• March 31, 2021

    พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย
    1. แครนเบอรี่ (Cranberry Juice Powder)
    2. งาดำ (Black Sesame)
    3. น้ำมันปลา (Fish Oil)
    4. เห็ดหลินจือ (Ganoderma Lucidum Extract)
    5. โกจิเบอรี่ (Wolfberry Fruit)
    6. กระเทียมดำ (Fermented Black Garkic)
    7. ชิแซนดร้า เบอรี่  [โหงวบี่จี] (Schisandra Extract)
    8. ฟูคอยแดน (Fucoidan) 
    9. หญ้าหางม้า (Horsetail Extract)
    10. แดนดิไลออน (Dandelion)

    มีอาการเนื่องมาจากของเสียคั่ง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร คันตามตัว สะอึก ปลายมือเท้าชา เป็นตะคริวบ่อยๆ คันตามผิวหนัง มือข้อเท้าบวม ตาบวมหลังตื่นนอน

    • Creatinine ยิ่งน้อยยิ่งดี ไม่เกิน 1.5 สูง ระยะอันตราย 4-5 ขึ้นไป
    • eGFR ยิ่งมากยิ่งดี มากกว่า 90 ดี ระยะอันตรายต่ำกวา 15-29
    • BUN ยิ่งน้อยยิ่งดี 10-20 mg/dl (ถ้าน้อยไปอาจมีปัญหาที่ตับ)

    ตำแหน่งและลักษณะของไต

    คนปกติมีไตอยู่ 2 ข้าง คล้ายเมล็ดถั่วแดง แต่ละข้างวางตัวในลักษณะแนวตั้ง ขนานกับกระดูกไขสันหลังช่วงเอว ฝังตัวติดกับผนังลำตัวของแผ่นหลัง ตำแหน่งของไตจะอยู่บริเวณสีข้างของร่างกาย โดยไตข้างซ้ายจะวางตัวสูงกว่าไตข้างขวาเล็กน้อย เนื่องจากด้านบนไตข้างขวาเป็นตำแหน่งของตับ ซึ่งไตทั้ง 2 ข้างนั้นจะหันส่วนเว้าหรือที่เรียกว่า ขั้วไต เข้าหากระดูกไขสันหลัง

    ส่วนของเนื้อไต ประกอบไปด้วยหน่วยไต (nephron) ในไตแต่ละข้างจะมีหน่วยไตอยู่ประมาณ 1 ล้านหน่วย กรองพลาสมา (plasma) หรือ น้ำเลือด ปรับส่วนประกอบและความเข้มข้นของปัสสาวะ หน่วยไตแต่ละหน่วยจะทำงานเป็นอิสระต่อกัน จนถึงจุดเชื่อมที่หลอดไตฝอยรวม (collecting duct) ปัสสาวะที่ผลิตได้จากแต่ละหน่วยไตจึงไหลรวมกันเข้าสู่หลอดไตฝอยรวม กรวยไต และท่อไต ไปสะสมรวมกันอยู่ที่กระเพาะปัสสาวะเพื่อรอการขับทิ้งออกจากร่างกาย

    หน้าที่ของไต

    การขับของเสียออกจากร่างกายด้วยการผลิตปัสสาวะให้มีปริมาณของส่วนประกอบและปริมาตรที่เหมาะสม เป็นการรักษาสมดุลของน้ำกับแร่ธาตุในร่างกาย จะทำงานโดยหน่วยไต
    ไตยังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ เช่น การกระตุ้นวิตามินดี (vitamin D) เพื่อช่วยควบคุมระดับแคลเซียมในร่างกาย การสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอิทิน (erythropoietin) เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง และการหลั่งเอนไซม์เรนิน (renin) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิต

    หน้าที่ของไต
    – การขับของเสีย ขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ฉะนั้นถ้าขับไม่ได้ จะมีอาการบวมตามตัว
    – มีหน้าที่เกี่ยวกับการสมดุลของเกลือแร่ ประเภทกรดด่างต่างๆ
    – สังเคราะห์ฮอร์โมนวิตามินต่างๆ สร้างฮอร์โมนท์ที่กระตุ้นเม็ดเลือดต่อวิตามินดี ฉะนั้นหากไตเสื่อมการทำงานของไตก็อาจจะมีเลือดจาง และมีภาวะขาดวิตามินได้

    วิธีการดูแลไต

    • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
      การดื่มน้ำช่วยให้ไต ไม่ต้องทำงานหนักเนื่องจาก ไม่ต้องกรองน้ำเลือดที่ข้นหนืด 8-10 แก้ว ( 2 ลิตร) ต่อวัน หรือตามที่ Institute of Medicine (IOM) ประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำ ดื่มน้ำเฉลี่ย 3.7 ลิตรต่อวัน ในผู้ชาย และ 2.7 ลิตรต่อวันในผู้หญิง
    • กินอาหารและใช้อาหารเสริมอย่างเหมาะสม
      การรับประทานอาหารที่เหมาะสม เสมือนเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งในการดูแลสุขภาพ เลี่ยงอาหารรสจัด โดยเฉพาะ หวานและเค็ม มักนำมาด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตามลำดับ การรับประทานอาหารเสริมบางชนิดที่มากเกินความจำเป็นก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดความผิดปกติที่ไตได้
    • ป้องกันการกระทบกระแทกบริเวณสีข้าง
      การถูกตีหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณสีข้าง อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคไตวายได้เนื่องจากเป็นตำแหน่งของไต เช่นจาก การเหยียบหรือการต่อตัวโดยใช้บริเวณหลังของร่างกายเป็นฐาน
    • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
      การตรวจร่างกายเป็นประจำเป็นสิ่งที่ควรกระทำอยู่แล้วในการดูแลสุขภาพ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของโรคนั้นๆ ใช้ยาควบคุมโรคอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากยาส่วนใหญ่ ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุของโรค และการไม่ดูแลรักษาโรคประจำตัวที่ยกตัวอย่างไปนั้น จะส่งผลให้ไตทำงานได้แย่ลง
    • งดบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์) และเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน (ชา กาแฟ)
      สารนิโคติน (Nicotine) ในบุหรี่ และคาเฟอีนในขนาดสูงทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในอีกหลายๆ กลไกที่ทำให้เกิดพิษต่อไต และเช่นเดียวกับคาเฟอีน การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ในปริมาณมากๆ ทำให้เกิดการสลายตัวของกล้ามเนื้อและเกิดไตวายเฉียบพลันตามมา
    • ใช้ยาอย่างระมัดระวัง
      ยาทั่วไปที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย แต่อาจส่งผลต่อการทำงานของไต ทำให้ไตทำงานได้ลดลง ได้แก่ยาในกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ได้มีโครงสร้างเป็นสเตียรอยด์ ที่เรียกย่อๆว่ายากลุ่ม “ NSAID” (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs; NSAIDs) เช่น Aspirin, Diclofenac, Ibuprofen, Indomethacin, Naproxen และ Piroxicam เป็นต้น รวมไปถึงยากลุ่มอื่นๆ เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านไวรัส เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ยาในกลุ่มนี้ร่วมกับยาอื่นอาจส่งเสริมให้เกิดอาการข้างเคียงของยา (ในที่นี้คือ เป็นพิษต่อไต) ที่รุนแรงเพิ่มขึ้น จากการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา (drug-drug interactions) หรือที่เข้าใจกันง่ายๆ ว่า “ยาตีกัน” เช่น ในกรณีผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยา Cyclosporine เพื่อกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยยาดังกล่าวมีอาการข้างเคียงของยาที่ทำให้เกิดพิษต่อไตได้อยู่แล้ว ต่อมาเนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายของผู้ป่วยต่ำอาจติดเชื้อราขึ้นได้ จึงรับประทานยา Ketoconazole หรือ Itraconazole เพื่อจะรักษาอาการติดเชื้อรา ซึ่งยาที่กล่าวไป 2 ตัวหลังจะทำให้ระดับยา Cyclosporine ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นและทำให้โอกาสเกิดพิษต่อไตสูงขึ้นตามไปด้วย

    สาเหตุของโรคไต

    1.เกิดจากเบาหวานที่เป็นมาระยะเวลานาน
    2.เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง อันดับสามเกิดจากไตอักเสบเรื้อรัง มีภาวะอุดกลั้นทางเดินปัสสะวะ พวกนิ่วในไต
    3. ซื้อยารับประทานเอง อาทิ ยาแก้ปวด ยาสมุนไพรต่างๆ

    อาการของโรคไต

    โรคไตเรื้อรังเป็นภัยเงียบ ช่วงแรกจะไม่มีอาการแสดงให้เห็นและยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์อีกที เมื่อมีอาการผิดปกติมากแล้ว ซึ่งเมื่อแพทย์สอบถาม มักจะพบอาการ ดังต่อไปนี้
    – บวมตามตัว โดยเฉพาะบริเวณขาหรือเท้าและหนังตา ซึ่งคนปกติหากไม่เคยบวมแล้วบวมขึ้นมา ถือว่าน่าสงสัย
    – ปัสสาวะผิดปกติ เช่น เวลาที่ราดน้ำหรือกดชักโครก แล้วเกิดมีฟอง ยิ่งฟองเยอะหรือหลายชั้น แสดงว่าผิดปกติ รวมไปถึงสีของปัสสาวะผิดปกติ เช่น มีสีน้ำล้างเนื้อ สีแดงจางๆ การเข้าห้องน้ำบ่อย ทั้งระหว่างวัน และตอนนอน หมายถึงมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งคนไข้ควรสังเกตอาการ
    – อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ทานได้น้อย คลื่นไส้อาเจียน

    ระยะของโรคไต

    โรคไตเรื้อรังแบ่งออกเป็น 5 ระยะ สามารถทราบระยะได้จากการตรวจเลือดและดูค่าของไต ที่เรียกว่า Creatinine มาวิเคราะห์ตามสูตร โดยคำนวนอายุ เพศ น้ำหนัก และคิดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์
    100 % แสดงว่าปกติ
    ค่าระหว่าง 90% คือ เป็นโรคไตระยะที่ 1
    ค่าระหว่าง 60 – 90 % คือระยะที่ 2
    ค่าระหว่าง 30 – 60 % คือระยะที่ 3 ซึ่งทั้ง 3 ระยะ แทบจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น แพทย์ต้องซักประวัติและถามอาการอย่างละเอียด แต่หากคนไข้พบว่าเป็นโรคไต ในระยะต้นๆ ถือว่าโชคดี ที่จะทำการรักษา 
    ค่าระหว่าง 15 – 30% คือระยะที่ 4
    ค่าต่ำกว่า 15 % คือระยะที่ 5 ถือว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือ ไตวายระยะสุดท้าย ซึ่งจะต้องมีการบำบัดทดแทนไตต่อไป

    การป้องกันภาวะไตวาย

    – ควบคุมอาหาร ลดอาหารเค็ม เพื่อช่วยไม่ให้ไตทำงานหนัก ทั้งยังเป็นการควบคุมความดัน
    – ลดอาหารที่มีไขมันสูง
    – งดสูบบุหรี่
    – ดื่มน้ำเปล่าที่มีอุณหภูมิปกติมากๆ เพราะการดื่มน้ำไม่มีข้อห้ามใดๆ และดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการบำรุงไต ให้ทนทานต่อภาวะต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
    – หากเป็นเบาหวานก็ต้องคุมน้ำตาล
    – หากเป็นโรคความดันสูงต้องคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ
    – หากเกิดจากยาที่รับประทาน ก็ต้องหยุดยา
    – ควบคุมยาที่มีผลกับไต เลี่ยงการกินยาที่เราไม่ทราบสรรพคุณหรือว่ากินยาที่ไม่จำเป็นโดยเฉพาะพวกยาแก้ปวด หรือ ยาสมุนไพรเป็นระยะเวลานาน
    หากทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงแล้ว ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อหาแนวทางในการรักษา

    แนวทางการดูแลไตให้แข็งแรง

    1. ลดน้ำหนัก

    ก่อนอื่นต้องเช็กดูว่าคุณมีน้ำหนักตัวเกินหรือไม่ โดยคำนวณคร่าว ๆ ว่า ถ้าคุณสูง 150 เซนติเมตร ควรมีน้ำหนักประมาณ 40-50 กิโลกรัม ถ้าสูง 160 เซนติเมตร ก็ควรหนัก 50-60 กิโลกรัม หากมีน้ำหนักเกินกว่าที่กล่าวไป ก็จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคไตได้มากกว่าคนอื่น หรือถ้าเป็นโรคไตอยู่แล้ว ก็จะส่งผลให้ไตเสื่อมมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากมีน้ำหนักเกิน ก็ควรลดน้ำหนักลงประมาณ 5-10% ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น เช่น สูง 150 เซนติเมตร น้ำหนัก 60 กิโลกรัม ก็ควรลดน้ำหนักลงเหลือ 57 หรือ 54 กิโลกรัม เพื่อทำให้สุขภาพไตดีขึ้น 

    2. ลดความดันเลือดสูง

    ค่าความดันเลือดของคนทั่วไป ค่าบนจะอยู่ที่ 90-120 มิลลิเมตรปรอท ส่วนค่าล่างประมาณ 60-80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าความดันค่าบนมากกว่า 140 และตัวล่างมากกว่า 90 จะจัดว่าความดันเลือดสูง

    คนที่อายุมากกว่า 60 ปี ควรคุมให้ค่าบนน้อยกว่า 150 ส่วนค่าล่างน้อยกว่า 90 

    คนที่อายุน้อยกว่า 60 ปี ควรคุมให้ค่าบนน้อยกว่า 140 ส่วนค่าล่างน้อยกว่า 90 

    ส่วนคนที่เป็นโรคไตควรต้องคุมความดันเลือดให้ต่ำกว่านั้น ขึ้นอยู่การพิจารณาของแพทย์โรคไตว่าจะต้องคุมความดันอยู่ที่เท่าไร

    แนวทางการควบคุมความดันเลือด มีหลักการดังนี้

    @ ลดน้ำหนัก พยายามลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากลดน้ำหนักได้ 10 กิโลกรัม จะสามารถลดความดันเลือดได้ 5-20 มิลลิเมตรปรอท

    @ ควบคุมอาหารเพื่อหยุดความดันเลือดสูง จานข้าวเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ครึ่งหนึ่งของจานจะเป็นผักและผลไม้ คนไข้ที่เป็นโรคไต ควรกินผักมากกว่าผลไม้

    • – ¼ จานจะเป็นหมวดข้าวแป้ง เน้นเป็นพวกธัญพืช ข้าวไม่ขัดสี ลูกเดือย ข้าวโพด กินข้าวขาวให้น้อยลง เพราะทำให้น้ำตาลขึ้นเร็ว 
    • – ดื่มนม 1 แก้ว หรือกินเนื้อสัตว์ประมาณ 100 กรัม เช่น อกไก่ หมูไร้มัน อาหารทะเล หลีกเลี่ยงการกินสัตว์เนื้อแดง
    • – ถั่วเขียว ถั่วเปลือกแข็ง พิตาชิโอ ประมาณ 1 ส่วนต่อวัน
    • – น้ำมันประมาณ 1-2 ส่วนต่อวัน
    • – ขนมหวาน รับประทานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง กินเป็นโยเกิร์ตไขมันต่ำ 1 ถ้วย น้ำตาล/น้ำเชื่อม/แยม 3 ช้อนชา/สัปดาห์ 

    อาหารที่ช่วยให้ความดันเลือดลดลงคือ ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียม เช่น คะน้าสุก ผักโขมลวก แครอตสุก ผักกาดหอม มะเขือเทศ ฟักทอง บร็อคโคลี่ มะระจีนสุก ฝรั่ง สตรอว์เบอร์รี่ ขนุน แคนตาลูป แตงโม เป็นต้น

    ลดเค็ม รับประทานโซเดียมน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชาต่อวัน (ซีอิ๊วหรือน้ำปลา ประมาณ 4 – 5 ช้อนชาต่อวัน)  ได้แก่ น้ำปลา ซีอิ๊ว ชีส เกลือ อาหารกระป๋อง ซุป เบคอน หมูแฮม ขนมกรอบๆ กะปิ ปลาร้า ของหมักของดองต่างๆ 

    ผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูง ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน รวม 150 นาทีต่อสัปดาห์

    3.ลดน้ำตาล

    ค่าระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ค่าปกติอยู่ที่ 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 

    การที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ ควรเลือกกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสม รวมทั้งควรเลือกอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่า 55 เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวสาลี ขนมปังโฮลวีต นมสด นมพร่องมันเนย โยเกิร์ตไขมันต่ำ แครอต ข้าวโพดหวาน น้ำผึ้ง เป็นต้น

    ผลไม้ที่ควรกินได้ ได้แก่ แอปเปิ้ล สตรอว์เบอร์รี่ เชอร์รี่ ส้ม ลูกแพร แก้วมังกร ฝรั่ง กล้วยน้ำว้า มะม่วง และองุ่น ผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่ แตงโม และอินทผลัม



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories


Uncategorized