IP – Ingress Protection Ratings คือมาตรฐานที่ใช้วัดความสามารถในการปกป้องสิ่งที่อยู่ภายในของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกทั้งหลาย มาตรฐาน นี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย European Committee for Electro Technical Standardization (CENELEC) (NEMA IEC 60529 Degrees of Protection Provided by Enclosures – IP Code), ซึ่งการจัดอันดับของการป้องกันจะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลักซึ่งหลักแรกจะแแสดงความสามารถในการป้องกันของแข็ง และหลักที่สองจะเป็นความสามารถในการป้องกันของเหลว รูปแบบการแสดงมาตรฐานจะเป็น IPXX ซึ่ง XX คือตัวเลขดังกล่าว เช่น IP45 IP66 เป็นต้น
ความหมายของตัวเลขหลักแรก
0 = ไม่ป้องกันอะไรเลย
1 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีขนาดไม่เกิน 50 มิลลิเมตร เช่น การเผลอไปจับตัวกล้องด้วยมือ
2 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีขนาดไม่เกิน 12 มิลลิเมตร เช่น เผลอแตะด้วยนิ้ว
3 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีตั้งแต่ 2.5 มิลลิเมตรขึ้นไป เช่น เครื่องมือ สายไฟ
4 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรขึ้นไป เช่น เครื่องมือ สายไฟ และสายไฟขนาดเล็ก
5 = สามารถป้องกันฝุ่นได้ในระดับหนึ่ง
6 = สามารถป้องกันฝุ่นได้
ความหมายของตัวเลขหลักที่สอง
0 = ไม่ป้องกันอะไรเลย
1 = สามารถป้องกันน้ำหยดใส่ได้ เช่น หยดน้ำที่เกิดจากความชื้น
2 = สามารถป้องกันละอองน้ำที่เข้ามาในมุมไม่เกิน 15 องศาจากแนวตั้ง
3 = สามารถป้องกันละอองน้ำที่เข้ามาในมุมไม่เกิน 60 องศาจากแนวตั้ง
4 = สามารถป้องกันละอองน้ำได้จากทุกทิศทาง
5 = สามารถป้องกันน้ำได้ในระดับหนึ่ง
6 = สามารถเปียกน้ำได้แต่ไม่นาน เช่น โดนฝน
7 = สามารถจุ่มน้ำได้ที่ความลึกตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร
8 = สามารถใช้งานใต้น้ำได้
มาตรฐาน IP-67, IP-68 กับ Outdoor Wireless นั้นสำคัญไฉน?
มาตรฐาน IP ประกอบไปด้วยตัวเลขสองหลักต่อท้ายจาก IP ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดความสามารถในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าไปในอุปกรณ์ Electronic ภายใน โดยตัวเลขที่ได้นั้นจะต้องมาจากผลการทดสอบจาก Lab
ตัวเลขตัวหลักที่หนึ่งจะบอกขนาดของแข็งที่จะสามารถป้องกันได้เช่นกรวด หรือแม้กระทั่งฝุ่นผงต่างๆ
ตัวเลขหลักที่สองจะบอกถึงความสามารถในการป้องกันของเหลว เช่นน้ำหรือไอน้ำ
โดยตัวเลขที่มากกว่าจะหมายถึงความสามารถที่สูงกว่านั่นเอง
ตัวเลขหลักที่หนึ่ง (การป้องกันของแข็ง และฝุ่นละออง)
0
– No protection (Sometimes X) ไม่สามารถป้องกันได้เลย
1
– Protected against solid objects up to 50mm³ ของแข็งขนาด 50 ลูกบาศก์มิลลิเมตร
2
– Protected against solid objects up to 12mm³ ของแข็งขนาด 12 ลูกบาศก์มิลลิเมตร
3
– Protected against solid objects up to 2.5mm³ ของแข็งขนาด 2.5 ลูกบาศก์มิลลิเมตร
4
– Protected against solid objects up to 1mm³ ของแข็งขนาด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร
5
– Protected against dust, limited ingress (no harmful deposit) สามารถป้องกันฝุ่นได้ โดยสามารถผ่านได้เล็กน้อย
6
– Totally protected against dust สามารถป้องกันฝุ่นได้ 100%
ตัวเลขหลักที่สอง (การป้องกันของเหลว)
0
– No protection (Sometimes X) ไม่สามารถป้องกันได้เลย
1
– Protection against vertically falling drops of water (e.g. condensation) สามารถป้องกันหยดน้ำที่ตกใส่ในแนวตั้งได้
2
– Protection against direct sprays of water up to 15 degrees from vertical สามารถป้องกันน้ำที่ฉีดใส่ในระดับเอียง 15 องศาจากแนวตั้งได้
3
– Protection against direct sprays of water up to 60 degrees from vertical สามารถป้องกันน้ำที่ฉีดใส่ในระดับเอียง 60 องศาจากแนวตั้งได้
4
– Protection against water sprayed from all directions – limited ingress permitted สามารถป้องกันละอองน้ำได้ในทุกด้านของอุปกรณ์ (โดยอนุญาติให้น้ำเข้าได้เล็กน้อย)
5
– Protected against low pressure jets of water from all directions – limited ingress permitted สามารถป้องกันการฉีดน้ำได้ในทุกด้านของอุปกรณ์ (โดยอนุญาติให้น้ำเข้าได้เล็กน้อย)
6
– Protected against low pressure jets of water, limited ingress permitted (e.g. ship deck) สามารถป้องกันการฉีดน้ำได้ (เช่นบนดาดฟ้าเรือ) (อนุญาติให้น้ำเข้าได้เล็กน้อย)
7
– Protected against the effect of immersion between 15cm and 1m สามารถจมน้ำได้ถึง 1 เมตร โดยไม่มีน้ำเข้าเลย
8
– Protected against long periods of immersion under pressure สามารถจมน้ำได้นาน
อ้างอิงจาก http://fcn-net.com/pages.php?pageid=37