15.10.2021 ชัยชนะครั้งแรกของยาฆ่าพยาธิไอเวอร์เมคตินที่สหรัฐอเมริกา
Ref. https://www.isranews.org/article/isranews-article/103379-iver.html
15 ตุลาคม 2563 รัฐ Nebraska ของสหรัฐอเมริกาโดย Doug Peterson อัยการสูงสุดรัฐเนบราสก้า (Nebraska Attorney General) ได้ตัดสินให้แพทย์สามารถสั่งจ่ายยาไอเวอร์เมคติน เพื่อป้องกัน หรือ เพื่อรักษาการติดเชื้อโควิด-19 (Prescription of IVM as Off-Label Medicines for the Prevention or Treatment of Covid-19)
Ref. https://ago.nebraska.gov/opinions/prescription-ivermectin-or-hydroxychloroquine-label-medicines-prevention-or-treatment-covid?fbclid=IwAR35lYszGlqMruxw5u9S1N9xCSYfeRvQdW72AYBRqMmIslg5e4lN_F0qcX8
“Allowing physicians to consider these early treatments could save lives, keep patients out of hospitals, and provide relief for our already strained healthcare system.”
หมายเหตุ
(1) เอกสารสำคัญของ Nebraska Attorney General นี้ ได้พิจารณาอย่างละเอียดแล้ว เรื่องยาที่องค์การอนามัยโลกยังไม่ยอมรับรอง 2 ตัว โดย 1 ใน 2 ตัวนี้ คือ ยาฆ่าพยาธิไอเวอร์เมคติน ซึ่งท่านสามารถอ่านได้จากลิงก์นี้ https://bit.ly/3j7ZHm1
(2) ในเอกสารนี้ มีข้อมูลเกี่ยวกับยาไอเวอร์เมคตินทุกประเด็น ที่จัดทำโดย Dannette R. Smith, Chief Executive Officer, Nebraska Department of Health and Human Services เอกสารที่อ่านเข้าใจง่าย มีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการอย่างครบถ้วน เอกสารหลักฐานนี้ที่จะยืนยันว่า ประเทศใหญ่อย่างอินเดียและอินโดนิเซีย รัฐบาลเขาสามารถปราบเชื้อโควิดให้ราบคาบได้อย่างไร เทียบกับประเทศไทย (ดังแสดงในภาพ) ซึ่งระบบสาธารณสุขของไทยน่าจะดีกว่า
(3) รายงานได้สรุปในตอนท้ายดังนี้
“In summary, the evidence discussed above shows (1) that IVM has demonstrated some effectiveness in preventing and treating COVID-19 and (2) that its side effects are primarily minor and transient.
หลังการเปิดประเทศแล้ว ประชาชนคนไทยทุกคน ดูเหมือนจะมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 เองแล้ว แต่ละท่านจะต้องดูแลตนเองและครอบครัวให้ถึงความพร้อมในการป้องกันอย่างไร?
ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิต
ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
28 มิถุนายน 2021 ไอเวอร์เม็กติน ยาฆ่าพยาธิที่อ็อกซ์ฟอร์ดเริ่มทดลองว่าสู้ไวรัสได้ไหม แม้หลายชาติใช้แล้ว
https://www.bbc.com/thai/international-57640360
ยาไอเวอร์เม็กติน เคยถูกใช้รักษาโรคโควิดในทวีปอเมริกาใต้ แต่ยังไม่เคยมีการทดสอบทางการแพทย์กับยาตัวนี้
แม้จะมีผลลัพธ์เชิงบวกออกมาจากการทดลองเล็กๆ แต่ ..
ศาสตราจารย์ริชาร์ด ฮอบบ์ส หัวหน้าผู้วิจัยร่วมของโครงการพรินซิเพิล บอกว่ายังเร็วเกินไปที่จะแนะนำให้คนใช้ยาตัวนี้สำหรับโควิด
การศึกษาแบบสังเกตการณ์ที่เคยมีมา เป็นการไปดูคนที่รับยานี้อยู่แล้ว ไม่ใช่การไปให้ยากับกลุ่มประชากรที่เป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ได้ จึงไม่สามารถบอกได้ว่ายาจะมีผลอย่างไรต่อคนต่างกลุ่มกัน
การศึกษาแบบสังเกตุการณ์เคยชี้ว่ายาปฏิชีวนะอะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) อาจช่วยผู้ป่วยโควิดได้ แต่การทดลองโดยพรินซิเพิลชี้ในเวลาต่อมาว่ายาไม่ได้ผลแต่อย่างใด ดังนั้นการทดลองโดยโครงการพรินซิเพิลจึงมีมาตรฐานสูง สามารถวัดได้จริงๆ ว่ายามีประสิทธิภาพหรือไม่โดยไม่นับปัจจัยอื่น ๆ
แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานเพียงพอ แพทย์และคนที่ซื้อยากินเองก็ใช้ไอเวอร์เม็กตินกันแล้วทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นที่บราซิล โบลิเวีย เปรู แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา
บริษัทขายยา ซิงเกิลแคร์ (SingleCare) ในสหรัฐฯ บอกว่าในเดือน ม.ค. และ ก.พ. ปีนี้ มีคนสั่งยานี้ 817 ครั้ง เทียบกับแค่ 92 ครั้งเมื่อปีก่อน
ดร.สตีเฟน กริฟฟิน จากมหาวิทยาลัยลีดส์ บอกว่า อันตรายของการใช้ยาสำหรับอาการนอกเหนือที่กำหนดไว้บนฉลากคือ การใช้ยาตัวนั้นถูกผลักดันโดยกลุ่มที่ได้ผลประโยชน์ หรือคนที่สนับสนุนการรักษาทางเลือก จนมันถูกทำให้เป็นการเมือง
ดร.กริฟฟิน บอกว่า การทดลองโดยอ็อกซ์ฟอร์ดน่าเป็นคำตอบที่ชัดเจนว่าจะสามารถใช้ยานี้ได้ไหม
ทีมวิจัยของอ็อกซ์ฟอร์ดบอกว่าพวกเขาเลือกยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการทดลองเพราะว่าสามารถหายานี้ได้ง่ายทั่วโลก และก็ค่อนข้างปลอดภัย
ในจำนวนยาอีก 6 ตัวที่โครงการพรินซิเพิลทดลองอยู่ มีเพียงยาพ่นบูเดโซไนด์ที่มีสเตียรอยด์ที่ทีมวิจัยพบว่ามีประสิทธิภาพ
โครงการคู่ขนานของพรินซิเพิล ชื่อ ริคัฟเวอรี (Recovery) ซึ่งทดลองเรื่องการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลพบว่า เดกซาเมทาโซน เป็นยาสเตียรอยด์อีกตัวหนึ่งที่สามารถรักษาโควิดได้โดยพบว่าช่วยชีวิตคนได้มากกว่า 2 หมื่นรายในสหราชอาณาจักร
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ชาวแอฟริกาใต้บางส่วนเรียกร้องให้ทางการอนุญาตให้มีการใช้งานยาไอเวอร์เม็กตินได้
ยาตัวนี้ได้รับความนิยมในตลาดมืด นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีการยึดยานี้ได้แล้วหลายล้านเม็ดในแอฟริกาใต้ โดยพบว่าเครือข่ายผิดกฎหมายนี้ไปไกลถึงจีนและอินเดีย
ก่อนที่จะถูกนำเข้ามาเกี่ยวข้องกับการรักษาโควิด ยาไอเวอร์เม็กติน 10 เม็ด มีราคา 4 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 120 บาท) แต่ตอนนี้ราคาปรับเพิ่มขึ้นเป็น 15 เท่าตัว
ชาวแอฟริกาใต้ยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกันต่อการใช้ยาไอเวอร์เม็กตินเพื่อรักษาโควิด
หน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพของแอฟริกาใต้ (South African Health Products Regulatory Authority–Sahpra) ยังไม่อนุญาตให้ใช้ยานี้กับมนุษย์ มันถูกขึ้นทะเบียนให้ใช้รักษาพยาธิในสัตว์เท่านั้น
กระนั้น แพทย์บางคนก็ได้เริ่มใช้ยานี้แล้วในช่วงที่การระบาดระลอกแรกรุนแรงที่สุดในเดือน ก.ค. ปีที่แล้ว
ศ.นาทิ มัดลาดลา หัวหน้าหน่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยหนักที่โรงพยาบาลจอร์จ มูคารี อะคาเดมิก (George Mukhari Academic Hospital) ในเมืองเดอร์บัน เป็นหนึ่งในแพทย์ไม่กี่คนที่เรียกร้องให้มีการใช้ยาไอเวอร์เม็กตินในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
“ในช่วงที่ระลอกแรกระบาดหนักที่สุด โรงพยาบาลจำนวนมากทั้งของรัฐและเอกชน และคลินิกแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในแอฟริกาใต้ต่างก็ใช้ไอเวอร์เม็กติน” ดร.มัดลาดลา กล่าวกับบีบีซีเมื่อต้นปี
“ผู้คนกำลังล้มตายและแพทย์กำลังหาทางเลือกในการรักษาเพื่อพยายามช่วยชีวิตคน ไอเวอร์เม็กตินเป็นหนึ่งในยาที่แพทย์ได้นำมาปรับใช้แล้ว”
แนวคิดนี้มาจากลาตินอเมริกาซึ่งแพทย์ในบางประเทศได้ใช้ยานี้อยู่ ก่อนหน้านี้ การศึกษาบางแห่งระบุว่า ยานี้อาจได้ผลแต่จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม
ดร.มัดลาดลา กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังเกิดการระบาดระลอกที่สองในช่วงปลายปีที่แล้วขึ้น เจ้าหน้าที่ทางการจึงรู้เรื่องการใช้ยานี้และเริ่มมีการควบคุมการใช้ ทำให้แพทย์ที่สั่งจ่ายยานี้ต้องหยุดสั่งจ่าย เพราะเกรงว่าจะถูกลงโทษจากทางการ
เขาเชื่อว่า การทำเช่นนี้ไม่ได้ช่วยอะไร โดยเฉพาะครอบครัวที่ไม่สามารถจ่ายค่ารักษาในทางเลือกอื่นที่ราคาสูงกว่านี้
ยาฆ่าพยาธิ “ไอเวอเมคติน” (Ivermectin) ยาอีกชนิดที่ช่วยผู้ป่วย “โควิด-19” ได้
https://www.sanook.com/health/30121/
ยาฆ่าพยาธิไอเวอเมคตินก็สามารถบรรเทาอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ให้ทุเลาลงได้เช่นกัน ปลอดภัย เห็นผล แต่ยังห้ามซื้อกินเอง ต้องให้แพทย์พิจารณาจ่ายยาให้เท่านั้น
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาฆ่าพยาธิไอเวอเมคติน (Ivermectin) เอาไว้ว่า มีงานวิจัยที่พบว่า ยาไอเวอเมคตินช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ให้ดีขึ้นได้ มีการนำมาใช้จริงกับคน ช่วยลดอัตราการตายของผู้ติดเชื้อ และช่วยให้ผู้ที่มีอาการหายได้เร็วขึ้น อีกทั้งตัวยายังหาได้ง่าย แต่ยังคงต้องระมัดระวังและอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
โดยยาไอเวอเมคติน ในมุมมองของแพทย์ศิริราชและจากนพ.ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ได้กล่าวถึงงานวิจัยเกี่ยวกับตัวยาไอเวอเมคติน เอาไว้ว่า มีงานวิจัยอีกหลายการศึกษาของไอเวอเมคติน ที่พบว่ามีผลดีต่อการช่วยป้องกันเชื้อ ลดอาการเชื้อลงปอด และลดอัตราการตายได้ ซึ่งยังคงเป็นประโยชน์ต่อการใช้เพื่อป้องกันและรักษา
นอกจากนี้ สรุปการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ไอเวอเมคติน ในผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วโลก มีการศึกษา 14 ฉบับพบว่ามีผลในการป้องกันการติดเชื้อได้ 86% RR 0.14 [0.08-0.25] อีก 27 ฉบับพบว่าช่วยรักษาบรรเทาอาการในผู้ป่วยติดเชื้อได้ 72% RR 0.28[0.18-0.45] และอีก 25 ฉบับพบว่าช่วยลดอัตราการตายได้ 58% RR 0.42[0.30-0.59]
อีกทั้ง ศ.พญ.ยุพิน ศุพุทธมงคล หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า ไอเวอเมคติน จัดเป็นหนึ่งในแนวทางการรักษา สามารถลดโอกาสติด และอัตราการเสียชีวิตลงได้
การใช้ยาไอเวอเมคตินในคน
ยาที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ยาวนาน มีผลการทดสอบในหลอดทดลองพบว่าสามารถฆ่าเชื้อได้จริง
มีการนำมาใช้กับคนจริงในหลายประเทศหลักล้าน อเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน แอฟริกา อินโดนีเซีย อินเดีย
โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับการรักษาแบบมาตรฐาน จากงานวิจัยพบว่าช่วยลดอัตราการตายของผู้ติดเชื้อ และช่วยให้ผู้ที่มีอาการหายได้เร็วขึ้น
ต้องเป็นแบบที่ใช้รักษาในคน ไม่ใช่สำหรับสัตว์ หาได้ง่าย
ศ.พญ.ยุพิน สนใจยาตัวนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากเคยใช้สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง และได้ศึกษามาเป็นระยะเวลานาน โดยพบว่า ตัวยามีความปลอดภัยสูงที่จะนำมาใช้ทั้งในด้านป้องกันและรักษา
อื่นๆ
https://coronavirus.jhu.edu/map.html
https://gisanddata.maps.arcgis.com/apps/dashboards/bda7594740fd40299423467b48e9ecf6
https://github.com/CSSEGISandData/COVID-19
https://ourworldindata.org/coronavirus/country/thailand#how-many-tests-are-performed-each-day