Ref. https://www.thaipan.org/data/499
กว่าคะน้าจะโตให้เรากิน ต้องฉีดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ย 15-20 ครั้ง
หากแมลงศัตรูพืชระบาดมาก ต้องฉีดสารเคมีมากที่สุดถึง 36 ครั้ง ต่อหนึ่งรอบการผลิต หรือประมาณ 45 วัน
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกร 110 ครัวเรือนในหมู่บ้านแห่งหนึ่งทางภาคอีสาน ที่ปลูกคะน้ามานานกว่า 45 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2510) สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (pesticide) ที่ใช้หลัก ๆ มี 3 ประเภท
1.สารเคมีกำจัดวัชพืช (herbicide)
2.สารเคมีกำจัดแมลง (insecticide) เพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชหลัก คือ ด้วงหมัดผัก ด้วงหมัดดิน และหนอนชนิดต่างๆ
3.สารเคมีกำจัดโรคพืช (fungicide)
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรใช้ มีไม่ต่ำกว่า 30 ชนิด (กว่า 50 ชื่อการค้า) เช่น
สารเคมีกำจัดวัชพืช
ไกลโฟเซต
ไอโซโพรพิลแอมโมเนียม (glyphosate isopropyl ammonium)
2,4-ดี ไดเมททิลแอมโมเนียม (2,4-D dimethylammonium)
อะลาคลอร์ (alachlor)
ออกซีฟลูออร์เฟน(oxyfluorfen)
ฮาโลซีฟอป-อาร์-เมทิล เอสเทอร์ (haloxyfop-R-methyl ester)
ควิซาโลฟอป – พี – เทฟูริล (quizalofop-P-tefuryl)
สารเคมีกำจัดแมลง
คาร์โบฟูราน (carbofuran)
เมโทมิล (methomyl)
ไดโครโตฟอส (dicrotophos)
คาร์โบซัลแฟน (carbosulfan)
ไซเปอร์เมทริน (cypermethrin)
คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos)
คลอร์ฟีนาเพอร์ (chlorfenapyr)
โทลเฟนไพเรด (tolfenpyrad)
อะบาเม็กติน (abamectin)
ไดโนทีฟูแรน (dinotefuran)
อะเซตามิพริด (acetamiprid)
ฟลูเบนไดอะไมด์ (flubendiamide)
อินดอกซาคาร์บ (indoxacarb)
โปรฟีโนฟอส (profenofos)
คาร์บาริล (carbaryl)
คลอร์ฟลูอาซูรอน (chlorfluazuron)
สารเคมีป้องกันและกำจัดโรคพืช
คาร์เบนดาซิม (carbendazim)
เบโนมิล (benomyl)
เมทาแลกซิล (metalaxyl)
โพรพิโคลนาโซล+โพรคลอราซ( propiconazole + prochloraz )
คลอโรทาโลนิล (chlorothalonil)
ยังพบสารเคมีที่ไม่มีฉลาก หรือไม่ระบุชื่อสามัญ (ชื่อสารเคมี) เช่น คาใบ มูมู่ ซุปเปอร์ซันฮีโร่ อายูมิ 50 วี-เอ็กซ์
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างเข้มข้น เนื่องจากการระบาดของโรค แมลงและสัตว์ศัตรูพืช เป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงในการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ชนิดเดิมซ้ำๆ ในพื้นที่เดิม เป็นเวลานาน ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น (ต้นทุนค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของต้นทุนการผลิตทั้งหมด) เกษตรกรเองยังได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งในด้านสุขภาพที่เกิดการเจ็บป่วยจากการสัมผัสสารเคมี ด้านสังคมที่เกิดความขัดแย้งในชุมชนจากการฟุ้งกระจายของสารเคมีที่ฉีดพ่น และด้านสิ่งแวดล้อม จากการปนเปื้อนสารเคมีในดิน น้ำ และอากาศ ทำให้อาหารธรรมชาติที่เคยมีอยู่มากมายทั้งพืชผัก กุ้ง หอย ปู ปลา ก็ลดน้อยลงไป ที่เหลือรอดอยู่บ้างก็ไม่กล้าเก็บหามากิน เนื่องจากกลัวสารเคมีตกค้าง
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลงเหลือตกค้างในผลผลิต โดยเฉพาะสารที่มีการออกฤทธิ์แบบดูดซึม (systemic insecticide) เช่น คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส หากยังมีการตกค้างในผลผลิตไม่ว่าจะเป็นคะน้า หรือพืชผักชนิดอื่นๆแล้วล่ะก็ ผู้บริโภคมั่นใจได้เลยว่า ล้างอย่างไรก็ล้างไม่ออก
อื่นๆ
ทางเลือกทางออกของเกษตรกรที่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการผลิต
https://www.thaipan.org/data/361
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
https://www.thaipan.org/data/457
ผลการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผัก 2012
กินผักผลไม้ได้สารอาอาหาร หรือ สารพิษ
https://www.thaipan.org/action/689
ตามที่เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN : Thailand Pesticide Alert Network) ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ ได้ดำเนินการสุ่มตรวจผัก 7 ชนิดซึ่งเป็นผักที่บริโภคกันทั่วไป โดยสุ่มเก็บจากผักที่ได้รับมาตรฐาน Q และผักตราห้าง (house brand)ที่ขายในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าพืชผักดังกล่าวมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ( ในการวิเคราะห์นี้ใช้ค่ามาตรฐาน MRL ของสหภาพยุโรปเป็นค่าเปรียบเทียบ ) 6 จากที่สุ่มเก็บมา 14 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 43% ของตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งได้แถลงไปเมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม 2555
เครือข่ายไทยแพนและนิตยสารฉลาดซื้อยังได้สุ่มผักจำนวน 7 ชนิด
กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชี และพริกจินดา
ที่ขายในตลาดสดทั่วไป 2 ตลาด ได้แก่ ตลาดห้วยขวาง และตลาดประชานิเวศน์ รวมถึงผักที่ขายในรถเร่ ไปวิเคราะห์หาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต ที่ห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
1.ผักในตลาดสดทั่วไป และ รถเร่พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐาน 38.1%
จากจำนวนตัวอย่างผักที่สุ่มตรวจจากตลาดห้วยขวาง 7 ตัวอย่าง ตลาดประชานิเวศน์หนึ่ง 7 ตัวอย่าง และจากรถเร่ 7 ตัวอย่าง พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐานทั้งหมด 8 ตัวอย่างจากทั้งหมด 21 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 38.1 % ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับผลการสุ่มตรวจผักที่มีตรามาตรฐาน Q ของกรมวิชาการเกษตรและผักที่ขายในห้างซึ่งพบว่ามีผักที่พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐาน 43 % ทั้งๆที่ผักดังกล่าวมีราคาแพงมากกว่าผักที่ขายในตลาดสดตั้งแต่ 2-10 เท่า
2.ผักชี ถั่วฝักยาว พริกจินดา คือผัก 3 ชนิดที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด
ถั่วฝักยาว พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 6 ชนิด ได้แก่ Acephate, Carbofuran, EPN, Ethion, Methomyl และ Omethoate เช่น ถั่วฝักยาวตราผักดอกเตอร์มี CarbofuranและMethomyl เกินค่ามาตรฐานยุโรป 3.5 และ 4 เท่าตามลำดับ ถั่วฝักยาวที่ได้จากห้างเทสโก้พระรามสองพบ Ethion เกินมาตรฐาน 5 เท่า ในขณะที่ถั่วฝักยาวที่ได้จากตลาดห้วยขวางพบ EPNเกินค่ามาตรฐานถึง 34 เท่า
ผักชี พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 5 ชนิด ได้แก่ Carbofuran, Chlorpyrifos, EPN, Methidathion และ Methomy ที่น่าสนใจคือผักชีจากกูร์เมต์ มาร์เก็ต (สยามพารากอน) พบCarbofuran เกินค่ามาตรฐาน 37.5 เท่า ผักชีตลาดประชานิเวศน์ พบ Carbofuran เกิน 56.5 เท่า ในขณะที่ตลาดห้วยขวาง พบ EPN เกิน 102 เท่า
พริกจินดา พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 2 ชนิด ได้แก่ Methidathion และ Triazophos โดยพริกจินดาจากรถเร่มี Methidathion ตกค้างสูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 121 เท่า ในขณะที่พบจากตลาดห้วยขวางและประชานิเวศน์ประมาณ 5 เท่า
คะน้า พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 2 ชนิด ได้แก่ Dicrotophos และ Methidathion โดยพบสารเคมี Dicrotophos ตกค้างมากที่สุดที่ตลาดห้วยขวาง โดยพบสูงกว่า 202 เท่าเทียบกับมาตรฐานของยุโรป
3.ผักบุ้งจีนปลอดภัยกว่าแต่กะหล่ำปลีและผักกาดขาวยังต้องเฝ้าระวัง
ผักที่ไม่พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตตกค้างเลย คือ ผักบุ้งจีน เนื่องจากเป็นผักที่มักมีศัตรูพืชน้อยกว่าผักประเภทอื่นๆ สำหรับกะหล่ำปลีและผักกาดขาวซึ่งเป็นผักที่มีความเสี่ยงในการพบสารเคมีตกค้างค่อนข้างมากนั้น ผลการสำรวจครั้งนี้ยังพบว่ามีการตกค้างน้อยกว่ามาตรฐานที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกอช.) และของสหภาพยุโรปกำหนดไว้ ซึ่งอาจเกิดจากช่วงที่สุ่มเก็บตัวอย่างนั้นยังไม่ใช่ฤดูกาลที่ศัตรูพืชของผักประเภทนี้ระบาดทำให้มีการใช้สารเคมีน้อยกว่าปกติ อย่างไรก็ตามสารที่พบก็เป็นสารที่มีอันตรายร้ายแรง คือ Carbofuran และ Methomyl แม้ไม่เกินค่ามาตรฐานแต่หากได้รับบ่อยๆก็จะสะสมในร่างกายจนก่อให้เกิดอันตรายได้
4.มีสารกำจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวังหรือห้ามใช้นอกเหนือจากวัตถุอันตรายร้ายแรง 4 ชนิด (Carbofuran, Methomyl, Dicrotophos และ EPN)
จากปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างชี้ให้เห็นว่า มีสารเคมีหลายชนิดที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งนอกจาก Carbofuran, Methomyl, Dicrotophos, EPN ที่เป็นสารอันตรายร้ายแรงและอยู่ในบัญชีเฝ้าระวังของกรมวิชาการเกษตรแล้ว ยังมีสารเคมีที่น่ากังวลอีก คือ Methidathion (ยุโรปห้ามใช้แล้ว) ที่พบในผักหลายชนิด พบจากทุกแหล่งซื้อ และมีปริมาณที่ตกค้างสูงมากจนน่ากังวล เช่น ในพริกจินดา ที่พบตกค้างมากเกินค่า MRL ถึง 121 เท่า