• December 3, 2018

    บทที่1

    โกหกให้เนียน

    1.ควรนึกเรื่องที่มี “เหตุผล เนื่องจาก….. ก็เลย”จะสามารถโกหกได้อย่างแนบเนียน
    2.เมื่อเราจะเริ่มพูด าต้อง “ใช้ทำเสียงโทนเดียว ห้ามสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป” เน้นท้ายประโยคด้วย “เสียงที่ หนักแน่นจะดีมาก”
    3.การจบท้าย ต้องกลับมาพูดซ้ำความเดิม เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
    ขอให้คุณฝึกฝนบ่อยครั้ง เพื่อเป็นการพัฒนาตนเอง

    “เหตุผล เนื่องจาก….. ก็เลย”
    “ใช้ทำเสียงโทนเดียว ห้ามสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป”
    “เน้นท้ายประโยคด้วย เสียงที่ หนักแน่น”
    กลับมาพูดซ้ำความเดิม (เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ)

    บทที่2

    วิธีโกหกแบบจับพิรุธไม่ได้

    1.อย่าตอบคำถามแบบอ้อมค้อม
    2.อย่าย้อนคำถาม เช่น คุณเคยทำน้ำหกตรงนี้หรือเปล่า ให้ตอบว่า ใช่ หรือ ไม่ (อย่าตอบว่า เปล่า ฉันไม่เคยทำน้ำหกตรงนี้)
    3.อย่ายักไหล่เวลาพูดทำนองว่า ช่างมันปะไร
    4.อย่ายิ้ม ให้เกินไป
    5.อย่าหันหน้าไปทางประตูหรือทางออกเวลาพูดกันอยู่ (เพราะมันทำให้ดูเหมือนกำลังอยากออกไป)
    6.มองตาคนถามด้วย อย่าหลบตา
    7.อย่าเอามือจับส่วนใดๆของใบหน้า ,ห้ามเอามือล้วงกระเป๋าหรือกำแน่น โดยเฉพาะอย่าจับจมูก
    8.อย่าพูดว่า ฉันไม่ใช่คนอย่างนั้น เช่น คุณกำลังหลอกฉันอยู่หรือเปล่า อย่าตอบว่า ไม่ใช่ ฉันไม่ใช่คนแบบนั้น หรือ ฉันจะโกหกคุณไปทำไม ฉันไม่ใช่คนแบบนั้น
    9.อย่าแสดงท่าทีดีใจเมื่อการสนทนาจบลง

    บทที่3

    10วิธีลับที่จะทำให้โกหกได้อย่างแนบเนียน

    ในชีวิตประจำวันของคนเราต่างก็เคยพบกับคำหลอกลวงมามากมายก่ายกอง ซึ่งแน่นอนว่าบางครั้งคุณก็อาจจะรู้ทันว่ามันคือคำโกหก แต่บางครั้งกว่าจะรู้ตัวคุณก็โดนหลอกไปซะนานแสนนานเสียแล้ว อย่างไรก็ตามมีหลายคนสงสัยไว้ว่าเหล่าคนโกหกนี้มีเทคนิคหรือวิธีการอะไรที่ใช้ในการหลอกคนหรือไม่ ซึ่งนักจิตวิทยาได้ไขข้อสงสัยเหล่านั้นด้วยการเผย10วิธีที่จะช่วยทำให้โกหกได้อย่างแนบเนียนขึ้น โดยที่เคล็ดลับเหล่านั้นมีดังนี้

    1.มีเหตุผลที่จะโกหก

    พวกที่เป็นโรคโกหกตัวเองนั้นไม่สามารถที่จะหยุดตัวเองในการโกหกได้ ดังนั้น คนเหล่านี้มักจะโกหกเล็กน้อยๆอยู่ตลอดเวลา และในที่สุดก็จะโดนจับได้ ในทางตรงกันข้ามคนที่เชี่ยวชาญในเรื่องของการโกหกนั้นจะไม่ค่อยพูดโกหก นอกเสียจากว่า การโกหกในครั้งนั้นจะสร้างผลตอบแทนบางอย่างให้กับพวกเขาได้

    2.มีการวางแผนไว้ก่อน

    อย่ารอให้มีการซักถามก่อนจึงจะเริ่มประติดประต่อการโกหกเป็นเรื่องราว ผลของการศึกษาในปี1990ของ นักจิตวิทยาที่ชื่อ บิล ฟลานาแกน พิสูจน์ให้เห็นว่า คนโกหกที่มีการคิดการโกหกเป็นเรื่องราวอยู่ก่อนแล้ว มีโอกาสที่จะโกหกสำเร็จมากกว่าคนที่ไม่ได้คิดมาก่อน

    3.บอกความจริงแต่ให้ตีความผิดไป

    การจับผิดการโกหกที่ยากที่สุดคือคำโกหกที่เป็นความจริง  คุณกำลังบอกความจริงอยู่แต่ให้คนที่ฟังอยู่นั้นตีความคำพูดของคุณผิดไป ซึ่งจากการวิจัยเกี่ยวกับโรคโกหกนั้น พบว่ากลุ่มคนที่พูดโกหกแล้วสามารถหลีกเลี่ยงคำถามที่ตามมาจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูง

    4.เข้าใจเป้าหมายของคุณดีพอ

    นักโกหกที่ดีมักจะมีความสามารถของนักสื่อสารที่ดี ซึ่งนั่นก็คือความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น ทำให้พวกเขารู้ว่าผู้ฟังต้องการฟังอะไรและก็ยังช่วยให้ไม่เผลอพูดอะไรที่อาจจะไปกระตุ้นต่อมความสงสัยของผู้ฟังอีกด้วย

    5.ยืนยันในความถูกต้องของคำโกหก

    หนึ่งในสิ่งที่ยากที่สุดในการที่จะประสบความสำเร็จในการโกหก ก็คือคุณจำเป็นที่จะต้องมีความคงเส้นคงวา และยึดมั่นในคำโกหกของคุณ ซึ่งหมายถึงคุณจำเป็นที่จะต้องบอกเรื่องราวที่คุณสร้างขึ้นมากับคนอื่นให้เหมือนกันทุกคน

    6.ต้องลืมความรู้สึกผิดไปให้หมด

    เหตุผลที่ใครหลายคนมักจะถูกจับโกหกได้ ก็เพราะคนเหล่านั้นมักจะรู้สึกไม่สบายใจเวลาได้พูดโกหกออกไป ความกลัวและความรู้สึกผิดคือหลักฐานที่แสดงออกอย่างเด่นชัดผ่านทางสีหน้าและแววตา พวกเขาอยากที่จะผ่านช่วงเวลาแห่งการโกหกไปให่ได้เร็วที่สุด อีกทั้งยังมักจะแสดงออกถึงความผ่อนคลายเมื่อผู้ซักถามเปลี่ยนหัวข้อในการพูด ในทางกลับกัน นักโกหกที่ดี มักจะเพลิดเพลินไปกับการโกหก ดังนั้นจึงไม่แสดงออกถึงความละอายหรือรู้สึกผิดใดๆทางสีหน้า

    7.ระวังกิริยาท่าทางของคุณ

    เป็นความเชื่อในหมู่ของคนทั่วๆไปว่า คนที่พูดโกหกนั้นมักจะพูดตะกุกตะกัก ไม่กล้าจ้องตา หรือจับจมูกไปมาระหว่างที่กำลังพูด ซึ่งถ้าหากคุณทำกิริยาท่าทางลักษณะนี้ในระหว่างที่คุณกำลังโกหกแล้วละก็ คุณก็จะมีสิทธิ์ถูกจับโกหกได้มากขึ้น

    8.เบี่ยงเบนความสนใจเมื่อจำเป็น

    ถ้าเป้าหมายเริ่มรู้สึกสงสัยในคำโกหก สิ่งที่นักโกหกมักจะใช้เพื่อแก้ไขสถานการณ์ก็คือการเบี่ยงความสนใจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือในหนังชื่อดังเรื่อง เบสิค อินสติงค์ ซึ่ง ชารอน สโตน นางเอกนักแสดงนำของเรื่อง ถูกนำตัวไปสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่สืบสวน แต่เมื่อเธอเริ่มถูกตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อยๆ เธอกลับเบี่ยงเบนความสนใจด้วยการยั่วยวนอารมณ์ทางเพศ

    9.โต้ตอบกลับ

    ความเป็นจริงก็คือ นอกจากคนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกไม่สบายใจยามที่ต้องโกหกคนอื่นแล้ว ในตอนที่กล่าวหาคนอื่นก็ทำให้พวกเขารู้สึกไม่แตกต่างเช่นกัน ซึ่งนั่นทำให้เหล่านักโกหกได้ใช้ความรู้สึกเหล่านี้เป็นโอกาสในการที่จะโต้ตอบกลับคำครหาต่างๆด้วยความดุดัน

    10.ใช้เทคนิคการต่อรอง

    แม้ว่าจะถูกจับได้ว่าโกหก นักโกหกหลายต่อหลายคนก็ได้ใช้หลักจิตวิทยาที่เรียกว่า”การต่อรอง” โดยหมายถึง การพยายามทำให้ความรู้สึกขุ่นมัวหรือโกรธเคืองของผู้ที่โดนหลอกนั้นเจือจางลง ซึ่งถ้าหากทำสำเร็จก็จะทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาที่ดีกว่าการถูกจับโกหกได้ แล้วก็ไม่ได้ทำอะไรเลยต่อจากนั้น

    11. เอาความจริงผสมกับโกหก
    ตอนแรกให้พูดเรื่องจริงและเอาโกหกใส่ไปปนในตอนกลางๆแล้วจบลงด้วยความจริง

    7 วิธีจับโกหก ไม่ว่าใครก็มาหลอกเราไม่ได้

    1. คนโกหกมักจะละเลยรายละเอียด

    เรามักจะคิดใช่ไหมคะว่า พวกนักโกหก จอต้มตุ๋น น่าจะเป็นผู้มีศิลปะการพูด มีคำประดิดประดอย และรายละเอียดที่แต่งขึ้นมาเยอะ แต่เอาจริงๆ แล้ว คนที่โกหกมักจะละเลยายละเอียดพวกนั้นค่ะ เพราะเขาเองก็กลัวว่า พอกลับมาเล่าอีกทีจะเก็บรายละเอียดได้ไม่เหมือนเดิม ก็เลยจะพูดสั้นๆ ง่ายๆ ไว้ก่อน ฝ่ายตรงข้ามจะได้จับไม่ได้ว่า “อ้าว! ไม่เห็นเหมือนที่พูดไว้นี่น่า”

    2. หลงๆ ลืมๆ ในสิ่งที่กำลังพูด

    นักโกหกจะจำอะไรไม่ค่อยแม่นค่ะ สังเกตได้จาก เวลาสนทนากันอยู่ เขาจะหลงๆ ลืมๆ แบบ “เอ๊ะ! เรื่องนั้นมันเกิดอะไรกันแน่นะ ขอคิดก่อนแปปนึงนะ” จะมีอาการไม่แน่ใจในสิ่งที่พูดออกมา ที่บอกว่าคนโกหกมักเป็นแบบนี้ ก็เพราะว่าลองคิดในทางกลับกันค่ะ หากเป็นคนพูดจริง เขาจะสามารถจำทุกอย่างได้ดีกว่า เพราะเป็นเรื่องจริงที่ประสบมา คนเรามักจะไม่หลงลืมกับสิ่งที่ไปเจอมากับตัวจริงๆ หรอกว่าไหมคะ

    3. พูดกลับไปกลับมา

    พวกที่ชอบโกหกจะชอบพูดกลับไปกลับมาค่ะ เล่นเอาเรารู้สึกงงๆ และคล้อยตามไปในที่สุด เช่น “เธอคนนั้นชื่อว่าลิลลี่ ไม่สิลิซ่า เอ๊ะ เดี๋ยวก่อนบางทีนางอาจจะชื่อลินดาก็เป็นได้” ถ้าเจอคนพูดกลับไปกลับมาแบบนี้บ่อยๆ ให้เดาเลยว่า คนนั้นอาจจะโกหก หรือแต่งเรื่องอะไรบางอย่างขึ้นมา เพราะคนพวกนี้พอโกหกแล้ว รู้สึกว่าไม่เป็นที่พึงพอใจ ก็จะกลับไปแก้ใหม่ให้เนียน ด้วยวิธีนี้

    4. พูดสั้นๆ และคลุมเครือ

    ก็เพราะว่าเรื่องโกหกมันเป็นเรื่องที่ต้องสร้าง เติมแต่งเอาน่ะสิคะ ถ้าไม่ใช่คนมีความสามารถในการแต่งเรื่องยาวๆ ก็เป็นเรื่องยากค่ะที่เขาจะพูดอะไรยาวๆ ออกมาในเสี้ยววินาทีนั้น และเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์กลับมาพูดอีกทีแล้วไม่เหมือนเดิม คนพวกนี้ก็จะอาศัยพูดสั้นๆ ไว้ก่อน

    5. คิดนานเกินไป

    หากเรื่องราวที่พูดถึงไม่ใช่เรื่องที่ผ่านมานาน แต่เขากลับเหมือนต้องใช้เวลาคิดก่อนจะพูด ก็ให้เดาไว้เลยว่า เขาอาจจะโกหกเรา หรือกำลังแต่งเรื่องอะไรบางอย่างอยู่ในหัวแล้วค่อยพูดออกมาค่ะ

    6. มีความกระวนกระวาย ลุกลี้ลุกลน หรือไม่ก็ร้อนตัวไปก่อน

    คนที่โกหกจะมีอาการทางกายที่สังเกตได้คือ จะมีความกระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือร้อนตัวพูดในสิ่งที่เรายังไม่ทันได้ถาม แต่เป็นประเด็นที่กำลังสงสัย โดยปกติแล้ว คนที่พูดความจริง มักจะมีท่าทางที่สบายๆ รีแล็กซ์ แต่อาจจะมีสีหน้าที่ไม่แฮปปี้บ้าง (เพราะบางเรื่องราวที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่สิ่งที่สวยงามเสมอไป) แต่อย่างน้อยมันต้องไม่ดูกระวนกระวาย ไม่เป็นสุขจนเกินไปค่ะ

    7. จะแกล้งพูดเฉไฉด้วยการโทษคนอื่น

    พอรู้ตัวว่าจะจับได้ หรืออาจจะยังจับไม่ได้ แต่อยากสร้างความน่าเชื่อถือ คนพวกนี้จะมีการพูดตำหนิคนอื่นว่าไม่ดียังงั้นยังงี้ เพื่อกลบเกลื่อนด้านลบของตัวเองนั่นเอง

    8. พูดเร็วจนฟังไม่ทัน

    ถ้าโดยสัญชาตญาณของคนโกหก เขามักจะพูดช้าๆ แบบแปลกๆ ค่ะ จังหวะการพูดจะไม่ลื่นไหลเหมือนคนทั่วไป อาจเป็นเพราะว่าต้องใช้เวลานึกเรื่องแต่งขึ้นไปด้วย พูดไปด้วย แต่ขอบอกว่า ข้อสังเกตในข้อนี้อาจใช้ไม่ได้กับนักโกหกมืออาชีพ ที่มีการเตรียมตัวมาอย่างดี ก็มักจะมีเร็วไฟแลบ บางทีก็มีศิลปะในการพูดโน้มน้าวจนเราหลงเชื่อได้ง่ายๆ เลยล่ะ

    9. เรื่องราวมันดูไม่เมคเซนส์เอาซะเลย

    มันอาจจะมีเทคนิคจับคนโกหกมากมาย แต่โลกสมัยนี้เริ่มอยู่ยากค่ะ เพราะพอมีข้อมูลจับคนโกหกออกมา คนที่โกหกก็ดันมาเรียนรู้ไปกับเราด้วย และพยายามจะไม่ทำสิ่งนั้น เพื่อจะได้ไม่ถูกจับได้ แต่สิ่งที่ช่วยเราแยกแยะได้ว่าอะไรจริงอะไรโกหกก็เรื่องตรรกะ และสติของเราเนี่ยแหละค่ะ เวลาใครพูดอะไรก็ให้ใช้สติในการฟัง คิดตามระบบตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผล ถ้ามันดูไม่ตรงตามสิ่งที่ควรจะเป็น เหนือเหตุผลปกติที่ควรจะเป็น ก็ให้ระวังเอาไว้ให้ดีเลย

    นี่ก็คือวิธีพื้นฐานสำหรับการจับคนโกหกค่ะ แต่แค่ทริคพวกนี้ก็ไม่พอหรอกนะคะ วิธีที่ดีที่สุดคือ อย่าเพิ่งหลงเชื่ออะไรง่ายๆ ฟังมาแล้วมาปรึกษาพ่อแม่ คนรอบข้าง และค้นหาข้อมูลให้ดีก่อน ที่จะหลงเชื่อค่ะ เพราะบางทีความจริงเราก็ไม่เชื่อกัน แต่สิ่งที่เราเชื่อบางทีก็เป็นเรื่องโกหก

    และคนเรามีแนวโน้มจะเชื่อคนอื่นมากกว่าคนรู้จัก

    10 วิธี จับโกหกแบบขั้นเทพ เนียนแค่ไหนก็รู้ได้

    พฤติกรรมการโกหกของคนเราเป็นสิ่งที่พบได้เป็นประจำ บางคนอาจจำเป็นต้องโกหก บางคนก็โกหกจนเป็นนิสัย ซึ่งจะแนบเนียนขนาดไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับความชำราญของแต่ละคน โดยนักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาและพบว่าระหว่างการสนทนา 10 นาทีของคนทั่วไป คนกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ได้กล่าวเรื่องโกหกไปมากกว่า 2 – 3 ครั้ง

    แต่หากเราอยากจะจับโกหกคำพูดเหล่านั้น วันนี้มีวิธีมาบอกค่ะ

    1. จ้องตาไม่กระพริบ

    การจ้องตาไม่กระพริบ คือการโน้มน้าวให้คุณพยายามเชื่อในสิ่งที่เขาทำ (เหมือนการสะกดจิตเล็กๆ) เพราะถ้าเป็นพฤติกรรมของคนปกติก็จะมีการจ้องคู่สนทนาบ้าง หันไปมองทางอื่นบ้าง ไม่ใช่จ้องกันตาเขม่งแบบที่คนโกหกเค้าทำกัน

    2. ชี้นิ้วบ่อยเกินจำเป็น

    เมื่อมีความรู้สึกว่าตนเองกำลังตกเป็นรองก็จะพยายามทำให้ตัวเองกลับขึ้นมาเป็นฝ่ายนำ นั่นเป็นแรงจากความโกรธที่ถูกจี้ด้วยคำถามที่ตรงประเด็น หรือถูกจับได้แบบคาหนังคาเขา จนต้องเริ่มวางท่าทีให้อีกฝ่ายเป็นรอง ด้วยการชี้นิ้วไปมา หรือใช้นิ้วประกอบคำพูดที่เยอะเกินความจำเป็น

    3. ดื่มน้ำ เลียปากบ่อยผิดปกติ

    เมื่อไหร่ที่คนเราถูกสถานการณ์บีบคั้นให้อยู่ในสภาวะที่ตื่นเต้น การหลั่งน้ำลายจะเปลี่ยนไป และทำให้ปากแห้ง ถ้าอยู่ในสภาวะแบบนั้นนานๆ คนที่มีท่าทีที่กำลังโกหกอยู่นั้นมักจะจิบน้ำบ่อย ๆ และมีอาการเลียปากตัวเองถี่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะปากของเค้านั้นจะแห้งผากสุดๆ

    4. พูดนอกเรื่องไปเรื่อย!!

    เป็นเรื่องเบสิกที่คนโกหกมักจะพูดมากเป็นพิเศษ นั่นเป็นเพราะเขาต้องการให้เชื่อในข้อมูล (โกหก) ของเขามากที่สุด แต่เมื่อได้ลองตั้งใจฟังกันดีๆ แล้วเรื่องที่เค้าพูด หรือตอบมามักจะไม่เกี่ยวกับสิ่งที่ถามเลยด้วยซ้ำ บางครั้งก็มักจะชวนพูดนอกประเด็น หรือเป็นการโยนความผิดให้คนอื่นซะมากกว่า

    5. กระดิกเท้าไม่หยุด

    เป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่ายมาก เพราะนั่นแปลว่าเค้าคนนั้นกำลังตื่นเต้น เครียด และเริ่มเสียการควบคุมของร่างกาย เนื่องจากไม่สามารถระบายอารมณ์ออกมาได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถ้าไม่ได้โกหกอยู่ก็ไม่รู้ว่าจะเครียด หรือตื่นเต้นทำไม จริงมั้ย

    6. จับจมูก คาง หรือปากตลอด

    เพราะนี่เป็นท่าทางที่พยายามสร้างความมั่นใจ และท้าทายผู้ถาม เหมือนเป็นการพยายามปรามว่าสิ่งที่ผู้ถามคิดนั้นคิดผิดแล้ว แต่จริงๆ แล้วคนที่ถูกถามคำถามนั้นส่วนใหญ่จะแสดงท่าทางแบบนี้เมื่อเจอกับคำถามที่ทำให้หงุดหงิด และอึดอัด ซึ่งก็จะทำให้มืออยู่ไม่สุข มักจะไปจับจมูก จับคาง หรือปากอยู่ตลอด และนั่นแปลว่าเขาไม่ต้องการจะตอบคำถามนี้และกำลังจะคิดคำตอบเพื่อพาตัวเองออกจากสถานการณ์ที่เสียเปรียบนี้เสียที

    7. พูดคำเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา

    คำที่คนเหล่านี้นิยมใช้มักจะหนีไม่พ้น “ผมไม่ได้ทำ” “ผมไม่รู้” “ผมไม่เกี่ยว” คำพูดเหล่านี้เป็นเพียงการซื้อเวลาเพื่อต่อรองให้อีกฝ่ายยอมเชื่อเขา และปล่อยให้เขาพ้นจากสถานการณ์กดดันตรงหน้าเสียที และลองสังเกตดูว่าคนเหล่านี้จะพูดเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเราถามประโยคซ้ำๆ และมักจะมีอารมณ์หงุดหงิดจนเกินพอดี เพราะเป็นความหงุดหงิดที่อยากจะหลุดพ้นจากสถานะตรงนั้นเสียที

    8. ทำตัวนิ่งเกินไป

    “อย่าระแวงคนที่กระวนกระวายเกินเหตุ แต่จงระวังคนที่นิ่งเกินไป” นี่คือสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวไว้ ซึ่งมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นในหนัง ในซีรีส์ คนที่นิ่งที่สุด ไม่แสดงอาการที่สุดมักจะเป็นคนร้าย!! เพราะเค้าเหล่านั้นมักจะพยายามซ่อนความลับบางอย่างเอาไว้ และถ้าพูดอะไรมากไป หรือแสดงมากไปก็อาจจะเผลอหลุดความลับนั้นออกไปได้

    9. จังหวะการหายใจที่เปลี่ยนไป

    คนที่กำลังโกหกเพราะโดนคำถามแบบจี้จุด พวกเขาจะมีจังหวะการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้น มีความดันเลือดสูง ทำให้ร่างการต้องการออกซิเจนจึงหายใจเร็วขึ้นอย่างกะทันหัน เลยทำให้หลายต่อหลายครั้งการสอบสวนจะมีการติดเครื่องวัดชีพจรดูความคงที่ของการเต้นของหัวใจนั่นเอง และถ้าใครที่การเต้นของหัวใจมีจังหวะขึ้นๆ ลงๆ ถี่ๆนั้นคือเขากำลังตื่นเต้นกับคำถามและกำลังพยายามคิดหาคำตอบอยู่!

    10. การขยับหัวไปมา

    การเอียงคอ ขยับหัวไปมาช้าๆ หรือพยายามหันหน้าไปทางอื่นชั่วขณะ ทาง FBI วิเคราะห์ว่า เป็นท่าทางของผู้ที่กำลังทบทวนคำถาม และคาดเดาคำตอบที่อีกฝ่ายต้องการอยู่ในใจ เพราะฉะนั้นคำตอบที่ออกมาจากผู้ที่ทำท่าทางเช่นนี้ จะมีแนวโน้มว่าเขากำลังหลอกอะไรคุณสักอย่าง และแน่นอนว่ามันไม่ใช่ตอบตอบจริงๆ แต่เค้ากำลังตอบในสิ่งที่คุณอยากฟัง หรือทำให้เค้าพ้นโทษนั่นเอง

    https://www.youtube.com/watch?v=6VgWpI6k7uM

    อย่าเป็นคนดีเกินไป

     

    Tags:



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories