Creatinine (ครีอะตินีน) or Cr
สมรรถภาพการทำงานของไตจากค่าครีอะตินีน
โดยค่าครีอะตินีนที่ตรวจได้จะเป็นผลมาจากการออกแรงยืดหดหรือใช้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายในชีวิตประจำวันซึ่งค่อนข้างจะคงที่ ถ้าไตยังทำงานได้ดี มันก็จะขับทิ้งออกทางปัสสาวะและเหลือค้างในกระแสเลือดด้วยปริมาณคงที่ไว้ไม่มากนักจำนวนหนึ่ง Creatinine จึงตกค้างอยู่ในเลือดน้อยและวัดค่าได้น้อยตามไปด้วย แต่หากาการทำหน้าที่ของไตเริ่มบกพร่อง เสียการทำงาน (เช่น เป็นโรคไตเรื้อรัง) ไตก็จะขับ Creatinine ออกทิ้งไม่ทันกับที่กล้ามเนื้อสร้างออกมา การตรวจค่า Creatinine ในเลือดจึงพบค่าที่สูงขึ้นผิดปกติ
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดไตเสื่อม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจนำไปสู่โรคไตเรื้อรังได้หากไม่รักษาอย่างเหมาะสม หรือผู้ที่ได้รับยาบางชนิด
ขณะที่กล้ามเนื้อมีการใช้พลังงานยืดหรือหดตัวออกแรงหรือเบา ชั้นกล้ามเนื้อจะหลั่งสาร Creatine phosphate (Creatine) สารนี้จึงเป็นผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่กล้ามเนื้อต้องออกแรงในการทำกิจวัตรประจำวัน แล้วร่างกายจะใช้วิธีการแตกตัว Creatine เป็นสารตัวใหม่ คือ Creatinine (ครีอะตินีน) ลอยได้ในกระแสเลือด
เมื่อเลือดไหลเวียนผ่านไปที่ไตเมื่อใด ก็จะทำให้ไตกรอง Creatinine เกือบทั้งหมดออกไปนอกร่างกายทางน้ำปัสสาวะ (ค่า Creatinine จึงมักจะไม่แตกต่างกันมากนักในแต่ละวัน และในแต่ละบุคคล เพราะค่านี้ไม่เกี่ยวกับอาหารที่กินนัก รวมทั้งไม่เกี่ยวกับตับ) ในน้ำปัสสาวะจึงมี Creatinine มากเป็นธรรมดา
แต่หากพบว่าค่าจากทั้ง 2 แหล่งนี้อยู่ในระดับที่ผิดปกติ คือ Creatinine ในเลือดสูงมากผิดปกติ แต่ Creatinine ในปัสสาวะต่ำมากผิดปกติ อาจกำลังเกิดโรคไตขึ้นค่อนข้างแน่นอนแล้ว จึงทำให้ไตกรองของเสียออกมาไม่ได้ในเกณฑ์ปกติและล้นคับคั่งอยู่ในเลือด ซึ่งการนำค่า Creatinine ในเลือด พร้อมกับค่า Creatinine ในน้ำปัสสาวะที่เก็บไว้จากการถ่ายออกมาทั้งวันหรือ 24 ชั่วโมง ประกอบกับการคำนวณในห้องปฏิบัติการ ก็จะทำให้ได้ค่าที่เรียกว่า “ค่าสำรองความสามารถของไตที่เหลือในการกำจัดครีอะตินีน” (Creatinine clearance) ที่แสดงข้อมูลสุขภาพของไตได้อย่างถูกต้องชัดเจนกว่าค่า Creatinine ในเลือดเพียงเดี่ยว ๆ (อ่านเพิ่มเติมในหัวข้อด้านล่าง)
- ก่อนตรวจ Creatinine
- งดเนื้อ 2-3 วัน
เนื้อแดงอาจทำให้ค่า Creatinine สูงขึ้นได้เล็กน้อย
เนื้อส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อมี Creatinine phosphate แฝงอยู่ด้วยจำนวนหนึ่ง ยิ่งทำให้สุกด้วยการใช้ความร้อนนาน ๆ เช่น ตุ๋น ยิ่งทำให้ Creatinine phosphate จากเนื้อสัตว์ออกมาปนอยู่ในอาหารและเพิ่มค่าให้สูงยิ่งขึ้นมากกว่าปกติ - ยาบางชนิดอาจมีผลต่อ Creatinine ให้หยุดยาดังกล่าวก่อนชั่วคราว เช่น
ยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs)
ยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside)
ยารักษาโรคกระเพาะอาหารโอเมพราโซล (Omeprazole)
ยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim)
ยาที่มีผลต่อการทำงานของไต (เช่น เซฟาโลสปอริน (Cephalosporins)
ยาเคมีบำบัด - ในกรณีที่เหตุร้ายแรงเกิดขึ้นที่ตับ เช่น ตับได้รับสารพิษ ย่อมทำให้ค่า BUN เพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แต่ในขณะเดียวกันค่า Creatinine อาจจะเพื่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจนอาจสังเกตไม่พบเลย การเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของไต แพทย์จึงแนะนำให้ตรวจหาค่า BUN ไปพร้อมกับ Creatinine ในวาระเดียวกันด้วยเสมอทุกครั้งไป (แม้ Creatinine จะเป็นค่าที่แน่นอนกว่า แต่ค่า BUN ก็จำเป็นเช่นกัน)
- หากพบ Creatinine มีแนวโน้มค่อย ๆ สูงขึ้น เช่น จากการตรวจเลือดทุก 6 เดือน กรณีอย่างนี้ก็ต้องรีบปรึกษาแพทย์
- งดเนื้อ 2-3 วัน
- ค่าปกติของ Creatinine ยึดตามค่าที่แสดงไว้ในใบรายงานผลการตรวจเลือด (ถ้ามี) แต่ถ้าไม่มีให้ยึดตามค่าปกติทั่วไป คือ
- ค่าปกติทั่วไปของ Creatinine
ในผู้ชาย 0.6 – 1.2 mg/dL
ในผู้หญิง 0.5 – 1.1 mg/dL (ผู้หญิงมีกล้ามเนื้อน้อยกว่าผู้ชาย)
ในวัยรุ่น 0.5 – 1.0 mg/dL
ในเด็ก 0.3 – 0.7 mg/dL
ในทารก (อายุ 1 เดือน+) 0.2 – 0.4 mg/dL
ในทารกแรกเกิด 0.3 – 1.2 mg/dL
- ค่าวิกฤติของ Creatinine คือ > 4.0 mg/dL
- ค่าปกติทั่วไปของ Creatinine
- ค่า Creatinine ที่ต่ำกว่าปกติ อาจแสดงผลได้ว่า
- กินโปรตีนต่ำเกินไป
- ร่างกายอาจมีมวลกล้ามเนื้อทั่วร่างกายน้อยกว่าปกติอยู่ก่อน เช่น จากโรคกล้ามเนื้อลีบ (Muscular dystrophy), โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายแรง (Myasthenia gravis) หรืออาจเกิดจากความชราภาพ ฯลฯ
- จากอาการอ่อนแรงและไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย (Debilitation)
- จากการตั้งครรภ์
- จากโรคตับชนิดร้ายแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง
- ค่า Creatinine ที่สูงกว่าปกติ อาจแสดงผลได้ว่า
- อาจมีเหตุสำคัญหรือโรคร้ายแรงภายในไต หรือเกิดขึ้นที่ไตโดยตรง
- อาจมีเหตุสำคัญหรือโรคร้ายแรงจากที่อื่น แต่มีผลกระทบต่อเนื่องมาที่ไตและทำให้ไตเสียหาย เช่น การติดเชื้อจากจุลชีพก่อโรคบางชนิด, การเกิดอาการช็อกจากสาเหตุต่าง ๆ, การเกิดโรคมะเร็งที่อวัยวะอื่น ๆ, การเกิดสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้เลือดไหลผ่านไตมาด้วยปริมาณที่น้อยกว่าปกติมาก
- ท่อปัสสาวะอาจถูกปิดกั้น เช่น จากนิ่วในไต
- อาจเกิดจากภาวะขาดน้ำ (Dehydration) จึงทำให้เลือดเข้มข้นมากขึ้น เพราะครีอะตินีนในเลือดนั้นนับขนาดกันด้วย มิลลิกรัมต่อปริมาตรเลือด 1 เดซิลิตร
- อาจเกิดจากโรคหัวใจวาย (Heart failure) หัวใจเต้นชาลง อ่อนแรงลง มีปริมาตรเลือดจากการปั๊มของหัวใจน้อยลง จึงมีผลทำให้ไตได้รับเลือดที่ผ่านมาให้ไตกรองน้อยลง และมีผลต่อเนื่องทำให้ Creatine คั่งค้างอยู่ในเลือดมากขึ้น
- อาจเกิดจากการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ เช่น สภาวะของโรคกล้ามเนื้อสลาย (Rhabdomyolysis) ซึ่งทำให้ Creatine phosphate ที่แตกตัวอยู่ในรูปของ Creatinine ต้องลอยคับคั่งอยู่ในเลือด
- อาจเกิดจากสภาพร่างกายใหญ่โตไม่สมส่วน (Acromegaly) เช่น โตเกินวัย หรือโตเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด หรือสูงผิดปกติ
- อาจเกิดจากสภาพร่างยักษ์ (Gigantism)
- อาจเกิดจากครรภ์เป็นพิษ
- ไตอาจอยู่สภาวะวิกฤติถึงขนาดเป็นอันตรายในระดับที่ทำหน้าที่ต่อไปไม่ได้เหมือนที่เคยกระทำ หากตรวจเลือดพบค่า Creatinine สูงเกินกว่า 4.0 mg/dL
- อาจกำลังเกิดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ถ้าพบค่าทั้ง 3 อย่างนี้สูงกว่าปกติ คือ Creatinine, Urine albumin (อัลบูมินในปัสสาวะ) และความดันโลหิตสูงกว่าระดับปกติ (และถ้าตรวจพบค่า FBS สูงขึ้นผิดปกติมาก ๆ ในคนที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย ก็อาจช่วยยืนยันและเร่งรัดให้ภาวะโรคไตเรื้อรังทรุดหนักเลวร้ายลง)
- นักกีฬาในวันแข่งขันที่ต้องใช้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวออกแรงมากเป็นพิเศษ เช่น นักกีฬายกน้ำหนัก นักกีฬาว่ายน้ำ นักเทนนิส กรรมกรแบกหาม วันแข่งขันจึงย่อมตรวจพบค่า Creatinine ในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติได้ เป็นเรื่องปกติ