่ง Resume ไปทุกที่น่าจะเป็นเป้าหมายของเรารวมถึงพวก head hunter ด้วย
นี่คือแหล่งของพวก Head hunter ลองโทรไปคุยกับเขาดู แล้วก็ส่ง resume ไปให้เขา โดยปกติพวก head hunter อยากจะได้ resume ของพวก IT เก็บไว้ โดยเฉพาะพวกที่มี cert เพราะ ถ้าเขาสามารถหางานให้กับเราได้ เขาก็จะได้ค่านายหน้าจากบริษัทที่ต้องการคน พวก head hunter จะพยายามหางานให้เราเอง ยิ่งเรามีเครื่องประดับ(cert) มาก เขาก็จะยิ่งช่วยเรามากขึ้น เพราะถ้ายิ่งตำแหน่งเราได้เงินเดือนสูงเขาก็ได้ค่านายหน้าสูงด้วย (แต่เราไม่ต้องจ่ายอะไรให้เขานะครับ อย่าเข้าใจผิด) ส่วนใหญ่บริษัทใหญ่ๆเวลาเขาต้องการคน ก็จะมาบอกพวก Head hunter ให้หาคนให้ เพราะฉะนั้นพยายามเอา resume ตัวเองไปอยู่ใน database เขาไว้นะครับ
eTechnology Executive IT Recruitment,
Software Park 6th Fl., Unit E
99/29 chaengwattana Rd.,Pakkred, Nonthaburi 11120
Fax: (+66) 2 964 9729 Website: www.etechnology.co.th
Kanjana W.
kanjana@et.co.th
Tel: (+66) 2 964 9725 EXT.117
Nattakit 02 964 9725 ext 122
ISM Technology Recruitment, K.Rachaneewan 02 634 3800
http://www.jobsdb.com/TH
http://www.jobtopgun.com/
ครั้งหน้าผมจะเล่าต่อเรื่องการพัฒนาตัวเองขึ้นถัดจะระดับ ccna
Part IV
ตอนนี้จะพูดถึงการพัฒนาถัดขึ้นมาอีกระดับคือระดับ ccda และ ccnp ผมจะขอแยกเล่าเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่สามารถเข้าไปอยู่กับพวก Network-SI หรือ Network Vendor ได้แล้ว กับอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งได้เข้าไปเป็น Network admin ขององค์กรทั่วๆไป
กลุ่มแรก
ใครที่สามารถเข้ามาอยู่ใน SI ได้ โดยมากมักจะได้ตำแหน่ง SE (System Engineer) หรือไม่ก็ NE (Network Engineer) คนในกลุ่มนี้จะมีโอกาสได้พัฒนาตัวเองค่อนข้างมากเพราะ SI มักจะมีงบส่งให้ไปเรียนและส่งสอบ ในขณะเดียวกัน งานที่ทำมักจะเป็นการติดตั้งระบบ ซึ่งอาจจะต้องเริ่มตั้งแต่การdesign จนถึง implement เลย ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้งานได้มากกว่า และในบางครั้งที่ลูกค้ามีปัญหาเรียกเราเข้าไปแก้ไข ก็จะมีแรงกดดันว่าต้องทำให้ได้ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างสภาพการเรียนรู้ได้ดี ผมจึงมักจะแนะนำอยู่เสมอว่าถ้าอยากเก่งควรจะหาทางเข้า SI ให้ได้ ทีนี้เมื่อมาอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างส่งเสริมเราแล้ว เราก็ควรพยายามเรียนรู้ให้ดีที่สุดเช่นกัน สิ่งที่จะแนะนำต่อไปนี้อาจจะพอใช้เป็นแนวทางได้บ้างนะครับ สำหรับคนที่ได้ ccna มาแล้ว ผมแนะนำให้หาทางสอบเอา ccda มาไว้เป็นตัวถัดไป โดยปกติ เนื้อหาฝั่ง design นั้นหลายๆคนจะพูดเหมือนกันหมดว่าค่อนข้างยาก จึงมีคนสอบกันค่อนข้างน้อย แล้วก็ไปเน้นกันที่ ccnp เลย เพราะถือว่าเป็นตัวที่ใหญ่กว่า อันที่จริงแล้วเนื้อหาด้านการdesign นั้นจะเป็นเนื้อที่ทำให้เราสามารถเข้าใจในภาพใหญ่ได้ค่อนข้างดี ทำให้เราสามารถมองภาพรวมออกได้ และทำให้เรารู้ถึงข้อดีข้อเสียของการ implement แต่ละแบบ ผมมีโอกาสได้เห็นระบบเครือข่ายขนาดเล็กถึงกลางที่มีคนทำไว้ก่อนหน้านี้หลายอันที่ถูกออกแบบไว้ไม่สมบูรณ์พอ ซึ่งมีสิ่งหนึ่งที่เป็นที่น่าสังเกตุคือ รูปแบบของเครือข่ายถูกออกแบบไว้นั้นจะคล้ายๆกัน พูดง่ายๆคือมาจากตำราเล่มเดียวกันอะไรประมาณนั้น แต่ว่าถึงแม้จะใช้หลักการการimplement คล้ายกัน แต่พอเอาเข้าจริงกลับกลายเป็นว่าnetworkของแต่ละที่กลับทำงานได้ไม่เท่ากัน สาเหตุที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่าการออกแบบและติดตั้งnetworkใดๆก็แล้วแต่ จะไม่มีรูปแบบจายตัวที่สมบูรณ์ที่สุดเสมอไป มันจะมีเพียงแค่คำแนะนำในการออกแบบ คนที่เข้าใจในnetworkดีเท่านั้น ที่จะสามารถออกแบบให้ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมของแต่ละที่ รวมถึงความต้องการของเจ้าของ network ของแต่ละรายด้วย อันที่จริงการออกแบบNetworkนั้นหลายๆคนอาจบอกว่าเป็นเรื่องง่ายๆ แต่การออกแบบNetworkที่ดี รัดกุม และสามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องไม่หมู คนที่จะทำได้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจใน Network ค่อนข้างดี ซึ่งเนื้อหาที่จะสอนเราให้ทำสิ่งเหล่านี้ได้นั้น ไม่ใช่ ccnp แต่เป็น ccda ถ้าหากใครเคยอ่าน ccda มาก่อนจะรู้สึกว่าอ่านยาก เพราะมันเป็นเนื้อหาที่คล้ายๆกับน้ำท่วมทุ่ง อ่านแล้วจับประเด็นไม่ได้ หรือจับได้ยาก ไม่เหมือนกับ ccna ที่เป็นเรื่องๆ คำสั่งก็เป็นอันๆไป ทำให้อ่านได้ง่ายกว่า ทำให้หลายคนอาจมองข้าม ccda ไป แต่อันที่จริง สิ่งทีเรารู้สึกว่าเป็นน้ำนั่นแหละคือหัวใจสำคัญ ถ้าจะให้เปรียบเทียบให้ง่ายๆก็ประมาณว่า ตอนที่เราอยากจะรู้เรื่อง network ดีๆและ design network เก่งๆ บังเอิญว่าเราไปรู้จักกับรุ่นพี่คนหนึ่งซึ่งจัดเป็นมือ designer ที่เก่งมาก คุณก็เลยเข้าไปคุยกับเขาเพื่อให้เขาช่วยสอนให้หน่อยว่าต้องออกแบบอย่างไรมันถึงจะดี ทีนี้สิ่งที่เขาจะสอนคุณมันจะกลายเป็นเรื่องประสบการณ์มากกว่า เขาจะสอนคุณในทำนองที่ว่าในกรณีอย่างนี้นะต้องทำแบบนี้ ห้ามทำแบบนั้น เพราะว่ามันติดเรื่องนี้อยู่ หรือบางกรณีดูแล้วสามารถออกแบบได้สองวิธีให้ผลไม่แตกต่าง แต่ถ้าหากเอาปัจจัยด้านอื่นมาประกอบด้วย เช่นเรื่องของ commercial ว่าอันไหนทำแล้วคุ้มค่ากว่า อันไหนทำแล้วสามารถupgrade ไปเรื่อยๆ หรืออันไหนที่ว่าไม่ควรรีบลงทุนตั้งแต่ตอนนี้เพราะในปีหน้ามีปัจจัยอีกตัวที่จะเกิดขึ้นเราต้องเอาปัจจัยเหล่านั้นมาพิจารณาด้วย อย่างนี้เป็นต้น คุณจะเห็นว่าถ้ามานั่งคุยกัน รับรองคุยได้เป็นวัน อย่างมานั่งคุยกับผมเนี่ย ผมก็พูดไปได้เรื่อยๆเหมือนกัน เพราะเวลาออกแบบจริงๆ ปัจจัยมันเยอะมาก คุณพอจะสังเกตุออกไหมว่าสิ่งที่ยกตัวอย่างมานี้ บางทีถ้าคุณมานั่งฟังรุ่นพี่คนนั้นสอนคุย คุณอาจฟังเขาอยู่ทั้งวันโดยที่ไม่สามารถจดอะไรเป็นชิ้นเป็นอันได้เลย เพราะสิ่งที่เขาพูดให้ฟัง มันไม่ได้มาจากความจำว่ากรณีนี้ต้องอย่างนี้ กรณีนั้นต้องอย่างนั้น แต่มันมาจากความเข้าใจในเทคโนโลยีล้วนๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็คือสิ่งที่เราเรียกมันว่าน้ำท่วมทุ่งในเนื้อหา ccda นั่นเอง
จากที่กล่าวมา ผมอยากจะให้เห็นถึงความสำคัญของสาย design เพราะอันที่จริงมันไม่ใช่เพียงแค่คำว่า design เพราะถ้าแค่คำนี้ใครๆก็บอกว่าผมก็design ได้ทั้งนั้น แต่สิ่งที่สำคัญคือความเข้าใจเบื้องหน้าเบื้องหลัง ผลกระทบของแต่ละเทคโนโลยี และเทคนิคต่างๆ ที่จะมาประกอบกันเป็นการ design network ที่ดี ต่างหาก และสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวเสริมให้พื้นฐานคุณแน่นมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อจะสามารถก้าวต่อไปในระดับที่สูงขึ้นได้ง่ายขึ้น มีสิ่งหนึ่งที่คนที่อยากไปในสาย Network แบบสุดๆ (เช่น CCIE)ควรจะรู้คือ การเปรียบเทียบระดับของ ccna-ccnp-ccie จะเป็น 5% > 20% > 100% แปลว่าถ้าคุณได้ ccnp มาแล้ว คุณอยากจะได้ ccie คุณจะต้องพัฒนาตัวเองเพิ่มจากระดับ 20%ไปอีก 80% เพื่อให้ถึงคำว่า CCIE ที่ 100% !!! ฟังดูน่าตกใจไหมครับระหว่างความแตกต่างของคนที่ได้ CCIE กับ CCNP สิ่งนี้คือข้อเท็จจริง ที่เล่าให้ฟังนี้ ไม่ใช่ให้ท้อนะครับ แต่จะบอกว่า ถ้าคุณอยากจะก้าวไปให้ถึง มีทางเดียวคือต้องสร้างพื้นฐานให้แน่นสุดๆ ไม่งั้นคุณจะก้าวกระโดดไปไม่ได้เลย ขอแนะนำว่าให้ผ่านด่าน ccda ให้ได้ก่อนเริ่ม ccnp ครับถ้าหากไม่ต้องโดนใครบังคับให้เอา ccnp ซะก่อน
ต่อมาระดับ ccnp
ระดับนี้ไม่ใช่เรื่องยากอะไร การได้ ccnp มีสี่วิชาที่คุณต้องสอบคือ routing, switching, remote access และ troubleshooting ผมอยากจะแนะนำให้สอบตามลำดับข้างต้นนะครับ เพราะน่าจะเป็นลำดับที่เหมาะสมที่สุด ถ้าเป็นไปได้ ผมแนะนำให้ตั้งเป็นเป้าหมายเอาไว้เช่น ภายในหนึ่งเดือนหรือสองเดือนต้องได้หนึ่งตัว เพื่อให้เกิดเป็นเงื่อนไขและกติกากับตัวเอง ถ้าหากเราไม่ได้กำหนดเป้าหมายอะไรไว้ เราก็จะอ่านหนังสือไปเรื่อยๆ สุดท้าย อ่านจบข้างหลังก็ลืมข้างหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะในเนื้อหาเล่มหนึ่งๆ แต่ละเนื้อหาย่อยในนั้นมันจะผูกเป็นเรื่องเดียวกัน เราจะต้องสามารถจำเนื้อหาและเข้าใจทั้งเล่มให้ได้ และต้องสามารถมองภาพทั้งเล่มให้ออก ว่ามันพูดเรื่องอะไรบ้างเนื้อหาแต่ละบทมีแค่ไหน เอาจนบอกกับตัวเองได้ว่า “อ่านไปอ่านมามันก็ไม่เห็นมีอะไรเท่าไหร่เลย มีไม่กี่บทเอง แต่ละบทก็มีเนื้อเรื่องอยู่เท่านี้เอง” ถ้าหากคุณสามารถมองภาพรวมของเล่มนี้ได้แล้ว คราวนี้คุณก็เตรียมตัวไปสอบได้เลย ถ้าหากคุณทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนครบสี่เล่ม คราวนี้คุณจะไม่ได้แต่เพียงแค่ cert ccnp เท่านั้น แต่ระดับของคุณจะเพิ่มขึ้นมาอีกพอควรเลยทีเดียวครับ และพร้อมที่จะก้าวให้สูงขึ้นไปอีก
จากที่เล่ามาคือหนทางในการพัฒนาตัวเองถัดต่อจาก ccna ซึ่งน่าพอจะทำให้เห็นทางบ้างแล้วนะครับ สิ่งที่อยากให้ทุกคนมองออกนั้น ไม่ใช่แต่เพียงว่าต้องเดินทางนี้ แต่อยากให้รู้ว่าถ้าเริ่มเดินมาทางนี้ก่อน เราจะเจออะไร จะได้อะไร เมื่อเทียบกับอีกทาง จากนั้นก็ลองตัดสินใจด้วยตัวคุณเองดูว่าจะเริ่มเดินอย่างไร เพราะแต่ละคนย่อมมีเงื่อนไขและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน บางคนถูกบริษัทบังคับเลยว่าต้องได้ ccnp โดยเร็วที่สุดเป็นต้น ลองพิจารณาดูนะครับ
กลุ่มที่สอง
กลุ่มนี้เป็นกลุ่มพวกที่ได้ ccna แต่ได้มาเป็น Network admin ในบริษัททั่วๆไปแทน ผมขอแยกออกเป็นสองกลุ่มย่อยนะครับ
กลุ่ม Network admin A
กลุ่มนี้คือพวก Network admin ในบริษัทขนาดใหญ่ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีโชคอยู่บ้างตรงที่ บริษัทบางที่อาจจะมีงบส่งให้ไปเรียนบ้าง แต่เกือบจะทั้งหมดจะไม่มีงบส่งสอบ เพราะเขาไม่ได้จำเป็นต้องได้คนมี cert มาเก็บไว้ คนกลุ่มนี้สามารถใช้หลักการเดียวกับพวกที่ไปอยู่ SI ได้เลย เพียงแต่อาจจะลำบากหน่อยตรงที่ไม่น่าจะมีบริษัทไหนที่เขาจะส่งไปเรียน ccda กัน อย่างมากก็น่าจะเป็นแค่พวก ccnp เป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณก็จะมีสองทางเลือกคืออ่านเองกับยอมเสียเงินไปเรียน ถ้าเลือกที่จะไปเรียน เท่าที่ผมดูในบ้านเรา ผมเห็นแค่ที่ training partner ซึ่งเป็น Cisco authorize เท่านั้นที่สามารถสอนการdesign เป็นเรื่องเป็นราวได้ เพราะเขาเอาคนที่ทำจริงและทำมาเยอะมาสอน นอกนั้นน่าจะประมาณอ่านหนังสือให้ฟัง เพราะคนที่ทำงานในตำแหน่ง Instructor ตามสถาบันต่างๆนั้นน่าจะมีประสบการณ์น้อยกว่า (ยกเว้นบางคนที่มารับจ๊อบสอน) คนที่จะสอน design ได้ดีนั้น ต้องผ่านการdesign งานจริงมาค่อนข้างเยอะ สั่งสมประสบการณ์มาพอสมควรจึงจะสามารถสอนนักเรียนให้เข้าใจได้จริงๆ เพราะบางทีการพูดประโยคเดียวกัน แบบที่อ่านจากหนังสือกับแบบที่พูดจากประสบการณ์นั้น มันค่อนข้างจะแตกต่างกัน และถ้ายิ่งเป็น ccdp ด้วยแล้ว ผมว่าคงมีที่เรียนได้ที่เดียว และบังเอิญว่าค่าเรียน ccda ก็ประมาณ สี่หมื่น ccdp ประมาณหกหมื่น พูดแล้วก็น่าท้อเหมือนกัน เพราะแพงเหลือเกิน สิ่งที่ผมพอจะแนะนำให้ได้คือ ยังไงก็ให้เริ่มจาก ccda ก่อน ให้อ่านเอาเองนั้นแหละ จากนั้นก็คงต้องอาศัยการทำความรู้จักกับคนที่ทำสาย SI เอาไว้เยอะๆ แล้วก็หมั่นคอยถามความรู้จากเขาเอา (จุดนี้มีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรตระหนักคือ ถ้าหากเราไม่รู้เรื่องอะไรก็แล้วแต่ แล้วเราไปคุยกับคนที่ความรู้มากกว่าแล้วขอให้เขาอธิบายให้ฟัง อยากจะให้ทุกคนตระหนักไว้สิ่งหนึ่งว่า คนที่เขาอุตส่าห์สอนคุณนั้นยังไงก็นับได้ว่าเป็นครูคนหนึ่งถึงแม้เขาจะสอนเราเพียงแค่ครึ่งชั่วโมงก็ตาม อย่าคิดแต่ว่าอยากได้ความรู้จากเขาฝ่ายเดียวนะครับ ยังไงให้รู้จักตอบแทนน้ำใจเขาด้วย เช่นอาจจะเลี้ยงข้าวเขา หรือถ้ามีอะไรดีๆเช่นได้เอกสารอะไรดีๆก็แบ่งให้เขาด้วย สิ่งเหล่านี้จะเป็นการฝึกนิสัยที่ดีให้กับตัวคุณเอง และเมื่อวันหนึ่งมาถึงคุณก็จะกลับกลายมาเป็นคนที่ต้องสอนคนอื่นให้กับเด็กรุ่นถัดๆไป มันคือวัฏจักรของคนในวงการ IT ถ้าหากเราฝึกมันจนเป็นนิสัย สิ่งดีๆที่เราเคยทำไว้ก็จะกลับมาหาเราเอง สิ่งนี้ควรจะรักษามันไว้นะครับ)
ถัดจากระดับ ccda ผมก็แนะนำว่าให้ต่อระดับ ccnp ซึ่งลำดับการสอบก็ให้เป็นเหมือนพวกกลุ่ม SI ได้เลย คนที่อยู่ในกลุ่มนี้จะมีความกดดันน้อยกว่ากลุ่ม SI เพราะฉะนั้น ถ้าหากต้องการจะให้ได้ ccnp จริงๆ จะต้องมีวินัยในการอ่านการฝึกค่อนข้างมาก ในกลุ่มนี้บางคนอาจโชคดี มีอุปกรณ์ให้เล่นบ้าง แต่ก็ไม่น่าจะครบเท่าไหร่ ก็คงต้องอาศัย simulator หรืออีกทางที่น่าสนใจคือการรวมกลุ่มคนที่จะสอบด้วยกัน เช่นหาเพื่อนนัดกันว่าจะสอบ ccnp ซัก 3-4 คน จากนั้นพออ่านเนื้อหาได้ระดับหนึ่ง และคิดที่จะหัดทำ ก็ให้ใช้วิธีแชร์เงินกันไปเช่า อุปกรณ์มาลองเล่นก็ได้ แล้วก็แบ่งเวลากันตามความเหมาะสม แบบนี้ก็น่าจะพอช่วยได้ อีกกรณีคือลงทุนไปเรียนเลย ซึ่งถ้าไม่ติดขัดเรื่องเงินมากนัก ผมก็แนะนำว่าไปเรียนดีกว่าครับ
การลงทุนไปเรียนนั้นมีหลายคนที่ไม่ค่อยจะทำกัน เพราะทุกคนมองว่าแพง ผมอยากอธิบายในมุมมองของผมอย่างนี้นะครับ ถ้าสมมุติว่าคอร์สเรียนราคา 22,000 บาท ค่าสอบ 6,300
ค่าเรียน 22,000 * 4 = 88,000 (ccnp มีสี่วิชา)
ค่าสอบ 6,300 * 5 = 31,500 (เผื่อตกหนึ่งครั้ง)
รวมกันประมาณ 120,000 บาท นี่คือส่วนลงทุน
สมมุติว่าปัจจุบันคุณมีเงินเดือน 22,000 (ที่ระดับ ccna) ถ้าคุณได้ ccnp แล้วสามารถหาที่ๆให้เงินเดือน 35,000 กับคุณได้ (นี่คือระดับเฉลี่ยของคนทั่วไปที่มีความเป็นไปได้สูงนะครับ) แปลว่า 35,000 -22,000 = 13,000 บาท คือคุณมีรายได้เพิ่มขึ้นเดือนละ 13,000 บาท ทีนี้เอาต้นทุนมาคำนวณ 120,000 /13,000 = 9.2 เดือน ตีว่าสิบเดือน มันแปลว่าคุณกำลังทำธุรกิจส่วนตัวของคุณอยู่คือการสร้างความรู้ขึ้นในหัวแล้วเอามาขายเป็นแรงงาน โดยคุณลงทุนเป็นจำนวนเงิน 120,000 แล้วสามารถคืนทุนได้ภายใน 10 เดือน แล้วจากนั้นก็กำไร
สืบเนื่องจากที่ผม post ข้อคิดเห็นของผมเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้าน network ไว้ในกระทู้ “ข้อสอบ CCNA ใน
books.rackhub.com” http://www.thaiadmin.org/board/index.php?topic=9186.0 [!]
และมีคุณ Chokul ได้ส่ง message ถึงผมตามที่อ้างถึงข้างบนเพื่อให้ช่วยแนะแนวทางในการก้าวขึ้นมาเป็น Networker ผมก็เลยอยากจะเรียบเรียงจากประสบการณ์ เพื่อให้ลองใช้เป็นแนวทางเบื้องต้น แล้วก็เลยตัดสินใจ post เป็นกระทู้ใหม่ เพื่อให้คนอื่นที่อาจสนใจได้รับทราบด้วยเผื่อสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางด้วย
หมายเหตุ สิ่งที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ ถือเป็นแต่เพียงมุมมองหนึ่งของผมที่มีต่อสายวิชาชีพด้านnetworkเท่านั้นนะครับ ไม่อาจถือเป็นข้ออ้างอิงได้ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับแต่ละคนอาจเห็นไม่ตรงกับผมก็ได้ สิ่งที่จะพูดถึงจะเป็นแต่เพียงเรื่องของสิ่งที่เป็นส่วนใหญ่ที่ผมพบเห็นมา ไม่ใช่ข้อสรุปเสมอไป จึงอยากที่จะให้คนที่อ่านคิดตามไปด้วยเพื่อวิเคราะห์หาสิ่งที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง เพื่อนำไปใช้ต่อไป
Networker ถือเป็นคนกลุ่มหนึ่งที่ทำงานด้าน network โดยตรง ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มของ system admin หรือ network admin ยกตัวอย่างที่เห็นค่อนข้างชัดคือพวกที่ได้ ccie พวกนี้จัดเป็น networker คนพวกนี้จะเชี่ยวชาญเรื่อง network มาก แต่ถ้าต้องให้มานั่ง configure active directory หรือ mail server ก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นเรื่อง network เขาจะรู้เรื่องมากกว่าพวก network admin ในขณะที่กลุ่ม system admin และ network admin นั้นจะทำงานที่ใกล้เคียงกัน คือ ดูแลระบบ networkและsystemในองค์กรใดๆ ซึ่งอาจจะมีขนาดเล็กจนถึงปานกลาง และใหญ่
ในองค์กรระดับเล็กถึงปานกลางเรามักจะเรียกคนดูแลระบบ IT รวมๆว่า admin หรือ administrator แต่พอเป็นองค์กรระดับใหญ่ จำเป็นต้องมี admin มากกว่าหนึ่งคน ทีนี้เขาก็เริ่มแบ่งงานกัน ซึ่งโดยมากมักจะแบ่งเป็นพวก system ดูแล server, AD, mail, database (บางที่ที่ใหญ่มาก ก็จะแบ่งออกไปอีกเป็น database admin ก็มี) และอีกพวกจะดูแลด้าน network เช่น switch, router, vpn, firewall, internet link เป็นต้น ตอนนี้จะเห็นว่า เรามีคนอยู่สามกลุ่มที่ใกล้เคียงกันคือ admin, system admin, network admin คิดว่าน่าจะพอแยกออกแล้วนะครับ ที่อยู่ของคนสามกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ตามบริษัทเอกชน enterprise ทั่วไป และมีอยู่ในพวก SI (System integrator) ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่จะขอพูดถึงเนื้อหาของคนสามกลุ่มคร่าวๆ เพื่อให้เห็นเป็น idea เพื่อจะได้นำไปเปรียบเทียบกับพวก networker ในภายหลังได้นะครับ
กลุ่ม administrator
กลุ่มนี้จะทำทุกอย่างเกี่ยวกับระบบ ITในองค์กร รวมตั้งแต่ server AD, DNS, DHCP, MAIL, File, Printer, Router, internet link, switch, vlan, wan และอื่นๆทุกอย่าง (ทำแค่ระดับเบื้องต้น ไม่ได้ลงลึก) สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันเกือบจะทั้งหมดของกลุ่มนี้คือ เมื่อมีการติดตั้งระบบใหม่มักจะเป็นการจ้าง SI เข้ามาทำให้ ถัดจากนั้น admin ก็จะเป็นคนดูแลต่อ งานที่ adminจะได้ทำส่วนใหญ่ จะเป็นการแก้ปัญหาให้ user และการกู้ระบบเมื่อมันล่มเช่น email, router, internet เป็นต้น สิ่งที่จะเป็นตัววัดว่าadmin คนไหนเก่งกว่ากันก็จะขึ้นอยู่กับชั่วโมงบินของแต่ละคน และขนาดของระบบ IT ที่ดูแล เพราะยิ่งระบบมีขนาดใหญ่ user เยอะ มันก็จะมีปัญหาจากuser ตามมาค่อนข้างมาก admin มักจะต้องเจอกับปัญหาเฉพาะหน้าให้แก้ไขอยู่เสมอ ระดับของปัญหานั้นจะเป็นระดับง่ายถึงปานกลาง ในช่วงแรกของadminทุกคนจะรู้สึกว่าปัญหาทุกอย่างเป็นเรื่องยากไปหมด แต่เมื่อเขาทำไปซักพัก เขาจะรู้สึกว่าง่ายขึ้น และจุดนี้เองที่เป็นที่กำเนิดของคำว่าทำมากประสบการณ์เยอะก็จะเก่ง เพราะพอทำมากๆเจอปัญหาหลายแบบ เขาจะเรียนรู้วิธีแก้ไข แล้วพอมันเกิดขึ้นอีก ทีนี้ก็หมูเลย แก้ไม่ยาก เพราะเคยทำมาแล้ว มาถึงตรงนี้ก็ฟังดูธรรมดาใช่ไหมครับ แต่อันที่จริงถ้าหากมองจากภาพใหญ่เราจะพบว่า อันที่จริงแล้วปัญหาที่adminเจอกันส่วนใหญ่นั้นเป็นการแก้ปัญหาให้ user หรือทำระบบเพื่อ support user ซึ่งระดับของปัญหาเล่านี้ยังจัดว่าเป็นระดับง่ายถึงแค่ปานกลาง ดังนั้น ถ้าหาก adminยังมองระดับตัวเองไม่ออกและไม่รู้จักขยับขยายระดับของตัวเองขึ้นเขาก็จะเริ่มติดอยู่กับระดับของ admin และประโยคที่ว่า ทำมานาน ลงมือทำเองมามาก ปฏิบัติมาเยอะ ประสบการณ์สูง และมั่นใจว่านั่นคือที่สุดแล้ว เพราะเขาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในบริษัทได้เกือบจะทั้งหมด จะเริ่มเกิดขึ้น และถึงแม้ในบางครั้งบริษัทอาจจะมีเรื่องใหม่ๆเข้ามาให้เขาทำ เขาก็สามารถจัดการมันได้โดยไม่ยากอะไรนัก สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นกับดักของเขาเองไปในตัว เพราะเขาจะวนเวียนอยู่แต่กับระดับซึ่งครอบตัวเขาไว้ทำให้เขามองว่าทั้งหมดที่เขามองเห็นและทำอยู่ในบริษัทนั่นมันคือที่สุดแล้ว เกือบจะทั้งหมดของadminที่ไม่ได้ขยับขยายตัวเองไปไหน สุดท้ายเมื่ออยู่ไปนานๆ จะมีได้สองแบบ คือโดนดอง (บริษัทจะมองว่าเขามีความสามารถสูงแต่เงินเดือนที่จ้างก็ไม่ได้สูงอะไร และดูเขาก็มีความสุขในสิ่งที่เขาทำอยู่ เพราะฉะนั้นบริษัทควรหาทางจ้างเขาไปเรื่อยๆในตำแหน่งนี้แหละดีแล้ว) ในขณะที่อีกกลุ่มจะถูก promoteเป็น IT managerเพราะบริษัทมองว่าเขารู้จักระบบงานทุกเรื่องของบริษัทแล้ว น่าจะเอามาดูแลทั้งระบบในระดับงาน IT management เลยก็น่าจะดี adminที่อยู่ที่เดิมจนรากงอกก็มีทางไปสองแบบหลักๆ แล้วแต่ดวงแล้วแต่บริษัทที่อยู่ว่าจะเป็นอย่างไร ถ้าโชคดีก็อาจได้เป็น IT manager
กลุ่ม network administrator
กลุ่มนี้มักจะเจอกันมากในบริษัทขนาดกลางถึงใหญ่และพวก SI กลุ่มนี้โดยมากมักจะก้าวมาจากการเป็น adminของบริษัทอื่นมาก่อนแล้วก็เปลี่ยนงานมาที่ใหม่ โดยเฉพาะคนที่อยู่ใน SI โดยส่วนใหญ่คือพวก adminเดิมที่พยายามผันตัวเองเพื่อก้าวขึ้นมาเป็น network admin หรืออีกชื่อคือ network engineer อันที่จริงใช้สองชื่อเรียกน่าจะเหมาะสมกว่าคือ network adminจะอยู่กับบริษัทเอกชนทั่วไปที่ดูและระบบ IT ส่วน network engineer จะอยู่ที่ SI เป็นหลัก หน้าที่หลักของ network admin คือดูแลระบบ IT โดยเน้นที่ตัว network เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น router, switch, firewall, wan, etc คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่หน้าที่จะเป็นการ operateตัวอุปกรณ์ต่างๆให้ทำงานได้ตามปกติเสียมากกว่า แต่ถ้าเมื่อไหร่มีการติดตั้งระบบเพิ่มมักจะให้ SI ทำให้ เพราะเนื่องจากบริษัทที่อยู่มักเป็นขนาดกลางถึงใหญ่ เขาจึงมีงบพอสมควรในการจ่ายให้ SI ทำให้หมดแทนที่จะทำเอง ดังนั้นพวก network admin จึงมักไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการ implementระบบขนาดปานกลางถึงใหญ่ เพราะมักจะเป็นพวก SI ทำเสียมากกว่า สำหรับกลุ่ม network engineer ที่อยู่ตาม SI ก็จะมีหน้าที่ต่างออกไปคือจะเป็นพวก implementor ซะเป็นส่วนใหญ่ คือติดตั้งทั้งระบบใหม่ integrate ระบบเข้ากับของเดิม เป็นต้น โอกาสที่จะได้เจอปัญหาหน้างานที่ต้องsupport user จริงๆจังๆเหมือน network adminจะไม่ค่อยมี แต่ที่ต้องระวังคือ ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกค้าซึ่งเป็น network admin เขาแก้ปัญหาไม่ได้ พวก network engineer ที่ถูกเรียกเข้าไปจะถูกคาดหวังว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้เสมอ เอาล่ะทีนี้ประเด็นเริ่มมีขึ้น เดิมทีเดียวเมื่อเทียบระหว่างคนติดตั้งกับคนดูแลระบบ อันที่จริงถึงแม้คนสองกลุ่มนี้จะทำงานกันคนละแบบ แต่ทักษะของคนสองกลุ่มนี้จะไม่ได้แตกต่างอะไรกันเท่าไหร่นัก เพียงแค่คนหนึ่ง implementคนหนึ่งoperate แต่ไอ้ตัวที่ทำให้ต้องเริ่มต่างคือ พวก network admin จะเป็นฝ่ายจ่ายเงินให้กับพวก network engineer เข้ามาแก้ปัญหาให้ เป็นอันว่าพวก network engineer จึงต้องถูกบริษัทต้นสังกัดบังคับให้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ และวิธีที่ดีที่สุดของบริษัทในการบังคับให้พวก network engineer เรียนรู้คือการบังคับสอบ cert เมื่อพวก network engineer ถูกบังคับให้ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด ก็กลายเป็นว่าพวก network engineer จะเก่งกว่าพวก network admin ไปโดยปริยาย นี่จึงมักเป็นธรรมเนียมว่าถ้าใครอยากเก่งต้องหาทางเข้าไปอยู่ในพวก SI ให้ได้ กรณีของกลุ่ม network engineer นั้นนานไปๆเขาจะกลายเป็นกลุ่ม networker ในที่สุด
กลุ่ม system administrator
กลุ่ม system admin อธิบายได้เหมือนกลุ่ม network admin ทุกอย่าง แล้วก็มีอีกกลุ่มคือ system engineer อยู่ด้วย กลุ่มนี้จะเน้นเรื่อง server เท่านั้นเช่น AD, mail, file server เป็นต้น ธรรมเนียมก็มีเหมือนกัน อยากเก่งก็ต้องเข้าไปอยู่ใน SI
Networker
ทีนี้มาถึงกลุ่ม networker กลุ่มพวกนี้จะค่อนข้างแปลกนิดนึงตรงที่ว่าจะเน้นเรื่อง network เป็นหลัก เราจะไม่ค่อยเห็นคนกลุ่มนี้ในองค์กรขนาดเล็กหรือกลาง เพราะองค์กรขนาดนี้เขาต้องการคนที่ทำได้ทุกอย่างเช่นพวก admin เป็นหลัก เขาไม่ได้ต้องการคนที่เก่งเฉพาะด้าน เพราะเขามองระบบ IT ของเขาเป็นแค่ส่วนหนึ่งขององค์กรที่จัดเป็นต้นทุน เขาไม่จัดว่าระบบITก่อให้เกิดกำไรกับบริษัท ดังนั้นไม่จำเป้นต้องจ้างคนแพงมากนักมาอยู่ก็ได้ ขอแค่ให้ดูแลให้ระบบใช้งานไปได้เรื่อยๆก็พอ สิ่งที่เขาต้องการจึงเป็นระดับ administrator ทั่วๆไป ทีนี้เราจะเห็นพวก networker ทำงานที่ไหนบ้าง เรามักจะเห็นพวก networker ทำงานอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่ๆเช่น Bank, telecom (TA, TT&T, AIS), ISP (Inet, CS loxinfo) และบริษัท SI ขนาดใหญ่ที่เน้นด้าน network เป็นหลักเช่น Datacraft, AIT, IBM. อันที่จริงคำว่า Networker เป็นคำที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มของสาย data com คือพวกที่เล่นกับ router, switch, wan อะไรประมาณนี้ ในขณะที่สายด้าน telecom ไม่มีการใช้คำว่าnetworkerเพื่อเรียกตัวเองมาก่อน แต่จะเรียกว่าพวกสาย switching, transmission เป็นหลัก ในช่วงก่อนปี 2000 คนสองกลุ่มนี้แยกตัวออกจากกันค่อนข้างชัดเจน คนไหนที่จบมาแล้วจับพลัดจับผลูได้ไปอยู่สายไหน ก็มักจะได้อยู่สายนั้นไปตลอด เช่นถ้าได้ไปอยู่ Inet เขาก็จะไปทางฝั่งdata com ถ้าจบมาได้ไปอยู่กับ AIS ก็จะได้ไปสาย telecom จนกระทั่งเทคโนโลยี VoIP เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา อันที่จริงมันมีมาตั้งแต่ต้นปี 1990 แล้ว เพียงแต่เริ่มมีการใช้งานในระดับ commercial กันช่วงปี 2000 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพูดถึง convergent network, NGN (Next Generation Network) ที่ทำให้เกิดการรวมกันของ voice network และ data network มีกันมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้คนสองสายนี้เริ่มจะเข้ามาบรรจบกัน แต่เนื่องจากว่าเทคโนโลยีของสาย telecom ซึ่งบางทีผมจะเรียกว่าฝั่ง circuit กับอีกสายคือสาย data com ซึ่งบางทีผมจะเรียกว่าฝั่ง packet นั้นเป็นเทคโนโลยีที่อยู่กันคนละฝั่งแบบซ้ายกับขวาเลย ดังนั้นโอกาสที่คนอีกสายหนึ่งจะก้าวข้ามมาอีกฝั่งหนึ่งได้นั้นจะต้องเริ่มเรียนรู้ใหม่หมดเลย เช่นคนที่เคยทำสาย circuit มาสิบปี แต่พอมาเจอเนื้อหา ccna เขาจะต้องมานั่งเริ่มเรียนรู้ใหม่เท่าๆกับเด็กจบใหม่เลย แต่ถ้าใครที่เคยทำสาย packet เช่นพวก ccna ccnp หรือ ccie ก็แล้วแต่ ต้องไปจับพวกswitchฝั่งcircuitก็จะงงเหมือนกัน เพราะเขาจะไม่สามารถadaptไอเดียเข้าหาได้ง่ายๆนัก และที่สำคัญฝั่ง circuit มีคอร์สเรียนน้อยกว่า ราคาแพงกว่า (คอร์สนึงราคาเป็นล้าน!!)ต้องอ่านเอง แถมdocumentก็หาใน internet ไม่ได้ document จะมีอยู่เฉพาะที่ตัว operator เท่านั้น เพราะเป็น technologyของแต่ละเจ้าแยกจากกันโดยสิ้นเชิง ในสาย circuit คุณจะไม่มีวันได้ยิน rip, ospf, hsrp, spanning tree, 802.1q อะไรพวกนี้เลย สิ่งเหล่านี้ทำให้ภาพที่คนทำ network แต่ละสายมองนั้น ไม่สามารถมองข้ามถึงกันได้ คนที่ทำสาย packet อย่างพวก ccna, ccnp, ccie ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดยังไม่เคยได้มองเห็นภาพอีกครึ่งหนึ่งของความเป็น network ที่แท้จริง ในขณะที่อีกกลุ่ม ฝั่งcircuitก็เช่นกันก็นึกภาพการทำงานอย่างพวก routing ไม่ออกว่ามันสามารถเลือกเส้นทางกันเองได้ด้วยเหรอเป็นต้น หลังจากปี 2000 เป็นต้นมา พวก vendor ทั้งสายcircuitเช่นพวก nokia, ericsson, alcatel, nec และสายpacketเช่น cisco, 3com เริ่มที่จะรุกตลาดเข้าหาอีกฝั่ง ยกตัวอย่างเช่นใน circuit core networkเริ่มมีการนำอุปกรณ์พวก packet switch มาใช้ร่วมด้วยมากขึ้นเช่น ภายในระบบ core swithcingของบางรายเปลี่ยนจากระบบback planeที่เป็นcircuitให้มาเป็นแบบpacketแล้วแทนที่จะdevelopใหม่ก็เอา cisco switch เข้าไปใช้เองเลยเพื่อลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพ ภาพที่ออกมาจึงกลายเป็นว่า ความเป็นcircuitและความเป็นpacketเริ่มปนเปกันถูกใช้งานร่วมกันไปหมด และตัวการสำคัญอีกหนึ่งตัวที่ทำให้ความเป็นconvergent network เกิดเร็วขึ้นคือเทคโนโลยี 3G เช่น cdma2001x, EVDO, EDGE, WCDMA เป็นต้น พวกนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีความเป็นcircuitและpacketปนกันตั้งแต่ตอนเริ่มแรกของการออกแบบเทคโนโลยี มันมีความเป็นcircuitอยู่บนความเป็นpacketและในขณะเดียวกันก็สามารถมีความเป็นpacketในรูปของcircuitด้วย โปรโตคอลที่ใช้มีความซับซ้อนสูง อย่างที่ผมเคยเขียนไว้ในกระทู้ก่อนว่าเอาแค่เรื่อง OSI 7layerก็เป็นเรื่องยากนั้น สามารถดูจากกลุ่มพวกนี้ได้ บางตัวไล่protocolกันตั้งแต่ชั้นแรก physicalจนขึ้นไปถึงชั้น application แล้ว คุณลองเดาดูว่าถัดจาก application layer ขึ้นไปอีกเป็นอะไร บางคนก็เริ่มงงแล้วว่ามันจะมีอีกได้อย่างไร แต่โทษทีพวกนี้บางตัว ถัดจาก application ขึ้นไปกลับกลายเป็นชั้น data link !!! บางตัวนับ protocol stackได้สิบสองชั้น !!! และมันก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ เพราะstandardตัวใหม่ๆออกมาเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่สิ้นสุดของคน คุณเชื่อไหมว่าแค่การจะทำให้มือถือสามารถ play video on demand ได้เนี่ย เบื้องหลังฉากนี่มันซับซ้อนขนาดไหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของพวก networker ล้วนๆที่ต้องทำ สาเหตุที่ผมเอาเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังเพื่อที่จะโยงไปถึงพวก networker อีกกลุ่มหนึ่งคือพวกลูกผสม ซึ่งมีน้อยยิ่งกว่าน้อยในปัจจุบัน พวก networker ลูกผสมจะมีความรู้ความเข้าใจทั้ง circuit และ packet technology ค่อนข้างดี เขาสามารถที่จะintegrateระบที่ประกอบด้วยทั้ง circuitและpacket technology ให้ทำงานร่วมกัน โดยมากคนที่จะก้าวขึ้นมาเป็น netwoker กลุ่มนี้ได้นั้น มักมาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของสองกลุ่มแรก ถ้ามาจากกลุ่มของสายcircuit เขาก็ต้องมาเริ่มใหม่หมดตั้งแต่ ccna level (ซึ่งมักเป็นเรื่องยากมากสำหรับคนที่โดนล้างสมองมาตั้งแต่เริ่มทำงานใหม่ๆกับการทำงานกับcircuit technology มานาน) อีกแบบคือมาจากสายpacket กรณีนี้ก็มีความเป็นไปได้ต่ำมาก เรียกว่าต่ำกว่ากรณีแรกด้วยซ้ำ เพราะเอาแค่คิดว่าจะทำ ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไรแล้ว เพราะหาคอร์สเรียนไม่ได้ (คอร์สเป็นล้าน จะเรียนทีต้องสั่งอาจารย์ตรงมาจากเมืองนอก อุปกรณ์ที่จะเล่น ถ้าใครเคยบอกว่า มี cisco router ให้เล่นในบางคอร์สก็ยากแล้วเพราะต้นทุนคอร์สสูง แต่กรณีcircuit base แล้วล่ะก็คุณค้องมีระบบเล็กๆทั้งระบบถึงจะเล่นได้ ก็ประมาณเกือบร้อยล้านได้) หนังสือก็ไม่สามารถหาdownload จาก internet หรือหาซื้อมาได้ มีเพียงโอกาสเดียวเท่านั้นที่จะเกิดขึ้นได้คือย้ายบริษัทไปอยู่กับพวก operator เช่น AIS, DTAC, Orange หรือ Vendor เช่น Alcatel, Motorola, Nortel, Ericsson, NOKIA เป็นต้น โอกาสเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง แต่ก็ต้องขึ้นกับดวงแต่ละคนด้วยเช่นกัน ถ้าถามว่าทำไมต้องดิ้นรนอยากป็นพวกลูกผสมด้วย ก็จะตอบว่า เงินดี งานท้าทาย เพราะไม่มีงานขนาดเล็กหรือปานกลางให้ทำ มีแต่ขนาดใหญ่ถึงใหญ่มากเท่านั้น และงานมีทั่วโลก ทั้งประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาจะมีการวางระบบใหม่ๆค่อนข้างเยอะ
เล่ามาตั้งนานก็เพื่อให้ทุกคนมองเห็นภาพใหญ่ทั้งหมดก่อนว่าคำว่า network นั้นมันกว้างใหญ่และซับซ้อนแค่ไหน มันเริ่มได้ตั้งแต่ home networking, net cafe, sme size, enterprise size, campus size, NGN, 3G, 4G(coming soon)
กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องจากที่กล่าวมาทั้งหมดแยกเป็นดังนี้
1. administrator
2. system administrator
3. system engineer
4. network administrator
5. network engineer
6. networker แบ่งเป็นสามพวกย่อย
สาย telecom
สาย datacom
พวกลูกผสม
ทีนี้พูดเรื่องเงินเดือน นี่คือข้อมูลเฉพาะที่ผมรับทราบมาจากคนในวงการและพวก head hunter นะครับ ดูไว้เพื่อเป็นข้อมูลเล่นๆก็พอ
1. administrator 12,000-40,000 บาท
2. system administrator 25,000-60,000 บาท
3. system engineer 25,000- 80,000
4. network administrator 25,000-50,000 บาท
5. network engineer 25,000 – 80,000
6. networker แบ่งเป็นสามพวกย่อย
สาย telecom 17,000 – 60,000 บาท
สาย datacom 50,000 – 130,000 บาท
พวกลูกผสม 50,000 – 400,000 บาท
เงินเดือนพวกนี้ไม่นับกรณีของคนที่ถูก promoteเป็น IT manager นะครับ (IT manager มีรายได้ประมาณ 40,000 -80,000 บาท)
เขียนไปเขียนมาก็ยาวน่าดูเหมือนกัน ยังไม่ได้เข้าเรื่องว่าแนวทางเดินควรเป็นอย่างไรเลย สาเหตุที่ผมอยากเล่าเรื่องเหล่านี้ให้ฟัง ก็เพื่อให้มองเห็นภาพทั้งหมดก่อน จากนั้นทุกคนจะต้องคิดและตอบตัวเองให้ได้ว่า ตอนนี้ตัวเราอยู่ที่จุดไหน ระดับไหน มองดูจากเนื้องาน รายได้ ความท้าทาย ความยาก แล้วคิดว่าตัวเราเองอยากไปให้ถึงจุดไหน ถ้าหากย้อนกลับไปดูกระทู้ก่อนหน้านี้ที่ผมเขียนไว้ หลายคนอาจจะมองว่าการจะพยายามให้ได้ขนาดนั้นมันเป็นเรื่องค่อนข้างยาก น่าจะมีน้อยคนนักที่จะทำได้ มันก็อาจจะจริงอย่างที่คิด แต่มีสิ่งหนึ่งซึ่งผมเชื่อว่าผมได้พิสูจน์มันมาแล้วว่ามันเป็นสิ่งสำคัญและมีผลอย่างมากคือ ความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายที่เราจะไปให้ถึง ซึ่งความมุ่งมั่นมันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราเห็นปลายทางที่เราจะไปชัดเจนว่ามันเป็นสิ่งที่เราอยากไปแน่ๆ
ผมขอยกตัวอย่างจริงที่เกิดขึ้นให้ฟัง ผมเคยไปสอนวิชา network ที่ มหาลัย IT North Bangkok อยู่ช่วงหนึ่ง ในบรรดานักเรียนที่สอน มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเขาอยากทำด้าน network อาจจะเป็นเพราะว่าได้ฟังจากที่ผมสอนและเห็นภาพชัดขึ้น ผมตัดสินใจฝึกเด็กกลุ่มนี้ขึ้นมา มีด้วยกัน 5 คน แต่ละคนทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย และไม่มีใครได้ทำงาน IT อย่างจริงจัง คนหนึ่งเป็น admin (ธุรการ) หมายถึงadminจริงๆ ที่ทำงานเอกสารในบริษัท คนหนึ่งทำอยู่โรงงาน คนหนึ่งทำงานใช้แรงงาน อีกสองคนเป็นผู้ช่วยในฝ่าย IT แต่หน้าที่หลักแทบไม่ได้เกี่ยวกับ IT มากนัก เรื่องภาษาอังกฤษคุณคงประเมินได้ว่าเด็กพวกนี้จะระดับไหน เด็กพวกนี้จบมาสายปวชทั้งหมด (ทุกวันนี้พวกนี้อ่านแต่ text book ทั้งนั้น) ตอนเรียนกลุ่มนี้จะโดนผมเคี่ยวมากที่สุด ตอนสอบfinal ทุกคนในห้องสอบ 100 ข้อสามชั่วโมง แต่เด็กห้าคนนี้ผมบังคับให้ข้อสอบเพิ่มอีก 50 ข้อในเวลาเท่าเดิม โดยต้องแอบไม่ให้อาจารย์คุมสอบอีกคนรู้ โดยแอบยัดไส้ไปในห้องสอบเลย คนอื่นผมอนุญาติให้ใช้ dict ได้ แต่ 5 คนนี้ผมไม่ให้ใช้ ตอนสอบอาจารย์คุมสอบอีกคนเห็นว่าเขาไม่มี dict ก็อุตส่าห์ไปหา dict จากห้องสมุดมาให้พวกเขา ผมก็แอบไปดึงกลับมาคืนไม่ให้ใช้ แต่อันที่จริงพวกเขาไม่ยอมเปิดมันเองด้วยแหละ สอบรอบเช้าเสร็จคนอื่นกลับบ้านได้ แต่เด็กพวกนี้ผมจับสอบอีกรอบเพิ่มในช่วงบ่ายโดยจัด environment เหมือนกับการ สอบ cert จริงทั้งเรื่องจำนวนข้อสอบ ความยาก เวลา โดยสอบกันในห้องสมุด ตลอดช่วงที่สอนอยู่หลายเดือนผมบังคับท่องศัพท์ ทุกอาทิตย์ต้องเอาสมุดจดมาให้ดู บางทีผมก็สุ่มถามเลยว่าท่องจริงหรือเปล่า เด็กกลุ่มนี้โดนผมเคี่ยวหนักมาก แต่ไม่มีใครยอมแพ้ ทุกวันนี้ 5 คนนี้มี 4 คน มี cert ติดตัวกันหมดแล้ว และก็กำลังพยายามก้าวไปข้างหน้าเรื่อยๆ เขาเองเจออุปสรรคหลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่ยังเห็นคือเขาพยายามก้าวไปเรื่อยๆ ไม่ยอมหยุด บางคนหยุดไปบ้างแต่ก็พยายามกลับมาเดินต่อ บางคนช้ากว่าเพื่อน คือคนที่ 5 สอบมาสองครั้ง ตกสองครั้ง แต่ก็ไม่ลดละอยู่ดี ถึงแม้จะไม่ได้มีโอกาสเจอนานแล้ว แต่ผมก็เฝ้าดูอยู่ เด็กกลุ่มนี้ในวันข้างหน้าผมเชื่อว่าเขาจะไปได้ไกล เพราะเขามีเป้าหมายและมุ่งมั่น
ที่เล่าถึงเด็กกลุ่มนี้ให้ฟังก็เพื่อจะบอกว่า ถ้าใครก็แล้วแต่ที่คิดแต่เพียงว่า คงมีไม่กี่คนที่จะทำได้เพราะต้องใช้ความพยายามสูงเราไม่น่าจะรอด ก็ลองดูตัวอย่างเด็กกลุ่มนี้ดูล่ะกัน แล้วลองถามตัวเองดูว่าที่ตัวเองคิดอยู่นั้นมันจริงเหรอ มันคือมารที่มาขัดขวางเราหรือไม่ ลองคิดให้ดี
ถ้าคุณเดินอยู่กลางทะเลทราย แล้วรู้แน่ๆว่าเดินไปทางนี้แล้วคุณจะเจอน้ำแน่ๆ คุณจะเดินไปหรือไม่ ผมเชื่อว่าทุกคนจะเดินไป แต่ในโลกความเป็นจริงมันกลับกลายเป็นว่า คุณอยู่กลางทะเลทราย แต่คุณแค่พอจะรู้มาว่าไปทางนี้จะมีน้ำรออยู่ แล้วพอเดินไปซักพักก็ยังไม่เจอน้ำซักที คราวนี้อาการเขวก็จะเริ่มเกิดขึ้นในใจโดยไม่รู้ตัว คราวนี้ทิศทางเดินก็เริ่มเป๋ไปเป๋มา สุดท้ายก็ไปไม่ถึงไหน เพราะไม่มั่นใจในทางที่เดิน ดีไม่ดีหาน้ำก็ไม่เจอ
ข้อสำคัญคือคุณเห็นภาพข้างหน้าหรือยัง (นั่นคือสิ่งที่พยายามเล่าให้ฟังในตอนแรก) คุณเชื่ออย่างมั่นใจไหมว่ามันคือสิ่งที่คุณอยากจะไปจริงๆ คุณจะเจออุปสรรคข้างหน้าอย่างลำบากยากเย็นแน่นอน กว่าจะไปถึง แล้วคุณจะว่าไง มั่นใจไหมที่จะไป ศรัทธาในทางที่จะเดินหรือไม่ ถ้าคุณมั่นใจและมุ่งมั่นที่จะเดินไป ผมก็จะแนะนำให้ฟังว่าคุณจะเจออะไร คุณต้องทำอย่างไร อะไรคือสิ่งที่ต้องพึงระวัง อะไรคือสิ่งที่ต้องปรับปรุงตัวเอง
ผมขอหยุดช่วงแรกไว้ที่จุดนี้ก่อน แต่อยากให้ทุกคนที่สนใจและคิดว่าสิ่งที่อ่านมีประโยชน์ หรือแม้กระทั่งจะกล้าประกาศว่าผมจะเดินไป ช่วยบอกทางให้ด้วย ก็ให้postเอาไว้ที่นี้ ผมจะได้นำสิ่งที่แต่ละคนสนใจมาประมวลและเรียบเรียงให้อ่านอีกทีครับ
ข้อแนะนำ ให้อ่านสิ่งที่เล่าให้ฟังหลายๆรอบเพื่อให้มองภาพทั้งหมดให้ชัด อีกอย่างโดยปกติคุณจะไม่มีโอกาสได้ยินเรื่องพวกนี้จากที่ไหนอีกแล้ว