• June 1, 2017

    รูปแบบ

    <FORM METHOD = “POST/GET” ACTION = “URL”> … </FORM>

    METHOD = เป็นรูปแบบในการส่งข้อมูล ประกอบไปด้วย
    GET = เป็นตัวรับ – ส่ง ข้อมูลขนาดจำกัดจาก Server ไม่เกิน 256 ตัวอักษร
    POST = เป็นตัวรับ – ส่ง ข้อมูลไม่จำกัดจาก Server
    ACTION = ตำแหน่งหรือ URL ของ CGI Script ที่วางไว้ที่ Server

    [b]สร้างช่องกรอกข้อมูลในฟอร์ม[/b]

    1. TEXT = รูปแบบที่ผู้ใช้ต้องป้อนโดยวิธีพิมพ์ข้อความลงไปในช่องข้อมูล

    <INPUT TYPE=TEXT SIZE=n1 NAME=fieldname MAXLENGTH=n2 VALUE=”message”>

    n1 = จำนวนตัวอักษรของกรอบรับข้อความ
    fieldname = เป็นชื่อฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลในรายการนี้
    n2 = จำนวนของความยาวสูงสุด
    message = ข้อความที่กำหนดให้เป็นค่าปกติ

    2. PASSWORD = รูปแบบที่รับข้อมูลคล้าย TEXT แต่จะแสดงเป็นเครื่องหมาย * ขึ้นเวลาป้อน

    <INPUT TYPE=PASSWORD SIZE=n1 NAME=fieldname MAXLENGTH=n2>

    n1 = จำนวนตัวอักษรของกรอบรับข้อความ
    fieldname = เป็นชื่อฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลในรายการนี้
    n2 = จำนวนของความยาวสูงสุด

    3. RADIO = รูปแบบการรับข้อมูลที่กำหนดทางเลือกไว้ให้ผู้ใช้เลือกทางใดทางหนึ่ง

    <INPUT TYPE=RADIO NAME=fieldname VALUE=”message” CHECKED>

    fieldname = ชื่อฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลในรายการนี้
    message = ค่าของรายการเลือกที่ถูกเลือก ค่าจะเก็บไว้ในฟิลด์ที่ต้องไว้
    CHECKED = แอ็ททริบิวต์ที่กำหนดให้เลือกที่ค่านั้น เป็นค่าปกติ จะมีได้เพียงรายการเดียวเท่านั้น ในแต่ละกลุ่มรายการ

    วิธีสร้างทางเลือกหลายทางก็คือให้พิมพ์แท็ก INPUT หลายๆ อัน โดยให้มีชื่อ Name ชื่อเดียวกัน

    4. CHECKBOX = รูปแบบการรับข้อมูลที่ให้ผู้ใช้เลือกได้มากกว่า 1 รายการ

    <INPUT TYPE=CHECKBOX NAME=fieldname VALUE=”message” CHECKED>

    fieldname = เป็นชื่อฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลในรายการนี้
    message = เป็นค่าของรายการเลือกที่ถูกเลือก ค่าจะเก็บไว้ในฟิลด์ที่ต้องไว้
    CHECKED = เป็นแอ็ททริบิวต์ที่กำหนดให้เลือกที่ค่านั้น เป็นค่าปกติ

    5. SUBMIT = สร้างปุ่มส่งข้อมูลทั้งหมดในแบบฟอร์มออกไป

    <INPUT TYPE=SUBMIT VALUE=”ข้อความที่จะแสดงบนปุ่ม”>

    6. RESET = สร้างปุ่มลบข้อมูลในฟอร์มทั้งหมดทิ้ง

    <INPUT TYPE=RESET VALUE=”ข้อความที่จะแสดงบนปุ่ม”>

    7. สร้างรายการข้อมูลให้เลือก เป็น Drop-Down Menu

    <SELECT NAME=ชื่อฟิลค์ที่ใช้เก็บข้อมูลของรายการที่เลือก มีค่าเป็น ข้อความที่เลือก>
    <OPTION> ข้อความรายการเลือกที่ 1
    <OPTION> ข้อความรายการเลือกที่ n
    </SELECT>

    แท็ก SELECT ยังมีแอ็ททริบิวต์ อีก 2 ตัว ดังนี้

    MULTIPLE ทำการแสดง Drop-Down Menu แบบหลายบรรทัด ค่าปกติคือ 4 บรรทัด หากมีรายการมากกว่านี้จะมีแถบ Scroll Bar ขึ้นมาด้วย
    SIZE=n ใช้กำหนดจำนวนบรรทัดใน Drop-Down Menu จากค่าปกติ 4 บรรทัด เป็นจำนวนเท่ากับ n แท็ก

    แท็ก OPTION ก็มีแอ็ททริบิวต์อีก 1 ตัว คือ

    SELECTED ใช้กำหนดในรายการที่ต้องการให้เป็นค่าเลือกเริ่มต้น สามารถใส่ได้รายการเดียวเท่านั้น

    8. สร้างกรอบป้อนข้อความแบบหลายบรรทัด

    <TEXTAREA NAME=fieldname ROWS=n COLS=m WRAP=VALUE> ข้อมูลที่ต้องการแสดงในกรอบป้อนข้อมูล </TEXTAREA>

    ROWS กำหนดจำนวนแถวที่ใช้ในการป้อนข้อมูล
    COLS กำหนดจำนวนคอลัมน์สูงสุดในการป้อนข้อมูลในแต่ละแถว จำนวนคอลัมน์ที่เหมาะสมที่สุด คือ 80 ตัวอักษร
    WRAP เมื่อต้องพิมพ์ในบรรทัดแรกไปจนสุดจอแล้วจะทำการขึ้นบรรทัดใหม่ให้ทันที โดยไม่ต้องเคาะบรรทัดใหม่ มี 3 ค่า ดังนี้
    off = การปิดการใช้งาน wrap ภายในพื้นที่เนื้อหา
    virtual = มีการ wrap ภายในฟอร์มเนื้อหา แต่เมื่อมีการส่งค่าไปโพสต์ที่เว็บแล้ว ข้อความที่พิมพ์จะไม่มีการ wrap
    physical = มีการ wrap ภายในฟอร์มเนื้อหา และในเว็บเพจด้วยเช่นเดียวกัน

    http://ma-tour.blogspot.com/2012/08/html_9514.html



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories