• August 12, 2017

    A. share host

    มีหลายแพลน จำกัด จำนวนโดเมน พื้นที่ จำนวนdatabase จำนวน bandwidth (แบนวิธ) ,อันลิมิเต็ดแพลน ก็มี

    B. Reseller

    ซื้อมาแบ่งขาย จัดสรรได้ ข้อ A ได้

    C. VPS

    เครื่องเสมือน เสมือนได้ 1 เครื่อง

    D. Dedicate server

    E. Server ไปวาง เรียก colo-cation (หรือ เช่าพื้นที่อย่างเดียวนั่นเองเพื่อไปวางเครื่องเรา)

    colo คือ คุณมีเครื่อง server อยู่แล้ว ยกไปวางกับผู้ให้บริการ
    dedicated คือ เช่าเครื่อง server ของผู้ให้บริการ
    ถ้าจะเช่า colo คุณต้องซื้อเครื่อง server ก่อนครับ

    Co-location Server (โคโลเคชั่น) คือ บริการเช่าพื้นที่วางเซิร์ฟเวอร์
    Dedicated Server คือ การเช่าเครื่องเซิฟเวอร์

    Dedicated Server กับ Co-location Server ต่างกันยังไง?
    Dedicated Server เครื่องของเขา (เช่าเครื่องใช้)
    Co-location เครื่องของเรา (เอาไปฝากวาง ในพื้นที่เขา ขอร่วมใช้พื้นที่)

    ลงทุนมีสองทาง

    1.) ขอไปเป็น reseller ชาวบ้าน กินส่วนต่าง
    เช่น ขอเป็น reseller vps ต้นทางขาย 500 ไปขาย 700 กินส่วนต่างเดือนละ 200

    2.) ถ้ามีเงินก็ลงครับ ซัก 35-40k ซื้อเครื่องดีๆซักเครื่อง
    โคโลเดือนละ 1,500 – 2,000 บาท
    (หรือหามือสองสภาพดี หรือ หาเช่าซื้อ)

    ค่าใช้จ่าย แบ่งเป็นสามส่วนหลักๆ

    1. Server อย่างที่บอกไป 30-40k ซื้อครั้งเดียว หรือว่าเช่าซื้อก็ได้ เดือนละ 4-5 พัน ใช้สามปีราคาตกจากราคาเต็มราวๆ 50%

    2. Colocation อันนี้เป็นค่าวาง เดือนละ 1500-2000

    3. billing software ซื้อขาดไปฮะ ทีเดียว 249$

    ถ้าเป็น linux ก็พวก license whmcs เดือนละ 150 หรือ ซื้อขาด 1500-2500 เงินไม่เยอะซื้อต่อจากคนที่วางโคโลด้วยก็ได้

    ก่อนจะลงทั้งหมดทั้งมวล ไปหาวิธีขายของให้ได้ก่อนครับ

    linux vps hosting
    linux shared hosting

    Domain
    หาได้ในราคาร้อยต้นๆ ยัน 300 บาท แล้วแต่ว่าจดกับที่ไหน เครื่อง Server
    จะเช่า VPS หรือ ซื้อเครื่องตัวเอง เครื่องละประมาณ 35,000 หรือ ถ้าใหญ่ๆหน่อยก็ 60,000+ ค่า VPS / Colocation
    ถ้า VPS เริ่มที่ประมาณ 400 หรือ วางเครื่องเอง ประมาณ 1,500 2,500 / เดือน ค่า Software license
    ถ้าเป็น Linux sharehost จะประหยัดมาก คนให้เช่า VPS/Colo ส่วนใหญ่แถม direct admin มาให้ แต่ถ้า Windows แพงเลยเพราะโดนทั้งค่า Windows Server, SQL Server (SPLA license แบบเช่าใช้ ทั้งคู่รวมกันน่าจะไม่ต่ำกว่า 2,000 ต่อเดือน)
    แนะนำเริ่มต้นจาก VPS แล้วก็ขยายขึ้นเรื่อยๆครับ reseller จะมีปัญหาตอนขยับขยายเพราะว่ามันต้องปรับเยอะครับ ไหนจะต้องตั้ง name server ใหม่(เพราะว่า IP เปลี่ยน) แล้วก็ต้องมาติดตั้งอะไรเองอีก ถ้า VPS ก็ scale ได้ง่ายๆครับ ที่หมดก็เพิ่มที่ RAMหมดก็เพิ่มRAM
    ตอนนี้ราคา colo ในเวบนี้โปรโหดๆ กันทั้งนั้น แรกๆลดราคา เดี๋ยวนี้ฟรีเดือนแรก ต้องมีกลุ่มลูกค้านะครับ ถึงน่าทำ

    server : share host dedicated co location vps

    1. Shared Hosting
    เป็นบริการเว็บโฮสติ้ง shared hosting ก็คือการซอยพื้นที่ในเครื่องเซิฟเวอร์มาให้เช่า
    ดังนั้น ทรัพยากรของเครื่องจะถูกแชร์กันหลายผู้ใช้งาน shared hosting เป็นบริการที่นิยมกันทั่วไปเพราะราคาไม่สูง

    2. VPS Hosting
    บริการเซิร์ฟเวอร์เสมือน บริการที่เหมือนกับมีเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง
    VPS = Virtual Private Server
    โดยสามารถจัดการได้ผ่าน Remote desktop connection
    เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่
    – มีความต้องการที่จะใช้งานโปรแกรม หรือ Application เสริมเฉพาะที่บริการ Shared Hosting ไม่มีหรือไม่อนุญาตให้ติดตั้งเพื่อใช้งาน (สามารถติดตั้งโปรแกรมหรือ Application ได้ตามใจชอบ)
    – เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีการเข้าชมสูง เนื่องจากการใช้งานของ Data Transfer รวมทั้ง Bandwidth จะถูกแบ่งการใช้งานชัดเจนไม่แชร์ร่วมกับเว็บไซต์อื่นเหมือน Shared Hosting

    3.Dedicated server
    บริการเครื่องเซิร์ฟเวอร์สำหรับเว็บไซต์ของคุณใช้งานแต่เพียงผู้เดียว
    แต่อาจจะใช้งานหลายเว็บไซต์ (ที่เราดูแล) ก็ได้
    หรือจัดสรรแบ่งพื้นที่เพื่อขายเป็นบริการ Shared Hosting ก็ได้ แต่โดยส่วนมากการใช้งานจะเหมาะสำหรับบริษัทองค์กรขนาดกลางถึงใหญ่หรือเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่ต้องการความเสถียรปลอดภัยและความรวดเร็วในการเข้าถึงเว็บไซต์เนื่องจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่องจะมีเพียงเว็บไซต์ของเราเท่านั้น

    4.Reseller Hosting
    เป็นบริการสำหรับผู้ให้บริการจัดทำเว็บไซต์ผู้พัฒนาเว็บไซต์เพื่อนำไปจัดสรรแบ่งพื้นที่ให้กับลูกค้าที่มาจ้างทำเว็บไซต์หรือขายต่อในนามของตัวเองและยังเหมาะสำหรับคนที่มีหลายเว็บไซต์ที่ต้องดูแลเนื่องจากสามารถบริหารจัดการได้ผ่านระบบควบคุมเดียวควบคุมได้ทุกเว็บ

    ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบริการหลักๆของเว็บโฮสติ้งเท่านั้น เนื่องจากบริการอาจถูกปรับเปลี่ยนและเรียกกันในชื่อบริการใหม่เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งแต่ละราย

    ส่วนการเลือกบริการเว็บโฮสติ้งที่เหมาะสมนั้น ควรคำนึงถึงเว็บไซต์ของเราและการใช้งานที่เกิดขึ้นจริงโดยไม่จำเป็นต้องซื้อบริการที่เกินความจำเป็นเพราะเว็บไซต์สามารถย้ายจากบริการเว็บโฮสติ้งที่เล็กกว่าไปใช้บริการเว็บโฮสติ้งที่ใหญ่ขึ้นได้ตลอดเวลาดังนั้นหากเราเพิ่งเริ่มทำเว็บไซต์หรือเว็บไซต์ของเรายังไม่โตหรือขยายมากก็อาจจะเริ่มจากบริการขนาดเล็กก่อนเมื่อเว็บไซต์ของเรามีขนาดใหญ่ขึ้นผู้เข้าชมมากขึ้นเราก็สามารถเปลี่ยนแปลงบริการได้ด้วยวิธีนี้จะทำให้เราไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็นอีกด้วย

    บริการ VPS กับ Dedicated Server ต่างกันยังไง แล้วจะใช้แบบไหนดี

    1. ทุนทรัพย์ เรื่องนี้คงไม่เป็นปัญหาสำหรับองค์กร หรือบริษัท ขนาดใหญ่ที่มีเงินสำหรับในส่วนนี้ เพราะทำให้สามารถเลือกใช้งานบริการ Dedicated Server ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าได้ แต่สำหรับองค์กร หรือบริษัท ที่ยังไม่ต้องการลงทุนในส่วนนี้มาก อาจจะเริ่มที่บริการ VPS ก่อน หลังจากนั้นหากเว็บไซต์ขยายใหญ่ขึ้น มีความต้องการประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น จึงค่อยเปลี่ยนมาใช้บริการ Dedicated Server ก็ได้

    2. ต้องการความเสถียร ความปลอดภัย และสามารถการันตี Uptime ได้ หากต้องการทั้งหมดนี้ก็คงต้องใช้บริการ Dedicated Server แต่ก็ใช่ว่าบริการ VPS จะตอบโจทย์ทั้งหมดนี้ไม่ได้ เพียงแต่ว่าผู้ให้บริการจะต้องมีความรับผิดชอบ และดูแลการทำงานของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงลูกค้าแต่ละรายภายในเครื่องฯ อย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม บริการ VPS ก็ยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีปัญหามากกว่าบริการ Dedicated Server อยู่ดี

    3. การดูแล และบริหารจัดการ สำหรับบริการ VPS นั้นจะดูแล และบริหารจัดการง่ายกว่าบริการ Dedicated Server เนื่องจากส่วนมากจะมีการติดตั้งโปรแกรมบริหารจัดการต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และง่ายมาก ทำให้ผู้ใช้งานอาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการบริหารจัดการ Server มากนัก แต่หากเป็นบริการ Dedicated Server ผู้ใช้งานอาจจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานระบบปฏิบัติการแบบ Server ด้วย ในกรณีไม่มีการติดตั้งโปรแกรมบริหารจัดการต่างๆ เพื่อช่วยในการทำงาน ซึ่งจุดนี้อาจทำให้การใช้งานบริการ Dedicated Server มีต้นทุนที่สูงขึ้นหากจะต้องมีการว่าจ้างบุคลากรมาดูแลในส่วนนี้โดยเฉพาะ

    4. แผนงานในอนาคต โดยทั่วไปเมื่อมีการทำเว็บไซต์ขึ้นมา ก็จะมีการวางแผนไว้สำหรับเว็บไซต์ในอนาคต ว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน จะมีการเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงตัวเว็บไซต์ รูปแบบ หรือข้อมูลอย่างไร เมื่อเรารู้อย่างนั้นแล้วก็จะช่วยเราในการตัดสินใจได้ว่าต้องใช้บริการแบบใด ระหว่าง VPS หรือ Dedicated Server

    ดังนั้นความแตกต่างของ 2 บริการนี้ (VPS และ Dedicated Server) ก็คือประสิทธิภาพของการใช้งานทรัพยากรภายในเครื่อง ซึ่ง VPS เป็นการแบ่งทรัพยากรภายในเครื่องมาให้เราใช้งานโดยโปรแกรมที่ใช้จัดสรรทรัพยากรของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เมื่อเทียบกับ Dedicated Server ที่เราสามารถใช้ทรัพยากรจริง โดยตรงจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้ จุดนี้จึงทำให้เป็นความแตกต่างสำคัญสำหรับทั้ง 2 บริการนี้ เพราะในกรณีบริการ VPS หากตัวโปรแกรมที่ใช้ในการจัดสรรทรัพยากร หรือในการบริหารจัดการต่างๆ มีปัญหา ก็จะทำให้ส่งผลกระทบกับเว็บไซต์เราได้ แต่หากเป็นบริการ Dedicated Server หากตัวอุปกรณ์ไม่มีปัญหาโดยตรง (เช่น Harddisk หรือ RAM เสีย) ก็จะไม่เกิดปัญหาใดๆ กับการใช้งาน ทำให้การใช้งาน Dedicated Server จะมีความปลอดภัย ความเสถียร และสามารถการันตี Uptime ได้มากกว่าบริการ VPS อย่างไรก็ตามควรเลือกบริการที่เหมาะสมกับการใช้งานของเว็บไซต์เราเป็นหลัก เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ ในราคา ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม

    Colocation Server กับ Dedicated server ต่างกันอย่างไร ?

    Colocation Server คือ การที่เรานำเครื่อง Server ที่เราซื้อหรือประกอบเองเสร็จเรียบร้อยแล้วเป็นเครื่อง ซึ่งจะเป็นในรูปแบบ Tower (คล้ายๆ กับ Case PC) และ ในรูปแบบ Rack (เป็นเครื่อง แบนๆ แนวนอน) ไปฝากวางใน Internet Data Center

    Dedicated Server คือ การเช่าเครื่อง Server ที่ผู้ให้บริการนั้นประกอบแล้วจัด Spec ไว้เรียบร้อย และ วางใน Data Center เรียบร้อย, หรือพูดง่ายๆ คือ เครื่องพร้อมใช้งาน, โดยเราแค่มีหน้าที่ไปจ่ายค่าบริการรายเดือน เพื่อให้มีสิทธ์ในการเข้าไปบริหารจัดการตัว Server ที่เค้าจัดเตรียมไว้ให้

    Colocation Server เหมาะกับใคร

    คนที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Hardware, เพราะคุณจะสามารถจัดประกอบ Server ได้ตามต้องการ
    คนที่มีความรู้ความเข้าใจในด้าน Server จริงๆ
    มีเวลาที่จะเดินทางไป Data Center ได้ หากมี Hardware ตัวใดตัวหนึ่งพัง, เพราะ Data Center เค้าไม่ได้มีความรับผิดชอบในส่วนนี้
    ควรมีเครื่อง Server สำรองไว้ด้วยอย่างน้อย 1 เครื่อง, เผื่อในกรณีที่ Hardware หลักๆ เสีย แล้วซ่อมไม่ได้ เช่น Mainbord จะได้มีเครื่องสำรองใช้ได้ทันที
    Dedicated Server เหมาะกับใคร
    ผู้ที่ไม่ค่อยมีความรู้ด้าน Hardware ที่เกี่ยวข้องกับ Hardware ของ Server, ซึ่ง Hardware ของ Server จะถูกผลิตและมีความคงทนรวมถึงความเร็วมากกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป
    ผู้ที่ไม่ต้องการรับผิดชอบ Hardware, เพราะหากใช้บริการ Dedicates Server ผู้ให้บริการต้องเป็นผู้รับผิดชอบเปลี่ยน Hardware ให้
    ไม่ต้องเตรียมเครื่อง Server สำรองให้หนักใจ เพราะผู้ให้บริการเค้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้
    จะใช้ Dedicated Server และ Colocation Server ใช้ทำอะไร ?
    ใช้ทำ Email Server
    ผู้ที่ใช้งาน Colocation และ Dedicated Server, มักจะนำมาประยุกต์ในการใช้งาน เพื่อลงระบบอีเมล์ลงไปใน Server ทำให้เครื่องนั้นเป็น Email Server โดยทันที
    ต้องการเก็บความลับของข้อมูลไว้สูงสุด
    องค์กรขนาดใหญ่มากๆ เช่น ธนาคาร มักจะใช้วิธีการนี้ในการทำ Mail Server ขององค์กรตัวเอง, เพราะ ไม่มีใครเข้าถึงข้อมูลของคุณได้ แม้ บริษัทผู้ให้บริการ Data Center เพราะเค้าไม่รู้ Password ของเครื่องคุณจริงๆ
    เมกะโปรเจ็ก
    มีหลายองค์กรมักเข้าใจผิดว่า โปรแกรมที่เราใช้อยู่หรือเว็บของเราที่มีจำนวนคนเข้าเป็นพันๆ คน หรือ แม้แต่ระบบอีเมล์ ที่มีผู้ใช้งานในหลักร้อย, ต้องลงทุนทำ Colocation กับ Dedicated Email Server เอง, หากมันไม่ได้ใหญ่มากจริงๆ ไม่ควรใช้วิธีการเหล่านี้, เพราะทั้งใช้เงินจำนวนมาก แถมยังต้องมาดูแล Server เอง
    ข้อเสียของการใช้งาน Colocation และ Dedicated Server
    ไม่เหมาะกับองค์กรที่มีขนาดเล็ก-กลาง เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในการทำ Colocation กับ Dedicated Server นั้นคุณต้องมีความพร้อมในด้านบุคลากรเป็นอย่างมาก, และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในระดับ Hardware และ Server เชิงลึก, หากพูดกันจริงๆ ในประเทศไทยนั้นมีน้อย, เพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้มีหลักสูตรนี้, รวมถึงบุคลากรด้านนี้จะมีค้าจ้างที่สูงกว่าพนักงานทั่วไปเป็นอย่างมาก, ดังนั้นคุณควรใช้ความรอบครอบในการตัดสินใจ, เพราะยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถใช้งาน แทน ที่จะต้องมานั่งเฝ้าดูแล Server เอง

    ความแตกต่างระหว่าง Dedicated server, VPS และ Cloud

    Dedicated Server คือ การเช่าเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่อง
    เพื่อใช้งานและปรับแต่งตามความต้องการของผู้ใช้เอง โดยสามารถใช้งาน Resources ทั้งหมดของเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น CPU, Memory, Disk และ Network ที่เชื่อมต่อกับตัวเครื่อง โดยหากอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งเกิดปัญหา ระบบก็จะต้องหยุดการทำงานลงจนกว่าจะทำการเปลี่ยนอุปกรณ์และกู้ข้อมูลเสร็จสิ้น ซึ่งอาจกินเวลา 2-3 ชม. ไปจนถึงหลายชั่วโมง นอกเหนือไปจากนั้น การสำรองข้อมูล (backup) ก็มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ใช้บริการเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว เพื่อที่จะสามารถกู้กลับคืนมาได้ในกรณีจำเป็น

    VPS = Virtual Private Server = เซิร์ฟเวอร์เสมือน = เป็นประหนึ่งเซิร์ฟเวอร์ แต่จำลองขึ้นมา

    โดยแบ่งเซิร์ฟเวอร์ 1 ตัว ออกเป็น VPS ย่อยๆ หลายๆ ตัว โดยที่แต่ละ VPS ทำงานแยกจากกัน แบ่ง CPU, Memory, Disk กันตาม Limit ที่ตั้งไว้ และแยกระบบ login รวมทั้งการทำงานภายในออกจากกันโดยเด็ดขาด
    หาก VPS ตัวใดตัวหนึ่งทำงานหนัก ก็จะ “ไม่ค่อย” ไปกวนการทำงานของตัวอื่น
    VPS ตัวใดโดนเจาะระบบผ่านตัว VPS เอง ไม่มีผลด้านความปลอดภัยไปถึง VPS ตัวอื่นในเซิร์ฟเวอร์นั้นโดยตรง

    ที่ใช้คำว่า ไม่ค่อย เพราะมันขึ้นกับเทคโนโลยีของ VPS ที่นำมาใช้ บางรูปแบบการทำงานของ CPU จะแบ่ง Limit กันโดยเด็ดขาด แต่เทคโนโลยี VPS บางตัวก็อาจจะกวนกันได้บ้าง เช่น openvz ที่สามารถตั้ง minimum guaranteed CPU ของ VPS แต่ปล่อยให้ burst ได้ เป็นต้น ขึ้นกับผู้ให้บริการจะทำการตลาดโดยบอกตัวเลขอะไร ดังนั้นในบางกรณี VPS จึงสามารถ oversell ได้ (ขายมากกว่าทรัพยากรที่มีจริง)

    ในภาพรวมก็เป็นบริการที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการความอิสระในการปรับแต่งการทำงานระดับ root หรือ services ต่างๆ เสมือนใช้เซิร์ฟเวอร์ตัวเอง แต่ด้วยงบประมาณจำกัดหรือความจำเป็นไม่มากขนาดที่จะต้องเช่าเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่อง การเลือกใช้ VPS จึงเป็นทางเลือกที่สะดวกและสบายกระเป๋ากว่า ทั้งนี้ VPS ในปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ในราคาเดือนละไม่กี่ร้อยบาทขึ้นไปถึงหลักหลายพัน ขึ้นอยู่กับปริมาณ Limit ต่างๆ ที่เราต้องการใช้

    Cloud

    เป็นเทคโนโลยีที่นำมาทำการตลาดอย่างจริงจัง ในต้นทุนที่ทำการตลาดแบบทั่วไปได้ ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ระบบ Cloud เป็นการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก โดยแบ่งชั้นการประมวลผลออกจากชั้นเก็บข้อมูล และอาจมีการคิดเงินแบบเหมาจ่ายรายเดือน หรือคิดแบบตามใช้งานจริงก็ได้

    ชั้นการประมวลผล (Computing layer — CPU, Memory) เป็นการร่วมกันทำงานของเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่อง ซึ่งแม้มีเซิร์ฟเวอร์ใดเสียหาย ก็จะไม่มีผลกับการใช้งานของลูกค้า เพราะระบบจะสวิทช์การประมวลผลไปยังเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นแทนโดยอัตโนมัติในทันที การประมวลผลของเว็บของผู้ใช้งานจะทำงานในชั้นนี้ ซึ่งระบบจะแบ่งทรัพยากร CPU, Memory ให้ตามจำนวนที่เลือกและแยกทรัพยากรกับผู้อื่นอย่างชัดเจน Cloud ส่วนมากจะมี Firewall ป้องกันระบบของแต่ละคนออกจากกันอย่างเด็ดขาด

    ชั้นเก็บข้อมูล (Storage layer) เป็นการทำงานร่วมกันของระบบเก็บข้อมูลแบบ SAN (Storage Area Network) หรือในบางระบบอาจใช้การทำงานของ Distributed Storage ในชั้นนี้ ซึ่ง Storage Layer นี้ จะต้องมีความเสถียรและความเร็วสูง และต้องมีระบบ Activate-Active หรือ Active-Standby เพื่อใช้งานระบบสำรองได้ทันทีที่เกิดเหตุขัดข้องของหน่วยเก็บข้อมูลหลัก จึงควรมี SAN อย่างน้อย 2 ตัว ซึ่งมีข้อมูลที่เหมือนกัน (Replicate) ตลอดเวลา ข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้งานจะถูกเก็บไว้ที่ชั้นนี้

    เครือข่ายเน็ตเวิร์คความเร็วสูง จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นการประมวลผล และชั้นเก็บข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างทันใจตลอดเวลา

    ระบบ Cloud บางแบบยังรองรับการขยายหรือหดตัวโดยอัตโนมัติสำหรับเซิร์ฟเวอร์เสมือนหรือเว็บของลูกค้า เมื่อการใช้งานเพิ่มหรือลด ตามที่ได้กำหนดไว้

    นอกจากนี้ ยังมี Cloud ที่สามารถยืดขยายการทำงานให้ใช้ Resources ของระบบเกินขอบเขตของเครื่องๆ เดียว โดยการนำ CPU, Memory ของทุกเครื่องมารวมกัน และแบ่งให้บริการตามต้องการได้อีกด้วย

    ระบบ Cloud จะมีต้นทุนของระบบที่สูงกว่าแบบอื่นมาก รวมทั้งไม่สามารถ Overselling (ขายเกินทรัพยากรรวมที่มี) ได้ ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าบริการแบบอื่นๆ

    ดังนั้น ด้วยระบบ Cloud เหล่านี้ ทำให้การทำงานของเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือนของผู้ใช้งานไม่ติดขัด แตกต่างจากเว็บโฮสติ้ง หรือ เซิร์ฟเวอร์ธรรมดาทั่วไป ที่หากเกิดการติดขัดเสียหายของอุปกรณ์นั้นๆ ก็จะทำให้การทำงานหยุดลงโดยไม่มีระบบทดแทน

    การเลือกใช้งาน

    เมื่อเข้าใจความแตกต่างของบริการต่างๆ แล้ว ก็มาถึงเวลาที่ท่านจะเลือกใช้บริการให้เหมาะกับความต้องการและงบประมาณของท่าน

    เลือกใช้ Dedicated server ถ้าท่านต้องการใช้ทรัพยากรทั้งหมดของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และมีการจัดการระบบ Backup ที่ดี เพื่อให้กลับมาทำงานได้เร็วที่สุดในกรณีอุปกรณ์ในเครื่องเสียหาย โดยทั่วไประบบ Dedicated server จะมีความเร็วสูง และโดยเฉพาะการทำงานกับดิสก์มักจะเร็วกว่า Cloud เพราะ Disk ติดอยู่ภายในตัวเซิร์ฟเวอร์โดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับระบบของ Disk ที่เครื่องด้วย ว่าจะเป็น Disk ประเภทใด ความเร็วเมื่อเทียบกับ SAN ที่ใช้ใน Cloud ก็จะแตกต่างกันไปไม่แน่นอน
    เลือกใช้ VPS หากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่อง VPS จะเป็นทางเลือกที่ประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด โดยมีความปลอดภัยและความเสถียรใกล้เคียงกับการใช้งาน Dedicated server แต่ความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลอาจจะต่ำกว่าเพราะทุก VPS ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะอ่านเขียนลง Disk เดียวกันภายในเครื่องทั้งหมด
    เลือกใช้ Cloud ถ้ามีงบประมาณมากเพียงพอและต้องการความสบายใจมากที่สุด บริการ Cloud มีโอกาสที่อุปกรณ์จะเสียหายพร้อมๆ กันทั้งหมดจนทำให้ระบบทำงานไม่ได้ต่ำมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการแบ่งชั้น Compute และ Storage ออกจากกัน ในกรณีผู้ใช้ที่ต้องทำการอ่านเขียนหนักมากๆ อาจได้ความเร็วของการอ่านเขียน Disk ไม่เร็วเท่ากับจาก Dedicated server

    ทุกระบบมีข้อดี ข้อเสีย และค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป เมื่อท่านทราบความแตกต่างเหล่านี้แล้ว บทความนี้ก็อาจช่วยให้ท่านจัดสินใจเลือกใช้บริการได้ง่ายและเหมาะสมยิ่งขึ้น

    Colocation Server หรือ รับวาง Server คือ อะไร ?

    Colocation Server หรือ รับวาง Server คือ อะไร ?

    Colocation Server หากเปรียบเสมือนคำพูดง่ายๆ คือ การที่คุณเอาเครื่อง Server  ทั้งเครื่องของคุณแบกไปฝากไว้ในห้อง Internet Data Center (IDC) ซึ่งมีบริษัทหลายบริษัทให้บริการรับฝากเครื่อง Server , ซึ่งเรียกว่า “บริการ Colocation Server” นั่นเอง, เพราะมันคงไม่คุ้มที่บริษัทหรือองค์กรของคุณต้องมานั่งสร้างห้อง  Data Center หลายล้านบาท เพื่อ วางเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียวหรือไม่กี่เครื่อง, ซึ่งหากนำไปฝากไว้ที่ห้อง Internet Data Center (IDC) ซึ่งห้องดังกล่าว มีทั้งการควบคุมอุณภูมิ, สายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, มีความปลอดภัย, ระบบสำรองไฟ (UPS) เพียงคุณ แบก Server ไป, ผู้ให้บริการก็จะนำไปวางและต่อสายให้ทันที, โดยการคิดค่าใช้จ่ายมักคิดเป็น รายเดือน ตั้งแต่ 3,000 – 50,000 บาท/เดือน/1U ขึ่งอยู่กับความอลังการของ Data Center นั้นๆ

    พื้นที่ขนาด 1 U, สำหรับการวาง Server 1 เครื่อง
    หรือ ห้องดาต้าเซ็นเตอร์
    องค์ประกอบของ Internet Data Center (IDC) สำหรับวาง Colocation Server 1 U

    Colocation Server เอาไว้ทำอะไร ?

    • Mail Server องค์กรขนาดใหญ่มักทำ Mail Server ในรูปแบบ Colocation mail server
    • Data Backup  องค์กรขนาดใหญ่ หรือ แม้แต่องค์กรระดับโลก อาจจะมีความจำเป็นในการ Backup ข้อมูลไว้ยัง Server หลายๆที่ เพื่อลดความเสี่ยง, หาก Data Center ที่ใดที่หนึ่งมีปัญหา โดยเฉพาะ สายการบิน, ธนาคาร เป็นต้น
    • Project ขนาดใหญ่, การใช้งาน Colocation อาจจะถูกใช้งานโดยทีมโปรแกรมเมอร์ที่ต้องการ Run Project ขนาดใหญ่มากๆ เช่น ระบบเว็บไซต์ที่มีคนเข้ามหาศาล ( > 1,000,000 คน/วัน) , ระบบ ERP หรือ CRM โดยต้องการใช้ทรัพยากรของ Server เครื่องเดียวทั้งหมด อย่างเต็มที่ และ ไม่ต้องการไปแบ่งปันกับใคร

    Colocation กับ EMail Server

    โดยส่วนมากแล้วผู้ที่ใช้บริการ Colocation หรือ เอา Server ทั้งเครื่องไปฝากที่ Data Center มักจะถูกนำมาทำเป็น “Email Server” โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ๆ ที่ไม่ต้องการนำอีเมล์ของตัวเองไปปนกับ Server คนอื่น, เพราะการวาง Colocation วิศวกรขององค์กร สามารถลง OS รวมถึง ระบบ Mail Server ที่ต้องการได้่ และ มีความเป็นความลับของข้อมูลสูงกว่า, เพราะแม้แต่บริษัทที่เป็นผู้ดูแล Data Center ก็ไม่สามารถ Access หรือ เข้าถึง Server ดังกล่าวได้ เพราะ ไม่รู้ Password รวมถึงรายละเอียดของ Software ใน Server

    ข้อดีของการทำ Colo Mail Server เอง

    • เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่มากที่มีพนักงานต้องใช้งาน Email > 1,000 คน ขึ้นไป
    • คุณสามารถปรับแต่ง Software หรือ ทำอะไรก็ได้ที่อยากทำ เพราะ Server เป็นของคุณ
    • คุณไม่ต้องมานั่งทำ Data Center เองด่้วยราคาหลายสิบล้านบาท
    • มีคนคอย Mornitor ระบบไฟฟ้า ระบบอินเตอร์เน็ตให้ (ที่เหลือเป็นหน้าที่ของคุณ)

    ข้อเสียของการทำ Colocation Email Server 

    • คุณต้องมี พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ ด้าน Email Server อยู่ในองค์กรจริงๆ เพราะการให้บริการ Colocation นั้นเปรียบเสมือนการเช่าที่ดินวางเครื่อง แต่ที่เหลือทั้งหมดเป็นหน้าที่ของวิศวกรของบริษัทคุณที่ต้อง Remote เข้าไปทำ
    • ต้องมั่นใจว่าองค์กรของคุณเป็นองค์กรขนาดใหญ่จริงๆ ถึงทำ Colo Mail Server เอง
    • คุณต้องซื้อ ทั้ง Software: OS, Mail Server, Antivirus ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
    • คุณต้องมั่นใจว่าคุณเอาอยู่, ถึงแม้ว่า Datacenter ที่มีมาตรฐานจะไม่มีปัญหา ไฟดับ, ไฟไหม้, เน็ตหลุด “แต่ถ้า Server ติดไวรัส” คุณต้องเป็นผู้เข้าไปลง Software และ ลบมันเอง
    • คุณต้องมีเงินมากพอ เพราะคุณต้อง ซื้อ Server เอง, รวมถึงต้องไปจ่ายรายเดือนให้ Internet Data Center ด้วย

    Dedicated email hosting server คือ อะไร และ เลือกซื้อที่ไหนดี ?

    Dedicated Email Server คือ อะไร ?

    Dedicated email server ดีมั้ย และ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร
    Dedicated Email Server หากพูดในภาษาที่เข้าใจง่าย คือ การที่คุณไปเหมา Server  ทั้งเครื่องใน Data Center มาอยู่ในการควบคุมของคุณเอง, ซึ่ง Dedicated Server นั้น จะเหมาะสำหรับองค์กรหรือบริษัทที่ต้องการทำเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่, หรือ องค์กรที่ต้องการใช้ Email Server เป็นของตนเอง และ ต้องการความเป็นส่วนตัว (คือไม่ไปยุ่งกับใคร) แต่ในองค์กรไม่มี Data Center,  จึงวาง Email Server ไว้ที่ Data Center กับบริษัทที่คุณฝากเอาไว้ โดยส่วนมาก Dedicated Email Server มักจะตั้งอยู่ใน Data Center ของ CAT, CS Loxinfo โดยมีบริษัทต่างๆ ไปเช่าพื้นที่ใน Data Center และนำมาแบ่งขายเป็นธุรกิจกันต่อไป

    รูปแบบการซื้อหรือเช่า  Dedicated Email Server

    • ค่าซื้อเครื่อง Server ครั้งแรก จริงๆ แล้ว Dedicated Server คือ คุณต้องทำการซื้อเครื่อง Server ทั้งเครื่อง ตาม Spec ที่บริษัทผู้ให้บริการกำหนดไว้ เช่น CPU, RAM เท่าไหร่ ในครั้งแรก ซึ่งจะมีราคาตั้งแต่ Server ละ 30,000 – 300,000 บาท ขึ้นอยู่กับ Spec ของ Server ที่ว่าคุณต้องการยี่ห้ออะไร หรือ แรงขนาดไหน
    ขนาดของคอมพิวเตอร์ใช้งานทั่วไปหรือ PC กับขนาดของ Email Server ที่แตกต่างกันมาก
    การวาง Email Server เข้าไปในตู้ Rack, โดย Server 1 เครื่องเท่ากับ 1 U
    การวาง Email Server ไว้ใน Data Center เรียกว่า Dedicated email hosting server
    • ค่าบริการฝากวางใน Data Center ต่อ เดือนการคิดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มักจะคิดเป็น U, เนื่องจาก Server ไม่ได้มีขนาดเหมือนกับ PC ที่เครื่องใหญ่เป็นก้อน, แต่ Server จะมีลักษณะลาบและแบนซึ่งออกแบบมาให้ใส่ในตู้ Rack ได้เลย, ซึ่งค่าเช่าพื้นที่สำหรับวาง Server ของคุณ ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะวางกี่ U ซึ่งก็หมายถึง  Server กี่เครื่องนั้นเอง โดยเมื่อวางเสร็จ จะมีสาย Lan และ ห้องควบคุมอุณหภูมิใน Data Center โดยจะมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 3,000 – 8,000 บาท/ เดือน

    องค์กรหรือบริษัทของคุณ จำเป็นต้องมี Dedicated email hosting server หรือยัง ?

    • ฝ่าย IT จำนวนมากตัดสินใจพลาดที่จะทำ “Dedicated Email Server” เพราะคิดว่าบริษัทตนเองมีความมั่นคง หรือ พูดง่ายๆ รวยขนาดนี้ ต้องมี Server เองเลย ให้มันส่วนตัวสุดๆ หากเป็นเพราะแนวคิดนี้ขอให้เปลี่ยนทัศนะคติโดยทันที เพราะอะไร จะอธิบายด้านล่าง
    • ในความเป็นจริง “Dedicated Email Server” เหมาะสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น สายการบิน, ธนาคาร, กระทรวง, องค์กรลับ เพราะองค์กรเหล่านี้มีความจำเป็น ที่จะต้องสามารถควบคุมสถาณการณ์ แม้แต่เรื่อง Email ด้วยตนเอง ได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องการไปจ้างบริษัทไหนมาดูแล
    • หากองค์กรของคุณมีพนักงานไม่ถึง 1,000 – 10,000 คน การทำ “Dedicated Email Server” ยังถือว่าไม่มีความจำเป็นและอาจจะทำให้เกิดปัญหาอีกมากมาย

    ข้อดีของการทำ “Dedicated Email Server”เอง

    1. องค์กรของคุณ สามารถควบคุมและเข้าถึง Email Server นั้นได้ตลอดเวลา, เช่น Remote เข้าไป Restart เครื่อง Server, หากมันทำงานช้าๆ
    2. คุณสามารถลง Software ที่ต้องการได้ตราบที่คุณต้องการ เช่น การลงโปรแกรมการเข้ารหัสข้อมูลในอีเมล์ สำหรับ หน่วยงานที่ต้องการเก็บข้อมูลที่เป็นความลับมากๆ เช่น ธนาคาร เป็นต้น
    3. คุณไม่ต้องไปแบ่งทรัพยากรของ Email Server กับใคร, เพราะทั้ง Server เป็นของคุณ

    ข้อเสียของการทำ “Dedicated Email Server”เอง

    การทำ Dedicated email server เองต้องมีพนักงานที่คอยดูอยู่ตลอดเวลา
    ต้องเป็นเจ้าหน้าที่, ที่เชี่ยวชาญด้าน Email Server โดยเฉพาะ
    1. ต้องใช้เงินในการซื้อ Server  และ ค่าเช่าที่วางใน Data Center จำนวนมาก
    2. ต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวขาญด้าน Email จริงๆ ประจำอยู่ในองค์กรของคุณ
    3. คุณต้องบริหารจัดการ ตั้งแต่ ลง OS ไปจนถึงลงโปรแกรมทั้งหมด ด้วยตนเอง
    4. หากคุณคิดว่า องค์กร คุณพร้อมที่จะจ่าย, แต่อย่าลืมเรื่องการ Maintenance ของ Email Server ซึ่งมีเรื่องที่จุกจิกมากมายที่เงิน ไม่สามารถแก้ปัญหาได้

    Dedicated Server, VPS, Hosting ต่างกันอย่างไร และควรเลือกแบบไหนดี เป็นประเด็นที่มีความสับสนกันมาก แม้ผู้ที่พัฒนาเว็บไซด์อยู่แล้วก็อาจจะสับสนในตอนแรก โดยคำที่ใช้เรียกกันคือ เครื่องเซิฟเวอร์ (Server) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกแบบกว้างๆ ใช้เรียกแทนได้ทั้ง Dedicated, VPS, Hosting และอาจจะมีอีกคำหนึ่งคือ Colo ซึ่งบ่อยครั้งที่เราอาจจะเรียกชื่อต่างๆ สลับกันไปมา ซึ่งต้องอธิบายกันค่อนข้างนานกว่าจะเข้าใจกัน และแม้จะอธิบายแล้วก็ยังไม่แน่ใจว่า ควรจะเลือกใช้แบบไหนดี

    1. Dedicated Server (เครื่องเซิฟเวอร์) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวใหญ่ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ Power Supply, Network Interface, CPU, RAM, Harddisk, Raid Controller เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ Notebook ของเราทุกประการ มีบางชิ้นส่วนที่อาจจะเพิ่มเติ่มเข้ามาเล็กน้อย เพื่องานด้านเซิฟเวอร์โดยเฉพาะ เพียงแต่ อุปกรณ์เหล่านี้ เมื่อนำมาใช้กับเครื่องเซิฟเวอร์จะต้องออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อสามารถเปิดทำงานตลอด 24 ชั่วโมง และรันต่อเนื่อง 365 วันได้ โดยไม่เกิดปัญหา

    ดังนั้นอุปกรณ์ที่อยู่ในเครื่องเซิฟเวอร์จะต้องเป็นแบบ Enterprise Edition ไม่ใช่ใช้รุ่นทั่วๆไป เช่น RAM ก็ต้องเป็นแบบ ECC, ฮาร์ดดิส ก็ต้องเป็นรุ่น Enterprise Edition, CPU ก็ต้องเป็นรุ่นที่ใช้งานบน Server โดยเฉพาะ เช่น Intel Xeon เป็นต้น

    แต่ปัจจุบัน ความจุของเครื่องเซิฟเวอร์นี้ มีขนาดที่ใหญ่มากๆ เช่น RAM 192GB, HDD 10TB, Network สามารถทำให้วิ่งได้ถึง 1Gbps – 10Gbps, CPU 48 Core เป็นต้น เมื่อดูจากความจุและความสามารถของเครื่องเซิฟเวอร์แล้ว คงมีน้อยคนที่จะเอาเครื่องเซิฟเวอร์ขนาด RAM 192GB มารันโปรแกรมทั่วๆไป และด้วยราคาของเครื่องเซิฟเวอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆมีราคาหลายหมื่น ถึงหลายแสนบาท เราจำเป็นที่จะต้องใช้งานเครื่องเซิฟเวอร์ให้คุ้มค่าที่สุด ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด

    2. VPS (เครื่องเซิฟเวอร์เสมือน) หรือ เราจะมองว่าเป็นเครื่องเซิฟเวอร์หนึ่งตัวก็ได้ มีส่วนประกอบคล้ายๆ Dedicated Server คือ Network Interface, CPU, RAM, Harddisk เป็นต้น แต่จะอยู่ในรูปแบบที่ถูกจำลองขึ้นมา โดยโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการเรื่องเหล่านี้คือ Virtualization Software เช่น ESXi, Xen, KVM เป็นต้น โดยโปรแกรมเหล่านี้จะสามารถแบ่ง RAM, CPU, HDD ที่มีขนาดใหญ่ๆ ออกเป็นขนาดตามที่เราต้องการแก่การใช้งานได้ เช่น ต้องการเครื่องเซิฟเวอร์ ที่มีขนาด RAM 8GB, CPU 4 core, HDD 200GB เป็นต้น

    ดังนั้นเมื่อเรามีเครื่องเซิฟเวอร์ขนาด RAM 192GB ก็สามารถนำมาแบ่งออกเป็นเครื่องเซิฟเวอร์เสมือน (VPS) RAM 8GB ได้ถึง 24 เครื่อง โดย VPS แต่ละเครื่องสามารถติดตั้งโปรแกรม, OS ได้อิสระโดยไม่กระทบกับ VPS ตัวอื่นๆ ทำให้เสมือนว่าเรามีเครื่องเซิฟเวอร์ 24 ตัวเลยทีเดียว

    3. Hosting (โฮสติ้ง) โดยปกติจะเป็นการนำ VPS มาติดตั้งโปรแกรมสำหรับทำเว็บไซด์ เช่น Web Server, Database Server, Server Side Script (เช่น php, node.js, python, ruby เป็นต้น), E-mail, FTP, DNS, Cronjob และอื่นๆ โดยมีระบบจัดการโฮสติ้ง (เช่น DeirectAdmin, Plesk, cPanel เป็นต้น)

    และเมื่อลูกค้าท่านไหนต้องทำให้เว็บไซด์ออนไลน์ ก็จะต้องมีการเช่าโฮสติ้งเพื่อนำมาเก็บไฟล์เว็บไซด์และฐานข้อมูล และต้องมีการจดโดเมนเพื่อนำมาเชื่อมต่อกับโฮสติ้งอีกทีหนึ่ง ก่อนที่เว็บไซด์จะออนไลน์ได้

    ทำความรู้จักกับ VPS, Dedicated Server, Co-Location แบบ แบบละเอียด

    ✔ ทำความเข้าใจระหว่าง VPS , Co-Location , Dedicated Server

    บริการทั้ง 3 บริการของผู้ให้บริการ (เอ๊ะ?! ยังไง) ที่เราได้ยินและหาเจอกันบ่อยๆ อย่าง VPS Colocation (หรือบางทีเรียกสั้นๆ ว่า Colo) , Dedicated Server บริการทั้ง 3 หลายคนเรียกมันรวมๆ กันว่า “Colo” , “โคโล” แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ 

    เดี๊ยวววก่อนนนนะ!?? มันไม่ใช่ แล้วทำไมทุกคนเรียกล่ะ   คำตอบนี้มันเกิดมานานแล้ว เหมือนคิดว่าพวกการตลาดจะต้องการมีสิ่งมาเรียกแทนบริการพวกนี้ ที่สามารถเข้าเครื่องไปทำอะไรได้ บนเน็ตแรงๆ ของ Data Center ก็จะเรียกรวมๆ ว่า Colo จะได้เข้าใจง่ายๆ ซึ่งตรงกันข้าม มันก็มีผลเสียอยู่ว่า ที่คนรุ่นหลังๆ จะเข้าใจผิดว่าทั้ง 3 อย่างว่ามันคือ Colo ทั้งหมดซึ่งจริงๆ ไม่ใช่เลย –ป.ล. ในความเข้าใจของผมนะ

    ในเมือรู้แล้วว่า ทั้ง 3 อย่างไม่ได้เรียกว่า Colo ตลอด มาทำความเข้าใจให้ถูกต้องกันดีกว่า ว่ามันคืออะไรและยังไงบ้าง เริ่มต้นที่..

    ✔ Co-Location
    บริการนี้เป็นสิ่งที่เราได้ยินมากที่สุด และมักจะเข้าใจความหมายกันผิดมาโดยตลอด เราลองมาแยกคำดู แล้วก็จะได้ Co กับ Location ซึ่งคำว่า Co หมายถึง ” ร่วม ” และคำว่า Location หมายถึง ” พื้นที่ ” ซึ่งนำรวมกันแล้วแล้วก็คือ (ตู้มม โกโก้ครัน เอ้ย ไม่ใช่) Co-Location ซึ่งมีความหมายว่า ” ร่วมพื้นที่!!??? ”

    ร่วมเหรอ?! ได้ไงอ่ะ – เพราะว่าผู้ให้บริการ เช่าตู้มาและมาตั้งใจให้บริการ เขาก็จะเปิดพื้นที่ให้เช่าเพื่อมาวางเซิร์ฟเวอร์ ตามขนาด 1U , 2U , 3U ก็ว่ากันไป
    ** U ในที่นี้หมายถึง Unit ซึ่งเป็นในส่วนของ Rack Unit เพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Rack_unit

    Screenshot_37.png

    สรุป – Colocation คือการที่เรานำเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของเราไปฝากและวางกับเจ้าของตู้ไปใช้ไฟและไปใช้อินเตอร์เน็ต

     

    ✔ Dedicated Server
    บริการนี้ จะคล้ายๆ Colocation แต่ต่างจากแทนที่เราจะต้องเอาเครื่องไปวางกับผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการจะจัดหาเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาวางแล้วให้บริการเราแทน
    ทำให้เรามีโอกาสได้เลือกสิ่งที่เขาเตรียมไว้ให้และผู้บริการที่ดีก็จะจัดหาเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นแบรนด์เนม (Brandname) อย่าง DELL , IBM ครับ

    อยากได้เพิ่ม (Addons)? – ผู้ให้บริการก็จะมี Addons เสริ่มให้อยากการเช่าแรมใส่เพิ่ม หรือเช่า HDD ครับและก็จะมี Addons คล้ายๆ กับ Colocation ครับ

    สรุป – เหมือนกับ Colocation ต่างที่เขาจะหาเครื่องให้เราได้เลือกและใช้บริการ ราคาแพงกว่าแน่นอน

     

    ✔ VPS
    บริการนี้เหมือนเป็นต่อมาจาก Dedicated Server อาจจะงงๆ สำหรับหลายๆ คนเพราะมีการทำงานต่างจากทั้ง 2 อย่างที่อธิบายมา
    VPS คือ Virtual Private Server แปลได้ว่า เซิร์ฟเวอร์เสมือนส่วนตัว  ขยายความได้ว่า เป็นการ จำลองคอมพิวเตอร์ขึ้นมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์จริงๆ 1 เครื่อง แล้วใช้ที่จำลองขึ้นมาเป็นเซิร์ฟเวอร์ครับ

    และแน่นอนว่ามันจำลองขึ้นมาบน 1 เครื่อง ความแรงและความเร็วมันสู้ Dedicated Server ที่เป็นเครื่องจริงๆ ไม่ได้ครับ (ยกเว้นเครื่อง Dedicated Server เป็นสเปคที่ต่ำจริงๆ)

    classificaition-virtual-private-servers-godaddy.png
    รูปภาพจาก http://www.godaddyho…choosing-a-vps/

    อยากได้เพิ่ม (Addons)? – เนื่องจาก VPS อยู่บนเครื่องจริงๆ และจำลองออกมาให้เราใช้บริการ จะมีข้อจำกัดในเลือกให้บริการ Addons เพิ่มเติมแต่ก็สามารถสอบถามจากผู้ให้บริการได้ครับ

    สรุป – จำลองจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงๆ ด้วย Software และมาให้บริการครับ

     

    ✔ สรุป
    ทั้ง 3 บริการเราควรเลือกตามที่เราต้องการก่อนครับ อย่างเช่นทำเว็บและคนเข้าเยอะ แล้วเราย้ายมาจาก Shared Hosting เราก็ยังไม่จำเป็นที่จะกระโดดข้ามไป Dedicated เราก็มาที่ VPS ก่อนเพราะมันอาจจะเพียงพอสำหรับเว็บของคุณ และจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายโดยที่ไม่จำเป็นหรือเกินความจำเป็นนั้นเองครับ

    Rack Server กับ PC Server และ Intel Xeon กับ Intel Core มันต่างกันอย่างไง แบบเข้าใจง่ายๆ

    Rack Server = เครื่อง Server Brand name เช่น DELL, HP, Cisco เป็นต้น (รูปด้านซ้าย)
    PC Server = เครื่อง PC ประกอบสเปคแรงหรือเทียบเท่าที่สามารถใช้งานได้เหมือนกับเครื่อง Server Brand name (รูปด้านขวา)

    Screenshot_269 Screenshot_270
    (คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม)

    Intel Xeon = CPU ที่ออกแบบมาให้ใช้งานในด้าน Server โดยเฉพาะ
    Intel Core = CPU ที่ออกแบบมาให้ใช้งานตามบ้านทั่วไป ทำงาน ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมและอื่นๆ ร่วมไปถึงใช้งานในด้าน Server ได้เช่นกัน

    ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบหรือโปรแกรมที่ใช้งานว่าควรเลือกใช้งานแบบใด ซึ่งในหลายๆระบบใช้แบบไหนก็ได้ไม่ต่างกัน สามารถเปิด/รันระบบหรือโปรแกรมได้เหมือนกัน

    ข้อแตกต่างระหว่าง Server และ PC ที่ใช้ทำ Server

     

    ในคอมพิวเตอร์ทางบ้านทั่วไป เราได้เห็น CPU แรงๆ อย่าง CPU Intel i7 ที่หลายคนคิดว่ามันแรงที่สุดในบรรดาล CPU ที่เคยรู้จักกันมาแล้ว แต่ในทาง Server จะมี CPU เฉพาะทางอย่าง Intel Xeon หรือ AMD Opteron แต่อย่างไรก็ตาม ในบางทีความแรง ของ Xeon กับ i7 นั้นจะไม่ค่อยแตกต่างกัน หรือบางที i7 ก็จะแรงกว่า ในบทความนี้จะพูดถึงความแตกต่างและการเลือกใช้ ของ CPU i7 กับ Xeon

     

     

    ✔ Server vs. PC

     

    pc.jpg

    ภาพของ Desktop PC

     

    laptop.jpg

    ภาพของ Laptop PC หรือ Notebook

     

    PC ก็คือคอมพิวเตอร์บ้านๆ ที่เราใช้กันทุกวันครับ การทำงานของเครื่องโดยพื้นฐานแล้วไม่ได้แตกต่าง Server เลยทำงานเป็นคอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักดี เหมือนกันเลย แต่มันมีข้อแตกต่างการใช้งานครับ

     

    PC ก็คือ PC หรือมันก็คือคอมพิวเตอร์บ้านๆ ใช้ในบ้าน วางในห้องนอนของเรา หรือโต๊ะทำงาน เปิดแล้วก็ต้องปิด ไม่งั้นก็อาจจะร้อนอุปกรณ์จนเสียหายได้ ซึ่งต่างจากเซิร์ฟเวอร์เลย

     

    poweredge_r220_2.png

    ภาพของ DELL Rack Server (1U)

     

    Small_Business_Dell_PE1900_offer_entry_tower_machine_12500_Dell_the_server_IT_industry.jpg

    ภาพของ DELL Tower Server

     

    bladecenterS.jpg

    ภาพของ IBM Blade Server

     

    Server ออกแบบมาเพื่อทำงาน 24 ชั่วโมง x 7 วัน ต่อสัปดาห์ หรือแทบไม่ปิดเลย CPU และอุปกรณ์ของ Server จะมีการออกแบบพิเศษให้มีความคงทนมากกว่าอุปกรณ์ของ PC ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น CPU , RAM , HDD หรือแม้แต่ Power Supply และยังมีการออกแบบเพื่อให้ต้องทำงานได้ตลอดเวลา อย่าง Power Supply แบบ Redundant เพื่อป้องกันปัญหาอุปกรณ์จ่ายไฟเสียหาย และยังมีการออกแบบเรื่องความร้อนได้ดีกว่า หรือ สามารถทำงานภายใต้ความร้อนได้ดีกว่า ของ PC

     

     

    ✔ CPU i7

     

    CPU Intel i7 เราเคยได้ยินมาบ่อยและมากที่สุดและเข้าใจว่าแรงที่สุดเช่นเดียวกัน แต่ทั้งหมดนั้นมันเป็นแค่ในฝั่งของ PC หรือคอมพิวเตอร์ทางบ้าน แต่ในทาง Server นั้น CPU Intel i7 เป็นทางเลือกรองๆ ต่อจาก CPU XEON ในด้านความแรงด้วยสาเหตุ เกี่ยวกับการออกแบบของตระกูล CPU

     

    มาดูหน้ากล่องกันดีกว่า

     

    51I3Mrs5YSL.jpg

     

    เราจะเห็นว่า “Desktop” นั้นหมายถึง CPU สำหรับ Desktop ตามบ้านทั่วไป และมีข้อจำกัดต่างกับตระกูลของ Xeon ที่ใช้ใน Server

    ✔ CPU Xeon

    CPU Xeon ในทางบ้านทั่วไป เราจะไม่ค่อยรู้จัก ตัวนี้เท่าไร แต่มันมีความแตกต่างในการออกแบบเพื่อใช้งานด้านเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะไม่ว่าจะเป็นด้านความคงทน การโหลดหนักภายใต้ความร้อน และการทำงานแบบ 24 ชั่วโมง การรองรับแรมที่มากกว่า และ แรมในรูปแบบ พิเศษ

    ✔ ความแตกต่างระหว่าง i7 และ Xeon

    ตรงนี้จะเป็นข้อมูลจาก http://www.velocitym…ats-difference/ครับ

    ข้อดีของ i7 

    • Overclocking ใน CPU i7 จะเห็นว่ารุ่นที่ตามด้วย K จะเป็นรุ่นที่ออกแบบมาเพื่อ Overclocking นั้นคือปลดล็อก CPU เพื่อให้การ Overclock เป็นไปได้อย่างง่ายดาย แค่เรามีระบบการระบายความร้อนกับการจ่ายไฟที่ดี เราก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย
    • ความคุ้มค่าในแต่ล่ะ GHz (GHz ต่อ บาท) ถ้าเทียบกับ CPU ของเซิร์ฟเวอร์และความแรงใน GHz นั้นราคาจะถูกว่า Xeon มากเมื่อเทียบกันด้วยความคุ้มค่าต่อความแรงในการประมวลผล
    • มี Onboard Graphic เพราะ i7 เป็น CPU ตามบ้านและตั้งใจทำให้ เราไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ไรมากมายในเวลาที่เราประกอบคอมเครื่องใหม่ เราสามารถใช้การ์ดจอที่อยู่บน CPU ได้ และความสามารถก็ถือว่า ใช้ได้ดี เลยทีเดียว

    ข้อดีของ Xeon

    • L3 cache ใน CPU Xeon ส่วนใหญ่จะมี Cache ในส่วนนี้มากกว่า i7 ถึง 2 เท่า ซึ่งจะช่วยในการประมวลผลได้เร็วกว่าเมื่อเทียบกับ i7
    • รองรับ RAM ECC แรมรูปแบบนี้เป็นแรมที่จะตรวจสอบ Error ของข้อมูลในแรมและทำการแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหาจริงๆ ขึ้น ซึ่งแรมชนิดนี้จะช่วยให้ระบบมีความเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งแรมชนิดนี้ต้องรองรับมี CPU ที่รองรับด้วย
    • มี Core ที่มากกว่า ใน Intel Xeon (E5) v3 รุ่น Top ที่สุดมี Core มากถึง 12 Core (24 Thread เมื่อใช้งาน Hyperthreading) เมื่อเทียบกับ i7 จะมีแค่ 8 Core เท่านั้นในรุ่นสูงสุดในปัจจุบัน
    • รองรับการทำงาน 2 CPU ใน Intel Xeon E5 จะสามารถใช้ CPU ร่วมกันได้ใน 1 เครื่อง และผลที่ได้คือจำนวน Core CPU ที่เพิ่มขึ้น และ แรงขึ้น
    • ความคงทน (ภายใต้โหลดหนักๆ) อย่างที่เคยอธิบายว่า Xeon นั้นถูกออกแบบมาเพื่อโหลดหนักๆ ได้เป็นเวลานาน เมื่อเทียบกับ i7 แล้ว Xeon จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับการโหลดหนักและจะทนกว่า i7 ในการทำงานเดียวกัน
    • Hyperthreading ในราคาที่ถูกว่า ถึงยังไงก็ตาม Xeon จะมีราคาที่แพงกว่าก็จริง แต่เมื่อเทียบเรื่อง Hyperthreading จะมีราคาที่ถูกกว่า และถ้าเราต้องเลือกซื้อ CPU ที่รองรับการทำงานของโปรแกรมที่ใช้ Hyperthreading ทางเลือกที่ดีก็จะเป็น Xeon

    ✔ สรุป

    ใน CPU i7 และ Xeon (e3) จะมีคู่ขนานกันในเรื่องความแรง ถึงจะไม่เสมอ แต่ก็จะช่วยให้เราเข้าใจความแรงของ Xeon ได้ง่ายขึ้นครับ และในการทำงานของ Server จำเป็นมากที่ต้องทำงานได้ตลอดเวลาโดยที่อุปกรณ์นั้นมีความคงทนและเสียหายได้ยากที่สุด Server ส่วนใหญ่ก็จะใช้ CPU Xeon ครับเพราะมีการออกแบบ CPU ให้สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงภายใต้การโหลดของ CPU หนัก (นั้นหมายความว่า Server ที่ใช้ CPU i7 ก็มีครับ)

    นั้นหมายถึง Server ก็จะมีราคาที่สูงกว่า PC ในสเปคเดียวกัน แต่ความคงทนและการใช้พลังงานต่างกันแน่นอนครับ

    Datacenter Tier?!! มันคืออะไร

    วันนี้แมวได้ไปเจอสิ่งหนึ่ง ที่เว็บของ ISPIO ได้ระบุไว้ที่หน้าเว็บนั้นคือ “Tier 3 Datacenter” แล้วแมวก็ได้เกิดข้อสงสัยว่า

    1. Data Center มี Tier ด้วย
    2. Tier แต่ละขั้นเป็นยังไง

    แมวจึงเปิด Google Search เลย แล้วไปหา Wikipedia เลยอยากจะมาเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อย เพราะมันไม่ค่อยมีการพูดถึงและความหมายของมันเท่าไร

    เริ่มเลย

    ในปี 2005 (2548) Telecommunications Industry Association ภายใต้การร่วมกับ ANSI (American National Standards Institute) ได้ออกมาตรฐานการสื่อสารสำหรับ Data Center และได้กำหนดไว้ 4 มาตรฐาน เรียกว่า Tier  (ANSI/TIA-942)

    ในส่วนนี้ยังมีต่อแต่ จะไม่พูดถึงครับ แต่จะมาต่อที่ขั้น Tier เลย

    ขั้นที่พื้นฐานที่สุดคือ Tier 1 โดยจะมีห้องเซิร์ฟเวอร์ (Server room) ดำเนินการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ถูกต้องและขึ้นสูงสุดคือ Tier 4 โดยระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องการความมั่นคงสูงโดย Data Center จะมีระบบ Redundant ทุกส่วนของระบบและมีระบบควบคุมการเข้าออกโดยลายนิ้วมือและยังรวมถึงระบบควบคุมความเย็นด้วยเช่นกัน

    ความต้องการของ TIER 1

    • มีระบบจ่ายการทำงานอุปกรณ์ IT แบบไม่ Redundant
    • ระบบอุปกรณ์ที่ไม่เป็นแบบ Redundant
    • มีการบริหารจัดการต่างๆ ที่พร้อมสำหรับ Uptime 99.671%

    ความต้องการของ TIER 2

    • มีคุณสมบัติตาม TIER 1 หรือ มากกว่า
    • มีการบริหารจัดการต่างๆ และความจุ ที่พร้อมสำหรับ Uptime 99.741%

    ความต้องการของ TIER 3

    • มีคุณสมบัติตาม TIER 2 หรือมากกว่า
    • มีระบบจ่ายการทำงานอุปกรณ์ IT หลายส่วนทำงานแบบ Redundant
    • ทุกอุปกรณ์ IT ต้องเป็นรูปแบบ Dual-Powered (แหล่งจ่ายไฟ 2 จุด) และรองรับตามการออกแบบของแต่ล่ะที่
    • มีการบริหารจัดการต่างๆ และมีการปรับปรุ่งรักษาอย่างต่อเนื่อง ที่พร้อมสำหรับ Uptime 99.982%

    ความต้องการของ TIER 4

    • มีคุณสมบัติตาม TIER 3 หรือมากกว่า
    • ระบบทำความเย็นทั้งหมดทำงานสลับกันและ Dual-Powered, รวมถึงระบบหล่อเย็นและระบบทำความร้อน, ระบบระบายอากาศและระบบแอร์ (HVAC)
    • มีระบบต้องการผิดพลาดพร้อมกับระบบไฟฟ้าและระบบนำจ่ายต่างๆ ที่พร้อมสำหรับ Uptime 99.995%

    ความต่างของ Uptime 99.671%, 99.741%, 99.982% และ 99.995% มันแทบไม่ต่างกันมากเลย แต่ถ้าคิดแบบว่าระบบที่ Down Time ได้ยากในรอบปี (525,600 นาที)

    • TIER 1 99.671% จะ Down Time ได้มากสุด 1729.224 นาที หรือ 28.817 ชั่วโมง (วันนิดๆ)
    • TIER 2 99.741% จะ Down Time ได้มากสุด 1361.304 นาที หรือ 22.688 ชั่วโมง (เกือบ 1 วัน)
    • TIER 3 99.982% จะ Down Time ได้มากสุด 94.608 นาที (ชั่วโมงครึ่ง)
    • TIER 4 99.995% จะ Down Time ได้มากสุด 26.28 นาที (ครึ่งชั่วโมง)

    จะเห็นว่าเมื่อเทียบแล้วในแต่ละปิด กับระบบที่ Down ไม่ได้ถ้ามันสุดวิสัยจริงๆ ก็จะดับรวมๆ ได้ไม่เกินมาตรฐาน

    ทำความรู้จักกับ VPS, Dedicated Server, Co-Location แบบเข้าใจง่ายๆกันดีกว่า !!

    มาทำความรู้จักกับ VPS, Dedicated Server, Co-Location แบบเข้าใจง่ายๆกันดีกว่า !!

    1.VPS (Virtual Private Server) เป็นเครื่องเซิฟเวอร์เสมือน ที่ถูกจำลองขึ้นมาจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ระบบปฏิบัติการ Hypervisor OS หรือ Software ต่างๆ ที่ใช้สำหรับสร้าง VPS แล้วแบ่ง CPU, RAM, HDD ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ออกเป็นสเปคต่างๆ ให้แต่ละ VPS ใช้งานแยกออกจากกัน โดยสามารถใช้งานได้เหมือนครื่องเซิร์ฟเวอร์ทั่วไปทุกอย่าง แต่ประสิทธิภาพจะถูกจำกัดตามสเปคเอาไว้ เหมาะสำหรับระบบที่ไม่ต้องการใช้สเปคสูง และมีราคาไม่สูงมาก (คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม)

    Screenshot_271

    2.Dedicated Server เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จริง สามารถใช้งานทรัพยากรทั้งหมดของเครื่องได้สูงสุด เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวและใช้สเปคเครื่องได้เต็มที โดยปกติจะมีเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Rack Server และ PC Server (คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม)

    Screenshot_269 Screenshot_270

    3.Co-Location คือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองจากบ้านหรือจากที่ทำงาน นำมาวางที่ตู้ Rack เพื่อใช้ Network ของ IDC (Internet Data Center) เช่น CS Loxinfo, CAT-IDC, Jastel Data Center

    ข้อแตกต่างระหว่าง Server และ PC ที่ใช้ทำ Server

    ✔ ข้อแตกต่างระหว่าง Server และ PC ที่ใช้ทำ Server

     

    ในคอมพิวเตอร์ทางบ้านทั่วไป เราได้เห็น CPU แรงๆ อย่าง CPU Intel i7 ที่หลายคนคิดว่ามันแรงที่สุดในบรรดาล CPU ที่เคยรู้จักกันมาแล้ว แต่ในทาง Server จะมี CPU เฉพาะทางอย่าง Intel Xeon หรือ AMD Opteron แต่อย่างไรก็ตาม ในบางทีความแรง ของ Xeon กับ i7 นั้นจะไม่ค่อยแตกต่างกัน หรือบางที i7 ก็จะแรงกว่า ในบทความนี้จะพูดถึงความแตกต่างและการเลือกใช้ ของ CPU i7 กับ Xeon

     

     

    ✔ Server vs. PC

     

    pc.jpg

    ภาพของ Desktop PC

     

    laptop.jpg

    ภาพของ Laptop PC หรือ Notebook

     

    PC ก็คือคอมพิวเตอร์บ้านๆ ที่เราใช้กันทุกวันครับ การทำงานของเครื่องโดยพื้นฐานแล้วไม่ได้แตกต่าง Server เลยทำงานเป็นคอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักดี เหมือนกันเลย แต่มันมีข้อแตกต่างการใช้งานครับ

     

    PC ก็คือ PC หรือมันก็คือคอมพิวเตอร์บ้านๆ ใช้ในบ้าน วางในห้องนอนของเรา หรือโต๊ะทำงาน เปิดแล้วก็ต้องปิด ไม่งั้นก็อาจจะร้อนอุปกรณ์จนเสียหายได้ ซึ่งต่างจากเซิร์ฟเวอร์เลย

     

    poweredge_r220_2.png

    ภาพของ DELL Rack Server (1U)

     

    Small_Business_Dell_PE1900_offer_entry_tower_machine_12500_Dell_the_server_IT_industry.jpg

    ภาพของ DELL Tower Server

     

    bladecenterS.jpg

    ภาพของ IBM Blade Server

     

    Server ออกแบบมาเพื่อทำงาน 24 ชั่วโมง x 7 วัน ต่อสัปดาห์ หรือแทบไม่ปิดเลย CPU และอุปกรณ์ของ Server จะมีการออกแบบพิเศษให้มีความคงทนมากกว่าอุปกรณ์ของ PC ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น CPU , RAM , HDD หรือแม้แต่ Power Supply และยังมีการออกแบบเพื่อให้ต้องทำงานได้ตลอดเวลา อย่าง Power Supply แบบ Redundant เพื่อป้องกันปัญหาอุปกรณ์จ่ายไฟเสียหาย และยังมีการออกแบบเรื่องความร้อนได้ดีกว่า หรือ สามารถทำงานภายใต้ความร้อนได้ดีกว่า ของ PC

     

     

    ✔ CPU i7

     

    CPU Intel i7 เราเคยได้ยินมาบ่อยและมากที่สุดและเข้าใจว่าแรงที่สุดเช่นเดียวกัน แต่ทั้งหมดนั้นมันเป็นแค่ในฝั่งของ PC หรือคอมพิวเตอร์ทางบ้าน แต่ในทาง Server นั้น CPU Intel i7 เป็นทางเลือกรองๆ ต่อจาก CPU XEON ในด้านความแรงด้วยสาเหตุ เกี่ยวกับการออกแบบของตระกูล CPU

     

    มาดูหน้ากล่องกันดีกว่า

     

    51I3Mrs5YSL.jpg

     

    เราจะเห็นว่า “Desktop” นั้นหมายถึง CPU สำหรับ Desktop ตามบ้านทั่วไป และมีข้อจำกัดต่างกับตระกูลของ Xeon ที่ใช้ใน Server

     

     

    ✔ CPU Xeon

     

    CPU Xeon ในทางบ้านทั่วไป เราจะไม่ค่อยรู้จัก ตัวนี้เท่าไร แต่มันมีความแตกต่างในการออกแบบเพื่อใช้งานด้านเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะไม่ว่าจะเป็นด้านความคงทน การโหลดหนักภายใต้ความร้อน และการทำงานแบบ 24 ชั่วโมง การรองรับแรมที่มากกว่า และ แรมในรูปแบบ พิเศษ

     

     

    ✔ ความแตกต่างระหว่าง i7 และ Xeon

     

    ตรงนี้จะเป็นข้อมูลจาก http://www.velocitym…ats-difference/ครับ

     

    ข้อดีของ i7 

    • Overclocking ใน CPU i7 จะเห็นว่ารุ่นที่ตามด้วย K จะเป็นรุ่นที่ออกแบบมาเพื่อ Overclocking นั้นคือปลดล็อก CPU เพื่อให้การ Overclock เป็นไปได้อย่างง่ายดาย แค่เรามีระบบการระบายความร้อนกับการจ่ายไฟที่ดี เราก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย
    • ความคุ้มค่าในแต่ล่ะ GHz (GHz ต่อ บาท) ถ้าเทียบกับ CPU ของเซิร์ฟเวอร์และความแรงใน GHz นั้นราคาจะถูกว่า Xeon มากเมื่อเทียบกันด้วยความคุ้มค่าต่อความแรงในการประมวลผล
    • มี Onboard Graphic เพราะ i7 เป็น CPU ตามบ้านและตั้งใจทำให้ เราไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ไรมากมายในเวลาที่เราประกอบคอมเครื่องใหม่ เราสามารถใช้การ์ดจอที่อยู่บน CPU ได้ และความสามารถก็ถือว่า ใช้ได้ดี เลยทีเดียว

    ข้อดีของ Xeon

    • L3 cache ใน CPU Xeon ส่วนใหญ่จะมี Cache ในส่วนนี้มากกว่า i7 ถึง 2 เท่า ซึ่งจะช่วยในการประมวลผลได้เร็วกว่าเมื่อเทียบกับ i7
    • รองรับ RAM ECC แรมรูปแบบนี้เป็นแรมที่จะตรวจสอบ Error ของข้อมูลในแรมและทำการแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหาจริงๆ ขึ้น ซึ่งแรมชนิดนี้จะช่วยให้ระบบมีความเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งแรมชนิดนี้ต้องรองรับมี CPU ที่รองรับด้วย
    • มี Core ที่มากกว่า ใน Intel Xeon (E5) v3 รุ่น Top ที่สุดมี Core มากถึง 12 Core (24 Thread เมื่อใช้งาน Hyperthreading) เมื่อเทียบกับ i7 จะมีแค่ 8 Core เท่านั้นในรุ่นสูงสุดในปัจจุบัน
    • รองรับการทำงาน 2 CPU ใน Intel Xeon E5 จะสามารถใช้ CPU ร่วมกันได้ใน 1 เครื่อง และผลที่ได้คือจำนวน Core CPU ที่เพิ่มขึ้น และ แรงขึ้น
    • ความคงทน (ภายใต้โหลดหนักๆ) อย่างที่เคยอธิบายว่า Xeon นั้นถูกออกแบบมาเพื่อโหลดหนักๆ ได้เป็นเวลานาน เมื่อเทียบกับ i7 แล้ว Xeon จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับการโหลดหนักและจะทนกว่า i7 ในการทำงานเดียวกัน
    • Hyperthreading ในราคาที่ถูกว่า ถึงยังไงก็ตาม Xeon จะมีราคาที่แพงกว่าก็จริง แต่เมื่อเทียบเรื่อง Hyperthreading จะมีราคาที่ถูกกว่า และถ้าเราต้องเลือกซื้อ CPU ที่รองรับการทำงานของโปรแกรมที่ใช้ Hyperthreading ทางเลือกที่ดีก็จะเป็น Xeon

     

    ✔ สรุป

    ใน CPU i7 และ Xeon (e3) จะมีคู่ขนานกันในเรื่องความแรง ถึงจะไม่เสมอ แต่ก็จะช่วยให้เราเข้าใจความแรงของ Xeon ได้ง่ายขึ้นครับ และในการทำงานของ Server จำเป็นมากที่ต้องทำงานได้ตลอดเวลาโดยที่อุปกรณ์นั้นมีความคงทนและเสียหายได้ยากที่สุด Server ส่วนใหญ่ก็จะใช้ CPU Xeon ครับเพราะมีการออกแบบ CPU ให้สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงภายใต้การโหลดของ CPU หนัก (นั้นหมายความว่า Server ที่ใช้ CPU i7 ก็มีครับ)

    นั้นหมายถึง Server ก็จะมีราคาที่สูงกว่า PC ในสเปคเดียวกัน แต่ความคงทนและการใช้พลังงานต่างกันแน่นอนครับ

    ทำความรู้จักกับ VPS, Dedicated Server, Co-Location แบบ แบบละเอียดยิบๆๆกันเลย !!

    ทำความเข้าใจระหว่าง VPS , Co-Location , Dedicated Server

    บริการทั้ง 3 บริการของผู้ให้บริการ (เอ๊ะ?! ยังไง) ที่เราได้ยินและหาเจอกันบ่อยๆ อย่าง VPS Colocation (หรือบางทีเรียกสั้นๆ ว่า Colo) , Dedicated Server บริการทั้ง 3 หลายคนเรียกมันรวมๆ กันว่า “Colo” , “โคโล” แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ 

    เดี๊ยวววก่อนนนนะ!?? มันไม่ใช่ แล้วทำไมทุกคนเรียกล่ะ   คำตอบนี้มันเกิดมานานแล้ว เหมือนคิดว่าพวกการตลาดจะต้องการมีสิ่งมาเรียกแทนบริการพวกนี้ ที่สามารถเข้าเครื่องไปทำอะไรได้ บนเน็ตแรงๆ ของ Data Center ก็จะเรียกรวมๆ ว่า Colo จะได้เข้าใจง่ายๆ ซึ่งตรงกันข้าม มันก็มีผลเสียอยู่ว่า ที่คนรุ่นหลังๆ จะเข้าใจผิดว่าทั้ง 3 อย่างว่ามันคือ Colo ทั้งหมดซึ่งจริงๆ ไม่ใช่เลย –ป.ล. ในความเข้าใจของผมนะ

    ในเมือรู้แล้วว่า ทั้ง 3 อย่างไม่ได้เรียกว่า Colo ตลอด มาทำความเข้าใจให้ถูกต้องกันดีกว่า ว่ามันคืออะไรและยังไงบ้าง เริ่มต้นที่..

    ✔ Co-Location
    บริการนี้เป็นสิ่งที่เราได้ยินมากที่สุด และมักจะเข้าใจความหมายกันผิดมาโดยตลอด เราลองมาแยกคำดู แล้วก็จะได้ Co กับ Location ซึ่งคำว่า Co หมายถึง ” ร่วม ” และคำว่า Location หมายถึง ” พื้นที่ ” ซึ่งนำรวมกันแล้วแล้วก็คือ (ตู้มม โกโก้ครัน เอ้ย ไม่ใช่) Co-Location ซึ่งมีความหมายว่า ” ร่วมพื้นที่!!??? ”

    ร่วมเหรอ?! ได้ไงอ่ะ – เพราะว่าผู้ให้บริการ เช่าตู้มาและมาตั้งใจให้บริการ เขาก็จะเปิดพื้นที่ให้เช่าเพื่อมาวางเซิร์ฟเวอร์ ตามขนาด 1U , 2U , 3U ก็ว่ากันไป
    ** U ในที่นี้หมายถึง Unit ซึ่งเป็นในส่วนของ Rack Unit เพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Rack_unit

    Screenshot_37.png

    สรุป – Colocation คือการที่เรานำเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของเราไปฝากและวางกับเจ้าของตู้ไปใช้ไฟและไปใช้อินเตอร์เน็ต

     

    ✔ Dedicated Server
    บริการนี้ จะคล้ายๆ Colocation แต่ต่างจากแทนที่เราจะต้องเอาเครื่องไปวางกับผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการจะจัดหาเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาวางแล้วให้บริการเราแทน
    ทำให้เรามีโอกาสได้เลือกสิ่งที่เขาเตรียมไว้ให้และผู้บริการที่ดีก็จะจัดหาเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นแบรนด์เนม (Brandname) อย่าง DELL , IBM ครับ

    อยากได้เพิ่ม (Addons)? – ผู้ให้บริการก็จะมี Addons เสริ่มให้อยากการเช่าแรมใส่เพิ่ม หรือเช่า HDD ครับและก็จะมี Addons คล้ายๆ กับ Colocation ครับ

    สรุป – เหมือนกับ Colocation ต่างที่เขาจะหาเครื่องให้เราได้เลือกและใช้บริการ ราคาแพงกว่าแน่นอน

     

    ✔ VPS
    บริการนี้เหมือนเป็นต่อมาจาก Dedicated Server อาจจะงงๆ สำหรับหลายๆ คนเพราะมีการทำงานต่างจากทั้ง 2 อย่างที่อธิบายมา
    VPS คือ Virtual Private Server แปลได้ว่า เซิร์ฟเวอร์เสมือนส่วนตัว  ขยายความได้ว่า เป็นการ จำลองคอมพิวเตอร์ขึ้นมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์จริงๆ 1 เครื่อง แล้วใช้ที่จำลองขึ้นมาเป็นเซิร์ฟเวอร์ครับ

    และแน่นอนว่ามันจำลองขึ้นมาบน 1 เครื่อง ความแรงและความเร็วมันสู้ Dedicated Server ที่เป็นเครื่องจริงๆ ไม่ได้ครับ (ยกเว้นเครื่อง Dedicated Server เป็นสเปคที่ต่ำจริงๆ)

    classificaition-virtual-private-servers-godaddy.png
    รูปภาพจาก http://www.godaddyho…choosing-a-vps/

    อยากได้เพิ่ม (Addons)? – เนื่องจาก VPS อยู่บนเครื่องจริงๆ และจำลองออกมาให้เราใช้บริการ จะมีข้อจำกัดในเลือกให้บริการ Addons เพิ่มเติมแต่ก็สามารถสอบถามจากผู้ให้บริการได้ครับ

    สรุป – จำลองจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงๆ ด้วย Software และมาให้บริการครับ

     

    ✔ สรุป
    ทั้ง 3 บริการเราควรเลือกตามที่เราต้องการก่อนครับ อย่างเช่นทำเว็บและคนเข้าเยอะ แล้วเราย้ายมาจาก Shared Hosting เราก็ยังไม่จำเป็นที่จะกระโดดข้ามไป Dedicated เราก็มาที่ VPS ก่อนเพราะมันอาจจะเพียงพอสำหรับเว็บของคุณ และจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายโดยที่ไม่จำเป็นหรือเกินความจำเป็นนั้นเองครับ

    Co-location Server (บริการรับฝากวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์) คือ การให้บริการพื้นที่ตั้งเครื่อง Computer Server , Database Server หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไว้ในศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา และมีสายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง บริการรับฝากวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้น ทางลูกค้าจะต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการ (Operating System) ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงนำเครื่องเซิร์ฟเวอร์เข้ามาให้เราเพื่อนำไปติดตั้งใน IDC ให้ครับ ในการใช้งาน ลูกค้าจะเป็นผู้ดูแลระบบของเซิร์ฟเวอร์เอง (เช่น การติดตั้งหรือแก้ไขปัญหาแอพพลิเคชั่นในเซิร์ฟเวอร์) โดยเราจะรับผิดชอบในส่วนของสภาพแวดล้อมเท่านั้น เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต, ระบบไฟฟ้า, ระบบทำความเย็น เป็นต้น เพื่อให้สภาพเหมาะสมกับการทำงานของเครื่องเซิร์ฟเวอร์.

    ปัจจุบันเรามีให้เลือกอยู่ 3 ที่ ดังนี้ครับ

    Proen IDC (CAT Tower ชั้น 18)

     

    PROEN IDC ตั้งอยู่ที่อาคาร กสท โทรคมนาคม บางรัก เป็นศูนย์กลางระบบ อินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย PROEN IDC ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 – Information Security Management System (ISMS) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่บริษัทชั้นนำให้ความสำคัญ อีกทั้งยังเป็น Data Center ที่ได้มาตรฐาน Tier 3

     

    ขนาดเครื่อง1U Rack2U Rack
    Network100 Mpbs100 Mpbs
    จำนวน IP1 IP1 IP
    จำนวนปลั๊กไฟ1 ปลั๊ก1 ปลั๊ก
    ค่าบริการ 1 เดือน

    ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว
    2,500 บาท3,500 บาท
    ค่าบริการ 6 เดือน

    ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว
    14,250 บาท19,950 บาท
    ค่าบริการ 1 ปี

    ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว
    27,000 บาท37,800 บาท

     

    • เพิ่ม IP address ราคา 150 บาท/ip/เดือน

     


    INET IDC (Bangkok Thai Tower)

     

    ศูนย์ข้อมูลไอที Virtual Data Center แห่งใหม่ล่าสุด ด้วยการบริหารจัดการที่รองรับและออกแบบด้วย Concept : Clean, Green, Innovation Saving, และ Security ตามมาตรฐานสากลได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุดบนพื้นที่บริการกว่า 800 ตร.ม ตั้งอยู่ ซอยรางน้ำ แขวงถนนพญาไท ซึ่งอยู่ใจกลางเมือง เดินทางได้สะดวกรวดเร็ว ด้วยรถไฟฟ้า BTS มั่นใจด้วยบริการคุณภาพระดับมาตรฐาน ISO 27001 :2013

     

    ขนาดเครื่อง1U Rack2U Rack
    Network100 Mpbs100 Mpbs
    จำนวน IP1 IP1 IP
    จำนวนปลั๊กไฟ1 ปลั๊ก1 ปลั๊ก
    ค่าบริการ 1 เดือน

    ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว
    3,000 บาท4,000 บาท
    ค่าบริการ 6 เดือน

    ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว
    17,100 บาท22,800 บาท
    ค่าบริการ 1 ปี

    ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว
    32,400 บาท43,200 บาท
    • เพิ่ม IP address ราคา 200 บาท/ip/เดือน

     


    CAT IDC (CAT Tower ชั้น 14)

     

    CAT data center บริการศูนย์ Data Center แบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น ให้บริการรับฝากเซิร์ฟเวอร์ (Server Co-location), ให้เช่าพื้นที่ (Temp Office) มั่นใจด้วยมาตรฐาน TSI Level 3 และ ISO 27001: 2013 มีระบบรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนา ระบบไฟฟ้า 2 แหล่งจ่าย พร้อมเชื่อมต่อเข้ากับ Internet Gateway ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเพียบพร้อมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์ระดับ Premium

     

    ขนาดเครื่อง1U Rack2U Rack
    Network100 Mpbs100 Mpbs
    จำนวน IP1 IP1 IP
    จำนวนปลั๊กไฟ1 ปลั๊ก1 ปลั๊ก
    ค่าบริการ 1 เดือน

    ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว
    3,000 บาท4,000 บาท
    ค่าบริการ 6 เดือน

    ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว
    17,100 บาท22,800 บาท
    ค่าบริการ 1 ปี

    ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว
    32,400 บาท43,200 บาท
    • เพิ่ม IP address ราคา 300 บาท/ip/เดือน

     


     

    • บริษัทขอสงวนสิทธิไม่รับวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ BitTorrent, เซิร์ฟเวอร์ Game, และเซิร์ฟเวอร์ Camfrog
    • บริษัทขอสงวนสิทธิ ไม่รับลูกค้าที่ใช้บริการ ขัดต่อ พรบ. คอมพิวเตอร์ ปี 2550
    • ในกรณีที่ลูกค้าละเมิดข้อตกลงข้างต้น ทางบริษัทจะระงับการใช้งาน โดยไม่คืนค่าบริการ

    ถ้า “ไม่ต้องการ” ที่จะรู้การ config Server เช่า Reseller กินนิ่มครับ แต่ก็แลกกับรายได้น้อยกว่ากันนิดหน่อย (ไม่เสมอไป) และ “ข้อจำกัดที่เราต้องยอมรับจากคนที่ไปใช้บริการครับ”
    ข้อเสีย
    1. ใช้คำสั่ง นั้น นี้ ไม่ได้
    2. ตรวจสอบอะไรหลายๆ อย่าง ต้องผ่าน ผู้ให้บริการ
    3. วางแพลน Hosting ที่จะขายค่อนข้างยากขึ้น
    4. Version ของ php ที่มีปัญหากันในสมัยนี้ก็ต้องยอมรับกันไป (ในกรณี Direct Admin หรือ CP บางตัว)
    5. ผู้ให้บริการเราสามารถเข้าดูข้อมูลของเราได้
    ข้อดี
    1. ไม่ต้องเสี่ยง เรื่องเครื่องพัง ไม่ต้องถือเงินสำรองไว้เยอะ
    2. ไม่ต้องรู้อะไรมาก ขายอย่างเดียว
    3. สบายใจเดินทาง ไม่ต้องกังวล (อาจจะเกี่ยวกับข้อ 1)

    ส่วนตัวแนนำอย่างนี้ครับ หากต้องเขียนโปรแกรมอย่างเดียว แต่อยากขาย Host ไปพลาง แนะนำ Reseller นี้แหละครับ ฟิน
    เราได้ค่า Host เป็นค่าขนมครับ มองไปแบบนี้

    VPS & เช่าเครื่อง อันนี้ไม่ต่างกันนะครับ เพราะ
    1. config เองทั้งหมด ทำอะไรก็ทำได้ (ไม่ทุกเจ้า)
    2. ในกรณีเครื่องเสีย เครื่องมีปัญหา (HW) เจ้าของเครื่องจัดการ เราไม่ต้องทำอะไร
    3. ในกรณี SW เราต้องแก้ปัญหาเอง (ไม่ทุกเจ้า)

    ซื้อเครื่อง >> ไม่ทำเองก็จ่ายตังทุกอย่างครับ

    โดนส่วนตัวผมไม่ขาย reseller แบบจ่ายรายเดือน (ถึงจะทำให้ยอดขายหายไปเยอะก็ตาม)
    เพราะพวกจ่ายรายเดือนคือพวกที่มีโอกาสจะสร้างปัญหาให้กับลูกค้ามากที่สุด
    เพราะเงินทุนจะจ่ายรายปียังไม่มี จ่ายเดือนต่อเดือน วันดีคืนดี เดือนใหนขายไม่ดี หรือขาดทุนติดต่อกันหลายเดือน ก็เลิกหายไปดื้อๆ ผู้ให้บริการก็ต้องระงับ ลูกค้า(ส่วนมากจ่ายรายปี) ก็รับกรรมกันไป อยู่ๆเว็บเข้าไม่ได้ ติดต่อผู้ให้บริการก็ไม่ได้

    ปล.ผมคงเป็นเจ้าเดียวมั้งที่คิดแบบนี้ ส่วนใหญ่มีลูกค้ามาซื้อขายได้เงินก็เอาไว้ก่อน

    ถามสั้นๆ ง่ายๆ “ตั้งงบประมาณไว้เท่าไหร่ครับ”

    ถ้ามาก ทางเลือกก็จะมาก ถ้าน้อย ทางเลือกก็จะน้อย



เวอไนน์ไอคอร์ส

ประหยัดเวลากว่า 100 เท่า!






เวอไนน์เว็บไซต์⚡️
สร้างเว็บไซต์ ดูแลเว็บไซต์

Categories