การจั๊มสตาร์ทด้วยแบต Lipo 2200mah 25C x 2 (Lipo Jump Start)
ใช้ battery 12V จำนวน 2cell ต่อขนาน
แบต Lipo หรือ Lithium Polymer ใช้กันมากใน วงการ RC หรือเครื่องบินบังคับวิทยุ
ราคาก้อนละ 400 ถึง 500 บาท
ใช้ 2 ก้อน ต่อแบบขนาน คือ บวกต่อบวก ลบต่อลบ รถกระบะ
รถตู้ก็สตาร์ทได้ครับ http://www.rcthai.net
—
เครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ Suoer DC-1240A รุ่นนี้มีความสามารถจั๊มสตาร์ทได้ โดยจั๊มขั้วบวกและลบเข้าแบตเตอรี่ แล้วให้กด2ปุ่มที่เครื่องพร้อมกันค้างไว้แล้วปล่อย ตัวเลขจะนับถอยหลัง10-0 ในช่วงที่มีการนับตัวเลขให้เราสตาร์ทเครื่องยนต์ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถสตาร์ตเครื่องยนต์ได้แล้วครับ
https://diyledproject.com/เครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์-Battery-Charger/เครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์-12V-40A-SUOER-DC-1240A
—
SUOER DC1240A เป็นเครื่องชาร์จที่คุ้มค่าที่สุดในตอนนี้สำหรับแบตเตอรี่ 12V ทุกขนาด ให้กำลังไฟชาร์จสูงถึง 40A ในราคาที่ไม่แพง (สามารถปรับระดับไฟได้) สามารถชาร์จได้ตั้งแต่แบตมอเตอร์ไซค์ยันรถบรรทุก มีความสามารถในการเป็นเครื่องจั๊มสตาร์ทได้ (ถึงเครื่อง 3,000 cc) มีระบบฟื้นฟูอัตโนมัติในตัว หมายเหตุ:การฟื้นฟูแบตเตอรี่ได้ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาพของแบตนั้นๆ ไม่สามารถฟื้นฟูแบตแผ่นธาตุแตกหัก ผุกร่อนได้
—
SOUER DC-1240A สำหรับ battery ไฟ 12V กระแสสูงสุด 40A ตัดอัตโนมัติเมื่อชาร์จเสร็จ ปล่อยกระแสชาร์จเพิ่มให้เรื่อย ๆ เมื่อ battery ลดลงจาก 100% สามารถเสียบค้างได้ มีระบบกันช๊อตในตัว หากมีการสลับขั้วหรือขั้วแตะกัน เครื่องจะไม่ปล่อยไฟออก มีการตรวจจับ battery ก่อนทำงาน ขนาดอาจจะไม่กระทัดรัดและอาจจะใช้งานไม่สะดวกเหมือน CTEK แต่คุ้มค่าคุ้มราคาครับ เพียง 1,700 บาท ถือว่าเอามาลองกันคร่าว ๆ ครับ ราคานี้ ปีเดียวพังยังคุ้ม เหมาะกับเพื่อน ๆ ที่มีรถที่บ้านที่จอดนิ่งเป็นประจำเพราะไม่ค่อยได้ใช้ หรือไม่ค่อยได้มีโอกาสขับทางยาวจน battery หมดก่อนวัยอันควรเป็นประจำ เครื่องชาร์จแบบนี้ช่วยได้ครับ หากเน้นประหยัดงบ รุ่นนี้เยี่ยมเลยครับ จริง ๆ เอาแค่ตัว 10A หรือ 20A ก็พอแล้ว ราคาก็ลดหลั่นลงไปอีก แต่ผมเห็นตัว 40A แพงกว่าไม่มาก และวงจรน่าจะใหญ่กว่า และเราใช้ load น้อยกว่า limit สูงสุดของวงจรเยอะมาก เลยน่าจะไม่ร้อนดี เลยเอาตัว 40A มา
ผมซื้อจากร้าน Power Intown ครับ ร้านอยู่ Town in Town มีบริการส่งครับ https://www.facebook.com/powerintown2/
ใช้กับแบตแห้งได้ ถ้าแบตฯ maintenance-free หรือ Gel ใช้รุ่นนี้ http://www.chinasuoer.com/battery-charger/225.html
ค่าแอมป์คือค่ากระแสที่เครื่องป้อนเข้าครับ จะแสดงคงที่ ส่วน Volt จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นไปจน 13 ปลายหรือ 14 ต้น ถือว่าเต็มแล้วครับ แต่ถ้าเอาออกเสียบใหม่ แล้ว Volt ตก ลองเช็คน้ำในแบตและสภาพดูครับ
—
1250
LAZADA
เครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ 12V 40A SUOER รุ่น DC-1240A
https://shopee.co.th/เครื่องชาร์จอัตโนมัติ-12v-40A-SUOER-(DC-1240A)-i.15008274.713000616
—
http://www.v-powers.com/category/7/เครื่องจั๊มสตาร์ทรถยนต์
—
http://www.powerintown.com/category/4/เครื่องชาร์จแบตเตอรี่
—
—
—
ถ้าเป็น battery ธรรมดา ต้องใช้ วงจร เพื่อให้มันจ่ายกระแสได้มากพอจะใช้งานได้
—
http://www.v-powers.com/article/28/ทดสอบเครื่องจั๊มสตาร์ท-v-powers-แบบเจาะลึก
—
สรุป
เครื่อง jump start
ซื้อแบต lipo มาต่อ สตาร์ทได้เลย หรือ ใช้ แบตเตอรี่ฉุกเฉิน emergency battery เช่น ที่อยู่ใน UPS ลูกละ 350 บาท 12V หรือ อยุ่ในไฟฉาย ไฟฉุกเฉิน ร้านคอมมีขาย เป็นแบตแห้งไม่เติมน้ำกลั่น dry Batteries
การ jump start ทำไมต้องเอา – ไปต่อ โครงโลหะ คันแบตหมด
– เพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟ
– เราต้องการจั้มสตาร์ท ไม่ใช่ต้องการชาร์จไฟ
เสื้อมอเตอร์สตาร์ท มันเป็นส่วนหนึ่งของระบบไฟลบทั้งคัน แล้วกินไฟเวลาทำงานสูง ขั้วตัวถังคันหมดไฟ จะสตาร์ทได้ง่ายกว่ามาก
– ต้องมีปลายนึงลง ground เคยต่อ – กับ – +กับ + ไฟช๊อตเลย ไดชาร์ทของคันที่เอามาพ่วงพังเลย
– ที่ถูกต้องคือ ที่ต่อลงโครงรถ เพราะ ลงกราวโดยตรง กราวน์ที่ว่าหมายถึงกราวน์ของระบบไฟรถยนต์ซึ่งมันคือตัวถังโลหะ ไม่ใช่ลงดิน
– ป้องกันถ้าจั๊มสายผิด เกิดแบตระเบิดขึ้นมา(แบตน้ำ) จะได้ไม่กระเด็นเข้าคนจั๊มสาย ถึงโดนก็น้อย เพราะ 4 ต่อจุดสุดท้าย
– แบ็ตฯ ตอน discharge จะเกิด H2 ที่ขั้วลบ
เพื่อป้องกันการสปาร์คจากสายพ่วง ที่ขั้วลบ ไม่ให้อยู่ใกล้ H2
หมายเหตุ
อาจมีคำถามว่า ทำไมถึงไม่เอาสายลบไปพ่วงที่ “แบ็ตฯ-หมดไฟ”
แบ็ตฯลูกที่ไฟหมดคือ (เกือบๆ) full discharge มันจะมี H2 มากกว่า “แบ็ตฯ-ที่มีไฟ”
– เรื่องของการเดินของกระแสที่ไดสตาร์ทดึงไปจำนวนมากนั้นก็ส่วนหนึ่ง ซึ่งจะมีผลบ้างแต่ไม่มาก
แต่เรื่องสำคัญคือแกสไฮโดรเจนที่ออกมาจากแบตฯ ที่ไฟหมดครับ
ดังนั้น ในคู่มือของทุกที่ การพ่วงแบต ฯ นั้นในขั้นตอนสุดท้ายจะระบุให้คีบไฟขั้วลบไปที่ตัวถังรถที่แบต ฯ หมด
เพื่อจะได้ห่างไกลจากแก้สไฮโดรเจนที่ออกมาจากแบต ฯ เพราะเมื่อคีบแล้วจะมีประกายไฟออกมาทันที (ป้องกันประกายไฟใกล้ ไฮโดรเจนเกินไป) เหตุผล คงเป็นเรื่องของประกายไฟ และ Hydrogen gas จาก battery
ให้มันห่างๆ กันไว้ เพราะ hydrogen ตัวมันเองติดไฟได้ หลักๆ เพื่อความปลอดภัย จากไอระเหยของแบตเตอรี่
(ซึ่งสามารถเกิดระเบิดได้ เมื่อมีประกายไฟ)
ไม่ต่างกันหรอกครับ…
ไม่ว่าจะหนีบที่ขั้วแบต
หรือ หนีบที่โครงตัวถัง
เพราะขั้วลบของแบตมันก็ต่อลงตัวถังอยู่แล้ว(ไล่ตามสายสีดำดูได้)
มีแต่ขั่วบวกนี่หล่ะที่มันจะโยงไปยังอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆที่ใช้ไฟฟ้า
ในแง่ ไฟฟ้า ไม่ต่างกันเลยครับ จะ ขั้วแบต หรือตัวถัง
ในทางไฟฟ้า โครงรถ กับ ขั้วแบตลบ คือโหนดเดียวกัน (ศักย์ไฟฟ้าเท่ากัน)
หรือเข้าใจแบบบ้านๆ ก็คือมันเชื่อมถึงกัน
โครงรถมันเป็นกราวน์แบบตัวถัง (Chassis Ground)
ชิ้นส่วนหลักของรถที่เป็นโลหะทั้งคันต้องเชื่อมต่อเข้าด้วยกันหมด
เพื่อให้มีศักย์ไฟฟ้าเท่ากัน หรือที่เรียกว่าโหนดเดียวกัน
ใช้เป็นตัวอ้างอิงแรงดัน 0 ให้กับวงจรไฟฟ้าทั้งรถ
ไม่ใช้กราวน์แบบลงหลักดินแบบไฟบ้าน (Earth Ground) ซึ่งเอาไว้ป้องกันไฟรั่ว
เหตุผลเดียวที่ไม่เอาขั้วลบไปต่อตรงก็คือป้องกันประกายไฟ ไปเกิดใกล้แบตเตอรีครับ
เพื่อให้กระแสไฟจากแบตที่พ่วงไปเข้า มอเตอร์สตาร์ทเต็มๆ จะได้มีแรงหมุนเต็มที่
ถ้าคีบที่ขั้วแบต ไฟส่วนหนึ่งจะไหลเข้าแบตที่ไฟหมด ทำให้กระแสไฟไปมอเตอร์สตาร์ทน้อย
เคยลองเอง ลบ ต่อ ลบ ไม่ติด
ลบ ต่อ ตัวถัง ติด
ทั้งนี้บางทีลบ ต่อ ลบ ติดเพราะแบตที่มาต่อมีกำลังไฟแรงพอ
ประเด็นอยู่ที่ เค้าให้ถอดขั้วแบต คันที่หมดออกครับ
เพราะแบตที่หมด จะดึงกระแสไปชาร์ทตัวเอง
ไม่ต้องถอดขั้วครับ
ไฟจะไหลจากขั้วบวกไปลงดินครับ ซึ่งในที่นี้คือตัวถังรถ มันเป็นแบบนี้
แต่ถ้าแบตหมดเกลี้ยงเลย การที่เราไปคีบที่ขั้วลบ แทนที่ไฟจะไหลลงตัวถังมันก็วิ่งไปขั้วลบของแบตก้อนที่หมด ก็เหมือนกำลังไปชาร์จไฟให้แบตก้อนนั้นด้วย ใช้สตาร์ทด้วย ทีนี้ก็ไฟจะไปสตาร์ทก็ไม่พอเพราะต้องแบ่งไปแบต
เขาเลยให้ไปจับตัวถังครับ และควรจับจุดที่ไม่มีสีเคลือบด้วยนะ ในหลายรุ่นจะมีจุดตัวถังสำหรับสตาร์ทด้วยเลย
แล้วรถคันแบตดีต้องสตาร์ทป่าวครับ
ถ้าแบตคันที่พ่วงดี ไม่ต้องก็ได้ครับ
รถคันที่แบตหมด ส่วนมากก่อนที่เราจะหาแบตมาพ่วงเรามักจะสตาร์ทหลายครั้งแต่ก็ยังไม่ติด มันจะทำให้นำ้กรดในแบตร้อน เกิดไอขึ้น หากพ่วงแบตแล้วแต่ไม่จั๊มที่ตัวถัง กระแสไฟจะไม่ผ่านฟิวส์ อาจเกิดอันตรายได้ครับ น่าจะประมาณนี้