Hosting
คือเซิฟเวอร์ (Server) สำหรับ ติดตั้งระบบ และไฟล์ของเว็บไซต์
1. Share Hosting
เว็บบนเซิฟเวอร์เดียวกัน มักทำให้เกิดปัญหาการแย่งกันใช้งานทรัพยากร Memory, CPU ต่างๆ ถ้า Host มีการจัดการทรัพยกรไม่ดีก็อาจจะทำให้เว็บเราช้าหรือล่มได้ host ประเภทนี้จึงอาจจะมีการหยุดการใช้งานของบางเว็บถ้าระบบเห็นว่าเว็บไหนใช้ทรัพยากรมากเกินไป เพื่อป้องกันการกระทบกับเว็บอื่นๆ ในเซิฟเวอร์เดียวกัน ซึ่งก็มีการจำกัด ในด้านต่างๆ แตกต่างกันไป เช่น ปริมาณ Bandwidth บาง host แม้จะบอกว่า Unlimited แต่ถ้าเราใช้งานหนักเนื่องจากปลั๊กอินหรือธีม หรือ CMS ใดๆ ก็อาจจะทำให้ผู้ให้บริการพักการใช้งานได้ ในกรณีที่ Server มีช่องโหว่โดนเจาะหรือโดนไวรัสก็อาจจะทำให้เว็บใน Server ติดไวรัสไปด้วย การเลือกผู้ให้บริการจึงมีความสำคัญ หาเจ้าที่มีความชำนาญเชี่ยวชาญ
- ราคาไม่แพง
- คนดูแลเซิฟเวอร์ช่วยเหลือในกรณีที่มีปัญหา
- ไม่ต้องมีความรู้ในการปรับแต่งเซิฟเวอร์ (เพราะยังไงก็ไม่มีสิทธิปรับแต่ง เพราะมันเป็น Sharehost)
- เป็นการแชร์การใช้งานทรัพยกรกับเว็บอื่นๆ อาจจะได้รับผลกระทบด้วย
- ตั้งค่า Server เพื่อให้ใช้งานสำหรับทั่วไป ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลง ปรับแต่งระบบบางอย่างเพื่อเว็บใดเว็บหนึ่งได้
- การอัพเดตต่างๆ ไม่สามารถทเองได้ ต้องรอให้ทางผู้ให้บริการทำ ซึ่งมักจะเปลี่ยนกันทั้งเซิฟเวอร์ ทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้บ่อยๆ และ มักไม่เปลี่ยน เพราะ มีผลกระทบกับเว็บไซต์เดิม ที่อาจมี script รุ่นเก่าไม่รองรับ php รุ่นใหม่
2. VPS Cloud Hosting
VPS (Virtual Private Server) จำลองเซิฟเวอร์ส่วนตัวให้ใช้งาน โดยการนำเซิฟเวอร์มาติดตั้งโปรแกรมที่ทำให้จัดสรรทรัพยากร
- มีความยืดหยุ่นสูงและปรับสามารถปรับเปลี่ยนสเปคของเซิฟเวอร์ที่ต้องการได้ง่าย
- ราคาไม่แพงมาก เพราะเป็นการใช้ฟาร์มเซิฟเวอร์ขนาดใหญ่มาแบ่งขายจึงทำให้ราคาถูกลง
- สามารถเลือกที่ตั้งหรือ Location ของเซิฟเวอร์ได้หลายที่ทั่วโลก เนื่องจากเว็บจะโหลดได้เร็วขึ้นเมื่ออยู่ใกล้กับกลุ่มเป้าหมายของเรามากที่สุด
- ส่วนใหญ่เป็นบริการของต่างประเทศที่เป็นเจ้าใหญ่ๆ ทำให้มีราคาถูก (มีบริษัทของคนไทยนำพื้นที่ของ Cloud ต่างประเทศมาให้บริการเป็น Host สำหรับคนไทยด้วย)
เนื่องจาก Cloud Hosting มี API ให้ใช้งาน ผู้ให้บริการหลายเจ้าสร้างระบบที่ช่วยให้เราสามารถติดตั้งและตั้งค่าเซิฟเวอร์พร้อมกับติดตั้ง WordPress ได้โดยอัตโนมัติให้ด้วย ซึ่งทำให้เราสามารถใช้ Cloud Hosting ยอดนิยมทั้งหลายได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการติดตั้งเซิฟเวอร์ใดๆ เช่น Cloudways, ServerPilot เป็นต้น
Ex : DigitalOcean, Amazon Web Service, Google Cloud, Linode, Vultr, Kyup
- Cloudways ติดตั้งและใช้งาน WordPress บน Cloud Hosting ด้านบนได้ง่ายมากๆ การใช้งาน Cloudways กับ DigitalOcean
- ServerPilot ติดตั้ง WordPress บน Cloud Hosting ต่างๆ ได้ฟรี เสียเฉพาะหากต้องการใช้ SSL ต้องเปลี่ยนเป็นแพลน $10 ที่เหลือแล้วแต่ว่าเราจะใช้ Cloud Hosting เจ้าไหน ราคาเท่าไหร่ ก็จ่ายแยกต่างหากที่ผู้ให้บริการเลย การใช้งาน ServerPilot กับ DigitalOcean
3. WordPress Hosting
WordPress Hosting หรือ Manage WordPress Hosting นั้นอาจจะเป็นได้ทั้งแบบ Share Hosting หรือแบบที่เป็น VPS/Cloud Hosting โดยจุดประสงค์หลักๆ ที่ทำให้เกิด Hosting ประเภทคือเป็นการปรับแต่งและตั้งค่าเซิฟเวอร์เพื่อให้ใช้งาน WordPress ได้ดีที่สุด เช่น การใช้เวอร์ชั่น PHP รุ่นใหม่ๆ การติดตั้งระบบแคชต่างๆ เพื่อให้เว็บรับทราฟฟิคได้เยอะๆ และทำงานได้เร็วขึ้น WordPress Hosting ในไทยส่วนใหญ่ยังเป็นแบบ Share Hosting ที่นำมาปรับแต่งสำหรับใช้งาน WordPress และยังคงใช้ร่วมกับ Control Panel อย่าง DirectAdmin เหมือนเดิม ส่วนของต่างประเทศที่เป็นเจ้าใหญ่ๆ นั้น มักจะพัฒนาระบบเฉพาะขึ้นมาเอง รวมทั้ง Control Panel ต่างๆ ก็พัฒนามาเพื่อใช้สำหรับ WordPress โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น
- ระบบที่ปรับมาสำหรับ WordPress โดยเฉพาะ
- มีระบบ Control Panel สำหรับ WordPress ที่พัฒนาเองต่างหากให้ใช้งานได้ง่าย
- มีฟังชั่นเสริมต่างๆ ในตัว เช่น ระบบแคช, CDN, Staging site เป็นต้น
- มี Support ที่ชำนาญเกี่ยวกับ WordPress โดยตรงไว้คอยช่วยเหลือ
- ราคาแพงกว่าโฮ้สต์ปกติทั้งแบบที่เป็น Share Hosting และแบบ VPS
- ยังมีผู้ให้บริการไม่มากนัก
Ex : Siteground, Kinsta, Flywheel,WPEngine
การเลือก Hosting สำหรับ WordPress
1. PHP
Requirements ของ WordPress แนะนำใช้ 7.2 ขึ้นไป เนื่องจาก PHP เวอร์ชั่นใหม่ๆ จะปลอดภัยกว่า เร็วกว่า มีฟังชั่นใหม่ๆ มากกว่า ปลั๊กอินต่างๆ ก็พยายามจะพัฒนาเพื่อใช้งานกับ PHP เวอร์ชั่นใหม่มากขึ้น และจะเลิกสนับสนุนสำหรับ PHP เวอร์ชั่นเก่าๆ ทำให้เว็บที่ใช้ PHP เวอร์ชั่นเก่าๆ มีปัญหา
2. Nginx Server
เซิฟเวอร์ที่เป็น Nginx รองรับข้อมูลและเร็วและมากกว่าเซิฟเวอร์ที่ติดตั้งเพียงแค่ Apache ทั่วไปอย่างเดียว
3. SSL
SSL คือ การเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งผ่านกันทางเว็บ เช่น การกรอกฟอร์มต่างๆ
SSL ฟรีของ Let’s Encrypt ให้ใช้บริการได้ฟรี นอกจากนี้ host ที่เปิดให้ SSL ก็ควรที่จะเปิดใช้ความสามารถ HTTP/2 ได้ด้วย
4. Auto Install
ระบบติดตั้ง WordPress อัตโนมัติ ใน Share Hosting เช่น Installatron, Softaculous , Inw install
5. Backup
Share Hosting และ Manage WordPress Hosting มีแบคอัพอัตโนมัติให้อยู่แล้ว ต่างกันที่ความถี่ของการแบคอัพ
6. Security
ควรมีระบบความปลอดภัย เช่น Firewall ที่อัพเดตสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยป้องกันการโจมตีจากแฮคเกอร์ เนื่องจาก WordPress นั้นเป็นเป้าโจมตีอยู่แล้วเพราะเมื่อมีคนใช้มาก ก็ย่อมเป็นเป้าหมายของการโจมตีมากเป็นธรรมดา Hosting เกรดพรีเมี่ยมบางเจ้า เช่น Kinsta จะมีระบบ Security มากเป็นพิเศษ เช่น DDos Protection, Malware Scanner, Hack guarantee ที่ช่วยแก้ไขถ้าเว็บโดนแฮค
7. Caching
การแคชชิ่งระดับเซิฟเวอร์ช่วยเว็บรับทราฟฟิคได้ปริมาณมากกว่าเดิมและเร็วกว่าเดิม ต่างจากการพึ่งพาระบบแคชของ PHP จากปลั๊กอินของ WordPress อย่างเดียว ซึ่งถ้ามีระบบแคชระดับเซิฟเวอร์ด้วยก็จะดีมาก โดยเฉพาะเว็บ eCommerce หรือเว็บที่ใช้ปลั๊กอินบางตัวที่อาจจะทำให้โหลดช้า Hosting ส่วนใหญ่อาจจะมีแคชอย่าง Memcached, Varnish, Redis, PHP-FPM หรือระบบที่เขาพัฒนาขึ้นมาเองก็มี
8. Storage
พื้นที่สำหรับการจัดเก็บไฟล์ แต่ละโฮ้สต์ก็จะเสนอพื้นที่สำหรับจัดเก็บไฟล์ให้ในขนาดที่ต่างกันไป เราสามารถที่จะเลือกหรือเปรียบเทียบหลายๆ แห่งตามขนาดที่เราต้องการใช้หรือคาดการณ์ว่าเว็บจะมีขนาดแค่ไหนในอนาคต โดยอาจจะเริ่มจากเล็กๆ ก่อนก็ได้ เพราะตัว WordPress เองนั้นไม่ได้มีขนาดใหญ่มาก แต่จะโตเพราะข้อมูลจำพวกไฟล์ภาพต่างๆ และไฟล์แบคอัพก็รวมด้วย สำหรับ VPS Cloud Hosting ส่วนใหญ่นั้น เราสามารถที่จะอัพเกรดพื้นที่ รวมไปถึงซีพียู และแรมได้เองตลอดเวลา
9. Support
Support คือ คนที่จะคอยช่วยเหลือเราเมื่อเกิดปัญหาต่างๆ
– เปิด Ticket เพื่อส่งข้อความแจ้งเมื่อมีปัญหา Support
– Live Chat
– Messenger เช่น Line หรือ Facebook Group
– โทรศัพท์
10. Bandwidth
หรือ ปริมารการรับส่งข้อมูล ของเว็บไซต์ ซึ่งเกิดจาก Traffic แต่ละเจ้านั้นจะกำหนดให้ไม่เท่ากัน
Share Hosting ประเภท Unlimited ถ้าเว็บมีคนเข้าเยอะ จนทำให้ใช้งาน CPU หรือ Memory มากเกินไป เว็บก็อาจจะโดน Suspended หรือหยุดการทำงานชั่วคราว บางที่ก็ไล่ไล่ออกไปใช้ที่อื่น หรือ ไม่ก็อัพเกรดเเพลน เพื่อการรักษาระบบส่วนรวมไม่ให้เว็บอื่นล่มไปกับเราด้วยง
วิธีการแก้ไข เบื้องต้น อาจจะใช้ CDN เช่น CloudFlare ช่วยในการเป็นแคชและลดการใช้งานแบนด์วิดท์จาก Host
หรือ plugin catch ของ wordpress
11. Site migration
Migration คือ การย้ายเว็บไซต์ ซึ่งจริงๆ แล้วเราสามารถทำได้เองด้วยปลั๊กอินง่ายๆ อย่าง All In One WP Migration แต่ host ส่วนใหญ่มีบริการย้ายข้อมูลฟรีสำหรับคนที่ต้องการใช้บริการโดยการย้ายข้อมูลจาก host เดิมให้เราด้วย
+https://www.wpthaiuser.com/hosting-domain-wordpress/