โดยทั่วไป framework เป็นโครงสร้างจริงหรือทางความคิดที่มุ่งไปสู่การรองรับการสนับสนุนหรือแนะแนวสำหรับการสร้างบางสิ่งที่ขยายโครงสร้างไปสู่การใช้ประโยชน์ของบางสิ่ง
ในระบบคอมพิวเตอร์ framework มักจะวางโครงสร้างที่ชี้ประเภทของโปรแกรมที่สามารถหรือต้องได้รับการสร้างและมีความสัมพันธ์ภายในอย่างไร ระบบคอมพิวเตอร์บาง framework รวมโปรแกรมจริงไว้ด้วย ระบุการอินเตอร์ของโปรแกรม หรือเสนอเครื่องมือทางโปรแกรมสำหรับใช้งานกับ framework บางครั้ง framework อาจจะเป็นชุดของฟังก์ชันภายในระบบและมีความสัมพันธ์ภายในอย่างไร ชั้นของระบบการประยุกต์ย่อย มาตรฐานการสื่อสารที่บางระดับของเครือข่าย และอื่นๆ โดยทั่วไป framework ครอบคุมมากกว่าโปรโตคอลและเป็นการกำหนดมากกว่าโครงสร้าง
ตัวอย่างของ framework ที่ได้รับการใช้ในปัจจุบันโดยองค์กรหรือบริษัทมาตรฐาน รวมถึง
• Resource Description Framework ชุดของกฎจาก World Wide Web Consortium สำหรับการอธิบายทรัพยากรของอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์และเนื้อหา
• Internet Business Framework กลุ่มของโปรแกรมที่ก่อรูปบนพื้นเทคโนโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์ mySAP จาก SAP บริษัทเยอรมันที่ทำตลาดสายผลิตภัณฑ์ด้านจัดการทรัพยากรองค์กร
• Sender Policy Framework นิยามวิธีการและโปรแกรมสำหรับทำให้อีเมล์ปลอดภัยมากขึ้น
• Zachman framework โครงสร้างทางตรรกะที่มุ่งไปสู่การให้การนำเสนอครอบคลุมมากกว่าของวิสาหกิจเทคโนโลยีสารสนเทศที่ขึ้นกับเครื่องมือและวิธีการใช้ในธุรกิจไอทีเฉพาะ
css framework คืออะไร
php เค้าก็มี framework, javascript เค้าก็มี framework แล้ว css จะมี framework บ้างไม่ได้หรือ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้ทำงานในแบบ interactive ก็ตาม แต่ก็มี framework ได้
framework ในความหมายตัวมันก็คือ การพัฒนาระบบพื้นฐาน หรือชุดคำสั่ง หรือรูปแบบพื้นฐานขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่พัฒนา สามารถเรียกใช้คำสั่ง รูปแบบ หรือระบบนั้นได้อย่างง่าย และรวดเร็ว เนื่องด้วยระบบ หรือ รูปแบบเหล่านั้นเป็นสิ่งพื้นฐานที่มีโดยทั่วไปอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่เขียนซ้ำขึ้นมาอีก ลดเวลาการพัฒนาลงไปได้
CSS ถึงจะเป็น ภาษาที่ไม่ก่อให้เกิดการ interactive กับผู้ใช้ (ไม่นับ css3) แต่มันก็มี framework กับเค้าด้วย เท่าที่ผมเห็น จะมีคนนิยมใช้ก็คือ
960 Grid System
Blue Print Css Framework
1KB CSS Grid
YUI2
หน้าที่หลักๆของ CSS Framework ก็คือ การจัดเตรียม โครงสร้างหน้าเว็บ ขั้นพื้นฐานเอาไว้ ให้เราเลือกปรับแต่งขนาดได้เองตามใจชอบ หรือที่เค้าเรียกมันอีกชื่อนึงว่า CSS Grid (การจัดหน้าตาโดยอาศัยตำแหน่ง grid)
PHP Framework คืออะไร
PHP Framework คือ PHP source code ที่มีคนเขียนมาให้เรา โดย source code เหล่านั้น ได้รวมระบบพื้นฐานเอาไว้ให้เราเรียกใช้งานได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น การตรวจสอบ form ที่ user input ข้อมูลเข้ามาในเว็บว่ามีหรือไม่ เราสามารถทำได้ด้วยชุดคำสั่งเดียว ที่ framework นั้นๆเตรียมเอาไว้ให้เรา เราไม่จำเป็นต้องเขียนตัวเช็คมาใช้เอง ทำให้ลดเวลาการทำงานลงไปได้ ซึ่งคนที่ใจดีเขียนแจกฟรีมีมากมาย หรือแบบเสียเงินก็ยังมี แบบที่พัฒนาต่อเนื่องก็เยอะ แบบทำออกมาตัวเดียวเลิกก็มีให้เห็นทั่วไปเช่นกัน จะว่าไปก็แนวคิดคล้าย CMS แต่ไม่เหมือนกัน โดย framework มันเกิดมาเพื่อให้ programmer ไปเขียนโค้ดต่อเพื่อเอาไปใช้ในระบบ framewok นั้นๆ โดยจะมี code ที่สมบูรณ์แล้วหลายชุดให้เราเรียกใช้งานได้ทันที
Framework ต่างจาก cms ตรงไหน
ความแตกต่างระหว่าง framework กับ CMS ต่างกันที่ความพร้อมในการใช้งาน โดย framework หลายตัวต้องติดตั้ง แต่ว่าหลังจากการติดตั้งแล้วยังไม่สามารถเปิดใช้งานเว็บไม่ได้ เนื่องจาก framework ที่ผ่านการติดตั้งแล้วเป็นเพียงแค่เตรียมระบบพื้นฐานให้เท่านั้น โดยพื้นฐานที่กล่าวถึงคือโครงสร้างการทำงานของตัวระบบเท่านั้น จึงยังไม่มีหน้าเว็บหรืออะไรให้เราสักอย่างเดียว ซึ่งที่เหลือเราต้องเขียนใส่เองทั้งหมด นี่คือความต่างที่สำคัญที่สุด แต่จริงๆ ถ้ามองที่ถูกต้องกว่า ต้องบอกว่า CMS คล้าย framework มากกว่า เพราะว่า framework คือระบบที่ทำงานระดับต่ำกว่า CMS นั่นเอง การที่เราปรับแต่ง CMS ด้วยการเรียกใช้ function ต่างๆที่ CMS มีให้เรา ก็เหมือนกับการที่เราเขียนโค้ดบน framework
เมื่อไรเราจะใช้ Framework
จริงอยู่ที่ framework สามารถช่วยงานในการเขียนเว็บ โดยจัดเตรียมระบบการทำงานพื้นฐานให้ แต่ว่าไม่ใช่ทุกกรณีที่จะสามารถใช้ framework เพราะว่าทุกครั้งที่เปิดหน้าเว็บ framework จะมีการทำงานพื้นฐานเพื่อเรียกระบบต่างๆของ framework เองขึ้นมาทุกครั้ง ซึ่งทำให้เปลืองทรัพยากรการทำงานของ server โดยไม่จำเป็นหากเราต้องการทำเว็บเพียงแค่ 1 หน้า หรือเวบที่เป็นข้อมูลแบบที่ไม่ต้องการระบบอะไร มันก็เหมือนกับเราเอารถถังติดอาวุธ และอุปกรณ์ต่างๆ เข้ามาขับในเมือง ที่ไม่มีความจำเป็นเลย แค่ขับรถเก๋งธรรมดาก็ไปได้เหมือนกัน ดังนั้นก็ต้องเลือกงานก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไร
ไม่ใช่ของเล่นของมือใหม่
คนที่จะใช้ framework ต่างๆได้ ควรมีความรู้พื้นฐานในภาษานั้นๆ อย่างน้อยต้องเขียนได้แก้ได้สร้างได้ทุกอย่าง ไม่อย่างนั้นก็จะใช้ไม่ได้เลย เพราะว่า framework ต้องอาศัยโค้ดที่เราเขียนในการทำงานอยู่ดี มันไม่ได้ทำงานเหมือนเอาท่อมาต่อๆกันแล้วจะทำงานได้ และที่มากกว่านั้นก็คือ framework ทุกตัว มีรูปแบบการเขียนเพื่อเรียกการใช้งานที่แตกต่างกัน รวมทั้งการทำงานที่ต่างกันด้วย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคนใช้ที่ต้องศึกษา framework แต่ละตัวก่อนว่าเราจะใช้งานมันได้อย่างไร
Framework ตอนนี้มีอะไรบ้าง
มีมากมายเลย แต่เอาเท่าที่นิยมในไทย จะมี CakePHP อันนี้รู้สึกว่านิยมสุด รองลงมาก็เป็น Zend Framework(ของ php ทำเอง) CodeIgniter (โค้ดอิกไนเตอร์) Simphony และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งอย่างที่บอก แต่ละตัวมีการทำงาน ระบบพื้นฐาน ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นั่นก็ทำให้การที่เราใช้งานก็ต่างกันไปด้วย และอีกจุดหนึ่งที่เป็นความสำคัญคือ function พื้นฐานของแต่ละ framework ที่มีมาให้ไม่เท่ากัน เช่น CakePHP มี function ส่วน Javascript ให้เรียกใช้ได้ แต่ codeigniter ไม่มี แต่อย่างไรก็ดี การที่ไม่มี function พื้นฐานอะไรให้เรา ไม่ได้หมายความว่าเราต้องทำเว็บโดยไม่มีส่วนนั้น แต่เรายังสามารถใส่ส่วนที่ต้องการ เข้าไปใน framework ได้ด้วยตนเองอยู่ดี แต่ต้องเหนื่อยเพิ่มอีกเล็กน้อย แต่ข้อเสียของการที่มี function พื้นฐานให้เรามากเกินไปก็คือความเปลืองในการใช้ทรัพยากรของ server เพราะว่ามีให้มากก็ใช้เปลืองมาก ควบคู่กันไป
เลือกใช้ Framework จากอะไร
ต้องมองถึงภาษาก่อนเลย ว่าเราจะใช้ framework ของภาษาอะไร น่าเชื่อได้ว่ามันมีทุกภาษาล่ะครับ ไม่ว่าจะเป็น PHP,JavaScript หรือแม้กระทั่ง HTML เองยังมีเลย (ระบบ template เช่นพวก smarty)
ต้องเป็น function พื้นฐานที่ติดมาด้วย ซึ่งมีตารางเปรียบเทียบ framework แต่ละตัวอยู่ ว่าแต่ละตัวมี และขาดอะไรไปบ้าง อย่างที่บอก เอาครบ ก็หนักเครื่อง เวลาทำงาน
ข้อกำหนดการใช้งาน ส่วนนี้เค้าก็ไม่ค่อยบอกกันหรอก ต้องเขียนไปแล้วเจอเอง เช่น บางตัวต้องการ module php พิเศษที่ server ปกติไม่ค่อยมีกัน (จะเกิดกับ zend เป็นส่วนใหญ่)
cakephp เป็น php framework ตัวนึงที่ได้รับความนิยมสูงมากตัวนึงในไทยครับ
ถ้าจะวัดจาก community (เว็บบอร์ด) ก็ถือเป็น php framework ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศครับ
ข้อดีของ cakephp คือ
1. เป็น MVC Framework ทำให้ส่วนของข้อมูล ส่วนแสดงผล และส่วนตรรกะแยกออกจากกัน ถ้าเขียนตามโครงสร้างที่ cakephp ได้เตรียมไว้ จะทำให้โปรแกรมมีความเป็นระเบียบ แก้ไขโปรแกรมเพิ่มเติมได้ง่าย
2. มี ORM ลดการเขียนคำสั่ง SQL ซ้ำๆ ให้กลายเป็นคำสั่งในแบบ OOP ทำให้โค้ดอ่านง่ายขึ้น
และช่วยป้องกัน sql injection ได้อย่างดี และนอกจากนั้นยังเป็นคลาสแบบ abstract database layer
ยังสามารถปรับเปลี่ยนไปใช้ database ตัวอื่นได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น mssql oracle mysql postgresql sqlite ฯลฯ
3. เพิ่มคำสั่งที่ช่วยให้ PHP4 สามารถใช้งานบางคำสั่งของ PHP5 ได้
4. มีเอกสารที่ดีมีผู้ใช้จำนวนมากและมี community เยอะมากทำให้สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้เร็ว
5. รวมคำสั่งที่จำเป็นต้องใช้งานอยู่เป็นประจำไว้ให้ ทำให้มีคำสั่งให้ใช้งานมากขึ้นกว่า PHP แบบปกติ
6. มีการวางโครงสร้าง folder ไว้อย่างแน่นอน ทำให้คนที่เขียน cakephp เหมือนกันสามารถเขียนโปรแกรมร่วมกันได้ทันที
(ถ้าใน Zend Framework จะสามารถปรับแต่ง folder ได้อย่างยืดหยุ่นซึ่งก็เป็นข้อดีของการจัดระเบียบแบบ manual ได้
แต่เป็นข้อเสียได้เพราะว่า คนอื่นมาอ่านก็ต้องนั่งไล่หา folder กันใหม่)
7. สามารถสร้าง reusable โค้ดได้ที่พร้อมใช้งานในโปรแกรมอื่นๆ ได้อย่างแท้จริง เมื่อเขียนโปรแกรมในรูปแบบ plugin จะทำให้สามารถนำ plugin ดังกล่าวไปใช้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปใช้ในโปรแกรมที่เขียนโดยใช้ cakephp ได้ทันที ไม่ต้องกังวลว่าเวลาติดตั้งแล้วจะเผลอไปเขียนไฟล์ทับหรือมีไฟล์หลายๆ โปรแกรมปะปนกันจนตามแก้ไขโค้ดได้ลำบาก
8. คลาสและคำสั่งถูกเขียนขึ้นอย่างเป็นระเบียบสามารถ inherit และนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย
และ function ส่วนใหญ่โดยเฉพาะส่วนของ Model จะมีการรับส่ง parameter เป็นแบบ named parameter (ชื่อ key ของ array) ทำให้ไม่ต้องจำลำดับ parameter
และมีทำให้ได้จำนวนคำสั่งที่น้อยง่ายต่อการใช้งานแต่มีความสามารถใช้งานได้หลากหลาย
9. ระบบความปลอดภัยที่สูงขึ้น มีคำสั่งที่ช่วยในการสร้างระบบ authentication อย่างเช่น auth และ acl component
และระบบ ตรวจ useragent ช่วยป้องกัน session hijacking ได้ดีขึ้น และมีการวางระบบให้รักษา password อยู่
ในรูปแบบ hash จากการนำ password เข้าร่วมกับ salt (key) ทำให้ password มีความปลอดภัยสูงขึ้น
10. นอกจาก plugin จะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ในการสร้าง helper,component,behavior เขียนครั้งเดียวและนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้งเช่นกัน ลดปริมาณโค้ดในส่วนของ view,controller,model ลง ทำให้การเขียน application ครั้งต่อๆ ไปมีแนวโน้มที่จะเขียนโค้ดในส่วนหลักน้อยลงเรื่อยๆ
11. จากเดิมถ้าเขียนแบบปกติเวลาเรียกใช้ไฟล์ php จะเรียกได้แบบเดียว แต่ถ้าใช้ router ของ cakephp จะทำให้เปลี่ยน url เป็นแบบไหนก็ได้ อย่างเช่น http://localhost/tests จะสามารถเปลี่ยนเป็น http://localhost/t1 http://localhost/t2 หรืออื่นๆ โดยไม่ต้องไปเปลี่ยนชื่อไฟล์
12. อื่นๆ อีกมากมาย cakephp เป็นเจ้าแห่ง automagic มีระบบที่ช่วยให้เหลือทำให้เหลือโค้ดที่จะต้องเขียนน้อยลงไปอยู่เป็นจำนวนมาก
แต่ก็มีช่องโหว่ทาง security ทะแม่งๆ ออกมาเยอะเหมือนกัน เพราะว่ามันมีจุด auto มากไปเนี่ยแหละ
ดังนั้นถ้าจะใช้ก็ต้องคอยตรวจสอบ update core library กันอยู่เป็นประจำครับ
ประโยชน์หลักของ framework เลยก็คือจะมีการวางแบบแผนและระบบต่างๆ ที่ช่วยให้เขียนโค้ดเป็นระเบียบขึ้น การใช้ framework มีประโยชน์อย่างมากถ้าเขียนโปรแกรมเดียวกันพร้อมกันหลายๆ คน เพราะโครงสร้างโค้ดและ flow ของโปรแกรมจะเป็นไปในแนวเดียวกันหมด ทำให้สามารถเขียนและแก้ไขโปรแกรมที่คนอื่นเขียนได้ง่ายขึ้นมากๆๆๆๆๆ ครับ
ประโยชน์ทางอ้อมก็คือ เพราะว่า framework ถูกเขียนโดยผู้ที่เขียนเว็บที่มีประสบการณ์มากและเก่งมากๆ การได้เรียนรู้จักคำสั่งภายใน framework จะทำให้ได้แนวคิดที่จะช่วยในการเขียนเว็บในหลายๆ อย่าง อย่างเช่น การเขียนคำสั่งที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ช่วยให้ได้รู้จักการวางระเบียบ function และ class ซึ่งจะมีประโยชน์มากต่อการเขียนเว็บอย่างมากครับ
framework คือโครงสร้างและคำสั่งในการพัฒนาระบบซึ่งผู้มีประสบการณ์ได้วางระบบไว้ให้ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการพัฒนาระบบในระยะยาวเพราะว่าโค้ดมีความเป็นระเบียบอยู่แล้ว ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าในอนาคต โครงสร้างที่เราวางไว้อาจจะไม่สามารถตอบสนองกับระบบที่จะพัฒนาเพิ่มเติมเข้าไปในภายหลัง หรือเมื่อพบจุดที่เป็นปัญหาต้องตามไปแก้โค้ดในทุกๆ หน้า ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากครับ.. แต่ถ้าใช้ framework ที่ออกแบบไว้ดี จะสามารถแก้ปัญหาได้โดยการแก้เพียงไม่กี่จุด
แต่ framework ก็มีข้อเสียเหมือนกันอย่างเช่น cakephp มีข้อเสียอย่างหนึ่งก็คือ
ถ้าเราเขียน class เป็น component, behavior, helper นั้น จะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ก็กับเฉพาะโปรแกรม ที่สร้างด้วย cakephp เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ใน application ทั่วๆ ไปได้
สรุปได้ว่าถ้าเราวางระบบในการพัฒนาซึ่งมีการจัดระเบียบไว้ดีแล้ว และนำไปใช้ในการสร้างโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ framework ครับ (แต่การจัดระเบียบเว็บก็เหมือนเราสร้าง framework ของตัวเองขึ้นมาใช้เหมือนกันอะ แหะๆ)
สรุปแล้ว ในที่สุดเราก็ต้องใช้ framework ไม่ว่าจะเป็นของคนอื่นหรือของตัวเอง